คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 193/17 วรรคสอง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 20 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 178/2566

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์หลังเกิดการลักทรัพย์ จำเลยต้องรับผิดตามสัญญา
คดีนี้โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยรับผิดตามสัญญาในทางแพ่ง ไม่ต้องอาศัยมูลความผิดทางอาญาจึงไม่ใช่คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาในอันที่จะต้องนำมาผูกพันให้รับฟังว่าการกระทำของ บ. กับพวกเป็นความผิดฐานฉ้อโกงตามคำพิพากษาในคดีอาญา และคำพิพากษาในคดีอาญาดังกล่าวหาใช่คำพิพากษาที่เกี่ยวด้วยฐานะของบุคคลอันจะใช้ยันแก่บุคคลภายนอกได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคสอง (1) วันที่ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเป็นวันที่โจทก์ถูก บ. กับพวกลักรถยนต์ไป อันเป็นวันวินาศภัย โจทก์ยื่นคำเสนอให้ระงับข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2560 จึงอยู่ภายในกำหนดอายุความ 2 ปี นับแต่วันวินาศภัยตาม ป.พ.พ. มาตรา 882 วรรคหนึ่ง อันเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (4) แม้อนุญาโตตุลาการจะพิจารณาแล้วชี้ขาดให้ยกคำเสนอข้อพิพาท แต่คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการยังไม่เป็นที่สุด เพราะคำชี้ขาดได้ถูกเพิกถอนไปโดยคำพิพากษาของศาลแพ่งที่ให้เพิกถอนคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการในเวลาต่อมา ซึ่งกระบวนการระงับข้อพิพาทควรจะย้อนกลับเข้าสู่การพิจารณาของอนุญาโตตุลาการในประเด็นอื่นที่ยังไม่ได้วินิจฉัย การที่วันที่ 20 มีนาคม 2562 อนุญาโตตุลาการปฏิเสธที่จะวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทใหม่ตามคำร้องของโจทก์ โดยเห็นว่าอำนาจของอนุญาโตตุลาการสิ้นสุดไปแล้ว จึงเป็นกรณีที่อนุญาโตตุลาการยกคำเสนอข้อพิพาทเพราะเหตุที่คดีไม่อยู่ในอำนาจของอนุญาโตตุลาการ ซึ่งต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/17 วรรคสอง ประกอบมาตรา 193/18 กล่าวคือ โจทก์มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่อนุญาโตตุลาการมีคำสั่ง โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2562 เป็นการฟ้องคดีภายในกำหนดเวลาตามบทกฎหมายดังกล่าวแล้ว คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3/2565

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายเวลาคำร้องเพิกถอนคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการ: เหตุสุดวิสัยและดุลพินิจศาล
พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 40 วรรคสอง เป็นบทบังคับเรื่องกำหนดเวลาในการยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ ไม่ใช่เรื่องอายุความ จึงไม่อาจนำบทบัญญัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/17 วรรคสอง มาบังคับใช้กับกรณีนี้ได้ หากแต่กำหนดเวลาดังกล่าวเป็นระยะเวลาที่ศาลมีอำนาจที่จะสั่งให้ขยายได้ตามหลักเกณฑ์ใน ป.วิ.พ. มาตรา 23 การดำเนินกระบวนพิจารณาของผู้ร้องทั้งสองเป็นไปตามความจำเป็นโดยสุจริต พฤติการณ์แห่งคดีถือเป็นเหตุสุดวิสัยที่ศาลชั้นต้นจะใช้อำนาจตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 สั่งให้ขยายระยะเวลาการยื่นคำร้องให้ก่อนที่จะสั่งรับคำร้องของผู้ร้องทั้งสองในคดีไว้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป แต่หากศาลชั้นต้นซึ่งได้พิจารณาในชั้นตรวจรับคำร้องเห็นว่าคำร้องยื่นเกินกำหนดระยะเวลา 90 วัน ผู้ร้องทั้งสองไม่มีอำนาจยื่นคำร้อง ก็ต้องมีคำสั่งให้ยกคำร้องนั้นเสีย มิใช่สั่งรับคำร้องขอไว้ก่อน อันทำให้เข้าใจได้ว่าศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจสั่งขยายระยะเวลาเช่นว่านี้ให้แล้ว จึงเห็นว่าคำสั่งดังกล่าวเป็นการสั่งไปโดยผิดหลงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2075/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอนุมัติสินเชื่อเกินอำนาจและขัดต่อประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ถือเป็นละเมิดและผิดสัญญาจ้าง
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ให้ความเห็นชอบโครงการโอนกิจการของธนาคาร ม. ให้แก่ธนาคาร ก. กำหนดการโอนกิจการ ให้โอนสินทรัพย์และหนี้สินทั้งหมดของโจทก์โดยให้ดูแลลูกหนี้เจ้าหนี้นั้น ให้ได้รับสิทธิประโยชน์ตามที่พึงได้โดยครบถ้วนและให้ทำหนังสือสัญญาก่อนดำเนินการโอน หนังสือสัญญาการโอนสินทรัพย์และหนี้สินระหว่างโจทก์กับธนาคาร ก. ก็ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับข้อตกลงรับโอนสินทรัพย์และหนี้สิน ส่วนในเรื่องพนักงานของโจทก์นั้นตามข้อ 4 ก็เพียงแต่ระบุว่า "ก." ยินดีรับพนักงานของโจทก์ทุกคนที่สมัครใจทำงานกับ "ก." หรือบริษัทในเครือ หลักเกณฑ์ และหรือเงื่อนไขในการจ้าง "ก." จะพิจารณาตามความเหมาะสม ย่อมแสดงให้เห็นว่าโครงการโอนกิจการดังกล่าวโจทก์โอนเฉพาะสินทรัพย์และหนี้สินแก่ธนาคาร ก. เท่านั้น ส่วนในเรื่องพนักงานของโจทก์ เป็นกรณีที่พนักงานโจทก์แต่ละรายจะต้องดำเนินการต่อไปและสมัครใจที่จะเป็นพนักงานของธนาคาร ก. ภายใต้เงื่อนไขหลักเกณฑ์ที่ธนาคารผู้รับโอนพิจารณาก่อน จึงจะถือว่าเป็นพนักงานของธนาคาร ก. ดังนั้น สิทธิความเป็นนายจ้างของโจทก์กับพนักงานโจทก์จึงหาได้โอนไปยังธนาคารผู้รับโอนด้วยไม่ ยิ่งพิจารณาจากตำแหน่งของจำเลยที่ดำรงตำแหน่งเป็นรองกรรมการผู้จัดการโจทก์ด้วยแล้ว ถือว่าเป็นตำแหน่งผู้บริหารระดับสูง จึงเป็นที่ชี้ชัดว่าจำเลยไม่ได้โอนไปเป็นพนักงานของธนาคาร ก. ดังนั้น สิทธิหน้าที่ตามสัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยมีอยู่ต่อกันเช่นใดก็ยังคงเป็นไปตามนั้น หากจำเลยกระทำการไม่ถูกต้องในระหว่างที่เป็นลูกจ้าง โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยรับผิดชดใช้ค่าเสียหายได้ การที่โจทก์ฟ้องว่าระหว่างทำงานจำเลยทุจริต ปฏิบัติหรือละเว้นปฏิบัติโดยมิชอบด้วยกฎหมาย คำสั่ง ระเบียบ และข้อบังคับเกี่ยวกับการให้สินเชื่อของโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย อันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้าง และเป็นการกระทำที่ผิดสัญญาจ้าง ย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคำฟ้องของโจทก์บรรยายให้เห็นชัดแจ้งแล้วว่าโจทก์มีคำสั่งแต่งตั้งให้จำเลยเป็นคณะกรรมการพิจารณาให้สินเชื่อชุดบริหาร มีอำนาจพิจารณาอนุมัติสินเชื่อและต่ออายุสัญญาให้สินเชื่อแก่ลูกค้าภายในวงเงินที่จำกัด แต่จำเลยอนุมัติสินเชื่อแก่ลูกค้าของโจทก์เกินกว่าอำนาจของตน ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ซึ่งเป็นสภาพแห่งข้อหา โดยมีข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าการกระทำของจำเลยเป็นการไม่ปฏิบัติตามประกาศและคำสั่งของธนาคารแห่งประเทศไทย และคำสั่ง ระเบียบ และข้อบังคับของโจทก์ ในส่วนเรื่องการอนุมัติสินเชื่อของจำเลยเป็นการอนุมัติเร่งด่วนหรือไม่ ขัดแย้งกับข้อเท็จจริงในเอกสารท้ายคำฟ้องหรือไม่ อำนาจหน้าที่ระหว่างผู้บริหารระดับสูงของโจทก์กับจำเลยมีขั้นตอนปฏิบัติอย่างไร จำเลยทำละเมิดหรือผิดสัญญาจ้างอย่างไร ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์เพียงใด เป็นเพียงรายละเอียดที่ศาลแรงงานกลางอาจหาข้อเท็จจริงดังกล่าวได้จากพยานหลักฐานของโจทก์และจำเลยในชั้นพิจารณา คำฟ้องของโจทก์จึงแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 คำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม คดีนี้ เมื่อคดีที่ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ และคดีอาญาที่ศาลอาญากรุงเทพใต้ มีข้อเท็จจริงและพฤติการณ์แห่งการกระทำเดียวกัน ประกอบกับคำฟ้องโจทก์ที่ว่าระหว่างทำงานจำเลยทุจริตปฏิบัติหรือละเว้นปฏิบัติโดยมิชอบด้วยกฎหมายและคำสั่ง ระเบียบ และข้อบังคับเกี่ยวกับการให้สินเชื่อของโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย โด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6751/2561

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีล้มละลาย: การฟ้องคดีระหว่างการพิจารณาคดีทำให้สิทธิเรียกร้องไม่ขาดอายุความ & สิทธิชำระหนี้ตามกรมธรรม์ประกันภัย
คดีที่เสร็จไปโดยการที่ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีเพราะเหตุโจทก์ (เจ้าหนี้) ขาดนัดพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 202 นั้น เป็นผลจากการที่โจทก์ละทิ้งหรือทอดทิ้งคดีของตน ทำนองเดียวกับคดีเสร็จไปโดยการจำหน่ายคดีเพราะเหตุที่ถอนฟ้องและทิ้งฟ้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/17 วรรคหนึ่ง ซึ่งให้ถือว่าอายุความไม่เคยสะดุดหยุดลง โจทก์จึงไม่ได้รับประโยชน์จากการฟ้องคดีที่จะเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (2)
คำสั่งจำหน่ายคดีเพราะเหตุโจทก์ขาดนัดพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 202 มีผลอย่างเดียวกับคำพิพากษาของศาลที่ยกคำฟ้องโดยไม่ตัดสิทธิที่จะฟ้องใหม่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/17 วรรคสอง เมื่ออายุความแห่งสิทธิเรียกร้องของโจทก์ครบไปแล้วในระหว่างการพิจารณาคดี โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องคดีเพื่อตั้งหลักฐานสิทธิเรียกร้องหรือเพื่อให้ชำระหนี้ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่คำสั่งจำหน่ายคดีถึงที่สุด
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 15/2561)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10098/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลยกคำพิพากษาเดิมที่ออกภายหลังการยื่นฎีกา และพิพากษาให้จำเลยรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจากอุบัติเหตุทางรถยนต์
ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในประเด็นที่ยังไม่ได้วินิจฉัยแล้วมีคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดี ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2554 และนัดฟังคำพิพากษาศาลชั้นต้นใหม่เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2554 จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกา และต่อมาจำเลยได้ยื่นฎีกาโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่า คดีโจทก์ขาดอายุความแล้ว เป็นกรณีที่ถือได้ว่าจำเลยเลือกที่จะใช้สิทธิฎีกาเพื่อโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาแล้ว ศาลชั้นต้นต้องงดการปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คือ การทำคำพิพากษาศาลชั้นต้นฉบับใหม่เพื่อรอให้คู่ความดำเนินการใช้สิทธิโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ต่อไป การที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาฉบับใหม่ เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2554 จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ฉบับลงวันที่ 23 พฤศจิกายน 2554 ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
จำเลยฎีกาว่า โจทก์อ้างส่งรายงานกระบวนพิจารณาคดีของศาลแพ่ง ฉบับลงวันที่ 22 กันยายน 2551 ตามท้ายอุทธรณ์โดยมิได้นำสืบในศาลชั้นต้น และส่งสำเนาให้จำเลย ศาลอุทธรณ์รับฟังเอกสารดังกล่าวไม่ชอบนั้น ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า การที่โจทก์ทำคำฟ้องเป็นคดีผู้บริโภคมิใช่คำฟ้องคดีแพ่งสามัญ ถือว่าโจทก์มิได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามเงื่อนไขแห่งกฎหมายที่บังคับไว้ กระบวนพิจารณาต่อจากนั้นศาลแพ่งต้องมีคำสั่งไม่รับหรือคืนคำฟ้องนั้นไปตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 วรรคสาม ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 มาตรา 7 ซึ่งศาลแพ่งได้มีคำสั่งจำหน่ายคดีดังกล่าว กรณีจึงถือได้ว่าคดีเสร็จไปโดยการจำหน่ายคดีเพราะเหตุศาลแพ่งไม่รับฟ้องเป็นคดีผู้บริโภคมิใช่เพราะเหตุถอนฟ้องหรือทิ้งฟ้อง เห็นว่า ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ดังกล่าวเป็นกรณีศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อกฎหมายตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 วรรคสาม ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 มาตรา 7 โดยรับฟังคำเบิกความของ ส. ซึ่งเบิกความว่า ศาลแพ่งมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ โดยศาลอุทธรณ์เพียงนำเอาสำเนารายงานกระบวนพิจารณาของศาลแพ่ง ฉบับลงวันที่ 22 กันยายน 2551 ท้ายอุทธรณ์มาประกอบเพื่อยืนยันว่าคำเบิกความของ ส. ซึ่งเบิกความว่า ศาลแพ่งมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ โดยศาลอุทธรณ์เพียงนำเอาสำเนารายงานกระบวนพิจารณาของศาลแพ่ง ฉบับลงวันที่ 22 กันยายน 2551 ท้ายอุทธรณ์มาประกอบเพื่อยืนยันว่ามีน้ำหนักเนื่องจากเบิกความสอดคล้องกับเอกสารดังกล่าว ศาลอุทธรณ์มิได้นำเอกสารดังกล่าวมารับฟังเป็นพยานหลักฐานดังที่จำเลยฎีกา
ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยต่อมาว่า โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนรับผิดค่าสินไหมทดแทน บทกฎหมายห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดสองปีนับแต่วันเกิดวินาศภัย โจทก์จึงต้องยื่นฟ้องคดีภายในวันที่ 31 สิงหาคม 2551 โจทก์ยื่นฟ้องต่อศาลแพ่งเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2551 คดีจึงยังไม่ขาดอายุความสองปี แต่อายุความครบกำหนดในระหว่างการส่งคำฟ้องให้ประธานศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหาว่าเป็นคดีผู้บริโภคหรือไม่ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องคดีใหม่ต่อศาลชั้นต้นภายในหกสิบวันนับแต่วันที่คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นถึงที่สุด ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/17 วรรคสอง เมื่อศาลแพ่งอ่านคำวินิจฉัยของประธานศาลอุทธรณ์ซึ่งถือว่าเป็นคำสั่งถึงที่สุด ตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 มาตรา 8 พร้อมกับคำสั่งไม่รับฟ้องให้จำหน่ายคดีในวันที่ 22 กันยายน 2551 โจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 22 ตุลาคม 2551 ยังไม่เกินหกสิบวัน คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความนั้นชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8471/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเพิกถอนนิติกรรม: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าอายุความสะดุดหยุดตามบทบัญญัติ ป.พ.พ. มาตรา 193/17 วรรคสอง
คดีเดิมศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องโดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องใหม่ภายใต้บังคับบทบัญญัติของกฎหมายเรื่องอายุความ แม้ ป.พ.พ. มาตรา 1480 วรรคสอง บัญญัติว่า การฟ้องเพิกถอนนิติกรรมตามมาตรา 1476 ที่คู่สมรสฝ่ายหนึ่งทำไปฝ่ายเดียว โดยปราศจากความยินยอมของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง ห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รู้เหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอน หรือเมื่อพ้นสิบปีนับแต่วันที่ได้ทำนิติกรรมนั้น เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องคดีเดิมอายุความย่อมสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (2) ครั้นศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้องคดีเดิมโดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องคดีใหม่ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/17 วรรคสอง บัญญัติให้เจ้าหนี้มีสิทธิฟ้องคดีใหม่เพื่อตั้งหลักฐานสิทธิเรียกร้องหรือเพื่อให้ชำระหนี้ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นถึงที่สุด ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีเดิมให้คู่ความฟังวันที่ 12 พฤศจิกายน 2556 โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้วันที่ 20 พฤศจิกายน 2556 ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่คำพิพากษาศาลฎีกาคดีเดิมถึงที่สุด จึงต้องนำ ป.พ.พ. มาตรา 193/17 วรรคสอง ซึ่งเป็นบทเฉพาะมาใช้บังคับแก่อายุความ ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15116/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบอำนาจช่วงฟ้องคดี: อำนาจของผู้รับมอบอำนาจช่วงต้องชัดเจนตามขอบเขตที่ได้รับมอบหมาย
หนังสือมอบอำนาจของโจทก์โดยผู้อำนวยการได้มอบอำนาจให้ ธ. รองผู้อำนวยการ มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ในบรรดากิจการต่าง ๆ ซึ่งรวมทั้งเป็นโจทก์ฟ้องคดีแพ่งด้วย โดยความตอนท้ายระบุว่า "ในการดำเนินการดังกล่าวข้างต้น ให้ผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจแต่งตั้งทนายความเพื่อว่าต่างแก้ต่างคดีหรือมอบอำนาจให้ตัวแทนช่วงดำเนินการแทนได้ในทุกกรณีแห่งกิจการที่มอบอำนาจ" ธ. จึงมอบอำนาจช่วงให้ ร. ผู้อำนวยการฝ่ายกฎหมายมีอำนาจกระทำการแทนรวมทั้งเป็นโจทก์ฟ้องคดีแพ่งได้ เพราะเป็นการมอบอำนาจช่วงที่มีการให้อำนาจไว้ แต่การที่ ร. มอบอำนาจช่วงต่อให้ อ. ฟ้องจำเลยทั้งห้าแทนโจทก์อีกต่อหนึ่งนั้น เป็นการกระทำนอกขอบเขตของหนังสือมอบอำนาจเพราะหนังสือมอบอำนาจดังกล่าว มิได้ระบุให้อำนาจผู้ที่ได้รับมอบอำนาจช่วงจาก ธ. มีอำนาจมอบอำนาจช่วงให้บุคคลอื่นต่อไปอีกช่วงหนึ่งได้ด้วย อ. จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้แทนโจทก์ (ตามนัยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1116 - 1117/2495 (ประชุมใหญ่) แม้จำเลยที่ 1 ที่ 3 ถึงที่ 5 จะมิได้อุทธรณ์ในปัญหานี้ แต่คำพิพากษาคดีนี้เกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ศาลฎีกาเห็นสมควรให้คำวินิจฉัยในปัญหานี้มีผลไปถึงจำเลยอื่นซึ่งเป็นคู่ความในคดี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 ทั้งนี้ ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำคำฟ้องมายื่นใหม่ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/17 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13078/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกคืนสินสมรส: การฟ้องต่อเนื่องจากคำพิพากษาเดิม
เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2549 โจทก์ในฐานะภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 1 ฟ้องเพิกถอนนิติกรรมที่จำเลยที่ 1 นำเงินสินสมรสไปซื้อที่ดินและทาวน์เฮ้าส์พิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1480 ภายในกำหนดเวลา 1 ปี นับแต่โจทก์ทราบเหตุการณ์ทำนิติกรรมระหว่างจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 แต่ต่อมาศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2552 ว่า ฟ้องโจทก์มิใช่การฟ้องเพื่อเพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินและทาวน์เฮ้าส์ แต่เป็นการฟ้องเพื่อเรียกสินสมรสคืนจากจำเลยที่ 2 และการที่ศาลชั้นต้นให้โจทก์นำสืบว่าจำเลยที่ 1 เป็นคนถอนเงินในบัญชีซึ่งเป็นสินสมรสและมอบให้แก่จำเลยที่ 2 เพื่อซื้อที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง แล้วพิพากษาให้จำเลยที่ 2 คืนเงินแก่โจทก์ เป็นการนำสืบนอกฟ้องนอกประเด็น จะพิพากษาให้จำเลยที่ 2 คืนเงินหาได้ไม่ โจทก์ต้องไปว่ากล่าวต่างหากแล้วโจทก์จึงยื่นฟ้องคดีนี้ในวันที่ 9 กรกฎาคม 2552 เรียกร้องให้จำเลยที่ 2 คืนเงินจำนวน 1,512,400 บาท จึงเป็นการใช้สิทธิฟ้องต่อเนื่องจากคำพิพากษาในคดีเดิม แม้คำพิพากษาคดีดังกล่าวจะไม่มีถ้อยคำว่า "โดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องคดีใหม่" อายุความคดีนี้จึงตกอยู่ในบังคับ ป.พ.พ. มาตรา 193/17 วรรคสอง หาใช่ต้องฟ้องคดีภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ได้รู้เหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1480 วรรคสอง ตามที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 ในคดีนี้พิพากษาไม่ เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องภายใน 60 วัน นับแต่คำพิพากษาคดีก่อนถึงที่สุด คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13078/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกคืนสินสมรส: การฟ้องต่อเนื่องจากคำพิพากษาเดิมมีอายุความ 60 วัน ไม่ใช่ 1 ปี
เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2549 โจทก์ในฐานะภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 1 ฟ้องเพิกถอนนิติกรรมที่จำเลยที่ 1 นำเงินสินสมรสไปซื้อที่ดินและทาวน์เฮ้าส์พิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ภายในกำหนดเวลาหนึ่งปี นับแต่โจทก์ทราบเหตุการณ์ทำนิติกรรมระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 แต่ต่อมาศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2552 ว่า ฟ้องโจทก์มิใช่การฟ้องเพื่อเพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินและทาวน์เฮ้าส์ แต่เป็นการฟ้องเพื่อเรียกสินสมรสคืนจากจำเลยที่ 2 และการที่ศาลชั้นต้นให้โจทก์นำสืบว่าจำเลยที่ 1 เป็นคนถอนเงินในบัญชีซึ่งเป็นสินสมรสและมอบให้แก่จำเลยที่ 2 เพื่อซื้อที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง แล้วพิพากษาให้จำเลยที่ 2 คืนเงินแก่โจทก์ เป็นการนำสืบนอกฟ้องนอกประเด็น จะพิพากษาให้จำเลยที่ 2 คืนเงินหาได้ไม่ โจทก์ต้องไปว่ากล่าวต่างหาก โจทก์จึงยื่นฟ้องคดีนี้ในวันที่ 9 กรกฎาคม 2552 เรียกร้องให้จำเลยที่ 2 คืนเงินจำนวน 1,512,400 บาท จึงเป็นการใช้สิทธิฟ้องต่อเนื่องจากคำพิพากษาในคดีเดิม แม้คำพิพากษาคดีดังกล่าวจะไม่มีถ้อยคำว่า "โดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องคดีใหม่" อายุความคดีนี้ก็ตกอยู่ในบังคับ ป.พ.พ. มาตรา 193/17 วรรคสอง ที่ฟ้องใหม่ได้ภายในหกสิบวัน นับแต่วันที่คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นถึงที่สุด หาใช่ต้องฟ้องคดีภายในหนึ่งปี นับแต่วันที่ได้รู้เหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1480 วรรคสอง คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10158/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องละเมิดและผิดสัญญาจ้างแรงงาน: การนับอายุความเริ่มจากวันกระทำละเมิด/ผิดสัญญา และผลของการพิพากษายกฟ้องเดิม
โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งหกชดใช้ค่าเสียหาย ระบุว่าจำเลยทั้งหกผิดสัญญาจ้าง และในคำฟ้องข้อ 4 ระบุว่าในส่วนความรับผิดทางละเมิดจำเลยทั้งหกต้องรับผิดตามคณะกรรมการพิจารณาความรับผิดทางละเมิดโดยให้จำเลยทั้งหกรับผิดตามส่วน คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นการฟ้องให้จำเลยทั้งหกรับผิดทั้งมูลละเมิดและมูลสัญญาจ้างแรงงาน ผู้อำนวยการของโจทก์ทราบการกระทำผิดและทราบว่าจำเลยทั้งหกเป็นผู้กระทำผิดโดยมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงความผิดวินัยพนักงาน และความรับผิดในทางแพ่งเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2541 โจทก์ฟ้องเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2551 จึงเกินกว่า 2 ปี นับแต่วันที่โจทก์ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวเจ้าหน้าที่ผู้พึงจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน จึงขาดอายุความตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 มาตรา 10 วรรคสอง ส่วนการฟ้องฐานผิดสัญญาจ้างแรงงานใช้อายุความทั่วไป 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 และเริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปตามมาตรา 193/12 กล่าวคือนับแต่วันที่จำเลยทั้งหกร่วมกันวิเคราะห์และอนุมัติปล่อยสินเชื่อผิดระเบียบ ซึ่งเป็นวันผิดสัญญาจ้างแรงงาน อันเป็นวันที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ นับถึงวันฟ้องเกินกว่า 10 ปี ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความทั้งฐานละเมิดและฐานผิดสัญญาจ้างแรงงาน
คดีก่อนศาลแรงงานภาค 4 พิพากษายกฟ้องโจทก์ เนื่องจากผู้รับมอบอำนาจไม่มีอำนาจฟ้องและไม่มีอำนาจแต่งตั้งทนายความโดยไม่ได้ระบุในคำพิพากษาว่าให้ยกฟ้องโดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องใหม่โจทก์จึงไม่ได้รับประโยชน์ในการนำคดีมาฟ้องใหม่ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่คำพิพากษาศาลแรงงานภาค 4 ถึงที่สุดตามมาตรา 193/17 วรรคสอง
of 2