คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 869

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 47 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2253/2565

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันภัยความรับผิดของผู้ค้ำประกัน การคิดดอกเบี้ยผิดนัด และอายุความของสัญญา
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 861 บัญญัติว่า อันว่าสัญญาประกันภัยนั้น คือ สัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือใช้เงินจำนวนหนึ่งให้ในกรณีวินาศภัยหากมีขึ้นหรือในเหตุอย่างอื่นในอนาคตดังได้ระบุไว้ในสัญญา และในการนี้บุคคลอีกคนหนึ่งตกลงจะส่งเงินซึ่งเรียกว่าเบี้ยประกันภัย จะเห็นได้ว่าในการทำสัญญาประกันภัย คู่สัญญาอาจกำหนดเงื่อนไขในการจ่ายค่าสินไหมทดแทนเป็นเหตุวินาศภัยหรือเหตุอย่างอื่นที่มิใช่วินาศภัยก็ได้ แล้วแต่ผู้เอาประกันภัยและผู้รับประกันภัยจะตกลงกัน และคำว่า วินาศภัย นั้น ป.พ.พ. มาตรา 869 บัญญัติให้หมายรวมเอาความเสียหายอย่างใด ๆ บรรดาซึ่งจะพึงประมาณเป็นเงินได้ ดังนั้น ความเสียหายอันเป็นวินาศภัยย่อมต้องเป็นเหตุหรือภัยใด ๆ ที่ก่อให้เกิดความเสียหายขึ้น มิใช่ความรับผิดตามข้อสัญญาระหว่างคู่กรณีที่มีลักษณะเป็นนิติกรรม เมื่อหนี้ที่โจทก์ที่ 2 และที่ 3 ต้องรับผิดชําระแก่โจทก์ที่ 1 เป็นเงื่อนไขที่จําเลยที่ 2 จะใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ที่ 1 ในนามของโจทก์ที่ 2 และที่ 3 เงื่อนไขความรับผิดระหว่างโจทก์ที่ 1 กับจําเลยที่ 2 จึงมีลักษณะเป็นนิติกรรมสัญญาอย่างหนึ่งซึ่งจําเลยที่ 2 ตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทนในเหตุอย่างอื่นในอนาคตหากมีการกระทำอันเป็นการผิดสัญญา มิใช่กรณีเมื่อเกิดวินาศภัยขึ้น จึงมิใช่สัญญาประกันวินาศภัยซึ่ง ป.พ.พ. บัญญัติเกี่ยวกับการประกันวินาศภัยไว้ในลักษณะ 20 หมวด 2 และมีบทบัญญัติเกี่ยวกับอายุความในการเรียกให้ใช้ค่าสินไหมทดแทนไว้เป็นการเฉพาะตามมาตรา 882 วรรคหนึ่ง คือ ห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นกําหนดเวลาสองปีนับแต่วันวินาศภัย แต่กรณีดังกล่าวเป็นการทำสัญญาประกันภัยในเหตุแห่งการผิดสัญญาอันเป็นเหตุอย่างอื่นในอนาคต ซึ่ง ป.พ.พ. หรือกฎหมายอื่นมิได้บัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 นับแต่เวลาที่โจทก์ทั้งสามอาจบังคับสิทธิเรียกร้องตามสัญญาประกันภัยได้ตามมาตรา 193/12 การที่โจทก์ทั้งสามฟ้องคดียังอยู่ในระยะเวลา 10 ปี คดีของโจทก์ทั้งสามสำหรับจําเลยที่ 2 จึงไม่ขาดอายุความ
โจทก์ที่ 2 และที่ 3 เป็นผู้ค้ำประกันหนี้เงินกู้ของจําเลยที่ 1 ต่อโจทก์ที่ 1 โดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม หากจําเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชําระหนี้ โจทก์ที่ 2 และที่ 3 ย่อมต้องร่วมรับผิดในหนี้ดังกล่าวต่อโจทก์ที่ 1 ด้วย ถือว่าโจทก์ที่ 2 และที่ 3 เป็นผู้มีส่วนได้เสียในเหตุที่เอาประกันภัยตาม ป.พ.พ. มาตรา 863 แม้จําเลยที่ 1 จะเป็นคนชําระเบี้ยประกันภัยก็เป็นการชําระในนามของโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ผู้เอาประกันภัย และเป็นเรื่องระหว่างจําเลยที่ 1 กับโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ไม่มีผลให้การเป็นผู้มีส่วนได้เสียในเหตุที่เอาประกันภัยของโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ต้องเปลี่ยนแปลงไป สัญญาประกันภัยระหว่างโจทก์ที่ 2 และที่ 3 กับจําเลยที่ 2 จึงมีผลผูกพันคู่สัญญา
ส่วนที่จําเลยที่ 2 ให้การว่าหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์ที่ 1 ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่เป็นไปตามข้อบังคับโจทก์ที่ 1 นั้น จําเลยที่ 2 ไม่ได้ระบุว่าไม่ถูกต้องตามข้อบังคับอย่างไรบ้าง และที่ให้การว่าโจทก์ที่ 1 ไม่ได้แจ้งให้จําเลยที่ 2 ทราบถึงการผิดนัดชําระหนี้เงินกู้ของจําเลยที่ 1 ภายใน 45 วัน นับแต่วันที่ผิดนัดงวดแรก ก็ไม่ได้ระบุว่าผลเป็นประการใด ถือเป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 7 จึงไม่เกิดประเด็นให้ต้องวินิจฉัย
ส่วนปัญหาว่าจําเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์ที่ 2 และที่ 3 หรือไม่ เพียงใด นั้น ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่ เห็นว่า แม้สัญญาประกันภัยระหว่างโจทก์ที่ 2 และที่ 3 กับจําเลยที่ 2 เป็นสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอกและโจทก์ที่ 1 ผู้รับประโยชน์ตามสัญญาได้แสดงเจตนาเข้าถือเอาประโยชน์จากสัญญาแล้วก็ตาม แต่ค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์ที่ 1 เรียกร้องให้จําเลยที่ 2 รับผิด ยังไม่เต็มจำนวนเงินเอาประกันภัย อีกทั้งหลังจากได้รับหนังสือทวงถามแล้ว จําเลยที่ 2 ปฏิเสธไม่ชําระค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ที่ 1 อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามสัญญาประกันภัย ทำให้โจทก์ที่ 2 และที่ 3 ในฐานะผู้ค้ำประกันต้องร่วมกับจําเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์ที่ 1 ในต้นเงินและดอกเบี้ยที่ค้างชําระรวมทั้งดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นใหม่ภายหลังจากนั้น เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า โจทก์ที่ 2 และที่ 3 ชําระดอกเบี้ยที่ค้างชําระอยู่เดิมและดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นใหม่รวมทั้งต้นเงินบางส่วนให้โจทก์ที่ 1 แล้ว โจทก์ที่ 2 และที่ 3 ในฐานะคู่สัญญาประกันภัยย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้บังคับจําเลยที่ 2 ผู้รับประกันภัยรับผิดชําระเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ที่ 2 และที่ 3 ตามสัญญาประกันภัยในส่วนของจำนวนเงินเอาประกันภัยที่เหลืออยู่ได้ ดังนั้นจําเลยที่ 2 ต้องรับผิดชําระเงินแก่โจทก์ที่ 2 และที่ 3 เพียงเท่าจำนวนเงินเอาประกันภัยส่วนที่เหลือโดยเฉลี่ยให้เท่ากัน พร้อมดอกเบี้ยผิดนัดอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันผิดนัด แต่ทางพิจารณาไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ได้ทวงถามให้จําเลยที่ 2 ชําระหนี้ ยังไม่อาจถือได้ว่าจําเลยที่ 2 ผิดนัด จึงให้จําเลยที่ 2 ชําระดอกเบี้ยนับถัดจากวันฟ้อง
โจทก์ที่ 1 ฎีกาขอให้จําเลยที่ 2 ร่วมรับผิดกับจําเลยที่ 1 จึงเป็นคดีที่มีคําขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคํานวณเป็นราคาได้ โจทก์ที่ 1 ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกา 200 บาท การที่โจทก์ทั้งสามเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกามาตามทุนทรัพย์ที่ฟ้องจึงไม่ถูกต้อง ส่วนโจทก์ที่ 2 และที่ 3 เป็นผู้บริโภคได้รับยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 18 โจทก์ที่ 2 และที่ 3 จึงได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล ให้คืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินแก่โจทก์ทั้งสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2252/2565

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันภัยเพื่อบุคคลภายนอก: การคำนวณอายุความและขอบเขตความรับผิดของผุ้รับประกัน
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 861 บัญญัติว่า อันว่าสัญญาประกันภัยนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือใช้เงินจำนวนหนึ่งให้ในกรณีวินาศภัยหากมีขึ้น หรือในเหตุอย่างอื่นในอนาคตดังได้ระบุไว้ในสัญญา และในการนี้บุคคลอีกคนหนึ่งตกลงจะส่งเงินซึ่งเรียกว่าเบี้ยประกันภัย จะเห็นได้ว่าในการทำสัญญาประกันภัย คู่สัญญาอาจกำหนดเงื่อนไขในการจ่ายค่าสินไหมทดแทนเป็นเหตุวินาศภัยหรือเหตุอย่างอื่นที่มิใช่วินาศภัยก็ได้ แล้วแต่ผู้เอาประกันภัยและผู้รับประกันภัยจะตกลงกัน และคำว่า วินาศภัย นั้น ป.พ.พ. มาตรา 869 บัญญัติให้หมายรวมเอาความเสียหายอย่างใด ๆ บรรดาซึ่งจะพึงประมาณเป็นเงินได้ ดังนั้น ความเสียหายอันเป็นวินาศภัยย่อมต้องเป็นเหตุหรือภัยใด ๆ ที่ก่อให้เกิดความเสียหายขึ้น มิใช่ความรับผิดตามข้อสัญญาระหว่างคู่กรณีที่มีลักษณะเป็นนิติกรรม เมื่อหนี้ที่โจทก์ที่ 2 และ ธ. ต้องรับผิดชำระแก่โจทก์ที่ 1 เป็นเงื่อนไขที่จำเลยที่ 2 จะใช้ค่าสินไหมแทนให้แก่โจทก์ที่ 1 ในนามของโจทก์ที่ 2 กับ ธ. เงื่อนไขความรับผิดระหว่างโจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 2 จึงมีลักษณะเป็นนิติกรรมสัญญาอย่างหนึ่งซึ่งจำเลยที่ 2 ตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทนในเหตุอย่างอื่นในอนาคตหากมีการกระทำอันเป็นการผิดสัญญา มิใช่กรณีเมื่อเกิดวินาศภัยขึ้น จึงมิใช่สัญญาประกันวินาศภัยซึ่ง ป.พ.พ. บัญญัติเกี่ยวกับการประกันวินาศภัยไว้ในลักษณะ 20 หมวด 2 และมีบทบัญญัติเกี่ยวกับอายุความในการเรียกให้ใช้ค่าสินไหมทดแทนไว้เป็นการเฉพาะตามมาตรา 882 วรรคหนึ่ง คือ ห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดเวลาสองปีนับแต่วันวินาศภัย แต่กรณีดังกล่าวเป็นการทำสัญญาประกันภัยในเหตุแห่งการผิดสัญญาอันเป็นเหตุอย่างอื่นในอนาคต ซึ่ง ป.พ.พ. หรือกฎหมายอื่นมิได้บัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 นับแต่เวลาที่โจทก์ทั้งสองอาจบังคับสิทธิเรียกร้องตามสัญญาประกันภัยได้ตามมาตรา 193/12 การที่โจทก์ทั้งสองฟ้องคดียังอยู่ในระยะเวลา 10 ปี คดีของโจทก์ทั้งสองสำหรับจำเลยที่ 2 จึงไม่ขาดอายุความ
ส่วนปัญหาว่าจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์ที่ 2 หรือไม่ เพียงใด นั้น ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่ เห็นว่า แม้สัญญาประกันภัยระหว่างโจทก์ที่ 2 และ ธ. กับจำเลยที่ 2 เป็นสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอก และโจทก์ที่ 1 ผู้รับประโยชน์ตามสัญญาได้แสดงเจตนาเข้าถือเอาประโยชน์จากสัญญาแล้วก็ตาม แต่ค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์ที่ 1 เรียกร้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดตามหนังสือทวงถามยังไม่เต็มจำนวนเงินเอาประกันภัย อีกทั้งหลังจากได้รับหนังสือทวงถามแล้ว จำเลยที่ 2 ปฏิเสธไม่ชำระค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ที่ 1 อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามสัญญาประกันภัย ทำให้โจทก์ที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์ที่ 1 ในต้นเงินและดอกเบี้ยที่ค้างชำระรวมทั้งดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นใหม่ภายหลังจากนั้น เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า โจทก์ที่ 2 ชำระดอกเบี้ยที่ค้างชำระอยู่เดิมและดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นใหม่รวมทั้งต้นเงินบางส่วนให้โจทก์ที่ 1 แล้ว โจทก์ที่ 2 ในฐานะคู่สัญญาประกันภัยย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 2 ผู้รับประกันภัยรับผิดชำระเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ที่ 2 ตามสัญญาประกันภัยในส่วนของจำนวนเงินเอาประกันภัยที่เหลืออยู่ได้ พร้อมดอกเบี้ยผิดนัดอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันผิดนัด แต่ทางพิจารณาไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 2 ได้ทวงถามให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้ ยังไม่อาจถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ผิดนัด จึงให้จำเลยที่ 2 ชำระดอกเบี้ยนับถัดจากวันฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5239/2562

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประกันภัยรถยนต์: การลักทรัพย์โดยใช้กลอุบายไม่เข้าข้อยกเว้นกรมธรรม์ ผู้รับประกันภัยต้องรับผิด
สัญญาประกันวินาศภัยเป็นสัญญาที่ผู้รับประกันภัยตกลงใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือใช้เงินจำนวนหนึ่งให้ในกรณีวินาศภัยหากมีขึ้น หรือในเหตุอย่างอื่นในอนาคตดังที่ระบุในสัญญา และในการนี้บุคคลอีกคนหนึ่งตกลงจะส่งเงินซึ่งเรียกว่าเบี้ยประกันภัย ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 869 ได้ให้นิยามคำว่า "วินาศภัย" ว่า ให้หมายรวมเอาความเสียหายอย่างใดๆ บรรดาซึ่งจะพึงประมาณเป็นเงินได้ ดังนั้นการที่โจทก์ผู้เอาประกันภัยชำระเบี้ยประกันภัยให้แก่จำเลยตามสัญญา จำเลยตกลงรับชำระเบี้ยประกันภัย จำเลยในฐานะผู้รับประกันภัยย่อมเป็นอันสัญญาว่าตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือใช้เงินจำนวนหนึ่งกรณีวินาศภัยหากเกิดขึ้นแก่รถยนต์ที่จำเลยเอาประกันภัย เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้นความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย ซึ่งในกรณีรถยนต์ที่เอาประกันภัยสูญหาย ได้ระบุข้อยกเว้นความรับผิดไว้สองประการ กล่าวคือ ประการแรกความเสียหายหรือสูญหายอันเกิดจากการลักทรัพย์หรือยักยอกโดยบุคคลได้รับมอบหมายหรือครอบครองรถยนต์ตามสัญญาเช่า สัญญาเช่าซื้อ หรือสัญญาจำนอง หรือโดยบุคคลที่จะกระทำสัญญาดังกล่าวข้างต้น ประการที่สอง การใช้รถยนต์นอกอาณาเขตที่คุ้มครอง จึงเห็นได้ว่าในข้อยกเว้นความรับผิดไม่ได้ระบุเรื่องการใช้รถยนต์ผิดเงื่อนไขตามที่ระบุไว้ตามกรมธรรม์ เป็นบทยกเว้นความรับผิดของผู้รับประกันภัยไว้ไม่ ทั้งเมื่อพิจารณากรมธรรม์ประกันภัยรวมตลอดถึงเงื่อนไขและการคุ้มครองกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภทต่าง ๆ ก็ไม่มีเงื่อนไขข้อใดที่ระบุไว้ว่าหากผู้เอาประกันภัยนำรถไปใช้ผิดเงื่อนไขจะทำให้ผู้รับประกันภัยหลุดพ้นความรับผิด เมื่อไม่เข้าข้อยกเว้นความรับผิดและเงื่อนไขดังกล่าวข้างต้นแล้ว การที่โจทก์นำรถยนต์ที่เอาประกันภัยไปใช้ผิดเงื่อนไขโดยออกให้บุคคลภายนอกเช่าจึงไม่เป็นการกระทำเข้าข้อยกเว้นความรับผิดของจำเลยตามกรมธรรม์ประกันภัย ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 วินิจฉัยมาจึงไม่ชอบและไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา โจทก์ฎีกาในปัญหานี้อีกว่า การที่โจทก์นำรถยนต์ออกให้เช่าในกรณีนี้ จำเลยต้องรับผิดตามสัญญาประกันภัยต่อโจทก์หรือไม่ ซึ่งโจทก์อุทธรณ์ในปัญหานี้ไว้ แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 ยังมิได้วินิจฉัยจึงเห็นสมควรวินิจฉัยโดยไม่ย้อนสำนวน โดยโจทก์ฎีกาว่า ธ. ไม่มีเจตนาเช่ารถยนต์ไปจากโจทก์มาตั้งแต่ต้น เหตุที่ทำสัญญาเช่าก็เพื่อเป็นกลอุบายเพื่อจะลักรถยนต์ดังกล่าวไป จึงถือว่าไม่มีการเช่ารถยนต์คันดังกล่าว การที่ ธ. รับมอบหรือครอบครองรถยนต์จึงไม่ใช่การรับมอบหรือครอบครองรถยนต์ตามสัญญาเช่า กรณีจึงไม่เข้าข้อยกเว้นความรับผิดตามเงื่อนไขและความคุ้มครองกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ ข้อ 5.1 ในข้อนี้โจทก์มี ธ. ตัวโจทก์เบิกความเป็นพยานว่า ธ. ได้ใช้กลอุบายหลอกทำสัญญาเช่ารถยนต์ของโจทก์เพื่อจะลักรถยนต์ดังกล่าวไป โดยไม่มีเจตนาเช่าจริง และ ธ. ได้ร่วมกับพวกใช้วิธีการเดียวกันนี้ในการลักรถยนต์รายอื่นในจังหวัดต่าง ๆ อีกหลายครั้งตามหมายจับ ธ. ของศาลแขวงเชียงใหม่ ข้อหากระทำความผิดฐานลักทรัพย์และหมายจับของศาลจังหวัดนครศรีธรรมราชที่ให้จับตัวพวกของ ธ. รวม 2 คน ข้อหากระทำผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์โดยใช้กลอุบายและมี น. เบิกความสนับสนุนว่า พยานเคยถูก ธ. ขอทำสัญญาเช่ารถยนต์ของพยานโดยไม่มีเจตนาจะเช่ารถยนต์จริงเช่นกัน โดยในคืนเดียวกับวันทำสัญญาเช่า ธ. ได้ตัดสัญญาณติดตามรถยนต์ของพยานออกเพื่อไม่ให้สามารถติดตามรถยนต์ได้ เมื่อ ธ. ถูกจับกุมก็ยอมรับกับพยานว่าไม่มีเจตนาจะเช่ารถยนต์แต่ต้องการจะนำรถไปขายต่อ เห็นว่า พฤติการณ์ของ ธ. ที่ขอเช่ารถยนต์จากบุคคลหลายคนซึ่งได้ความจากคำเบิกความของ น. และคำให้การชั้นสอบสวนของโจทก์ว่า เมื่อได้ครอบครองรถยนต์แล้ว ธ. ลักรถยนต์ไปขายต่อ สอดคล้องกับคำเบิกความของ ธ. เองที่เบิกความเป็นพยานโจทก์ว่า พยานทำทีเป็นเช่ารถยนต์จากฝ่ายโจทก์โดยมีเจตนาแต่ต้นที่จะลักรถยนต์ แสดงให้เห็นว่า ธ. มิได้มีเจตนาเช่ารถยนต์พิพาทไปจากโจทก์เพื่อใช้สอย หากแต่มีเจตนามาแต่ต้นที่จะลักรถยนต์ไปจากโจทก์ การติดต่อขอเช่ารถยนต์เป็นเพียงวิธีการหรือกลอุบายเพื่อให้ได้ทรัพย์นั้นไปโดยทุจริต ที่จำเลยให้การและนำสืบหักล้างว่าโจทก์เคยไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนว่า ธ. กระทำความผิดฐานยักยอกทรัพย์ กรณีจึงไม่ใช่ ธ. กระทำความผิดฐานลักทรัพย์โดยใช้กลอุบายนั้น เห็นว่า การแจ้งความเป็นเพียงการร้องทุกข์กล่าวหาในเบื้องต้น ส่วนการกระทำของ ธ. จะเป็นการกระทำความผิดฐานใดต้องดูจากข้อเท็จจริงที่ได้จากการสอบสวนและคำพิพากษาของศาลซึ่งจะมีต่อไป ทั้งข้อเท็จจริงปรากฏว่าแม้โจทก์ได้แจ้งความในเบื้องต้นให้ดำเนินคดีแก่ ธ. ในความผิดฐานยักยอกทรัพย์ แต่ต่อมาได้ให้การต่อพนักงานสอบสวนว่าพฤติการณ์ของ ธ. เป็นลักษณะลักทรัพย์โดยใช้กลอุบาย ข้อนำสืบของจำเลยในส่วนนี้ไม่อาจหักล้างพยานโจทก์ได้ พยานหลักฐานของโจทก์ดังกล่าวมาจึงมีน้ำหนักดีกว่าพยานหลักฐานของจำเลย ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ธ. ไม่มีเจตนาเช่ารถยนต์พิพาทจากโจทก์ แต่มีเจตนาลักเอารถยนต์นั้นมาแต่ต้น การที่ ธ. ได้รถยนต์ไปอยู่ในความครอบครองจึงมิใช่การครอบครองตามสัญญาเช่า ดังนั้นที่ ธ. นำรถยนต์ดังกล่าวหลบหนีไปจึงไม่เป็นกรณีรถยนต์สูญหายอันเกิดขึ้นโดยบุคคลซึ่งครอบครองรถยนต์ตามสัญญาเช่า กรณีไม่เข้าข้อยกเว้นตามเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยที่จำเลยไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ตามข้อ 5.1 ดังกล่าวข้างต้น จำเลยจึงต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามจำนวนทุนประกันภัยที่ระบุไว้พร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2821/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประกันวินาศภัย: ความรับผิดของผู้รับประกันภัยต่อความสูญหายจากฉ้อโกง และสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากค่าสินไหมทดแทน
สัญญาประกันวินาศภัยเป็นสัญญาที่ผู้รับประกันภัยตกลงใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือใช้เงินจำนวนหนึ่งให้ในกรณีวินาศภัยหากมีขึ้น หรือในเหตุอย่างอื่นในอนาคตดังที่ระบุในสัญญา และในการนี้บุคคลอีกคนหนึ่งตกลงจะส่งเงินซึ่งเรียกว่าเบี้ยประกันภัย ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 869 ได้ให้คำนิยาม วินาศภัย ว่า ให้หมายความรวมเอาความเสียหายอย่างใดๆ บรรดาซึ่งจะพึงประมาณเป็นเงินได้ ดังนี้ การที่โจทก์ชำระเบี้ยประกันภัยให้แก่จำเลยตามสัญญา จำเลยตกลงรับชำระเบี้ยประกันภัย จำเลยในฐานะผู้รับประกันภัยย่อมเป็นอันสัญญาว่าตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือใช้เงินจำนวนหนึ่งกรณีวินาศภัยหากเกิดขึ้นแก่รถยนต์ที่โจทก์เอาประกันภัย เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้นความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย แม้ตามกรมธรรม์ประกันภัย ข้อ 2 ในเรื่องการชดใช้ความเสียหายหรือสูญหายต่อรถยนต์ในข้อ 2.1 ในกรณีรถยนต์สูญหายจะมิได้กำหนดว่าในเรื่องรถยนต์สูญหายอันเกิดจากความผิดฐานฉ้อโกง ให้จำเลยต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนไว้ก็ตาม ก็เห็นว่าการรับประกันภัยเป็นความรับผิดชอบต่อความสูญหายหรือเสียหายจากวินาศภัยในกรณีต่างๆ อยู่แล้วซึ่งยากที่จะกำหนดให้ครบถ้วนทุกกรณีได้ เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้นที่ไม่ต้องรับผิดชอบ ซึ่งเงื่อนไขและความคุ้มครองตามกรมธรรม์ข้อ 5 ระบุว่า การประกันภัยนี้ไม่คุ้มครองความสูญหายอันเกิดจากการลักทรัพย์ หรือยักยอกทรัพย์ โดยบุคคลได้รับมอบหมายหรือครอบครองรถยนต์ตามสัญญาเช่าซื้อ หรือสัญญาจำนำ หรือโดยบุคคลที่ทำสัญญาดังกล่าวข้างต้น ที่จำเลยฎีกาว่ารถสูญหายเป็นผลมาจากการฉ้อโกง กรณีไม่เข้าข้อยกเว้นความรับผิดตามเงื่อนไขและความคุ้มครองกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าว เมื่อไม่เข้าข้อยกเว้นความรับผิด วินาศภัยอื่นที่เกิดขึ้นแม้มิได้กำหนดไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย อย่างเช่นความสูญหายของรถยนต์อันเกิดจากการฉ้อโกงดังที่จำเลยฎีกา จำเลยซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยก็หาพ้นจากความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยไม่ ฎีกาข้อนี้ของจำเลยฟังไม่ขึ้น
ตามเงื่อนไขและความคุ้มครองกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ หมวดเงื่อนไขทั่วไป ข้อ 4 ความรับผิดของบริษัทเมื่อมีการปฏิเสธการจ่ายค่าสินไหมทดแทน กำหนดว่า เมื่อมีการเรียกค่าสินไหมทดแทนต่อบริษัทและหากบริษัทปฏิเสธความรับผิดไม่ว่าด้วยเหตุใดก็ตามจนเป็นเหตุให้ผู้เอาประกันภัยหรือผู้เสียหายนำคดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาล หากศาลพิพากษาให้บริษัทแพ้คดี บริษัทจะต้องรับผิดต่อผู้เอาประกันภัยหรือผู้เสียหายนั้น โดยชดใช้ค่าเสียหายตามคำพิพากษาพร้อมดอกเบี้ยในฐานะลูกหนี้ผิดนัดในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันผิดนัด เห็นว่า ความรับผิดของผู้รับประกันภัยในกรณีที่ปฏิเสธการจ่ายค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวไม่ได้กำหนดเงื่อนไขว่าผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกและผู้เอาประกันภัยได้ชำระหนี้ให้แก่บุคคลภายนอกไปแล้วจึงจะมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยตามข้อสัญญานี้ดังที่จำเลยฎีกามา เมื่อข้อสัญญาดังกล่าวเป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าในกรณีผิดสัญญาอันมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับซึ่งศาลอาจลดลงได้ตามที่เห็นสมควร โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยของค่าเสียหายได้นับแต่วันผิดนัด มิใช่บังคับให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเกินกว่าความรับผิดของจำเลยดังที่จำเลยฎีกา ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัยว่าค่าเสียหายดังกล่าวเป็นหนี้เงินโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยในผล ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13383-13386/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อ, ประกันภัย, รถยนต์สูญหาย: ความรับผิดของผู้เช่าซื้อ, ผู้ค้ำประกัน และผู้รับประกันภัย
ผู้เช่ามีเจตนาทุจริตหลอกลวงจำเลยที่ 1 ให้ส่งมอบรถยนต์ให้ผู้เช่ามาตั้งแต่แรกด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จว่าผู้เช่าประกอบธุรกิจเกี่ยวกับขนส่งกับเป็นตัวแทนผู้นำเข้าและส่งออกสินค้า และมีความประสงค์จะเช่ารถยนต์จากจำเลยที่ 1 เพื่อนำไปใช้ในการประกอบธุรกิจ ทำให้จำเลยที่ 1 หลงเชื่อว่าเป็นความจริงจึงตกลงส่งมอบรถยนต์ 3 คัน ให้ผู้เช่า แต่ความจริงผู้เช่าไม่มีเจตนาที่จะเช่ารถยนต์แต่อย่างใด แม้จะชำระค่าเช่ามาบางส่วนแต่ก็เพื่อที่จะทำให้จำเลยที่ 1 หลงเชื่อและเพื่อฉ้อโกงรถยนต์คันต่อไปจากโจทก์เพิ่มอีกดังที่ได้ติดต่อไว้ จึงถือว่าไม่มีการเช่ารถยนต์ดังกล่าวกันจริง แม้ต่อมาจำเลยที่ 1 จะได้ดำเนินคดีอาญากับ ม. ผู้มีอำนาจกระทำการแทนผู้เช่าในเรื่องนี้ และศาลแขวงพระโขนงมีคำพิพากษาลงโทษ ม. ในความผิดฐานยักยอก โดยจำเลยที่ 1 เข้าเป็นโจทก์ร่วมก็ตาม แต่คดีนี้มิใช่คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาข้างต้น จึงไม่อยู่ในบังคับตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 ที่ต้องถือข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาดังกล่าว เมื่อพิจารณาจากข้อเท็จจริงตามพยานหลักฐานข้างต้นถือได้ว่าการกระทำของผู้เช่าเป็นความผิดฐานฉ้อโกง หาใช่ความผิดฐานยักยอกดังที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยมาไม่ เมื่อโจทก์ไม่สามารถติดตามรถยนต์ที่ให้เช่ากลับคืนมาได้ย่อมถือได้ว่ารถยนต์ที่ให้เช่าดังกล่าวได้สูญหายไปเนื่องจากถูกฉ้อโกงแล้ว และเมื่อสัญญาประกันวินาศภัยเป็นสัญญาที่ผู้รับประกันภัยตกลงใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือใช้เงินจำนวนหนึ่งให้ในกรณีวินาศภัยหากมีขึ้น หรือในเหตุอย่างอื่นในอนาคตดังที่ระบุในสัญญา และในการนี้บุคคลอีกคนหนึ่งตกลงจะส่งเงินซึ่งเรียกว่าเบี้ยประกันภัย ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 869 ได้ให้นิยามคำว่า วินาศภัย ว่า ให้หมายความรวมเอาความเสียหายอย่างใดๆ บรรดาซึ่งจะพึงประมาณเป็นเงินได้ ดังนี้ การที่จำเลยที่ 1 ผู้เอาประกันภัยชำระเบี้ยประกันภัยให้แก่จำเลยร่วมตามสัญญา จำเลยร่วมตกลงรับชำระเบี้ยประกันภัย จำเลยร่วมในฐานะผู้รับประกันภัยย่อมเป็นอันสัญญาว่าตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือใช้เงินจำนวนหนึ่งกรณีวินาศภัยหากเกิดขึ้นแก่รถยนต์ที่จำเลยที่ 1 เอาประกันภัย เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้นความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย ซึ่งตามเงื่อนไขและความคุ้มครองตามข้อ 5 ระบุว่าการประกันภัยนี้ไม่คุ้มครองความสูญหายอันเกิดจากการลักทรัพย์ หรือยักยอกทรัพย์ โดยบุคคลได้รับมอบหมายหรือครอบครองรถยนต์ตามสัญญาเช่า สัญญาเช่าซื้อ หรือสัญญาจำนำ หรือโดยบุคคลที่จะกระทำสัญญาดังกล่าวข้างต้น แต่คดีนี้ฟังได้ว่าการที่รถยนต์ทั้งสามคันสูญหายเป็นผลมาจากการฉ้อโกง กรณีจึงไม่เข้าข้อยกเว้นความรับผิดตามเงื่อนไขและความคุ้มครองกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าว แม้ข้อ 2 ในเรื่องการชดใช้ความเสียหายหรือสูญหายต่อรถยนต์ ในข้อ 2.1 ในกรณีรถยนต์สูญหายจะมิได้กำหนดว่าในเรื่องรถยนต์สูญหายอันเกิดจากความผิดฐานฉ้อโกง ให้จำเลยร่วมต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนไว้ก็ตาม ก็เห็นว่าการรับประกันภัยก็เป็นการรับผิดชอบต่อความสูญหายหรือเสียหายจากวินาศภัยในกรณีต่างๆ อยู่แล้วซึ่งยากที่จะกำหนดให้ครบถ้วนทุกกรณีได้ เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้นที่ไม่ต้องรับผิดชอบ เมื่อไม่เข้าข้อยกเว้นดังที่วินิจฉัยมาแล้ว วินาศภัยอื่นที่เกิดขึ้นแม้มิได้กำหนดไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย อย่างเช่นความสูญหายของรถยนต์ทั้งสามคันอันเกิดจากการฉ้อโกงคดีนี้ จำเลยร่วมซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยก็หาพ้นจากความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยไม่ จำเลยร่วมจึงมีหน้าที่ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเต็มจำนวนเงินเอาประกันภัย และตามเงื่อนไขและความคุ้มครองกรมธรรม์ประกันภัยข้อ 2 ซึ่งในเงื่อนไขข้อดังกล่าวยังระบุว่าให้จำเลยที่ 1 ผู้เอาประกันภัยต้องโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ให้จำเลยร่วมทันทีและให้ถือว่าการคุ้มครองรถรถยนต์นั้นสิ้นสุดลง ดังนั้น แม้ภายหลังจะได้ความว่าจำเลยที่ 1 จะได้ติดตามรถยนต์ที่สูญหายคืนมาได้ 1 คัน แต่จำเลยที่ 1 ก็มีหนังสือถึงจำเลยร่วมเรียกให้ใช้ค่าสินไหมทดแทนรถยนต์ที่สูญหายไปทั้งสามคัน และให้มารับซากรถยนต์ที่ติดตามได้คืนมาแล้ว อันเป็นการแสดงว่าจำเลยที่ 1 ได้ใช้สิทธิตามข้อ 2.1.2 ตามเงื่อนไขและความคุ้มครองกรมธรรม์ประกันภัยสละสิทธิไม่ขอรับรถยนต์คืน จำเลยร่วมจึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนในรถยนต์คันนี้ให้แก่จำเลยที่ 1 ด้วย
แม้รถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหายจะเป็นผลให้สัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ระงับไปนับแต่วันที่รถยนต์สูญหายตาม ป.พ.พ. มาตรา 567 แต่ปรากฏว่าสัญญาเช่าซื้อข้อ 6 และข้อ 6.2.3 ระบุความรับผิดของผู้เช่าซื้อในกรณีทรัพย์ที่เช่าซื้อสูญหายไว้ความว่า หากรถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหาย ถือว่าผู้เช่าซื้อบอกเลิกสัญญาทั้งหมด และโจทก์อาจยอมรับการบอกเลิกสัญญานั้นทันทีหรือเมื่อใดหลังจากนั้นก็ได้ และเมื่อสัญญาสิ้นสุดลงผู้เช่าซื้อต้องชำระค่าเสียหายต่างๆ แก่โจทก์ อันได้แก่ ค่าเสียหายที่คู่สัญญาตกลงกันให้คำนวณจากเงินงวดและดอกเบี้ยที่ค้าง ค่าโสหุ้ยและค่าใช้จ่ายทั้งหมดของโจทก์ในการค้นหา ยึดคืน ซ่อมแซม เก็บรักษา ทวงหนี้ ค่าเสียหายที่คู่สัญญาตกลงกันให้คำนวณจากเงินค่างวดทั้งหมดที่จะต้องชำระในระยะเวลาเช่าซื้อที่เหลือ ตลอดจนค่าเสียหายอื่นๆ ดังนี้ ย่อมถือว่าจำเลยที่ 1 ตกลงจะชำระค่าเสียหายให้แก่โจทก์ในกรณีนี้ไว้ด้วย จำเลยที่ 1 จึงต้องผูกพันรับผิดต่อโจทก์ตามข้อตกลงดังกล่าว แต่การกำหนดความรับผิดในการที่จำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ไว้ล่วงหน้าตามข้อตกลงเช่นว่านี้ มีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ ซึ่งศาลอาจพิจารณากำหนดเป็นจำนวนพอสมควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง ค่าเช่าซื้อที่จำเลยที่ 1 ชำระแต่ละงวดมิใช่เป็นการชำระราคารถแต่เพียงอย่างเดียว หากแต่ยังมีค่าธรรมเนียมเช่าซื้อและค่าภาษีมูลค่าเพิ่มรวมอยู่ด้วย เมื่อหักค่าธรรมเนียมเช่าซื้อและค่าภาษีมูลค่าเพิ่มดังกล่าวออกจากค่าเช่าซื้อที่ชำระไปแล้ว ที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ร่วมกันรับผิดต่อโจทก์เหมาะสมแล้ว
อนึ่ง คดีนี้ศาลรวมพิจารณาและพิพากษาคดีทั้งสี่สำนวนเข้าด้วยกัน มูลคดีมาจากรถยนต์พิพาท 3 คัน สำนวนแรกจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้เอาประกันภัยรถยนต์ ฟ้องจำเลยร่วมในฐานะผู้รับประกันภัยให้รับผิดตามสัญญาประกันภัยเนื่องจากรถยนต์สูญหาย ส่วนสำนวนที่สองถึงสำนวนที่สี่ โจทก์ในฐานะผู้ให้เช่าซื้อรถยนต์ข้างต้นฟ้องจำเลยทั้งสาม ในฐานะผู้เช่าซื้อและผู้ค้ำประกันให้รับผิดตามสัญญาเช่าซื้อ และศาลชั้นต้นได้มีหมายเรียกให้จำเลยร่วมเข้ามาเป็นจำเลยร่วมในคดีสำนวนที่สองถึงสำนวนที่สี่แล้ว ทำให้ในคดีสำนวนที่สองถึงสำนวนที่สี่นี้ ศาลมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยร่วมใช้ค่าเสียหายที่ต้องรับผิดตามสัญญาประกันภัยแก่โจทก์ในสำนวนที่สองถึงสำนวนที่สี่ได้ ดังนั้น เมื่อศาลได้วินิจฉัยในสำนวนแรกให้จำเลยร่วมรับผิดต่อจำเลยที่ 1 ที่มีต่อโจทก์ในสำนวนที่สองถึงสำนวนที่สี่ เพื่อประโยชน์ในการบังคับคดีจึงให้นำเงินที่จำเลยร่วมต้องชำระต่อจำเลยที่ 1 ในสำนวนแรกซึ่งมีจำนวนที่มากกว่าอยู่แล้ว มาชำระให้โจทก์ในนามของจำเลยทุกคนในสำนวนที่สองถึงสำนวนที่สี่ เหลืออยู่เท่าใดก็ให้จำเลยร่วมชำระแก่จำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยร่วมต้องชำระเงินให้จำเลยที่ 1 เป็นเงิน 3,450,000 บาท และจำเลยร่วมต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ชำระให้โจทก์เป็นเงิน 1,441,000 บาท เมื่อนำมาหักกลบกันตามที่วินิจฉัยมาข้างต้น จึงเหลือค่าสินไหมทดแทนที่จำเลยร่วมต้องชำระให้แก่จำเลยที่ 1 เป็นเงิน 2,009,000 บาท ส่วนจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ให้พ้นความรับผิดต่อโจทก์ไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1955/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดของตัวการจากความยินยอมของตัวแทน แม้มีระเบียบภายใน
จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์คันเกิดเหตุโดยได้รับความยินยอมจากส.เจ้าหน้าที่วิทยาลัยการปกครอง ซึ่งเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 แม้จำเลยที่ 2 จะมีระเบียบว่าด้วยการใช้ รถยนต์เป็นประการใดก็ตาม ก็ไม่อาจนำมาใช้ยันโจทก์ ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้ จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดในผลแห่ง ละเมิดนั้นด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 427 เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยได้ชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้ เอาประกันภัยที่จำเลยที่ 1 กระทำละเมิดแล้วจึงรับช่วงสิทธิ มาเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1944/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประกันภัย: เงื่อนไขการแจ้งความเสียหายเป็นสาระสำคัญสัญญา ผู้เอาประกันภัยต้องแจ้งภายในเวลา หากไม่แจ้งสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนอาจหมดไป
กรมธรรม์ประกันภัยที่กำหนดเงื่อนไขให้ผู้เอาประกันภัยต้องแจ้งให้ผู้รับประกันภัยทราบถึงการสูญหายหรือเสียหายในทันทีและภายใน 15 วัน นับแต่วันเกิดการสูญเสียหรือเสียหาย มิฉะนั้นผู้รับประกันภัยจะไม่รับพิจารณาชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ถือว่าเป็นข้อสาระสำคัญแห่งสัญญา แม้บริษัทผู้รับประกันภัยจำเลยจะไม่ยกเงื่อนไขเป็นข้อต่อสู้ในการเจรจาประนีประนอม แต่ก็หาได้ตัดสิทธิจำเลยที่จะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในชั้นศาลไม่ เมื่อโจทก์มีหนังสือแจ้งค่าเสียหายให้จำเลยทราบเพียงครั้งเดียว โดยค่าเสียหายก่อนหน้านั้นโจทก์มิได้แจ้งให้จำเลยทราบ กรณีจึงมิได้เป็นตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัย จำเลยมีสิทธิที่จะไม่รับพิจารณาชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในความเสียหายที่เกิดขึ้นในครั้งก่อน ๆ ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2639/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์: การยกเว้นความรับผิดเมื่อผู้ขับขี่ขาดต่ออายุใบอนุญาต แต่ความเสียหายมิใช่จากความประมาท
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพียงข้อเดียวว่า จำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ตามฟ้องหรือไม่ เพียงใด โดยกำหนดให้โจทก์นำสืบก่อน ก่อนสืบพยานโจทก์คู่ความแถลงรับข้อเท็จจริงว่าโจทก์ได้เอาประกันภัยรถยนต์พิพาทไว้แก่จำเลยตามกรมธรรม์ประกันภัยท้ายคำแถลงของจำเลย และผู้ขับรถที่เอาประกันภัยไม่ได้ต่ออายุใบอนุญาตขับรถยนต์เกินกว่า 180 วัน และขอให้วินิจฉัยชี้ขาดในปัญหาข้อกฎหมายว่า ตามข้อเท็จจริงดังกล่าวเข้าข้อยกเว้นตามกรมธรรม์ประกันภัยข้อ 1.10 และ 3.9.2 เป็นเหตุให้จำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่ โจทก์และจำเลยแถลงไม่สืบพยาน ศาลชั้นต้นจึงได้นัดฟังคำพิพากษา ดังนี้ กรณีจึงถือได้ว่า โจทก์และจำเลยได้สละข้อต่อสู้อื่น ๆ แล้ว ทั้งตามคำให้การของจำเลย จำเลยก็มิได้อ้างเหตุว่า ผู้ขับรถที่เอาประกันภัยไว้เป็นฝ่ายประมาท ดังนั้นข้อเท็จจริงที่ว่าผู้ขับรถที่เอาประกันภัยไว้ไม่ได้ขับรถโดยประมาทนั้น กรณีจึงเป็นไปตามคำฟ้องของโจทก์ การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์รับฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวนั้น จึงเป็นการชอบด้วยกระบวนพิจารณาแล้วและหาใช่เป็นการวินิจฉัยเกินไปหรือนอกเหนือจากคำฟ้องไม่ ตามตารางกรมธรรม์ ข้อ 1.10 มีข้อความว่า "บริษัทอาจจะไม่รับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์นี้ เว้นแต่ผู้เอาประกันภัยได้ปฏิบัติถูกต้องตามสัญญาประกันภัย และเงื่อนไขแห่งกรมธรรม์นี้"ซึ่งมีความหมายรวมถึงเงื่อนไขตามข้อกำหนดของสัญญาทุก ๆ ข้อและรวมถึง ข้อ 3.9 ตอนท้ายด้วย และข้อ 3.9.2 มีข้อความว่า"การขับขี่โดยบุคคลที่ไม่เคยได้รับใบอนุญาตขับรถยนต์ใด ๆ หรือเคยได้รับแต่ขาดต่ออายุเกิน 180 วัน ฯลฯ ในเวลาเกิดอุบัติเหตุ"และตอนท้ายของข้อ 3.9 มีข้อความว่า "การยกเว้นตามข้อ 3.9จะไม่นำมาใช้ในกรณีที่ความเสียหายต่อรถยนต์ที่เกิดขึ้นและมิใช่ความประมาทของผู้ขับขี่รถยนต์ที่เอาประกันภัยตามกรมธรรม์นี้"ดังนี้ เมื่อผู้ขับรถที่เอาประกันภัยไว้แม้จะขาดต่ออายุใบอนุญาตขับรถยนต์เกิน 180 แต่กรณีที่ความเสียหายต่อรถยนต์ที่เกิดขึ้นและมิใช่เป็นความประมาทของผู้ขับ จำเลยจึงต้องรับผิดตามสัญญาประกันภัยซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไขแห่งกรมธรรม์ ตามตารางกรมธรรม์ข้อ 1.10 ต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2639/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรมธรรม์ประกันภัย: การยกเว้นความรับผิดเมื่อผู้ขับขี่ใบอนุญาตหมดอายุ แต่ความเสียหายมิใช่จากความประมาท
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพียงข้อเดียวว่าจำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ตามฟ้องหรือไม่เพียงใดโดยกำหนดให้โจทก์นำสืบก่อนก่อนสืบพยานโจทก์คู่ความแถลงรับข้อเท็จจริงว่าโจทก์ได้เอาประกันภัยรถยนต์พิพาทไว้แก่จำเลยตามกรมธรรม์ประกันภัยท้ายคำแถลงของจำเลยและผู้ขับรถที่เอาประกันภัยไม่ได้ต่ออายุใบอนุญาตขับรถยนต์เกินกว่า180วันและขอให้วินิจฉัยชี้ขาดในปัญหาข้อกฎหมายว่าตามข้อเท็จจริงดังกล่าวเข้าข้อยกเว้นตามกรมธรรม์ประกันภัยข้อ1.10และ3.9.2เป็นเหตุให้จำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่โจทก์และจำเลยแถลงไม่สืบพยานศาลชั้นต้นจึงได้นัดฟังคำพิพากษาดังนี้กรณีจึงถือได้ว่าโจทก์และจำเลยได้สละข้อต่อสู้อื่นๆแล้วทั้งตามคำให้การของจำเลยจำเลยก็มิได้อ้างเหตุว่าผู้ขับรถที่เอาประกันภัยไว้เป็นฝ่ายประมาทดังนั้นข้อเท็จจริงที่ว่าผู้ขับรถที่เอาประกันภัยไว้ไม่ได้ขับรถโดยประมาทนั้นกรณีจึงเป็นไปตามคำฟ้องของโจทก์การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์รับฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวนั้นจึงเป็นการชอบด้วยกระบวนพิจารณาแล้วและหาใช่เป็นการวินิจฉัยเกินไปหรือนอกเหนือจากคำฟ้องไม่ ตามตารางกรมธรรม์ข้อ1.10มีข้อความว่า"บริษัทอาจจะไม่รับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์นี้เว้นแต่ผู้เอาประกันภัยได้ปฏิบัติถูกต้องตามสัญญาประกันภัยและเงื่อนไขแห่งกรมธรรม์นี้"ซึ่งมีความหมายรวมถึงเงื่อนไขตามข้อกำหนดของสัญญาทุกๆข้อและรวมถึงข้อ3.9ตอนท้ายด้วยและข้อ3.9.2มีข้อความว่า"การขับขี่โดยบุคคลที่ไม่เคยได้รับใบอนุญาตขับรถยนต์ใดๆหรือเคยได้รับแต่ขาดต่ออายุเกิน180วันฯลฯในเวลาเกิดอุบัติเหตุ"และตอนท้ายของข้อ3.9มีข้อความว่า"การยกเว้นตามข้อ3.9จะไม่นำมาใช้ในกรณีที่ความเสียหายต่อรถยนต์ที่เกิดขึ้นและมิใช่ความประมาทของผู้ขับขี่รถยนต์ที่เอาประกันภัยตามกรมธรรม์นี้"ดังนี้เมื่อผู้ขับรถที่เอาประกันภัยไว้แม้จะขาดต่ออายุใบอนุญาตขับรถยนต์เกิน180แต่กรณีที่ความเสียหายต่อรถยนต์ที่เกิดขึ้นและมิใช่เป็นความประมาทของผู้ขับจำเลยจึงต้องรับผิดตามสัญญาประกันภัยซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไขแห่งกรมธรรม์ตามตารางกรมธรรม์ข้อ1.10ต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2639/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกเว้นความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย กรณีผู้ขับขี่ขาดต่ออายุใบอนุญาต แต่ความเสียหายมิใช่เกิดจากความประมาท
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพียงข้อเดียวว่า จำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ตามฟ้องหรือไม่ เพียงใด โดยกำหนดให้โจทก์นำสืบก่อน ก่อนสืบพยานโจทก์คู่ความแถลงรับข้อเท็จจริงว่า โจทก์ได้เอาประกันภัยรถยนต์พิพาทไว้แก่จำเลยตามกรมธรรม์ประกันภัยท้ายคำแถลงของจำเลย และผู้ขับรถที่เอาประกันภัยไม่ได้ต่ออายุใบอนุญาตขับรถยนต์เกินกว่า 180 วัน และขอให้วินิจฉัยชี้ขาดในปัญหาข้อกฎหมายว่า ตามข้อเท็จจริงดังกล่าวเข้าข้อยกเว้นตามกรมธรรม์ประกันภัยข้อ 1.10 และ 3.9.2 เป็นเหตุให้จำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่ โจทก์และจำเลยแถลงไม่สืบพยาน ศาลชั้นต้นจึงได้นัดฟังคำพิพากษา ดังนี้ กรณีจึงถือได้ว่าโจทก์และจำเลยได้สละข้อต่อสู้อื่น ๆ แล้ว ทั้งตามคำให้การของจำเลย จำเลยก็มิได้อ้างเหตุว่า ผู้ขับรถที่เอาประกันภัยไว้เป็นฝ่ายประมาท ดังนั้น ข้อเท็จจริงที่ว่าผู้ขับรถที่เอาประกันภัยไว้ไม่ได้ขับรถโดยประมาทนั้น กรณีจึงเป็นไปตามคำฟ้องของโจทก์ การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์รับฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวนั้น จึงเป็นการชอบด้วยกระบวนพิจารณาแล้ว และหาใช่เป็นการวินิจฉัยเกินไปหรือนอกเหนือจากคำฟ้องไม่
ตามตารางกรมธรรม์ ข้อ 1.10 มีข้อความว่า "บริษัทอาจจะไม่รับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์นี้ เว้นแต่ผู้เอาประกันภัยได้ปฏิบัติถูกต้องตามสัญญาประกันภัย และเงื่อนไขแห่งกรมธรรม์นี้" ซึ่งมีความหมายรวมถึงเงื่อนไขตามข้อกำหนดของสัญญาทุก ๆ ข้อ และรวมถึง ข้อ 3.9 ตอนท้ายด้วย และข้อ3.9.2 มีข้อความว่า "การขับขี่โดยบุคคลที่ไม่เคยได้รับใบอนุญาตขับรถยนต์ใด ๆหรือเคยได้รับแต่ขาดต่ออายุเกิน 180 วัน ฯลฯ ในเวลาเกิดอุบัติเหตุ" และตอนท้ายของข้อ 3.9 มีข้อความว่า "การยกเว้นตามข้อ 3.9 จะไม่นำมาใช้ในกรณีที่ความเสียหายต่อรถยนต์ที่เกิดขึ้นและมิใช่ความประมาทของผู้ขับขี่รถยนต์ที่เอาประกันภัยตามกรมธรรม์นี้" ดังนี้ เมื่อผู้ขับรถที่เอาประกันภัยไว้แม้จะขาดต่ออายุใบอนุญาตขับรถยนต์เกิน 180 วัน แต่กรณีที่ความเสียหายต่อรถยนต์ที่เกิดขึ้นและมิใช่เป็นความประมาทของผู้ขับ จำเลยจึงต้องรับผิดตามสัญญาประกันภัยซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไขแห่งกรมธรรม์ ตามตารางกรมธรรม์ ข้อ 1.10 ต่อโจทก์
of 5