พบผลลัพธ์ทั้งหมด 311 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8216/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดก: ประเด็นการตั้งผู้จัดการมรดกแยกจากประเด็นการพิสูจน์ทรัพย์มรดก
คดีร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ประเด็นมีเพียงว่า สมควรตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายหรือไม่ คดีไม่มีประเด็นว่าผู้ตายมีทรัพย์มรดกอะไรบ้างหรือไม่ เพราะขั้นตอนดังกล่าวเป็นเรื่องการรวบรวมทรัพย์มรดกหลังจากที่ศาลมีคำสั่งตั้งผู้จัดการมรดกไปแล้ว หากการรวบรวมทรัพย์มรดกของผู้ตายดังกล่าวเป็นเหตุให้ผู้คัดค้านโต้แย้งได้ ผู้คัดค้านก็ชอบที่จะดำเนินคดีเอาแก่ผู้ร้องได้เป็นอีกคดีหนึ่งต่างหาก จึง ชอบที่ศาลจะมีคำสั่งยกคำร้องคัดค้านของผู้ร้องคัดค้าน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8121/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการแบ่งทรัพย์สินรวม: เจ้าของรวมมีสิทธิเรียกแบ่งได้โดยไม่ต้องฟ้องทุกคน
ป.พ.พ.มาตรา 1363 บัญญัติให้เจ้าของรวมคนหนึ่ง ๆ มีสิทธิเรียกให้แบ่งทรัพย์สินได้ โดยมิได้บังคับให้เจ้าของรวมผู้ประสงค์จะให้แบ่งทรัพย์สินต้องฟ้องผู้มีกรรมสิทธิ์รวมทุกคน และเมื่อไม่ปรากฏว่ามีนิติกรรมขัดอยู่ ทั้งวัตถุประสงค์ที่เป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทก็ไม่มีลักษณะเป็นการถาวร โจทก์ในฐานะที่เป็นเจ้าของรวมร่วมกับจำเลยบุคคลอื่นอีก จึงมีสิทธิเรียกขอให้แบ่งที่ดินพิพาทดังกล่าวให้แก่ตนได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1363
การที่โจทก์เรียกให้แบ่งที่ดินพิพาทซึ่งอาจต้องดำเนินการแบ่งตามวิธีการที่ ป.พ.พ.มาตรา 1364 กำหนดไว้นั้น มิใช่เป็นการเรียกให้แบ่งทรัพย์สินในเวลาที่ไม่เป็นโอกาสอันควรตามมาตรา 1363 วรรคสาม
การที่โจทก์เรียกให้แบ่งที่ดินพิพาทซึ่งอาจต้องดำเนินการแบ่งตามวิธีการที่ ป.พ.พ.มาตรา 1364 กำหนดไว้นั้น มิใช่เป็นการเรียกให้แบ่งทรัพย์สินในเวลาที่ไม่เป็นโอกาสอันควรตามมาตรา 1363 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8121/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าของรวมเรียกแบ่งทรัพย์สิน แม้ยังตกลงเขตแดนไม่ได้ และการฟ้องแบ่งไม่จำกัดเฉพาะผู้มีกรรมสิทธิ์รวมทุกราย
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1363 บัญญัติให้เจ้าของรวมคนหนึ่ง ๆ มีสิทธิเรียกให้แบ่งทรัพย์สินได้โดยมิได้บังคับให้เจ้าของรวมผู้ประสงค์จะให้แบ่งทรัพย์สินต้องฟ้องผู้มีกรรมสิทธิ์รวมทุกคน และเมื่อไม่ปรากฏว่ามีนิติกรรมขัดอยู่ ทั้งวัตถุประสงค์ที่เป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทก็ไม่มีลักษณะเป็นการถาวร โจทก์ในฐานะที่เป็นเจ้าของรวมร่วมกับจำเลยบุคคลอื่นอีก จึงมีสิทธิเรียกขอให้แบ่งที่ดินพิพาทดังกล่าวให้แก่ตนได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1363 การที่โจทก์เรียกให้แบ่งที่ดินพิพาทซึ่งอาจต้องดำเนินการแบ่งตามวิธีการที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364กำหนดไว้นั้น มิใช่เป็นการเรียกให้แบ่งทรัพย์สินในเวลาที่ไม่เป็นโอกาสอันควรตามมาตรา 1363 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7903/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความบกพร่องของจำเลยในการรับทราบวันนัดพิจารณาคดี และผลกระทบต่อการสืบพยาน
ในวันนัดสืบพยานโจทก์ ทนายจำเลยมอบฉันทะให้เสมียนทนายมายื่นคำร้องขอเลื่อนคดีในวันนั้น โจทก์ไม่ค้านการขอเลื่อนและแถลงว่าโจทก์ไม่ติดใจสืบพยานโจทก์อีกต่อไป ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เลื่อนคดีไปโดยนัดสืบพยานจำเลยและเสมียนทนายจำเลยได้ลงชื่อรับทราบวันนัดสืบพยานจำเลยไว้แล้วดังนั้นหากเสมียนทนายจำเลยจดเวลานัดผิดพลาดหรือแจ้งเวลานัดสืบพยานจำเลยแก่ทนายจำเลยผิดพลาดก็เป็นความบกพร่องของจำเลยเอง ที่ศาลชั้นต้นสั่งในรายงานกระบวนพิจารณาในวันนัดสืบพยานจำเลยที่เลื่อนมาซึ่งจำเลยทราบนัดโดยชอบแล้วไม่มาศาลจึงถือว่าจำเลยไม่มีพยานที่จะสืบ ให้งดสืบพยานจำเลยและให้รอฟังคำพิพากษาในวันนั้นจึงเป็นการที่ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งโดยชอบ มิได้ดำเนินกระบวนพิจารณาใดที่ผิดระเบียบอันจำเลยจะขอให้ยกเลิกเพิกถอนเสียได้ทั้งนี้ไม่ว่าจำเลยจะขอเช่นนั้นก่อนหรือหลังศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7903/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลื่อนคดีและการงดสืบพยานจำเลย: ความรับผิดชอบของจำเลยต่อความบกพร่องในการรับทราบวันนัด
ในวันนัดสืบพยานโจทก์ ทนายจำเลยมอบฉันทะให้เสมียนทนายมายื่นคำร้องขอเลื่อนคดีในวันนั้น โจทก์ไม่ค้านการขอเลื่อนและแถลงว่าโจทก์ไม่ติดใจสืบพยานโจทก์อีกต่อไป ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เลื่อนคดีไปโดยนัดสืบพยานจำเลยและเสมียนทนายจำเลยได้ลงชื่อรับทราบวันนัดสืบพยานจำเลยไว้แล้ว ดังนั้นหากเสมียนทนายจำเลยจดเวลานัดผิดพลาดหรือแจ้งเวลานัดสืบพยานจำเลยแก่ทนายจำเลยผิดพลาด ก็เป็นความบกพร่องของจำเลยเอง ที่ศาลชั้นต้นสั่งในรายงานกระบวนพิจารณา ในวันนัดสืบพยานจำเลยที่เลื่อนมา ซึ่งจำเลยทราบนัดโดยชอบแล้วไม่มาศาลจึงถือว่าจำเลยไม่มีพยานที่จะสืบ ให้งดสืบพยานจำเลยและให้รอฟังคำพิพากษาในวันนั้นจึงเป็นการที่ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งโดยชอบ มิได้ดำเนินกระบวนพิจารณาใดที่ผิดระเบียบอันจำเลยจะขอให้ยกเลิกเพิกถอนเสียได้ ทั้งนี้ไม่ว่าจำเลยจะขอเช่นนั้นก่อนหรือหลังศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7830/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาที่สำนักทำการงานของจำเลยชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 74
การส่งคำคู่ความหรือเอกสารอื่นใดโดยเจ้าพนักงานศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 74นั้น ให้ปฏิบัติดังนี้ (2) ให้ส่งแก่คู่ความหรือบุคคลซึ่งระบุไว้ในคำคู่ความหรือเอกสาร ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของคู่ความหรือบุคคลนั้น ดังนั้น การ ส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาให้แก่จำเลย โดยเจ้าพนักงานศาลจึงไม่จำเป็นต้องส่งให้แก่จำเลย ณ ภูมิลำเนาของจำเลยเท่านั้น แต่อาจส่งให้แก่จำเลย ณ สำนักทำการงานของจำเลยได้ บ้านเลขที่ 409 เป็นสำนักงานของบริษัทอ.ซึ่งจำเลยเป็นผู้บริหารและนั่งทำงานประจำอยู่ที่สำนักงานนั้นทุกวัน บ้านเลขที่ดังกล่าวจึงเป็นสำนักทำการงานของจำเลย และในการดำเนินคดีนี้โจทก์ได้ดำเนินการส่งหมายเรียก สำเนาคำฟ้องและหมายต่าง ๆ ให้จำเลยที่บ้านเลขที่ 409 ดังกล่าว ดังนี้ การที่เจ้าพนักงานศาลส่งหมายนัด ฟัง คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้แก่จำเลย ณ บ้านเลขที่ดังกล่าว ซึ่งเป็นสำนักทำการงานของจำเลย จึงเป็นการส่งหมายนัด ฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้แก่จำเลยโดยชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 74 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7830/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาที่สำนักทำการงานของจำเลยชอบด้วยกฎหมายตาม ป.วิ.พ.มาตรา 74
การส่งคำคู่ความหรือเอกสารอื่นใดโดยเจ้าพนักงานศาลตาม ป.วิ.พ.มาตรา 74 นั้น ให้ปฏิบัติดั่งนี้...(2) ให้ส่งแก่คู่ความหรือบุคคลซึ่งระบุไว้ในคำคู่ความหรือเอกสาร ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของคู่ความหรือบุคคลนั้น... ดังนั้น การส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาให้แก่จำเลย โดยเจ้าพนักงานศาล จึงไม่จำเป็นต้องส่งให้แก่จำเลย ณ ภูมิลำเนาของจำเลยเท่านั้น แต่อาจส่งให้แก่จำเลย ณ สำนักทำการงานของจำเลยได้
บ้านเลขที่ 409 เป็นสำนักงานของบริษัท อ. ซึ่งจำเลยเป็นผู้บริหารและนั่งทำงานประจำอยู่ที่สำนักงานนั้นทุกวัน บ้านเลขที่ดังกล่าวจึงเป็นสำนักทำการงานของจำเลย และในการดำเนินคดีนี้ โจทก์ได้ดำเนินการส่งหมายเรียก สำเนาคำฟ้อง และหมายต่าง ๆ ให้จำเลยที่บ้านเลขที่ 409 ดังกล่าวดังนี้ การที่เจ้าพนักงานศาลส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้แก่จำเลยณ บ้านเลขที่ดังกล่าวซึ่งเป็นสำนักทำการงานของจำเลย จึงเป็นการส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้แก่จำเลยโดยชอบด้วยกฎหมายตาม ป.วิ.พ.มาตรา74 แล้ว
บ้านเลขที่ 409 เป็นสำนักงานของบริษัท อ. ซึ่งจำเลยเป็นผู้บริหารและนั่งทำงานประจำอยู่ที่สำนักงานนั้นทุกวัน บ้านเลขที่ดังกล่าวจึงเป็นสำนักทำการงานของจำเลย และในการดำเนินคดีนี้ โจทก์ได้ดำเนินการส่งหมายเรียก สำเนาคำฟ้อง และหมายต่าง ๆ ให้จำเลยที่บ้านเลขที่ 409 ดังกล่าวดังนี้ การที่เจ้าพนักงานศาลส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้แก่จำเลยณ บ้านเลขที่ดังกล่าวซึ่งเป็นสำนักทำการงานของจำเลย จึงเป็นการส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้แก่จำเลยโดยชอบด้วยกฎหมายตาม ป.วิ.พ.มาตรา74 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7667/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฆ่าจากการทำร้ายด้วยอาวุธมีด: การพิจารณาบาดแผลและพฤติการณ์เพื่อประเมินเจตนาของผู้กระทำ
แม้ตามวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุ โจทก์ร่วมและจำเลยต่างทำร้ายร่างกายซึ่งกันและกัน โดยจำเลยใช้มีดของกลางแทงทำร้ายโจทก์ร่วม ส่วนโจทก์ร่วมใช้ไม่ตีจำเลยจนได้รับบาดเจ็บแต่เมื่อปรากฏว่าขณะเกิดเหตุจำเลยดื่มสุราจนมึนเมา กลับมายังที่เกิดเหตุซึ่งเป็นบ้านของมารดาโจทก์ร่วมที่จำเลยเช่าอยู่ และได้ขึ้นไปนอนขวางประตูหน้าห้องเช่าของบุคคลอื่นโจทก์ร่วมและเพื่อนของจำเลยช่วยกันพยุงจำเลยลงมาที่ห้องพักของจำเลยบริเวณชั้นล่าง ในช่วงเวลาดังกล่าวจำเลยถูกบุคคลอื่นพูดจาถากถาง เกิดความไม่พอใจ จึงใช้มีดของกลางทุบตีรั้วสังกะสีและส่งเสียงดัง โจทก์ร่วมซึ่งเป็นบุตรเจ้าของบ้านย่อมมีความชอบธรรมที่จะเข้าทำการห้ามปรามจำเลยแต่จำเลยกลับใช้มีดของกลางแทงโจทก์ร่วม โจทก์ร่วมจึงใช้ไม้ตีต่อสู้เมื่อเหตุที่เกิดขึ้นจำเลยเป็นผู้ก่อขึ้นก่อนการที่จำเลยทำร้ายโจทก์ร่วมดังกล่าว จึงมิใช่การป้องกันตัว โจทก์ร่วมถูกจำเลยใช้มีดของกลางซึ่งมีขนาดความยาวถึง11 นิ้วแทงหลายทีในระยะกระชั้นชิดติดต่อกัน เกิดบาดแผล4 แห่ง ซึ่งล้วนอยู่ในตำแหน่งของอวัยวะสำคัญบาดแผลดังกล่าวบางแห่งเป็นบาดแผลฉกรรจ์ หากไม่ได้รับการรักษาทันท่วงทีมีโอกาสถึงแก่ชีวิตได้ แสดงว่าจำเลยแทงโจทก์ร่วมโดยมีเจตนาฆ่า แต่เนื่องจากแพทย์ทำการรักษาได้ทันโจทก์ร่วมจึงไม่ถึงแก่ความตาย จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7495/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้ซื้อที่ดินตามสัญญาจะซื้อจะขายเมื่อมีการอายัดที่ดิน และความรับผิดของทายาทตามสัญญาของเจ้ามรดก
แม้ว่ามรดกนั้นมีเพียงหนี้สินที่เจ้ามรดกจะต้องรับผิดตามสัญญาที่ทำไว้แก่บุคคลภายนอกโดยไม่มีทรัพย์สินอื่น ๆอีกก็ตาม แต่ทายาทก็ไม่อาจอ้างว่าตนไม่ต้องรับผิดชอบตามสัญญาที่เจ้ามรดกทำไว้ หากมีการผิดสัญญาและเป็นกรณีที่ไม่เปิดช่องให้บังคับในการโอนที่ดินพิพาทตามสัญญา ทายาทผู้รับมรดกก็ต้องรับผิดในส่วนที่จะต้องชดใช้ค่าเสียหายจากการผิดสัญญาหรือต้องชำระเบี้ยปรับตามที่กำหนดในสัญญาด้วย การที่เจ้าพนักงานที่ดินจะรับแจ้งอายัดที่ดินขึ้นอยู่ในดุลพินิจของเจ้าพนักงานว่าผู้แจ้งเป็นผู้มีส่วนได้เสียในที่ดินหรือไม่ เหตุที่เจ้าพนักงานที่ดินใช้ดุลพินิจรับแจ้งการอายัดของจำเลย เพราะเห็นว่าจำเลยเป็นผู้มีส่วนได้เสียแม้ว่าขณะนั้นชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินพิพาทจะมิใช่ช.แต่ตามหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายจำเลยอาจบังคับให้ช.หรือทายาทต้องปฏิบัติตามสัญญาได้ อันจะส่งผลให้ต้องเพิกถอน การจดทะเบียนภายในกำหนดหกสิบวันนับแต่วันที่ขออายัด เมื่อ ไม่มีคำสั่งศาลให้เพิกถอนการอายัด ย่อมทำให้การอายัดมีผล ต่อไปจนกว่าศาลในคดีที่ผู้ขออายัดได้ยื่นฟ้องไว้จะสั่งให้ ถอนการอายัดหรือมีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุด จึงเป็น กรณีที่จำเลยใช้สิทธิที่มีอยู่ในฐานะผู้ทำสัญญาจะซื้อจะขาย ที่ดินพิพาทจาก ช.ก่อนที่ช. จะโอนสิทธิการเช่าซื้อให้แก่ จ. ผู้เป็นบุตร จำเลยจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 83 การกระทำของจำเลยย่อมไม่เป็นการละเมิดต่อสิทธิของโจทก์ หากโจทก์จะ เสียหายอย่างไรชอบที่จะต้องว่ากล่าวเองกับผู้ที่ทำสัญญากับ โจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7335/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์: สิทธิฟ้องคดีขาดอายุตามกฎหมายเมื่อฟ้องพ้นกำหนด 1 ปี หลังรัฐมนตรีฯ วินิจฉัยอุทธรณ์
โจทก์เห็นว่าราคาค่าทดแทนที่ดินที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นและจำนวนเงินค่าทดแทนกำหนดให้แก่โจทก์ไม่เป็นธรรม จึงอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้รับอุทธรณ์ของโจทก์เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2536 ดังนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจะต้องวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ให้เสร็จสิ้นภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 25 วรรคสองคือ ภายในวันที่ 18 มกราคม 2537 เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 18 มกราคม 2537 โจทก์จึงต้องฟ้องคดีต่อศาลภายใน 1 ปี นับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลา 60 วัน คือต้องฟ้องคดีภายในวันที่ 18 มกราคม 2538 แต่โจทก์นำคดีมาฟ้องต่อศาลเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2538 ซึ่งพ้นกำหนดระยะเวลาแล้ว โจทก์จึงสิ้นสิทธิฟ้องร้องตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 26 วรรคหนึ่งแม้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจะวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์เมื่อพ้น 60 วันนับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์ ก็หาทำให้โจทก์มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลภายใน 1 ปีนับแต่วันพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวได้ไม่ดังนี้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
กำหนดระยะเวลาในการใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 26 วรรคหนึ่ง เป็นกำหนดระยะเวลาในการใช้สิทธิฟ้องร้อง เป็นเรื่องเกี่ยวกับอำนาจฟ้องจึงเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลย่อมมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)
กำหนดระยะเวลาในการใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 26 วรรคหนึ่ง เป็นกำหนดระยะเวลาในการใช้สิทธิฟ้องร้อง เป็นเรื่องเกี่ยวกับอำนาจฟ้องจึงเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลย่อมมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)