คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ไพฑูรย์ แสงจันทร์เทศ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 311 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 865/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตและฝ่าฝืนข้อบัญญัติควบคุมอาคาร ศาลมีอำนาจสั่งรื้อถอนได้
จำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้คดีโดยมิได้ยกประเด็นเรื่องฟ้องเคลือบคลุมขึ้นเป็นข้อต่อสู้ การที่จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ในประเด็นข้อนี้ และศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยมาให้ จึงเป็นเรื่องนอกประเด็น ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์
ที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ฎีกาว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่นั้นเมื่อจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 มิได้ให้การชัดแจ้งว่า คำฟ้องโจทก์เคลือบคลุมตรงไหนอย่างไร จึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าคำฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นกำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาท แล้วศาลล่างทั้งสองยอมรับวินิจฉัยให้ ย่อมเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ถือได้ว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
จำเลยร่วมก่อสร้างอาคารพิพาทตามหนังสืออนุญาตให้ปลูกสร้างอาคาร ซึ่งเป็นการขออนุญาตปลูกสร้างอาคาร 16 ชั้น 1 หลัง เพื่อใช้พักอาศัยแต่อาคารพิพาทที่จำเลยร่วมก่อสร้างเป็นอาคารชั้นเดียว 2 หลังติดกัน อาคารพิพาทมีลักษณะเป็นโกดัง มิใช่อาคารประเภทเดียวกับที่ขออนุญาต ทั้งจำเลยร่วมสร้างอาคารพิพาทโดยไม่ได้อาศัยฐานรากของอาคาร 16 ชั้น และจำเลยร่วมยังก่อสร้างอาคารพิพาทหลังจากหนังสืออนุญาตให้ปลูกสร้างอาคารขาดอายุแล้ว ดังนี้จึงเป็นการที่จำเลยร่วมก่อสร้างอาคารพิพาทโดยไม่ได้รับอนุญาต
เมื่อการก่อสร้างอาคารพิพาทไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น และจำเลยปลูกสร้างอาคารโดยมิได้เว้นที่ว่างอันปราศจากหลังคาปกคลุมโดยรอบอาคารไม่น้อยกว่า 10 เมตร ทุกด้าน เป็นการฝ่าฝืนข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่องควบคุมการก่อสร้าง พ.ศ.2522 ข้อ 80 ที่บัญญัติให้อาคารพิพาทต้องมีที่ว่างไม่น้อยกว่า 10 เมตร ทุกด้าน ซึ่งไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครดังกล่าวได้ โจทก์ย่อมมีอำนาจสั่งให้จำเลยทั้งสี่และจำเลยร่วมรื้อถอนอาคารพิพาทได้ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 42
จำเลยร่วมเช่าที่ดินจำเลยผู้เป็นเจ้าของที่ดิน แล้วปลูกสร้างอาคารพิพาท ซึ่งตามสัญญาเช่าที่ดินระบุว่า ให้อาคารพิพาทที่สร้างขึ้นตกเป็นสิทธิของผู้ให้เช่า กรณีถือได้ว่าจำเลยร่วมปลูกสร้างอาคารพิพาทในที่ดินนั้นโดยอาศัยสิทธิของจำเลย เมื่อจำเลยต้องมีหน้าที่รื้อถอนอาคารพิพาทดังกล่าว และโจทก์แจ้งคำสั่งให้จำเลยระงับการก่อสร้างและรื้อถอนอาคารพิพาท จำเลยรับทราบคำสั่งดังกล่าว กรณีถือได้ว่าจำเลยร่วมทราบคำสั่งนั้นด้วยแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 822/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาเรื่องฟ้องไม่ชัดเจน ความผิดหลายกรรม และขอบเขตการฎีกาในข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยฐานนำเข้ายางกัญชาและฐานพยายามส่งออกยางกัญชา จำคุกกระทงละ 2 ปี โดยปรับบทว่าความผิดฐานมีไว้ในครอบครองเป็นกรรมเดียวกับฐานพยายามส่งออก ให้ลงโทษฐานพยายามส่งออกซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้โดยยังคงให้ลงโทษจำเลยฐานนำเข้ายางกัญชา และฐานพยายามส่งออกยางกัญชา จำคุกกระทงละ 2 ปี แต่ปรับบท เป็นว่าความผิดฐานมีไว้ในครอบครองเป็นกรรมเดียวกับฐานนำเข้า ให้ลงโทษฐานนำเข้าอันเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด ดังนี้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงเป็นการแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นเพียงเล็กน้อย และให้ลงโทษจำคุกจำเลยกระทงละไม่เกิน 5 ปีจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยฎีกาว่า การกระทำของจำเลยมีเจตนาเดียวคือนำยางกัญชา ของกลางจำนวนเดียวกันจากประเทศเนปาลเข้ามาในราชอาณาจักรไทยโดยทางเครื่องบินเพื่อไปเขตบริหารพิเศษฮ่องกง โดยจำเลยครอบครองยางกัญชาจำนวนดังกล่าวต่อเนื่องกันจนกระทั่งถูกจับการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานมียางกัญชาไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตเพียงกรรมเดียว ไม่เป็นความผิดฐานนำเข้าและพยายามส่งออกยางกัญชาดังกล่าวแต่อย่างใด แต่โจทก์บรรยายฟ้องแยกการกระทำของจำเลยว่าเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายกรรมเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น เป็นปัญหาข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายจึงมีผลอย่างเดียวกับการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกาศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ปัญหาว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย จำเลยยกขึ้นอ้างได้แม้จะไม่ได้ยกขึ้นในศาลล่างทั้งสองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสองประกอบมาตรา 225 โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อวันที่20 ธันวาคม 2539 จำเลยกระทำความผิดหลายกรรมต่างกันกล่าวคือ ก. จำเลยมียางกัญชา จำนวน 15 แท่ง น้ำหนัก 4,974 กรัม ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ข.จำเลย นำยางกัญชาตามข้อ ก. จากประเทศเนปาลเข้ามาในราชอาณาจักรไทยโดยทางเครื่องบิน และ ค. หลังจากนั้น จำเลยส่งยางกัญชาซึ่งจำเลยมีไว้ในครอบครองตามข้อ ก. และนำเข้ามาในราชอาณาจักรไทยตามข้อ ข. ออกนอกราชอาณาจักรไทยโดยทางเครื่องบินไปยังเขตบริหารพิเศษฮ่องกง จำเลยลงมือกระทำความผิดแล้วแต่กระทำไปไม่ตลอด เพราะเจ้าพนักงานตรวจพบก่อนที่จำเลยจะขึ้นเครื่องบิน เจ้าพนักงานจับจำเลยได้พร้อมด้วยกระเป๋า 1 ใบ รองเท้า 1 คู่ ซึ่งจำเลยใช้ซุกซ่อนยางกัญชาดังกล่าวเป็นของกลาง เหตุเกิดที่แขวงตลาดบางเขนเขตดอนเมืองกรุงเทพมหานครดังนี้ฟ้องโจทก์ข้อค.ได้กล่าวถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดในข้อหาพยายามส่งยางกัญชาของกลางออกนอกราชอาณาจักรโดยกล่าวถึงข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่อีกทั้งบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) แล้วฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 510/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: หลักเกณฑ์การประเมินค่าทดแทนต้องคำนึงถึงราคาตลาด สภาพที่ดิน และวัตถุประสงค์การเวนคืน
การพิจารณากำหนดค่าทดแทนให้แก่ผู้ถูกเวนคืน นอกจากจะคำนึงถึงราคาประเมินของกรมที่ดินเพื่อใช้เป็นทุนทรัพย์สำหรับเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม แล้วยังจะต้องคำนึงถึงราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดตามที่เป็นอยู่ในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินฯ ออกใช้บังคับสภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์ รวมทั้งเหตุและวัตถุประสงค์ของการเวนคืนดังที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 21(1)(4) และ (5) ประกอบ การพิจารณาด้วย สำหรับราคาที่ดินซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาด คดีนี้ โจทก์นำสืบว่าที่ดินของโจทก์ขณะถูกเวนคืนมีการซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดตารางวาละ 5,000 บาท ก็มีแต่คำเบิกความของโจทก์ลอย ๆ ไม่มีพยานหลักฐานอื่นมาสนับสนุน จึงไม่น่าเชื่อว่าในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินฯ ใช้บังคับ ที่ดินของโจทก์จะมีราคาซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดตารางวาละ 5,000 บาทและเมื่อพิจารณาถึงสภาพและที่ตั้งของที่ดินโฉนดแล้ว ก็ได้ความว่า ที่ดินของโจทก์เป็นที่มา มีที่ดินแปลงอื่นล้อมรอบไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ และอยู่ห่างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 345 ประมาณ3 ถึง 4 กิโลเมตร จะออกสู่ทางสาธารณะได้ต้องผ่านที่ดินของผ.บิดาโจทก์ไปออกถนนกรมชลประทานเลียบประตูน้ำพระอุดมไปทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 345 แต่ภายหลังการเวนคืนและสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 37 แล้ว แม้ที่ดินส่วนที่เหลือจะยังถูกที่ดินแปลงอื่นล้อมรอบอยู่ แต่ก็อยู่ห่างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 37 เพียง 100 เมตร เห็นได้ว่าโดยสภาพแล้วที่ดิน ของโจทก์ส่วนที่เหลือย่อมมีราคาสูงขึ้นอย่างแน่นอนซึ่งโจทก์เองก็ยอมรับว่าที่ดินของโจทก์ส่วนที่เหลือหลังจากเวนคืนแล้ว มีผู้มาขอซื้อในราคา 15,000,000 บาท แสดงว่าโจทก์ได้ประโยชน์จากการเวนคืนมากกว่าเสียประโยชน์ ส่วนที่โจทก์ขอให้กำหนดค่าทดแทนตารางวาละ 1,000 บาท เท่ากับของ ส. นั้นก็ได้ความว่าที่ดินโจทก์ห่างที่ดิน ส. ประมาณ 1 กิโลเมตรต่างก็เป็นที่นา แต่ที่ดิน ส.อยู่ติดถนนเกษตรอุดม มีไฟฟ้าและน้ำประปาเข้าถึง ที่ดินส่วนที่ติดถนนเกษตรอุดม จำเลยที่ 2จ่ายค่าทดแทนให้ตารางวาละ 3,000 บาท ที่ดินส่วนที่อยู่ลึกเข้าไปจ่ายค่าทดแทนให้ตารางวาละ 1,000 บาท แต่ที่ดินโจทก์ถูกปิดล้อมไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะไฟฟ้าและน้ำประปาก็เข้าไม่ถึง ดังนั้นสภาพความเจริญและที่ตั้งของที่ดิน ส. จึงดีกว่าที่ดินโจทก์ ไม่อาจกำหนดให้เท่ากันได้ และเนื่องจากเหตุและวัตถุประสงค์ของการเวนคืนครั้งนี้เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 37 สายถนนวงแหวนรอบนอก กรุงเทพมหานครด้านตะวันตก อันเป็นการอำนวยความสะดวกและความรวดเร็วแก่การจราจรและการขนส่งอันเป็นกิจการสาธารณูปโภค เป็นประโยชน์ต่อสังคมโดยมิได้มีการแสวงหากำไรรวมอยู่ด้วย ที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้น กำหนดค่าทดแทนให้โจทก์ตารางวาละ 400 บาทก็ได้คำนึงถึงหลักเกณฑ์ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 21(1) ถึง (5) เพื่อให้เกิดความถูกต้องและเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคมแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 464/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสั่งรื้อถอนอาคารผิดแบบ และการมอบอำนาจของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามกฎหมาย
อำนาจในการสั่งให้รื้อถอนอาคารที่ก่อสร้างผิดแบบแปลนจากที่ได้รับอนุญาตโดยฝ่าฝืน พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 40 และ42 เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานท้องถิ่น และตามมาตรา 4 เจ้าพนักงานท้องถิ่นหมายความว่า ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร สำหรับในเขตกรุงเทพมหานครเมื่ออาคารของโจทก์ซึ่งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครก่อสร้างผิดแบบแปลนจากที่ได้รับอนุญาตโดยฝ่าฝืน พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 40 และ 42ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้โจทก์รื้อถอนอาคารได้ และเนื่องจากมาตรา 35 แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2518 ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นให้อำนาจผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมอบอำนาจให้ผู้อำนวยการเขตปฏิบัติราชการแทนได้ เมื่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีคำสั่งมอบอำนาจของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามพ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ให้ผู้อำนวยการเขตปฏิบัติราชการแทน และได้ประกาศคำสั่งในกรุงเทพกิจจานุเบกษาแล้ว ผู้อำนวยการเขตพระนครจึงมีอำนาจปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่น
จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้อำนวยการเขตพระนครมาลงชื่อในสมุดลงเวลาทำการในตอนเช้าแล้วไม่ได้อยู่ปฏิบัติราชการที่สำนักงานเขตพระนคร กรณีจึงถือได้ว่าในวันดังกล่าวจำเลยที่ 1 ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการเขตพระนครและเป็นผู้มีอาวุโสตามระเบียบแบบแผนของทางราชการจึงมีอำนาจปฏิบัติราชการในฐานะรักษาราชการแทนผู้อำนวยการเขตพระนครปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2528 มาตรา 84 วรรคสอง
การที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะอนุญาตให้ก่อสร้างอาคารใดตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 นั้น นอกจากจะคำนึงถึงความมั่นคงแข็งแรงและความปลอดภัยแล้ว ยังจะต้องพิจารณาถึงแผนผัง บริเวณ แบบแปลนและรายการประกอบแบบแปลนด้วย ดังนั้น การที่โจทก์ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างอาคารตามแบบแปลนเพียง 4 ชั้น แต่กลับก่อสร้างเป็นอาคารถึง 6 ชั้น จึงเป็นการก่อสร้างที่ผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 31และเมื่อเป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามแบบแปลนที่ได้ก่อสร้างเป็นอาคาร 6 ชั้น ตามที่ได้บัญญัติเป็นข้อยกเว้นไว้ในมาตรา 31 (1)(2) และ (3) ได้ จึงชอบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งให้โจทก์รื้อถอนอาคารชั้นที่ 5 และชั้นที่ 6 ได้
ตามแผนผังบริเวณของอาคารที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างจะต้องมีที่ว่างปราศจากสิ่งปกคลุมเป็นทางเดินด้านหลังอาคารได้ถึงกันกว้าง2 เมตร และด้านหลังของอาคารก็ไม่มีการก่อสร้างเชื่อมต่อกับอาคารของบริษัท ต.เพราะเป็นการก่อสร้างแยกต่างหากอาคารเดิมของบริษัท ต. การที่โจทก์ฝ่าฝืนก่อสร้างอาคารเชื่อมต่อกันปกคลุมที่ว่างด้านหลังโดยไม่หลบเขตเป็นทางเดินด้านหลังอาคารกว้าง 2 เมตร จึงขัดกับมาตรา 31 แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคารพ.ศ.2522 ทั้งยังขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2522 ข้อ 76 (4) ด้วย จึงเป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ จึงชอบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งให้โจทก์รื้อถอนอาคารส่วนที่ก่อสร้างปกคลุมที่ว่างทางเดินหลังอาคารทั้งหมดได้
อาคารที่ก่อสร้างตามใบอนุญาตที่ พ.28/2525 ซึ่งก่อสร้างอาคารบนที่ดินโฉนดเลขที่ 6139 และโฉนดที่ดินเลขที่ 6298 โจทก์ก่อสร้างอาคารบนที่ดินที่ซื้อมาจาก บ. ที่ดินดังกล่าวทางทิศเหนือจดที่ดินเลขที่ 156, 157 และทางสาธารณะ ต่อมาที่ดินแปลงนี้ได้แบ่งแยกออกเป็นที่ดินแปลงย่อยอีก 6 แปลงซึ่งทางทิศเหนือของที่ดินแปลงย่อยที่แบ่งแยกออกเป็นโฉนดที่ดินเลขที่ 6137 และ6138 ก็อยู่ติดทางสาธารณะ ต่อมาที่ดินโฉนดเลขที่ 6138 ถูกแบ่งแยกออกเป็น2 แปลงอีก คือที่ดินแปลงทางทิศใต้โฉนดที่ดินเลขที่ 6298 ส่วนที่ดินโฉนดเลขที่6138 (แปลงคงเหลือ) เป็นที่ดินแปลงทางทิศเหนือเนื้อที่ 0.4 ตารางวา ซึ่งยังติดทางสาธารณะอยู่เช่นเดิม ถัดจากทางสาธารณะขึ้นไปทางทิศเหนือจะเป็นที่ดินโฉนดเลขที่ 1184 เลขที่ดิน 21 พร้อมอาคารของโจทก์ ซึ่งทางทิศตะวันออกจะติดกับอาคารของบริษัท ต.โจทก์ก่อสร้างอาคารของโจทก์ให้เชื่อมต่อกับอาคารของบริษัท ต.โจทก์ต้องก่อสร้างอาคารบนที่ดินโฉนดเลขที่ 6298 ปกคลุมที่ดินโฉนดเลขที่ 6138 และทางสาธารณะด้วย เพื่อให้ไปเชื่อมต่อกับอาคารบนที่ดินของโจทก์โฉนดเลขที่ 1184 และอาคารของบริษัท ต.ให้เป็นอาคารเดียวกัน ซึ่งขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2522 ข้อ 69เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้โจทก์รื้อถอนพื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก ส่วนที่ก่อสร้างปกคลุมทางสาธารณะจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 50 กำหนดให้ปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นประธานคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ในเขตกรุงเทพ-มหานคร และในเขตองค์การบริหารส่วนจังหวัด แต่ปลัดกระทรวงมหาดไทยได้อาศัยอำนาจตามความในข้อ 40 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218 ลงวันที่29 กันยายน 2515 มีคำสั่งมอบอำนาจดังกล่าวให้รองปลัดกระทรวงมหาดไทยฝ่ายบริหารปฏิบัติราชการแทนปลัดกระทรวงมหาดไทยในหน้าที่ประธานคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ และปลัดกระทรวงมหาดไทยยังมีคำสั่งมอบอำนาจให้จำเลยที่ 3ปฏิบัติราชการแทนปลัดกระทรวงมหาดไทยในงานฝ่ายบริหาร ดังนั้น จำเลยที่ 3ซึ่งดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวงมหาดไทยที่มีอำนาจปฏิบัติราชการแทนปลัดกระทรวงมหาดไทยในงานฝ่ายบริหาร จึงมีอำนาจปฏิบัติราชการแทนปลัดกระทรวง-มหาดไทยในหน้าที่ประธานคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ในเขตกรุงเทพมหานครคำวินิจฉัยอุทธรณ์ที่จำเลยที่ 3 ทำหน้าที่ประธานคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จึงชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 464/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรื้อถอนอาคารที่ก่อสร้างไม่ถูกต้องตามกฎหมายควบคุมอาคาร และอำนาจของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์
อำนาจในการสั่งให้รื้อถอนอาคารที่ก่อสร้างผิดแบบแปลนจากที่ได้รับอนุญาตโดยฝ่าฝืนพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ. 2522 มาตรา 40 และ 42 เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานท้องถิ่นและตามมาตรา 4 เจ้าพนักงานท้องถิ่นหมายความว่าผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร สำหรับในเขตกรุงเทพมหานครเมื่ออาคารของโจทก์ซึ่งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครก่อสร้างผิดแบบแปลนจากที่ได้รับอนุญาตโดยฝ่าฝืนพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 40 และ 42ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้โจทก์รื้อถอนอาคารได้ และเนื่องจากมาตรา 35แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครพ.ศ. 2518 ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นให้อำนาจผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมอบอำนาจให้ผู้อำนวยการเขตปฏิบัติราชการแทนได้ เมื่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีคำสั่งมอบอำนาจของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ให้ผู้อำนวยการเขตปฏิบัติราชการแทนและได้ประกาศคำสั่งในกรุงเทพ กิจจานุเบกษาแล้ว ผู้อำนวยการ เขตพระนคร จึงมีอำนาจปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่น จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้อำนวยการเขตพระนครมาลงชื่อในสมุดลงเวลาทำการในตอนเช้าแล้วไม่ได้อยู่ปฏิบัติราชการที่สำนักงานเขตพระนคร กรณีจึงถือได้ว่าในวันดังกล่าวจำเลยที่ 1 ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการเขตพระนครและเป็นผู้มีอาวุโสตามระเบียบแบบแผนของทางราชการจึงมีอำนาจปฏิบัติราชการในฐานะรักษาราชการแทนผู้อำนวยการเขตพระนครปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528มาตรา 84 วรรคสอง การที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะอนุญาตให้ก่อสร้างอาคารใดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 นั้น นอกจากจะ คำนึงถึงความมั่นคงแข็งแรงและความปลอดภัยแล้ว ยังจะต้อง พิจารณาถึงแผนผัง บริเวณ แบบแปลนและรายการประกอบแบบแปลนด้วยดังนั้น การที่โจทก์ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างอาคารตามแบบแปลนเพียง 4 ชั้น แต่กลับก่อสร้างเป็นอาคารถึง 6 ชั้นจึงเป็นการก่อสร้างที่ผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 31 และเมื่อเป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามแบบแปลนที่ได้ก่อสร้างเป็นอาคาร 6 ชั้น ตามที่ได้บัญญัติเป็นข้อยกเว้นไว้ในมาตรา 31(1)(2)และ (3) ได้ จึงชอบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งให้โจทก์รื้อถอนอาคารชั้นที่ 5 และชั้นที่ 6 ได้ ตามแผนผังบริเวณของอาคารที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างจะต้องมีที่ว่างปราศจากสิ่งปกคลุมเป็นทางเดินด้านหลังอาคารได้ถึงกันกว้าง 2 เมตร และด้านหลังของอาคารก็ไม่มีการก่อสร้างเชื่อมต่อกับอาคารของบริษัท ต. เพราะเป็นการก่อสร้างแยกต่างหากอาคารเดิมของบริษัท ต. การที่โจทก์ฝ่าฝืนก่อสร้างอาคารเชื่อมต่อกันปกคลุมที่ว่างด้านหลังโดยไม่หลบเขตเป็นทางเดินด้านหลังอาคารกว้าง 2 เมตรจึงขัดกับมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522ทั้งยังขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 ข้อ 76(4) ด้วยจึงเป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้จึงชอบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งให้โจทก์รื้อถอนอาคารส่วนที่ก่อสร้างปกคลุมที่ว่างทางเดินหลังอาคารทั้งหมดได้ อาคารที่ก่อสร้างตามใบอนุญาตที่ พ.28/2525 ซึ่งก่อสร้างอาคารบนที่ดินโฉนดเลขที่ 6139 และโฉนดที่ดินเลขที่ 6298โจทก์ก่อสร้างอาคารบนที่ดินที่ซื้อมาจาก บ. ที่ดินดังกล่าวทางทิศเหนือจดที่ดินเลขที่ 156,157 และทางสาธารณะต่อมาที่ดินแปลงนี้ได้แบ่งแยกออกเป็นที่ดินแปลงย่อยอีก6 แปลงซึ่งทางทิศเหนือของที่ดินแปลงย่อยที่แบ่งแยกออกเป็นโฉนดที่ดินเลขที่ 6137 และ 6138 ก็อยู่ติดทางสาธารณะต่อมาที่ดินโฉนดเลขที่ 6138 ถูกแบ่งแยกออกเป็น 2 แปลงอีกคือที่ดินแปลงทางทิศใต้โฉนดที่ดินเลขที่ 6298 ส่วนที่ดินโฉนดเลขที่ 6138(แปลงคงเหลือ) เป็นที่ดินแปลงทางทิศเหนือเนื้อที่ 0.4 ตารางวา ซึ่งยังติดทางสาธารณะอยู่เช่นเดิมถัดจากทางสาธารณะขึ้นไปทางทิศเหนือจะเป็นที่ดินโฉนดเลขที่ 1184 เลขที่ดิน 21 พร้อมอาคารของโจทก์ซึ่งทางทิศตะวันออกจะติดกับอาคารของบริษัท ต.โจทก์ก่อสร้างอาคารของโจทก์ให้เชื่อมต่อกับอาคารของบริษัท ต. โจทก์ต้องก่อสร้างอาคารบนที่ดินโฉนดเลขที่ 6298ปกคลุมที่ดินโฉนดเลขที่ 6138 และทางสาธารณะด้วย เพื่อให้ไปเชื่อมต่อกับอาคารบนที่ดินของโจทก์โฉนดเลขที่ 1184และอาคารของบริษัท ต. ให้เป็นอาคารเดียวกัน ซึ่งขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคารพ.ศ. 2522 ข้อ 69 เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้โจทก์รื้อถอนพื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก ส่วนที่ก่อสร้างปกคลุมทางสาธารณะจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 50กำหนดให้ปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นประธานคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ในเขตกรุงเทพมหานคร และในเขตองค์การบริหารส่วนจังหวัด แต่ปลัดกระทรวงมหาดไทยได้อาศัยอำนาจตามความในข้อ 40 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218ลงวันที่ 29 กันยายน 2515 มีคำสั่งมอบอำนาจดังกล่าวให้รองปลัดกระทรวงมหาดไทยฝ่ายบริหารปฏิบัติราชการแทนปลัดกระทรวงมหาดไทยในหน้าที่ประธานคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และปลัดกระทรวงมหาดไทยยังมีคำสั่งมอบอำนาจให้จำเลยที่ 3ปฏิบัติราชการแทนปลัดกระทรวงมหาดไทยในงานฝ่ายบริหารดังนั้น จำเลยที่ 3 ซึ่งดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวงมหาดไทยที่มีอำนาจปฏิบัติราชการแทนปลัดกระทรวงมหาดไทยในงานฝ่ายบริหาร จึงมีอำนาจปฏิบัติราชการแทนปลัดกระทรวงมหาดไทยในหน้าที่ประธานคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ในเขตกรุงเทพมหานครคำวินิจฉัยอุทธรณ์ที่จำเลยที่ 3 ทำหน้าที่ประธานคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จึงชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 426/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวางแผนร่วมกันฆ่าโดยเจตนาและทารุณโหดร้าย การรับสารภาพที่ไม่เป็นเหตุบรรเทาโทษ
วันเกิดเหตุเวลาประมาณ 2 นาฬิกา ขณะที่นาง ส.นอนหลับอยู่ในห้องนอนชั้นสองของบ้านหลังใหญ่ ได้ยินเสียงโครมครามดังมาจากชั้นสามที่ผู้ตายนอนอยู่ นางส.วิ่งไปบอก ให้ม.ไปดูผู้ตาย แต่เปิดประตูห้องนอนของผู้ตายไม่ได้ ม. และคนงานช่วยกันใช้ชะแลงงัดประตูระหว่างที่งัดประตูได้ยินเสียงผู้ตายตะโกนว่า "มึงมาทำกูทำไมวะ" แล้วมีเสียงยามตะโกนว่านั่นไงคนร้ายม.หันไปเห็นคนร้ายกำลังโหน ตัวลงมาจากชั้นสามจึงวิ่งจากชั้นสองไปออกประตูห้องครัวชั้นล่าง ขณะกำลังเปิดประตูห้องครัวออกไป คนร้ายซึ่งวิ่งไปถึงกำแพงรั้วยิงปืนมาแต่ไม่ถูกผู้ใด ม. ยิงปืนสวนกลับไปกระสุนปืนถูกคนร้ายที่สะโพก คนร้ายล้มฟุบอยู่ที่ข้างกำแพง ม. จึงเข้าไปจับคนร้ายคือจำเลยที่ 1 ได้และพบอาวุธปืนตกอยู่ข้างตัวจำเลยที่ 1 หลังจากนั้น ม.กลับไปดูผู้ตายโดยมีเจ้าพนักงานตำรวจมาช่วยงัดประตูขึ้นไปชั้นสามได้ พบผู้ตายนอนตายอยู่ในห้องมีบาดแผลถูกมีดฟันหลายแผลและพบมีดสปาต้า ตกอยู่ในห้องที่เกิดเหตุ ดังนี้แม้โจทก์ไม่มีประจักษ์พยานมาเบิกความประกอบแต่ข้อเท็จจริงก็รับฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยที่ 1 ได้ร่วมกันฆ่าผู้ตายโดยใช้มีดสปาต้า ของกลางฟันผู้ตายหลายครั้งโดยทารุณโหดร้ายโดยเจตนาฆ่าและโดยไตร่ตรองไว้ก่อน โดยไม่จำเป็นต้องนำคำรับสารภาพของจำเลยที่ 1 มาประกอบการพิจารณาการที่จำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพ จึงเป็นการรับสารภาพโดยจำนวน ต่อพยานหลักฐานไม่เป็นประโยชน์แก่การพิจารณาคดีอันจะเป็นเหตุบรรเทาโทษให้ได้รับการลดโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 แต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8403/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนประทานบัตรเหมืองแร่เนื่องจากพื้นที่ทับซ้อนโบราณสถาน แม้ผู้ขอประทานบัตรไม่ทราบ ก็ชอบด้วยกฎหมาย
การที่กระทรวงอุตสาหกรรมจำเลยที่ 1 ไม่ทราบว่าพื้นที่ที่ได้ออกประทานบัตรเหมืองแร่พิพาทให้แก่ผู้ขอประทานบัตรเป็นพื้นที่ที่อยู่บริเวณใกล้เคียงกับโบราณสถานที่กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนไว้เมื่อปี 2479 และปี 2480 และไม่ทราบว่าบริเวณเทือกเขาสมอคอนอันเป็นที่ตั้งของประทานบัตรของโจทก์เป็นสถานที่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ โบราณคดีและโบราณวัตถุ จึงได้มีคำสั่งให้เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบร่วมกันไปตรวจหาข้อเท็จจริง และแม้เจ้าหน้าที่ของกรมทรัพยากรธรณีจำเลยที่ 2 กรมศิลปากรที่ 3 และสำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อมที่ 4 เคยไปตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อนออกประทานบัตรแล้วแต่เมื่อฟังไม่ได้ว่ากระทรวงอุตสาหกรรมจำเลยที่ 1 ผู้ออกประทานบัตรเหมืองแร่พิพาททราบข้อเท็จจริงดังกล่าว การที่กระทรวงอุตสาหกรรม จำเลยที่ 1 มีคำสั่งเพิกถอนประทานบัตรเหมืองแร่พิพาทของโจทก์ซึ่งรับโอนประทานบัตรมาจากผู้ขอประทานบัตรโดยอ้างว่าประทานบัตรของโจทก์อยู่ในบริเวณที่มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานและเป็นสถานที่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ และผู้ขอประทานบัตรเสนอรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ณ พื้นที่คำขอประทานบัตรไม่ตรงต่อความจริงโดยรายงานว่าบริเวณที่ทำเหมืองหรือบริเวณใกล้เคียงไม่มีสถานที่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์วัฒนธรรมและโบราณวัตถุเป็นเหตุให้มีการออกประทานบัตรโดยสำคัญผิดในข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ จึงเป็นเหตุผลที่ถูกต้องและชอบด้วยข้อเท็จจริงการที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 9 ทวิแห่ง พ.ร.บ.แร่ พ.ศ.2510 สั่งเพิกถอนประทานบัตรดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว แม้โจทก์จะได้รับความเสียหายจากการเพิกถอนประทานบัตรของจำเลยที่ 1และแม้โจทก์จะไม่ทราบว่าบริเวณพื้นที่ที่ได้รับประทานบัตรนั้นอยู่ในบริเวณซึ่งมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานและเป็นสถานที่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและโบราณวัตถุ โจทก์ก็ไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสี่ได้ ทั้งนี้ตาม พ.ร.บ.แร่ พ.ศ.2510มาตรา 9 ทวิ วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8403/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนประทานบัตรเหมืองแร่เนื่องจากข้อเท็จจริงสำคัญเปลี่ยนแปลง และผู้ขอประทานบัตรรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมไม่ตรงตามความเป็นจริง
การที่กระทรวงอุตสาหกรรมจำเลยที่ 1 ไม่ทราบว่าพื้นที่ที่ได้ออกประทานบัตรเหมืองแร่พิพาทให้แก่ผู้ขอประทานบัตรเป็นพื้นที่ที่อยู่บริเวณใกล้เคียง กับโบราณสถานที่กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนไว้เมื่อปี 2479และปี 2480 และไม่ทราบว่าบริเวณเทือกเขาสมอคอนอันเป็นที่ตั้งของประทานบัตรของโจทก์เป็นสถานที่ที่มีความสำคัญ ทางประวัติศาสตร์ โบราณคดีและโบราณวัตถุ จึงได้มีคำสั่ง ให้เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบร่วมกันไปตรวจหาข้อเท็จจริง และแม้เจ้าหน้าที่ของกรมทรัพยากรธรณีจำเลยที่ 2 กรมศิลปากร ที่ 3 และสำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อมที่ 4 เคยไปตรวจสอบ ข้อเท็จจริงก่อนออกประทานบัตรแล้วแต่เมื่อฟังไม่ได้ว่า กระทรวงอุตสาหกรรมจำเลยที่ 1 ผู้ออกประทานบัตรเหมืองแร่ พิพาททราบข้อเท็จจริงดังกล่าว การที่กระทรวงอุตสาหกรรม จำเลยที่ 1 มีคำสั่งเพิกถอนประทานบัตรเหมืองแร่พิพาทของโจทก์ ซึ่งรับโอนประทานบัตรมาจากผู้ขอประทานบัตรโดยอ้างว่า ประทานบัตรของโจทก์อยู่ในบริเวณที่มีการประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานและเป็นสถานที่ ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ และผู้ขอประทานบัตร เสนอรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ณ พื้นที่ คำขอประทานบัตรไม่ตรงต่อความจริงโดยรายงานว่าบริเวณที่ ทำเหมืองหรือบริเวณใกล้เคียงไม่มีสถานที่ที่มีความสำคัญ ทางประวัติศาสตร์วัฒนธรรมและโบราณวัตถุเป็นเหตุให้มีการออกประทานบัตรโดยสำคัญผิดในข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญจึงเป็นเหตุผลที่ถูกต้องและชอบด้วยข้อเท็จจริงการที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมอาศัยอำนาจตามความใน มาตรา 9 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 สั่งเพิกถอน ประทานบัตรดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมายที่กล่าวอ้างแล้ว แม้โจทก์จะได้รับความเสียหายจากการเพิกถอนประทานบัตร ของจำเลยที่ 1 และแม้โจทก์จะไม่ทราบว่าบริเวณพื้นที่ ที่ได้รับประทานบัตรนั้นอยู่ในบริเวณซึ่งมีการประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานและเป็นสถานที่ ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและโบราณวัตถุ โจทก์ก็ไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสี่ได้ ทั้งนี้ตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 มาตรา 9 ทวิ วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8224/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดินเพื่อสร้างทางพิเศษ: อำนาจของฝ่ายปกครองและการคุ้มครองสิทธิของเอกชน
การกระทำของฝ่ายจำเลยซึ่งเป็นฝ่ายปกครอง แม้มีผลกระทบกระเทือนต่อสิทธิ เสรีภาพ หรือประโยชน์อันชอบธรรมของโจทก์ซึ่งเป็นเอกชน แต่เมื่อเป็นการกระทำที่มีกฎหมายให้อำนาจให้กระทำได้ และได้กระทำการดังกล่าวภายในกรอบที่ รัฐธรรมนูญและกฎหมายได้กำหนดไว้ จำเลยย่อมมีอำนาจกระทำได้ โดยชอบ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสี่ให้เพิกถอน การกระทำดังกล่าวของจำเลยได้ ขณะเกิดเหตุ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2521 มาตรา 33 วรรคสาม บัญญัติว่าการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์จะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะเพื่อการอันเป็นสาธารณูปโภคหรือการอันจำเป็นในการป้องกันประเทศ หรือการได้มาซึ่งทรัพยากรธรรมชาติ หรือเพื่อการผังเมือง หรือเพื่อการพัฒนาการเกษตร หรือการอุตสาหกรรม หรือเพื่อการปฏิรูปที่ดิน หรือเพื่อประโยชน์สาธารณะอย่างอื่น และต้องชดใช้ค่าทดแทนภายในเวลาอันควรแก่เจ้าของตลอดจนผู้ทรงสิทธิ บรรดาที่ได้รับความเสียหายในการเวนคืนนั้น ทั้งนี้ตาม ที่ระบุไว้ในกฎหมาย และมีพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ใช้บังคับมาตรา 5 บัญญัติให้รัฐเมื่อมีความจำเป็นที่จะต้องได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์เพื่อกิจการใด ๆ อันจำเป็นเพื่อการอันเป็นสาธารณูปโภคหรือการอันจำเป็นในการป้องกันประเทศหรือการได้มาซึ่งทรัพยากรธรรมชาติหรือเพื่อการผังเมือง หรือเพื่อการพัฒนาการเกษตรหรือการอุตสาหกรรม หรือเพื่อการปฏิรูปที่ดินหรือเพื่อประโยชน์สาธารณะอย่างอื่นถ้ามิได้ตกลงในเรื่องการโอนไว้เป็นอย่างอื่น ให้ดำเนินการเวนคืนตามบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ ส่วนในกรณีที่มีบทบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนไว้ในกฎหมายอื่นโดยเฉพาะแล้ว ถ้าจะต้องดำเนินการเวนคืนเพื่อกิจการตามกฎหมายดังกล่าว เมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นสมควรจะมีมติให้ดำเนินการเวนคืนตามบทแห่งพระราชบัญญัตินี้แทนก็ได้ และเพื่อประโยชน์ในการดำเนินการเวนคืนตามวรรคหนึ่งจะตราพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนไว้ก่อนก็ได้ และสำหรับพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนต้องระบุความประสงค์ของการเวนคืน เจ้าหน้าที่เวนคืน กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนเท่าที่จำเป็น กับให้มีแผนที่หรือแผนผังประเมินเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนและแสดงเขตที่ดินที่อยู่ในบริเวณที่ประเมินนั้น ติดไว้ท้ายพระราชกฤษฎีกานั้น"และสำหรับพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตลาดพร้าว เขตบึงกุ่มเขตบางกะปิเขตห้วยขวาง เขตคลองเตย และเขตพระโขนง กรุงเทพมหานครพ.ศ. 2533 ก็ได้ตราขึ้นใช้บังคับตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 และพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530ทุกประการ ซึ่งพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนฯ ดังกล่าวได้ระบุความประสงค์ของการเวนคืนไว้ว่า เพื่อประโยชน์สาธารณะในการสร้างทางพิเศษสายรามอินทรา-อาจณรงค์ เพื่ออำนวยความสะดวกและรวดเร็วแก่การจราจรและการขนส่งอันเป็นกิจการสาธารณูปโภคโดยกำหนด ให้จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าหน้าที่เวนคืน และมีแผนที่แผนผัง ประเมินเขตที่ดินติดไว้ท้ายพระราชกฤษฎีกา โดยมีมติของ คณะรัฐมนตรีให้ดำเนินการสร้างทางดังกล่าว เมื่อปรากฏว่า ทางหลวงคู่ขนานที่กรุงเทพมหานครสร้างซึ่งอยู่ในแนวเขต ที่ดินที่ถูกเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ และประกาศของ คณะปฏิวัติ ฉบับที่ 290 ข้อ 1 ได้กำหนดความหมายของ"ทางพิเศษ" ไว้ว่า หมายถึงทางหรือถนนซึ่งจัดสร้างขึ้นใหม่ไม่ว่าในระดับพื้นดิน ใต้พื้นดิน เหนือพ้นพื้นดิน หรือ พื้นน้ำ เพื่ออำนวยความสะดวกในการจราจรเป็นพิเศษ ดังนั้น การที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้สร้างทางพิเศษในรูป ทางด่วนและมีถนนคู่ขนานตลอดแนวทางด่วน ทั้งทางด่วนและถนนคู่ขนานหรือทางหลวงคู่ขนานดังกล่าวก็ยังถือได้ว่าเป็นทางพิเศษตามความหมายในประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 290นั้นอยู่นั่นเอง และต่อมาเมื่อได้มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่อง กำหนดให้การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวเป็นกรณีที่มีความจำเป็นโดยเร่งด่วน เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 มีอำนาจเข้าครอบครองหรือใช้อสังหาริมทรัพย์นั้นตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530ได้ ซึ่งจำเลยที่ 1 ได้มีหนังสือแจ้งไปยังโจทก์แจ้งการเข้าครอบครองหรือใช้อสังหาริมทรัพย์ และโจทก์ได้รับหนังสือดังกล่าวแล้ว กับจำเลยที่ 1 ได้แจ้งการวางเงินค่าทดแทนและกำหนดเวลาให้โจทก์รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างให้โจทก์ทราบแล้ว ดังนี้จำเลยที่ 1 จึงได้ดำเนินการตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8216/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดก: ประเด็นการตั้งผู้จัดการมรดกแยกจากประเด็นการพิสูจน์ทรัพย์มรดก
คดีร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ประเด็นมีเพียงว่า สมควรตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายหรือไม่ คดีไม่มีประเด็นว่าผู้ตายมีทรัพย์มรดกอะไรบ้างหรือไม่ เพราะขั้นตอนดังกล่าวเป็นเรื่องการรวบรวมทรัพย์มรดกหลังจากที่ศาลมีคำสั่งตั้งผู้จัดการมรดกไปแล้ว หากการรวบรวมทรัพย์มรดกของผู้ตายดังกล่าวเป็นเหตุให้ผู้คัดค้านโต้แย้งได้ ผู้คัดค้านก็ชอบที่จะดำเนินคดีเอาแก่ผู้ร้องได้เป็นอีกคดีหนึ่งต่างหาก จึง ชอบที่ศาลจะมีคำสั่งยกคำร้องคัดค้านของผู้ร้องคัดค้าน
of 32