คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
กอบเกียรติ รัตนพานิช

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 179 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1106/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดทุนทรัพย์ที่ไม่ถูกต้อง การรังวัดที่ดิน และการอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ ศาลยุติการดำเนินคดี
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินภายในเส้นสีน้ำเงิน จำเลยบุกรุกเข้าไปในที่ดินของโจทก์ในบริเวณเส้นสีแดงเนื้อที่ 3 ไร่เศษ ราคา 15,000 บาทตามแผนที่ท้ายฟ้อง และตัดฟันต้นไม้ของโจทก์คิดค่าเสียหาย5,000 บาท กับค่าขาดประโยชน์ 250 บาท ขอให้ขับไล่และ ห้ามจำเลยและบริวารเข้าเกี่ยวข้อง และให้จำเลยใช้ค่าเสียหาย5,250 บาท พร้อมดอกเบี้ย จำเลยให้การว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย มีเนื้อที่ 10 ไร่ ราคาไร่ละ 7,000 บาทรวมทุนทรัพย์ 70,000 บาท ทุนทรัพย์ตามฟ้องโจทก์ไม่ถูกต้องและแผนที่ท้ายฟ้องไม่ถูกต้อง ประเด็นข้อพิพาทจึงมีว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือไม่ และค่าเสียหายโจทก์มีเพียงใด ส่วนประเด็นว่า ที่ดินพิพาทมีเนื้อที่เพียงใด และราคาไร่ละเท่าใด ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานที่ดินทำแผนที่พิพาทและตรวจสอบราคาที่ดิน แทนที่โจทก์และจำเลยจะนำชี้เพื่อให้เจ้าพนักงานที่ดินรังวัดที่ดินพิพาทในเขตสีแดงตามประเด็นแห่งคดี จำเลยกลับนำชี้เอาที่ดินนอกเขตพิพาทอันเป็นส่วนที่โจทก์ไม่ได้ฟ้องรวมเข้ากับที่ดินพิพาทภายในเขตสีน้ำเงินที่จำเลยต่อสู้ ว่าเป็นที่ดินของจำเลย โดยโจทก์และจำเลยไม่ได้นำชี้ให้รังวัดที่ดินพิพาทในแนวเขตสีแดง เช่นนี้จึงไม่อาจทราบว่า ที่ดินพิพาทมีเนื้อที่เท่าใด กรณีต้องถือว่า ที่ดินพิพาท มีเนื้อที่ประมาณ 3 ไร่ ตามฟ้องโจทก์และมีราคาไร่ละ 6,000 บาทตามที่โจทก์และจำเลยทั้งสองรับกันเมื่อรวมค่าเสียหายของต้นไม้ 5,000 บาท และค่าขาดประโยชน์อีก 250 บาท ตามฟ้องโจทก์คดีจึงมีทุนทรัพย์รวม 23,250 บาท ทุนทรัพย์ตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดเกิดจากการนำเอาที่ดินนอกแนวเขตพิพาทที่จำเลยนำชี้ตามแนวเขตสีน้ำเงินของโจทก์ทั้งหมดมารวมเข้าเป็นที่ดินพิพาท ซึ่งเป็นที่ดินนอกคำฟ้องโจทก์และนอกเหนือคำให้การของจำเลยจึงเป็นที่ดินนอกฟ้องนอกประเด็น ไม่อาจนำมารวมเข้าเป็นที่ดินพิพาทได้ จึงเป็นการกำหนดทุนทรัพย์พิพาทที่ไม่ชอบ แม้โจทก์จะยอมเสียค่าขึ้นศาลเพิ่มตามทุนทรัพย์ที่ศาลชั้นต้นกำหนดตามคำสั่งศาลชั้นต้นก็ตาม ก็ไม่อาจเปลี่ยนแปลงทุนทรัพย์เดิมที่ถูกต้องอยู่แล้วมาเป็นทุนทรัพย์ใหม่ที่ไม่ถูกต้องได้ คดีต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า ที่ดินพิพาทไม่ใช่เป็นของโจทก์ พิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ว่าตามพยานหลักฐานโจทก์ฟังได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ และให้จำเลยใช้ค่าเสียหายและค่าขาดประโยชน์5,250 บาท ตามฟ้อง เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 224 วรรคหนึ่ง ชอบที่ศาลอุทธรณ์จะยกอุทธรณ์เสียการที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบ และเป็นเหตุให้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่ชอบด้วย ต้องถือว่าคดีโจทก์ยุติลงในศาลชั้นต้นแม้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นจะรับรองฎีกาของโจทก์ว่ามีเหตุอันควรฎีกาในข้อเท็จจริงได้ ก็ไม่ทำให้คดีของโจทก์ที่ยุติไปแล้วกลับฟื้นคืนมาได้อีก ทั้งไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ในอันที่จะฎีกาในคดีที่ยุติไปแล้ว ฎีกาของโจทก์จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบ ศาลฎีกาให้ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และยกฎีกาของโจทก์ ให้คืนค่าธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาทั้งหมดแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1106/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดทุนทรัพย์พิพาทที่ไม่ชอบ และข้อห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ส่งผลให้ฎีกาไม่ชอบ
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินภายในเส้นสีน้ำเงิน จำเลยบุกรุกเข้าไปในที่ดินของโจทก์ในบริเวณเส้นสีแดงเนื้อที่ 3 ไร่เศษราคา 15,000 บาท ตามแผนที่ท้ายฟ้อง และตัดฟันต้นไม้ของโจทก์คิดค่าเสียหาย5,000 บาท กับค่าขาดประโยชน์ 250 บาท ขอให้ขับไล่และห้ามจำเลยและบริวารเข้าเกี่ยวข้อง และให้จำเลยใช้ค่าเสียหาย 5,250 บาท พร้อมดอกเบี้ย จำเลยให้การว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย มีเนื้อที่ 10 ไร่ ราคาไร่ละ 7,000 บาทรวมทุนทรัพย์ 70,000 บาท ทุนทรัพย์ตามฟ้องโจทก์ไม่ถูกต้อง และแผนที่ท้ายฟ้องไม่ถูกต้อง ประเด็นข้อพิพาทจึงมีว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือไม่ และค่าเสียหายโจทก์มีเพียงใด ส่วนประเด็นว่า ที่ดินพิพาทมีเนื้อที่เพียงใด และราคาไร่ละเท่าใดศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานที่ดินทำแผนที่พิพาทและตรวจสอบราคาที่ดิน แทนที่โจทก์และจำเลยจะนำชี้เพื่อให้เจ้าพนักงานที่ดินรังวัดที่ดินพิพาทในเขตสีแดงตามประเด็นแห่งคดี จำเลยกลับนำชี้เอาที่ดินนอกเขตพิพาทอันเป็นส่วนที่โจทก์ไม่ได้ฟ้องรวมเข้ากับที่ดินพิพาทภายในเขตสีน้ำเงินที่จำเลยต่อสู้ว่าเป็นที่ดินของจำเลย โดยโจทก์และจำเลยไม่ได้นำชี้ให้รังวัดที่ดินพิพาทในแนวเขตสีแดง เช่นนี้จึงไม่อาจทราบว่าที่ดินพิพาทมีเนื้อที่เท่าใด กรณีต้องถือว่า ที่ดินพิพาทมีเนื้อที่ประมาณ 3 ไร่ตามฟ้องโจทก์ และมีราคาไร่ละ 6,000 บาท ตามที่โจทก์และจำเลยทั้งสองรับกันเมื่อรวมค่าเสียหายของต้นไม้ 5,000 บาท และค่าขาดประโยชน์อีก 250 บาทตามฟ้องโจทก์ คดีจึงมีทุนทรัพย์รวม 23,250 บาท
ทุนทรัพย์ตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดเกิดจากการนำเอาที่ดินนอกแนวเขตพิพาทที่จำเลยนำชี้ตามแนวเขตสีน้ำเงินของโจทก์ทั้งหมดมารวมเข้าเป็นที่ดินพิพาท ซึ่งเป็นที่ดินนอกคำฟ้องโจทก์และนอกเหนือคำให้การของจำเลยจึงเป็นที่ดินนอกฟ้องนอกประเด็น ไม่อาจนำมารวมเข้าเป็นที่ดินพิพาทได้ จึงเป็นการกำหนดทุนทรัพย์พิพาทที่ไม่ชอบ แม้โจทก์จะยอมเสียค่าขึ้นศาลเพิ่มตามทุนทรัพย์ที่ศาลชั้นต้นกำหนดตามคำสั่งศาลชั้นต้นก็ตาม ก็ไม่อาจเปลี่ยนแปลงทุนทรัพย์เดิมที่ถูกต้องอยู่แล้วมาเป็นทุนทรัพย์ใหม่ที่ไม่ถูกต้องได้
คดีต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า ที่ดินพิพาทไม่ใช่เป็นของโจทก์ พิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ว่าตามพยานหลักฐานโจทก์ฟังได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ และให้จำเลยใช้ค่าเสียหายและค่าขาดประโยชน์ 5,250 บาท ตามฟ้อง เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ซึ่งต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ชอบที่ศาลอุทธรณ์จะยกอุทธรณ์เสียการที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าว จึงเป็นการไม่ชอบ และเป็นเหตุให้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่ชอบด้วย ต้องถือว่าคดีโจทก์ยุติลงในศาลชั้นต้น แม้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นจะรับรองฎีกาของโจทก์ว่ามีเหตุอันควรฎีกาในข้อเท็จจริงได้ ก็ไม่ทำให้คดีของโจทก์ที่ยุติไปแล้วกลับฟื้นคืนมาได้อีก ทั้งไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ในอันที่จะฎีกาในคดีที่ยุติไปแล้ว ฎีกาของโจทก์จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบศาลฎีกาให้ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และยกฎีกาของโจทก์ ให้คืนค่าธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาทั้งหมดแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 499/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ, สิทธิเช่า, การชำระหนี้ ณ ภูมิลำเนาเจ้าหนี้, สัญญาเช่าสิ้นสุด, การโอนสิทธิ
คดีก่อนศาลชั้นต้นได้พิพากษาโดยวินิจฉัยว่า ขณะที่โจทก์ฟ้องสัญญาเช่าตึกแถวและที่ดินพิพาทยังไม่สิ้นสุดระยะเวลาเช่า จำเลยยังมีสิทธิอยู่อาศัยในอาคารและที่ดินพิพาทตามสัญญาเช่า กรณีจึงเป็นเรื่องที่ยังมิได้มีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นระหว่างโจทก์กับจำเลย ยังไม่ก่อให้เกิดสิทธิที่จะฟ้องจำเลยได้ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 55 โดยที่ศาลยังมิได้วินิจฉัยเนื้อหาตามประเด็นที่โจทก์ฟ้อง การที่จะเป็นกรณีฟ้องซ้ำต้องห้าม จะต้องเป็นกรณีที่ศาลได้วินิจฉัยข้อหาในประเด็นแห่งคดีแล้วโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้เป็นการฟ้องภายหลังจากที่สัญญาเช่าครบกำหนด และมีการแจ้งให้จำเลยออกจากที่เช่าแล้ว จำเลยไม่ยินยอมออกเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ผู้เป็นเจ้าของที่พิพาทและผู้ใช้สิทธิครอบครองตึกแถว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55มิใช่เป็นเรื่องรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 148 คำฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ โจทก์ได้รับโอนที่พิพาทและสิทธิการเช่าตึกแถวจาก ส.แล้วโจทก์ได้แจ้งให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ ณ ภูมิลำเนาของโจทก์ และตามสัญญาเช่ามิได้กำหนดว่าจะชำระค่าเช่ากันที่ใดจำเลยจึงต้องชำระหนี้ให้แก่โจทก์ ณ ภูมิลำเนาของโจทก์การที่จำเลยนำค่าเช่าไปวางไว้ที่สำนักงานวางทรัพย์จึงมิใช่เป็นการชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้หรือแก่บุคคลผู้มีอำนาจรับชำระหนี้แทนเจ้าหนี้ ทั้งมิใช่การชำระหนี้ ณ ภูมิลำเนาของเจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 315ประกอบมาตรา 324 จำเลยจะให้โจทก์ไปรับเงินค่าเช่าจากสำนักงานวางทรัพย์หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 499/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีซ้ำและการชำระหนี้ค่าเช่าที่ภูมิลำเนาเจ้าหนี้
คดีก่อนศาลชั้นต้นได้พิพากษาโดยวินิจฉัยว่า ขณะที่โจทก์ฟ้องสัญญาเช่าตึกแถวและที่ดินพิพาทยังไม่สิ้นสุดระยะเวลาเช่า จำเลยยังมีสิทธิอยู่อาศัยในอาคารและที่ดินพิพาทตามสัญญาเช่า กรณีจึงเป็นเรื่องที่ยังมิได้มีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นระหว่างโจทก์กับจำเลย ยังไม่ก่อให้เกิดสิทธิที่จะฟ้องจำเลยได้ตามนัยแห่ง ป.วิ.พ.มาตรา 55 โดยที่ศาลยังมิได้วินิจฉัยเนื้อหาตามประเด็นที่โจทก์ฟ้อง การที่จะเป็นกรณีฟ้องซ้ำต้องห้าม จะต้องเป็นกรณีที่ศาลได้วินิจฉัยข้อหาในประเด็นแห่งคดีแล้วโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้เป็นการฟ้องภายหลังจากที่สัญญาเช่าครบกำหนด และมีการแจ้งให้จำเลยออกจากที่เช่าแล้ว จำเลยไม่ยินยอมออกเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ผู้เป็นเจ้าของที่พิพาทและผู้ใช้สิทธิครอบครองตึกแถว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยตาม ป.วิ.พ.มาตรา 55 มิใช่เป็นเรื่องรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันตาม ป.วิ.พ.มาตรา 148 คำฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
โจทก์ได้รับโอนที่พิพาทและสิทธิการเช่าตึกแถวจาก ส.แล้วโจทก์ได้แจ้งให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ ณ ภูมิลำเนาของโจทก์ และตามสัญญาเช่ามิได้กำหนดว่าจะชำระค่าเช่ากันที่ใด จำเลยจึงต้องชำระหนี้ให้แก่โจทก์ ณ ภูมิลำเนาของโจทก์ การที่จำเลยนำค่าเช่าไปวางไว้ที่สำนักงานวางทรัพย์จึงมิใช่เป็นการชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้หรือแก่บุคคลผู้มีอำนาจรับชำระหนี้แทนเจ้าหนี้ ทั้งมิใช่การชำระหนี้ ณภูมิลำเนาของเจ้าหนี้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 315 ประกอบมาตรา 324 จำเลยจะให้โจทก์ไปรับเงินค่าเช่าจากสำนักงานวางทรัพย์หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8228/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือค้ำประกันค่าแรงล่วงหน้า: ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดเมื่อลูกหนี้ผิดสัญญาและโจทก์บอกเลิกสัญญาภายในระยะเวลาค้ำประกัน
สัญญาค้ำประกันระบุไว้ว่า ตามที่บริษัท ย. มีความประสงค์จะทำสัญญาเบิกเงินล่วงหน้าค่าแรงโครงการแมกไม้ซึ่งในการนี้บริษัท ย. จะต้องมีหนังสือรับรองของธนาคารค้ำประกันเป็นจำนวนเงิน 4,400,000 บาท โดยหนังสือฉบับนี้จำเลยที่ 1 ขอรับเป็นผู้ค้ำประกันบริษัท ย. ต่อโจทก์สำหรับการทำสัญญาเบิกเงินล่วงหน้าค่าแรงโครงการแมกไม้คราวนี้ไว้ภายในวงเงินรวมทั้งสิ้นไม่เกิน 4,400,000 บาทจากข้อความในหนังสือค้ำประกันดังกล่าว จำเลยที่ 1 ผู้ค้ำประกันแสดงเจตนายินยอมที่จะเป็นผู้ค้ำประกันเงินค่าแรงจ่ายล่วงหน้าจำนวน 4,400,000 บาท ตามข้อกำหนดในสัญญาระหว่างโจทก์กับบริษัท ย. ตามสัญญาจ้างก่อสร้างสาธารณูปโภคโดยที่ตามสัญญาดังกล่าวโจทก์ได้จ่ายเงินค่าแรงล่วงหน้าจำนวน4,400,000 บาท ให้แก่บริษัท ย. ไปแล้ว ที่หนังสือค้ำประกันระบุไว้ตามสัญญาข้อ 3 ว่าหนังสือค้ำประกันฉบับนี้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่16 ตุลาคม 2534 เป็นต้นไป และสิ้นสุดวันที่ 15 ตุลาคม 2535หากพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวนี้จำเลยที่ 1 ไม่รับผิดชอบใด ๆทั้งสิ้น หมายความว่าจำเลยที่ 1 ผู้ค้ำประกันมีเจตนาจะให้หนังสือค้ำประกันมีผลผูกพันและใช้บังคับกันได้ตั้งแต่วันที่16 ตุลาคม 2534 เป็นต้นไป กล่าวคือ หากเกิดกรณีที่บริษัท ย. จะต้องรับผิดชอบชดใช้เงินจำนวน 4,400,000 บาทที่ได้รับไปแล้วคืนแก่โจทก์ จำเลยที่ 1 จะเป็นผู้รับผิดชดใช้ในจำนวนเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์ตามหนังสือค้ำประกันฉบับนี้นับแต่วันดังกล่าว กรณีมิใช่ว่าการรับเงินจำนวน 4,400,000 บาทของบริษัท ย. จากโจทก์จะต้องกระทำขึ้นภายในระยะเวลาดังกล่าวด้วยไม่ แต่ขณะเดียวกันหากเหตุแห่งการที่บริษัท ย.จะต้องรับผิดชอบในเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์เกิดขึ้นภายหลังวันที่ 15 ตุลาคม 2535 จำเลยที่ 1 ผู้ออกหนังสือค้ำประกันก็หาจำต้องรับผิดชอบตามหนังสือค้ำประกันด้วยไม่ หนังสือค้ำประกันฉบับพิพาท จำเลยที่ 1 ได้ทำขึ้นเพื่อค้ำประกันเงิน 4,400,000 บาท ที่โจทก์จ่ายค่าแรงล่วงหน้าให้ไว้แก่บริษัท ย.และเมื่อบริษัทย. มิได้กระทำการก่อสร้างสาธารณูปโภคให้แล้วเสร็จตามกำหนดระยะเวลาที่ระบุไว้ในสัญญาจนเป็นเหตุให้โจทก์ต้องบอกเลิกสัญญาแก่บริษัท ย. โดยที่จำเลยที่ 1 มิได้ให้การโต้แย้งคำฟ้องโจทก์ไว้โดยแจ้งชัดว่า บริษัท ย. มิได้กระทำผิดสัญญาอย่างไร จำเลยที่ 1 ให้การเพียงว่า บริษัท ย. แจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบว่ามิได้กระทำผิดสัญญาเท่านั้น ในชั้นพิจารณาคดีจำเลยที่ 1 ก็มิได้นำสืบข้อเท็จจริงดังกล่าวนี้ไว้จึงต้องฟังตามข้อนำสืบของโจทก์ว่า บริษัท ย. เป็นฝ่ายผิดสัญญาต่อโจทก์ เมื่อโจทก์ได้บอกเลิกสัญญากับบริษัท ย.ขณะที่อยู่ในระยะเวลาตามหนังสือค้ำประกันที่จำเลยที่ 1ได้กำหนดระยะเวลารับผิดชอบไว้ จำเลยที่ 1 ผู้ค้ำประกันจึงต้องรับผิดชอบชำระเงินตามสัญญาค้ำประกันต่อโจทก์ โจทก์ฟ้องเรียกเงินที่โจทก์ได้จ่ายค่าแรงหรือค่าจ้างล่วงหน้าให้แก่บริษัท ย. ไปจากจำเลยผู้ค้ำประกันของบริษัท ย. ไปตามสัญญาที่โจทก์จำเลยทำไว้ ซึ่งไม่มีกฎหมายกำหนดไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 นับแต่วันที่โจทก์บอกเลิกสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8228/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ค้ำประกันสัญญา และอายุความในการเรียกร้องเงินค่าแรงล่วงหน้า
โจทก์ได้ว่าจ้างบริษัท ย. ก่อสร้างสาธารณูปโภคในหมู่บ้านโครงการบ้านแมกไม้ โดยได้ชำระเงินค่าแรงล่วงหน้าให้แก่บริษัท ย.ไปแล้วและจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญาของบริษัท ย. โดยหนังสือค้ำประกันของจำเลยที่ 1 ได้ทำขึ้นเพื่อค้ำประกันเงินที่โจทก์จ่ายค่าแรงล่วงหน้าให้ไว้แก่บริษัท ย. และเมื่อบริษัท ย.มิได้กระทำการก่อสร้างสาธารณูปโภคให้แล้วเสร็จตามกำหนดระยะเวลาที่ระบุไว้ในสัญญาจนเป็นเหตุให้โจทก์ต้องบอกเลิกสัญญาโดยที่จำเลยที่ 1 มิได้ให้การโต้แย้งคำฟ้องโจทก์ไว้โดยแจ้งชัดว่าบริษัทย.มิได้กระทำผิดสัญญาอย่างไร จึงต้องฟังว่า บริษัท ย.เป็นฝ่ายผิดสัญญาต่อโจทก์เมื่อโจทก์ได้บอกเลิกสัญญากับบริษัท ย.ขณะที่อยู่ในระยะเวลาตามหนังสือค้ำประกันที่จำเลยที่ 1 ได้กำหนดระยะเวลารับผิดชอบไว้ จำเลยที่ 1 ผู้ค้ำประกันจึงต้องรับผิดชอบชำระเงินตามสัญญาค้ำประกันต่อโจทก์
เงินค่าแรงล่วงหน้าที่โจทก์จ่ายให้แก่บริษัท ย.นั้นมิใช่เป็นเรื่องเงินทดรองจ่าย ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/34 ซึ่งมีอายุความ 2 ปี แต่เป็นการเรียกเงินจากผู้ค้ำประกันที่โจทก์ได้จ่ายค่าแรงหรือค่าจ้างล่วงหน้าให้แก่บริษัท ย.ไปซึ่งไม่มีกฎหมายกำหนดไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30 โจทก์บอกเลิกสัญญาเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2534 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2537 ยังไม่เกินกำหนด 10 ปี คดีของโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8225/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องหย่าจากเหตุสมัครใจแยกกันอยู่เกิน 3 ปี และผลกระทบต่อสิทธิในการอุปการะเลี้ยงดู
โจทก์ได้ ว.เป็นภริยาภายหลังจากจำเลยออกจากบ้านที่เคยอยู่ร่วมกับโจทก์ฉันสามีภริยาไปแล้ว ทั้งลักษณะของการที่จำเลยออกจากบ้านที่เคยอยู่ร่วมกับโจทก์ก็ล้วนแต่เป็นการตัดสินใจของจำเลยเอง มิใช่เป็นกรณีที่โจทก์ขับไล่จำเลยหรือโจทก์นำหญิงอื่นเข้ามาอยู่กินในบ้านฉันสามีภริยาอันเป็นการบีบบังคับให้จำเลยต้องออกจากบ้านแต่อย่างใด จึงเป็นกรณีที่จำเลยสมัครใจแยกกันอยู่ต่างหากจากโจทก์
โจทก์และจำเลยสมัครใจแยกกันอยู่ เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขเกิน 3 ปี โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องหย่าโดยอาศัยเหตุหย่าตาม ป.พ.พ.มาตรา 1516 (4/2) ได้
ศาลล่างทั้งสองพิพากษายืนตามกันมาให้โจทก์จำเลยหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากัน สิทธิหน้าที่ของโจทก์จำเลยที่ต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกันตาม ป.พ.พ.มาตรา 1461 วรรคสอง ย่อมสิ้นสุดลง เป็นเหตุให้จำเลยสิ้นสิทธิที่จะได้รับการอุปการะเลี้ยงดูจากโจทก์อีกต่อไป ศาลฎีกาจึงไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของจำเลยในข้อที่จำเลยขอเพิ่มค่าอุปการะเลี้ยงดูจากโจทก์อีกต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7332/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โกงเจ้าหนี้, บังคับคดี, การอายัดทรัพย์: ศาลฎีกามีอำนาจกำหนดโทษแม้ศาลอุทธรณ์ไม่กำหนด
สัญญากู้ตามฟ้องจำเลยลงชื่อเป็นผู้ให้กู้ กับมี ภ. กับ น. ลงลายมือชื่อในฐานะผู้กู้จริง สัญญากู้ดังกล่าวจึงเป็นเอกสารของจำเลย และเมื่อจำเลยไม่ได้ปลอมว่าเป็นเอกสารของผู้ใด สัญญากู้นั้นจึงไม่ใช่เอกสารปลอม
กรมตำรวจยื่นฟ้องจ่าสิบตำรวจ ภ. กับพวกเป็นจำเลยในคดีแพ่งบังคับให้ชำระเงินฐานทุจริตและละเมิด ระหว่างพิจารณา โจทก์ขอใช้วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษายึดทรัพย์รถยนต์ของจ่าสิบตำรวจ ภ. ออกขายทอดตลาดโดยเก็บรักษาเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดไว้ เมื่อทรัพย์ที่กรมตำรวจขอให้ศาลยึดไว้ชั่วคราวก่อนพิพากษาดังกล่าวนั้น ก็เพื่อป้องกันการจำหน่าย จ่าย โอนทรัพย์เพื่อหลีกเลี่ยงการบังคับชำระหนี้ตามคำพิพากษา ทรัพย์ดังกล่าวจึงมิใช่ทรัพย์ที่ส่งไว้ต่อศาล หรือที่ศาลรักษาไว้ในการพิจารณาคดีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 185
จำเลยในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมในคดีแพ่ง แม้จะเป็นหนี้ที่ไม่มีมูลหนี้ต่อกันจริง จำเลยก็ย่อมมีสิทธิที่จะบังคับเอาแก่ทรัพย์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้และเมื่อศาลชั้นต้นได้ออกหมายบังคับคดีตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดียึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว ดังนี้ การที่จำเลยดำเนินการบังคับคดีแก่จ่าสิบตำรวจภ. ลูกหนี้ตามคำพิพากษาโดยขออายัดเงินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวที่ผู้เสียหายขอให้ศาลสั่งยึดไว้ชั่วคราวก่อนพิพากษาในคดีนั้นมาชำระหนี้จำเลยในคดีนี้จึงมิใช่เป็นเรื่องที่จำเลยมีเจตนาเอาทรัพย์ดังกล่าวไปโดยพลการ ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 187
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265และมาตรา 185,187 ประกอบมาตรา 80,350 เรียงกระทงลงโทษฐานปลอมเอกสารสิทธิจำคุก 1 ปี ฐานพยายามเอาไปซึ่งทรัพย์ที่ส่งไว้ต่อศาล หรือที่ศาลได้รักษาไว้ในการพิจารณาคดี จำคุก 2 ปี รวมจำคุก 3 ปี ข้อหาอื่นให้ยก โจทก์ไม่อุทธรณ์ ส่วนจำเลยอุทธรณ์ขอให้ยกฟ้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้ยกฟ้องในข้อหาความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 185,187,90 และ 265 เสียด้วย นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โดยศาลอุทธรณ์เห็นพ้องด้วยกับคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าจำเลยมีความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350 เมื่อการที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350 แต่ศาลชั้นต้นได้กำหนดโทษจำเลยตามข้อหาความผิดฐานพยายามเอาไปซึ่งทรัพย์ที่ส่งไว้ต่อศาลหรือที่ศาลได้รักษาไว้ในการพิจารณาคดีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 185ซึ่งเป็นบทหนักจึงมิได้กำหนดโทษจำเลยตามมาตรา 350 ไว้นั้น หากเมื่อศาลอุทธรณ์พิจารณาแล้วพิพากษาว่า จำเลยคงมีความผิดตามมาตรา 350 เพียงฐานเดียวเช่นนี้ และตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 วรรคสอง บัญญัติว่าเมื่อศาลเห็นว่าจำเลยได้กระทำผิดและไม่มีการยกเว้นโทษตามกฎหมาย ให้ศาลลงโทษแก่จำเลยตามความผิด และมาตรา 186(7) และ (8) บัญญัติให้คำพิพากษาต้องมีบทมาตราที่ยกขึ้นปรับ และคำชี้ขาดให้ยกฟ้องหรือลงโทษ ซึ่งหมายความว่า เมื่อศาลเห็นว่าจำเลยกระทำผิดและไม่มีการยกเว้นโทษตามกฎหมายให้ศาลลงโทษแก่จำเลยตามความผิดโดยอ้างว่ากระทำผิดบทมาตราใด และมีคำชี้ขาดหรือคำพิพากษาให้ลงโทษไปตามนั้น ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์ไม่มีคำชี้ขาดหรือคำพิพากษาให้ลงโทษจำเลยในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350 จึงเป็นการมิชอบ และกรณีเช่นนี้มิใช่เป็นกรณีที่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 212 เพราะมิใช่เป็นกรณีที่ศาลพิพากษาเพิ่มเติมโทษของจำเลยแต่อย่างใดเมื่อโจทก์ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกาจึงมีอำนาจกำหนดโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7332/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โกงเจ้าหนี้ - บังคับคดี - ความผิดอาญา - การกำหนดโทษ - อำนาจศาล
สัญญากู้ตามฟ้องจำเลยลงชื่อเป็นผู้ให้กู้ กับมี ภ. กับ น. ลงลายมือชื่อในฐานะผู้กู้จริง สัญญากู้ดังกล่าวจึงเป็นเอกสารของจำเลย และเมื่อจำเลยไม่ได้ปลอมว่าเป็นเอกสารของผู้ใด สัญญากู้นั้นจึงไม่ใช่เอกสารปลอม
กรมตำรวจยื่นฟ้องจ่าสิบตำรวจ ภ. กับพวกเป็นจำเลยในคดีแพ่งบังคับให้ชำระเงินฐานทุจริตและละเมิด ระหว่างพิจารณา โจทก์ขอใช้วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษายึดทรัพย์รถยนต์ของจ่าสิบตำรวจ ภ. ออกขายทอดตลาดโดยเก็บรักษาเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดไว้ เมื่อทรัพย์ที่กรมตำรวจขอให้ศาลยึดไว้ชั่วคราวก่อนพิพากษาดังกล่าวนั้น ก็เพื่อป้องกันการจำหน่าย จ่าย โอนทรัพย์เพื่อหลีกเลี่ยงการบังคับชำระหนี้ตามคำพิพากษา ทรัพย์ดังกล่าวจึงมิใช่ทรัพย์ที่ส่งไว้ต่อศาล หรือที่ศาลรักษาไว้ในการพิจารณาคดีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 185
จำเลยในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมในคดีแพ่ง แม้จะเป็นหนี้ที่ไม่มีมูลหนี้ต่อกันจริง จำเลยก็ย่อมมีสิทธิที่จะบังคับเอาแก่ทรัพย์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้และเมื่อศาลชั้นต้นได้ออกหมายบังคับคดีตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดียึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว ดังนี้ การที่จำเลยดำเนินการบังคับคดีแก่จ่าสิบตำรวจภ. ลูกหนี้ตามคำพิพากษาโดยขออายัดเงินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวที่ผู้เสียหายขอให้ศาลสั่งยึดไว้ชั่วคราวก่อนพิพากษาในคดีนั้นมาชำระหนี้จำเลยในคดีนี้จึงมิใช่เป็นเรื่องที่จำเลยมีเจตนาเอาทรัพย์ดังกล่าวไปโดยพลการ ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 187
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265และมาตรา 185,187 ประกอบมาตรา 80,350 เรียงกระทงลงโทษฐานปลอมเอกสารสิทธิจำคุก 1 ปี ฐานพยายามเอาไปซึ่งทรัพย์ที่ส่งไว้ต่อศาล หรือที่ศาลได้รักษาไว้ในการพิจารณาคดี จำคุก 2 ปี รวมจำคุก 3 ปี ข้อหาอื่นให้ยก โจทก์ไม่อุทธรณ์ ส่วนจำเลยอุทธรณ์ขอให้ยกฟ้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้ยกฟ้องในข้อหาความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 185,187,90 และ 265 เสียด้วย นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โดยศาลอุทธรณ์เห็นพ้องด้วยกับคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าจำเลยมีความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350 เมื่อการที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350 แต่ศาลชั้นต้นได้กำหนดโทษจำเลยตามข้อหาความผิดฐานพยายามเอาไปซึ่งทรัพย์ที่ส่งไว้ต่อศาลหรือที่ศาลได้รักษาไว้ในการพิจารณาคดีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 185ซึ่งเป็นบทหนักจึงมิได้กำหนดโทษจำเลยตามมาตรา 350 ไว้นั้น หากเมื่อศาลอุทธรณ์พิจารณาแล้วพิพากษาว่า จำเลยคงมีความผิดตามมาตรา 350 เพียงฐานเดียวเช่นนี้ และตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 วรรคสอง บัญญัติว่าเมื่อศาลเห็นว่าจำเลยได้กระทำผิดและไม่มีการยกเว้นโทษตามกฎหมาย ให้ศาลลงโทษแก่จำเลยตามความผิด และมาตรา 186(7) และ (8) บัญญัติให้คำพิพากษาต้องมีบทมาตราที่ยกขึ้นปรับ และคำชี้ขาดให้ยกฟ้องหรือลงโทษ ซึ่งหมายความว่า เมื่อศาลเห็นว่าจำเลยกระทำผิดและไม่มีการยกเว้นโทษตามกฎหมายให้ศาลลงโทษแก่จำเลยตามความผิดโดยอ้างว่ากระทำผิดบทมาตราใด และมีคำชี้ขาดหรือคำพิพากษาให้ลงโทษไปตามนั้น ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์ไม่มีคำชี้ขาดหรือคำพิพากษาให้ลงโทษจำเลยในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350 จึงเป็นการมิชอบ และกรณีเช่นนี้มิใช่เป็นกรณีที่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 212 เพราะมิใช่เป็นกรณีที่ศาลพิพากษาเพิ่มเติมโทษของจำเลยแต่อย่างใดเมื่อโจทก์ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกาจึงมีอำนาจกำหนดโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7332/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีและการกระทำความผิดต่อเจ้าหนี้: ศาลฎีกาแก้ไขคำพิพากษาฐานโกงเจ้าหนี้และกำหนดโทษ
สัญญากู้ตามฟ้องจำเลยลงชื่อเป็นผู้ให้กู้ กับมี ภ.กับ น.ลงลายมือชื่อในฐานะผู้กู้จริง สัญญากู้ดังกล่าวจึงเป็นเอกสารของจำเลย และเมื่อจำเลยไม่ได้ปลอมว่าเป็นเอกสารของผู้ใด สัญญากู้นั้นจึงไม่ใช่เอกสารปลอม
กรมตำรวจยื่นฟ้องจ่าสิบตำรวจ ภ.กับพวกเป็นจำเลยในคดีแพ่งบังคับให้ชำระเงินฐานทุจริตและละเมิด ระหว่างพิจารณา โจทก์ขอใช้วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษายึดทรัพย์รถยนต์ของจ่าสิบตำรวจ ภ.ออกขายทอดตลาดโดยเก็บรักษาเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดไว้ เมื่อทรัพย์ที่กรมตำรวจขอให้ศาลยึดไว้ชั่วคราวก่อนพิพากษาดังกล่าวนั้น ก็เพื่อป้องกันการจำหน่าย จ่าย โอนทรัพย์เพื่อหลีกเลี่ยงการบังคับชำระหนี้ตามคำพิพากษา ทรัพย์ดังกล่าวจึงมิใช่ทรัพย์ที่ส่งไว้ต่อศาล หรือที่ศาลรักษาไว้ในการพิจารณาคดีตาม ป.อ.มาตรา 185
จำเลยในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมในคดีแพ่งแม้จะเป็นหนี้ที่ไม่มีมูลหนี้ต่อกันจริง จำเลยก็ย่อมมีสิทธิที่จะบังคับเอาแก่ทรัพย์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ และเมื่อศาลชั้นต้นได้ออกหมายบังคับคดีตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดียึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว ดังนี้ การที่จำเลยดำเนินการบังคับคดีแก่จ่าสิบตำรวจ ภ.ลูกหนี้ตามคำพิพากษาโดยขออายัดเงินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวที่ผู้เสียหายขอให้ศาลสั่งยึดไว้ชั่วคราวก่อนพิพากษาในคดีนั้นมาชำระหนี้จำเลยในคดีนี้ จึงมิใช่เป็นเรื่องที่จำเลยมีเจตนาเอาทรัพย์ดังกล่าวไปโดยพลการ ไม่เป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 187
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ.มาตรา265 และมาตรา 185, 187 ประกอบมาตรา 80, 350 เรียงกระทงลงโทษฐานปลอมเอกสารสิทธิจำคุก 1 ปี ฐานพยายามเอาไปซึ่งทรัพย์ที่ส่งไว้ต่อศาล หรือที่ศาลได้รักษาไว้ในการพิจารณาคดี จำคุก 2 ปี รวมจำคุก 3 ปี ข้อหาอื่นให้ยกโจทก์ไม่อุทธรณ์ ส่วนจำเลยอุทธรณ์ขอให้ยกฟ้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้ยกฟ้องในข้อหาความผิดตาม ป.อ.มาตรา 185, 187, 90 และ 265 เสียด้วยนอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โดยศาลอุทธรณ์เห็นพ้องด้วยกับคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าจำเลยมีความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตาม ป.อ.มาตรา 350เมื่อการที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยมีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 350 แต่ศาลชั้นต้นได้กำหนดโทษจำเลยตามข้อหาความผิดฐานพยายามเอาไปซึ่งทรัพย์ที่ส่งไว้ต่อศาลหรือที่ศาลได้รักษาไว้ในการพิจารณาคดี ตาม ป.อ.มารา 185 ซึ่งเป็นบทหนักจึงมิได้กำหนดโทษจำเลยตามมาตรา 350 ไว้นั้น หากเมื่อศาลอุทธรณ์พิจารณาแล้วพิพากษาว่า จำเลยคงมีความผิดตามมาตรา 350 เพียงฐานเดียวเช่นนี้ และตามป.วิ.อ.มาตรา 185 วรรคสอง บัญญัติว่า เมื่อศาลเห็นว่าจำเลยได้กระทำผิดและไม่มีการยกเว้นโทษตามกฎหมาย ให้ศาลลงโทษแก่จำเลยตามความผิด และมาตรา186 (7) และ (8) บัญญัติให้คำพิพากษาต้องมีบทมาตราที่ยกขึ้นปรับ และคำชี้ขาดให้ยกฟ้องหรือลงโทษ ซึ่งหมายความว่า เมื่อศาลเห็นว่าจำเลยกระทำผิดและไม่มีการยกเว้นโทษตามกฎหมายให้ศาลลงโทษแก่จำเลยตามความผิดโดยอ้างว่ากระทำผิดบทมาตราใด และมีคำชี้ขาดหรือคำพิพากษาให้ลงโทษไปตามนั้น ดังนั้นการที่ศาลอุทธรณ์ไม่มีคำชี้ขาดหรือคำพิพากษาให้ลงโทษจำเลยในความผิดตามป.อ.มาตรา 350 จึงเป็นการมิชอบ และกรณีเช่นนี้มิใช่เป็นกรณีที่ต้องห้ามตามป.วิ.อ.มาตรา 212 เพราะมิใช่เป็นกรณีที่ศาลพิพากษาเพิ่มเติมโทษของจำเลยแต่อย่างใด เมื่อโจทก์ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกาจึงมีอำนาจกำหนดโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ได้
of 18