พบผลลัพธ์ทั้งหมด 179 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3803/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหน้าที่ออกบัตรประชาชนปลอมโดยละเว้นการตรวจสอบข้อเท็จจริง ทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น
จำเลยเป็นหัวหน้างานทะเบียนราษฎร สำนักปลัดเทศบาลเทศบาลเมือง มีหน้าที่สอบสวนให้ได้ความจริงกรณีมีประชาชนมาขอทำบัตรประจำตัวประชาชนใหม่ในกรณีบัตรสูญหาย เพื่อตรวจสอบ ให้ได้ความจริงว่าเป็นบุคคลคนเดียวกันหรือไม่ แต่จำเลย กลับสอบสวน ร. ผู้มาขอบัตรใหม่เพียงคนเดียว แล้วฟังว่าร. กับ จ. เป็นคนเดียวกัน ซึ่งไม่เป็นความจริง ทั้งนี้โดยจำเลยได้ทราบมาก่อนจาก ส. พยานโจทก์แล้วว่าร. กับ จ. เป็นคนละคนกัน เมื่อจำเลยสอบสวนแล้วก็ได้อนุมัติออกบัตรประจำตัวประชาชนให้แก่ ร. ในนาม จ.โดยปราศจากอำนาจ และจำเลยมิได้นำเสนอหัวหน้าสำนักปลัดเทศบาลหรือปลัดเทศบาลหรือรองปลัดเทศบาลผู้มีอำนาจพิจารณาอนุมัติออกบัตรประจำตัวประชาชนตามระเบียบของทางราชการ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ จ. สำนักปลัดเทศบาล เทศบาลเมืองและกรมการปกครอง จำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3579/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาพินัยกรรมโมฆะ การฉ้อฉล และสิทธิของผู้จัดการมรดก
ผู้ตายมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์อยู่เพราะสามารถลงลายมือชื่อตามที่ น. บอกให้ลงลายมือชื่อได้ นอกจากนี้เมื่อเปรียบเทียบลายมือชื่อผู้ตายในพินัยกรรมกับเอกสารอื่นที่ผู้ตายเคยลงลายมือชื่อไว้แล้วมีลักษณะลีลาการเขียนอย่างเดียวกันเพียงแต่อักษรตัวใหญ่กว่าเท่านั้น จึงเป็นข้อสนับสนุนว่าผู้ตายได้ลงลายมือชื่ออย่างมีสติ พินัยกรรมมีเพียงหน้าเดียวเป็นตัวพิมพ์มีข้อความด้านบนระบุว่าพินัยกรรมทั้งในช่องที่ผู้ตายลงลายมือชื่อนั้นก็พิมพ์ข้อความว่า ผู้ทำพินัยกรรม ไว้ ผู้ตายต้องใช้เวลาในการลงลายมือชื่อถึงครึ่งชั่วโมง โดย น. บอกให้เขียนทีละตัว เชื่อว่าผู้ตายน่าจะเห็นข้อความคำว่าพินัยกรรมและทราบว่าเป็นการลงลายมือชื่อในพินัยกรรม ดังนั้น การลงลายมือชื่อของผู้ตายยังถือไม่ได้ว่าถูกจำเลยฉ้อฉลให้ทำพินัยกรรม ส่วนที่พินัยกรรมระบุสถานที่ไม่ตรงตามสถานที่จริงและ วัน เดือน ปี ที่ทำพินัยกรรมไม่ตรงตาม วัน เดือน ปีที่แท้จริงนั้นข้อความดังกล่าวก็ปรากฏอยู่แล้วในขณะที่ผู้ตายลงลายมือชื่อ แม้จำเลยจะเป็นผู้จัดทำมาก็ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการปลอมพินัยกรรม จำเลยจึงไม่ถูกกำจัดมิให้รับมรดก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1605
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3579/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของพินัยกรรม, การจัดการมรดก, และผลกระทบต่อสิทธิบุคคลภายนอก
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า พินัยกรรมฉบับพิพาทระบุสถานที่ทำพินัยกรรมไม่ตรงความจริง วัน เดือน ปี ที่ระบุไว้ในพินัยกรรมเป็นที่น่าสงสัยทั้งผู้ตายได้ลงลายมือชื่อในพินัยกรรมโดยพยานมิได้อยู่ในขณะนั้น การทำพินัยกรรมจึงขัดต่อบทบัญญัติ มาตรา 1656 วรรคหนึ่ง แห่ง ป.พ.พ. มีผลให้พินัยกรรมเป็นโมฆะตามมาตรา 1705 จำเลยมิได้อุทธรณ์ ข้อเท็จจริงจึงยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าผู้ตายมิได้ลงลายมือชื่อในพินัยกรรมต่อหน้าพยานอันเป็นข้อเท็จจริงแม้ศาลอุทธรณ์จะหยิบยกปัญหาว่าพินัยกรรมฉบับพิพาทเป็นโมฆะหรือไม่ขึ้นวินิจฉัยก็เป็นการไม่ชอบ จำเลยไม่มีสิทธิฎีกาในปัญหานี้ต่อมา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ผู้ตายได้ลงลายมือชื่อในพินัยกรรมขณะรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลและผู้ตายมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์อยู่และได้ลงลายมือชื่ออย่างมีสติ ผู้ตายเห็นข้อความคำว่าพินัยกรรมและทราบว่าเป็นการลงลายมือชื่อในพินัยกรรม ส่วนที่พินัยกรรมระบุสถานที่ไม่ตรงตามสถานที่จริง และวันเดือนปีที่ทำพินัยกรรมไม่ตรงตามวันเดือนปีที่แท้จริงนั้น ข้อความดังกล่าวก็ปรากฏอยู่แล้วในขณะที่ผู้ตายลงลายมือชื่อ แม้จำเลยจะเป็นผู้จัดทำมาก็ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการปลอมพินัยกรรม และการลงลายมือชื่อของผู้ตายยังถือไม่ได้ว่าถูกจำเลยฉ้อฉลให้ทำพินัยกรรม จำเลยจึงไม่ถูกกำจัดมิให้รับมรดกตามฟ้อง
โจทก์มิได้ฟ้องผู้รับจำนองเข้ามาด้วย การที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้เพิกถอนการจำนองกระทบกระเทือนสิทธิของบุคคลภายนอกซึ่งมิใช่คู่ความในคดีต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 145 เป็นการไม่ชอบ
จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามคำสั่งศาล แม้จำเลยจะโอนที่ดินเป็นของตนแล้วนำไปจำนองกับบุคคลภายนอกเป็นการโอนตามพินัยกรรมที่จำเลยเข้าใจว่าสมบูรณ์ และไม่ปรากฏว่าจำเลยปฏิบัติหน้าที่ไม่ถูกต้องในการเป็นผู้จัดการมรดกหรือมีเหตุอันจะให้เพิกถอนผู้จัดการมรดก ดังนี้ จำเลยย่อมมีสิทธิจัดการมรดกได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1719 โจทก์จึงไม่มีสิทธิห้ามจำเลยยุ่งเกี่ยวกับทรัพย์มรดกของผู้ตาย
ผู้ตายได้ลงลายมือชื่อในพินัยกรรมขณะรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลและผู้ตายมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์อยู่และได้ลงลายมือชื่ออย่างมีสติ ผู้ตายเห็นข้อความคำว่าพินัยกรรมและทราบว่าเป็นการลงลายมือชื่อในพินัยกรรม ส่วนที่พินัยกรรมระบุสถานที่ไม่ตรงตามสถานที่จริง และวันเดือนปีที่ทำพินัยกรรมไม่ตรงตามวันเดือนปีที่แท้จริงนั้น ข้อความดังกล่าวก็ปรากฏอยู่แล้วในขณะที่ผู้ตายลงลายมือชื่อ แม้จำเลยจะเป็นผู้จัดทำมาก็ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการปลอมพินัยกรรม และการลงลายมือชื่อของผู้ตายยังถือไม่ได้ว่าถูกจำเลยฉ้อฉลให้ทำพินัยกรรม จำเลยจึงไม่ถูกกำจัดมิให้รับมรดกตามฟ้อง
โจทก์มิได้ฟ้องผู้รับจำนองเข้ามาด้วย การที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้เพิกถอนการจำนองกระทบกระเทือนสิทธิของบุคคลภายนอกซึ่งมิใช่คู่ความในคดีต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 145 เป็นการไม่ชอบ
จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามคำสั่งศาล แม้จำเลยจะโอนที่ดินเป็นของตนแล้วนำไปจำนองกับบุคคลภายนอกเป็นการโอนตามพินัยกรรมที่จำเลยเข้าใจว่าสมบูรณ์ และไม่ปรากฏว่าจำเลยปฏิบัติหน้าที่ไม่ถูกต้องในการเป็นผู้จัดการมรดกหรือมีเหตุอันจะให้เพิกถอนผู้จัดการมรดก ดังนี้ จำเลยย่อมมีสิทธิจัดการมรดกได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1719 โจทก์จึงไม่มีสิทธิห้ามจำเลยยุ่งเกี่ยวกับทรัพย์มรดกของผู้ตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3579/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โมฆะของพินัยกรรม, การจัดการมรดก, และการเพิกถอนนิติกรรมจำนอง: สิทธิของผู้จัดการมรดก
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า พินัยกรรมฉบับพิพาทระบุสถานที่ทำพินัยกรรมไม่ตรงความจริง วัน เดือน ปี ที่ระบุไว้ในพินัยกรรมเป็นที่น่าสงสัยทั้งผู้ตายได้ลงลายมือชื่อในพินัยกรรมโดยพยานมิได้อยู่ในขณะนั้น การทำพินัยกรรมจึงขัดต่อบทบัญญัติ มาตรา 1656 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มีผลให้พินัยกรรมเป็นโมฆะตามมาตรา 1705 จำเลยมิได้อุทธรณ์ ข้อเท็จจริงจึงยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าผู้ตายมิได้ลงลายมือชื่อในพินัยกรรมต่อหน้าพยานอันเป็นข้อเท็จจริง แม้ศาลอุทธรณ์จะหยิบยกปัญหาว่าพินัยกรรมฉบับพิพาทเป็นโมฆะหรือไม่ขึ้นวินิจฉัยก็เป็นการไม่ชอบ จำเลยไม่มีสิทธิฎีกาในปัญหานี้ต่อมาศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ผู้ตายได้ลงลายมือชื่อในพินัยกรรมขณะรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลและผู้ตายมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์อยู่และได้ลงลายมือชื่ออย่างมีสติ ผู้ตายเห็นข้อความคำว่าพินัยกรรมและทราบว่าเป็นการลงลายมือชื่อในพินัยกรรมส่วนที่พินัยกรรมระบุสถานที่ไม่ตรงตามสถานที่จริง และวันเดือนปีที่ทำพินัยกรรมไม่ตรงตามวันเดือนปีที่แท้จริงนั้นข้อความดังกล่าวก็ปรากฏอยู่แล้วในขณะที่ผู้ตายลงลายมือชื่อแม้จำเลยจะเป็นผู้จัดทำมาก็ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการปลอมพินัยกรรม และการลงลายมือชื่อของผู้ตายยังถือไม่ได้ว่าถูกจำเลยฉ้อฉลให้ทำพินัยกรรม จำเลยจึงไม่ถูกกำจัดมิให้รับมรดกตามฟ้อง โจทก์มิได้ฟ้องผู้รับจำนองเข้ามาด้วย การที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้เพิกถอนการจำนองกระทบกระเทือนสิทธิของบุคคลภายนอกซึ่งมิใช่คู่ความในคดีต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 เป็นการไม่ชอบ จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามคำสั่งศาล แม้จำเลยจะโอนที่ดินเป็นของตนแล้วนำไปจำนองกับบุคคลภายนอกเป็นการโอนตามพินัยกรรมที่จำเลยเข้าใจว่าสมบูรณ์และไม่ปรากฏว่าจำเลยปฏิบัติหน้าที่ไม่ถูกต้องในการเป็นผู้จัดการมรดกหรือมีเหตุอันจะให้เพิกถอนผู้จัดการมรดกดังนี้ จำเลยย่อมมีสิทธิจัดการมรดกได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1719 โจทก์จึงไม่มีสิทธิห้ามจำเลยยุ่งเกี่ยวกับทรัพย์มรดกของผู้ตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3450/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความสมบูรณ์เมื่อทนายความใช้ดุลพินิจและลงลายมือชื่อแทนจำเลย ย่อมบังคับได้ตามกฎหมาย
ใบแต่งทนายความระบุให้ทนายความของจำเลยที่ 1 และที่ 5ทำสัญญาประนีประนอมยอมความแทนจำเลยที่ 1 และที่ 5 ได้ ดังนั้น ทนายความดังกล่าวจึงมีดุลพินิจเต็มที่ว่าข้อความที่จะตกลงกับโจทก์นั้นเหมาะสมหรือไม่ ถ้าเห็นว่าจะเสียเปรียบหรือไม่เหมาะสมก็มีอำนาจที่ไม่ยอมตกลงและต่อรองได้ คดีนี้ได้มีการเจรจาและเลื่อนคดีมาก่อนแล้ว ต่อมาจึงได้มาตกลงทำสัญญาประนีประนอมกันโดยฝ่ายจำเลยที่ 1 และที่ 5 มีทนายจำเลยที่ 1 และที่ 5 ลงลายมือชื่อแทนจำเลยที่ 1และที่ 5 แสดงว่าทนายจำเลยที่ 1 และที่ 5 ได้ใช้ดุลพินิจไตร่ตรองแล้วจึงตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ และสัญญาประนีประนอมยอมความได้ทำไว้โดยมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดหรือลงลายมือชื่อตัวแทนเป็นสำคัญ เมื่อทนายจำเลยที่ 1 และที่ 5 ลงลายมือชื่อแทนจำเลยที่ 1 และที่ 5 ซึ่งจะต้องรับผิดใช้เงินและดอกเบี้ยแก่โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ สัญญาดังกล่าวจึงสมบูรณ์และฟ้องร้องบังคับคดีได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 850 และ 851ทั้งไม่ปรากฏว่าเมื่อทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันแล้ว โจทก์ประพฤติผิดสัญญาข้อใด และสัญญาประนีประนอมยอมความนี้ก็ไม่ขัดต่อสิทธิของจำเลยอื่น ซึ่งมิได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความด้วย ส่วนจำเลยที่ 3 ก็เป็นผู้ที่ได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความไว้ด้วยแล้ว จึงไม่มีเหตุที่จำเลยที่ 1 และที่ 5 จะขอยกเลิกหรือเพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว ข้ออ้างของจำเลยที่ 1 และที่ 5ที่อ้างว่าเคยเจรจากับกรรมการบริหารของโจทก์ว่าจะลดดอกเบี้ยให้ แต่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความมาคิดดอกเบี้ย ทำนองว่าทำสัญญาประนีประนอมยอมความไม่ตรงตามข้อตกลงหรือประนีประนอมยอมความ เป็นเพียงเหตุก่อนการตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความ แต่เมื่อในวันทำสัญญาประนีประนอมยอมความฝ่ายจำเลยที่ 1 และที่ 5 ได้ยอมตกลงจ่ายดอกเบี้ยด้วย โดยมีโอกาสใช้ดุลพินิจเต็มที่แล้วจึงตกลงเช่นนี้ จำเลยที่ 1 และที่ 5 ไม่อาจขอยกเลิกหรือเพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความได้ และเมื่อสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 ไม่ฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ศาลชั้นต้นก็ต้องพิพากษาไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 138
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3183/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร่วมกระทำละเมิดและค่าเสียหายจากการขายที่ดิน: การพิสูจน์เจตนาและการเรียกร้องค่าเสียหายในอนาคต
จำเลยที่2ได้ไปปรึกษาจำเลยที่3เกี่ยวกับเรื่องจะว่าจ้างทนายความในการดำเนินการขายที่ดินจำเลยที่3ได้พาไปหาส. ซึ่งเป็นญาติทำงานอยู่ที่สำนักงานทนายความแล้วจึงได้มีการจ้างทนายความที่สำนักงานทนายความนั้นให้เขียนสัญญาซื้อขายและจำเลยที่3เป็นเพียงพยานในสัญญาซื้อขายเท่านั้นส่วนการดำเนินการขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นเรื่องที่จำเลยที่2กับทนายความของจำเลยที่2เป็นผู้ดำเนินการเมื่อจำเลยที่3ไม่ได้เป็นผู้ออกอุบายและร่วมตกลงใจให้จำเลยที่2ดำเนินการดังกล่าวแต่เป็นเรื่องที่เป็นการกระทำอันเกิดแต่เจตนาของจำเลยที่2เองมาตั้งแต่แรกเพียงแต่ไม่ทราบว่าจะทำอย่างใดจึงต้องให้ทนายความช่วยดำเนินการให้ส่วนการที่จำเลยที่3ไปรับเงินจากโจทก์ที่3มิใช่เป็นเรื่องที่จำเลยที่3ไปรับเงินเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่3เองแต่เป็นเรื่องที่จำเลยที่2ซึ่งเป็นลุงใช้ให้จำเลยที่3ซึ่งเป็นหลานช่วยไปรับเงินแทนเท่านั้นดังนี้แม้จำเลยที่2จะกระทำละเมิดต่อโจทก์ก็จะฟังว่าจำเลยที่3มีส่วนร่วมในการกระทำละเมิดของจำเลยที่2ด้วยไม่ได้ ค่าเสียหายจากการขาดกำไรในการขายที่ดินพิพาทที่โจทก์เรียกร้องมาเป็นเรื่องอนาคตยังไม่แน่นอนโจทก์จึงไม่อาจเรียกร้องค่าเสียหายในส่วนนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3183/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยที่ 3 ไม่ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 2 ในการละเมิด เพราะไม่มีส่วนร่วมในการตกลงใจหรือรับประโยชน์โดยตรง
จำเลยที่ 2 ได้ไปปรึกษาจำเลยที่ 3 เกี่ยวกับเรื่องจะว่าจ้างทนายความในการดำเนินการขายที่ดิน จำเลยที่ 3 ได้พาไปหา ส. ซึ่งเป็นญาติทำงานอยู่ที่สำนักงานทนายความ แล้วจึงได้มีการจ้างทนายความที่สำนักงานทนายความนั้นให้เขียนสัญญาซื้อขายและจำเลยที่ 3 เป็นเพียงพยานในสัญญาซื้อขายเท่านั้นส่วนการดำเนินการขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2 กับทนายความของจำเลยที่ 2 เป็นผู้ดำเนินการ เมื่อจำเลยที่ 3 ไม่ได้เป็นผู้ออกอุบายและร่วมตกลงใจให้จำเลยที่ 2 ดำเนินการดังกล่าว แต่เป็นเรื่องที่เป็นการกระทำอันเกิดแต่เจตนาของจำเลยที่ 2 เองมาตั้งแต่แรก เพียงแต่ไม่ทราบว่าจะทำอย่างใดจึงต้องให้ทนายความช่วยดำเนินการให้ ส่วนการที่จำเลยที่ 3 ไปรับเงินจากโจทก์ที่ 3มิใช่เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 3 ไปรับเงินเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 3 เอง แต่เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลุงใช้ให้จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นหลานช่วยไปรับเงินแทนเท่านั้นดังนี้ แม้จำเลยที่ 2 จะกระทำละเมิดต่อโจทก์ก็จะฟังว่าจำเลยที่ 3 มีส่วนร่วมในการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 2 ด้วยไม่ได้
ค่าเสียหายจากการขาดกำไรในการขายที่ดินพิพาทที่โจทก์เรียกร้องมาเป็นเรื่องอนาคตยังไม่แน่นอน โจทก์จึงไม่อาจเรียกร้องค่าเสียหายในส่วนนี้ได้
ค่าเสียหายจากการขาดกำไรในการขายที่ดินพิพาทที่โจทก์เรียกร้องมาเป็นเรื่องอนาคตยังไม่แน่นอน โจทก์จึงไม่อาจเรียกร้องค่าเสียหายในส่วนนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3183/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร่วมกันกระทำละเมิดและขอบเขตความรับผิดของจำเลยร่วม การประเมินค่าเสียหายจากผลกำไรที่ไม่แน่นอน
จำเลยที่ 2 ได้ไปปรึกษาจำเลยที่ 3 เกี่ยวกับเรื่องจะว่าจ้างทนายความในการดำเนินการขายที่ดิน จำเลยที่ 3ได้พาไปหา ส. ซึ่งเป็นญาติทำงานอยู่ที่สำนักงานทนายความแล้วจึงได้มีการจ้างทนายความที่สำนักงานทนายความนั้นให้เขียนสัญญาซื้อขายและจำเลยที่ 3 เป็นเพียงพยานในสัญญาซื้อขายเท่านั้นส่วนการดำเนินการขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2กับทนายความของจำเลยที่ 2 เป็นผู้ดำเนินการ เมื่อจำเลยที่ 3ไม่ได้เป็นผู้ออกอุบายและร่วมตกลงใจให้จำเลยที่ 2 ดำเนินการดังกล่าว แต่เป็นเรื่องที่เป็นการกระทำอันเกิดแต่เจตนาของจำเลยที่ 2 เองมาตั้งแต่แรก เพียงแต่ไม่ทราบว่าจะทำอย่างใดจึงต้องให้ทนายความช่วยดำเนินการให้ ส่วนการที่จำเลยที่ 3ไปรับเงินจากโจทก์ที่ 3 มิใช่เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 3 ไปรับเงินเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 3 เอง แต่เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2ซึ่งเป็นลุงใช้ให้จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นหลานช่วยไปรับเงินแทนเท่านั้นดังนี้ แม้จำเลยที่ 2 จะกระทำละเมิดต่อโจทก์ก็จะฟังว่าจำเลยที่ 3มีส่วนร่วมในการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 2 ด้วยไม่ได้ ค่าเสียหายจากการขาดกำไรในการขายที่ดินพิพาทที่โจทก์เรียกร้องมาเป็นเรื่องอนาคตยังไม่แน่นอน โจทก์จึงไม่อาจเรียกร้องค่าเสียหายในส่วนนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3067/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งศาลไม่รับอุทธรณ์บางส่วนมีผลถึงที่สุด ศาลอุทธรณ์ต้องวินิจฉัยเฉพาะส่วนที่รับอุทธรณ์ ฟ้องไม่เคลือบคลุมเมื่อบรรยายลักษณะสัญญาและเหตุผิดสัญญาชัดเจน
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยในข้อใด หากจำเลยไม่เห็นด้วยก็ต้องยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์เพื่อให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งรับอุทธรณ์ในข้อที่ไม่รับนั้นได้ เมื่อจำเลยมิได้อุทธรณ์ ต้องถือว่าคำสั่งศาลชั้นต้นถึงที่สุดศาลอุทธรณ์ต้องวินิจฉัยชี้ขาดอุทธรณ์ของจำเลยตามประเด็นข้อที่ศาลชั้นต้นสั่งรับไว้เท่านั้น
โจทก์บรรยายฟ้อง โจทก์เข้าทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกับจำเลยตามคำพรรณนาโจทก์หลงเชื่อทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและผ่อนชำระเงินมัดจำแก่จำเลย รวมเป็นเงิน630,000 บาท เวลาล่วงเลยมานานประมาณ 5 ปี จำเลยยังไม่จัดทำโครงการตามที่ได้พรรณนาไว้ อันเป็นการผิดสัญญา โจทก์จึงได้บอกเลิกสัญญา ขอให้บังคับจำเลยคืนเงินมัดจำแก่โจทก์ ฟ้องโจทก์ดังกล่าวไม่ขัดกันจึงไม่เคลือบคลุม ทั้งไม่จำต้องบรรยายฟ้องว่าโจทก์ถูกหลอกลวงถึงขนาดหรือไม่เพียงใดเพราะโจทก์มิได้ฟ้องขอให้สัญญาจะซื้อจะขายเป็นโมฆะอันเนื่องมาจากการบอกล้างสัญญาที่เกิดจากกลฉ้อฉล
โจทก์บรรยายฟ้อง โจทก์เข้าทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกับจำเลยตามคำพรรณนาโจทก์หลงเชื่อทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและผ่อนชำระเงินมัดจำแก่จำเลย รวมเป็นเงิน630,000 บาท เวลาล่วงเลยมานานประมาณ 5 ปี จำเลยยังไม่จัดทำโครงการตามที่ได้พรรณนาไว้ อันเป็นการผิดสัญญา โจทก์จึงได้บอกเลิกสัญญา ขอให้บังคับจำเลยคืนเงินมัดจำแก่โจทก์ ฟ้องโจทก์ดังกล่าวไม่ขัดกันจึงไม่เคลือบคลุม ทั้งไม่จำต้องบรรยายฟ้องว่าโจทก์ถูกหลอกลวงถึงขนาดหรือไม่เพียงใดเพราะโจทก์มิได้ฟ้องขอให้สัญญาจะซื้อจะขายเป็นโมฆะอันเนื่องมาจากการบอกล้างสัญญาที่เกิดจากกลฉ้อฉล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2995/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีครอบครัวมีทุนทรัพย์: การชำระค่าขึ้นศาลเฉพาะส่วนไม่ถือเป็นการทิ้งฟ้องทั้งคดี
ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา224วรรคสองที่บัญญัติยกเว้นให้มีสิทธิที่จะอุทธรณ์ได้ไว้ว่า"บทบัญญัติในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับในคดีเกี่ยวด้วยสิทธิแห่งสภาพบุคคลหรือสิทธิในครอบครอง" นั้น มีความหมายว่าถ้าเป็นคดีเกี่ยวกับสิทธิแห่งสภาพบุคคลหรือสิทธิในครอบครัวแล้วมีสิทธิที่จะอุทธรณ์ได้เท่านั้นแต่หาได้มีความหมายไปถึงว่าคดีเกี่ยวกับสิทธิสภาพบุคคลและสิทธิในครอบครัวดังกล่าวเป็นคดีที่ไม่มีทุนทรัพย์เสมอไปไม่ โจทก์ฟ้องหย่าและเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูค่าทดแทนและค่าเลี้ยงชีพอันเป็นการฟ้องตั้งสิทธิอันเกิดขึ้นจากความสัมพันธ์หรือความเกี่ยวข้องในครอบครัวระหว่างโจทก์กับจำเลยซึ่งเป็นสามีภริยากันจึงเป็นคดีเกี่ยวกับสิทธิในครอบครัวซึ่งมีสิทธิที่จะอุทธรณ์ฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา224วรรคสองและ248วรรคสองแต่การที่โจทก์เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูมาจำนวน180,000บาทและเรียกค่าทดแทนมาจำนวน200,000บาทรวม380,000บาทอันเป็นการฟ้องเรียกร้องทรัพย์สินมีค่าเป็นจำนวนเงินเข้ามาด้วยกรณีสีจึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ซึ่งโจทก์จำต้องจำต้องชำระค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ที่โจทก์ฟ้องศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์ชำระค่าขึ้นศาลเฉพาะเกี่ยวกับค่าอุปการะเลี้ยงดูและค่าทดแทนที่โจทก์มีหน้าที่จะต้องชำระตามกฎหมายเท่านั้นเมื่อโจทก์ไม่ชำระจึงเป็นการทิ้งฟ้องเฉพาะในส่วนข้อกำหนดตามที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไว้เท่านั้นคำฟ้องเฉพาะเรื่องขอหย่าเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ไม่จำต้องชำระค่าขึ้นศาลส่วนคำฟ้องเกี่ยวกับคำขอค่าเลี้ยงชีพเป็นคำฟ้องเรียกค่าเสียหายในอนาคตซึ่งโจทก์ได้ชำระค่าขึ้นศาลในอนาคตไว้ถูกต้องแล้วเมื่อฟ้องของโจทก์ในสองส่วนนี้ซึ่งเป็นฟ้องที่สมบูรณ์และชอบด้วยกฎหมายอยู่และแยกเป็นคนละส่วนจากคำฟ้องที่โจทก์ทิ้งฟ้องได้เช่นนี้จึงไม่มีเหตุที่จะถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องในสองส่วนนี้ด้วย