คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ไพฑูรย์ แสงจันทร์เทศ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 311 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2372/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าตรวจพิสูจน์เอกสาร: ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจแบ่งความรับผิดค่าธรรมเนียม แม้ไม่ได้กำหนดในตารางค่าฤชาธรรมเนียม
กรณีที่ต้องนำสืบความเห็นผู้เชี่ยวชาญ เมื่อจำเลยเสียค่าใช้จ่ายในการตรวจพิสูจน์เอกสารโดยผู้เชี่ยวชาญไปเท่าใด ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจให้คู่ความฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดรับผิดในค่าใช้จ่ายส่วนนี้ได้ เพราะเป็นค่าธรรมเนียมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1219(2)แม้จะมิได้กำหนดไว้ในตาราง 1 ถึง 6 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง แต่ก็ถือว่าเป็นค่าธรรมเนียมอื่นที่กฎหมายบังคับให้ต้องเสียตามมาตรา 161 วรรคสอง จำเลยขอให้ศาลชั้นต้นส่งเอกสารไปให้ผู้เชี่ยวชาญกองพิสูจน์หลักฐาน กรมตำรวจ ตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อว่า เป็นลายมือชื่อของคนคนเดียวกันหรือไม่ ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งให้ส่งเอกสารไปให้ผู้เชี่ยวชาญกองพิสูจน์หลักฐาน กรมตำรวจตรวจพิสูจน์ดังจำเลยแถลงไว้ ถือว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งผู้เชี่ยวชาญตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 99 แล้ว ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นให้โจทก์ชนะคดีไม่เต็มจำนวนทุนทรัพย์ที่ฟ้อง แม้จำเลยจะมิได้อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์แก้ไขในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียม ศาลอุทธรณ์ก็มี อำนาจที่จะสั่งแก้ไขค่าฤชาธรรมเนียมส่วนใดส่วนหนึ่งได้ถ้าหากเห็นเป็นการสมควร ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 วรรคแรกและมาตรา 167 วรรคแรก การที่ศาลอุทธรณ์ให้โจทก์รับผิดในค่าธรรมเนียมของผู้เชี่ยวชาญจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2372/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันไม่สมบูรณ์ โจทก์ไม่มีหลักฐานพิสูจน์การทำสัญญา จำเลยไม่ต้องรับผิด
สำเนาภาพถ่ายสัญญาค้ำประกันท้ายฟ้องไม่มีต้นฉบับไม่ใช่ต้นฉบับสูญหายดังที่โจทก์อ้างและสำเนาสัญญาค้ำประกันที่อ้างส่งศาลก็มิใช่ต้นฉบับที่เป็นคู่ฉบับลายมือชื่อผู้ค้ำประกันในช่องผู้ค้ำประกันของเอกสารดังกล่าวไม่ใช่ลายมือชื่อของจำเลยที่2ดังนี้เมื่อจำเลยที่2ไม่ได้ทำสัญญาค้ำประกันตามสำเนาเอกสารท้ายฟ้องและสัญญาค้ำประกันที่ส่งศาลโจทก์จะอ้างเอกสารดังกล่าวเป็นหลักฐานในคดีนี้หาได้ไม่ถือได้ว่าโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานเป็นหนังสือที่จะฟ้องร้องบังคับจำเลยที่2ให้รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันได้ โจทก์กล่าวอ้างมาในคำฟ้องว่าจำเลยที่2ทำสัญญาค้ำประกันไว้กับโจทก์จำเลยที่2ต่อสู้คดีปฏิเสธว่าจำเลยที่2ไม่ได้ทำสัญญาค้ำประกันตามที่โจทก์กล่าวอ้างลายมือชื่อของจำเลยที่2ในสำเนาภาพถ่ายสัญญาค้ำประกันเป็นลายมือชื่อจำเลยที่2ปลอมจำเลยที่2จึงต้องนำสืบความเห็นผู้เชี่ยวชาญเมื่อจำเลยที่2เสียค่าใช้จ่ายในการตรวจพิสูจน์ไปเท่าใดศาลก็มีอำนาจใช้ดุลพินิจให้คู่ความฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดรับผิดในค่าใช้จ่ายส่วนนี้ได้เพราะเป็นค่าธรรมเนียมของผู้เชี่ยวชาญในการตรวจพิสูจน์เอกสารตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา129(2)แม้ค่าธรรมเนียมดังกล่าวจะมิได้กำหนดไว้ในตาราง1ถึง6ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งก็ตามแต่ก็ถือว่าเป็นค่าธรรมเนียมอื่นที่กฎหมายบังคับให้ต้องเสียตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา161วรรคสอง ตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นจำเลยที่2ขอให้ศาลชั้นต้นส่งเอกสารอื่นกับสำเนาภาพถ่ายสัญญาค้ำประกันเอกสารท้ายฟ้องที่โจทก์นำมาฟ้องและสัญญาค้ำประกันไปให้ผู้เชี่ยวชาญกองพิสูจน์หลักบานกรมตำรวจตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อว่าเป็นลายมือชื่อของคนคนเดียวกันหรือไม่ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งให้ส่งเอกสารไปให้ผู้เชี่ยวชาญกองพิสูจน์หลักฐานกรมตำรวจตรวจพิสูจน์ดังจำเลยที่2แถลงไว้ดังนี้ถือว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งผู้เชี่ยวชาญตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา99แล้วและการกำหนดความรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมสำหรับคู่ความนั้นศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจโดยคำนึงถึงเหตุผลสมควรและความสุจริตในการต่อสู้คดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา161วรรคแรกไม่ว่าคู่ความฝ่ายใดจักมีคำขอหรือไม่ก็ให้ศาลสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา167วรรคแรกคดีนี้ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นให้โจทก์ชนะคดีไม่เต็มจำนวนทุนทรัพย์ที่ฟ้องแม้จำเลยที่2จะมิได้อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์แก้ไขในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมก็ตามแต่ศาลอุทธรณ์มีอำนาจที่จะสั่งแก้ไขค่าฤชาธรรมเนียมส่วนใดส่วนหนึ่งได้ถ้าหากเห็นเป็นการสมควรที่ศาลอุทธรณ์ใช้ดุลพินิจกำหนดให้โจทก์รับผิดในค่าธรรมเนียมของผู้เชี่ยวชาญในการตรวจพิสูจน์เอกสารนั้นชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2192/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิรุธในการเบิกความ, บาดเจ็บไม่ร้ายแรง, อายุความคดีทำร้ายร่างกาย ทำให้ศาลยกฟ้อง
ในทางนำสืบโจทก์มีผู้เสียหายเป็นประจักษ์พยานแต่คำเบิกความของผู้เสียหายกับจำเลยยันกับอยู่จึงต้องอาศัยพยานแวดล้อมมาฟังประกอบคำเบิกความของผู้เสียหายผู้เสียหายมีบาดแผลที่ใบหน้าบริเวณโหนกแก้มขวาบวมช้ำเขียวขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ3เซนติเมตรมีรอยถลอกเป็นทาง1เซนติเมตรที่บริเวณเขียวช้ำตามร่างกายไม่พบบาดแผลบาดเจ็บที่ใบหน้าจากของแข็งไม่มีคนใช้เวลารักษาประมาณ10วันหายถ้าไม่มีโรคแทรกซ้อนลักษณะของการกระทำและบาดแผลดังกล่าวไม่ถึงกับเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ แม้โจทก์จะฟ้องว่าจำเลยชิงทรัพย์ผู้อื่นเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจแต่ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยกระทำความผิดเพียงฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจการจะลงโทษจำเลยในฐานความผิดที่ได้ความจากทางพิจารณาจะต้องดูว่าคดีไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา95ด้วยเมื่อความผิดที่ได้ความจากทางพิจารณามีอัตราโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนจึงมีอายุความหนึ่งปีตามมาตรา95(5)นับแต่วันกระทำความผิดจำเลยกระทำความผิดเมื่อวันที่29เมษายน2533โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่16กรกฎาคม2535เป็นเวลาเกินกว่า1ปีแล้วคดีจึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา185วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1788/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดิน: ศาลแก้ไขคำพิพากษาให้บังคับชำระหนี้ค่าที่ดินควบคู่กับการโอนกรรมสิทธิ์
ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยทั้งห้าร่วมกันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงให้แก่โจทก์โดยไม่บังคับให้โจทก์ชำระเงินค่าที่ดินพิพาทที่ค้างชำระไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา369แม้จำเลยทั้งห้าจะไม่ฟ้องแย้งและอุทธรณ์ฎีกาในข้อนี้ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้เพราะเป็นเรื่องการชำระหนี้ตามสัญญาต่างตอบแทน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1788/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ตามสัญญาต่างตอบแทนและการแก้ไขคำพิพากษาศาลล่าง
ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยทั้งห้าร่วมกันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงให้แก่โจทก์โดยไม่บังคับให้โจทก์ชำระเงินค่าที่ดินพิพาทที่ค้างชำระไม่ชอบด้วย ป.พ.พ. มาตรา 369 แม้จำเลยทั้งห้าจะไม่ฟ้องแย้งและอุทธรณ์ฎีกาในข้อนี้ ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้ เพราะเป็นเรื่องการชำระหนี้ตามสัญญาต่างตอบแทน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1777/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาขายฝาก: ผลของการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงและขอบเขตกรรมสิทธิ์ในส่วนควบ
ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีโดยฟังข้อเท็จจริงว่า สัญญาขายฝากเอกสารหมาย จ.1 ไม่เป็นนิติกรรมอำพราง เมื่อโจทก์อุทธรณ์ จำเลยมิได้แก้อุทธรณ์ในเรื่องนี้ไว้ ข้อเท็จจริงจึงต้องถือเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นดังกล่าว
สัญญาขายฝากอสังหาริมทรัพย์ซึ่งมีกฎหมายบังคับให้ต้องมีเอกสารมาแสดง ระบุกำหนดเวลาไถ่ 1 ปี การที่จำเลยให้การต่อสู้และนำสืบพยานว่าได้มีข้อตกลงให้จำเลยไถ่ 2 ปี จึงเป็นการสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข)
แม้สัญญาขายฝากระบุว่าขายฝากที่ดินพิพาทและสิ่งปลูกสร้างลงในที่ดินภายหลังวันขายฝาก โดยมิได้ระบุว่าตกลงขายฝากบ้านพิพาทไว้ในสัญญาด้วยก็ตามแต่บ้านพิพาทเป็นส่วนควบของที่ดิน บ้านพิพาทย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ทันทีที่ได้ทำสัญญาขายฝากตามแบบที่กฎหมายบังคับไว้โดยผลของกฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา144 วรรคสอง จึงถือได้ว่าสัญญาขายฝากดังกล่าวเป็นการขายฝากบ้านพิพาทด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1777/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาขายฝากอสังหาริมทรัพย์: การเปลี่ยนแปลงข้อตกลงและกรรมสิทธิ์ในส่วนควบ
ศาลชั้นต้นพิพากษาโดยฟังข้อเท็จจริงว่าสัญญาขายฝากเอกสารหมายจ.1ไม่เป็นนิติกรรมอำพรางเมื่อโจทก์อุทธรณ์จำเลยมิได้แก้อุทธรณ์ในเรื่องนี้ไว้ข้อเท็จจริงจึงต้องถือเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นดังกล่าว สัญญาขายฝากอสังหาริมทรัพย์ซึ่งมีกฎหมายบังคับให้ต้องมีเอกสารมาแสดงระบุกำหนดเวลาไถ่1ปีการที่จำเลยให้การต่อสู้และนำสืบพยานว่าได้มีข้อตกลงให้จำเลยไถ่2ปีจึงเป็นการสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94(ข) แม้สัญญาขายฝากระบุว่าขายฝากที่ดินพิพาทและสิ่งปลูกสร้างลงในที่ดินภายหลังวันขายฝากโดยมิได้ระบุว่าตกลงขายฝากบ้านพิพาทไว้ในสัญญาด้วยก็ตามแต่บ้านพิพาทเป็นส่วนควบของที่ดินบ้านพิพาทย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ทันทีที่ได้ทำสัญญาขายฝากตามแบบที่กฎหมายบังคับไว้โดยผลของกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา144วรรคสองจึงถือได้ว่าสัญญาขายฝากดังกล่าวเป็นการขายฝากบ้านพิพาทด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1353/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์โดยการครอบครองตามกฎหมาย และอำนาจฟ้องขับไล่ของผู้รับโอนสิทธิ
การที่ด.และค.ซึ่งเป็นตาและยายของจำเลยที่1ปลูกบ้านในที่พิพาทเพราะคนทั้งสองซื้อที่พิพาทมาจากบ.และผ.เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่พิพาทคนเดิมหาใช่เพราะบ.และผ.อนุญาตให้คนทั้งสองอยู่อาศัยไม่และจำเลยทั้งสองได้ครอบครองที่พิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันโดยสืบทอดมาจากตายายและบิดามารดาของจำเลยที่1มานานหลายสิบปีที่พิพาทจึงเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยทั้งสองโดยการครอบครองตามกฎหมายแม้ส. บุตรของบ.และผ.ได้ขอจดทะเบียนการได้มาซึ่งที่พิพาทโดยการครอบครองตามคำสั่งศาลชั้นต้นแล้วก็ตามส.ก็หามีสิทธิดีกว่าอันจะเป็นเหตุให้มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองไม่เพราะส.มิใช่ผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1299วรรคสองเมื่อส.ผู้โอนไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองโจทก์ทั้งสี่ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองเพราะโจทก์ทั้งสี่ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีไปกว่าส. ผู้โอน แม้คำสั่งของศาลชั้นต้นถึงที่สุดแสดงว่าส. ได้กรรมสิทธิ์ที่พิพาทโดยการครอบครองตามกฎหมายก็ตามแต่จำเลยทั้งสองเป็นบุคคลภายนอกคดีสามารถพิสูจน์ได้ว่าตนมีสิทธิดีกว่าเมื่อจำเลยทั้งสองได้กรรมสิทธิ์ที่พิพาทโดยการครอบครองตามกฎหมายคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวย่อมไม่ผูกพันจำเลยทั้งสองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา145วรรคสอง(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1353/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์จากการครอบครอง vs. สิทธิผู้รับโอน: บุคคลภายนอกคดีพิสูจน์สิทธิที่ดีกว่าได้ แม้ศาลมีคำสั่งถึงที่สุดแล้ว
การที่ ด.และ ค. ซึ่งเป็นตาและยายของจำเลยที่ 1 ปลูกบ้านในที่พิพาทเพราะคนทั้งสองซื้อที่พิพาทมาจาก บ.และ ผ.เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่พิพาทคนเดิม หาใช่เพราะ บ.และ ผ.อนุญาตให้คนทั้งสองอยู่อาศัยไม่ และจำเลยทั้งสองได้ครอบครองที่พิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันโดยสืบทอดมาจากตายายและบิดามารดาของจำเลยที่ 1 มานานหลายสิบปี ที่พิพาทจึงเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยทั้งสองโดยการครอบครองตามกฎหมาย แม้ ส.บุตรของบ.และผ.ได้ขอจดทะเบียนการได้มาซึ่งที่พิพาทโดยการครอบครองตามคำสั่งศาลชั้นต้นแล้วก็ตาม ส.ก็หามีสิทธิดีกว่าอันจะเป็นเหตุให้มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองไม่เพราะ ส.มิใช่ผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนตาม ป.พ.พ.มาตรา 1299 วรรคสองเมื่อ ส.ผู้โอนไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสอง โจทก์ทั้งสี่ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองเพราะโจทก์ทั้งสี่ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีไปกว่า ส.ผู้โอน
แม้คำสั่งของศาลชั้นต้นถึงที่สุดแสดงว่า ส.ได้กรรมสิทธิ์ที่พิพาทโดยการครอบครองตามกฎหมายก็ตาม แต่จำเลยทั้งสองเป็นบุคคลภายนอกคดีสามารถพิสูจน์ได้ว่าตนมีสิทธิดีกว่า เมื่อจำเลยทั้งสองได้กรรมสิทธิ์ที่พิพาทโดยการครอบครองตามกฎหมาย คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวย่อมไม่ผูกพันจำเลยทั้งสอง ตามป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรค 2 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1323/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องเคลือบคลุม & อำนาจฟ้อง: จำเลยต้องยกขึ้นว่ากันในศาลชั้นต้น, การละเมิดต้องมีนิติสัมพันธ์, หลักฐานความเสียหาย
ในปัญหาเรื่องฟ้องเคลือบคลุมคงมีแต่จำเลยที่1ให้การต่อสู้ไว้ส่วนจำเลยที่2ไม่ได้ให้การต่อสู้เรื่องฟ้องเคลือบคลุมดังนี้ข้ออ้างว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมตามฎีกาของจำเลยที่2จึงมิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ จำเลยทั้งสองฎีกาว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเนื่องจากไม่มีนิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสองปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องในกรณีเช่นนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนนอกจากนี้จำเลยทั้งสองยังให้การต่อสู้ไว้แม้ศาลชั้นต้นไม่ได้กำหนดประเด็นไว้แต่จำเลยที่1ก็ยื่นคำแถลงคัดค้านเพื่อใช้สิทธิในการอุทธรณ์ฎีกาแล้วศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยให้ได้
of 32