คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1154

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3269/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมการล้มละลายขาดอำนาจลงนามในคำร้อง แม้เป็นกรรมการของบริษัทผู้ร้อง
จำเลยที่2ถูกศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายเมื่อวันที่17มีนาคม2530และคดีถึงที่สุดแล้วเมื่อจำเลยที่2ตกเป็นบุคคลล้มละลายจำเลยที่2ในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่1ก็ต้องเป็นอันขาดจากตำแหน่งกรรมการจำเลยที่1ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1154การที่จำเลยที่2ลงลายมือชื่อและประทับตราจำเลยที่1แต่งตั้งทนายความไปยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นภายหลังจากเป็นบุคคลล้มละลายแล้วเพื่อขอให้ยกเลิกการขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยที่1จึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3269/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมการล้มละลายหมดอำนาจลงนามในฐานะกรรมการของบริษัท
จำเลยที่ 2 ถูกศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายเมื่อวันที่17 มีนาคม 2530 และคดีถึงที่สุดแล้ว เมื่อจำเลยที่ 2 ตกเป็นบุคคลล้มละลายจำเลยที่ 2 ในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ก็ต้องเป็นอันขาดจากตำแหน่งกรรมการจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1154 การที่จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อและประทับตราจำเลยที่ 1 แต่งตั้งทนายความไปยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นภายหลังจากเป็นบุคคลล้มละลายแล้ว เพื่อขอให้ยกเลิกการขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4991/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องหลังประนอมหนี้และการดำเนินคดีเมื่อล้มละลาย รวมถึงผลกระทบต่ออำนาจกรรมการ
การที่ศาลแพ่งมีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ก่อนล้มละลายย่อมทำให้จำเลยที่ 2 กลับมีอำนาจจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินของตนรวมทั้งสามารถต่อสู้คดีได้เอง โจทก์ฟ้องคดีภายหลังศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้จึงมีอำนาจฟ้อง แม้ต่อมาเมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้จำเลยที่ 2 เป็นบุคคลล้มละลายแล้ว เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป ตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 25 เมื่อไม่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขอเข้าว่าคดีหรือมีคำขอให้จำหน่ายคดี ศาลย่อมมีอำนาจให้ดำเนินกระบวนพิจารณาคดีสำหรับจำเลยที่ 2 ต่อไป เมื่อจำเลยที่ 2 ตกเป็นบุคคลล้มละลาย จำเลยที่ 2 ย่อมขาดจากตำแหน่งกรรมการของจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1154 จำเลยที่ 2 ไม่มีอำนาจจัดการทรัพย์สินของจำเลยที่ 1ในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนอีกต่อไป เมื่ออำนาจจัดการทรัพย์สินจำเลยที่ 1 ของจำเลยที่ 2 หมดไปแล้ว จึงมิอาจเปลี่ยนมือไปยังเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4991/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลกระทบของการประนอมหนี้และการล้มละลายต่ออำนาจฟ้องและจัดการทรัพย์สินของกรรมการบริษัท
การที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ก่อนล้มละลายย่อมทำให้จำเลยที่ 2 กลับมีอำนาจจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินของตนรวมทั้งสามารถต่อสู้คดีได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีแพ่งภายหลังที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ แม้ต่อมาเมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้จำเลยที่ 2 เป็นบุคคลล้มละลาย เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป ตามพ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 25 เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นบุคคลล้มละลายจำเลยที่ 2 ย่อมขาดจากตำแหน่งกรรมการของจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1154 จำเลยที่ 2 ไม่มีอำนาจจัดการทรัพย์สินของจำเลยที่ 1ในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนอีกต่อไป เมื่ออำนาจจัดการทรัพย์สินจำเลยที่ 1 ของจำเลยที่ 2 หมดไปแล้ว จึงมิอาจเปลี่ยนมือไปยังเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1546/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนกรรมสิทธิ์โดยบุคคลล้มละลายในฐานะกรรมการบริษัท: การเปลี่ยนตัวผู้ถือแทนกรรมสิทธิ์ไม่ใช่การโอนกรรมสิทธิ์
ส.มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทไว้แทนบริษัทจำเลยส.เป็นบุคคลล้มละลายในระหว่างเป็นกรรมการผู้จัดการ ย่อมขาดจากการเป็นกรรมการบริษัทจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1154จึง ไม่มีอำนาจถือกรรมสิทธิ์ที่พิพาทแทนบริษัทจำเลยอีกต่อไปดังนั้นการที่ ส. โอนที่พิพาทให้กรรมการอีกคนหนึ่งของบริษัทจึงเป็นการโอนเปลี่ยนตัวผู้ถือกรรมสิทธิ์แทนบริษัทจำเลยเท่านั้นหาใช่เป็นการโอนกรรมสิทธิ์ไม่การโอนจึงไม่เป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1546/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนทรัพย์สินโดยกรรมการที่ล้มละลาย: การเปลี่ยนตัวผู้ถือแทนกรรมสิทธิ์ ไม่ใช่การโอนกรรมสิทธิ์
ส.มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทไว้แทนบริษัทจำเลย ส.เป็นบุคคลล้มละลายในระหว่างเป็นกรรมการผู้จัดการ ย่อมขาดจากการเป็นกรรมการบริษัทจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1154 จึง ไม่มีอำนาจถือกรรมสิทธิ์ที่พิพาทแทนบริษัทจำเลยอีกต่อไป ดังนั้น การที่ ส. โอนที่พิพาทให้กรรมการอีกคนหนึ่งของบริษัท จึงเป็นการโอนเปลี่ยนตัวผู้ถือกรรมสิทธิ์แทนบริษัทจำเลยเท่านั้น หาใช่เป็นการโอนกรรมสิทธิ์ไม่ การโอนจึงไม่เป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 763/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะบุคคลล้มละลายเริ่มต้นเมื่อศาลพิพากษาถึงที่สุด การสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดไม่ทำให้ขาดจากตำแหน่งกรรมการ
คำว่า "ล้มละลาย"' ตามมาตรา 1154 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หมายถึงศาลพิพากษาให้ล้มละลายแล้วดังนั้น การที่กรรมการบริษัทจำกัดถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นบุคคลล้มละลายตามความหมายของมาตราดังกล่าว พระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 62 บัญญัติว่าการล้มละลายของลูกหนี้เริ่มต้นมีผลตั้งแต่วันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ จึงเป็นเรื่องผลเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้และการดำเนินการตามพระราชบัญญัติดังกล่าวโดยเฉพาะ หามีผลให้สถานะบุคคลของลูกหนี้เปลี่ยนเป็นบุคคลล้มละลายตั้งแต่วันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ไปด้วยไม่ (วรรคแรกวินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 1/2527)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 763/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะบุคคลล้มละลายเริ่มต้นเมื่อศาลพิพากษา การสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดไม่ทำให้ขาดจากตำแหน่งกรรมการ
คำว่า "ล้มละลาย"' ตามมาตรา 1154 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หมายถึงศาลพิพากษาให้ล้มละลายแล้วดังนั้น การที่กรรมการบริษัทจำกัดถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นบุคคลล้มละลายตามความหมายของมาตราดังกล่าว
พระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 62 บัญญัติว่าการล้มละลายของลูกหนี้เริ่มต้นมีผลตั้งแต่วันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ จึงเป็นเรื่องผลเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้และการดำเนินการตามพระราชบัญญัติดังกล่าวโดยเฉพาะ หามีผลให้สถานะบุคคลของลูกหนี้เปลี่ยนเป็นบุคคลล้มละลายตั้งแต่วันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ไปด้วยไม่
(วรรคแรกวินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 1/2527)