พบผลลัพธ์ทั้งหมด 179 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9734/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีแพ่งต้องไม่ผูกพันข้อเท็จจริงจากคดีอาญาหากไม่ใช่คู่ความเดียวกัน หรือประเด็นไม่ตรงกัน
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46ที่จะต้องถือเอาข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญามาพิจารณาคดีส่วนแพ่งนั้น คดีแพ่งและคดีอาญาดังกล่าวจะต้องเป็นคู่ความเดียวกัน สำหรับสำนวนคดีแรกโจทก์ที่ 2 ฟ้องในฐานะเป็นเจ้าของรถบรรทุกและเป็นผู้เสียหายจากการเสื่อมเสียของรถและขาดประโยชน์รายได้อันเป็นสิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่ 2 เองโดยเฉพาะหาได้รับช่วงมีสิทธิมาจากการที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้อง ส. จำเลยที่ 1 แต่ประการใดไม่ ทั้งโจทก์ที่ 1ในฐานะผู้รับประกันภัยจากโจทก์ที่ 2 ก็เป็นผู้รับช่วงสิทธิจากโจทก์ที่ 2 ผู้เอาประกันภัย ฉะนั้นโจทก์ทั้งสองจึงเป็นบุคคลภายนอกในคดีอาญาที่ศาลได้พิพากษาไปแล้วดังกล่าวรวมทั้งจำเลยที่ 2 และที่ 3 ก็มิได้เคยเป็นคู่ความในคดีอาญาดังกล่าวด้วย เมื่อปรากฏว่าโจทก์ทั้งสอง จำเลยที่ 2 และที่ 3เป็นบุคคลภายนอกในคดีอาญาดังกล่าวจึงจะนำหลักตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 ที่ว่าให้ถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีอาญามาใช้ในการพิจารณาคดีส่วนแพ่งบังคับใช้ในคดีนี้หาได้ไม่สำหรับสำนวนคดีหลัง โจทก์จำเลยมิได้เป็นคู่ความในคดีอาญาดังกล่าว ทั้งประเด็น ในคดีแพ่งคดีนี้มีว่า น. จำเลยที่ 3 เป็นผู้ขับรถโดยประมาทหรือไม่ เป็นคนละประเด็นกันกับคดีอาญาดังกล่าวซึ่งมีประเด็น ว่า ส. จำเลยที่ 1 คดีนี้ เป็นผู้ขับรถโดยประมาทหรือไม่จึงไม่มีเหตุที่จะต้องนำข้อเท็จจริงในคดีอาญาดังกล่าวมาใช้ใน การพิจารณาคดีแพ่งเรื่องนี้ด้วยเช่นกัน ส่วนฎีกาของจำเลยที่ 2 เกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่อ้างคำเบิกความของพยานขึ้นมาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ เพื่อให้ศาลฎีกาเห็นว่าศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงตามคำเบิกความของพยานไม่ถูกต้องเป็นการดึงปัญหาข้อเท็จจริงเข้ามาสู่ปัญหาข้อกฎหมายเพื่อให้มีการพิจารณาปัญหาข้อกฎหมายใหม่ว่า จำเลยที่ 3 เป็นผู้ประมาทหรือไม่ อันเป็นการฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9678/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดิน สัญญาจะซื้อจะขาย การบังคับคดีตามสัญญา
จำเลยได้ตกลงขายที่ดินพิพาทแก่โจทก์และได้มอบโฉนดที่ดินพิพาทให้โจทก์ยึดถือไว้โดยจำเลยได้รับเงินมัดจำของโจทก์ไปแล้วจำนวน15,000บาทและจำเลยจะไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแก่โจทก์พร้อมทั้งรับเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือเมื่อจำเลยรังวัดแบ่งแยกที่ดินเสร็จแล้วข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเป็นเพียงสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทดังนั้นถึงแม้ตามสัญญาซื้อขายจะมิได้ระบุรายละเอียดว่าสัญญาทำขึ้นระหว่างใครกับใครที่ดินโฉนดเลขที่เท่าใดเนื้อที่และราคาเท่าใดชำระราคาหรือวางมัดจำกันแล้วหรือไม่เพียงใดส่วนที่เหลือจะชำระกันอย่างไรไม่มีรายละเอียดที่จะบังคับกันได้ตามเอกสารดังกล่าวก็ตามแต่เมื่อจำเลยตกลงจะขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์และโจทก์ได้วางมัดจำให้แก่จำเลยแล้วจำเลยไม่ยินยอมขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามสัญญาโจทก์จึงมีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา456กรณีไม่มีเหตุที่โจทก์จะต้องคืนโฉนดที่ดินพิพาทแก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9678/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน: สิทธิในการฟ้องบังคับโอนกรรมสิทธิ์เมื่อวางมัดจำแล้ว
จำเลยได้ตกลงขายที่ดินพิพาทแก่โจทก์ และได้มอบโฉนดที่ดินพิพาทให้โจทก์ยึดถือไว้ โดยจำเลยได้รับเงินมัดจำของโจทก์ไปแล้วจำนวน 15,000 บาทและจำเลยจะไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแก่โจทก์ พร้อมทั้งรับเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือเมื่อจำเลยรังวัดแบ่งแยกที่ดินเสร็จแล้ว ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเป็นเพียงสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาท ดังนั้น ถึงแม้ตามสัญญาซื้อขายจะมิได้ระบุรายละเอียดว่า สัญญาทำขึ้นระหว่างใครกับใคร ที่ดินโฉนดเลขที่เท่าใด เนื้อที่และราคาเท่าใด ชำระราคาหรือวางมัดจำกันแล้วหรือไม่เพียงใด ส่วนที่เหลือจะชำระกันอย่างไร ไม่มีรายละเอียดที่จะบังคับกันได้ตามเอกสารดังกล่าวก็ตาม แต่เมื่อจำเลยตกลงจะขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์และโจทก์ได้วางมัดจำให้แก่จำเลยแล้วจำเลยไม่ยินยอมขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามสัญญา โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 กรณีไม่มีเหตุที่โจทก์จะต้องคืนโฉนดที่ดินพิพาทแก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9480/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าและจองอาคาร สิทธิขับไล่เมื่อสัญญาหมดอายุ
ตามคำฟ้องของโจทก์ระบุเรื่องหรือข้อหาไว้ว่า ขับไล่เรียกค่าเช่าและค่าเสียหายในเนื้อหาของคำฟ้องก็ระบุว่า โจทก์ได้รับการเช่าช่วงที่ดินมาจาก ป. เพื่อปลูกสร้างอาคาพาณิชย์ให้เช่า เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2515 จำเลยทำสัญญาจองอาคารกับโจทก์ตามสัญญาจองอาคารเอกสารท้ายฟ้อง โดยจองห้องเลขที่ 145 และตามสัญญาจองอาคารเอกสารท้ายฟ้องซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องตามสัญญาข้อ 3 ระบุไว้ว่า จะจัดการทำสัญญาเช่ากับผู้จองให้เรียบร้อยภายหลังจากที่ผู้รับจองได้จัดทำสัญญาเช่ากับเทศบาลเมืองฉะเชิงเทราแล้ว และสัญญาข้อ 4 ระบุว่าสัญญาเช่าที่จะทำตามข้อ 3 มีอายุการเช่า 20 ปี นับแต่วันทำสัญญา ทั้งได้มีการกำหนดค่าเช่ากันไว้ตามสัญญาข้อ 5 ด้วย คำขอท้ายฟ้องของโจทก์ก็ขอให้ขับไล่จำเลยออกจากห้องที่เช่าดังกล่าว พร้อมเรียกค่าเช่าและค่าเสียหาย จึงเป็นคำฟ้องที่เกี่ยวกับสัญญาจองอาคารและเกี่ยวกับเรื่องการเช่าอาคารพิพาทตามประเด็นที่ศาลชั้นต้นตั้งไว้ส่วนประเด็นที่ศาลชั้นต้นตั้งไว้ว่า จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจองอาคารพิพาทกับโจทก์หรือไม่ เมื่อปรากฏว่าสัญญาจองอาคารตามเอกสารท้ายฟ้องที่โจทก์อ้าง นอกจากจะมีลักษณะเป็นสัญญาจองแล้ว ยังมีลักษณะเป็นสัญญาเช่าอยู่ในตัวด้วย กล่าวคือ เป็นสัญญาซึ่งโจทก์ตกลงให้จำเลยได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งในที่นี้คืออาคารพิพาทที่โจทก์ได้จัดสร้างขึ้นในระยะเวลาอันมีจำกัดคือ 20 ปี และจำเลยตกลงจะให้ค่าเช่าเพื่อการนั้นดังนี้ โจทก์จึงอยู่ในฐานะเป็นผู้ให้เช่า และจำเลยอยู่ในฐานะเป็นผู้เช่าตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 537 แล้ว ส่วนที่สัญญาจองอาคารข้อ 3 ระบุให้ไปทำสัญญาเช่ากันภายหลังจากการที่ผู้รับจองได้จัดทำสัญญาเช่ากับเทศบาลเมืองแล้วนั้น เป็นเพียงเพื่อที่จะให้ไปทำสัญญาเช่าเพื่อจดทะเบียนการเช่าเป็นระยะเวลา 20 ปีตามสัญญาข้อ 4 ให้เป็นที่เรียบร้อยเท่านั้น การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยถึงเรื่องการเช่า การบอกเลิกการเช่า และอายุสัญญาเช่าสิ้นไปตามกำหนดในสัญญาเช่าโดยมิได้กล่าวถึงว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจองอาคารไว้ ก็ถือได้ว่าได้วินิจฉัยตามประเด็นที่ได้กำหนดไว้แล้ว เมื่อสัญญาเช่ากำหนดระยะเวลาการเช่าไว้จึงย่อมระงับสิ้นไปโดยมิจำต้องบอกกล่าวก่อน และเมื่อจำเลยไม่ยอมออกจากอาคารพิพาทจึงเป็นการผิดสัญญาเช่าหรือสัญญาจองอาคารที่ได้กระทำกันไว้ กรณีจึงมิใช่เป็นเรื่องที่ศาลวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น
สัญญาเช่าทำกันเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2515 และตามสัญญาเช่าระบุไว้ว่า ให้มีอายุการเช่า 20 ปี นับแต่วันทำสัญญา จึงต้องถือว่าให้นับระยะเวลาการเช่าตั้งแต่วันที่ 15มีนาคม 2515 ซึ่งเป็นวันทำสัญญาเป็นต้นไป ซึ่งจะครบกำหนด 20 ปี ตามสัญญาในวันที่ 14 มีนาคม 2535 อันเป็นวันสิ้นสุดอายุสัญญาเช่าที่กำหนดไว้ เมื่อจำเลยไม่ยอมออกจากอาคารพิพาทโจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยได้
สัญญาเช่าทำกันเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2515 และตามสัญญาเช่าระบุไว้ว่า ให้มีอายุการเช่า 20 ปี นับแต่วันทำสัญญา จึงต้องถือว่าให้นับระยะเวลาการเช่าตั้งแต่วันที่ 15มีนาคม 2515 ซึ่งเป็นวันทำสัญญาเป็นต้นไป ซึ่งจะครบกำหนด 20 ปี ตามสัญญาในวันที่ 14 มีนาคม 2535 อันเป็นวันสิ้นสุดอายุสัญญาเช่าที่กำหนดไว้ เมื่อจำเลยไม่ยอมออกจากอาคารพิพาทโจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9480/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจองอาคารมีลักษณะเป็นสัญญาเช่า สิทธิขับไล่เมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุด
ตามคำฟ้องของโจทก์ระบุเรื่องหรือข้อหาไว้ว่า ขับไล่เรียกค่าเช่าและค่าเสียหาย ในเนื้อหาของคำฟ้องก็ระบุว่า โจทก์ได้รับการเช่าช่วงที่ดินมาจาก ป.เพื่อปลูกสร้างอาคารพาณิชย์ให้เช่า เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2515 จำเลยทำสัญญาจองอาคารกับโจทก์ ตามสัญญาจองอาคารเอกสารท้ายฟ้อง โดยจองห้องเลขที่ 145 และตามสัญญาจองอาคารเอกสารท้ายฟ้องซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องตามสัญญาข้อ 3 ระบุไว้ว่า จะจัดการทำสัญญาเช่ากับผู้จองให้เรียบร้อยภายหลังจากที่ผู้รับจองได้จัดทำสัญญาเช่ากับเทศบาลเมืองฉะเชิงเทราแล้ว และสัญญาข้อ 4 ระบุว่าสัญญาเช่าที่จะทำตามข้อ 3 มีอายุการเช่า 20 ปี นับแต่วันทำสัญญา ทั้งได้มีการกำหนดค่าเช่ากันไว้ตามสัญญาข้อ 5 ด้วย คำขอท้ายฟ้องของโจทก์ก็ขอให้ขับไล่จำเลยออกจากห้องที่เช่าดังกล่าว พร้อมเรียกค่าเช่าและค่าเสียหาย จึงเป็นคำฟ้องที่เกี่ยวกับสัญญาจองอาคารและเกี่ยวกับเรื่องการเช่าอาคารพิพาทตามประเด็นที่ศาลชั้นต้นตั้งไว้ส่วนประเด็นที่ศาลชั้นต้นตั้งไว้ว่า จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจองอาคารพิพาทกับโจทก์หรือไม่ เมื่อปรากฏว่าสัญญาจองอาคารตามเอกสารท้ายฟ้องที่โจทก์อ้าง นอกจากจะมีลักษณะเป็นสัญญาจองแล้ว ยังมีลักษณะเป็นสัญญาเช่าอยู่ในตัวด้วย กล่าวคือ เป็นสัญญาซึ่งโจทก์ตกลงให้จำเลยได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งในที่นี้คืออาคารพิพาทที่โจทก์ได้จัดสร้างขึ้นในระยะเวลาอันมีจำกัดคือ 20 ปี และจำเลยตกลงจะให้ค่าเช่าเพื่อการนั้น ดังนี้ โจทก์จึงอยู่ในฐานะเป็นผู้ให้เช่า และจำเลยอยู่ในฐานะเป็นผู้เช่าตามนัยแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 537 แล้ว ส่วนที่สัญญาจองอาคารข้อ 3 ระบุให้ไปทำสัญญาเช่ากันภายหลังจากการที่ผู้รับจองได้จัดทำสัญญาเช่ากับเทศบาลเมืองแล้วนั้น เป็นเพียงเพื่อที่จะให้ไปทำสัญญาเช่าเพื่อจดทะเบียนการเช่าเป็นระยะเวลา20 ปี ตามสัญญาข้อ 4 ให้เป็นที่เรียบร้อยเท่านั้น การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยถึงเรื่องการเช่า การบอกเลิกการเช่า และอายุสัญญาเช่าสิ้นไปตามกำหนดในสัญญาเช่า โดยมิได้กล่าวถึงว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจองอาคารไว้ ก็ถือได้ว่าได้วินิจฉัยตามประเด็นที่ได้กำหนดไว้แล้ว เมื่อสัญญาเช่ากำหนดระยะเวลาการเช่าไว้จึงย่อมระงับสิ้นไปโดยมิจำต้องบอกกล่าวก่อน และเมื่อจำเลยไม่ยอมออกจากอาคาร-พิพาทจึงเป็นการผิดสัญญาเช่าหรือสัญญาจองอาคารที่ได้กระทำกันไว้ กรณีจึงมิใช่เป็นเรื่องที่ศาลวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น
สัญญาเช่าทำกันเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2515 และตามสัญญาเช่าระบุไว้ว่า ให้มีอายุการเช่า 20 ปี นับแต่วันทำสัญญา จึงต้องถือว่าให้นับระยะเวลาการเช่าตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม 2515 ซึ่งเป็นวันทำสัญญาเป็นต้นไป ซึ่งจะครบกำหนด 20 ปี ตามสัญญาในวันที่ 14 มีนาคม 2535 อันเป็นวันสิ้นสุดอายุสัญญาเช่าที่กำหนดไว้ เมื่อจำเลยไม่ยอมออกจากอาคารพิพาทโจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยได้
สัญญาเช่าทำกันเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2515 และตามสัญญาเช่าระบุไว้ว่า ให้มีอายุการเช่า 20 ปี นับแต่วันทำสัญญา จึงต้องถือว่าให้นับระยะเวลาการเช่าตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม 2515 ซึ่งเป็นวันทำสัญญาเป็นต้นไป ซึ่งจะครบกำหนด 20 ปี ตามสัญญาในวันที่ 14 มีนาคม 2535 อันเป็นวันสิ้นสุดอายุสัญญาเช่าที่กำหนดไว้ เมื่อจำเลยไม่ยอมออกจากอาคารพิพาทโจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9400/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผ่อนผันเงื่อนเวลาในสัญญาประนีประนอมยอมความ และผลต่อการผิดสัญญา
แม้จำเลยทั้งสองจะมิได้ไปแถลงขอให้งดการบังคับคดีแก่โจทก์ไว้ภายใน 7 วัน ตามสัญญาประนีประนอมยอมความก็ตามแต่โจทก์ก็ได้มีหนังสือแจ้งให้จำเลยทั้งสองปฏิบัติตามสัญญาภายใน 7 วัน นับแต่วันที่จำเลยทั้งสองได้รับหนังสือถือได้ว่าโจทก์ได้สละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาซึ่งเป็นข้อสาระสำคัญตามสัญญาแล้ว เมื่อจำเลยที่ 1 ได้ไปแถลงขอ งดการบังคับคดีภายในกำหนดเวลาที่โจทก์ผ่อนผันให้ใหม่ จึงเป็นการปฏิบัติตามข้อผ่อนผันของโจทก์หรือถือว่าจำเลยทั้งสองได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวแล้วฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองผิดสัญญาประนีประนอมยอมความดังที่โจทก์อ้าง ทั้งไม่ปรากฏความเสียหายแก่โจทก์ในส่วนเกี่ยวกับการงดการบังคับคดี กรณีจึงไม่มีเหตุที่โจทก์จะเรียกร้องบังคับให้คืนเงินและบังคับคดีตามข้อสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยทั้งสองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 192 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9378/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาโทษพยายามฆ่า: ศาลแก้ไขโทษจำคุกให้เป็นไปตามอัตราส่วนสองในสามของโทษฐานฆ่า
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาการสอบสวนคดีอาญาเป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวนที่จะดำเนินการตามที่เห็นสมควรภายในขอบเขตบทบัญญัติแห่งกฎหมายในการสอบสวนคดีนี้ไม่ปรากฏว่าพนักงานสอบสวนได้กระทำผิดกฎหมายหรือผิดหน้าที่อย่างใดทั้งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ก็มิได้บัญญัติห้ามมิให้บุคคลอื่นหรือพยานปากอื่นเข้าฟังการสอบสวนดังนั้น การที่พนักงานสอบสวนปากคำพยานโจทก์ทั้งห้าปากพร้อมกันและพันตำรวจโทอ.พยานโจทก์ปากหนึ่งตรวจดูบันทึกคำให้การพยานโจทก์ชั้นสอบสวนทุกปาก พร้อมทั้งนั่งฟังการสอบสวนด้วยจึงหาทำให้การสอบสวนเสียไปไม่ โทษฐานฆ่าผู้อื่นตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา288กำหนดโทษไว้เป็น3ประการคือโทษประหารชีวิตจำคุกตลอดชีวิตและจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปีโดยให้ศาลเลือกพิจารณาลงโทษตามความเหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งคดีในคดีนี้เป็นการพยายามกระทำความผิดต้องระวางโทษสองในสามส่วนของโทษที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดฐานฆ่าผู้อื่นที่กำหนดไว้ดังกล่าวข้างต้นซึ่งศาลชั้นต้นได้พิจารณาเลือกกำหนดโทษที่จะลงแก่จำเลยคือโทษตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปีฉะนั้นโทษสูงสุดของอัตราโทษสองในสามส่วนของโทษที่กฎหมายกำหนดไว้20ปีดังกล่าวที่สามารถจะลงโทษในข้อหาฐานพยายามได้ในกรณีนี้คือ13ปี4เดือนการที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกจำเลยข้อหาฐานพยายามฆ่า15ปีและศาลอุทธรณ์พิพากษายืนจึงเป็นการลงโทษเกินสองในสามส่วนของโทษตามที่กฎหมายกำหนดไว้สมควรแก้ไขโทษเสียให้เป็นการถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9378/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการสอบสวนคดีอาญาและการกำหนดโทษพยายามฆ่าเกินอัตราตามกฎหมาย
ตาม ป.วิ.อ. การสอบสวนคดีอาญาเป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวนที่จะดำเนินการตามที่เห็นสมควรภายในขอบเขตบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ในการสอบสวนคดีนี้ไม่ปรากฏว่าพนักงานสอบสวนได้กระทำผิดกฎหมายหรือผิดหน้าที่อย่างใด ทั้ง ป.วิ.อ.ก็มิได้บัญญัติห้ามมิให้บุคคลอื่นหรือพยานปากอื่นเข้าฟังการสอบสวน ดังนั้น การที่พนักงานสอบสวนสอบปากคำพยานโจทก์ทั้งห้าปากพร้อมกัน และพันตำรวจโท อ.พยานโจทก์ปากหนึ่งตรวจดูบันทึกคำให้การพยานโจทก์ชั้นสอบสวนทุกปาก พร้อมทั้งนั่งฟังการสอบสวนด้วยจึงหาทำให้การสอบสวนเสียไปไม่
โทษฐานฆ่าผู้อื่นตาม ป.อ.มาตรา 288 กำหนดโทษไว้เป็น3 ประการ คือ โทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต และจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปีโดยให้ศาลเลือกพิจารณาลงโทษตามความเหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งคดี ในคดีนี้เป็นการพยายามกระทำความผิด ต้องระวางโทษสองในสามส่วนของโทษที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดฐานฆ่าผู้อื่นที่กำหนดไว้ดังกล่าวข้างต้น ซึ่งศาลชั้นต้นได้พิจารณาเลือกกำหนดโทษที่จะลงแก่จำเลยคือโทษตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี ฉะนั้นโทษสูงสุดของอัตราโทษสองในสามส่วนของโทษที่กฎหมายกำหนดไว้ 20 ปีดังกล่าวที่สามารถจะลงโทษในข้อหาฐานพยายามได้ในกรณีนี้คือ 13 ปี 4 เดือนการที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกจำเลยข้อหาฐานพยายามฆ่า 15 ปี และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนจึงเป็นการลงโทษเกินสองในสามส่วนของโทษตามที่กฎหมายกำหนดไว้สมควรแก้ไขโทษเสียให้เป็นการถูกต้อง
โทษฐานฆ่าผู้อื่นตาม ป.อ.มาตรา 288 กำหนดโทษไว้เป็น3 ประการ คือ โทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต และจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปีโดยให้ศาลเลือกพิจารณาลงโทษตามความเหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งคดี ในคดีนี้เป็นการพยายามกระทำความผิด ต้องระวางโทษสองในสามส่วนของโทษที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดฐานฆ่าผู้อื่นที่กำหนดไว้ดังกล่าวข้างต้น ซึ่งศาลชั้นต้นได้พิจารณาเลือกกำหนดโทษที่จะลงแก่จำเลยคือโทษตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี ฉะนั้นโทษสูงสุดของอัตราโทษสองในสามส่วนของโทษที่กฎหมายกำหนดไว้ 20 ปีดังกล่าวที่สามารถจะลงโทษในข้อหาฐานพยายามได้ในกรณีนี้คือ 13 ปี 4 เดือนการที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกจำเลยข้อหาฐานพยายามฆ่า 15 ปี และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนจึงเป็นการลงโทษเกินสองในสามส่วนของโทษตามที่กฎหมายกำหนดไว้สมควรแก้ไขโทษเสียให้เป็นการถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9376/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าปรับและค่าเสียหายจากการผิดสัญญา ผู้รับจ้างชำระค่าเสียหายได้ แม้มีค่าปรับกำหนดไว้
ความเสียหายอันเนื่องมาจากการที่โจทก์ต้องจ้างบริษัทอื่นมาดำเนินการต่อและต้องเสียค่าจ้างเพิ่มขึ้นมีจำนวนมากกว่าค่าปรับที่เป็นค่าเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้า เมื่อโจทก์เจ้าหนี้ได้รับค่าเสียหายเต็มตามความเสียหายก็เท่ากับรวมเอาเบี้ยปรับในฐานะเป็นค่าเสียหายที่เป็นจำนวนน้อยที่สุดไว้ด้วยแล้วจึงไม่มีเหตุที่โจทก์จะเรียกเอาค่าปรับได้อีก หากจะกำหนดค่าปรับให้แก่โจทก์อีกจะเป็นการให้ค่าเสียหายซ้ำซ้อนกัน และตามสัญญาข้อ 5 วรรคสุดท้าย กำหนดไว้ว่า "ผู้ว่าจ้างทรงไว้ซึ่งสิทธิที่จะเรียกร้องให้ผู้รับจ้างชดใช้แต่ค่าปรับอย่างเดียวหรือค่าเสียหาย และริบสัมภาระอุปกรณ์การก่อสร้างดังกล่าว ใน ข.ค.ด้วยหรือไม่ก็ได้..." จากข้อสัญญาดังกล่าวจะเห็นว่า ข้อสัญญาได้ใช้คำว่าเรียกค่าปรับหรือค่าเสียหายอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น โดยผู้ว่าจ้างเป็นผู้เลือก เมื่อศาลอุทธรณ์กำหนดให้จำเลยชำระค่าเสียหายอันเป็นจำนวนเงินมากกว่าค่าปรับแก่โจทก์ โดยให้นำค่าปรับที่จำเลยที่ 1 ได้ชำระให้โจทก์ไว้แล้วมาหักออกก่อนจึงเป็นการชอบด้วยข้อกฎหมายและข้อสัญญาดังกล่าวแล้ว
ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินจำนวน1,278,057.68 บาท แทนที่จะพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสิ้น 1,279,057.68 บาท เป็นเพราะศาลอุทธรณ์เขียนจำนวนค่าจ้างส่วนที่เพิ่มขึ้นจากสัญญาเดิมผิดพลาดไปจากจำนวนที่ถูกต้อง คือ จำนวน 973,587.45 บาทเป็นจำนวน 972,587.45 บาท จึงทำให้คำนวณค่าเสียหายเมื่อหักเงินค่าปรับจำนวน 258,000 บาท ที่จำเลยที่ 1 ชำระให้โจทก์ออกแล้วผิดพลาดขาดจำนวนไป 1,000 บาท อันเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อย ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 143
ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินจำนวน1,278,057.68 บาท แทนที่จะพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสิ้น 1,279,057.68 บาท เป็นเพราะศาลอุทธรณ์เขียนจำนวนค่าจ้างส่วนที่เพิ่มขึ้นจากสัญญาเดิมผิดพลาดไปจากจำนวนที่ถูกต้อง คือ จำนวน 973,587.45 บาทเป็นจำนวน 972,587.45 บาท จึงทำให้คำนวณค่าเสียหายเมื่อหักเงินค่าปรับจำนวน 258,000 บาท ที่จำเลยที่ 1 ชำระให้โจทก์ออกแล้วผิดพลาดขาดจำนวนไป 1,000 บาท อันเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อย ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 143
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9376/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าปรับและค่าเสียหายจากการผิดสัญญา: โจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายเพิ่มเติมจากค่าปรับได้ หากความเสียหายสูงกว่า
ความเสียหายอันเนื่องมาจากการที่โจทก์ต้องจ้างบริษัทอื่นมาดำเนินการต่อและต้องเสียค่าจ้างเพิ่มขึ้นมีจำนวนมากกว่าค่าปรับที่เป็นค่าเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้าเมื่อโจทก์เจ้าหนี้ได้รับค่าเสียหายเต็มตามความเสียหายก็เท่ากับรวมเอาเบี้ยปรับในฐานะเป็นค่าเสียหายที่เป็นจำนวนน้อยที่สุดไว้ด้วยแล้วจึงไม่มีเหตุที่โจทก์จะเรียกเอาค่าปรับได้อีกหากจะกำหนดค่าปรับให้แก่โจทก์อีกจะเป็นการให้ค่าเสียหายซ้ำซ้อนกันและตามสัญญาข้อ5วรรคสุดท้ายกำหนดไว้ว่า"ผู้ว่าจ้างทรงไว้ซึ่งสิทธิที่จะเรียกร้องให้ผู้รับจ้างชดใช้แต่ค่าปรับอย่างเดียวหรือค่าเสียหายและริบสัมภาระอุปกรณ์การก่อสร้างดังกล่าวในข.ค.ด้วยหรือไม่ก็ได้"จากข้อสัญญาดังกล่าวจะเห็นว่าข้อสัญญาได้ใช้คำว่าเรียกค่าปรับหรือค่าเสียหายอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้นโดยผู้ว่าจ้างเป็นผู้เลือกเมื่อศาลอุทธรณ์กำหนดให้จำเลยชำระค่าเสียหายอันเป็นจำนวนเงินมากกว่าค่าปรับแก่โจทก์โดยให้นำค่าปรับที่จำเลยที่1ได้ชำระให้โจทก์ไว้แล้วมาหักออกก่อนจึงเป็นการชอบด้วยข้อกฎหมายและข้อสัญญาดังกล่าวแล้ว ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่1ชำระเงินจำนวน1,278,057.68บาทแทนที่จะพิพากษาให้จำเลยที่1ชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสิ้น1,279,057.68บาทเป็นเพราะศาลอุทธรณ์เขียนจำนวนค่าจ้างส่วนที่เพิ่มขึ้นจากสัญญาเดิมผิดพลาดไปจากจำนวนที่ถูกต้องคือจำนวน973,587.45บาทเป็นจำนวน972,587.45บาทจึงทำให้คำนวณค่าเสียหายเมื่อหักเงินค่าปรับจำนวน258,000บาทที่จำเลยที่1ชำระให้โจทก์ออกแล้วผิดพลาดขาดจำนวนไป1,000บาทอันเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยศาลฎีกาจึงเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา143