พบผลลัพธ์ทั้งหมด 311 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9736/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของคำพิพากษาคดีประธานต่อคำสั่งอายัดชั่วคราวเมื่อมีการบังคับคดี
เมื่อกรณีที่ผู้คัดค้านอุทธรณ์เป็นเรื่องเกี่ยวกับวิธีการ ชั่วคราวก่อนพิพากษาและข้อเท็จจริงฟังได้ว่าคดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นคดีประธานได้ถึงที่สุดโดยไม่มีการอุทธรณ์ ทั้งโจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายชนะคดีได้ขอหมายบังคับคดีแก่จำเลย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 260(2) แล้วคำสั่งศาลที่ให้อายัดชั่วคราวซึ่งมีผลต่อไปเท่าที่จำเป็นเพื่อบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นย่อมสิ้นผล หลังจากนั้นย่อมเป็นปัญหาในชั้นบังคับคดี ศาลอุทธรณ์จึงชอบที่จะพิพากษายกอุทธรณ์ผู้คัดค้านโดยไม่วินิจฉัยว่าผู้คัดค้านต้องส่งเงินต่อศาลชั้นต้นตามหมายอายัดชั่วคราวหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9676/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำเอกสารประกอบคำถามค้านพยานโจทก์ของจำเลยขาดนัด ไม่ถือเป็นการสืบพยานหลักฐาน
คดีที่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ จำเลยมีสิทธิเพียงอ้างตนเองเป็นพยานและถามค้านพยานโจทก์เท่านั้น ไม่มีสิทธินำพยานของจำเลยเข้าสืบไม่ว่าพยานบุคคลหรือพยานเอกสารตาม ป.วิ.พ.มาตรา 199 วรรคสอง แต่การที่ทนายความจำเลยนำสัญญาเช่ามาใช้ในการถามค้านโจทก์ซึ่งอ้างตนเองเป็นพยานโจทก์รับว่าสามีของโจทก์ทำสัญญาเช่าที่พิพาทจากจำเลยตามสัญญาเช่าดังกล่าวหลังจากจำเลยขายที่พิพาทให้โจทก์ประมาณ 5 ถึง 6 ปีแล้ว ศาลจึงนำสัญญาเช่าดังกล่าวมาประกอบการวินิจฉัยพยานหลักฐานของโจทก์ได้ เพราะเป็นเอกสารประกอบคำถามค้าน หาใช่เป็นกรณีจำเลยเรียกพยานหลักฐานของตนเข้าสืบอันเป็นการฝ่าฝืนต่อบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้นไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9676/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำเอกสารประกอบคำถามค้านพยาน vs. การสืบพยานหลักฐานของจำเลย & การได้กรรมสิทธิ์จากการครอบครองปรปักษ์
การที่ทนายความจำเลยนำสัญญาเช่ามาใช้ในการถามค้านโจทก์ ซึ่งอ้างตนเองเป็นพยาน โจทก์รับว่าสามีของโจทก์ทำสัญญาเช่า ที่พิพาทจากจำเลยตามสัญญาดังกล่าว จึงชอบที่ศาลจะนำสัญญาเช่า มาประกอบการวินิจฉัยพยานหลักฐานของโจทก์ได้ เพราะเป็นเอกสารประกอบคำถามค้าน หาใช่เป็นกรณีจำเลยเรียกพยานหลักฐานของตนเข้าสืบในคดีที่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9503/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์สินหลังทำพินัยกรรมไม่สมบูรณ์ ไม่ทำให้พินัยกรรมเป็นโมฆะ ทรัพย์สินยังตกเป็นมรดก
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1673 และมาตรา 1696 วรรคหนึ่งการโอนไปโดยสมบูรณ์ซึ่งทรัพย์สินอันเป็นวัตถุแห่งข้อกำหนดพินัยกรรมอันจะทำให้ข้อกำหนดพินัยกรรมนั้นเป็นอันเพิกถอนไป หมายถึงการโอนทรัพย์สินที่ยังมีผลอยู่ในขณะที่ผู้ทำพินัยกรรมตาย
หลังจาก ฟ.ทำพินัยกรรมฉบับลงวันที่ 1 กันยายน 2520 ยกที่ดินพิพาทตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เลขที่ 182 ให้แก่ น. และเลขที่ 206ให้แก่ น.กับโจทก์แล้ว แม้ต่อมา ฟ.ได้จดทะเบียนยกที่ดินพิพาททั้งสองแปลงให้แก่ น.โดยเสน่หา และหลังจากนั้น ฟ.ก็ได้ฟ้องขอถอนคืนการให้และขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินพิพาท คดีถึงที่สุดโดยศาลพิพากษาให้ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงกลับคืนมาเป็นของ ฟ.กรณีก็ถือไม่ได้ว่า ฟ.ได้โอนไปโดยสมบูรณ์ซึ่งทรัพย์สินอันเป็นวัตถุแห่งข้อกำหนดพินัยกรรมตามพินัยกรรมฉบับลงวันที่ 1 กันยายน 2520 ข้อกำหนดพินัยกรรมนั้นจึงหาเป็นอันเพิกถอนไปไม่ เมื่อ ฟ.ถึงแก่กรรม ที่ดินพิพาทตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่182 จึงเป็นทรัพย์มรดกของ ฟ.ตกได้แก่ น. และที่ดินพิพาทตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เลขที่ 206 เป็นทรัพย์มรดกของ ฟ.ตกได้แก่ น.กับโจทก์ตามพินัยกรรมดังกล่าวข้างต้น
โจทก์เป็นผู้รับพินัยกรรมของ ฟ.ในที่ดินพิพาทตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เลขที่ 206 จำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ น.ย่อมมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องแบ่งมรดกของ น.แก่โจทก์ เมื่อโจทก์แจ้งให้จำเลยไปจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทแก่โจทก์แล้ว แต่จำเลยเพิกเฉย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เลขที่ 206 แก่โจทก์ได้
หลังจาก ฟ.ทำพินัยกรรมฉบับลงวันที่ 1 กันยายน 2520 ยกที่ดินพิพาทตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เลขที่ 182 ให้แก่ น. และเลขที่ 206ให้แก่ น.กับโจทก์แล้ว แม้ต่อมา ฟ.ได้จดทะเบียนยกที่ดินพิพาททั้งสองแปลงให้แก่ น.โดยเสน่หา และหลังจากนั้น ฟ.ก็ได้ฟ้องขอถอนคืนการให้และขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินพิพาท คดีถึงที่สุดโดยศาลพิพากษาให้ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงกลับคืนมาเป็นของ ฟ.กรณีก็ถือไม่ได้ว่า ฟ.ได้โอนไปโดยสมบูรณ์ซึ่งทรัพย์สินอันเป็นวัตถุแห่งข้อกำหนดพินัยกรรมตามพินัยกรรมฉบับลงวันที่ 1 กันยายน 2520 ข้อกำหนดพินัยกรรมนั้นจึงหาเป็นอันเพิกถอนไปไม่ เมื่อ ฟ.ถึงแก่กรรม ที่ดินพิพาทตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่182 จึงเป็นทรัพย์มรดกของ ฟ.ตกได้แก่ น. และที่ดินพิพาทตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เลขที่ 206 เป็นทรัพย์มรดกของ ฟ.ตกได้แก่ น.กับโจทก์ตามพินัยกรรมดังกล่าวข้างต้น
โจทก์เป็นผู้รับพินัยกรรมของ ฟ.ในที่ดินพิพาทตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เลขที่ 206 จำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ น.ย่อมมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องแบ่งมรดกของ น.แก่โจทก์ เมื่อโจทก์แจ้งให้จำเลยไปจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทแก่โจทก์แล้ว แต่จำเลยเพิกเฉย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เลขที่ 206 แก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9503/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์สินหลังทำพินัยกรรม การเพิกถอนพินัยกรรม และสิทธิในทรัพย์มรดกตามพินัยกรรม
การโอนไปโดยสมบูรณ์ซึ่งทรัพย์สินอันเป็นวัตถุแห่งข้อกำหนดพินัยกรรมอันจะทำให้ข้อกำหนดพินัยกรรมนั้นเป็นอันเพิกถอนไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1696 วรรคหนึ่ง หมายถึงการโอนทรัพย์สินที่ยังมีผลอยู่ในขณะที่ผู้ทำพินัยกรรมตาย เมื่อ ฟ. ทำพินัยกรรมยกที่ดินพิพาทตาม น.ส.3 เลขที่ 182 ให้แก่ น. และเลขที่ 206 ให้แก่ น. กับโจทก์ที่ 8 แล้ว แม้ต่อมา ฟ.ได้จดทะเบียนยกที่ดินพิพาททั้งสองแปลงให้แก่ น. โดยเสน่หาแต่หลังจากนั้น ฟ. ก็ได้ฟ้องขอถอนคืนการให้และขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินพิพาท คดีถึงที่สุดโดยศาลพิพากษาให้ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงกลับคืนมาเป็นของ ฟ. จึงถือไม่ได้ว่า ฟ. ได้โอนไปโดยสมบูรณ์ซึ่งทรัพย์สินอันเป็นวัตถุแห่งข้อกำหนดพินัยกรรม ข้อกำหนดพินัยกรรมนั้นจึงหาเป็นอันเพิกถอนไปไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9426/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร้องเรียนต่อผู้บังคับบัญชาเพื่อขอความเป็นธรรมในการประกวดราคา ไม่ถือเป็นการหมิ่นประมาท
การกระทำของโจทก์ทำให้จำเลยทั้งสองมีความรู้สึกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม จำเลยทั้งสองทำหนังสือร้องเรียนโจทก์ต่อผู้มีอำนาจเหนือกว่า ทำนองว่าโจทก์ใช้อิทธิพลบีบบังคับคณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาอนุมัติให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ว. เป็นผู้ได้งาน การที่โจทก์เป็นผู้บังคับบัญชาและเป็นผู้มีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาและเป็นผู้ชี้ขาดในการประชุมในความเข้าใจของบุคคลทั่วไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งจำเลยทั้งสองซึ่งได้รับผลกระทบจากการกระทำของโจทก์ ย่อมมีสิทธิแสดงความคิดเห็นและเสนอความคิดเห็นไปยังผู้ที่มีอำนาจเหนือกว่าโจทก์พิจารณาให้ความเป็นธรรมได้โดยเชื่อว่าโจทก์มีพฤติการณ์ตามนั้นจริง จึงเป็นการกระทำเพื่อความชอบธรรมป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329(1) การกระทำของจำเลยทั้งสองไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9245/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบทรัพย์สินจากคดียาเสพติด: สิทธิของผู้ร้องที่ไม่ได้ยื่นคำคัดค้านตามกฎหมาย
ศาลพิพากษาริบรถยนต์ของกลางให้ตกเป็นของกองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ผู้ร้องยื่นคำร้องขอคืนรถยนต์ของกลางหลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว ถือได้ว่าผู้ร้องมิได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่บังคับให้เจ้าของทรัพย์สินยื่นคำร้องขอเข้าในคดีก่อนศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 30 วรรคสอง แม้พนักงานเจ้าหน้าที่จะมิได้ประกาศในหนังสือพิมพ์รายวันในท้องถิ่นแต่ได้ประกาศในหนังสือพิมพ์ "ข่าวสด" ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์รายวันที่ออกในส่วนกลางที่ส่งไปจำหน่ายทั่วไปในราชอาณาจักร อันเป็นการประกาศในหนังสือพิมพ์รายวันที่มีจำหน่ายแพร่หลายในท้องถิ่นสองวันติดต่อกันถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ถือได้ว่าผู้ร้องได้ทราบประกาศแล้ว ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอคืนรถยนต์ของกลางแก่ผู้ร้องหลังจากศาลมีคำพิพากษาแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9238/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอนุญาตฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง: การยื่นคำร้องพร้อมฎีกาเดิม & การใช้บทบัญญัติมาตรา 248 วรรคสี่ ป.วิ.พ. โดยอนุโลม
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามิให้บัญญัติถึงรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติในเรื่องการยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาผู้พิจารณาคดีหรือลงชื่อในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ฎีกาไว้โดยเฉพาะจึงต้องนำบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคสี่ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา15มาใช้บังคับโดยอนุโลมทั้งนี้มาตรา248วรรคสี่แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งได้วางหลักเกณฑ์ในเรื่องนี้ไว้ว่าการขอให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์รับรองว่ามีเหตุผลสมควรที่จะฎีกาได้นั้นให้ผู้ฎีกายื่นคำร้องถึงผู้พิพากษานั้นพร้อมกับคำฟ้องฎีกาต่อศาลชั้นต้นคดีนี้แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยที่1แต่การที่จำเลยที่1ได้ยื่นคำร้องในวันเดียวกันนั้นซึ่งยังอยู่ภายในกำหนดอายุฎีกาขอให้ผู้พิพากษาที่ลงชื่อในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์พิจารณาอนุญาตให้จำเลยที่1ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงโดยที่จำเลยที่1มิได้ยื่นฎีกาฉบับใหม่เข้ามาด้วยเช่นนี้ถือได้ว่าจำเลยที่1ประสงค์จะขอถือเอาฎีกาฉบับเดิมที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับไปแล้วนั้นเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงประกอบคำร้องขออนุญาตฎีกาของจำเลยที่1ต่อไปกรณีย่อมอนุโลมได้ว่าจำเลยที่1ได้ยื่นคำร้องขออนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงพร้อมกับคำฟ้องฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าวแล้วจึงชอบที่ผู้พิพากษาซึ่งลงชื่อในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จะได้พิจารณาคำร้องและคำฟ้องฎีกาของจำเลยที่1ว่ามีเหตุสมควรจะอนุญาตให้จำเลยที่1ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9238/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขออนุญาตฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง การนำบทบัญญัติ ป.วิ.พ. มาใช้โดยอนุโลม
ป.วิ.อ. มิได้บัญญัติถึงรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติในเรื่องการยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาผู้พิจารณาคดีหรือลงชื่อในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ฎีกาไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำบทบัญญัติตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคสี่ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ทั้งนี้ มาตรา 248วรรคสี่ แห่ง ป.วิ.พ.ได้วางหลักเกณฑ์ในเรื่องนี้ไว้ว่า การขอให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์รับรองว่ามีเหตุสมควรที่จะฎีกาได้นั้น ให้ผู้ฎีกายื่นคำร้องถึงผู้พิพากษานั้นพร้อมกับคำฟ้องฎีกาต่อศาลชั้นต้น คดีนี้แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยที่ 1 แต่การที่จำเลยที่ 1 ได้ยื่นคำร้องในวันเดียวกันนั้นซึ่งยังอยู่ภายในกำหนดอายุฎีกา ขอให้ผู้พิพากษาที่ลงชื่อในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์พิจารณาอนุญาตให้จำเลยที่ 1 ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงโดยที่จำเลยที่ 1 มิได้ยื่นฎีกาฉบับใหม่เข้ามาด้วยเช่นนี้ ถือได้ว่าจำเลยที่ 1ประสงค์จะขอถือเอาฎีกาฉบับเดิมที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับไปแล้วนั้นเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงประกอบคำร้องขออนุญาตฎีกาของจำเลยที่ 1 ต่อไป กรณีย่อมอนุโลมได้ว่า จำเลยที่ 1 ได้ยื่นคำร้องขออนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงพร้อมกับคำฟ้องฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าวแล้ว จึงชอบที่ผู้พิพากษาซึ่งลงชื่อในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จะได้พิจารณาคำร้องและคำฟ้องฎีกาของจำเลยที่ 1ว่ามีเหตุสมควรจะอนุญาตให้จำเลยที่ 1 ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9150/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกคืนเงินค่าที่ดิน: ลาภมิควรได้ vs. ทรัพย์ขาดตกบกพร่อง
สัญญาซื้อขายระบุว่าเป็นการซื้อขายที่ดินตาม น.ส.3 เนื้อที่ประมาณ65 ไร่ 3 งาน 48 ตารางวา ในราคาไร่ละ 4,300 บาท เป็นเงิน 2,838,000 บาทย่อมแสดงให้เห็นว่าคู่สัญญามีเจตนาถือเอาเนื้อที่ดินเป็นสาระสำคัญ เป็นการซื้อขายโดยกำหนดจำนวนเนื้อที่ดิน ไม่ใช่เป็นการซื้อขายเหมาที่ดินกันทั้งแปลง
โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าที่ดินบางส่วนจำนวน 1,133,802.50 บาทคืนโดยอ้างว่าจำเลยส่งมอบที่ดินน้อยกว่าที่ดินตามที่ตกลงซื้อขายกัน กรณีจึงเป็นเรื่องฟ้องจำเลยให้คืนเงินดังกล่าวฐานลาภมิควรได้ มิใช่เป็นการฟ้องจำเลยให้รับผิดเพื่อการที่ทรัพย์ขาดตกบกพร่องหรือล้ำจำนวน จึงนำอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 467 มาบังคับไม่ได้ ต้องนำอายุความเรื่องลาภมิควรได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 419 ซึ่งห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดปีหนึ่งนับแต่เวลาที่ฝ่ายผู้เสียหายรู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืน หรือเมื่อพ้นสิบปีนับแต่เวลาที่สิทธินั้นได้มีขึ้น โจทก์รู้ว่าที่ดินขาดจำนวนเมื่อเดือนเมษายน 2535 และโจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 2 กรกฎาคม 2535 ยังไม่พ้นกำหนด 1 ปี ฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องตั้งประเด็นว่า จำเลยส่งมอบที่ดินน้อยกว่าเนื้อที่ตามที่ตกลงซื้อขายกัน ขอให้บังคับจำเลยคืนเงินค่าที่ดินบางส่วนแก่โจทก์ฐานลาภมิควรได้ เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทเรื่องอายุความว่าคดีโจทก์ขาดอายุความ โจทก์อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นและยกปัญหาเรื่องอายุความขึ้นเป็นประเด็นว่า คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความเพราะเป็นการฟ้องเรียกเงินคืนฐานลาภมิควรได้ การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกปัญหาเรื่องลาภมิควรได้ขึ้นวินิจฉัย จึงมิใช่เป็นการนอกเหนือคำฟ้องและคำฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์
โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าที่ดินบางส่วนจำนวน 1,133,802.50 บาทคืนโดยอ้างว่าจำเลยส่งมอบที่ดินน้อยกว่าที่ดินตามที่ตกลงซื้อขายกัน กรณีจึงเป็นเรื่องฟ้องจำเลยให้คืนเงินดังกล่าวฐานลาภมิควรได้ มิใช่เป็นการฟ้องจำเลยให้รับผิดเพื่อการที่ทรัพย์ขาดตกบกพร่องหรือล้ำจำนวน จึงนำอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 467 มาบังคับไม่ได้ ต้องนำอายุความเรื่องลาภมิควรได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 419 ซึ่งห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดปีหนึ่งนับแต่เวลาที่ฝ่ายผู้เสียหายรู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืน หรือเมื่อพ้นสิบปีนับแต่เวลาที่สิทธินั้นได้มีขึ้น โจทก์รู้ว่าที่ดินขาดจำนวนเมื่อเดือนเมษายน 2535 และโจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 2 กรกฎาคม 2535 ยังไม่พ้นกำหนด 1 ปี ฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องตั้งประเด็นว่า จำเลยส่งมอบที่ดินน้อยกว่าเนื้อที่ตามที่ตกลงซื้อขายกัน ขอให้บังคับจำเลยคืนเงินค่าที่ดินบางส่วนแก่โจทก์ฐานลาภมิควรได้ เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทเรื่องอายุความว่าคดีโจทก์ขาดอายุความ โจทก์อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นและยกปัญหาเรื่องอายุความขึ้นเป็นประเด็นว่า คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความเพราะเป็นการฟ้องเรียกเงินคืนฐานลาภมิควรได้ การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกปัญหาเรื่องลาภมิควรได้ขึ้นวินิจฉัย จึงมิใช่เป็นการนอกเหนือคำฟ้องและคำฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์