คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
กอบเกียรติ รัตนพานิช

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 179 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 677/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นายจ้างต้องรับผิดต่อการละเมิดของลูกจ้างที่ขับรถในทางการจ้าง แม้จะมีการเบิกจ่ายค่าปลงศพเป็นค่าช่วยเหลือ
พ. และค. ลูกจ้างของจำเลยที่4และที่5นำรถยนต์กระบะของนายจ้างออกไปนอกสถานที่ทำการจนกระทั่งถึงที่เกิดเหตุรถชนกันโดยก่อนเกิดเหตุ1วันพ. ได้ขอยืมรถยนต์กระบะคันเกิดเหตุจากหัวหน้าช่างของจำเลยที่4ออกไปข้างนอกเพื่อซื้อก๋วยเตี๋ยวรับประทานการรับประทานอาหารเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีพให้มีชีวิตอยู่มีกำลังในการทำงานถึงแม้จำเลยที่4มีระเบียบว่าเมื่อเลิกงานแล้วคนงานจะออกไปจากที่ก่อสร้างไม่ได้และผู้มีหน้าที่ขับและเก็บรักษารถจะนำรถไปใช้หลังจากเลิกงานแล้วไม่ได้ก็ตามก็เป็นเรื่องภายในระหว่างจำเลยที่4กับพนักงานการที่พ. กับพวกซื้อก๋วยเตี๋ยวไม่ได้จึงได้ไปรับประทานอาหารในเขตจังหวัด1ชั่วโมงต่อจากนั้นจึงได้พากันไปที่บ้านว. ซึ่งอยู่ห่างจากสถานที่ก่อสร้าง60กิโลเมตรจึงยังเป็นเรื่องที่อยู่ในขอบของการอนุญาตของหัวหน้าช่างผู้มีสิทธิอนุญาตให้นำรถไปใช้แทนจำเลยที่4ซึ่งเป็นนายจ้างอันถือได้ว่าจำเลยที่4ร่วมรู้เห็นในการให้พ. นำรถออกไปใช้ดังกล่าวด้วยการที่พ. นำรถออกไปใช้ดังกล่าวเป็นการกระทำในทางการที่จ้างของจำเลยที่4จำเลยที่4ในฐานะนายจ้างและจำเลยที่5ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการจึงต้องร่วมรับผิดในผลแห่งการละเมิดอันเกิดจากการนำรถไปกระทำให้เกิดอุบัติเหตุด้วย โจทก์ได้จ่ายเงินให้บิดามารดาของผู้ตายไปคนละ3,000บาทรวม6,000บาทเป็นการจ่ายให้ไปเพื่อมนุษยธรรมจึงเป็นเรื่องการจ่ายให้เปล่าไม่ต้องการผลตอบแทนกรณีจึงเป็นเรื่องให้โดยเสน่หาของโจทก์เองมิใช่เป็นเรื่องค่าเสียหายอันเกิดจากการละเมิดโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกเงินในส่วนนี้จากผู้กระทำละเมิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 677/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายจ้างต่อการละเมิดของลูกจ้างขณะปฏิบัติงาน และการจ่ายเงินเยียวยาโดยไม่มีผลบังคับ
พ.และ ค.ลูกจ้างของจำเลยที่ 4 และที่ 5 นำรถยนต์กระบะของนายจ้างออกไปนอกสถานที่ทำการจนกระทั่งถึงที่เกิดเหตุรถชนกัน โดยก่อนเกิดเหตุ1 วัน พ.ได้ขอยืมรถยนต์กระบะคันเกิดเหตุจากหัวหน้าช่างของจำเลยที่ 4 ออกไปข้างนอกเพื่อซื้อก๋วยเตี๋ยวรับประทาน การรับประทานอาหารเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีพให้มีชีวิตอยู่มีกำลังในการทำงาน ถึงแม้จำเลยที่ 4 มีระเบียบว่า เมื่อเลิกงานแล้วคนงานจะออกไปจากที่ก่อสร้างไม่ได้และผู้มีหน้าที่ขับและเก็บรักษารถจะนำรถไปใช้หลังจากเลิกงานแล้วไม่ได้ก็ตาม ก็เป็นเรื่องภายในระหว่างจำเลยที่ 4กับพนักงาน การที่ พ.กับพวกซื้อก๋วยเตี๋ยวไม่ได้ จึงได้ไปรับประทานอาหารในเขตจังหวัด 1 ชั่วโมง ต่อจากนั้นจึงได้พากันไปที่บ้าน ว. ซึ่งอยู่ห่างจากสถานที่ก่อสร้าง60 กิโลเมตร จึงยังเป็นเรื่องที่อยู่ในขอบของการอนุญาตของหัวหน้าช่างผู้มีสิทธิอนุญาตให้นำรถไปใช้แทนจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นนายจ้าง อันถือได้ว่าจำเลยที่ 4 ร่วมรู้เห็นในการให้ พ.นำรถออกไปใช้ดังกล่าวด้วย การที่ พ.นำรถออกไปใช้ดังกล่าวเป็นการกระทำในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 4 จำเลยที่ 4 ในฐานะนายจ้างและจำเลยที่ 5 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการจึงต้องร่วมรับผิดในผลแห่งการละเมิดอันเกิดจากการนำรถไปกระทำให้เกิดอุบัติเหตุด้วย
โจทก์ได้จ่ายเงินให้บิดามารดาของผู้ตายไปคนละ 3,000 บาทรวม 6,000 บาท เป็นการจ่ายให้ไปเพื่อมนุษยธรรม จึงเป็นเรื่องการจ่ายให้เปล่าไม่ต้องการผลตอบแทน กรณีจึงเป็นเรื่องให้โดยเสน่หาของโจทก์เองมิใช่เป็นเรื่องค่าเสียหายอันเกิดจากการละเมิด โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกเงินในส่วนนี้จากผู้กระทำละเมิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 677/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นายจ้างต้องรับผิดในละเมิดของลูกจ้างเมื่อการใช้รถเป็นการกระทำในทางการที่จ้าง แม้มีระเบียบห้าม
ก่อนเกิดเหตุ1วันพ. ได้ขอยืมรถยนต์กระบะคันเกิดเหตุจากหัวหน้าช่างของจำเลยที่4ออกไปข้างนอกเพื่อซื้อก๋วยเตี๋ยวรับประทานการรับประทานอาหารเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีพให้มีชีวิตอยู่มีกำลังในการทำงานถึงแม้จำเลยที่4มีระเบียบว่าเมื่อเลิกงานแล้วคนงานจะออกไปจากที่ก่อสร้างไม่ได้และจำนำรถไปใช้หลังจากเลิกงานแล้วไม่ได้ก็ตามก็เป็นเรื่องภายในระหว่างจำเลยที่4กับพนักงานจะนำระเบียบดังกล่าวไปใช้ยันกับบุคคลภายนอกเพื่อปัดความรับผิดหาได้ไม่ปรากฎว่าพ. กับพวกซื้อก๋วยเตี๋ยวไม่ได้จึงออกไปรับประทานอาหารในเขตจังหวัดลำปางจากนั้นจึงพากันไปที่บ้านว. ซึ่งอยู่ห่างจากสถานที่ก่อสร้าง60กิโลเมตรจึงยังเป็นเรื่องที่อยู่ในขอบเขตการอนุญาตของหัวหน้าช่างผู้มีสิทธิอนุญาตให้นำรถไปใช้แทนจำเลยที่4ซึ่งเป็นนายจ้างถือได้ว่าจำเลยที่4ร่วมรู้เห็นในการให้พ. นำรถออกไปใช้ด้วยดังนั้นการที่พ. นำรถออกไปใช้ดังกล่าวเป็นการกระทำในทางการที่จ้างของจำเลยที่4จำเลยที่4ในฐานะนายจ้างและจำเลยที่5ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการจึงต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดอันเกิดจากการนำรถไปกระทำให้เกิดอุบัติเหตุด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 257/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องมูลนิธิ: การจัดการทรัพย์สินเพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์ ไม่ขัดต่อกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากตึกพิพาทซึ่งมีค่าเช่าในขณะยื่นฟ้องไม่เกินเดือนละ4,000บาทจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงดังนั้นการที่จำเลยอุทธรณ์ว่าอ. มิได้เป็นผู้จัดการและช.มิได้เป็นเหรัญญิกของโจทก์โดยบุคคลทั้งสองไม่มีอำนาจทำการแทนโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องนั้นเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา224วรรคสองที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหาตามอุทธรณ์ของจำเลยและศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาจำเลยในปัญหานี้จึงเป็นการไม่ชอบถือว่าข้อเท็จจริงเป็นอันยุติแล้วตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น การที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากตึกพิพาทซึ่งเป็นของโจทก์นั้นถือว่าเป็นการจัดการทรัพย์สินของมูลนิธิโจทก์และตามฎีกาของจำเลยก็ไม่ปรากฎว่าการให้เช่าตึกพิพาทเป็นการกระทำเพื่อหาผลประโยชน์เพื่อบุคคลหนึ่งบุคคลใดหรือเพื่อหาผลประโยชน์มาแบ่งปันกันจึงไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา110ที่ชำระใหม่แต่เป็นกรณีที่โจทก์ชอบที่จะกระทำได้เพื่อหาผลประโยชน์เพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของโจทก์และการที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากตึกพิพาทเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาตามสัญญาเท่านั้นถือว่าเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมายมิได้ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนแต่อย่างใดโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 237/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเดินทางในที่ดินของผู้อื่น: การได้รับอนุญาตไม่ใช่สิทธิภารจำยอม, การโอนสิทธิเมื่อเจ้าของเปลี่ยน
เดิมที่ดินโฉนดเลขที่610เป็นของบิดาจำเลยที่1เคยให้โจทก์ทั้งสองเช่าบางส่วนเมื่อบิดาจำเลยที่1ถึงแก่ความตายจำเลยที่1ได้รับมรดกที่ดินแปลงดังกล่าวแล้วนำไปแบ่งขายให้แก่โจทก์ทั้งสองขณะที่เช่าที่ดินกับบิดาจำเลยที่1บิดาจำเลยที่1อนุญาตให้โจทก์ทั้งสองเดินผ่านที่ดินพิพาทหลังจากนั้นจำเลยที่1ก็ได้ให้โจทก์ทั้งสองเดินผ่านที่ดินพิพาทดังกล่าวการที่โจทก์ทั้งสองใช้สิทธิเดินผ่านที่ดินพิพาทจึงเป็นการได้รับอนุญาตให้มีสิทธิเดินผ่านจากบิดาจำเลยที่1และตัวจำเลยที่1นั่นเองโจทก์ทั้งสองมิได้เดินในที่พิพาทโดยอาศัยอำนาจแห่งตนและขณะนั้นที่ดินดังกล่าวยังเป็นที่ดินแปลงเดียวกันอยู่กรณีจึงมิใช่เป็นเรื่องการมีสิทธิเหนือที่ดินแปลงหนึ่งประโยชน์ของที่ดินอีกแปลงหนึ่งเมื่อปรากฎว่าโจทก์ที่1เพิ่งจะซื้อที่่ดินจากจำเลยที่1เมื่อวันที่16กุมภาพันธ์2524โจทก์ที่2ซื้อที่ดินจากจำเลยที่1เมื่อวันที่22กุมภาพันธ์2527นับถึงวันฟ้องวันที่31มกราคม2534ยังไม่ครบ10ปีถึงแม้หากโจทก์ทั้งสองจะใช้สิทธิโดยอำนาจแห่งตนโดยพลการเดินผ่านที่ดินพิพาทของจำเลยที่1ตั้งแต่ซื้อที่ดินจากจำเลยที่1ก็หาอาจได้สิทธิภารจำยอมในทางเดินในที่ดินพิพาทดังกล่าวไม่ ที่โจทก์ที่2อ้างว่าในการซื้อที่ดินจากจำเลยที่1จำเลยที่1เคยทำสัญญาไว้ว่าเมื่อซื้อที่ดินแล้วจะเปิดทางให้ทำถนนนั้นก็ปรากฎว่าสัญญาดังกล่าวกระทำกันระหว่างจำเลยที่1กับส.มิได้กระทำกับโจทก์ที่2ซึ่งโจทก์ที่2เองก็เบิกความว่าขณะทำสัญญาดังกล่าวโจทก์ที่2ได้หย่าขาดกับส.แล้วและมิได้มีการจดทะเบียนให้ทางเดินในที่ดินพิพาทเป็นทางเดินภารจำยอมไว้ทั้งสัญญาซื้อขายดังกล่าวก็เป็นบุคคลสิทธิบังคับได้ระหว่างจำเลยที่1กับส. ไม่มีเหตุที่โจทก์ที่2จะนำสัญญาดังกล่าวมาบังคับให้จำเลยที่1ต้องปฏิบัติตามเพื่อประโยชน์ของโจทก์ที่2ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกสัญญาได้ ขณะที่โจทก์ที่2สร้างถนนคอนกรีตบางส่วนบนที่ดินพิพาทนั้นจำเลยที่1อนุญาตให้โจทก์ที่2ใช้ที่ดินพิพาทเป็นทางเดินอยู่การสร้างถนนคอนกรีตของโจทก์ที่2จึงเป็นการสร้างโดยได้รับอนุญาตเมื่อจำเลยที่2ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทไม่อนุญาตให้โจทก์ที่2ใช้ที่ดินพิพาทเป็นทางเดินต่อไปอีกโจทก์ที่2จึงต้องรื้อถนนคอนกรีตส่วนนี้ออกเมื่อโจทก์ที่2ไม่ยินยอมรื้อจำเลยที่2จึงชอบที่จะฟ้องแย้งบังคับโจทก์ที่2ให้รื้อถนนคอนกรีตดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 237/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเดินทางและภาระจำยอม: การได้มา การสูญเสีย และผลกระทบต่อผู้รับโอน
เดิมที่ดินโฉนดเลขที่ 610 เป็นของบิดาจำเลยที่ 1 เคยให้โจทก์ทั้งสองเช่าบางส่วน เมื่อบิดาจำเลยที่ 1 ถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 1ได้รับมรดกที่ดินแปลงดังกล่าวแล้วนำไปแบ่งขายให้แก่โจทก์ทั้งสอง ขณะที่เช่าที่ดินกับบิดาจำเลยที่ 1 บิดาจำเลยที่ 1 อนุญาตให้โจทก์ทั้งสองเดินผ่านที่ดินพิพาทหลังจากนั้นจำเลยที่ 1 ก็ได้ให้โจทก์ทั้งสองเดินผ่านที่ดินพิพาทดังกล่าว การที่โจทก์ทั้งสองใช้สิทธิเดินผ่านที่ดินพิพาท จึงเป็นการได้รับอนุญาตให้มีสิทธิเดินผ่านจากบิดาจำเลยที่ 1 และตัวจำเลยที่ 1 นั่นเอง โจทก์ทั้งสองมิได้เดินในที่พิพาทโดยอาศัยอำนาจแห่งตนและขณะนั้นที่ดินดังกล่าวยังเป็นที่ดินแปลงเดียวกันอยู่กรณีจึงมิใช่เป็นเรื่องการมีสิทธิเหนือที่ดินแปลงหนึ่งเพื่อประโยชน์ของที่ดินอีกแปลงหนึ่ง เมื่อปรากฏว่าโจทก์ที่ 1 เพิ่งจะซื้อที่ดินจากจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 16กุมภาพันธ์ 2524 โจทก์ที่ 2 ซื้อที่ดินจากจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์2527 นับถึงวันฟ้องวันที่ 31 มกราคม 2534 ยังไม่ครบ 10 ปี ถึงแม้หากโจทก์ทั้งสองจะใช้สิทธิโดยอำนาจแห่งตนโดยพลการเดินผ่านที่ดินพิพาทของจำเลยที่ 1ตั้งแต่ซื้อที่ดินจากจำเลยที่ 1 ก็หาอาจได้สิทธิภาระจำยอมในทางเดินในที่ดินพิพาทดังกล่าวไม่
ที่โจทก์ที่ 2 อ้างว่าในการซื้อที่ดินจากจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1เคยทำสัญญาไว้ว่า เมื่อซื้อที่ดินแล้วจะเปิดทางให้ทำถนนนั้น ก็ปรากฏว่าสัญญาดังกล่าวกระทำกันระหว่างจำเลยที่ 1 กับ ส. มิได้กระทำกับโจทก์ที่ 2 ซึ่งโจทก์ที่ 2 เองก็เบิกความว่าขณะทำสัญญาดังกล่าวโจทก์ที่ 2 ได้หย่าขาดกับ ส.แล้ว และมิได้มีการจดทะเบียนให้ทางเดินในที่ดินพิพาทเป็นทางเดินภาระจำยอมไว้ ทั้งสัญญาซื้อขายดังกล่าวก็เป็นบุคคลสิทธิ บังคับได้ระหว่างจำเลยที่ 1 กับ ส.ไม่มีเหตุที่โจทก์ที่ 2 จะนำสัญญาดังกล่าวมาบังคับให้จำเลยที่ 1 ต้องปฏิบัติตามเพื่อประโยชน์ของโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกสัญญาได้
ขณะที่โจทก์ที่ 2 สร้างถนนคอนกรีตบางส่วนบนที่ดินพิพาทนั้นจำเลยที่ 1 อนุญาตให้โจทก์ที่ 2 ใช้ที่ดินพิพาทเป็นทางเดินอยู่ การสร้างถนนคอนกรีตของโจทก์ที่ 2 จึงเป็นการสร้างโดยได้รับอนุญาต เมื่อจำเลยที่ 2ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทไม่อนุญาตให้โจทก์ที่ 2 ใช้ที่ดินพิพาทเป็นทางเดินต่อไปอีก โจทก์ที่ 2 จึงต้องรื้อถนนคอนกรีตส่วนนี้ออก เมื่อโจทก์ที่ 2 ไม่ยินยอมรื้อจำเลยที่ 2 จึงชอบที่จะฟ้องแย้งบังคับโจทก์ที่ 2 ให้รื้อถนนคอนกรีตดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 229/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกา: จำเลยฎีกาประเด็นนอกเหนือคำให้การ และข้อเท็จจริงเกินทุนทรัพย์ที่พิพาท
ที่จำเลยฎีกาเป็นข้อกฎหมายว่า โจทก์ยังมิได้บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายเป็นค่าขาดประโยชน์และค่าติดตามรถยนต์คันที่เช่าซื้อนั้น จำเลยให้การแต่เพียงว่า รถยนต์มีสภาพเก่า และโจทก์มิได้ประสงค์จะให้ผู้ใดเช่า จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าขาดประโยชน์ ส่วนค่าติดตามรถยนต์จำเลยเป็นผู้แจ้งโจทก์ให้ไปรับรถยนต์เองมิใช่กรณีที่โจทก์ติดตามยึดนั้น จำเลยมิได้ให้การว่าสัญญายังมิได้เลิกกัน โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหาย จำเลยจึงไม่มีสิทธิยกประเด็นดังกล่าวขึ้นฎีกาได้ เพราะเป็นข้อฎีกาที่นอกเหนือจากคำให้การของจำเลย ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ส่วนที่จำเลยฎีกาว่า ค่าขาดประโยชน์ที่ศาลอุทธรณ์กำหนดสูงเกินไปนั้น เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท ฎีกาของจำเลยข้อนี้จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้เช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 229/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกานอกเหนือคำให้การ และข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อทุนทรัพย์ไม่เกิน 200,000 บาท
ที่จำเลยฎีกาเป็นข้อกฎหมายว่าโจทก์ยังมิได้บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อจึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายเป็นค่าขาดประโยชน์และค่าติดตามรถยนต์คันที่เช่าซื้อนั้นจำเลยให้การแต่เพียงว่ารถยนต์มีสภาพเก่าและโจทก์มิได้ประสงค์จะให้ผู้ใดเช่าจึงไม่มีสิทธิเรียกค่าขาดประโยชน์ส่วนค่าติดตามรถยนต์จำเลยเป็นผู้แจ้งโจทก์ให้ไปรับรถยนต์เองมิใช่กรณีที่โจทก์ติดตามยึดนั้นจำเลยมิได้ให้การว่าสัญญายังมิได้เลิกกันโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจำเลยจึงไม่มีสิทธิยกประเด็นดังกล่าวขึ้นฎีกาได้เพราะเป็นข้อฎีกาที่นอกเหนือจากคำให้การของจำเลยศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ส่วนที่จำเลยฎีกาว่าค่าขาดประโยชน์ที่ศาลอุทธรณ์กำหนดสูงเกินไปนั้นเมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน200,000บาทฎีกาของจำเลยข้อนี้จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้เช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 173/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องหย่าจากพฤติการณ์เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยา แม้จะเคยถอนฟ้องไปก่อนแล้ว
การที่โจทก์ยอมถอนฟ้องในคดีก่อนที่โจทก์ฟ้องหย่าจำเลยนั้นเป็นเพราะจำเลยตกลงเงื่อนไขกับโจทก์ไว้เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขยังอยู่กินฉันสามีภริยากับหญิงอื่นจนกระทั่งปัจจุบันจึงมิใช่กรณีที่โจทก์ยอมให้อภัยจำเลยตลอดไปการกระทำของจำเลยถือได้ว่าเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีหรือภริยากันอย่างร้ายแรงอันเป็นเหตุฟ้องหย่าได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1516(6)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 173/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องหย่าเมื่อคู่สมรสไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงหลังการไกล่เกลี่ย และมีพฤติกรรมฉันสามีภริยากับผู้อื่น
โจทก์จำเลยจดทะเบียนสมรสกันต่อมาจำเลยไปได้ม.เป็นภริยาโจทก์ได้ฟ้องหย่าจำเลยศาลไกล่เกลี่ยโจทก์จำเลยตกลงกันว่าจำเลยจะต้องกลับมาอยู่ในบ้านหลังเดียวกับโจทก์ห้ามเกี่ยวข้องกับหญิงอื่นต่อไปโจทก์จึงได้ถอนฟ้องไปปรากฏว่าหลังจากถอนฟ้องแล้วจำเลยยังคงอยู่ร่วมกับม. ฉันสามีภริยาต่อมาการที่โจทก์ยอมถอนฟ้องก็เพราะจำเลยตกลงเงื่อนไขกับโจทก์ไว้เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขจึงมิใช่กรณีที่โจทก์ยอมให้อภัยจำเลยการกระทำของจำเลยถือได้ว่าเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีหรือภริยากันอย่างร้ายแรงอันเป็นเหตุฟ้องหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1516(6)
of 18