คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
กอบเกียรติ รัตนพานิช

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 179 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4175/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการใช้หนี้แทนและการไถ่ถอนจำนอง: การชำระหนี้ทั้งหมดเพื่อไถ่ถอนทรัพย์สินจำนอง
เมื่อโจทก์อยู่ในฐานะผู้ที่จะได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทซึ่งอาจจะต้องเสี่ยงภัยเสียสิทธิในการรับโอนหากปล่อยให้จำเลยเจ้าหนี้จำนองบังคับคดีโดยการขายทอดตลาดโจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะเข้าใช้หนี้จำเลยแทนผู้จำนองได้ตามนัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา230 หนี้จำนองย่อมครอบไปถึงบรรดาทรัพย์สินที่จำนองทุกสิ่งแม้จะได้ชำระหนี้ไปแล้วบางส่วนตามนัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา716แม้จะมีการไถ่ถอนทรัพย์สินซึ่งจำนองไปบางส่วนแล้วก็ตามทรัพย์สินจำนองที่เหลืออยู่จะต้องเป็นประกันการชำระหนี้ทั้งจำนวนตามสิทธิของสัญญาจำนองเมื่อได้ความว่าหนี้จำนองที่บริษัทส.มีต่อจำเลยจำนวน5,396,629.37บาทแต่มีที่พิพาทเป็นทรัพย์จำนองเพียงแปลงเดียวโจทก์ผู้รับโอนที่พิพาทจึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับจำเลยรับชำระหนี้ไถ่ถอนจำนองเพียงจำนวน386,784.60บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4175/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเข้าใช้หนี้ไถ่ถอนจำนอง: การชำระหนี้ทั้งหมดเพื่อไถ่ถอนทรัพย์
จำเลยในคดีนี้ได้เป็นโจทก์ฟ้องบังคับยึดทรัพย์จำนองรวมถึงทรัพย์พิพาทในคดีนี้ให้บริษัท ส.ชำระหนี้จำนองโดยการขายทอดตลาดรวมทั้งทรัพย์พิพาทตามที่บริษัท ส.เป็นลูกหนี้อยู่ ดังนั้น เมื่อโจทก์อยู่ในฐานะที่จะเป็นผู้ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทที่อาจจะต้องเสี่ยงภัยเสียสิทธิในการที่จะได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาท หากปล่อยให้จำเลยบังคับคดีโดยการขายทอดตลาด โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะเข้าใช้หนี้ให้จำเลยแทนบริษัท ส.ตาม ป.พ.พ.มาตรา 230
หนี้จำนองที่บริษัท ส.มีต่อจำเลยในคดีนี้ยังมีเหลืออยู่อีกจำนวน5,396,629.37 บาท แต่มีทรัพย์จำนองเป็นประกันในการชำระหนี้คือที่ดินพิพาทแปลงนี้เหลืออยู่เพียงแปลงเดียว การที่จะบังคับให้จำเลยรับชำระหนี้ไถ่ถอนจำนอง จึงต้องเป็นการชำระหนี้ทั้งหมดที่บริษัท ส.เป็นหนี้จำเลยอยู่ คือจำนวน 5,396,629.37 บาทโจทก์จะบังคับให้จำเลยรับชำระหนี้ไถ่ถอนจำนองเพียงจำนวน 386,784.60 บาทหาได้ไม่ ทั้งนี้ตามนัย ป.พ.พ.มาตรา 716 และ 717 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยให้รับไถ่ถอนจำนองจากโจทก์ต่ำกว่าหนี้ที่จำเลยเป็นเจ้าหนี้อยู่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4175/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไถ่ถอนจำนองต้องชำระหนี้ทั้งหมด ห้ามชำระบางส่วน ศาลฎีกาพิพากษากลับ
จำเลยในคดีนี้ได้เป็นโจทก์ฟ้องบังคับยึดทรัพย์จำนองรวมถึงทรัพย์พิพาทในคดีนี้ให้บริษัทส.ชำระหนี้จำนองโดยการขายทอดตลาดรวมทั้งทรัพย์พิพาทตามที่บริษัทส.เป็นลูกหนี้อยู่ดังนั้นเมื่อโจทก์อยู่ในฐานะที่จะเป็นผู้ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทที่อาจจะต้องเสี่ยงภัยเสียสิทธิในการที่จะได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทหากปล่อยให้จำเลยบังคับคดีโดยการขายทอดตลาดโจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะเข้าใช้หนี้ให้จำเลยแทนบริษัทส.ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา230 หนี้จำนองที่บริษัทส.มีต่อจำเลยในคดีนี้ยังมีเหลืออยู่อีกจำนวน5,396,629.37บาทแต่มีทรัพย์จำนองเป็นประกันในการชำระหนี้ที่ดินพิพาทแปลงนี้เหลืออยู่เพียงแปลงเดียวการที่จะบังคับให้จำเลยรับชำระหนี้ไถ่ถอนจำนองจึงต้องเป็นการชำระหนี้ทั้งหมดที่บริษัทส. เป็นหนี้จำเลยอยู่คือจำนวน5,396,629.37บาทโจทก์จะบังคับให้จำเลยรับชำระหนี้ไถ่ถอนจำนองเพียงจำนวน386,784.60บาทหาได้ไม่ทั้งนี้ตามนัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา716และ717วรรคหนึ่งโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยให้รับไถ่ถอนจำนองจากโจทก์ต่ำกว่าหนี้ที่จำเลยเป็นเจ้าหนี้อยู่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2277/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพรากผู้เยาว์เพื่ออนาจารและการข่มขืน ถือเป็นความผิดต่างกรรมต่างวาระ ต้องลงโทษทุกกระทง
การที่ผู้เสียหายขออนุญาตมารดาไปนอนค้างที่บ้านนางสาว ศ.ยังไม่ถือว่าพ้นจากอำนาจปกครองของบิดามารดาเมื่อจำเลยขับรถจักรยานยนต์รับผู้เสียหายในระหว่างทางจากรถจักรยานยนต์ของ น.แล้วข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายย่อมเป็นการล่วงอำนาจปกครองของบิดามารดาผู้เสียหายและตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา318วรรคสามก็มิได้บัญญัติไว้ว่าผู้กระทำความผิดจะต้องมีเจตนาโดยทุจริตซึ่งเป็นเจตนาพิเศษแต่อย่างใด เมื่อจำเลยมีเจตนาพรากผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารถือได้ว่าความผิดฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารสำเร็จนับแต่จำเลยเริ่มพรากผู้เสียหายแล้วแม้จำเลยจะยังไม่ได้กระทำการข่มขืนกระทำชำเราก็ตามการที่จำเลยข่มขืนกระทำชำเราหลังจากนั้นจึงเป็นความผิดอีกกรรมหนึ่งซึ่งต่างกรรมต่างวาระกับความผิดฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารโดยผู้เยาว์ไม่เต็มใจไปด้วยการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันเป็น2กระทง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2087/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองป่าสงวนหลังประกาศเขต – เจตนาบุกรุก – การซื้อสิทธิครอบครองจากผู้อื่น
แม้จำเลยจะซื้อสิทธิครอบครองที่ดินจากบุคคลผู้ครอบครองที่ดินมาก่อนที่ทางการจะประกาศให้เป็นป่าสงวนแห่งชาติก็เป็นเพียงแสดงว่าเฉพาะตัวผู้ที่ขายสิทธิครอบครองให้แก่จำเลยขาดเจตนาที่จะบุกรุกป่าสงวนแห่งชาติเท่านั้นเมื่อปรากฏว่าที่ดินที่จำเลยซื้อได้มีกฎกระทรวงประกาศเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติเมื่อวันที่12มิถุนายน2529จำเลยเบิกความว่าได้ซื้อมาระหว่างปีพ.ศ.2530ถึงปี2535จึงเป็นระยะเวลาที่รัฐประกาศให้ที่ดินดังกล่าวเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติแล้วและจำเลยก็ทราบดีว่าที่ดินดังกล่าวเป็นป่าสงวนแห่งชาติการที่จำเลยเข้ายึดถือครอบครองที่ดินป่าสงวนจึงมีความผิดตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติพ.ศ.2507มาตรา14และยังมีความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้พ.ศ.2484มาตรา54ซึ่งบัญญัติห้ามยึดถือครอบครองป่าเช่นกันด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1609/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลและลดโทษเยาวชน: คดีลักทรัพย์-รับของโจรในพื้นที่ไม่มีศาลเยาวชน
ขณะกระทำผิดจำเลยมีอายุ15ปี6เดือนซึ่งถือว่าเป็นเยาวชนแต่ในท้องที่จังหวัดสกลนครซึ่งจำเลยมีถิ่นที่อยู่ปกติและเป็นท้องที่ที่จำเลยกระทำความผิดไม่มีศาลเยาวชนและครอบครัวดังนั้นศาลชั้นต้นคือศาลจังหวัดสกลนครซึ่งเป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีธรรมดาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาจึงมีอำนาจพิจารณาคดีนี้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวพ.ศ.2534มาตรา58(3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1609/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลกรณีไม่มีศาลเยาวชนฯ - การพิจารณาคดีเยาวชนในพื้นที่ที่ไม่มีศาลเฉพาะ
ขณะกระทำผิดจำเลยมีอายุ 15 ปี 6 เดือน ซึ่งถือว่าเป็นเยาวชน แต่ในท้องที่จังหวัดสกลนครซึ่งจำเลยมีถิ่นที่อยู่ปกติและเป็นท้องที่ที่จำเลยกระทำความผิดไม่มีศาลเยาวชนและครอบครัว ดังนั้นศาลชั้นต้นคือศาลจังหวัดสกลนครซึ่งเป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีธรรมดาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาจึงมีอำนาจพิจารณาคดีนี้ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัว และวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 58 (3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1609/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุเยาวชนกับการพิจารณาคดีอาญา: การใช้กฎหมายเด็กและเยาวชนในท้องที่ไม่มีศาลเยาวชน
ขณะกระทำผิดจำเลยอายุ 15 ปี 6 เดือน เป็นเยาวชนแต่ในท้องที่จังหวัดสกลนครซึ่งจำเลยมีถิ่นที่อยู่ปกติและเป็นท้องที่ที่จำเลยกระทำความผิดไม่มีศาลเยาวชนและครอบครัว ศาลจังหวัดสกลนคร ซึ่งเป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีธรรมดาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาจึงมีอำนาจพิจารณาคดีตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 58(3)การที่ศาลชั้นต้นไม่นำพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวพ.ศ. 2534 มาใช้บังคับแก่คดีจึงชอบแล้ว แต่จำเลย กระทำความผิดขณะอายุยังไม่เกิน 17 ปี ศาลต้องลดมาตราส่วนโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 75

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1554/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลักทรัพย์พระพุทธรูปในวัด ไม่เข้าข่ายทรัพย์อันเป็นที่สักการะบูชาประชาชน ความผิดตามมาตรา 335 ทวิ วรรคหนึ่ง
พระพุทธรูปของกลางทั้ง7องค์ที่ถูกลักไปนั้นเป็นพระพุทธรูปขนาดเล็กเก็บรักษาอยู่ในตู้ของวัดแต่ไม่ปรากฏว่าเอาไว้ทำอะไรพระพุทธรูปของกลางจึงเป็นพระพุทธรูปธรรมดาเช่นพระพุทธรูปบูชาทั่วไปถือไม่ได้ว่าเป็นทรัพย์อันเป็นที่สักการะบูชาของประชาชนตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา335ทวิวรรคหนึ่งเมื่อพระราชบัญญัติของกลางมิใช่ทรัพย์อันเป็นที่สักการะบูชาของประชาชนแม้จำเลยที่4กับพวกจะลักพระพุทธรูปของกลางในวัดการกระทำของจำเลยที่4กับพวกก็ไม่เป็นความผิดตามมาตรา335วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1554/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พระพุทธรูปของกลางไม่ใช่ทรัพย์อันเป็นที่สักการะบูชาของประชาชน ไม่เข้าข่ายความผิดตามมาตรา 335 ทวิ
พระพุทธรูปของกลางทั้ง 7 องค์ ที่ถูกลักไปนั้น เป็นพระพุทธรูปขนาดเล็ก เก็บรักษาอยู่ในตู้ของวัดแต่ไม่ปรากฏว่าเอาไว้ทำอะไร พระพุทธรูปของกลางจึงเป็นพระพุทธรูปธรรมดา เช่น พระพุทธรูปบูชาทั่วไป ถือไม่ได้ว่าเป็นทรัพย์อันเป็นที่สักการะบูชาของประชาชนตาม ป.อ. มาตรา 335 ทวิ วรรคหนึ่ง เมื่อพระพุทธรูปของกลางมิใช่ทรัพย์อันเป็นที่สักการะบูชาของประชาชน แม้จำเลยที่ 4กับพวกจะลักพระพุทธรูปของกลางในวัด การกระทำของจำเลยที่ 4 กับพวกก็ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 335 วรรคสอง
of 18