พบผลลัพธ์ทั้งหมด 179 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6155/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจปกครองบุตรหลังหย่า: เขตอำนาจศาลอยู่ที่สถานที่ทำข้อตกลง
จำเลยเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์อันเป็นการได้มาโดยความยินยอมในกรณีหย่าตาม ป.พ.พ.มาตรา 1520 และมาตรา 1566 (6)เป็นการได้อำนาจปกครองมาโดยข้อสัญญา การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนอำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ของจำเลย โดยอ้างเหตุแห่งการฟ้องร้องว่าจำเลยปล่อยปละละเลยไม่ทำหน้าที่ของผู้ใช้อำนาจปกครอง จึงเป็นกรณีที่โจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยประพฤติผิดสัญญาหรือข้อตกลงในการจดทะเบียนหย่า ดังนั้น สถานที่ที่ได้มีการจดทะเบียนหย่าและทำบันทึกข้อตกลงในเรื่องการใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ของจำเลย จึงถือได้ว่าเป็นสถานที่ที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาล
โจทก์และจำเลยได้จดทะเบียนการหย่าและทำบันทึกข้อตกลงหลังทะเบียนการหย่าที่สำนักงานเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร จึงต้องถือว่ามูลคดีนี้เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานคร และเมื่อศาลจังหวัดสระบุรีมิใช่ศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาล โจทก์จึงไม่อาจนำคดีมาฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดสระบุรีได้ คดีไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ที่ว่าบุตรผู้เยาว์มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลจังหวัดสระบุรีอันเป็นศาลชั้นต้นที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้หรือไม่ เพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไปได้
โจทก์และจำเลยได้จดทะเบียนการหย่าและทำบันทึกข้อตกลงหลังทะเบียนการหย่าที่สำนักงานเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร จึงต้องถือว่ามูลคดีนี้เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานคร และเมื่อศาลจังหวัดสระบุรีมิใช่ศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาล โจทก์จึงไม่อาจนำคดีมาฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดสระบุรีได้ คดีไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ที่ว่าบุตรผู้เยาว์มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลจังหวัดสระบุรีอันเป็นศาลชั้นต้นที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้หรือไม่ เพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6051/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมรสต่างประเทศและการสมรสซ้อน: โมฆะตามกฎหมายไทย
เมื่อการสมรสระหว่างโจทก์และ ส.ผู้ตายเป็นการสมรสที่ชอบด้วยกฎหมายของรัฐเนวาดา ประเทศสหรัฐอเมริกา และชอบด้วย ป.พ.พ.มาตรา1459 วรรคหนึ่งแล้ว ต่อมาจำเลยได้จดทะเบียนสมรสกับ ส.ถ้ามีโจทก์ตามกฎหมายไทยอีก จึงเป็นการจดทะเบียนในขณะที่ ส.มีคู่สมรสอยู่ก่อนแล้ว เป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งป.พ.พ.มาตรา 1452 ตกเป็นโมฆะตามมาตรา 1496 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะที่จำเลยจดทะเบียนสมรสกับ ส.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6043/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การล้างมลทินตาม พ.ร.บ.ล้างมลทิน และผลต่อการนำโทษจำคุกที่รอการลงโทษมาบวกกับโทษใหม่
ตามพระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี พ.ศ. 2539 มาตรา 4 บัญญัติไว้ว่า"ให้ล้างมลทินให้แก่บรรดาผู้ต้องโทษในกรณีความผิดต่าง ๆ ซึ่งได้กระทำก่อนหรือในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2539 และได้พ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ หรือซึ่งได้พ้นโทษไปโดยผลแห่งพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษพ.ศ. 2539 โดยให้ถือว่าผู้นั้นไม่เคยถูกลงโทษในกรณีความผิดนั้น ๆ" หมายความว่า ผู้ต้องโทษตามคำพิพากษาของศาลที่จะได้รับการล้างมลทินและถือว่าไม่เคยถูกลงโทษในความผิดตามคำพิพากษานั้น นอกจากเป็นผู้ต้องโทษที่ได้กระทำผิดก่อนหรือในวันที่ 9มิถุนายน 2539 แล้ว ยังต้องเป็นผู้พ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่ 1 ตุลาคม 2539อันเป็นวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวมีผลใช้บังคับหรือในกรณีที่ผู้นั้นรับโทษตามคำพิพากษาอยู่ และยังไม่พ้นโทษในวันที่ 1 ตุลาคม 2539 ก็ต้องได้รับอภัยโทษปล่อยตัวหรือพ้นโทษออกมาตามพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ พ.ศ. 2539 แล้วแต่กรณีการที่จำเลยต้องคำพิพากษาจำคุก 1 ปี แต่ศาลได้รอการลงโทษไว้จำเลยจึงยังมิได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษา กรณีของจำเลยจึงมิใช่ผู้ต้องโทษตามความหมายของมาตรา 4แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว และไม่ได้รับผลตามพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษฯเช่นเดียวกัน
โจทก์ขอให้บวกโทษจำคุกที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อน ซึ่งจำเลยไม่ได้ให้การรับว่าจำเลยเป็นบุคคลเดียวกับจำเลยในคดีก่อน เพียงแต่ให้การรับสารภาพในความผิดที่โจทก์ฟ้องเท่านั้น จึงเป็นหน้าที่ของโจทก์ต้องนำสืบในข้อนี้ เมื่อโจทก์มิได้นำพยานหลักฐานมาสืบให้ปรากฏก็ไม่อาจนำโทษจำคุกในคดีก่อนมาบวกเข้ากับโทษจำคุกในคดีนี้ได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยมิได้ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
โจทก์ขอให้บวกโทษจำคุกที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อน ซึ่งจำเลยไม่ได้ให้การรับว่าจำเลยเป็นบุคคลเดียวกับจำเลยในคดีก่อน เพียงแต่ให้การรับสารภาพในความผิดที่โจทก์ฟ้องเท่านั้น จึงเป็นหน้าที่ของโจทก์ต้องนำสืบในข้อนี้ เมื่อโจทก์มิได้นำพยานหลักฐานมาสืบให้ปรากฏก็ไม่อาจนำโทษจำคุกในคดีก่อนมาบวกเข้ากับโทษจำคุกในคดีนี้ได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยมิได้ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5782/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องเคลือบคลุมหรือไม่ การระบุชื่อผู้ถูกกล่าวหา และการกล่าวเท็จทำให้เสียหาย
คำฟ้องโจทก์บรรยายว่า ข้อความที่จำเลยอภิปรายพาดพิงถึงโจทก์นั้นเป็นข้อความที่ฝ่าฝืนความจริงอันมีความหมายอยู่ในตัวว่าข้อความที่จำเลยอภิปรายนั้นไม่ตรงต่อความจริงซึ่งเป็นความเท็จนั่นเอง ส่วนที่ว่าความจริงเป็นอย่างไรนั้น คำฟ้องโจทก์ก็ได้บรรยายไว้แล้วว่า ความจริงในการไปทอดกฐินครั้งนั้นไม่มีการลักลอบขนยาเสพติดให้โทษเฮโรอีนร่วมไปกับคณะทอดกฐินดังที่จำเลยอภิปรายแต่ประการใด ดังนี้ หากจำเลยมั่นใจว่าข้อความที่จำเลยอภิปรายในสภาผู้แทนราษฎรนั้นเป็นความจริง กล่าวคือ โจทก์เคยไปทอดกฐิน ที่ต่างประเทศและมีการลักลอบซุกซ่อนเฮโรอีนไว้ที่ใต้ฐานพระประธานไปด้วยจนเป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่ต่างประเทศทำการตรวจค้นบุคคลในคณะด้วยวิธีเปลื้องผ้าทำให้บุคคลในคณะซึ่งเป็นหญิงได้รับความอับอายทั่วหน้าแล้ว จำเลยย่อมให้การต่อสู้คดีโดยยืนยันตามข้อความอภิปรายและนำสืบพิสูจน์ได้ คำบรรยายฟ้องโจทก์ดังกล่าวไม่ทำให้จำเลยไม่เข้าใจฟ้องจนไม่สามารถให้การต่อสู้คดีได้อย่างถูกต้อง ฟ้องโจทก์จึงสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง ไม่เป็นคำฟ้องเคลือบคลุม ขณะอภิปรายนั้นจำเลยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสังกัดพรรคการเมืองฝ่ายค้าน จำเลยต้องการอภิปรายไม่ไว้วางใจพลเอกช. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในขณะนั้นโดยได้รับมอบหมายจากพรรคให้อภิปรายการบริหารงานของคนบางคน ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย อันเป็นข้อหนึ่งที่จำเลยต้องอภิปรายในครั้งนั้น โจทก์ชื่อพลตรีศรชัย เป็นนายทหารรับราชการประจำสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม มาช่วยราชการที่สำนักงาน เลขานุการรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย ตามคำขอของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และโจทก์เป็นคนสนิทหรือคนใกล้ชิดของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เนื่องจากเคยรับราชการร่วมกันมาตั้งแต่ปี 2524 ซึ่งขณะนั้นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้ช่วยเสนาธิการทหารบก โจทก์เป็นฝ่ายเสนาธิการประจำตัวผู้ช่วยเสนาธิการทหารบก ทั้งในสำนักงานเลขานุการรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย มีโจทก์คนเดียวที่ชื่อศรชัยและทำหน้าที่เป็นเลขานุการส่วนตัวของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยการที่จำเลยอภิปรายได้ความว่า คุณศรชัยคนสนิทของท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย อดีตเคยไปทอดกฐินต่างประเทศและมียาเสพติดให้โทษเฮโรอีนอยู่ที่ใต้ฐานะพระประธาน จนคณะทั้งหมดถูกตรวจสอบทั้งภายนอกภายในเป็นเรื่องอับอายของบรรดาภรรยาข้าราชการทั้งหมด ฝรั่งเขาตรวจไม่ให้เกียรติโดยบรรดาคุณหญิงคุณนายถูกตรวจภายในเปลือยกายล่อนจ้อนน่าอายจริง ๆ ข้อความดังกล่าวจำเลยประสงค์จะอภิปรายถึงความประพฤติของคนใกล้ชิดของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยว่าเคยมีพฤติการณ์น่ารังเกียจกระทำผิดกฎหมาย ทำให้คณะที่ไปทอดกฐินด้วยเสียหายได้รับความอับอายขายหน้าในต่างประเทศแต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยยังนำมาทำงานราชการในกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีเช่นว่านี้ไม่น่าไว้วางใจตามความต้องการของจำเลยที่อภิปรายในสภาผู้แทนราษฎรในครั้งนั้น และเพื่อให้ผู้ฟังทราบว่าเป็นใครจึงระบุชื่อคุณศรชัยเช่นนี้ แม้จะไม่ระบุยศ ตำแหน่ง และนามสกุลของโจทก์ก็พอให้ผู้ฟังเข้าใจได้ว่าหมายถึงโจทก์ เพราะโจทก์ชื่อพลตรีศรชัยเป็นคนสนิทของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และเป็นผู้ได้รับมอบหมายให้นำคณะทอดกฐินไปทอดที่วัดไทยในนครลอสแองเจลิสจากพลเอกช. ซึ่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยขณะถูกอภิปราย แต่การไม่ทอดกฐินครั้งนั้น เจ้าหน้าที่ปราบปรามยาเสพติดสหรัฐอเมริกาได้จับกุม ช. ผู้ร่วมเที่ยวบินไปกับคณะทอดกฐิน กล่าวหาว่ามีส่วนร่วมกับพวกลักลอบขนยาเสพติดให้โทษเฮโรอีนเข้าประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งพวกของช.ถูกจับไว้ก่อนที่คณะทอดกฐินจะเดินทางไปถึงทั้งโจทก์นำคณะทอดกฐินไปทอดที่วัดไทยในนครลอสแองเจลิสครั้งนั้นไม่ได้นำพระประธานไปด้วย และไม่ได้ถูกสงสัยว่ามีการลักลอบนำเฮโรอีนมากับคณะทอดกฐิน คงผ่านการตรวจค้นของเจ้าหน้าที่สหรัฐอเมริกาตามปกติธรรมดา ไม่มีการตรวจค้นโดยให้เปลือยกายล่อนจ้อนดังที่จำเลยอภิปรายดังนั้นคำอภิปรายของจำเลยดังกล่าวข้างต้นจึงเป็นการกล่าวข้อความฝ่าฝืนต่อความจริง เป็นที่เสียหายแก่ชื่อเสียงเกียรติคุณของโจทก์เป็นการละเมิดต่อโจทก์จำต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์การที่จำเลยได้ข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ที่ลงพิมพ์ไว้ตั้งแต่ปี 2529หรือ 2530 นับถึงวันอภิปรายนานกว่า 5 ปี จำเลยย่อมมีเวลาตรวจสอบข้อมูลที่ได้มาว่าถูกต้องตรงกับความจริงหรือไม่ จำเลยกลับนำข้อความอันฝ่าฝืนต่อความจริงมาอภิปรายในสภาผู้แทนราษฎรเป็นที่เสียหายแก่โจทก์ แม้จำเลยจะอภิปรายในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อไม่เป็นความจริงย่อมไม่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน ก็ไม่อาจพ้นความรับผิดต่อโจทก์ได้ โจทก์เป็นนายทหารยศพลตรี มาช่วยราชการทำหน้าที่เลขานุการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นตำแหน่งหน้าที่อันมีเกียรติและเกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบต่องานบริหารราชการแผ่นดินของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยนอกจากจะเสียหายแก่โจทก์แล้ว ยังมีผลกระทบกระเทือนแก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยไปในทางเสื่อมเสียด้วย จำเลยเป็นผู้แทนของปวงชนอภิปรายในสภาผู้แทนราษฎรอันทรงเกียรติ และเป็นการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองระดับชาติ ข้อความที่อภิปรายปกติต้องตรงกับความจริงและเชื่อถือได้ เมื่อปรากฏเป็นความเท็จทั้งได้มีการถ่ายทอดคำอภิปรายของจำเลยทางวิทยุกระจายเสียแห่งประเทศไทยและแพร่ภาพทางโทรทัศน์สีช่อง 9 และช่อง 11ไปทั่วประเทศ ย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์มากกว่าปกติเป็นทวีคูณ ที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดค่าเสียหาย แก่โจทก์500,000 บาท นั้นเหมาะสมแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5782/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดชื่อเสียงจากคำอภิปรายในสภาฯ จำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหาย
คำฟ้องโจทก์บรรยายว่า ข้อความที่จำเลยอภิปรายพาดพิงถึงโจทก์นั้นเป็นข้อความที่ฝ่าฝืนความจริงอันมีความหมายอยู่ในตัวว่าข้อความที่จำเลยอภิปรายนั้นไม่ตรงต่อความจริงซึ่งเป็นความเท็จนั่นเอง ส่วนที่ว่าความจริงเป็นอย่างไรนั้น คำฟ้องโจทก์ก็ได้บรรยายไว้แล้วว่า ความจริงในการไปทอดกฐินครั้งนั้นไม่มีการลักลอบขนยาเสพติดให้โทษเฮโรอีนร่วมไปกับคณะทอดกฐินดังที่จำเลยอภิปรายแต่ประการใด ดังนี้ หากจำเลยมั่นใจว่าข้อความที่จำเลยอภิปรายในสภาผู้แทนราษฎรนั้นเป็นความจริง กล่าวคือ โจทก์เคยไปทอดกฐินที่ต่างประเทศและมีการลักลอบซุกซ่อนเฮโรอีนไว้ที่ใต้ฐานพระประธานไปด้วย จนเป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่ต่างประเทศทำการตรวจค้นบุคคลในคณะด้วยวิธีเปลื้องผ้าทำให้บุคคลในคณะซึ่งเป็นหญิงได้รับความอับอายทั่วหน้าแล้ว จำเลยย่อมให้การต่อสู้คดีโดยยืนยันตามข้อความอภิปรายและนำสืบพิสูจน์ได้ คำบรรยายฟ้องโจทก์ดังกล่าวไม่ทำให้จำเลยไม่เข้าใจฟ้องจนไม่สามารถให้การต่อสู้คดีได้อย่างถูกต้อง ฟ้องโจทก์จึงสมบูรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสอง ไม่เป็นคำฟ้องเคลือบคลุม
ขณะอภิปรายนั้นจำเลยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสังกัดพรรคการเมืองฝ่ายค้าน จำเลยต้องการอภิปรายไม่ไว้วางใจพลเอก ช. รัฐมนตรี-ว่าการกระทรวงมหาดไทยในขณะนั้น โดยได้รับมอบหมายจากพรรคให้อภิปรายการบริหารงานของคนบางคนของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย อันเป็นข้อหนึ่งที่จำเลยต้องอภิปรายในครั้งนั้น โจทก์ชื่อพลตรีศรชัย เป็นนายทหาร-รับราชการประจำสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม มาช่วยราชการที่สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย ตามคำขอของรัฐมนตรีว่าการกระทรวง-มหาดไทย และโจทก์เป็นคนสนิทหรือคนใกล้ชิดของรัฐมนตรีว่าการกระทรวง-มหาดไทย เนื่องจากเคยรับราชการร่วมกันมาตั้งแต่ปี 2524 ซึ่งขณะนั้นรัฐมนตรี-ว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้ช่วยเสนาธิการทหารบก โจทก์เป็นฝ่ายเสนาธิการประจำตัวผู้ช่วยเสนาธิการทหารบก ทั้งในสำนักงานเลขานุการรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย มีโจทก์คนเดียวที่ชื่อศรชัยและทำหน้าที่เป็นเลขานุการส่วนตัวของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย การที่จำเลยอภิปรายได้ความว่า คุณศรชัยคนสนิทของท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย อดีตเคยไปทอดกฐินต่างประเทศและมียาเสพติดให้โทษเฮโรอีนอยู่ที่ใต้ฐานพระประธาน จนคณะทั้งหมดถูกตรวจสอบทั้งภายนอกภายใน เป็นเรื่องอับอายของบรรดาภรรยาข้าราชการทั้งหมด ฝรั่งเขาตรวจไม่ให้เกียรติโดยบรรดาคุณหญิงคุณนายถูกตรวจภายในเปลือยกายล่อนจ้อนน่าอายจริง ๆ ข้อความดังกล่าวจำเลยประสงค์จะอภิปรายถึงความประพฤติของคนใกล้ชิดของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยว่าเคยมีพฤติการณ์น่ารังเกียจกระทำผิดกฎหมาย ทำให้คณะที่ไปทอดกฐินด้วยเสียหายได้รับความอับอายขายหน้าในต่างประเทศ แต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยยังนำมาทำงานราชการในกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีเช่นว่านี้ไม่น่าไว้วางใจตามความต้องการของจำเลยที่อภิปรายในสภาผู้แทนราษฎรในครั้งนั้น และเพื่อให้ผู้ฟังทราบว่าเป็นใครจึงระบุชื่อคุณศรชัยเช่นนี้ แม้จะไม่ระบุยศ ตำแหน่ง และนามสกุลของโจทก์ก็พอให้ผู้ฟังเข้าใจได้ว่าหมายถึงโจทก์ เพราะโจทก์ชื่อพลตรีศรชัย เป็นคนสนิทของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และเป็นผู้ได้รับมอบหมายให้นำคณะทอดกฐินไปทอดที่วัดไทยในนครลอสแองเจลิสจากพลเอก ช.ซึ่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยขณะถูกอภิปราย แต่การไปทอดกฐินครั้งนั้น เจ้าหน้าที่ปราบปรามยาเสพติดสหรัฐ-อเมริกาได้จับกุม ช. ผู้ร่วมเที่ยวบินไปกับคณะทอดกฐิน กล่าวหาว่ามีส่วนร่วมกับพวกลักลอบขนยาเสพติดให้โทษเฮโรอีนเข้าประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งพวกของ ช.ถูกจับไว้ก่อนที่คณะทอดกฐินจะเดินทางไปถึง ทั้งโจทก์นำคณะทอดกฐินไปทอดที่วัดไทยในนครลอสแองเจลิสครั้งนั้นไม่ได้นำพระประธานไปด้วย และไม่ได้ถูกสงสัยว่ามีการลักลอบนำเฮโรอีนมากับคณะทอดกฐิน คงผ่านการตรวจค้นของเจ้าหน้าที่สหรัฐอเมริกาตามปกติธรรมดา ไม่มีการตรวจค้นโดยให้เปลือยกายล่อนจ้อนดังที่จำเลยอภิปรายดังนั้น คำอภิปรายของจำเลยดังกล่าวข้างต้นจึงเป็นการกล่าวข้อความฝ่าฝืนต่อความจริง เป็นที่เสียหายแก่ชื่อเสียงเกียรติคุณของโจทก์ เป็นการละเมิดต่อโจทก์จำต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ การที่จำเลยได้ข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ที่ลงพิมพ์ไว้ตั้งแต่ปี 2529 หรือ 2530 นับถึงวันอภิปรายนานกว่า 5 ปี จำเลยย่อมมีเวลาตรวจสอบข้อมูลที่ได้มาว่าถูกต้องตรงกับความจริงหรือไม่ จำเลยกลับนำข้อความอันฝ่าฝืนต่อความจริงมาอภิปรายในสภาผู้แทนราษฎรเป็นที่เสียหายแก่โจทก์ แม้จำเลยจะอภิปรายในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อไม่เป็นความจริงย่อมไม่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน ก็ไม่อาจพ้นความรับผิดต่อโจทก์ได้
โจทก์เป็นนายทหารยศพลตรี มาช่วยราชการทำหน้าที่เลขานุการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นตำแหน่งหน้าที่อันมีเกียรติและเกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบต่องานบริหารราชการแผ่นดินของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยนอกจากจะเสียหายแก่โจทก์แล้ว ยังมีผลกระทบกระเทือนแก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยไปในทางเสื่อมเสียด้วย จำเลยเป็นผู้แทนของปวงชนอภิปรายในสภาผู้แทน-ราษฎรอันทรงเกียรติ และเป็นการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองระดับชาติ ข้อความที่อภิปรายปกติต้องตรงกับความจริงและเชื่อถือได้ เมื่อปรากฏเป็นความเท็จ ทั้งได้มีการถ่ายทอดคำอภิปรายของจำเลยทางวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยและแพร่ภาพทางโทรทัศน์สีช่อง 9 และช่อง 11 ไปทั่วประเทศ ย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์มากกว่าปกติเป็นทวีคูณ ที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดค่าเสียหายแก่โจทก์500,000 บาท นั้นเหมาะสมแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดแล้ว
ขณะอภิปรายนั้นจำเลยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสังกัดพรรคการเมืองฝ่ายค้าน จำเลยต้องการอภิปรายไม่ไว้วางใจพลเอก ช. รัฐมนตรี-ว่าการกระทรวงมหาดไทยในขณะนั้น โดยได้รับมอบหมายจากพรรคให้อภิปรายการบริหารงานของคนบางคนของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย อันเป็นข้อหนึ่งที่จำเลยต้องอภิปรายในครั้งนั้น โจทก์ชื่อพลตรีศรชัย เป็นนายทหาร-รับราชการประจำสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม มาช่วยราชการที่สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย ตามคำขอของรัฐมนตรีว่าการกระทรวง-มหาดไทย และโจทก์เป็นคนสนิทหรือคนใกล้ชิดของรัฐมนตรีว่าการกระทรวง-มหาดไทย เนื่องจากเคยรับราชการร่วมกันมาตั้งแต่ปี 2524 ซึ่งขณะนั้นรัฐมนตรี-ว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้ช่วยเสนาธิการทหารบก โจทก์เป็นฝ่ายเสนาธิการประจำตัวผู้ช่วยเสนาธิการทหารบก ทั้งในสำนักงานเลขานุการรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย มีโจทก์คนเดียวที่ชื่อศรชัยและทำหน้าที่เป็นเลขานุการส่วนตัวของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย การที่จำเลยอภิปรายได้ความว่า คุณศรชัยคนสนิทของท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย อดีตเคยไปทอดกฐินต่างประเทศและมียาเสพติดให้โทษเฮโรอีนอยู่ที่ใต้ฐานพระประธาน จนคณะทั้งหมดถูกตรวจสอบทั้งภายนอกภายใน เป็นเรื่องอับอายของบรรดาภรรยาข้าราชการทั้งหมด ฝรั่งเขาตรวจไม่ให้เกียรติโดยบรรดาคุณหญิงคุณนายถูกตรวจภายในเปลือยกายล่อนจ้อนน่าอายจริง ๆ ข้อความดังกล่าวจำเลยประสงค์จะอภิปรายถึงความประพฤติของคนใกล้ชิดของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยว่าเคยมีพฤติการณ์น่ารังเกียจกระทำผิดกฎหมาย ทำให้คณะที่ไปทอดกฐินด้วยเสียหายได้รับความอับอายขายหน้าในต่างประเทศ แต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยยังนำมาทำงานราชการในกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีเช่นว่านี้ไม่น่าไว้วางใจตามความต้องการของจำเลยที่อภิปรายในสภาผู้แทนราษฎรในครั้งนั้น และเพื่อให้ผู้ฟังทราบว่าเป็นใครจึงระบุชื่อคุณศรชัยเช่นนี้ แม้จะไม่ระบุยศ ตำแหน่ง และนามสกุลของโจทก์ก็พอให้ผู้ฟังเข้าใจได้ว่าหมายถึงโจทก์ เพราะโจทก์ชื่อพลตรีศรชัย เป็นคนสนิทของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และเป็นผู้ได้รับมอบหมายให้นำคณะทอดกฐินไปทอดที่วัดไทยในนครลอสแองเจลิสจากพลเอก ช.ซึ่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยขณะถูกอภิปราย แต่การไปทอดกฐินครั้งนั้น เจ้าหน้าที่ปราบปรามยาเสพติดสหรัฐ-อเมริกาได้จับกุม ช. ผู้ร่วมเที่ยวบินไปกับคณะทอดกฐิน กล่าวหาว่ามีส่วนร่วมกับพวกลักลอบขนยาเสพติดให้โทษเฮโรอีนเข้าประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งพวกของ ช.ถูกจับไว้ก่อนที่คณะทอดกฐินจะเดินทางไปถึง ทั้งโจทก์นำคณะทอดกฐินไปทอดที่วัดไทยในนครลอสแองเจลิสครั้งนั้นไม่ได้นำพระประธานไปด้วย และไม่ได้ถูกสงสัยว่ามีการลักลอบนำเฮโรอีนมากับคณะทอดกฐิน คงผ่านการตรวจค้นของเจ้าหน้าที่สหรัฐอเมริกาตามปกติธรรมดา ไม่มีการตรวจค้นโดยให้เปลือยกายล่อนจ้อนดังที่จำเลยอภิปรายดังนั้น คำอภิปรายของจำเลยดังกล่าวข้างต้นจึงเป็นการกล่าวข้อความฝ่าฝืนต่อความจริง เป็นที่เสียหายแก่ชื่อเสียงเกียรติคุณของโจทก์ เป็นการละเมิดต่อโจทก์จำต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ การที่จำเลยได้ข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ที่ลงพิมพ์ไว้ตั้งแต่ปี 2529 หรือ 2530 นับถึงวันอภิปรายนานกว่า 5 ปี จำเลยย่อมมีเวลาตรวจสอบข้อมูลที่ได้มาว่าถูกต้องตรงกับความจริงหรือไม่ จำเลยกลับนำข้อความอันฝ่าฝืนต่อความจริงมาอภิปรายในสภาผู้แทนราษฎรเป็นที่เสียหายแก่โจทก์ แม้จำเลยจะอภิปรายในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อไม่เป็นความจริงย่อมไม่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน ก็ไม่อาจพ้นความรับผิดต่อโจทก์ได้
โจทก์เป็นนายทหารยศพลตรี มาช่วยราชการทำหน้าที่เลขานุการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นตำแหน่งหน้าที่อันมีเกียรติและเกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบต่องานบริหารราชการแผ่นดินของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยนอกจากจะเสียหายแก่โจทก์แล้ว ยังมีผลกระทบกระเทือนแก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยไปในทางเสื่อมเสียด้วย จำเลยเป็นผู้แทนของปวงชนอภิปรายในสภาผู้แทน-ราษฎรอันทรงเกียรติ และเป็นการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองระดับชาติ ข้อความที่อภิปรายปกติต้องตรงกับความจริงและเชื่อถือได้ เมื่อปรากฏเป็นความเท็จ ทั้งได้มีการถ่ายทอดคำอภิปรายของจำเลยทางวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยและแพร่ภาพทางโทรทัศน์สีช่อง 9 และช่อง 11 ไปทั่วประเทศ ย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์มากกว่าปกติเป็นทวีคูณ ที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดค่าเสียหายแก่โจทก์500,000 บาท นั้นเหมาะสมแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4405/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อมีผลบังคับใช้ได้ แม้ผู้ให้เช่าซื้อยังมิได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในขณะทำสัญญา โดยเจ้าของกรรมสิทธิ์ได้มาภายหลัง
โจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์บรรทุกในวันที่ 18 เมษายน 2533 ขณะนั้นรถยนต์บรรทุกคันดังกล่าวเป็นกรรมสิทธิ์ของ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ท. ต่อมาวันที่ 3 พฤษภาคม 2533 ห้างหุ้นส่วนจำกัด ท. ได้ขายรถยนต์บรรทุกคันดังกล่าวแก่โจทก์โจทก์จึงเป็นเจ้าของรถยนต์บรรทุกคันที่เช่าซื้อนับแต่นั้นเป็นต้นมา โดยสัญญาเช่าซื้อกำหนดให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อเป็นงวด ๆ ฉะนั้น ขณะที่ทำสัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 กำลังดำเนินการผ่อนชำระค่าเช่าซื้อกันอยู่ โจทก์ผู้ให้เช่าซื้อก็ได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในรถยนต์คันที่เช่าซื้ออันเป็นข้อที่ถือได้ว่าเป็นเจ้าของทรัพย์สินอยู่ในระยะเวลาที่สัญญาเช่าซื้อกำลังดำเนินอยู่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 572 ทั้งตามสัญญาเช่าซื้อข้อ 3 ระบุไว้ว่าในการทำสัญญาเช่าซื้อได้ทำตามคำเสนอของผู้เช่าซื้อโดยให้มีการลงทุนซื้อรถยนต์มาให้เช่าซื้อ ก็เป็นการแสดงอยู่แล้วว่าจำเลยที่ 1 ยอมให้โจทก์ไปซื้อรถยนต์บรรทุกมาให้จำเลยที่ 1 เช่าซื้อ ซึ่งในสัญญาระบุให้เงินดาวน์เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ผู้ให้เช่าซื้อต่างหากจากการชำระค่าเช่าซื้อ และเมื่อจำเลยที่ 1 ชำระเงินค่าเช่าซื้อครบถ้วนตามสัญญาแล้วโจทก์ก็สามารถโอนกรรมสิทธิ์ในรถยนต์บรรทุกคันที่เช่าซื้อให้แก่จำเลยที่ 1ได้ เมื่อจำเลยที่ 1 สมัครใจให้โจทก์ไปซื้อรถยนต์มาให้เช่าซื้อและเข้าทำสัญญาเช่าซื้อรถคันดังกล่าวกับโจทก์ โดยมิได้โต้แย้งคัดค้านเกี่ยวกับเรื่องการเป็นเจ้าของรถยนต์คันที่เช่าซื้อของโจทก์แต่อย่างใด จำเลยที่ 1 จึงต้องผูกพันตามสัญญาเช่าซื้อจะอ้างว่า ขณะทำสัญญาเช่าซื้อโจทก์มิได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์คันที่เช่าซื้อเพื่อปัดความรับผิดหาได้ไม่ สัญญาเช่าซื้อรถยนต์บรรทุกระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงมีผลใช้บังคับกันได้ไม่เป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4323/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลถอนอำนาจปกครองผู้เยาว์กรณีมารดาใช้อำนาจมิชอบ แม้ผู้ร้องยังมิได้เป็นบิดา
ในการถอนอำนาจปกครองนั้น กฎหมายให้อำนาจศาลถอนเสียได้โดยลำพังโดยไม่ต้องให้ผู้ใดร้องขอก็ได้ หากมีเหตุตามบทบัญญัติแห่งป.พ.พ.มาตรา 1582 วรรคหนึ่ง ดังนั้น แม้ในขณะผู้ร้องยื่นคำร้องผู้ร้องยังมิได้เป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้เยาว์ก็ตาม แต่เมื่อความปรากฏต่อศาลว่ามารดาของผู้เยาว์ย้ายไปอยู่ที่อื่นและสมรสใหม่ตั้งแต่ผู้เยาว์อายุได้เพียงปีเศษและไม่เคยกลับมาดูแลผู้เยาว์อีกเลย กรณีจึงเป็นการที่มารดาผู้เยาว์ใช้อำนาจปกครองแก่ตัวผู้เยาว์โดยมิชอบ ศาลจึงมีอำนาจพิพากษาถอนอำนาจปกครองจากมารดาผู้เยาว์ และเมื่อปรากฏว่าผู้เยาว์อยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของผู้ร้องมาโดยตลอด การให้ผู้ร้องเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์ย่อมเหมาะสมกว่า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3997/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องร้องครอบครองที่ดินและการแจ้งความร้องทุกข์ ไม่ถือเป็นการละเมิดหากกระทำโดยสุจริตและใช้สิทธิทางศาล
จำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์เป็นคดีแพ่งให้ขับไล่โจทก์ออกจากที่ดินพิพาทโดยอ้างว่าซื้อที่ดินพิพาทมาจากผู้มีชื่อ เป็นเรื่องที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 โต้แย้งสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทกัน ส่วนการที่จำเลยที่ 2 รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ 1ไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน ก็โดยอาศัยหลักฐานการครอบครองที่ดินพิพาทอันได้แก่ ส.ค.1 เป็นการใช้สิทธิตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(7) และมาตรา 3 ให้อำนาจไว้ และเมื่อมีการกระทำความผิดเกิดขึ้นผู้เสียหายมีสิทธิแจ้งความร้องทุกข์ดำเนินคดีได้ ส่วนการที่พนักงานสอบสวนกระทำการสอบสวนเพื่อหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำความผิดมาดำเนินคดีแก่ผู้กระทำความผิด ก็เป็นเรื่องที่พนักงานสอบสวนได้กระทำไปตามอำนาจแห่งบทบัญญัติของกฎหมายที่ให้อำนาจไว้อันเป็นเรื่องการปฎิบัติงานของพนักงานสอบสวนเองหากโจทก์จะต้องเสียหายจากการไปที่สถานีตำรวจหรือจะต้องเสียหายประการใด ก็เป็นผลโดยตรงอันเนื่องจากการวินิจฉัยของพนักงานสอบสวน สำหรับการที่จำเลยที่ 1 ฟ้องคดีโจทก์เมื่อไม่ปรากฎว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนากลั่นแกล้งเพื่อให้โจทก์ได้รับความเสียหาย แต่เนื่องจากจำเลยที่ 1 เชื่อโดยสุจริตใจว่าหลักฐานการครอบครองที่ดินพิพาท ส.ค.1 เป็นหลักฐานการครอบครองซึ่งจำเลยที่ 1 เห็นว่าตนมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทดีกว่าโจทก์ จำเลยที่ 1 จึงใช้สิทธิทางศาลโดยสุจริตฟ้องโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ มาตรา 55 ที่ให้ผู้ถูกโต้แย้งสิทธิใช้สิทธิฟ้องร้องผู้โต้แย้งสิทธิทางศาลได้ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อกระทำผิดต่อกฎหมาย หรือไม่ได้ใช้สิทธิอันเป็นการมิชอบด้วยกฎหมายจึงมิได้เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3997/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิทางศาลโดยสุจริต และการแจ้งความร้องทุกข์ ไม่ถือเป็นการละเมิด
จำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์เป็นคดีแพ่งให้ขับไล่โจทก์ออกจากที่ดินพิพาทโดยอ้างว่าซื้อที่ดินพิพาทมาจากผู้มีชื่อ เป็นเรื่องที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 โต้แย้งสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทกัน ส่วนการที่จำเลยที่ 2 รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ 1ไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน ก็โดยอาศัยหลักฐานการครอบครองที่ดินพิพาทอันได้แก่ ส.ค.1 เป็นการใช้สิทธิตามที่ ป.วิ.อ.มาตรา 2 (7) และมาตรา 3ให้อำนาจไว้ และเมื่อมีการกระทำความผิดเกิดขึ้นผู้เสียหายมีสิทธิแจ้งความร้องทุกข์ดำเนินคดีได้ ส่วนการที่พนักงานสอบสวนกระทำการสอบสวนเพื่อหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำความผิดมาดำเนินคดีแก่ผู้กระทำความผิด ก็เป็นเรื่องที่พนักงานสอบสวนได้กระทำไปตามอำนาจแห่งบทบัญญัติของกฎหมายที่ให้อำนาจไว้อันเป็นเรื่องการปฏิบัติงานของพนักงานสอบสวนเอง หากโจทก์จะต้องเสียหายจากการไปที่สถานีตำรวจหรือจะต้องเสียหายประการใด ก็เป็นผลโดยตรงอันเนื่องมาจากการวินิจฉัยของพนักงานสอบสวน สำหรับการที่จำเลยที่ 1 ฟ้องคดีโจทก์เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนากลั่นแกล้งเพื่อให้โจทก์ได้รับความเสียหาย แต่เนื่องจากจำเลยที่ 1 เชื่อโดยสุจริตใจว่าหลักฐานการครอบครองที่ดินพิพาท ส.ค.1 เป็นหลักฐานการครอบครองซึ่งจำเลยที่ 1 เห็นว่าตนมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทดีกว่าโจทก์ จำเลยที่ 1 จึงใช้สิทธิทางศาลโดยสุจริตฟ้องโจทก์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 55 ที่ให้ผู้ถูกโต้แย้งสิทธิใช้สิทธิฟ้องร้องผู้โต้แย้งสิทธิทางศาลได้ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อกระทำผิดต่อกฎหมาย หรือไม่ได้ใช้สิทธิอันเป็นการมิชอบด้วยกฎหมาย จึงมิได้เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3803/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหน้าที่ออกบัตรประชาชนปลอมโดยละเว้นการตรวจสอบข้อเท็จจริง ทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น
จำเลยเป็นหัวหน้างานทะเบียนราษฎร สำนักปลัดเทศบาลเทศบาลเมือง มีหน้าที่สอบสวนให้ได้ความจริงกรณีมีประชาชนมาขอทำบัตรประจำตัวประชาชนใหม่ในกรณีบัตรสูญหาย เพื่อตรวจสอบ ให้ได้ความจริงว่าเป็นบุคคลคนเดียวกันหรือไม่ แต่จำเลย กลับสอบสวน ร. ผู้มาขอบัตรใหม่เพียงคนเดียว แล้วฟังว่าร. กับ จ. เป็นคนเดียวกัน ซึ่งไม่เป็นความจริง ทั้งนี้โดยจำเลยได้ทราบมาก่อนจาก ส. พยานโจทก์แล้วว่าร. กับ จ. เป็นคนละคนกัน เมื่อจำเลยสอบสวนแล้วก็ได้อนุมัติออกบัตรประจำตัวประชาชนให้แก่ ร. ในนาม จ.โดยปราศจากอำนาจ และจำเลยมิได้นำเสนอหัวหน้าสำนักปลัดเทศบาลหรือปลัดเทศบาลหรือรองปลัดเทศบาลผู้มีอำนาจพิจารณาอนุมัติออกบัตรประจำตัวประชาชนตามระเบียบของทางราชการ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ จ. สำนักปลัดเทศบาล เทศบาลเมืองและกรมการปกครอง จำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157