พบผลลัพธ์ทั้งหมด 311 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5327/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกทรัพย์สินคืนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิยึดถือ มิใช่คดีชำระบัญชี แต่เป็นการใช้สิทธิติดตามทรัพย์สิน
การที่จำเลยให้การว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความเนื่องจากโจทก์ฟ้องเมื่อพ้นกำหนด1ปีนับแต่ผู้ชำระบัญชีของโจทก์ชำระบัญชีเสร็จสิ้นเป็นการให้การต่อสู้แจ้งชัดว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1272จำเลยมิได้ให้การว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความฟ้องร้องคดีละเมิดตามมาตรา448คดีจึงไม่มีประเด็นให้วินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความตามมาตรา448ซึ่งจำเลยมิได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้มาเป็นเหตุยกฟ้องโจทก์จึงไม่ชอบ โจทก์ฟ้องว่าจำเลยซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นและกรรมการบริษัทโจทก์ทำบัญชีงบดุลโดยนำเงินของโจทก์ไปใช้ส่วนตัวโดยลงรายการเป็นค่าใช้จ่ายของโจทก์ซึ่งไม่มีหลักฐานการจ่ายเงินและเป็นรายการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายหลายรายการรายการค่าใช้จ่ายดังกล่าวไม่ใช่ค่าใช้จ่ายในกิจการของโจทก์และเป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นก่อนโจทก์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลซึ่งที่ประชุมตั้งบริษัทไม่ได้ให้สัตยาบันและอนุมัติการจ่ายเงินนั้นและขอให้บังคับจำเลยคืนเงินดังกล่าวนั้นมิใช่กรณีที่บริษัทเมื่อบริษัทโจทก์ได้เลิกกันและมีการชำระบัญชีเสร็จแล้วผู้เป็นเจ้าหนี้ฟ้องเรียกหนี้สินซึ่งผู้ถือหุ้นของบริษัทเป็นลูกหนี้อยู่ฐานเช่นนั้นดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1272จึงไม่อาจนำอายุความตามที่บัญญัติไว้ในมาตราดังกล่าวมาใช้บังคับแก่คดีนี้ได้การฟ้องคดีนี้เป็นเรื่องที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์สินฟ้องเรียกทรัพย์สินคืนอันเป็นการใช้สิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากจำเลยบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ตามมาตรา1336ซึ่งไม่มีกำหนดเวลาให้เจ้าของทรัพย์สินใช้สิทธิเช่นนี้โจทก์เป็นผู้ถูกโต้แย้งสิทธิดังกล่าวอยู่ตลอดเวลาทราบเท่าที่จำเลยยังมิได้คืนเงินให้โจทก์คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5194/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับสัญญา, การผิดสัญญา, การลดเบี้ยปรับ, ศาลใช้ดุลพินิจ
สัญญาสำหรับผู้ที่ขออนุญาตไปศึกษาวิชาโดยทุนส่วนตัวระหว่างโจทก์และจำเลยที่1ข้อ1มีข้อความว่า"ข้าพเจ้าจะตั้งใจและพากเพียรศึกษาวิชาโดยเต็มสติปัญญาในระหว่างศึกษาวิชาอยู่ข้าพเจ้าจะประพฤติตนให้เรียบร้องไม่เกียจคร้านและจะไม่ทำการสมรสในต่างประเทศถ้าข้าพเจ้าปฏิบัติผิดสัญญาข้อนี้แล้วทางราชการก็ชอบที่จะเรียกกลับหรือสั่งปลดข้าพเจ้าได้ทั้งข้าพเจ้าจะต้องคืนเงินรายเดือนและเงินค่าใช้จ่ายซึ่งทางราชการจ่ายให้แก่ข้าพเจ้าในระหว่างศึกษาเพิ่มเติมให้แก่ทางราชการด้วยทั้งสิ้น"ส่วนข้อ2มีข้อความว่า"เมื่อเสร็จการศึกษาแล้วข้าพเจ้าจะกลับมารับราชการในกระทรวงกลาโหมต่อไปถ้าข้าพเจ้ากลับมารับราชการได้ยังไม่ครบ2เท่าของเวลาที่ไปศึกษาแต่ไม่น้อยกว่า3ปีเป็นอย่างน้อยหรือยังไม่ครบ10ปีเป็นอย่างมากนับแต่กลับมารับราชการหากข้าพเจ้าประสงค์จะลาออกจากราชการก่อนกำหนดที่กล่าวแล้วแล้วข้าพเจ้ายอมใช้เงินเป็นจำนวน3เท่าของเงินรายเดือนและค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นที่ทางราชการได้จ่ายให้ในระหว่างเวลาที่ข้าพเจ้าศึกษาวิชาอยู่นั้นจนครบถ้วนทันทีเมื่อได้รับการทวงถาม"จากข้อสัญญาดังกล่าวในกรณีที่จำเลยที่1จะต้องคืนเงินรายเดือนและค่าใช้จ่ายตามสัญญาข้อ1นั้นจำเลยที่1จะต้องปฏิบัติผิดสัญญา3ประการคือไม่ตั้งใจและพากเพียรศึกษาวิชาประพฤติตนไม่เรียบร้อยและเกียจคร้านและทำการสมรสในต่างประเทศซึ่งเป็นเหตุให้โจทก์อาจจะเรียกจำเลยที่1กลับหรือสั่งปลดจำเลยที่1ได้โดยที่จำเลยที่1ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายใดๆจากโจทก์เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่1ได้กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดใน3ประการดังที่กล่าวมาและโจทก์มิได้เรียกจำเลยที่1กลับประเทศไทยหรือปลดจำเลยที่1ออกจากราชการกลับปรากฏว่าจำเลยที่1มีหนังสือถึงโจทก์ขอลาออกจากราชการนับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดที่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ให้ขยายเวลาเพื่อการศึกษาวิชาแม้ว่าจำเลยที่1จะไม่สำเร็จการศึกษาแต่ตามสัญญาใช้คำว่าเสร็จการศึกษาดังนั้นไม่ว่าจำเลยที่1จะสำเร็จการศึกษาหรือไม่จำเลยที่1ก็มีหน้าที่ต้องกลับมารับราชการตามที่ทำสัญญาไว้แก่โจทก์ตามสัญญาข้อ2เมื่อจำเลยที่1ไม่กลับมารับราชการตามที่ได้สัญญาไว้และลาออกไปก่อนที่จะกลับมารับราชการตามที่สัญญาไว้ย่อมถือว่าจำเลยที่1ผิดสัญญาข้อ2ดังกล่าวข้างต้นแล้ว สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1ดังกล่าวเป็นสัญญาที่มีการกำหนดเบี้ยปรับไว้ในกรณีที่มีการผิดสัญญาเฉพาะที่กำหนดไว้ในข้อ2เท่านั้นส่วนข้อ1เป็นเรื่องที่จำเลยที่1จะคืนเงินรายเดือนและเงินค่าใช้จ่ายซึ่งทางราชการจ่ายให้แก่จำเลยที่1ในกรณีที่จำเลยปฏิบัติผิดข้อสัญญาที่กล่าวไว้ในข้อ1และโจทก์เรียกตัวจำเลยที่1กลับจากต่างประเทศหรือมีคำสั่งปลดจำเลยที่1ออกจากราชการเพราะเหตุที่จำเลยที่1ปฏิบัติผิดสัญญาข้อ1เท่านั้นไม่มีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับแม้จะอยู่ในสัญญาฉบับเดียวกันก็ตามเพราะสัญญาดังกล่าวมีข้อความกำหนดไว้ชัดเจนดังนั้นเมื่อจำเลยที่1ทำผิดสัญญาข้อ2จำเลยที่1จึงต้องชำระเบี้ยปรับแก่โจทก์ซึ่งเป็นคู่สัญญา การที่โจทก์เรียกให้จำเลยที่1ชำระเงินจำนวนที่ได้รับไปจากโจทก์ในระหว่างที่จำเลยที่1ไปศึกษาวิชาที่ต่างประเทศโดยหน่วยงานของโจทก์เห็นว่าจำเลยที่1ทำผิดสัญญาข้อ1แห่งสัญญาดังกล่าวและทำเรื่องเสนอโจทก์ให้ออกคำสั่งอนุมัติให้จำเลยที่1ลาออกจากราชการนั้นแม้จำเลยที่1โดยบิดาจำเลยที่1เป็นผู้ชำระแทนก็ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์เรียกให้จำเลยที่1ชำระเบี้ยปรับจำนวน1เท่าของเงินรายเดือนและค่าใช้จ่ายที่จำเลยที่1ได้รับไปจากโจทก์โดยมิได้สงวนสิทธิที่จะเรียกให้ชำระเบี้ยปรับในส่วนที่เหลือเพราะพึงพอใจในเงินเบี้ยปรับนั้นแล้วเป็นเรื่องที่หน่วยงานของโจทก์ตีความในสัญญาไม่ถูกต้องและถือไม่ได้ว่าการที่โจทก์อนุญาตให้จำเลยที่1ลาออกจากราชการเป็นการยอมรับเอาเบี้ยปรับจำนวน1เท่าไว้แล้วดังจะเห็นได้จากสัญญาข้อ2ก็ได้กล่าวถึงการลาออกก่อนกำหนดเวลาที่จะกลับมาทำงานให้แก่โจทก์ครบถ้วนตามกำหนดเวลาที่ระบุไว้ในสัญญาแสดงว่าโจทก์อนุญาตให้จำเลยที่1ลาออกจำเลยที่1ก็ยังมีภาระที่จะต้องชำระเบี้ยปรับแก่โจทก์การชำระหนี้ในกรณีนี้คือการกลับมาปฏิบัติงานให้แก่โจทก์ตามกำหนดระยะเวลาที่ระบุไว้ในสัญญาเมื่อจำเลยที่1มิได้ชำระหนี้เลยจะถือว่าโจทก์ยอมรับการชำระหนี้โดยมิได้สงวนสิทธิในเรื่องเบี้ยปรับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา381วรรคท้ายไม่ได้จำเลยที่1ยังมีหน้าที่จะต้องชำระเบี้ยปรับให้แก่โจทก์ การกำหนดเบี้ยปรับคือข้อสัญญาที่คู่กรณีกำหนดความเสียหายไว้ล่วงหน้าเนื่องจากการที่ลูกหนี้มิได้ชำระหนี้หรือชำระหนี้ไม่ถูกต้องตามสมควรและตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา383วรรคหนึ่งเบี้ยปรับที่กำหนดไว้ในสัญญาในกรณีที่ผิดสัญญานั้นกฎหมายมิได้บังคับเด็ดขาดว่าจะต้องให้เป็นไปตามนั้นแต่ต้องพิเคราะห์ถึงทางได้เสียของเจ้าหนี้ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายด้วยซึ่งมิใช่แต่ทางได้เสียในเชิงทรัพย์สินเท่านั้นดังนั้นเมื่อโจทก์มิได้นำสืบให้ปรากฏชัดแจ้งว่าโจทก์เสียหายเต็มตามจำนวนเบี้ยปรับที่กำหนดไว้ในสัญญาศาลย่อมใช้ดุลพินิจลดเบี้ยปรับตามสัญญาลงได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5194/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับสัญญา, การผิดสัญญา, การชำระหนี้, ศาลลดเบี้ยปรับ, ความเสียหายที่แท้จริง
สัญญาสำหรับผู้ที่ขออนุญาตไปศึกษาวิชาโดยทุนส่วนตัวระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 ข้อ 1 มีข้อความว่า "ข้าพเจ้าจะตั้งใจและพากเพียรศึกษาวิชาโดยเต็มสติปัญญา ในระหว่างศึกษาวิชาอยู่ข้าพเจ้าจะประพฤติตนให้เรียบร้อยไม่เกียจคร้านและจะไม่ทำการสมรสในต่างประเทศ ถ้าข้าพเจ้าปฏิบัติผิดสัญญาข้อนี้แล้ว ทางราชการก็ชอบที่จะเรียกกลับหรือสั่งปลดข้าพเจ้าได้... ทั้งข้าพเจ้าจะต้องคืนเงินรายเดือนและเงินค่าใช้จ่ายซึ่งทางราชการจ่ายให้แก่ข้าพเจ้าในระหว่างศึกษาเพิ่มเติมให้แก่ทางราชการด้วยทั้งสิ้น" ส่วนข้อ 2 มีข้อความว่า "เมื่อเสร็จการศึกษาแล้ว ข้าพเจ้าจะกลับมารับราชการในกระทรวงกลาโหมต่อไป ถ้าข้าพเจ้ากลับมารับราชการได้ยังไม่ครบ 2 เท่า ของเวลาที่ไปศึกษา แต่ไม่น้อยกว่า 3 ปี เป็นอย่างน้อย หรือยังไม่ครบ 10 ปี เป็นอย่างมาก นับแต่กลับมารับราชการ... หากข้าพเจ้าประสงค์จะลาออกจากราชการก่อนกำหนดที่กล่าวแล้วข้าพเจ้ายอมใช้เงินเป็นจำนวน 3 เท่าของเงินรายเดือนและค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นที่ทางราชการได้จ่ายให้ในระหว่างเวลาที่ข้าพเจ้าศึกษาวิชาอยู่นั้นจนครบถ้วนทันทีเมื่อได้รับการทวงถาม" จากข้อสัญญาดังกล่าวในกรณีที่จำเลยที่ 1 จะต้องคืนเงินรายเดือนและค่าใช้จ่ายตามสัญญาข้อ 1 นั้นจำเลยที่ 1 จะต้องปฏิบัติผิดสัญญา 3 ประการ คือ ไม่ตั้งใจและพากเพียรศึกษาวิชาประพฤติตนไม่เรียบร้อยและเกียจคร้าน และทำการสมรสในต่างประเทศ ซึ่งเป็นเหตุให้โจทก์อาจจะเรียกจำเลยที่ 1 กลับหรือสั่งปลดจำเลยที่ 1 ได้ โดยที่จำเลยที่ 1ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายใด ๆ จากโจทก์ เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดใน 3 ประการ ดังที่กล่าวมา และโจทก์มิได้เรียกจำเลยที่ 1 กลับประเทศไทย หรือปลดจำเลยที่ 1 ออกจากราชการ กลับปรากฏว่าจำเลยที่ 1 มีหนังสือถึงโจทก์ขอลาออกจากราชการนับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดที่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ให้ขยายเวลาเพื่อการศึกษาวิชา แม้ว่าจำเลยที่ 1 จะไม่สำเร็จการศึกษา แต่ตามสัญญาใช้คำว่า เสร็จการศึกษา ดังนั้น ไม่ว่าจำเลยที่ 1จะสำเร็จการศึกษาหรือไม่ จำเลยที่ 1 ก็มีหน้าที่ต้องกลับมารับราชการตามที่ทำสัญญาไว้แก่โจทก์ตามสัญญาข้อ 2 เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่กลับมารับราชการตามที่ได้สัญญาไว้และลาออกไปก่อนที่จะกลับมารับราชการตามที่ได้สัญญาไว้ย่อมถือว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาข้อ 2 ดังกล่าวข้างต้นแล้ว
สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ดังกล่าวเป็นสัญญาที่มีการกำหนดเบี้ยปรับไว้ในกรณีที่มีการผิดสัญญาเฉพาะที่กำหนดไว้ในข้อ 2 เท่านั้น ส่วนข้อ 1 เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 จะต้องคืนเงินรายเดือนและเงินค่าใช้จ่ายซึ่งทางราชการจ่ายให้แก่จำเลยที่ 1 ในกรณีที่จำเลยปฏิบัติผิดข้อสัญญาที่กล่าวไว้ในข้อ 1 และโจทก์เรียกตัวจำเลยที่ 1 กลับจากต่างประเทศหรือมีคำสั่งปลดจำเลยที่ 1 ออกจากราชการเพราะเหตุที่จำเลยที่ 1 ปฏิบัติผิดสัญญาข้อ 1 เท่านั้นไม่มีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับ แม้จะอยู่ในสัญญาฉบับเดียวกันก็ตาม เพราะสัญญาดังกล่าวมีข้อความกำหนดไว้ชัดเจน ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 ทำผิดสัญญาข้อ 2จำเลยที่ 1 จึงต้องชำระเบี้ยปรับแก่โจทก์ซึ่งเป็นคู่สัญญา
การที่โจทก์เรียกให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินจำนวนที่ได้รับไปจากโจทก์ในระหว่างที่จำเลยที่ 1 ไปศึกษาวิชาที่ต่างประเทศโดยหน่วยงานของโจทก์เห็นว่าจำเลยที่ 1 ทำผิดสัญญาข้อ 1 แห่งสัญญาดังกล่าวและทำเรื่องเสนอโจทก์ให้ออกคำสั่งอนุมัติให้จำเลยที่ 1 ลาออกจากราชการนั้น แม้จำเลยที่ 1 โดยบิดาจำเลยที่ 1 เป็นผู้ชำระแทน ก็ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์เรียกให้จำเลยที่ 1 ชำระเบี้ยปรับจำนวน 1 เท่า ของเงินรายเดือนและค่าใช้จ่ายที่จำเลยที่ 1 ได้รับไปจากโจทก์โดยมิได้สงวนสิทธิที่จะเรียกให้ชำระเบี้ยปรับในส่วนที่เหลือเพราะพึงพอใจในเงินเบี้ยปรับนั้นแล้ว เป็นเรื่องที่หน่วยงานของโจทก์ตีความในสัญญาไม่ถูกต้องและถือไม่ได้ว่าการที่โจทก์อนุญาตให้จำเลยที่ 1 ลาออกจากราชการเป็นการยอมรับเอาเบี้ยปรับจำนวน 1 เท่า ไว้แล้ว ดังจะเห็นได้จากสัญญาข้อ 2 ก็ได้กล่าวถึงการลาออกก่อนกำหนดเวลาที่จะกลับมาทำงานให้แก่โจทก์ครบถ้วนตามกำหนดเวลาที่ระบุไว้ในสัญญา แสดงว่าแม้โจทก์อนุญาตให้จำเลยที่ 1 ลาออกจำเลยที่ 1 ก็ยังมีภาระที่จะต้องชำระเบี้ยปรับแก่โจทก์ การชำระหนี้ในกรณีนี้คือการกลับมาปฏิบัติงานให้แก่โจทก์ตามกำหนดระยะเวลาที่ระบุไว้ในสัญญา เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้ชำระหนี้เลย จะถือว่าโจทก์ยอมรับการชำระหนี้โดยมิได้สงวนสิทธิในเรื่องเบี้ยปรับ ป.พ.พ. มาตรา 381 วรรคท้าย ไม่ได้ จำเลยที่ 1 ยังมีหน้าที่จะต้องชำระเบี้ยปรับให้แก่โจทก์
การกำหนดเบี้ยปรับคือข้อสัญญาที่คู่กรณีกำหนดความเสียหายไว้ล่วงหน้าเนื่องจากการที่ลูกหนี้มิได้ชำระหนี้หรือชำระหนี้ไม่ถูกต้องตามสมควรและตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง เบี้ยปรับที่กำหนดไว้ในสัญญาในกรณีที่ผิดสัญญานั้นกฎหมายมิได้บังคับเด็ดขาดว่าจะต้องให้เป็นไปตามนั้น แต่ต้องพิเคราะห์ถึงทางได้เสียของเจ้าหนี้ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายด้วย ซึ่งมิใช่แต่ทางได้เสียในเชิงทรัพย์สินเท่านั้น ดังนั้น เมื่อโจทก์มิได้นำสืบให้ปรากฏชัดแจ้งว่าโจทก์เสียหายเต็มตามจำนวนเบี้ยปรับที่กำหนดไว้ในสัญญา ศาลย่อมใช้ดุลพินิจลดเบี้ยปรับตามสัญญาลงได้
สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ดังกล่าวเป็นสัญญาที่มีการกำหนดเบี้ยปรับไว้ในกรณีที่มีการผิดสัญญาเฉพาะที่กำหนดไว้ในข้อ 2 เท่านั้น ส่วนข้อ 1 เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 จะต้องคืนเงินรายเดือนและเงินค่าใช้จ่ายซึ่งทางราชการจ่ายให้แก่จำเลยที่ 1 ในกรณีที่จำเลยปฏิบัติผิดข้อสัญญาที่กล่าวไว้ในข้อ 1 และโจทก์เรียกตัวจำเลยที่ 1 กลับจากต่างประเทศหรือมีคำสั่งปลดจำเลยที่ 1 ออกจากราชการเพราะเหตุที่จำเลยที่ 1 ปฏิบัติผิดสัญญาข้อ 1 เท่านั้นไม่มีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับ แม้จะอยู่ในสัญญาฉบับเดียวกันก็ตาม เพราะสัญญาดังกล่าวมีข้อความกำหนดไว้ชัดเจน ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 ทำผิดสัญญาข้อ 2จำเลยที่ 1 จึงต้องชำระเบี้ยปรับแก่โจทก์ซึ่งเป็นคู่สัญญา
การที่โจทก์เรียกให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินจำนวนที่ได้รับไปจากโจทก์ในระหว่างที่จำเลยที่ 1 ไปศึกษาวิชาที่ต่างประเทศโดยหน่วยงานของโจทก์เห็นว่าจำเลยที่ 1 ทำผิดสัญญาข้อ 1 แห่งสัญญาดังกล่าวและทำเรื่องเสนอโจทก์ให้ออกคำสั่งอนุมัติให้จำเลยที่ 1 ลาออกจากราชการนั้น แม้จำเลยที่ 1 โดยบิดาจำเลยที่ 1 เป็นผู้ชำระแทน ก็ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์เรียกให้จำเลยที่ 1 ชำระเบี้ยปรับจำนวน 1 เท่า ของเงินรายเดือนและค่าใช้จ่ายที่จำเลยที่ 1 ได้รับไปจากโจทก์โดยมิได้สงวนสิทธิที่จะเรียกให้ชำระเบี้ยปรับในส่วนที่เหลือเพราะพึงพอใจในเงินเบี้ยปรับนั้นแล้ว เป็นเรื่องที่หน่วยงานของโจทก์ตีความในสัญญาไม่ถูกต้องและถือไม่ได้ว่าการที่โจทก์อนุญาตให้จำเลยที่ 1 ลาออกจากราชการเป็นการยอมรับเอาเบี้ยปรับจำนวน 1 เท่า ไว้แล้ว ดังจะเห็นได้จากสัญญาข้อ 2 ก็ได้กล่าวถึงการลาออกก่อนกำหนดเวลาที่จะกลับมาทำงานให้แก่โจทก์ครบถ้วนตามกำหนดเวลาที่ระบุไว้ในสัญญา แสดงว่าแม้โจทก์อนุญาตให้จำเลยที่ 1 ลาออกจำเลยที่ 1 ก็ยังมีภาระที่จะต้องชำระเบี้ยปรับแก่โจทก์ การชำระหนี้ในกรณีนี้คือการกลับมาปฏิบัติงานให้แก่โจทก์ตามกำหนดระยะเวลาที่ระบุไว้ในสัญญา เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้ชำระหนี้เลย จะถือว่าโจทก์ยอมรับการชำระหนี้โดยมิได้สงวนสิทธิในเรื่องเบี้ยปรับ ป.พ.พ. มาตรา 381 วรรคท้าย ไม่ได้ จำเลยที่ 1 ยังมีหน้าที่จะต้องชำระเบี้ยปรับให้แก่โจทก์
การกำหนดเบี้ยปรับคือข้อสัญญาที่คู่กรณีกำหนดความเสียหายไว้ล่วงหน้าเนื่องจากการที่ลูกหนี้มิได้ชำระหนี้หรือชำระหนี้ไม่ถูกต้องตามสมควรและตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง เบี้ยปรับที่กำหนดไว้ในสัญญาในกรณีที่ผิดสัญญานั้นกฎหมายมิได้บังคับเด็ดขาดว่าจะต้องให้เป็นไปตามนั้น แต่ต้องพิเคราะห์ถึงทางได้เสียของเจ้าหนี้ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายด้วย ซึ่งมิใช่แต่ทางได้เสียในเชิงทรัพย์สินเท่านั้น ดังนั้น เมื่อโจทก์มิได้นำสืบให้ปรากฏชัดแจ้งว่าโจทก์เสียหายเต็มตามจำนวนเบี้ยปรับที่กำหนดไว้ในสัญญา ศาลย่อมใช้ดุลพินิจลดเบี้ยปรับตามสัญญาลงได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5194/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผิดสัญญาลาศึกษาต่อ-เบี้ยปรับสูงเกินควร ศาลลดค่าเสียหายตามสมควร
ตามสัญญาลาไปศึกษาต่อมีข้อตกลงว่าเมื่อเสร็จการศึกษาแล้วจะกลับมารับราชการต่อไปหากลาออกก่อนกำหนดยอมใช้เงินเป็นจำนวน3เท่าหมายความว่าไม่ว่าจะสำเร็จการศึกษาหรือไม่ก็มีหน้าที่ต้องกลับมารับราชการต่อไปเมื่อจำเลยลาออกไปก่อนที่จะกลับมารับราชการจึงเป็นการผิดสัญญาแม้โจทก์จะอนุมัติให้จำเลยลาออกจำเลยก็ต้องชำระเบี้ยปรับการที่โจทก์เรียกให้จำเลยที่1ชำระเงินจำนวนที่ได้รับไปจากโจทก์ในระหว่างลาไปศึกษาต่อถือไม่ได้ว่าเป็นการยอมรับให้ชำระเบี้ยปรับจำนวน1เท่าจำเลยที่1จะต้องชำระหนี้ให้แก่โจทก์คือกลับมาปฎิบัติงานให้ตามระยะเวลาที่ระบุไว้ในสัญญาเมื่อจำเลยที่1ยังไม่ได้ชำระหนี้ข้อนี้เลยจะถือว่าโจทก์ยอมรับชำระหนี้โดยสงวนสิทธิในเรื่องเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา381วรรคท้ายไม่ได้ การกำหนดเบี้ยปรับเป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าเมื่อลูกหนี้มิได้ชำระหนี้หรือชำระหนี้ไม่ถูกต้องสมควรประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา383วรรคแรกบัญญัติให้ศาลมีอำนาจลดลงได้เป็นจำนวนพอสมควรหากเห็นว่าเกินส่วนโดยพิเคราะห์ถึงทางได้เสียของเจ้าหนี้ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายมิใช่แต่ทางทรัพย์สินเท่านั้นและเมื่อโจทก์มิได้นำสืบให้ปรากฎชัดแจ้งว่าได้รับความเสียหายตามจำนวนค่าปรับที่กำหนดไว้ในสัญญาศาลย่อมใช้ดุลพินิจลดค่าปรับหรือเบี้ยปรับตามสัญญาลงได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4828/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งนัดพิจารณาคดี: วิธีการส่งหมายที่ถูกต้องตามกฎหมาย
การส่งหมายนัดโดยวิธีอื่นแทนการส่งหมายแก่จำเลยโดยวิธีธรรมดาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา79นั้นต้องเป็นกรณีที่ไม่สามารถส่งหมายโดยวิธีธรรมดาดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา74ถึง78แล้วถ้ายังสามารถส่งโดยวิธีธรรมดาได้การส่งหมายโดยใช้วิธีอื่นตามมาตรา79ย่อมเป็นการไม่ชอบดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นปิดประกาศแจ้งนัดฟังคำพิพากษาที่หน้าศาลโดยมิได้ดำเนินการส่งหมายโดยวิธีธรรมดาก่อนจะถือว่าจำเลยทราบวันนัดฟังคำพิพากษาแล้วยังไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4825/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิรูปที่ดิน: การเพิกถอนสิทธิผู้รับประโยชน์เนื่องจากคุณสมบัติไม่ครบถ้วน ไม่ถือเป็นละเว้นหน้าที่โดยมิชอบ
คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัดได้ประกาศรายชื่อโจทก์เป็นผู้ได้รับคัดเลือกให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินตามระเบียบแล้ว ต่อมาจำเลยซึ่งดำรงตำแหน่งปฏิรูปที่ดินจังหวัดเห็นว่าโจทก์ขาดคุณสมบัติตามระเบียบคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจึงเสนอเรื่องให้คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัดพิจารณาทบทวนมติเดิม คณะกรรมการมีมติให้รอการพิจารณาของศาลก่อนจึงจะมีมติต่อไป จำเลยจึงต้องรอฟังมติดังกล่าวทำให้ไม่สามารถมอบหนังสือรับมอบที่ดินให้โจทก์ การกระทำของจำเลยเป็นการมุ่งหมายเพื่อให้การปฏิรูปที่ดินดำเนินไปตามวัตถุประสงค์ของกฎหมายเท่านั้น ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์อันจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4825/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเว้นหน้าที่ปฎิรูปที่ดิน: เหตุผลความเสียหายต้องพิสูจน์ได้ การรอผลการพิจารณาของคณะกรรมการไม่ถือเป็นความผิด
โจทก์ระบุพยานและขอให้ศาลชั้นต้นหมายเรียกรายงานการประชุมคณะกรรมการปฎิรูปที่ดินจังหวัดอุทัยธานีสำนักงานการปฎิรูปที่ดินจังหวัดอุทัยธานีได้จัดส่งมาตามหมายเรียกแม้โจทก์จะมิได้อ้างส่งเอกสารดังกล่าวเป็นพยานแต่ศาลฎีการับฟังเอกสารดังกล่าวโดยถือว่าเป็นพยานของศาลในการวินิจฉัยคดีได้ โจทก์ได้รับคัดเลือกจากคณะกรรมการปฎิรูปที่ดินจังหวัดอุทัยธานีให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินตามระเบียบคณะกรรมการเกี่ยวกับการคัดเลือกเกษตรกรแต่จำเลยซึ่งดำรงตำแหน่งปฎิรูปที่ดินจังหวัดอุทัยธานีไม่ได้มอบหนังสือรับมอบที่ดินให้โจทก์เนื่องจากเห็นว่าโจทก์ขาดคุณสมบัติที่จะได้รับที่ดินตามระเบียบคณะกรรมการปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมว่าด้วยหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขในการคัดเลือกเกษตรกรซึ่งมีสิทธิจะได้รับที่ดินจากการปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2525และเสนอเรื่องของโจทก์ให้คณะกรรมการปฎิรูปที่ดินจังหวัดอุทัยธานีทราบและพิจารณาทบทวนมติเดิมคณะกรรมการดังกล่าวจึงมีมติให้รอการพิจารณาของศาลก่อนจึงจะมีมติในเรื่องนี้ต่อไปจำเลยจึงต้องรอฟังมติของคณะกรรมการดังกล่าวทำให้ไม่สามารถมอบหนังสือรับมอบที่ดินให้โจทก์ได้การกระทำของจำเลยดังกล่าวเห็นได้ชัดว่าจำเลยมุ่งหมายเพื่อให้การปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมดำเนินไปตามวัตถุประสงค์ของกฎหมายเท่านั้นยังถือไม่ได้ว่าจำเลยละเว้นการปฎิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์อันจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา157
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4748/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
องค์ประกอบความผิดฉ้อโกงและยักยอก: ความครบถ้วนของคำฟ้องและการระบุวันเวลาเบียดบังทรัพย์
ตามคำฟ้องแยกข้อหาฉ้อโกงไว้ข้อก. ข. และง. และข้อหายักยอกไว้ข้อค. เมื่อพิเคราะห์คำฟ้องข้อก. ข. และง. แล้วมีความหมายพอเข้าใจได้ว่าประกาศกระทรวงได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยมีเจตนาทุจริตแสดงข้อความอันเป็นเท็จและปกปิดข้อความจริงอันควรบอกให้แจ้งโดยหลอกลวงโจทก์ร่วมในฟ้องข้อก.ว่าโจทก์ร่วมต้องเสียภาษีต่อกรมสรรพากรเป็นจำนวน147,053บาทและในฟ้องข้อข. และง. ว่าโจทก์ร่วมต้องเสียภาษีต่อกรมสรรพากรเป็นจำนวน60,813.58บาทและ71,999.20บาทซึ่งเป็นความเท็จส่วนที่โจทก์บรรยายฟ้องตอนต่อมาในข้อก.ว่าจำเลยกลับไปยื่นแบบแสดงรายการภาษีต่อกรมสรรพากรเพียง122,543.65บาทและในข. และง. ว่าจำเลยกลับทำแบบแสดงรายการภาษีโดยไม่ต้องชำระภาษีต่อกรมสรรพากรนั้นเท่ากับโจทก์ได้บรรยายว่าความจริงแล้วโจทก์ต้องเสียภาษีในฟ้องข้อก. เพียงใดหรือไม่หรือเสียภาษีในฟ้องข้อข. และง.เลยจนโจทก์ร่วมหลงเชื่อได้จ่ายเงินให้จำเลยไปตามที่จำเลยขอเบิกแล้วจำเลยได้เอาเงินส่วนที่เบิกเกินไปตามข้อก. และส่วนที่ไม่ได้ชำระภาษีเลยตามข้อข. และง. ไปเป็นประโยชน์ส่วนตัวจึงเป็นการบรรยายฟ้องที่ครบองค์ประกอบความผิดในข้อหาฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา341แล้ว การบรรยายคำฟ้องในการกระทำผิดข้อหายักยอกนั้นต้องระบุถึงวันเวลาที่จำเลยเบียดบังเอาทรัพย์ซึ่งเป็นวันกระทำผิดมาในฟ้องด้วยส่วนวันที่จำเลยครอบครองทรัพย์ไม่ใช่วันกระทำผิดเพราะผู้ครอบครองทรัพย์ของผู้อื่นไว้แต่ไม่ได้เบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือบุคคลที่สามโดยทุจริตผู้นั้นย่อมไม่มีความผิดข้อหายักยอกตามคำฟ้องข้อค. ที่กล่าวแต่เพียงวันที่จำเลยครอบครองทรัพย์ที่โจทก์แต่ไม่มีข้อความแสดงว่าจำเลยได้เบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนวันเวลาใดจะถือเอาวันที่จำเลยครอบครองทรัพย์เป็นวันที่จำเลยกระทำผิดหาได้ไม่เพราะไม่มีข้อความตอนใดที่จะให้เข้าใจได้เช่นนั้นจึงเป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายอาญามาตรา158(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4748/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
องค์ประกอบความผิดฉ้อโกงและการเบียดบังทรัพย์ในความผิดยักยอก: การระบุรายละเอียดวันเวลาที่กระทำผิด
ตามคำฟ้องแยกข้อหาฉ้อโกงไว้ข้อ ก. ข. และ ง. และข้อหายักยอกไว้ ข้อ ค. เมื่อพิเคราะห์คำฟ้องข้อ ก. ข. และ ง.แล้ว มีความหมายพอเข้าใจได้ว่า โจทก์ได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยมีเจตนาทุจริตแสดงข้อความอันเป็นเท็จและปกปิดข้อความจริงอันควรบอกให้แจ้งโดยหลอกลวงโจทก์ร่วมในฟ้องข้อ ก.ว่าโจทก์ร่วมต้องเสียภาษีต่อกรมสรรพากรเป็นจำนวน 147,053 บาท และในฟ้องข้อ ข.และ ง. ว่า โจทก์ร่วมต้องเสียภาษีต่อกรมสรรพากรเป็นจำนวน 60,813.58 บาทและ 71,999.20 บาท ซึ่งเป็นความเท็จ ส่วนที่โจทก์บรรยายฟ้องตอนต่อมาในข้อ ก.ว่า จำเลยกลับไปยื่นแบบแสดงรายการภาษีต่อกรมสรรพากรเพียง 122,543.65 บาทและใน ข. และ ง. ว่า จำเลยกลับทำแบบแสดงรายการภาษีโดยไม่ต้องชำระภาษีต่อกรมสรรพากรนั้นเท่ากับโจทก์ได้บรรยายว่า ความจริงแล้วโจทก์ต้องเสียภาษีในฟ้องข้อ ก.เพียงใด หรือไม่ต้องเสียภาษีในฟ้องข้อ ข. และ ง. เลยจนโจทก์ร่วมหลงเชื่อได้จ่ายเงินให้จำเลยไปตามที่จำเลยขอเบิก แล้วจำเลยได้เอาเงินส่วนที่เบิกเกินไปตามข้อ ก. และส่วนที่ไม่ได้ชำระภาษีเลยตามข้อ ข. และ ง.ไปเป็นประโยชน์ส่วนตัวจึงเป็นการบรรยายฟ้องที่ครบองค์ประกอบความผิดในข้อหาฉ้อโกงตาม ป.อ.มาตรา341 แล้ว
การบรรยายคำฟ้องในการกระทำผิดข้อหายักยอกนั้น ต้องระบุถึงวันเวลาที่จำเลยเบียดบังเอาทรัพย์ซึ่งเป็นวันกระทำผิดมาในฟ้องด้วย ส่วนวันที่จำเลยครอบครองทรัพย์ไม่ใช่วันกระทำผิดเพราะผู้ครอบครองทรัพย์ของผู้อื่นไว้แต่ไม่ได้เบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือบุคคลที่สามโดยทุจริต ผู้นั้นย่อมไม่มีความผิดข้อหายักยอกตามคำฟ้องข้อ ค. ที่กล่าวแต่เพียงวันที่จำเลยครอบครองทรัพย์ของโจทก์แต่ไม่มีข้อความแสดงว่าจำเลยได้เบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนวันเวลาใดจะถือเอาวันที่จำเลยครอบครองทรัพย์เป็นวันที่จำเลยกระทำผิดหาได้ไม่ เพราะไม่มีข้อความตอนใดที่จะให้เข้าใจได้เช่นนั้น จึงเป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วย ป.อ.มาตรา 158 (5)
การบรรยายคำฟ้องในการกระทำผิดข้อหายักยอกนั้น ต้องระบุถึงวันเวลาที่จำเลยเบียดบังเอาทรัพย์ซึ่งเป็นวันกระทำผิดมาในฟ้องด้วย ส่วนวันที่จำเลยครอบครองทรัพย์ไม่ใช่วันกระทำผิดเพราะผู้ครอบครองทรัพย์ของผู้อื่นไว้แต่ไม่ได้เบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือบุคคลที่สามโดยทุจริต ผู้นั้นย่อมไม่มีความผิดข้อหายักยอกตามคำฟ้องข้อ ค. ที่กล่าวแต่เพียงวันที่จำเลยครอบครองทรัพย์ของโจทก์แต่ไม่มีข้อความแสดงว่าจำเลยได้เบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนวันเวลาใดจะถือเอาวันที่จำเลยครอบครองทรัพย์เป็นวันที่จำเลยกระทำผิดหาได้ไม่ เพราะไม่มีข้อความตอนใดที่จะให้เข้าใจได้เช่นนั้น จึงเป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วย ป.อ.มาตรา 158 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4695/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องสัญญากู้และการนำสืบหลักฐานหนี้ การชำระหนี้เกินจำนวน และการนำไปชำระหนี้อื่น
โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดตามสัญญากู้ โจทก์นำสืบมูลที่มาของหนี้ตามสัญญากู้ว่าเดิมมีอยู่อย่างไร และเหตุใดจึงมีจำนวนหนี้ดังกล่าวตามที่จำเลยขีดฆ่าและลงชื่อกำกับไว้ก่อนที่จะมีการแก้ไขข้อความในเอกสารนั้นมีความเป็นมาอย่างไรมิใช่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94
แม้สัญญากู้ยืมจะเป็นตราสารที่ต้องปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์ตามประมวลรัษฎากรจึงจะอ้างเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้ แต่ในกรณีที่โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยชำระหนี้และจำเลยให้การรับว่าเป็นหนี้จริง โจทก์ก็ไม่จำเป็นต้องอ้างสัญญากู้ยืมเป็นพยานหลักฐาน
จำเลยเป็นหนี้โจทก์อยู่หลายจำนวน และได้ชำระหนี้ให้โจทก์เกินกว่าหนี้ที่ต้องชำระอยู่จำนวนหนึ่ง จึงให้นำเงินจำนวนดังกล่าวชำระหนี้ซึ่งถึงกำหนดชำระก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 328
แม้สัญญากู้ยืมจะเป็นตราสารที่ต้องปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์ตามประมวลรัษฎากรจึงจะอ้างเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้ แต่ในกรณีที่โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยชำระหนี้และจำเลยให้การรับว่าเป็นหนี้จริง โจทก์ก็ไม่จำเป็นต้องอ้างสัญญากู้ยืมเป็นพยานหลักฐาน
จำเลยเป็นหนี้โจทก์อยู่หลายจำนวน และได้ชำระหนี้ให้โจทก์เกินกว่าหนี้ที่ต้องชำระอยู่จำนวนหนึ่ง จึงให้นำเงินจำนวนดังกล่าวชำระหนี้ซึ่งถึงกำหนดชำระก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 328