คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 177 วรรคสอง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 487 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2863/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายทรัพย์ที่ขายฝากโดยไม่ตรวจสอบสภาพทรัพย์และราคาประเมิน ทำให้ข้อตกลงซื้อขายมีพิรุธ และการเรียกร้องค่าเสียหายจากพฤติการณ์พิเศษที่ไม่ชัดเจน
การที่โจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายทรัพย์ที่จำเลยขายฝากให้กับโจทก์ ภายหลังจากที่ครบกำหนดไถ่ทรัพย์ที่ขายฝากแล้วแก่นายส. โดยนายส. ผู้จะซื้อมิได้เข้าไปตรวจดูภายในตัวทรัพย์ที่จะซื้อ ไม่เคยตรวจดูหลักฐานทางโฉนดที่ดินทั้งก่อนและหลังทำสัญญา ทั้งที่ทรัพย์ที่ตกลงจะซื้อมีราคาสูง และเป็นการตกลงซื้อโดยไม่ทราบว่าบ้านและที่ดินมีราคาประเมินเท่าใด ทั้งตามหนังสือบอกกล่าวที่โจทก์มีไปถึงจำเลยแจ้งแต่เพียงว่า โจทก์มีความผูกพันที่จะต้องส่งมอบอสังหาริมทรัพย์ให้แก่คู่สัญญาของโจทก์ภายในวันที่ 20 เมษายน 2540 เท่านั้น มิได้แจ้งรายละเอียดให้ชัดเจนว่าโจทก์มีความผูกพันต้องส่งมอบอสังหาริมทรัพย์อะไร และถ้าหากผิดสัญญาจะต้องถูกปรับเป็นเงินจำนวนเท่าใด จำเลยจึงไม่ต้องใช้ค่าเสียหายจำนวน 500,000 บาท อันเกิดจากพฤติการณ์พิเศษแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1960/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อเลิกกันแล้ว ผู้เช่าซื้อต้องส่งคืนทรัพย์สินและชดใช้ค่าเสียหายจากการครอบครองใช้ประโยชน์
จำเลยที่ 1 มิได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้ว่า โจทก์ไม่ได้บอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อภายในกำหนดเวลาก่อน สัญญาเช่าซื้อยังไม่เลิกกัน ฎีกาของจำเลยที่ 1 ที่มิได้ให้การต่อสู้ไว้ดังกล่าวจึงไม่เป็นประเด็นแห่งคดีที่จะรับวินิจฉัย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกัน มีผลให้คู่สัญญาแต่ละฝ่ายได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม แต่ไม่มีผลกระทบกระทั่งถึงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายแก่กันตาม ป.พ.พ.มาตรา 391 , 392 และ 369 ดังนั้นจำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนแก่โจทก์ เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ส่งมอบโดยยังคงครอบครองใช้ประโยชน์ตลอดมา โจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายและค่าขาดประโยชน์ได้ อย่างไรก็ตาม โจทก์รับมาในคำแก้อุทธรณ์ ซึ่งศาลชั้นต้นรับไว้เป็นคำแถลงการณ์ว่า จำเลยที่ 1 นำเงินค่าเช่าซื้อไปชำระให้แก่โจทก์อีกบางส่วน ดังนั้น จึงต้องนำเงินจำนวนดังกล่าวมาหักออกจากจำนวนเงินค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 ต้องพึงชดใช้ให้แก่โจทก์ด้วย และค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 ต้องชดใช้ให้แก่โจทก์เป็นมูลหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกชำระหนี้กันได้ระหว่างจำเลยที่ 1 ผู้เช่าซื้อกับจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกัน จึงให้คำพิพากษามีผลไปถึงจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกัน ซึ่งต้องรับผิดเป็นลูกหนี้ร่วมที่มิได้ฎีกาด้วยตาม ป.วิ.พ.มาตรา 245 (1) ประกอบมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1960/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อเลิกสัญญา ค่าเสียหายจากการไม่คืนรถ และความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
จำเลยที่ 1 มิได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้ว่า โจทก์ไม่ได้บอกกล่าวให้จำเลยที่ 1ชำระค่าเช่าซื้อภายในกำหนดเวลาก่อน สัญญาเช่าซื้อยังไม่เลิกกัน ฎีกาของจำเลยที่ 1 ที่มิได้ให้การต่อสู้ไว้ดังกล่าวจึงไม่เป็นประเด็นแห่งคดีที่จะรับวินิจฉัย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกัน มีผลให้คู่สัญญาแต่ละฝ่ายได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม แต่ไม่มีผลกระทบกระทั่งถึงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายแก่กันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391,392 และ 369 ดังนั้น จำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนแก่โจทก์ เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ส่งมอบโดยยังครอบครองใช้ประโยชน์ตลอดมา โจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายและค่าขาดประโยชน์ได้ อย่างไรก็ตามโจทก์รับมาในคำแก้อุทธรณ์ ซึ่งศาลชั้นต้นรับไว้เป็นคำแถลงการณ์ว่า จำเลยที่ 1 นำเงินค่าเช่าซื้อไปชำระให้แก่โจทก์อีกบางส่วน ดังนั้น จึงต้องนำเงินจำนวนดังกล่าวมาหักออกจากจำนวนเงินค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 ต้องพึงชดใช้ให้แก่โจทก์ด้วย และค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 ต้องชดใช้ให้แก่โจทก์เป็นมูลหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกชำระหนี้กันได้ระหว่างจำเลยที่ 1 ผู้เช่าซื้อกับจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกัน จึงให้คำพิพากษามีผลไปถึงจำเลยที่ 2ผู้ค้ำประกัน ซึ่งต้องรับผิดเป็นลูกหนี้ร่วมที่มิได้ฎีกาด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1) ประกอบมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9523/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดลิขสิทธิ์โปรแกรมคอมพิวเตอร์ การกำหนดค่าเสียหายจากละเมิด และการเริ่มนับระยะเวลาการเรียกร้องค่าเสียหาย
โจทก์บรรยายฟ้องยืนยันว่าโจทก์เป็นผู้สร้างสรรค์โปรแกรมคอมพิวเตอร์พิพาทนำไปติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์ IBMA/S400 ของจำเลย ซึ่งจำเลยมิได้ให้การปฏิเสธโดยชัดแจ้งว่าโจทก์มิใช่ผู้สร้างสรรค์โปรแกรมคอมพิวเตอร์พิพาทตามคำฟ้องโดยจำเลยคงให้การเพียงว่าโจทก์ไม่ใช่ผู้มีสิทธิในโปรแกรมคอมพิวเตอร์พิพาท หากลิขสิทธิ์ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ดังกล่าวเป็นของโจทก์จำเลยก็มิได้ละเมิดลิขสิทธิ์ต่อโจทก์เพราะจำเลยได้นำโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้นไปใช้งานอันเป็นธุรกิจปกติของจำเลยตามที่เป็นวัตถุประสงค์แห่งการจ้างแรงงานที่จำเลยได้จ้างโจทก์ ดังนี้ ตามคำฟ้องและคำให้การของจำเลยดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยรับว่าโจทก์เป็นผู้สร้างสรรค์โปรแกรมคอมพิวเตอร์ตามคำฟ้อง จึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทที่ว่าโจทก์เป็นผู้สร้างสรรค์โปรแกรมคอมพิวเตอร์พิพาทหรือไม่ข้อเท็จจริงในคดีจึงต้องรับฟังเป็นยุติว่าโจทก์เป็นผู้สร้างสรรค์โปรแกรมคอมพิวเตอร์พิพาท เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้มีสัญชาติไทยเป็นผู้สร้างสรรค์โปรแกรมคอมพิวเตอร์พิพาทแล้วโจทก์ย่อมเป็นผู้มีลิขสิทธิ์ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ตนได้สร้างสรรค์ขึ้นตามมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ
แม้โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยและโจทก์สร้างสรรค์โปรแกรมคอมพิวเตอร์พิพาทเพื่อใช้ในกิจการของจำเลยในฐานะที่โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยก็ตาม แต่ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 9 ก็เป็นการยืนยันอยู่ว่างานโปรแกรมคอมพิวเตอร์พิพาทที่โจทก์สร้างสรรค์ขึ้นมาติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์ของจำเลยเพื่อใช้ในกิจการของจำเลยนั้นยังเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์อยู่ เว้นแต่โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างและจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างจะได้ทำหนังสือตกลงกันไว้ให้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์พิพาทที่โจทก์สร้างสรรค์ขึ้นมานั้นตกเป็นลิขสิทธิ์ของจำเลย ซึ่งไม่ปรากฏว่าโจทก์และจำเลยได้ทำหนังสือตกลงกันไว้ดังกล่าว จึงรับฟังได้ว่าโจทก์เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานโปรแกรมคอมพิวเตอร์พิพาท
ระหว่างที่โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยนั้น โจทก์อนุญาตให้จำเลยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ของโจทก์ในกิจการของจำเลย โดยปรากฏว่าโจทก์ไม่ได้คิดค่าตอบแทนในการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์นี้จากจำเลย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าโจทก์เอื้อเฟื้อให้จำเลยใช้ประโยชน์จากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของโจทก์ดังกล่าวเนื่องจากโจทก์เป็นลูกจ้างจำเลย แต่ต่อมาเมื่อโจทก์ออกจากการเป็นลูกจ้างจำเลยและไม่ประสงค์จะอนุญาตให้จำเลยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ดังกล่าวต่อไป โจทก์ก็ย่อมมีสิทธิทวงถามให้จำเลยคืนโปรแกรมคอมพิวเตอร์พิพาทแก่โจทก์ได้ แต่จำเลยไม่ยอมคืนให้และยังใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ของโจทก์ต่อไปอันมีลักษณะเป็นการใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินของโจทก์โดยมิชอบ ย่อมทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย กรณีถือได้ว่าจำเลยได้ทำละเมิดต่อโจทก์ และศาลมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายตามพฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 438
การที่โจทก์ติดตั้งโปรแกรมคอมพิวเตอร์พิพาทในเครื่องคอมพิวเตอร์IBMA/S400 ของจำเลยเพื่อใช้ในกิจการของจำเลยนั้น ย่อมถือได้ว่าโจทก์ยอมให้จำเลยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์พิพาทของโจทก์ แม้โจทก์ได้ลาออกจากการเป็นลูกจ้างหรือพนักงานของบริษัทจำเลยตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2540 ก็ตามแต่จนกระทั่งวันที่ 30 พฤศจิกายน 2542 โจทก์โดยทนายความของโจทก์จึงมีหนังสือแจ้งจำเลยให้ระงับการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์พิพาทและให้คืนโปรแกรมคอมพิวเตอร์แก่โจทก์ภายในวันที่ 8 ธันวาคม 2542 เมื่อถึงกำหนดจำเลยไม่ยอมคืนให้โจทก์ ก็ต้องถือว่าจำเลยได้กระทำละเมิดต่อโจทก์เริ่มตั้งแต่วันที่ 9 ธันวาคม 2542ซึ่งเป็นวันที่โจทก์จะมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยเป็นต้นไปมิใช่จำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2540 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์ลาออกจากการเป็นลูกจ้างบริษัทจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8404/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำให้การขัดแย้งกันเองไม่ก่อให้เกิดประเด็นใหม่ ศาลไม่วินิจฉัยได้
โจทก์ฟ้องว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์โดยซื้อมาจากจำเลยและบุตรจำเลย จำเลยให้การต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยและบุตร จำเลยและบุตรไม่เคยขายที่ดินพิพาทให้โจทก์ แต่ตอนหลังจำเลยกลับให้การว่าที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ขัดกับคำให้การในตอนแรก จึงเป็นคำให้การที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง ไม่ก่อให้เป็นประเด็นเรื่องที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7300/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม ศาลเพิกถอนกระบวนพิจารณาได้
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ในฐานะตัวแทนของจำเลยที่ 2 ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ตามคำสั่งของจำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 1 พิมพ์ข้อความในหนังสือขอเลิกจ้างการเป็นครูใส่ความโจทก์ และปิดประกาศโฆษณาแก่บุคคลทั่วไป ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ จำเลยทั้งสองให้การว่า ข้อความตามเอกสารที่จำเลยที่ 1 จัดทำขึ้นเป็นความจริง และฟ้องแย้งว่าโจทก์นำเอาข้อความในเอกสารดังกล่าวมาฟ้องจำเลยทั้งสองหลายคดี ทั้งคดีอาญา คดีแรงงานและคดีแพ่ง เป็นการฟ้องคดีโดยไม่สุจริตเพื่อให้จำเลยทั้งสองต้องเสื่อมเสียชื่อเสียง ทำให้จำเลยทั้งสองได้รับความเสียหาย ขอให้ชดใช้ค่าเสียหาย เป็นการฟ้องแย้งที่อาศัยเหตุในการฟ้องแตกต่างกับคำฟ้องเดิม จึงเป็นเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม ไม่อาจรวมพิจารณาชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาอันมีผลเท่ากับไม่รับฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสอง จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6528-6531/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดสิทธิอุทธรณ์-ฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อทุนทรัพย์ไม่เกิน 50,000 บาท และประเด็นใหม่ในชั้นอุทธรณ์
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 บุกรุกเข้าไปในที่ดินตามโฉนดที่ดินของโจทก์และปลูกบ้านอยู่อาศัย ขอให้บังคับขับไล่จำเลยทั้งสี่ออกไปจากที่ดินของโจทก์ จำเลยทั้งสี่ให้การกล่าวแก้ข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ว่าที่ดิน ที่ปลูกบ้านของจำเลยแต่ละคนเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยแต่ละคนโดยการครอบครองปรปักษ์ คดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 จึงมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันตามราคาที่ดินที่จำเลยแต่ละคนบุกรุกเข้าไปสร้างบ้านแยกต่างหากจากกันตามที่จำเลยแต่ละคนโต้แย้งสิทธิของโจทก์ เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้จำเลยทั้งสี่ขนย้ายบ้านเรือน ทรัพย์สิน และบริวารออกไปจากที่ดินของโจทก์ และให้ชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์จำนวนเดือนละ 300 บาท นับตั้งแต่วันถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะขนย้ายดังกล่าวเสร็จสิ้น จำเลยทั้งสี่ฎีกาขอให้ยกฟ้อง เมื่อทุนทรัพย์ตามฎีกาของจำเลยแต่ละคนแต่ละสำนวนที่พิพาทกันในชั้นฎีกามีจำนวนไม่เกินจำนวน 200,000 บาท แม้จำเลยทั้งสี่จะได้รับอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นฎีกา ก็ห้ามมิให้จำเลยแต่ละคนฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์ตามอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 มีจำนวนเพียง 44,000 บาท ไม่เกินจำนวน 50,000 บาท ห้ามมิให้จำเลยที่ 3 อุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง แต่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่3 ในข้อเท็จจริง เมื่อจำเลยที่ 3 ฎีกาในข้อเท็จจริงโต้เถียงการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์จึงเป็นฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249
จำเลยทั้งสี่ฎีกาในข้อกฎหมายว่า จำเลยทั้งสี่ให้การโดยชัดแจ้งแล้วว่า โจทก์รับโอนที่ดินพิพาทมาโดยไม่สุจริต ไม่จำต้องบรรยายรายละเอียดในคำให้การเพราะจำเลยทั้งสี่สามารถสืบเหตุแห่งการได้มาโดยไม่สุจริตของโจทก์ในชั้นพิจารณาได้ คำให้การของจำเลยทั้งสี่ชอบด้วย ป.พ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง แล้ว ดังนี้ เมื่อศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยทั้งสี่ครอบครองที่ดินในส่วนพิพาทมายังไม่ถึง 10 ปี จำเลยทั้งสี่ยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนดังกล่าวตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 และจำเลยทั้งสี่ไม่อาจฎีกาโต้แย้งการฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวของศาลอุทธรณ์ได้ แม้จะวินิจฉัยฎีกาในข้อกฎหมายของจำเลยทั้งสี่ข้อนี้ให้ ก็ไม่มีผลทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไป เพราะเมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามที่ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยมาว่าจำเลยทั้งสี่ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนที่พิพาทและศาลฎีกาจำต้องฟังข้อเท็จจริงในข้อดังกล่าวตามที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยมา แม้จะวินิจฉัยว่าโจทก์ได้รับโอนที่ดินดังกล่าวมาโดยไม่สุจริต ก็ไม่มีผลทำให้จำเลยทั้งสี่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าว ฎีกาข้อกฎหมายของจำเลยทั้งสี่ดังกล่าวจึงเป็นฎีกาในข้อที่ไม่เป็นสาระอันควรได้รับการวินิจฉัย ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
นอกจากจำเลยทั้งสี่ไม่ได้ให้การว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินสาธารณะแล้วจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ยังระบุไว้ในแผนผังท้ายคำให้การว่าที่ดินพิพาทอยู่ในแนวเขตที่ดินตามโฉนดที่ดินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ จำเลยทั้งสี่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 เท่ากับจำเลยทั้งสี่ยอมรับว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ที่ดินสาธารณะ เพราะถ้าที่ดินส่วนที่พิพาทเป็นที่สาธารณะจำเลยทั้งสี่จะอ้างว่าได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองไม่ได้ เพราะจำเลย ทั้งสี่ไม่อาจยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับแผ่นดินในเรื่องทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1306 ประกอบกับทนายจำเลยทั้งสี่แถลงรับว่า บ้านของจำเลยทั้งสี่อยู่ในเขตที่ดินของโจทก์จริง และเจ้าหน้าที่ได้ทำแผนที่วิวาทและคำนวณเนื้อที่และตำแหน่งที่ตั้งบ้านถูกต้องตามที่โจทก์และจำเลยทั้งสี่นำชี้จริง เช่นนี้ คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินสาธารณะหรือไม่ ที่จำเลยทั้งสี่ยกประเด็นนี้ขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ที่ไม่ได้ ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
คดีทั้งสี่สำนวนมีทุนทรัพย์พิพาทกันในแต่ละสำนวนแยกต่างหากจากกันได้ ค่าทนายความที่ศาลชั้นต้นกำหนดแต่ละสำนวนเกินกว่าอัตราขั้นสูง ตามตาราง 6 อัตราค่าทนายความท้าย ป.วิ.พ. จึงไม่ชอบ แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาในปัญหาดังกล่าว แต่ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็น สมควรแก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5815/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยรับข้อเท็จจริงดอกเบี้ยค้างชำระตามคำฟ้อง ทำให้ไม่ต้องวินิจฉัยเรื่องเอกสารปลอม
โจทก์บรรยายฟ้องระบุว่า จำเลยมีหน้าที่จะต้องชำระให้แก่โจทก์คิดเป็นดอกเบี้ยจำนวน 541,563.65 บาท จำเลยมิได้ให้การต่อสู้หรือปฏิเสธคำฟ้องของโจทก์เกี่ยวกับจำนวนดอกเบี้ยที่ค้างชำระดังกล่าว ถือว่าจำเลยรับข้อเท็จจริงในส่วนนี้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง ข้อเท็จจริงต้องฟังตามคำฟ้องว่าจำเลยค้างชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์จำนวน 541,563.65 บาท โดยไม่ต้องสืบพยาน เมื่อบัญชีเงินกู้เอกสารที่โจทก์นำสืบเป็นพยานหลักฐานเกี่ยวกับจำนวนดอกเบี้ยที่จำเลยค้างชำระ กรณีจึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่าบัญชีเงินกู้เป็นเอกสารที่รับฟังไม่ได้เพราะเป็นเอกสารปลอมและเป็นสำเนาไม่ถูกต้องหรือไม่ แม้ศาลล่างทั้งสองจะได้หยิบยกขึ้นวินิจฉัยให้ ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยไม่ชอบในศาลล่างทั้งสองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5332/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินพิพาท: การซื้อจากผู้ไม่มีอำนาจ & คำให้การขัดแย้ง
โจทก์ฟ้องและให้การแก้ฟ้องแย้งตอนแรกว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทโดยซื้อมาจาก ป. จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่าจำเลยเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทโดยรับมรดกจาก ส. คดีคงมีประเด็นพิพาทเพียงว่าโจทก์หรือจำเลยเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทไม่มีประเด็นข้อพิพาทเรื่องแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 เพราะการแย่งการครอบครองจะเกิดมีขึ้นได้ก็แต่ในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น แม้โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งตอนหลังว่าจำเลยเพิ่งโต้แย้งคัดค้านสิทธิครอบครองของโจทก์เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลา 1 ปี สิทธิของจำเลยจึงต้องห้ามตามมาตรา 1375 วรรคสอง ก็เป็นคำให้การแก้ฟ้องแย้งที่ขัดกับคำฟ้องของโจทก์และเป็นคำให้การแก้ฟ้องแย้งไม่ชัดแจ้งและขัดแย้งกันเองไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสองคดีจึงไม่อาจมีประเด็นข้อพิพาทเรื่องแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2847/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยนอกประเด็น: ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยประเด็นความประมาท ทั้งที่จำเลยไม่ได้ต่อสู้ ศาลฎีกายกคำพิพากษา
ตามคำฟ้องและคำให้การ ประเด็นข้อพิพาทมีเพียงประการเดียวว่าจำเลยทั้งสามเป็นนายจ้าง ตัวการ ผู้ใช้ หรือ ผู้ว่าจ้างวาน ส.หรือไม่ ส่วนประเด็นที่ว่าความประมาทเกิดจาก ส.ตามที่โจทก์ฟ้องหรือไม่ จำเลยทั้งสามไม่ได้ให้การ ต่อสู้ไว้ ต้องฟังว่า ส. เป็นฝ่ายประมาทและเป็นข้อเท็จจริงที่ยุติไปแล้วตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง ประกอบกับ มาตรา 84 (1) การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกประเด็นเรื่องนี้ขึ้นมาวินิจฉัยอีก เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 246
of 49