พบผลลัพธ์ทั้งหมด 311 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1206/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดจำนวนทุนทรัพย์พิพาทในชั้นฎีกาและข้อห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง
โจทก์ฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยทั้งสามในมูลละเมิดโดยบรรยายในส่วนของค่าเสียหาย คือ ค่าจัดการศพ 35,000 บาทค่าซ่อมรถจักรยานยนต์ 2,500 บาท และค่าขาดไร้อุปการะ 600,000 บาทแต่โจทก์ทั้งสองขอคิดค่าเสียหายทั้งหมดเพียง 537,000 บาทขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมรับผิดชำระเงินจำนวนดังกล่าวพร้อมทั้งดอกเบี้ย ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้ค่าเสียหายเป็นค่าจัดการศพ 30,000 บาท เป็นค่าขาดไร้อุปการะแก่โจทก์ที่ 1และโจทก์ที่ 2 เป็นเงิน 200,000 บาท และ 100,000 บาทตามลำดับพร้อมทั้งดอกเบี้ย ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน เช่นนี้ ในส่วนของค่าจัดการศพซึ่งศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยทั้งสามชดใช้ให้แก่โจทก์ทั้งสอง 30,000 บาท นั้นต้องนำไปคิดรวมเป็นทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนด้วย ดังนั้นรวมเป็นค่าเสียหายในส่วนของโจทก์ที่ 2เพียง 130,000 บาท จำเลยที่ 2 ฎีกาขอให้ยกฟ้อง จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกา ระหว่างจำเลยที่ 2 กับโจทก์ที่ 2 คงมีเพียง130,000 บาท ซึ่งต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง การที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า เหตุที่เกิดขึ้นมิได้เป็นเพราะการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 3 ค่าเสียหายในส่วนค่าขาดไร้อุปการะที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้นั้นสูงเกินไป ถือว่าโต้แย้งดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ในการรับฟังพยานหลักฐาน เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยของจำเลยที่ 2ในส่วนของโจทก์ที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1206/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริง: ค่าเสียหายและขอบเขตการโต้แย้งดุลพินิจศาล
โจทก์ฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยทั้งสามในมูลละเมิดโดยบรรยายในส่วนของค่าเสียหาย คือ ค่าจัดการศพ 35,000 บาท ค่าซ่อมรถจักรยานยนต์ 2,500 บาท และค่าขาดไร้อุปการะ 600,000 บาท แต่โจทก์ทั้งสองขอคิดค่าเสียหายทั้งหมดเพียง 537,000 บาท ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมรับผิดชำระเงินจำนวนดังกล่าวพร้อมทั้งดอกเบี้ย ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้ค่าเสียหายเป็นค่าจัดการศพ 30,000 บาท เป็นค่าขาดไร้อุปการะแก่โจทก์ที่ 1และโจทก์ที่ 2 เป็นเงิน 200,000 บาท และ 100,000 บาท ตามลำดับพร้อมทั้งดอกเบี้ย ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน เช่นนี้ ในส่วนของค่าจัดการศพซึ่งศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยทั้งสามชดใช้ให้แก่โจทก์ทั้งสอง 30,000 บาท นั้นต้องนำไปคิดรวมเป็นทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนด้วย ดังนั้นรวมเป็นค่าเสียหายในส่วนของโจทก์ที่ 2เพียง 130,000 บาท จำเลยที่ 2 ฎีกาขอให้ยกฟ้อง จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกา ระหว่างจำเลยที่ 2 กับโจทก์ที่ 2 คงมีเพียง 130,000 บาท ซึ่งต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง การที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า เหตุที่เกิดขึ้นมิได้เป็นเพราะการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 3 ค่าเสียหายในส่วนค่าขาดไร้อุปการะที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้นั้นสูงเกินไป ถือว่าโต้แย้งดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ในการรับฟังพยานหลักฐาน เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยฎีกาของจำเลยที่ 2 ในส่วนของโจทก์ที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1038/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง, สิทธิครอบครอง, ที่ดินแปลงเดียวกัน, น.ส.3ก., การโต้แย้งสิทธิ
ข้อที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ การออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของโจทก์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของโจทก์กับที่ดินตามแบบหมายเลข 3 เป็นที่ดินแปลงเดียวกันหรือไม่นั้น ปัญหาดังกล่าวจำเลยได้ยกเป็นประเด็นข้อพิพาทขึ้นโต้แย้งในการชี้สองสถานของศาลชั้นต้นและในคำแก้อุทธรณ์ของจำเลยไว้แล้ว แต่ศาลอุทธรณ์หาได้วินิจฉัยให้จำเลยไม่ จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยไปทีเดียวโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาใหม่
ที่พิพาทตาม น.ส.3 ก.เลขที่ 5141 ตำบลหนองขาม อำเภอ-ศรีราชา จังหวัดชลบุรี ของโจทก์ และที่ดินตามแบบหมายเลข 3 ตำบลหนองขามอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี เป็นที่ดินแปลงเดียวกันและโจทก์มีสิทธิครอบครอง การที่จำเลยนำเจ้าพนักงานที่ดินไปรังวัดที่พิพาทเพื่อออกโฉนดเป็นของจำเลย ถือได้ว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 55 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ปัญหาที่ว่าการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3)เลขที่ 5141 ของโจทก์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ แม้ศาลชั้นต้นจะกำหนดประเด็นข้อพิพาทในการชี้สองสถานไว้เพียงข้อเดียวว่า โจทก์หรือจำเลยมีสิทธิครอบครองที่พิพาทก็ตาม แต่ประเด็นข้อนี้ย่อมครอบคลุมไปถึงปัญหาข้อนี้ด้วยแล้ว ส่วนปัญหาที่ว่าที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 5141 และที่ดินตามแบบหมายเลข 3 เป็นที่ดินแปลงเดียวกันหรือไม่นั้น เมื่อปรากฏในการชี้สองสถานคู่ความทั้งสองรับกันแล้วว่าเป็นที่ดินแปลงเดียวกัน ปัญหาข้อนี้จึงเป็นอันยุติไปแล้วในศาลชั้นต้น ถือว่าเป็นข้อฎีกาที่ไม่เป็นสาระอันควรได้รับการวินิจฉัย
ที่พิพาทตาม น.ส.3 ก.เลขที่ 5141 ตำบลหนองขาม อำเภอ-ศรีราชา จังหวัดชลบุรี ของโจทก์ และที่ดินตามแบบหมายเลข 3 ตำบลหนองขามอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี เป็นที่ดินแปลงเดียวกันและโจทก์มีสิทธิครอบครอง การที่จำเลยนำเจ้าพนักงานที่ดินไปรังวัดที่พิพาทเพื่อออกโฉนดเป็นของจำเลย ถือได้ว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 55 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ปัญหาที่ว่าการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3)เลขที่ 5141 ของโจทก์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ แม้ศาลชั้นต้นจะกำหนดประเด็นข้อพิพาทในการชี้สองสถานไว้เพียงข้อเดียวว่า โจทก์หรือจำเลยมีสิทธิครอบครองที่พิพาทก็ตาม แต่ประเด็นข้อนี้ย่อมครอบคลุมไปถึงปัญหาข้อนี้ด้วยแล้ว ส่วนปัญหาที่ว่าที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 5141 และที่ดินตามแบบหมายเลข 3 เป็นที่ดินแปลงเดียวกันหรือไม่นั้น เมื่อปรากฏในการชี้สองสถานคู่ความทั้งสองรับกันแล้วว่าเป็นที่ดินแปลงเดียวกัน ปัญหาข้อนี้จึงเป็นอันยุติไปแล้วในศาลชั้นต้น ถือว่าเป็นข้อฎีกาที่ไม่เป็นสาระอันควรได้รับการวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1038/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง, สิทธิครอบครอง, น.ส.3ก. และการโต้แย้งสิทธิในที่ดิน ศาลฎีกาวินิจฉัยประเด็นที่ศาลอุทธรณ์ไม่ได้วินิจฉัย
ข้อที่จำเลยฎีกาว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่การออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของโจทก์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่และที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของโจทก์กับที่ดินตามแบบหมายเลข3เป็นที่ดินแปลงเดียวกันหรือไม่นั้นปัญหาดังกล่าวจำเลยได้ยกเป็นประเด็นข้อพิพาทขึ้นโต้แย้งในการชี้สองสถานของศาลชั้นต้นและในคำแก้อุทธรณ์ของจำเลยไว้แล้วแต่ศาลอุทธรณ์หาได้วินิจฉัยให้จำเลยไม่จึงเป็นการไม่ชอบศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยไปทีเดียวโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาใหม่ ที่พิพาทตามน.ส.3ก.เลขที่5141ตำบลหนองขาม อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรีของโจทก์และที่ดินตามแบบหมายเลข3ตำบลหนองขามอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรีเป็นที่ดินแปลงเดียวกันและโจทก์มีสิทธิครอบครองการที่จำเลยนำเจ้าพนักงานที่ดินไปรังวัดที่พิพาทเพื่อออกโฉนดเป็นของจำเลยถือได้ว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา55โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง ปัญหาที่ว่าการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3)เลขที่5141ของโจทก์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่แม้ศาลชั้นต้นจะกำหนดประเด็นข้อพิพาทในการชี้สองสถานไว้เพียงข้อเดียวว่าโจทก์หรือจำเลยมีสิทธิครอบครองที่พิพาทก็ตามแต่ประเด็นข้อนี้ย่อมครอบคลุมไปถึงปัญหาข้อนี้ด้วยแล้วส่วนปัญหาที่ว่าที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3ก.)เลขที่5141และที่ดินตามแบบหมายเลข3เป็นที่ดินแปลงเดียวกันหรือไม่นั้นเมื่อปรากฎในการชี้สองสถานคู่ความทั้งสองรับกันแล้วว่าเป็นที่ดินแปลงเดียวกันปัญหาข้อนี้จึงเป็นอันยุติไปแล้วในศาลชั้นต้นถือว่าเป็นข้อฎีกาที่ไม่เป็นสาระอันควรได้รับการวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1014/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา ความผิดฐานปล้นทรัพย์ฯ ศาลฎีกาพิจารณาพยานหลักฐานและลดโทษ
ในขณะที่จำเลยทั้งสองกับพวกกำลังช่วยกันค้นหาทรัพย์สินอยู่นั้นผู้ตายเข้ามาภายในบ้านจำเลยทั้งสองกับพวกจึงเข้าไปล็อกคอผู้ตายผู้ตายดิ้นรนต่อสู้และร้องขอความช่วยเหลือจำเลยทั้งสองกับพวกจึงช่วยกันจับผู้ตายมัดและรุมแทงผู้ตายต่อเนื่องจนผู้ตายถึงแก่ความตายในที่เกิดเหตุแม้ผู้ตายจะมีบาดแผลหลายแห่งก็เป็นการส่อแสดงให้เห็นเจตนาว่าต้องการแทงผู้ตายให้ถึงแก่ความตายในทันทีเท่านั้นไม่ใช่เป็นการฆ่าโดยการกระทำทารุณโหดร้าย ลำพังคำให้การชั้นสอบสวนของว. ภริยาผู้ตายและอ.ที่ให้การต่อพนักงานสอบสวนว่าว.วานให้อ. ไปหาคนมาข่มขู่ผู้ตายและจับผู้ตายมัดเพื่อให้ว. เข้าไปตกลงกับผู้ตายเกี่ยวกับเรื่องในครอบครัวก็ดีคำซัดทอดของจำเลยทั้งสองกับส. ที่ว่าวันเกิดเหตุว. เป็นผู้กดรีโมทคอนโทรลเปิดประตูบ้านผู้ตายให้จำเลยทั้งสองกับพวกเข้าไปก็ดีล้วนแต่เป็นพยานบอกเล่าและคำซัดทอดของผู้ร่วมกระทำผิดมีน้ำหนักน้อยทั้งข้อความตามเทปบันทึกเสียงของผู้ตายก็รับฟังไม่ได้ว่าเป็นคำกล่าวของผู้ถูกทำร้ายก่อนตายพยานหลักฐานโจทก์ไม่มีน้ำหนักเพียงพอให้รับฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองถูกจ้างมาฆ่าผู้ตายจำเลยทั้งสองไม่มีความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 890/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องค่าก่อสร้างและการละเมิดสิทธิของโจทก์จากการจ่ายเงินให้จำเลยที่ 4
จำเลยที่1ทำสัญญาจ้างจำเลยที่4ก่อสร้างอาคารและจำเลยที่4ทำสัญญากู้เงินโจทก์โดยมีข้อความในสัญญากู้ด้วยว่าจำเลยที่4โอนสิทธิเรียกร้องการรับเงินค่าก่อสร้างตามสัญญาให้แก่โจทก์เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่4โอนสิทธิเรียกร้องให้แก่โจทก์และโจทก์กับจำเลยที่4มีหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดและผู้ว่าราชการจังหวัดแจ้งมายังจำเลยที่2และที่3ผู้มีหน้าที่จะต้องเบิกจ่ายเงินค่าจ้างจึงถือว่าโจทก์และจำเลยที่4ได้ปฏิบัติตามวิธีการโอนสิทธิเรียกร้องที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา303วรรคหนึ่งและมาตรา306บัญญัติไว้แล้วสิทธิเรียกร้องของจำเลยที่4ในการรับเงินค่าจ้างก่อสร้างจึงตกเป็นของโจทก์ตั้งแต่นั้นส่วนจำเลยที่4ย่อมหมดสิทธิที่จะรับเงินจำนวนดังกล่าวอีกต่อไปจำเลยที่1จึงไม่มีความผูกพันที่จะต้องจ่ายค่าจ้างแก่จำเลยที่4เมื่อจำเลยที่2และที่3ได้ขออนุมติจากผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อจ่ายค่าจ้างให้แก่จำเลยที่4และผู้ว่าราชการจังหวัดอนุมัติให้จ่ายได้จึงเป็นการละเมิดต่อสิทธิของโจทก์ซึ่งจำเลยที1ที่2และที่3ต้องร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 890/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องค่าก่อสร้างและการละเมิดสิทธิของโจทก์
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจ้างจำเลยที่ 4 ก่อสร้างอาคาร และจำเลยที่ 4 ทำสัญญากู้เงินโจทก์ โดยมีข้อความในสัญญากู้ด้วยว่า จำเลยที่ 4โอนสิทธิเรียกร้องการรับเงินค่าก่อสร้างตามสัญญาให้แก่โจทก์ เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 4 โอนสิทธิเรียกร้องให้แก่โจทก์ และโจทก์กับจำเลยที่ 4 มีหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัด และผู้ว่าราชการจังหวัดแจ้งมายังจำเลยที่ 2 และที่ 3ผู้มีหน้าที่จะต้องเบิกจ่ายเงินค่าจ้าง จึงถือว่าโจทก์และจำเลยที่ 4 ได้ปฏิบัติตามวิธีการโอนสิทธิเรียกร้องที่ ป.พ.พ.มาตรา 303 วรรคหนึ่ง และมาตรา 306บัญญัติไว้แล้ว สิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 4 ในการรับเงินค่าจ้างก่อสร้างจึงตกเป็นของโจทก์ตั้งแต่นั้น ส่วนจำเลยที่ 4 ย่อมหมดสิทธิที่จะรับเงินจำนวนดังกล่าวอีกต่อไป จำเลยที่ 1 จึงไม่มีความผูกพันที่จะต้องจ่ายค่าจ้างแก่จำเลยที่ 4เมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ขออนุมัติจากผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อจ่ายค่าจ้างให้แก่จำเลยที่ 4 และผู้ว่าราชการจังหวัดอนุมัติให้จ่ายได้ จึงเป็นการละเมิดต่อสิทธิของโจทก์ซึ่งจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ต้องร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 890/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องค่าก่อสร้างและการชดใช้ค่าเสียหายจากการละเมิดสิทธิของเจ้าหนี้
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจ้างจำเลยที่ 4 ก่อสร้างอาคาร และจำเลยที่ 4 ทำสัญญากู้เงินโจทก์ โดยมีข้อความในสัญญากู้ด้วยว่าจำเลยที่ 4 โอนสิทธิเรียกร้องการรับเงินค่าก่อสร้างตามสัญญาให้แก่โจทก์ เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 4 โอนสิทธิเรียกร้องให้แก่โจทก์ และโจทก์กับจำเลยที่ 4 มีหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดและผู้ว่าราชการจังหวัดแจ้งมายังจำเลยที่ 2 และที่ 3 ผู้มีหน้าที่จะต้องเบิกจ่ายเงินค่าจ้าง จึงถือว่าโจทก์และจำเลยที่ 4 ได้ปฏิบัติตามวิธีการโอนสิทธิเรียกร้องที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 303 วรรคหนึ่ง และมาตรา 306 บัญญัติไว้แล้ว สิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 4 ในการรับเงินค่าจ้างก่อสร้างจึงตกเป็นของโจทก์ตั้งแต่นั้น ส่วนจำเลยที่ 4 ย่อมหมดสิทธิที่จะรับเงินจำนวนดังกล่าวอีกต่อไป จำเลยที่ 1 จึงไม่มีความผูกพันที่จะต้องจ่ายค่าจ้างแก่จำเลยที่ 4 เมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ขออนุมติจากผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อจ่ายค่าจ้างให้แก่จำเลยที่ 4และผู้ว่าราชการจังหวัดอนุมัติให้จ่ายได้ จึงเป็นการละเมิดต่อสิทธิของโจทก์ซึ่งจำเลยที 1 ที่ 2 และที่ 3 ต้องร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 860/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตค่าทดแทนเวนคืน: ราคาที่ดินและไม้ยืนต้นต้องเป็นไปตามที่อุทธรณ์และราคาตลาด
เงินค่าทดแทนที่ดินที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยกำหนดให้แก่โจทก์ในครั้งสุดท้ายเป็นเงินเต็มตามจำนวนที่โจทก์ขอเพิ่มค่าทดแทนในการอุทธรณ์ครั้งหลัง เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยวินิจฉัยกำหนดค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์เต็มจำนวนราคาตามคำอุทธรณ์ของโจทก์แล้ว จึงไม่มีข้อที่โจทก์จะโต้แย้งได้ว่าจำนวนเงินค่าทดแทนที่ดินที่รัฐมนตรีกำหนดให้นั้นยังไม่เป็นที่พอใจของโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าทดแทนที่ดินเกินกว่าจำนวนที่โจทก์อุทธรณ์ขอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ทั้งนี้ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530มาตรา 26 วรรคหนึ่ง
ราคาต้นไม้โจทก์เป็นผู้กำหนดเองและราคาที่กำหนดนี้อาจต่อรองกันได้ และเมื่อจำเลยที่ 1 จ่ายค่าทดแทนให้แล้ว จำเลยที่ 1 ไม่ได้นำต้นไม้ไปด้วย ยังคงเป็นของโจทก์อยู่ ราคาต้นไม้บางชนิดเป็นราคาที่โจทก์ตั้งขึ้นเองยังสามารถลดราคาลงอีกได้ จึงไม่ใช่ราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดตามที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับ พ.ร.ฎ.ลักษณะที่โจทก์เรียกร้องค่าไม้ยืนต้นนั้นเป็นการคาดคะเนโดยรวมเอาเองทั้งสิ้น เมื่อค่าทดแทนไม้ยืนต้นที่จำเลยกำหนดให้แก่โจทก์ได้ดำเนินการไปตามหลักเกณฑ์และระเบียบของทางราชการ ประกอบกับโจทก์มีเวลาถึง 2 ปี ที่จะขุดไม้ยืนต้นในบริเวณที่ดินที่ถูกเวนคืนออกขายได้ทุกต้น ดังนั้นเงินค่าทดแทนไม้ยืนต้นที่โจทก์ได้รับนั้นเป็นธรรมแก่โจทก์แล้ว
ราคาต้นไม้โจทก์เป็นผู้กำหนดเองและราคาที่กำหนดนี้อาจต่อรองกันได้ และเมื่อจำเลยที่ 1 จ่ายค่าทดแทนให้แล้ว จำเลยที่ 1 ไม่ได้นำต้นไม้ไปด้วย ยังคงเป็นของโจทก์อยู่ ราคาต้นไม้บางชนิดเป็นราคาที่โจทก์ตั้งขึ้นเองยังสามารถลดราคาลงอีกได้ จึงไม่ใช่ราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดตามที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับ พ.ร.ฎ.ลักษณะที่โจทก์เรียกร้องค่าไม้ยืนต้นนั้นเป็นการคาดคะเนโดยรวมเอาเองทั้งสิ้น เมื่อค่าทดแทนไม้ยืนต้นที่จำเลยกำหนดให้แก่โจทก์ได้ดำเนินการไปตามหลักเกณฑ์และระเบียบของทางราชการ ประกอบกับโจทก์มีเวลาถึง 2 ปี ที่จะขุดไม้ยืนต้นในบริเวณที่ดินที่ถูกเวนคืนออกขายได้ทุกต้น ดังนั้นเงินค่าทดแทนไม้ยืนต้นที่โจทก์ได้รับนั้นเป็นธรรมแก่โจทก์แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 860/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: การประเมินค่าทดแทนที่ดินและทรัพย์สิน การพิจารณาค่าทดแทนที่เหมาะสมตามหลักเกณฑ์
เงินค่าทดแทนที่ดินที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยกำหนดให้แก่โจทก์ในครั้งสุดท้ายเป็นเงินเต็มตามจำนวนที่โจทก์ขอเพิ่มค่าทดแทนในการอุทธรณ์ครั้งหลังเมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยวินิจฉัยกำหนดค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์เต็มจำนวนราคาตามคำอุทธรณ์ของโจทก์แล้วจึงไม่มีข้อที่โจทก์จะโต้แย้งได้ว่าจำนวนเงินค่าทดแทนที่ดินที่รัฐมนตรีกำหนดให้นั้นยังไม่เป็นที่พอใจของโจทก์โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าทดแทนที่ดินเกินกว่าจำนวนที่โจทก์อุทธรณ์ขอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยทั้งนี้ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา26วรรคหนึ่ง ราคาต้นไม้โจทก์เป็นผู้กำหนดเองและราคาที่กำหนดนี้อาจต่อรองกันได้และเมื่อจำเลยที่1จ่ายค่าทดแทนให้แล้วจำเลยที่1ไม่ได้นำต้นไม้ไปด้วยยังคงเป็นของโจทก์อยู่ราคาต้นไม้บางชนิดเป็นราคาที่โจทก์ตั้งขึ้นเองยังสามารถลดราคาลงอีกได้จึงไม่ใช่ราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดตามที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาลักษณะที่โจทก์เรียกร้องค่าไม้ยืนต้นนั้นเป็นการคาดคะเนโดยรวมเอาเองทั้งสิ้นเมื่อค่าทดแทนไม้ยืนต้นที่จำเลยกำหนดให้แก่โจทก์ได้ดำเนินการไปตามหลักเกณฑ์และระเบียบของทางราชการประกอบกับโจทก์มีเวลาถึง2ปีที่จะขุดไม้ยืนต้นในบริเวณที่ดินที่ถูกเวนคืนออกขายได้ทุกต้นดังนั้นเงินค่าทดแทนไม้ยืนต้นที่โจทก์ได้รับนั้นเป็นธรรมแก่โจทก์แล้ว