คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ไพฑูรย์ แสงจันทร์เทศ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 311 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9150/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินโดยกำหนดเนื้อที่เป็นสาระสำคัญ ฟ้องเรียกเงินคืนฐานลาภมิควรได้ ไม่ขาดอายุความ
สัญญาซื้อขายระบุว่า ซื้อขายที่ดินเนื้อที่ประมาณ 65 ไร่ราคาไร่ละ 4,300 บาท แสดงว่าคู่สัญญาเจตนาถือเอาเนื้อที่ดินเป็นสาระสำคัญ เป็นการซื้อขายโดยกำหนดจำนวนเนื้อที่ดินไม่ใช่เป็นการซื้อขายเหมาที่ดินกันทั้งแปลง โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าที่ดินบางส่วนคืนโดยอ้างว่าจำเลยส่งมอบที่ดินน้อยกว่าที่ตกลงซื้อขายกัน เป็นเรื่องฟ้องให้คืนเงินฐานลาภมิควรได้ มิใช่ฟ้องให้รับผิดเพื่อการที่ทรัพย์ขาดตกบกพร่องหรือล้ำจำนวน จึงต้องนำอายุความเรื่องลาภมิควรได้มาใช้บังคับ ซึ่งเมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าคดีโจทก์ขาดอายุความ โจทก์อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นก็ได้ยกปัญหาเรื่องอายุความขึ้นเป็นประเด็นว่าคดีไม่ขาดอายุความเพราะเป็นการฟ้องเรียกเงินคืนฐานลาภมิควรได้ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัยว่าคดีโจทก์ไม่ขาดอายุความลาภมิควรได้ จึงไม่เป็นการนอกเหนือคำฟ้องและคำฟ้องอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9121/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรวมหนี้กู้ยืมและการออกเช็คชำระหนี้ที่ชอบด้วยกฎหมาย
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 653 วรรคหนึ่ง เป็นกรณีที่หนี้เงินจำนวนดังกล่าวไม่มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่ง แต่สำหรับคดีนี้โจทก์มีหลักฐานเป็นหนังสือคือเอกสารหมาย จ.1 มาแสดง และจำเลยนำสืบรับว่าได้กู้ยืมเงินจำนวนดังกล่าวจากผู้เสียหายจริง สัญญากู้ยืมเงินอาจจะรวมเงินจำนวนที่กู้ยืมกันในครั้งก่อน ๆ มารวมไว้ในสัญญากู้ยืมเงินฉบับเดียวกันได้ ไม่มีกฎหมายห้ามดังนั้น การที่ผู้เสียหายนำเงินจำนวน 700,000 บาท ที่ให้จำเลยกู้ยืมไปเมื่อวันที่11 เมษายน 2537 มารวมกับเงินจำนวน 800,000 บาท ที่ให้จำเลยกู้ยืมอีกเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2537 รวมเป็นเงิน 1,500,000 บาท จึงชอบที่จะทำได้และเป็นหนี้ที่อาจบังคับได้ตามกฎหมาย หากผู้เสียหายนำหลักฐานการกู้ยืมเงินตามเอกสารหมาย จ.1 มาฟ้องเรียกเงินจำนวนดังกล่าวในทางแพ่ง จำเลยก็อาจจะต้องรับผิดตามจำนวนที่ปรากฏในเอกสารนั้น เมื่อจำเลยทำหลักฐานการกู้ยืมตามเอกสารหมาย จ.1 แล้วในวันเดียวกันจำเลยออกเช็คสั่งจ่ายเงินจำนวนเดียวกันกับที่กู้ยืมโดยลงวันที่ล่วงหน้าไว้ตรงกับกำหนดที่จะต้องชำระคืนหนี้เงินที่กู้ยืมนั้นจึงเป็นการออกเช็คชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9121/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คชำระหนี้ที่อาจบังคับได้ แม้ไม่มีหลักฐานหนังสือ แต่จำเลยออกเช็คในขณะที่ไม่มีเงินในบัญชี
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา653วรรคหนึ่งเป็นกรณีหนึ่งหนี้เงินจำนวนดังกล่าวไม่มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งแต่สำหรับคดีนี้โจทก์มีหลักฐานเป็นหนังสือเอกสารหมายจ.1มาแสดงและจำเลยนำสืบรับว่าได้กู้ยืมเงินจำนวนดังกล่าวจากผู้เสียหายจริงสัญญากู้ยืมเงินอาจจะรวมเงินจำนวนที่กู้ยืมกันในครั้งก่อนๆมารวมไว้ในสัญญากู้ยืมเงินฉบับเดียวกันได้ไม่มีกฎหมายห้ามดังนั้นการที่ผู้เสียหายนำเงินจำนวน700,000บาทที่ให้จำเลยกู้ยืมไปเมื่อวันที่11เมษายน2537มารวมกับเงินจำนวน800,000บาทที่ให้จำเลยกู้ยืมอีกเมื่อวันที่21เมษายน2537รวมเป็นเงิน1,500,000บาทจึงชอบที่จะทำได้และเป็นหนี้ที่อาจบังคับได้ตามกฎหมายหากผู้เสียหายนำหลักฐานการกู้ยืมเงินตามเอกสารหมายจ.1มาฟ้องเรียกเงินจำนวนดังกล่าวในทางแพ่งจำเลยก็อาจจะต้องรับผิดตามจำนวนที่ปรากฏในเอกสารนั้นเมื่อจำเลยทำหลักฐานการกู้ยืมตามเอกสารหมายจ.1แล้วในวันเดียวกันจำเลยออกเช็คสั่งจ่ายเงินจำนวนเดียวกันกับที่กู้ยืมโดยลงวันที่ล่วงหน้าไว้ตรงกับกำหนดที่จะต้องชำระคืนหนี้เงินที่กู้ยืมนั้นจึงเป็นการออกเช็คชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7273/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำโทษที่รอการลงโทษในคดีก่อนมาพิจารณาลงโทษในคดีหลังได้ แม้ศาลจะไม่ได้ถูกแจ้งในคดีก่อน
ป.อ.มาตรา 58 วรรคหนึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2532 ซึ่งใช้บังคับก่อนการกระทำผิดคดีนี้และคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1500/2537 ของศาลชั้นต้นบทบัญญัติดังกล่าวนี้แก้ไขและใช้บังคับพร้อมกับ ป.อ.มาตรา 56 วรรคสอง ซึ่งบัญญัติเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติของผู้กระทำผิดในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุกจำเลย แต่ให้รอการกำหนดโทษหรือรอการลงโทษไว้ เมื่อมาตรา58 วรรคหนึ่ง กับมาตรา 56 วรรคสอง มีการแก้ไขพร้อมกันแสดงว่ามีเจตนาจะให้สอดคล้องกัน ทั้งนี้เพื่อป้องกันมิให้จำเลยกระทำความผิดอีก แม้ว่า ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคหนึ่ง จะได้บัญญัติว่า ห้ามมิให้พิพากษาหรือสั่งเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้องก็ตาม เมื่อ ป.วิ.อ.เป็นกฎหมายวิธีสบัญญัติ ย่อมจะต้องไม่ขัดต่อป.อ.ซึ่งเป็นกฎหมายสารบัญญัติ เช่นเมื่อ ป.อ.บัญญัติเกี่ยวกับเรื่องโทษไว้อย่างไรการพิพากษาคดีย่อมจะต้องอาศัย ป.อ.ในการกำหนดโทษมิให้ผิดไปจากที่ ป.อ.บัญญัติไว้ เช่นนี้ย่อมตีความ ป.อ.มาตรา 58 วรรคหนึ่งได้ว่า แม้ความปรากฏแก่ศาลเองก็ให้ศาลที่พิจารณาพิพากษาคดีหลังปฏิบัติตาม แต่สำหรับกรณีที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้พนักงานคุมประพฤติสืบเสาะและพินิจข้อเท็จจริงเกี่ยวกับประวัติการกระทำผิดของจำเลยก่อนที่ศาลพิพากษา เมื่อพนักงานคุมประพฤติรายงานว่าจำเลยเคยมีประวัติถูกศาลชั้นต้นพิพากษาให้ลงโทษจำเลยในความผิดต่อ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษลงโทษจำคุกและปรับ โทษจำคุกให้รอไว้มีกำหนด 2 ปี และกำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติจำเลย โดยให้จำเลยมารายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติทุก3 เดือนต่อครั้งภายในกำหนดระยะเวลา 1 ปี และให้จำเลยเว้นจากการเกี่ยวข้องกับยาเสพติดให้โทษ หรือมีพฤติการณ์เกี่ยวข้องกับสิ่งผิดกฎหมายใด ๆ แต่หลังจากที่ศาลมีคำพิพากษาแล้ว จำเลยมีพฤติการณ์เกี่ยวข้องกับยาเสพติดทั้งได้ยอมรับต่อพนักงานคุมประพฤติว่ายังคงเกี่ยวข้องกับยาเสพติดให้โทษอยู่ ซึ่งรายงานดังกล่าวถือว่าเป็นรายงานที่เป็นผลร้ายต่อจำเลย ศาลชั้นต้นปฏิบัติตาม พ.ร.บ.วิธีดำเนินการคุมความประพฤติตามประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ.2522 มาตรา 13 กล่าวคือแจ้งรายงานนั้นให้จำเลยทราบ จำเลยแถลงไม่คัดค้าน เป็นการยอมรับข้อเท็จจริงตามรายงาน รายงานดังกล่าวมีลักษณะเช่นเดียวกับคำแถลงของเจ้าพนักงานตาม ป.อ.มาตรา 58 ที่แก้ไขแล้ว ศาลจึงนำโทษที่รอไว้ในคดีก่อนมาบวกโทษในคดีหลังได้ในกรณีที่ศาลคดีหลังพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7273/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำโทษจำคุกที่รอการลงโทษในคดีก่อนมาบวกกับโทษในคดีหลัง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 58
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา58วรรคหนึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา(ฉบับที่10)พ.ศ.2532ซึ่งใช้บังคับก่อนการกระทำผิดคดีนี้และคดีอาญาหมายเลขแดงที่1500/2537ของศาลชั้นต้นบทบัญญัติดังกล่าวนี้แก้ไขและใช้บังคับพร้อมกับประมวลกฎหมายอาญามาตรา56วรรคสองซึ่งบัญญัติเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติของผู้กระทำผิดในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุกจำเลยแต่ให้รอการกำหนดโทษหรือรอการลงโทษไว้เมื่อมาตรา58วรรคหนึ่งกับมาตรา56วรรคสองมีการแก้ไขพร้อมกันแสดงว่ามีเจตนาจะให้สอดคล้องกันทั้งนี้เพื่อป้องกันมิให้จำเลยกระทำความผิดอีกแม้ว่าประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา192วรรคหนึ่งจะได้บัญญัติว่าห้ามมิให้พิพากษาหรือสั่งเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้องก็ตามเมื่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเป็นกฎหมายวิธีสบัญญัติย่อมจะต้องไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายอาญาซึ่งเป็นกฎหมายสารบัญญัติเช่นเมื่อประมวลกฎหมายอาญาบัญญัติเกี่ยวกับเรื่องโทษไว้อย่างไรการพิพากษาคดีย่อมจะต้องอาศัยประมวลกฎหมายอาญาในการกำหนดโทษมิให้ผิดไปจากประมวลกฎหมายอาญาบัญญัติไว้เช่นนี้ย่อมตีความประมวลกฎหมายอาญามาตรา58วรรคหนึ่งได้ว่าแม้ความปรากฎแก่ศาลเองก็ให้ศาลที่พิจารณาพิพากษาคดีหลังปฎิบัติตามแต่สำหรับกรณีที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้พนักงานคุมประพฤติสืบเสาะและพินิจข้อเท็จจริงเกี่ยวกับประวัติการกระทำผิดของจำเลยก่อนที่ศาลพิพากษาเมื่อพนักงานคุมประพฤติรายงานว่าจำเลยเคยมีประวัติถูกศาลชั้นต้นพิพากษาให้ลงโทษจำเลยในความผิดต่อพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษลงโทษจำคุกและปรับโทษจำคุกให้รอไว้มีกำหนด2ปีและกำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติจำเลยโดยให้จำเลยมารายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติทุก3เดือนต่อครั้งภายในกำหนดระยะเวลา1ปีและให้จำเลยเว้นจากการเกี่ยวข้องกับยาเสพติดให้โทษหรือมีพฤติการณ์เกี่ยวข้องกับสิ่งผิดกฎหมายใดๆแต่หลังจากที่ศาลมีคำพิพากษาแล้วจำเลยมีพฤติการณ์เกี่ยวข้องกับยาเสพติดทั้งได้ยอมรับต่อพนักงานคุมประพฤติว่ายังคงเกี่ยวข้องกับยาเสพติดให้โทษอยู่ซึ่งรายงานดังกล่าวถือว่าเป็นรายงานที่เป็นผลร้ายต่อจำเลยศาลชั้นต้นปฎิบัติตามพระราชบัญญัติวิธีดำเนินการคุมความประพฤติตามประมวลกฎหมายอาญาพ.ศ.2522มาตรา13กล่าวคือแจ้งรายงานนั้นให้จำเลยทราบจำเลยแถลงไม่คัดค้านเป็นการยอมรับข้อเท็จจริงตามรายงานรายงานดังกล่าวมีลักษณะเช่นเดียวกับคำแถลงของเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา58ที่แก้ไขแล้วศาลจึงนำโทษที่รอไว้ในคดีก่อนมาบวกโทษในคดีหลังได้ในกรณีที่ศาลคดีหลังพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7155/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาต่างตอบแทน การบอกเลิกสัญญา การผิดสัญญา และการลดเบี้ยปรับ
แถบบันทึกเสียงเป็นพยานวัตถุ ไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องถอดข้อความหรือจะต้องนำเข้าถามค้านพยานอีกฝ่ายเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงว่าพยานได้กล่าวถ้อยคำเช่นที่บันทึกในแถบบันทึกเสียงหรือไม่ แต่การที่จะให้ศาลรับฟังเป็นพยานหลักฐานในข้อเท็จจริงที่จำเลยประสงค์จะนำสืบก็ชอบที่จะถามค้านพยานโจทก์ไว้แม้จำเลยจะอ้างส่งประกอบคำเบิกความของพยานจำเลยและเมื่อเปิดฟังแถบบันทึกเสียงนั้นแล้ว จะมีข้อความตรงตามคำถอดข้อความจากแถบบันทึกเสียงก็ยังไม่พอฟังเป็นยุติได้เพราะการบันทึกเสียงในแถบบันทึกเสียงอาจมีการตัดต่อหรือดัดแปลงลอกเลียนเสียงได้ไม่ยากนัก สัญญาตกลงจ้างและผู้รับจ้างตกลงรับจ้างร้องเพลงบันทึกเสียงเพื่อการค้าโดยทำเพลงอย่างน้อยปีละ 1 ชุด และสัญญามีอายุ3 ปี เป็นสัญญาต่างตอบแทนที่ผู้รับจ้างจะมีรายได้เป็นรายปีเริ่มตั้งแต่ปีแรก ส่วนการกำหนดวิธีการที่จะทำให้มีรายได้เป็นเรื่องที่ฝ่ายผู้ว่าจ้างจะต้องเป็นผู้ดำเนินการเมื่อไม่ดำเนินการก็ถือว่าเป็นฝ่ายผิดสัญญาโจทก์จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ และสัญญาดังกล่าวเข้าเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 388 การบอกเลิกสัญญาจึงไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้า โจทก์แสดงภาพยนตร์ก่อนที่จะบอกเลิกสัญญากับจำเลยการแสดงภาพยนตร์โจทก์สามารถกระทำได้เพราะไม่มีข้อห้ามของสัญญา แต่การที่โจทก์ร้องเพลงประกอบภาพยนตร์เป็นข้อห้ามของสัญญาและกำหนดเบี้ยปรับไว้ด้วย โจทก์จึงต้องรับผิดต่อจำเลย เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าเบี้ยปรับสูงเกินส่วนศาลฎีกาเห็นสมควรลดเบี้ยปรับลงได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 เมื่อจำเลยชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ ส่วนโจทก์ต้องชดใช้เบี้ยปรับให้จำเลยเพื่อความสะดวกในการบังคับคดีศาลฎีกาจึงหักหนี้กันโดยให้มีผลนับแต่วันฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7155/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยานวัตถุ (แถบบันทึกเสียง) ต้องนำสืบโดยให้คู่ความฝ่ายตรงข้ามมีโอกาสตรวจสอบเพื่อรับรองหรือปฏิเสธ หากไม่ทำ ศาลไม่รับฟังเป็นหลักฐาน
แถบบันทึกเสียงเป็นพยานวัตถุที่จำเลยทำขึ้นแต่เพียงฝ่ายเดียว การที่จะให้ศาลรับฟังเป็นพยานหลักฐานตามที่จำเลยนำสืบก็น่าจะได้นำเข้าถามค้านพยานโจทก์โดยเปิดเสียงเพื่อให้พยานโจทก์ที่จำเลยอ้างว่าได้บันทึกเสียงไว้ รับรองหรือปฏิเสธเสียงหรือข้อความนั้น เมื่อพยานโจทก์นั้นไม่ได้ฟังข้อความในแถบบันทึกเสียงและไม่ได้ยอมรับคำถอดข้อความที่จำเลยอ้าง แม้แถบบันทึกเสียงจะมีข้อความดังคำถอดข้อความก็ตาม ก็ไม่พอฟังเป็นยุติตามนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6722/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษปรับในคดีทางหลวง และการแก้ไขคำพิพากษาให้ชัดเจนเรื่องวิธีบังคับค่าปรับ
คดีนี้ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 3 เดือน และปรับ 6,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ มีกำหนด 3 ปี การที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษปรับโดยมิได้กำหนดวิธีบังคับค่าปรับนั้นจึงไม่ชัดแจ้ง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ชัดแจ้งได้ โดยแก้เป็นว่าหากไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตาม ป.อ. มาตรา 29, 30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6595/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจผู้จัดการมรดกขายทรัพย์มรดก vs. อำนาจผู้แทนโดยชอบธรรมของทายาทผู้เยาว์: นิติกรรมไม่โมฆะ
นอกจากจำเลยที่1จะเป็นทายาทของผู้ตายและเป็นมารดาผู้แทนโดยชอบธรรมของทายาทซึ่งเป็นผู้เยาว์ด้วยแล้วก็ยังเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายด้วยเมื่อจำเลยที่1ขายที่พิพาทไปในขอบอำนาจในฐานะผู้จัดการมรดกไม่ใช่ในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของบุตรผู้เยาว์จึงเป็นเรื่องผู้จัดการมรดกขายทรัพย์มรดกซึ่งจะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1574มาใช้บังคับไม่ได้นิติกรรมขายที่พิพาทจึงไม่เป็นโมฆะ เมื่อจำเลยที่1และที่2ยอมโอนที่พิพาทกลับมาเป็นทรัพย์มรดกตามคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความแม้จะยังไม่ได้โอนใส่ชื่อจำเลยที่1ในฐานะผู้จัดการมรดกถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดก็ถือว่าที่พิพาทเป็นทรัพย์มรดกอยู่ในอำนาจหน้าที่ของผู้จัดการมรดกที่จะต้องจัดการแบ่งปันแก่ทายาทด้วยโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากทายาทจำเลยที่1ย่อมมีอำนาจโอนขายที่พิพาทให้แก่จำเลยที่3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6595/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจผู้จัดการมรดกในการขายทรัพย์มรดกและการแบ่งปันผลประโยชน์
จำเลยที่ 1 เป็นทายาทและเป็นมารดาผู้แทนโดยชอบธรรมของว. ท. และ ส. ทายาทซึ่งเป็นผู้เยาว์ และจำเลยที่ 1 ยังเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายด้วย ก่อนจำเลยที่ 1 จะขายที่ดินพิพาท จำเลยที่ 1 ได้เรียกประชุมทายาทโดยมีจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกและในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ทั้ง3 คน และมีทายาทอื่นรวมทั้ง ห. ผู้แทนของโจทก์ร่วมประชุมด้วย ที่ประชุมมีมติเอกฉันท์ ให้ผู้จัดการมรดกดำเนินการนำที่ดินพิพาทจัดการหาผลประโยชน์เข้ามากองมรดกต่อไป หลังจากมีการขายที่ดินพิพาทแล้ว จำเลยที่ 1 ก็ได้แบ่งปันเงินที่ได้ให้แก่ทายาทตามส่วน ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ขายที่ดินพิพาทไปในขอบเขตอำนาจของจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดก ไม่ใช่ในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของบุตรผู้เยาว์แต่เป็นเรื่องผู้จัดการมรดกขายทรัพย์มรดกซึ่งจะนำ ป.พ.พ. มาตรา 1574 มาใช้บังคับไม่ได้ นิติกรรมซื้อขายที่ดินพิพาทไม่เป็นโมฆะ
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ยังไม่ได้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทกลับมาเป็นชื่อของจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกถือกรรมสิทธิ์ในโฉนด ตามสัญญาประนี-ประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอม แต่คำพิพากษานั้นย่อมผูกพันคู่ความในคดีเมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 ยอมโอนที่ดินพิพาทกลับมาเป็นทรัพย์มรดก แม้จะยังไม่ได้โอนใส่ชื่อจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดนั้นก็ตามก็ถือได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกตกอยู่ในอำนาจหน้าที่ของผู้จัดการมรดกที่จะต้องจัดการแบ่งปันแก่ทายาทด้วย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1719 โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากทายาทจำเลยที่ 1 มีอำนาจโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 3
of 32