คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ไพฑูรย์ แสงจันทร์เทศ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 311 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2762/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวผิดหลายบท กรณีมีและใช้เครื่องวิทยุคมนาคม ศาลฎีกาแก้ไขโทษให้เหมาะสม
การที่จำเลยมีและใช้เครื่องวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับอนุญาตในวันและเวลาเดียวกัน ถือว่าจำเลยมีเจตนาอันเดียวกันการกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทต้องใช้กฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษแก่จำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 แต่เนื่องจากความผิดทั้งสองฐานดังกล่าวมีอัตราโทษเท่ากัน จึงต้องลงโทษจำเลยฐานใช้เครื่องวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับอนุญาต แม้จะปรากฎว่าคดีสามารถฎีกาได้แต่เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายแต่เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าโทษที่ศาลล่างลงแก่จำเลยหนักเกินไปศาลฎีกาย่อมมีอำนาจที่จะพิพากษาลงโทษจำเลยให้เหมาะสมแก่ความผิดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2698/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนมติ คชก.จังหวัด กรณีไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์สิทธิซื้อที่ดิน สิทธิซื้อที่ดินยังไม่สิ้นสุด
ที่ดินโฉนดเลขที่ 5175 ที่ พ. ซื้อจาก ส. ค.ช.ก.จังหวัดได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของ ส. เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2532 ว่า ผู้เช่าใช้สิทธิซื้อนาเป็นเวลาล่วงเลยมา 4 ปีเศษ นับแต่วันโอน จึงหมดสิทธิซื้อนา คำวินิจฉัยดังกล่าวเป็นที่สุดแล้ว ส่วนที่ดินโฉนดเลขที่ 5843 ที่ พ.ซื้อจาก บ. มีคำพิพากษาศาลฎีกาซึ่งถึงที่สุดวินิจฉัยว่าโจทก์ทั้งสองมิได้ใช้สิทธิซื้อมาภายในกำหนดเวลา 3 ปี จึงหมดสิทธิซื้อนา โจทก์ทั้งสองจึงต้องผูกพันตามคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดและคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าว กล่าวคือ โจทก์ทั้งสองหมดสิทธิซื้อที่ดินทั้ง 2 แปลง นั้นอีกต่อไป
การที่โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้พิพากษาว่ามติของ คชก.จังหวัดส่วนนี้เป็นโมฆะ โดยอ้างว่า พ.มิได้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของ คชก.ตำบล ต่อ คชก.จังหวัด ก็เพื่อวัตถุประสงค์จะให้มติของ คชก.จังหวัด ไม่มีผลใช้บังคับ การที่จะวินิจฉัยมติของ คชก.จังหวัดดังกล่าวเป็นโมฆะหรือไม่ ย่อมไม่มีผลให้โจทก์ทั้งสองมีสิทธิซื้อที่ดิน 2 แปลงนั้นได้อีก ศาลฎีกาจึงไม่จำเป็นต้องวินิฉัยในปัญหานี้ เพราะไม่เป็นประโยชน์แก่คดีของโจทก์ทั้งสอง
การที่ คชก.จังหวัดไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของ ส.และ ช.เพราะเห็นว่าไม่ได้ยื่นอุทธรณ์ผ่านประธาน คชก.ตำบลตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา 56 วรรคหนึ่ง แต่ข้อเท็จจริงกลับปรากฏว่าส.และ ช.ผู้อุทธรณ์ได้ยื่นอุทธรณ์ผ่านประธาน คชก.ตำบล ภายในกำหนดเวลาอุทธรณ์โดย ล.บุตรสาวซึ่งอยู่บ้านเดียวกันเป็นผู้รับแทน นอกจากนี้ ก่อนประชุม คชก.จังหวัด ประธาน คชก.ตำบลก็ได้มีหนังสือถึงประธาน คชก.จังหวัดยืนยันว่าได้ส่งอุทธรณ์ของ ส.และ ช.มาแล้ว กรณีจึงฟังได้ว่า ส.และ ช.ได้ยื่นอุทธรณ์ผ่านประธาน คชก.ตำบลโดยชอบด้วย พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา 56 วรรคหนึ่ง แล้ว คชก.จังหวัดจึงต้องรับวินิจฉัยอุทธรณ์ของ ส.และ ช. การที่ คชก.จังหวัดประชุมไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของ ส.และ ช.จึงเป็นการไม่ชอบ และยังไม่เป็นที่สุด การที่ต่อมา คชก.จังหวัดยกอุทธรณ์ของ ส.และ ช.ขึ้นวินิจฉัยในการประชุมครั้งต่อมา จึงไม่เป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2698/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยอุทธรณ์ที่ถูกต้องตามกฎหมายเช่าที่ดินและการเพิกถอนมติที่ไม่ชอบของ คชก. จังหวัด
ที่ดินโฉนดเลขที่ 5175 ที่ พ.ซื้อจากส. คชก. จังหวัดได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของ ส. เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2532 ว่า ผู้เช่าใช้สิทธิซื้อนาเป็นเวลาล่วงเลยมา 4 ปีเศษ นับแต่วันโอน จึงหมดสิทธิซื้อนา คำวินิจฉัยดังกล่าวเป็นที่สุดแล้ว ส่วนที่ดินโฉนดเลขที่ 5843 ที่ พ. ซื้อจาก บ. มีคำพิพากษาศาลฎีกาซึ่งถึงที่สุดวินิจฉัยว่าโจทก์ทั้งสองมิได้ใช้สิทธิซื้อมาภายในกำหนดเวลา 3 ปี จึงหมดสิทธิซื้อนา โจทก์ทั้งสองจึงต้องผูกพันตามคำวินิจฉัยของ คชก. จังหวัดและคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าว กล่าวคือ โจทก์ทั้งสองหมดสิทธิซื้อที่ดินทั้ง 2 แปลง นั้นอีกต่อไป
การที่โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้พิพากษาว่ามติของ คชก. จังหวัดเป็นโมฆะโดยอ้างว่า พ. มิได้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของ คชก.ตำบล ต่อ คชก.จังหวัดก็เพื่อวัตถุประสงค์จะให้มติของ คชก.จังหวัด ไม่มีผลใช้บังคับ แต่การที่จะวินิจฉัยมติของ คชก.จังหวัดดังกล่าวเป็นโมฆะหรือไม่ ไม่มีผลให้โจทก์ทั้งสองมีสิทธิซื้อที่ดิน 2 แปลงนั้นได้อีก ดังนี้ ศาลฎีกาจึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยในปัญหานี้ เพราะไม่เป็นประโยชน์แก่คดีของโจทก์ทั้งสอง
การที่ คชก.จังหวัดไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของ ส.และช. เพราะเห็นว่าไม่ได้ยื่นอุทธรณ์ผ่านประธาน คชก.ตำบลตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา 56 วรรคหนึ่ง แต่ข้อเท็จจริงกลับปรากฏว่าส.และช. ผู้อุทธรณ์ได้ยื่นอุทธรณ์ผ่านประธาน คชก.ตำบล ภายในกำหนดเวลาอุทธรณ์โดย ล. บุตรสาวซึ่งอยู่บ้านเดียวกันเป็นผู้รับแทน นอกจากนี้ ก่อนประชุม คชก.จังหวัด ประธาน คชก.ตำบลก็ได้มีหนังสือถึงประธาน คชก.จังหวัดยืนยันว่าได้ส่งอุทธรณ์ของ ส.และช.มาแล้วกรณีจึงฟังได้ว่าส.และ ช. ได้ยื่นอุทธรณ์ผ่านประธาน คชก.ตำบลโดยชอบด้วยพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา 56 วรรคหนึ่ง แล้ว คชก.จังหวัดจึงต้องรับวินิจฉัยอุทธรณ์ของ ส.และช. ดังนั้น ในครั้งที่ คชก.จังหวัดประชุมไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของ ส.และช. จึงเป็นการไม่ชอบและยังไม่เป็นที่สุดการที่ต่อมา คชก.จังหวัดยกอุทธรณ์ของ ส.และช. ขึ้นวินิจฉัยในการประชุมครั้งต่อมา จึงไม่เป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2570/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้เอกสารราชการปลอมกับฉ้อโกง: ความแตกต่างระหว่างเอกสารสิทธิและเอกสารราชการทั่วไป
จำเลยที่ 1 ได้ร่วมกับจำเลยที่ 2 และพวกใช้ใบคู่มือจดทะเบียนรถ บัตรประจำตัวประชาชนของ ส.สำเนาทะเบียนบ้านเลขที่ 95/304 และหนังสือรับรองการจดทะเบียนการเป็นนิติบุคคลของบริษัท ท. ซึ่งเป็นเอกสารปลอมและฉ้อโกงผู้เสียหาย แต่หนังสือคู่มือจดทะเบียนรถหรือใบคู่มือจดทะเบียนรถเป็นเพียงเอกสารซึ่งควบคุมการใช้รถยนต์และการจัดเก็บภาษีประจำปีตามพระราชบัญญัติรถยนต์เท่านั้น มิได้เป็นเอกสารที่เป็นหลักฐานแห่งการก่อเปลี่ยนแปลง โอน สงวนหรือระงับซึ่งสิทธิ ใบคู่มือจดทะเบียนรถจึงเป็นเพียงเอกสารราชการ หาได้เป็นเอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการไม่ การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นความผิดฐานใช้เอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการปลอม จำเลยที่ 1คงมีความผิดฐานใช้เอกสารราชการปลอมและฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83,268 วรรคแรกประกอบด้วยมาตรา 265,341 ข้อที่ว่าใบคู่มือจดทะเบียนรถมิได้เป็นเอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการโดยเป็นเพียงเอกสารราชการดังกล่าวเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 2 ที่มิได้อุทธรณ์ฎีกาด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2570/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ใบคู่มือจดทะเบียนรถไม่ใช่เอกสารสิทธิปลอม ความผิดฐานฉ้อโกงและใช้เอกสารราชการปลอม
จำเลยที่ 1 ได้ร่วมกับจำเลยที่ 2 และพวก ใช้ใบคู่มือจดทะเบียนรถ บัตรประจำตัวประชาชนของ ส. สำเนาทะเบียนบ้านเลขที่ 95/304และหนังสือรับรองการจดทะเบียนการเป็นนิติบุคคลของบริษัท ท. ซึ่งเป็นเอกสารปลอมและฉ้อโกงผู้เสียหาย แต่หนังสือคู่มือจดทะเบียนรถหรือใบคู่มือจดทะเบียนรถเป็นเพียงเอกสารซึ่งควบคุมการใช้รถยนต์และการจัดเก็บภาษีประจำปีตาม พ.ร.บ.รถยนต์เท่านั้น มิได้เป็นเอกสารที่เป็นหลักฐานแห่งการก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวนหรือระงับซึ่งสิทธิ ใบคู่มือจดทะเบียนรถจึงเป็นเพียงเอกสารราชการ หาได้เป็นเอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการไม่ การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นความผิดฐานใช้เอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการปลอม จำเลยที่ 1 คงมีความผิดฐานใช้เอกสารราชการปลอมและฉ้อโกง ตาม ป.อ.มาตรา 83, 268 วรรคแรก ประกอบด้วยมาตรา 265, 341
ข้อที่ว่าใบคู่มือจดทะเบียนรถมิได้เป็นเอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการโดยเป็นเพียงเอกสารราชการดังกล่าว เป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 2 ที่มิได้อุทธรณ์ฎีกาด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2163/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องรัฐมนตรีผู้รักษาการตาม พ.ร.ฎ.เวนคืน และการกำหนดราคาค่าทดแทนที่เหมาะสม
พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตลาดพร้าว พ.ศ. 2533 บัญญัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจำเลยเป็นผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีการัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยย่อมมีอำนาจหน้าที่ในการแต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นและจำนวนเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตลาดพร้าวพ.ศ. 2533 และมีอำนาจวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 อันเป็นอำนาจหน้าที่ที่ต้องดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของพระราชกฤษฎีกา ดังนั้น เมื่อมีข้อโต้แย้ง เกี่ยวกับการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืน โจทก์ผู้ถูกเวนคืนจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยในฐานะผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ คำฟ้องโจทก์บรรยายว่า ที่ดินของโจทก์อยู่ในเขตที่จะถูก เวนคืนและถูกเวนคืน โจทก์ได้รับเงินค่าทดแทนแล้วแต่โจทก์เห็นว่าเงินทดแทนดังกล่าวไม่ถูกต้องและไม่เป็นธรรมจึงได้อุทธรณ์ต่อจำเลยขอเงินค่าทดแทนเพิ่มในส่วนที่ขาดเท่ากับเป็นการฟ้องขอให้จำเลยชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 มาตรา 26 นั่นเอง แม้ว่าคำขอท้ายฟ้องของโจทก์จะขอให้บังคับจำเลยในฐานะผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีคำสั่งเพิ่มเงินค่าทดแทนให้โจทก์พร้อมดอกเบี้ย หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลเป็นเครื่องแสดงเจตนาแทนจำเลยก็ตาม ศาลชอบที่จะบังคับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2163/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจรัฐมนตรีในการเวนคืนและการฟ้องร้องเรียกค่าทดแทน
เมื่อ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตลาดพร้าว... พ.ศ.2533 บัญญัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจำเลยเป็นผู้รักษาการตาม พ.ร.ฎ. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยย่อมมีอำนาจหน้าที่ในการแต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นและจำนวนเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนตาม พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตลาดพร้าว... พ.ศ.2533 และมีอำนาจวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 อันเป็นอำนาจหน้าที่ที่ต้องดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของพระราชกฤษฎีกา ดังนั้น เมื่อมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืน โจทก์ผู้ถูกเวนคืนจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยในฐานะผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้
คำฟ้องโจทก์ได้บรรยายแล้วว่า ที่ดินของโจทก์อยู่ในเขตที่จะถูกเวนคืน และถูกเวนคืน โจทก์ได้รับเงินค่าทดแทนแล้ว แต่โจทก์เห็นว่าเงินค่าทดแทนดังกล่าวไม่ถูกต้องและไม่เป็นธรรม จึงได้อุทธรณ์ต่อจำเลยขอเงินค่าทดแทนเพิ่มในส่วนที่ขาด เท่ากับเป็นการฟ้องขอให้จำเลยชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 26 นั่นเองแม้ว่าคำขอท้ายฟ้องของโจทก์จะขอให้บังคับจำเลยในฐานะผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีคำสั่งเพิ่มเงินค่าทดแทนให้ดจทก์พร้อมดอกเบี้ย หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลเป็นเครื่องแสดงเจตนาแทนจำเลยก็ตาม ศาลชอบที่จะบังคับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2029/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือรับรองฐานะทางการเงินที่มีข้อความยินดีชำระหนี้แทน ถือเป็นหนังสือค้ำประกัน
ข้อความในเอกสารซึ่งมีความหมายว่า จำเลยที่ 2และที่ 3 ขอรับรองจำเลยที่ 1 ว่ามีฐานะสมควรที่จะเป็นผู้จำหน่ายสินค้าของโจทก์ได้ ถ้าจำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้จำเลยที่ 2 และที่ 3 จะชำระแทนนั้น เป็นเอกสารที่แสดงว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1ในอนาคตและเป็นการค้ำประกันไม่จำกัดจำนวนต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2029/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การค้ำประกันหนี้ในอนาคต: เอกสารรับรองความสามารถทางการเงินและการชำระหนี้แทน
ข้อความในเอกสารซึ่งมีความหมายว่า จำเลยที่ 2 และที่ 3ขอรับรองจำเลยที่ 1 ว่ามีฐานะสมควรที่จะเป็นผู้จำหน่ายสินค้าของโจทก์ได้ ถ้าจำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ จำเลยที่ 2 และที่ 3 จะชำระแทนนั้น เป็นเอกสารที่แสดงว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ในอนาคตและเป็นการค้ำประกันไม่จำกัดจำนวนต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1776/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หลักฐานกู้ยืมเงินจากเอกสารที่มีลายมือชื่อผู้กู้ แม้ไม่มีคำว่า 'กู้ยืม' ก็ใช้ได้ และการคิดดอกเบี้ยเมื่อผิดนัด
คำว่าหลักฐานเป็นหนังสือตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคหนึ่ง มิได้เคร่งครัดถึงกับว่าจะต้องมีถ้อยคำว่ากู้ยืมอยู่ในหนังสือนั้นเมื่อเอกสารมีข้อความระบุว่าจำเลยเป็นหนี้กู้ยืมเงินโจทก์รวม 116,000 บาท มีลายมือชื่อจำเลยลงไว้ แม้ลายมือชื่อมิได้อยู่ในช่องผู้กู้ แต่มีตัวโจทก์มาสืบประกอบอธิบายว่าเหตุที่ให้จำเลยกู้ยืมเงินเพราะเห็นว่าจำเลยเป็นคนน่าเชื่อถือได้โดยจำเลยกู้เงินไปเพื่อทำสวน จำเลยเองก็เบิกความว่าตนมีสวนอยู่ 80 ไร่ ใช้ปุ๋ยครั้งละประมาณ 2 ตัน เป็นเงินเกือบ20,000 บาท จำเลยถูกธนาคารฟ้องเรียกเงินที่กู้ยืม แสดงว่าฐานะของจำเลยไม่ดีนัก เมื่อจำเลยลงลายมือชื่อในเอกสารที่มีข้อความระบุว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์จึงถือว่าเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมได้ จำเลยต้องรับผิดตามเนื้อความที่ปรากฏในเอกสารนั้น หลักฐานการกู้ยืมเงินไม่ได้กำหนดวันชำระหนี้ แม้จะมีข้อความส่วนที่เขียนด้วยดินสอว่า "ผู้ยืมมารับใบนี้ไปเมื่อ12 มีนาคม 2537" จะถือเป็นวันที่จำเลยผิดนัดไม่ได้เพียงแต่เป็นวันที่อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้เท่านั้นจะเป็นการผิดนัดต่อเมื่อโจทก์ได้เตือนให้ชำระหนี้แล้วจำเลยไม่ชำระ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 204 วรรคหนึ่ง จึงจะคิดดอกเบี้ยตามมาตรา 224 เมื่อโจทก์นำสืบว่าได้มีหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้ซึ่งให้เวลาชำระหนี้ภายใน 7 วัน นับแต่วันได้รับหนังสือซึ่งใบตอบรับระบุว่าจำเลยได้รับหนังสือทวงถามในวันที่ 20 กรกฎาคม 2537จำเลยจึงผิดนัดตั้งแต่วันที่ 28 กรกฎาคม 2537 ต้องชำระดอกเบี้ยตั้งแต่วันผิดนัดในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี
of 32