คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 177 วรรคสอง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 487 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 210/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งเกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิม สัญญาซื้อขายเสาเข็ม การตอกเสาเข็มผิดพลาด และการชำระค่าเสียหาย
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระราคาค่าเสาเข็มที่จำเลยสั่งซื้อจากโจทก์รวม2ขนาดจำนวน14ต้นจำเลยให้การและฟ้องแย้งว่าจำเลยสั่งซื้อเสาเข็มจากโจทก์อีกจำนวนหนึ่งซึ่งมิใช่เสาเข็มที่โจทก์ฟ้องพร้อมกับจ้างโจทก์ตอกเสาเข็มที่จำเลยสั่งซื้อจากโจทก์นั้นด้วยแต่โจทก์ตอกเสาเข็มที่จำเลยสั่งซื้อดังกล่าวผิดตำแหน่งที่กำหนดไป10ต้นเป็นเพราะความผิดของโจทก์โจทก์และจำเลยจึงตกลงกันให้จำเลยสั่งเสาเข็มมาตอกให้ใหม่โดยไม่ต้องชำระราคาและค่าตอกเสาเข็มอีกเสาเข็มจำนวน10ต้นที่โจทก์กล่าวในคำฟ้องเป็นเสาที่ส่งมาทดแทนการตอกผิดพลาดของโจทก์รวมกับที่จำเลยสั่งมาใหม่อีก4ต้นจำเลยชำระค่าเสาเข็มและค่าตอกไปเกินกว่าราคาที่จำเลยต้องชำระแก่โจทก์และเสาเข็มที่โจทก์ตอกนั้นหักและเอียงจากแนวตั้งฉาก29ต้นจำเลยแจ้งให้โจทก์แก้ไขแต่โจทก์เพิกเฉยจำเลยจึงต้องจ้างให้ผู้อื่นมาดำเนินการต้องเสียค่าใช้จ่ายรวมทั้งเสาเข็มที่จำเลยสั่งซื้อใหม่4ต้นโจทก์ก็ไม่ยอมยกลงจากรถยนต์บรรทุกเพื่อส่งมอบตามสัญญาจำเลยต้องจ้างผู้อื่นมาดำเนินการทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเมื่อหักกลบลบกันโจทก์ต้องชำระเงินแก่จำเลยจึงขอให้พิพากษายกฟ้องโจทก์และให้โจทก์ชดใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยพร้อมทั้งดอกเบี้ยจะเห็นได้ว่ามูลคดีที่โจทก์ฟ้องและที่จำเลยฟ้องแย้งเกิดจากสัญญาซื้อขายเสาเข็มแม้ตามฟ้องแย้งจะได้กล่าวถึงสัญญาจ้างตอกเสาเข็มด้วยแต่เสาเข็มตามจำนวนที่โจทก์ฟ้องก็เป็นส่วนหนึ่งของเสาเข็มที่จำเลยสั่งซื้อจากโจทก์นั่นเองเมื่อจำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยไม่ต้องชำระค่าเสาเข็มจำนวน10ต้นนั้นเนื่องจากเป็นเสาเข็มที่โจทก์จะต้องรับผิดชอบในการตอกเสาเข็มที่ผิดจากตำแหน่งที่กำหนดให้เป็นเสาเข็มที่โจทก์ส่งมาทดแทนส่วนอีก4ต้นที่จำเลยสั่งซื้อเพิ่มเติมก็เกี่ยวเนื่องกับการตอกเสาเข็มที่ผิดพลาดจึงต้องตอกเสาเข็มเพิ่มขึ้นและเมื่อนำมาส่งแล้วโจทก์ไม่ยอมยกลงมาจากรถยนต์ที่บรรทุกมาอันเป็นการผิดสัญญาทำให้จำเลยได้รับความเสียหายจึงเป็นฟ้องแย้งที่เกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิมมิใช่เรื่องอื่น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 210/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญาซื้อขายเสาเข็มและการชดใช้ค่าเสียหายจากการตอกเสาเข็มผิดพลาด
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระราคาค่าเสาเข็มที่จำเลยสั่งซื้อจากโจทก์รวม 2 ขนาด จำนวน 14 ต้น จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่าจำเลยสั่งซื้อเสาเข็มจากโจทก์อีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งมิใช่เสาเข็มที่โจทก์ฟ้องพร้อมกับจ้างโจทก์ตอกเสาเข็มที่จำเลยสั่งซื้อจากโจทก์นั้นด้วย แต่โจทก์ตอกเสาเข็มที่จำเลยสั่งซื้อดังกล่าวผิดตำแหน่งที่กำหนดไป 10 ต้น เป็นเพราะความผิดของโจทก์ โจทก์และจำเลยจึงตกลงกันให้จำเลยสั่งเสาเข็มมาตอกให้ใหม่โดยไม่ต้องชำระราคาและค่าตอกเสาเข็มอีก เสาเข็มจำนวน10 ต้น ที่โจทก์กล่าวในคำฟ้องเป็นเสาที่ส่งมาทดแทนการตอกผิดพลาดของโจทก์รวมกับที่จำเลยสั่งมาใหม่อีก 4 ต้น จำเลยชำระค่าเสาเข็มและค่าตอกไปเกินกว่าราคาที่จำเลยต้องชำระแก่โจทก์ และเสาเข็มที่โจทก์ตอกนั้นหักและเอียงจากแนวตั้งฉาก 29 ต้น จำเลยแจ้งให้โจทก์แก้ไขแต่โจทก์เพิกเฉยจำเลยจึงต้องจ้างให้ผู้อื่นมาดำเนินการต้องเสียค่าใช้จ่ายรวมทั้งเสาเข็มที่จำเลยสั่งซื้อใหม่ 4 ต้น โจทก์ก็ไม่ยอมยกลงจากรถยนต์บรรทุกเพื่อส่งมอบตามสัญญาจำเลยต้องจ้างผู้อื่นมาดำเนินการทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น เมื่อหักกลบลบกันโจทก์ต้องชำระเงินแก่จำเลย จึงขอให้พิพากษายกฟ้องโจทก์ และให้โจทก์ชดใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยพร้อมทั้งดอกเบี้ย จะเห็นได้ว่ามูลคดีที่โจทก์ฟ้องและที่จำเลยฟ้องแย้งเกิดจากสัญญาซื้อขายเสาเข็ม แม้ตามฟ้องแย้งจะได้กล่าวถึงสัญญาจ้างตอกเสาเข็มด้วย แต่เสาเข็มตามจำนวนที่โจทก์ฟ้องก็เป็นส่วนหนึ่งของเสาเข็มที่จำเลยสั่งซื้อจากโจทก์นั่นเอง เมื่อจำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยไม่ต้องชำระค่าเสาเข็มจำนวน 10 ต้น นั้น เนื่องจากเป็นเสาเข็มที่โจทก์จะต้องรับผิดชอบในการตอกเสาเข็มที่ผิดจากตำแหน่งที่กำหนดให้ เป็นเสาเข็มที่โจทก์ส่งมาทดแทน ส่วนอีก 4 ต้น ที่จำเลยสั่งซื้อเพิ่มเติมก็เกี่ยวเนื่องกับการตอกเสาเข็มที่ผิดพลาดจึงต้องตอกเสาเข็มเพิ่มขึ้น และเมื่อนำมาส่งแล้วโจทก์ไม่ยอมยกลงมาจากรถยนต์ที่บรรทุกมาอันเป็นการผิดสัญญาทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย จึงเป็นฟ้องแย้งที่เกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิมมิใช่เรื่องอื่น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 85/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสัญญาเช่าซื้อ, การละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความ, การร่วมกันจัดสรรที่ดิน, หน้าที่ในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์
โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสามจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่7808และ8282ให้โจทก์ตามสัญญาเช่าซื้ออ้างว่าโจทก์ชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วนแล้วการฟ้องบังคับตามสัญญาเช่นนี้เป็นการใช้สิทธิเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/9จึงต้องบังคับภายในระยะเวลาอันกฎหมายกำหนดไว้เมื่อการฟ้องบังคับตามสัญญาเช่าซื้อไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ10ปีตามมาตรา193/30 ตามมาตรา193/12บัญญัติว่าอายุความให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปการเช่าซื้อนั้นเมื่อผู้เช่าซื้อใช้เงินค่าเช่าซื้อครบถ้วนแล้วย่อมเกิดสิทธิเรียกร้องที่จะบังคับให้ผู้ให้เช่าซื้อปฏิบัติตามสัญญาเช่าซื้อคือโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เช่าซื้อได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา572เมื่อโจทก์ชำระค่าเช่าซื้อที่พิพาทเสร็จสิ้นตั้งแต่ปี2516และมาฟ้องบังคับตามสิทธิเรียกร้องเมื่อวันที่23มิถุนายน2535คดีของโจทก์จึงขาดอายุความแต่ปรากฏว่าหลังจากขาดอายุความแล้วโจทก์ได้ดำเนินการทวงถามเพื่อให้จำเลยทั้งสามโอนกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทแก่โจทก์จำเลยทั้งสามก็มิได้ปฏิเสธความรับผิดโดยยกอายุความเป็นข้ออ้างขึ้นใช้ยันโจทก์แต่ประการใดตรงกันข้ามเมื่อโจทก์มีหนังสือทวงถามไปถึงจำเลยที่1เมื่อวันที่20มีนาคม2535จำเลยที่1ได้มีหนังสือไปถึงจำเลยที่2และที่3มีใจความว่าจำเลยที่1ได้ตรวจสอบหลักฐานแล้วปรากฏว่าโจทก์ได้ซื้อที่ดินพิพาทจำนวน2แปลงและได้ชำระราคาครบถ้วนแล้วจำเลยที่1จึงขอให้จำเลยที่2และที่3ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกรณีที่ดินจัดสรรให้แก่โจทก์ต่อไปซึ่งจำเลยที่2และที่3ก็มิได้โต้แย้งจำเลยที่1ว่าคดีโจทก์ขาดอายุความแต่อย่างใดตามพฤติการณ์แห่งคดีถือได้ว่าจำเลยทั้งสามได้ละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/24แล้วจำเลยที่2และที่3จึงไม่อายยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ เมื่อจำเลยที่1ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินแปลงพิพาทกับจำเลยที่2และที่3และมีข้อตกลงให้จำเลยที่2และที่3เป็นผู้พัฒนาที่ดินเพื่อจัดสรรแล้วจำเลยที่1จะเป็นผู้นำที่ดินแปลงพิพาทไปให้บุคคลภายนอกเช่าซื้อซึ่งเมื่อผู้เช่าซื้อได้ชำระค่าเช่าซื้อให้จำเลยที่1ครบถ้วนแล้วจำเลยที่1จะนำเงินค่าเช่าซื้อดังกล่าวชำระให้จำเลยที่2และที่3แล้วจำเลยที่2และที่3จะต้องโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่ผู้เช่าซื้อพฤติกรรมและข้อตกลงดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่1ได้ร่วมกับจำเลยที่2และที่3จัดสรรที่ดินเพื่อจำหน่ายแก่บุคคลภายนอกโดยแบ่งหน้าที่กันทำมิใช่เป็นตัวการตัวแทนตามที่จำเลยที่1กล่าวอ้างแต่อย่างใดจำเลยที่1จึงต้องร่วมกับจำเลยที่2และที่3ดำเนินการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ด้วย โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามโดยอ้างว่าโจทก์ทำสัญญาเช่าซื้อที่ดินกับจำเลยที่1มีจำเลยที่2และที่3ร่วมจัดสรรที่ดินกับจำเลยที่1ตามสัญญาเช่าซื้อดังกล่าวจำเลยที่1ให้การรับว่าทำสัญญาเช่าซื้อกับโจทก์จริงส่วนจำเลยที่2และที่3ให้การว่ามิได้เป็นคู่สัญญาตามสัญญาเช่าซื้อแต่มิได้ให้การปฏิเสธถึงความไม่ถูกต้องของสัญญาเช่าซื้อดังกล่าวแม้สัญญาเช่าซื้อจะมิได้ปิดอากรแสตมป์ก็รับฟังได้ตามคำรับของจำเลยที่1ว่ามีการทำสัญญาเช่าซื้อกันจริงจึงไม่เป็นกรณีต้องห้ามตามประมวลรัษฎากรมาตรา118 ที่จำเลยที่2และที่3แก้ฎีกาว่าจำเลยที่1มิใช่เจ้าของที่ดินไม่มีอำนาจนำที่ดินไปให้เช่าซื้อสัญญาเช่าซื้อย่อมเป็นโมฆะก็ดีโจทก์สืบเพิ่มเติมข้อความในสัญญาเช่าซื้อขัดกับกฎหมายก็ดีเป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 85/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความเช่าซื้อ, การละเสียซึ่งอายุความ, ความรับผิดร่วมในการจัดสรรที่ดิน
โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสามจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 7804 และ 8282 ให้โจทก์ตามสัญญาเช่าซื้ออ้างว่าโจทก์ชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วนแล้ว การฟ้องบังคับตามสัญญาเช่นนี้เป็นการใช้สิทธิเรียกร้องตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/9 จึงต้องบังคับภายในระยะเวลาอันกฎหมายกำหนดไว้ เมื่อการฟ้องบังคับตามสัญญาเช่าซื้อไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30
ตามมาตรา 193/12 บัญญัติว่า อายุความให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป การเช่าซื้อนั้นเมื่อผู้เช่าซื้อใช้เงินค่าเช่าซื้อครบถ้วนแล้วย่อมเกิดสิทธิเรียกร้องที่จะบังคับให้ผู้ให้เช่าซื้อปฏิบัติตามสัญญาเช่าซื้อคือโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เช่าซื้อได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 572 เมื่อโจทก์ชำระค่าเช่าซื้อที่พิพาทเสร็จสิ้นตั้งแต่ปี 2516 และมาฟ้องบังคับตามสิทธิเรียกร้องเมื่อวันที่23 มิถุนายน 2535 คดีของโจทก์จึงขาดอายุความ แต่ปรากฏว่าหลังจากขาดอายุความแล้ว โจทก์ได้ดำเนินการทวงถามเพื่อให้จำเลยทั้งสามโอนกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทแก่โจทก์จำเลยทั้งสามก็มิได้ปฏิเสธความรับผิดโดยยกอายุความเป็นข้ออ้างขึ้นใช้ยันโจทก์แต่ประการใด ตรงกันข้ามเมื่อโจทก์มีหนังสือทวงถามไปถึงจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 20มีนาคม 2535 จำเลยที่ 1 ได้มีหนังสือไปถึงจำเลยที่ 2 และที่ 3 มีใจความว่าจำเลยที่ 1 ได้ตรวจสอบหลักฐานแล้ว ปรากฏว่าโจทก์ได้ซื้อที่ดินพิพาทจำนวน 2 แปลงและได้ชำระราคาครบถ้วนแล้วจำเลยที่ 1 จึงขอให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกรณีที่ดินจัดสรรให้แก่โจทก์ต่อไป ซึ่งจำเลยที่ 2 และที่ 3 ก็มิได้โต้แย้งจำเลยที่ 1 ว่า คดีโจทก์ขาดอายุความแต่อย่างใด ตามพฤติการณ์แห่งคดีถือได้ว่าจำเลยทั้งสามได้ละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา193/24 แล้ว จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่อาจยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ได้
เมื่อจำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินแปลงพิพาทกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 และมีข้อตกลงให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นผู้พัฒนาที่ดินเพื่อจัดสรร แล้วจำเลยที่ 1 จะเป็นผู้นำที่ดินแปลงพิพาทไปให้บุคคลภายนอกเช่าซื้อซึ่งเมื่อผู้เช่าซื้อได้ชำระค่าเช่าซื้อให้จำเลยที่ 1 ครบถ้วนแล้ว จำเลยที่ 1 จะนำเงินค่าเช่าซื้อดังกล่าวชำระให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 แล้วจำเลยที่ 2 และที่ 3จะต้องโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่ผู้เช่าซื้อ พฤติกรรมและข้อตกลงดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 ได้ร่วมกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 จัดสรรที่ดินเพื่อจำหน่ายแก่บุคคลภายนอก โดยแบ่งหน้าที่กันทำมิใช่เป็นตัวการตัวแทนตามที่จำเลยที่ 1 กล่าวอ้างแต่อย่างใด จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ดำเนินการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ด้วย
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสาม โดยอ้างว่าโจทก์ทำสัญญาเช่าซื้อที่ดินกับจำเลยที่ 1 มีจำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมจัดสรรที่ดินกับจำเลยที่ 1 ตามสัญญาเช่าซื้อดังกล่าว จำเลยที่ 1 ให้การรับว่าทำสัญญาเช่าซื้อกับโจทก์จริงส่วนจำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้การว่ามิได้เป็นคู่สัญญาตามสัญญาเช่าซื้อ แต่มิได้ให้การปฏิเสธถึงความไม่ถูกต้องของสัญญาเช่าซื้อดังกล่าว แม้สัญญาเช่าซื้อจะมิได้ปิดอากรแสตมป์ ก็รับฟังได้ตามคำรับของจำเลยที่ 1 ว่า มีการทำสัญญาเช่าซื้อกันจริง จึงไม่เป็นกรณีต้องห้ามตาม ป.รัษฎากร มาตรา 118
ที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 แก้ฎีกาว่าจำเลยที่ 1 มิใช่เจ้าของที่ดิน ไม่มีอำนาจนำที่ดินไปให้เช่าซื้อ สัญญาเช่าซื้อย่อมเป็นโมฆะก็ดี โจทก์สืบเพิ่มเติมข้อความในสัญญาเช่าซื้อขัดกับกฎหมายก็ดี เป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6555/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสัญญาเลี้ยงไก่: สัญญาต่างตอบแทน 10 ปี ไม่ใช่สัญญาจ้างทำของ
จำเลยให้การโดยชัดแจ้งว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความเนื่องจากโจทก์มิได้เรียกร้องค่าเสียหายเกี่ยวกับการฝากทรัพย์ภายใน 6 เดือน นับแต่วันสิ้นสัญญา ตาม ป.พ.พ.มาตรา 671 ดังนั้น คดีจึงมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยเพียงว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความตามมาตรา 671 หรือไม่เท่านั้น ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์มิได้ฟ้องจำเลยผู้รับจ้างภายในกำหนด 1 ปี คดีจึงขาดอายุความตามมาตรา 601 จึงเป็นการวินิจฉัยนอกเหนือจากคำให้การของจำเลยทั้งสามไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ตามสัญญาการเลี้ยงไก่ระบุให้โจทก์มอบลูกไก่ อาหาร ยาและวัคซีนสำหรับไก่ให้จำเลยเลี้ยงเป็นไก่ใหญ่ เมื่อลูกไก่เจริญเติบโตเป็นไก่ใหญ่แล้ว จำเลยต้องส่งมอบคืนแก่โจทก์ โดยโจทก์จะคิดมูลค่าไก่ใหญ่ทั้งหมดแล้วหักด้วยมูลค่าลูกไก่ร่วมกับอาหาร ยา และวัคซีน ซึ่งจำเลยได้ใช้ไป คงเหลือยอดสุทธิเท่าใด ให้ถือเป็นประโยชน์ของจำเลย สัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยดังกล่าวมิใช่เป็นการตกลงรับจะทำการงานสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนสำเร็จและจะให้สินจ้างเพื่อผลสำเร็จแห่งการที่ทำนั้น หากแต่เป็นสัญญาร่วมกันประกอบการโดยแบ่งผลประโยชน์กันอันมีจำนวนไม่แน่นอน จึงมิใช่สัญญาจ้างทำของ หากแต่เป็นสัญญาต่างตอบแทนซึ่งมีผลใช้บังคับได้ สิทธิเรียกร้องตามสัญญาดังกล่าวมิได้มีกฎหมายบัญญัติถึงอายุความไว้เฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6555/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสัญญาเลี้ยงไก่: สัญญาต่างตอบแทนมีอายุความ 10 ปี มิใช่สัญญาจ้างทำของ
จำเลยให้การโดยชัดแจ้งว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความเนื่องจากโจทก์มิได้เรียกร้องค่าเสียหายเกี่ยวกับการฝากทรัพย์ภายใน6เดือนนับแต่วันสิ้นสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา671ดังนั้นคดีจึงมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยเพียงว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความตามมาตรา671หรือไม่เท่านั้นที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์มิได้ฟ้องจำเลยผู้รับจ้างภายในกำหนด1ปีคดีจึงขาดอายุความตามมาตรา601จึงเป็นการวินิจฉัยนอกเหนือจากคำให้การของจำเลยทั้งสามไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตามสัญญาการเลี้ยงการเลี้ยงไก่ระบุให้โจทก์มอบลูกไก่อาหารยาและวัคซีนสำหรับไก่ให้จำเลยเลี้ยงเป็นไก่ใหญ่เมื่อลูกไก่เจริญเติบโตเป็นไก่ใหญ่แล้วจำเลยต้องส่งมอบคืนแก่โจทก์โดยโจทก์จะคิดมูลค่าไก่ใหญ่ทั้งหมดแล้วหักด้วยมูลค่าลูกไก่ร่วมกับอาหารยาและวัคซีนซึ่งจำเลยได้ใช้ไปคงเหลือยอดสุทธิเท่าใดให้ถือเป็นประโยชน์ของจำเลยสัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยดังกล่าวมิใช่เป็นการตกลงรับจะทำการงานสิ่งหนึ่งจนสำเร็จและจะให้สินจ้างเพื่อผลสำเร็จแห่งการที่ทำนั้นหากแต่เป็นสัญญาร่วมกันประกอบการโดยแบ่งผลประโยชน์กันอันมีจำนวนไม่แน่นอนจึงมิใช่สัญญาจ้างทำของหากแต่เป็นสัญญาต่างตอบแทนซึ่งมีผลใช้บังคับได้สิทธิเรียกร้องตามสัญญาดังกล่าวมิได้มีกฎหมายบัญญัติถึงอายุความไว้เฉพาะจึงมีอายุความ10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6005/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนเช็คที่ถูกลักไป ผู้รับโอนต้องแสดงว่าได้รับโอนมาโดยสุจริตและไม่ประมาทเลินเล่อ
จำเลยให้การเพียงว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทให้จ.ต่อมาจ.ทำเช็คพิพาทหายไปจึงไปแจ้งความไว้ที่สถานีตำรวจและจำเลยได้แจ้งอายัดเช็คต่อธนาคารไว้ต่อมาจ.ทราบว่าเช็คพิพาทถูกลักไปและอยู่ที่โจทก์จ.แจ้งให้โจทก์ทราบโจทก์รับว่าจะคืนเช็คให้แต่กลับนำเช็คมาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ซึ่งโจทก์ทราบดีอยู่แล้วว่าโจทก์ไม่ใช่ผู้ทรงโดยสุจริตและชอบด้วยกฎหมายเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตดังนี้คำให้การของจำเลยดังกล่าวไม่ได้ระบุโดยชัดแจ้งว่าขณะที่โจทก์ได้รับโอนเช็คพิพาทมานั้นโจทก์รู้ว่าเป็นเช็คที่ถูกลักมาหรือโจทก์ได้มาโดยทุจริตหรือด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงอย่างไรเป็นคำให้การที่มิได้ปฏิเสธโดยชัดแจ้งไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา177วรรคสองไม่ก่อให้เกิดประเด็นที่จะวินิจฉัยว่าโจทก์ได้รับโอนเช็คพิพาทมาโดยทุจริตหรือด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงที่จะต้องสละเช็คพิพาทนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา905วรรคสองและวรรคสามจึงไม่มีเหตุที่จะให้รับฟังได้ว่าโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยไม่สุจริตหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6005/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนเช็คที่ถูกลักไป: สิทธิของผู้ทรงเช็คและการปฏิเสธการจ่ายเงิน
จำเลยให้การเพียงว่า จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทให้ จ.ต่อมาจ.ทำเช็คพิพาทหายไป จึงไปแจ้งความไว้ที่สถานีตำรวจและจำเลยได้แจ้งอายัดเช็คต่อธนาคารไว้ ต่อมา จ.ทราบว่าเช็คพิพาทถูกลักไปและอยู่ที่โจทก์ จ.แจ้งให้โจทก์ทราบ โจทก์รับว่าจะคืนเช็คให้ แต่กลับนำเช็คมาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ ซึ่งโจทก์ทราบดีอยู่แล้วว่าโจทก์ไม่ใช่ผู้ทรงโดยสุจริตและชอบด้วยกฎหมาย เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ดังนี้ คำให้การของจำเลยดังกล่าวไม่ได้ระบุโดยชัดแจ้งว่าขณะที่โจทก์ได้รับโอนเช็คพิพาทมานั้นโจทก์รู้ว่าเป็นเช็คที่ถูกลักมาหรือโจทก์ได้มาโดยทุจริตหรือด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงอย่างไร เป็นคำให้การที่มิได้ปฏิเสธโดยชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 177 วรรคสอง ไม่ก่อให้เกิดประเด็นที่จะวินิจฉัยว่าโจทก์ได้รับโอนเช็คพิพาทมาโดยทุจริตหรือด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงที่จะต้องสละเช็คพิพาทนั้น ตาม ป.พ.พ.มาตรา 905 วรรคสองและวรรคสาม จึงไม่มีเหตุที่จะให้รับฟังได้ว่าโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยไม่สุจริตหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5376/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การต่อสู้คดีเรื่องการซื้อขายบ้านที่เพิ่มเติมในสัญญาซื้อขายที่ดิน ศาลต้องเปิดโอกาสให้สืบพยาน
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยขายที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่โจทก์ จำเลยให้การว่า จำเลยตกลงขายเฉพาะที่ดินให้โจทก์ ไม่ได้ขายบ้านพิพาทให้ด้วย จำเลยเคยไปตรวจสอบสัญญาซื้อขายแล้ว เดิมมีข้อความระบุไว้เพียงว่าขายเฉพาะที่ดิน แต่ภายหลังกลับมีข้อความเพิ่มเติมขึ้นมาว่าจำเลยขายบ้านพิพาทด้วย ศาลชั้นต้นสอบถามโจทก์จำเลยแล้วต่างแถลงรับตรงกันว่า วันทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาท บ้านพิพาทได้ปลูกสร้างอยู่ในที่ดินพิพาทแล้ว และนอกจากทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทแล้ว ทั้งสองฝ่ายไม่ได้ตกลงเพิ่มเติมเกี่ยวกับการซื้อขายบ้านพิพาทอีก ดังนี้ คำแถลงรับของคู่ความดังกล่าว เมื่อพิจารณาประกอบกับสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทที่มีการระบุว่า ขายบ้านพิพาทด้วย ก็แสดงว่ามีการเพิ่มเติมข้อความส่วนนี้เข้าไปในสัญญาดังกล่าวตามข้อต่อสู้ของจำเลย ซึ่งเท่ากับจำเลยต่อสู้ว่ามีการปลอมข้อความของสัญญาขึ้นบางส่วนนั่นเอง จำเลยย่อมมีสิทธิจะนำพยานบุคคลมาสืบหักล้างได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94 วรรคท้าย ข้ออ้างตามคำฟ้องของโจทก์กับข้อต่อสู้ตามคำให้การของจำเลย จำเป็นต้องฟังข้อเท็จจริงให้แน่ชัดต่อไปแม้ว่าศาลชั้นต้นได้สอบถามคู่ความแล้วก็ตาม จึงไม่ชอบที่ศาลชั้นต้นจะสั่งงดสืบพยานโจทก์พยานจำเลยและพิพากษาขับไล่จำเลยตามฟ้องโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5376/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาซื้อขาย และสิทธิในการนำสืบพยานหักล้างข้อกล่าวอ้างเรื่องการปลอมแปลงสัญญา
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยขายที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่โจทก์จำเลยให้การว่าจำเลยตกลงขายเฉพาะที่ดินให้โจทก์ไม่ได้ขายบ้านพิพาทให้ด้วยจำเลยเคยไปตรวจสอบสัญญาซื้อขายแล้วเดิมมีข้อความระบุไว้เพียงว่าขายเฉพาะที่ดินแต่ภายหลังกลับมีข้อความเพิ่มเติมขึ้นมาว่าจำเลยขายบ้านพิพาทด้วยศาลชั้นต้นสอบถามโจทก์จำเลยแล้วต่างแถลงรับตรงกันว่าวันทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทบ้านพิพาทได้ปลูกสร้างอยู่ในที่ดินพิพาทแล้วและนอกจากทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทแล้วทั้งสองฝ่ายไม่ได้ตกลงเพิ่มเติมเกี่ยวกับการซื้อขายบ้านพิพาทอีกดังนี้คำแถลงรับของคู่ความดังกล่าวเมื่อพิจารณาประกอบกับสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทที่มีการระบุว่าขายบ้านพิพาทด้วยก็แสดงว่ามีการเพิ่มเติมข้อความส่วนนี้เข้าไปในสัญญาดังกล่าวตามข้อต่อสู้ของจำเลยซึ่งเท่ากับจำเลยต่อสู้ว่ามีการปลอมข้อความของสัญญาขึ้นบางส่วนนั่นเองจำเลยย่อมมีสิทธิจะนำพยานบุคคลมาสืบหักล้างได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94วรรคท้ายข้ออ้างตามคำฟ้องของโจทก์กับข้อต่อสู้ตามคำให้การของจำเลยจำเป็นต้องฟังข้อเท็จจริงให้แน่ชัดต่อไปแม้ว่าศาลชั้นต้นได้สอบถามคู่ความแล้วก็ตามจึงไม่ชอบที่ศาลชั้นต้นจะสั่งงดสืบพยานโจทก์พยานจำเลยและพิพากษาขับไล่จำเลยตามฟ้องโจทก์ได้
of 49