พบผลลัพธ์ทั้งหมด 487 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4965/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรสและสิทธิในทรัพย์มรดก: การแบ่งทรัพย์สินระหว่างบุตรและผู้รับยกมรดก
คดีก่อนจำเลยฟ้องโจทก์ว่าจำเลยเป็นบุตรคนเดียวของห.มีสิทธิรับมรดกคือทรัพย์พิพาทแต่ผู้เดียวประเด็นจึงมีว่าจำเลยเป็นบุตรของห.แต่เพียงคนเดียวและมีสิทธิรับมรดกแต่เพียงผู้เดียวหรือไม่แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าทรัพย์พิพาทเป็นทรัพย์ที่ห.และมารดาโจทก์ทำมาหาได้ร่วมกันจึงเป็นสินสมรสประเด็นจึงมีว่าโจทก์มีสิทธิฟ้องขอแบ่งกรรมสิทธิ์รวมหรือไม่ประเด็นแห่งคดีนี้กับคดีก่อนจึงเป็นคนละประเด็นกันไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ โจทก์ฟ้องว่าทรัพย์พิพาทเป็นสินสมรสระหว่างห. และมารดาโจทก์เมื่อมารดาโจทก์ถึงแก่กรรมทรัพย์พิพาทกึ่งหนึ่งของมารดาโจทก์ย่อมตกเป็นมรดกแก่โจทก์และห. คนละส่วนต่อมาห. ได้ยกทรัพย์มรดกส่วนที่ตกได้แก่ห. ให้แก่โจทก์เมื่อจำเลยไม่ได้ให้การปฏิเสธจึงถือว่าจำเลยรับตามข้อกล่าวอ้างโจทก์จึงมีสิทธิในทรัพย์พิพาทกึ่งหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4965/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในทรัพย์สินจากการสมรสและมรดก: การแบ่งกรรมสิทธิ์ในสินสมรสและผลกระทบต่อการรับมรดก
คดีก่อน จำเลยฟ้องโจทก์ว่า จำเลยเป็นบุตรคนเดียวของ ห.มีสิทธิรับมรดกคือทรัพย์พิพาทแต่ผู้เดียว ประเด็นจึงมีว่า จำเลยเป็นบุตรของ ห.แต่เพียงคนเดียวและมีสิทธิรับมรดกแต่เพียงผู้เดียวหรือไม่ แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าทรัพย์พิพาทเป็นทรัพย์ที่ ห. และมารดาโจทก์ทำมาหาได้ร่วมกันจึงเป็นสินสมรสประเด็นจึงมีว่า โจทก์มีสิทธิฟ้องขอแบ่งกรรมสิทธิ์รวมหรือไม่ ประเด็นแห่งคดีนี้กับคดีก่อน จึงเป็นคนละประเด็นกัน ไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
โจทก์ฟ้องว่า ทรัพย์พิพาทเป็นสินสมรสระหว่าง ห.และมารดาโจทก์ เมื่อมารดาโจทก์ถึงแก่กรรม ทรัพย์พิพาทกึ่งหนึ่งของมารดาโจทก์ย่อมตกเป็นมรดกแก่โจทก์และ ห.คนละส่วน ต่อมา ห.ได้ยกทรัพย์มรดกส่วนที่ตกได้แก่ ห.ให้แก่โจทก์ เมื่อจำเลยไม่ได้ให้การปฏิเสธ จึงถือว่าจำเลยรับตามข้อกล่าวอ้าง โจทก์จึงมีสิทธิในทรัพย์พิพาทกึ่งหนึ่ง
โจทก์ฟ้องว่า ทรัพย์พิพาทเป็นสินสมรสระหว่าง ห.และมารดาโจทก์ เมื่อมารดาโจทก์ถึงแก่กรรม ทรัพย์พิพาทกึ่งหนึ่งของมารดาโจทก์ย่อมตกเป็นมรดกแก่โจทก์และ ห.คนละส่วน ต่อมา ห.ได้ยกทรัพย์มรดกส่วนที่ตกได้แก่ ห.ให้แก่โจทก์ เมื่อจำเลยไม่ได้ให้การปฏิเสธ จึงถือว่าจำเลยรับตามข้อกล่าวอ้าง โจทก์จึงมีสิทธิในทรัพย์พิพาทกึ่งหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4859/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผิดสัญญาซื้อขายที่ดิน: จำเลยต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขก่อนเรียกร้องค่าที่ดิน
โจทก์กล่าวอ้างว่าในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2534 จำเลยไม่โอนที่ดินให้แก่โจทก์ ยังไม่ได้จัดการทำถนน ท่อระบายน้ำ ไฟฟ้า และยังไม่ได้แบ่งแยกที่ดิน จึงถือว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญา จำเลยให้การสู้คดีว่าได้มีหนังสือบอกกล่าวให้โจทก์ทั้งสองไปรับโอนที่ดินในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2534 แต่คำให้การของจำเลยไม่ได้ปฏิเสธในเรื่องที่โจทก์อ้างว่า จำเลยยังไม่ได้จัดการทำถนน ท่อระบายน้ำและติดตั้งเสาไฟฟ้า จึงต้องถือว่าจำเลยยังไม่ได้ดำเนินการในเรื่องดังกล่าวจริงและข้อเท็จจริงปรากฏว่า ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2534 จำเลยยังไม่ได้แบ่งแยกที่ดินในส่วนที่จะจดทะเบียนโอนให้แก่โจทก์แล้วเสร็จ ทั้งตามหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและหนังสือรับเงินค่าที่ดินมีข้อความระบุไว้ชัดเจนว่า จำเลยจะต้องแบ่งแยกที่ดินออกจากโฉนดที่ดินเดิม สร้างถนนเข้าที่ดินกว้าง 5 เมตร ทำท่อระบายน้ำ และตั้งเสาไฟฟ้าให้เรียบร้อย เมื่อจำเลยยังไม่ได้จัดการแบ่งแยกที่ดิน ทำถนนเข้าที่ดินทำท่อระบายน้ำ และตั้งเสาไฟฟ้า จำเลยย่อมไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้โจทก์ชำระค่าที่ดินที่ยังค้างชำระและจดทะเบียนรับโอนที่ดินที่จะซื้อขายกัน การที่โจทก์ไม่ได้ชำระค่าที่ดินให้แก่จำเลยและไม่ได้จดทะเบียนโอนที่ดินกันในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2534ย่อมถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา แม้โจทก์ไปที่สำนักงานที่ดินก็ไม่อาจจะจดทะเบียนโอนที่ดินกันได้ และการที่จำเลยยังไม่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในสัญญา ทั้งเมื่อจำเลยแบ่งแยกที่ดินแล้วจดทะเบียนโอนให้แก่ผู้อื่นเช่นนี้ จำเลยย่อมเป็นฝ่ายผิดสัญญา
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ถอนชื่อ ส.ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกและมิได้เป็นคู่ความในคดีออกจากโฉนดที่ดินที่พิพาทและศาลอุทธรณ์พิพากษายืน เป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 145 วรรคสอง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไข
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ถอนชื่อ ส.ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกและมิได้เป็นคู่ความในคดีออกจากโฉนดที่ดินที่พิพาทและศาลอุทธรณ์พิพากษายืน เป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 145 วรรคสอง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไข
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4859/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดิน: จำเลยผิดสัญญาแบ่งแยกที่ดินและสร้างถนน ทำให้โจทก์ไม่ต้องชำระเงินและศาลสั่งให้จำเลยโอนที่ดิน
โจทก์กล่าวอ้างว่าในวันที่5กุมภาพันธ์2534จำเลยไม่โอนที่ดินให้แก่โจทก์ยังไม่ได้จัดการทำถนนท่อระบายน้ำไฟฟ้าและยังไม่ได้แบ่งแยกที่ดินจึงถือว่าจำเลยที่1ผิดสัญญาจำเลยให้การสู้คดีว่าได้มีหนังสือบอกกล่าวให้โจทก์ทั้งสองไปรับโอนที่ดินในวันที่5กุมภาพันธ์2534แต่คำให้การของจำเลยไม่ได้ปฏิเสธในเรื่องที่โจทก์อ้างว่าจำเลยยังไม่ได้จัดการทำถนนท่อระบายน้ำและติดตั้งเสาไฟฟ้าจึงต้องถือว่าจำเลยยังไม่ได้ดำเนินการในเรื่องดังกล่าวจริงและข้อเท็จจริงปรากฏว่าในวันที่27กุมภาพันธ์2534จำเลยยังไม่ได้แบ่งแยกที่ดินในส่วนที่จะจดทะเบียนโอนให้แก่โจทก์แล้วเสร็จทั้งตามหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและหนังสือรับเงินค่าที่ดินมีข้อความระบุไว้ชัดเจนว่าจำเลยจะต้องแบ่งแยกที่ดินออกจากโฉนดที่ดินเดิมสร้างถนนเข้าที่ดินกว้าง5เมตรทำท่อระบายน้ำและตั้งเสาไฟฟ้าให้เรียบร้อยเมื่อจำเลยยังไม่ได้จัดการแบ่งแยกที่ดินทำถนนเข้าที่ดินทำท่อระบายน้ำและตั้งเสาไฟฟ้าจำเลยย่อมไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้โจทก์ชำระค่าที่ดินที่ยังค้างชำระและจดทะเบียนรับโอนที่ดินที่จะซื้อขายกันการที่โจทก์ไม่ได้ชำระค่าที่ดินให้แก่จำเลยและไม่ได้จดทะเบียนโอนที่ดินกันในวันที่5กุมภาพันธ์2534ย่อมถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาแม้โจทก์ไปที่สำนักงานที่ดินก็ไม่อาจจะจดทะเบียนโอนที่ดินกันได้และการที่จำเลยยังไม่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในสัญญาทั้งเมื่อจำเลยแบ่งแยกที่ดินแล้วจดทะเบียนโอนให้แก่ผู้อื่นเช่นนี้จำเลยย่อมเป็นฝ่ายผิดสัญญา ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ถอนชื่อส. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกและมิได้เป็นคู่ความในคดีออกจากโฉนดที่ดินที่พิพาทและศาลอุทธรณ์พิพากษายืนเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา145วรรคสองศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไข
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2552/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลาโอนกรรมสิทธิ์และค่าตอบแทน: จำเลยผิดสัญญาเมื่อไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงหลังรับค่าตอบแทนแล้ว
จำเลยได้ตกลงให้โจทก์ขยายระยะเวลาการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและตึกแถวพิพาทหลังจากครบกำหนดระยะเวลาโอนตามสัญญาจะซื้อจะขายออกไปได้โดยไม่มีกำหนดระยะเวลาโดยโจทก์จะต้องชำระเงินค่าตอบแทนให้แก่จำเลย เมื่อโจทก์พร้อมจึงได้บอกกล่าวชำระเงินส่วนที่เหลือและเงินค่าตอบแทนให้แก่จำเลยพร้อมกำหนดวันโอนกรรมสิทธิ์ตามที่ได้ตกลงกันไว้ แต่ครบกำหนดแล้วจำเลยเพิกเฉย จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อจะขายโจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาได้
คำฟ้องระบุว่าโจทก์ตกลงจ่ายเงินให้แก่จำเลยเป็นค่าตอบแทนในการที่จำเลยตกลงขยายระยะเวลาโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและตึกแถวพิพาทให้แก่โจทก์เป็นเงิน 100,000 บาท เมื่อจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่าจำนวนเงินที่โจทก์เสนอชดใช้ให้ตามฟ้องนั้นไม่เหมาะสมหรือน้อยไปแต่ประการใด จึงถือได้ว่าจำเลยไม่ติดใจโต้เถียงในจำนวนเงินที่โจทก์เสนอชดเชยให้แก่จำเลยตามฟ้อง และจำเลยยอมรับในประเด็นดังกล่าวแล้ว การที่จำเลยฎีกาในปัญหาข้อนี้ขึ้นมานั้นจึงเป็นฎีกานอกประเด็นเกินไปกว่าหรือนอกเหนือไปจากที่ปรากฏในคำให้การ เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ทั้งมิใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249
คำฟ้องระบุว่าโจทก์ตกลงจ่ายเงินให้แก่จำเลยเป็นค่าตอบแทนในการที่จำเลยตกลงขยายระยะเวลาโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและตึกแถวพิพาทให้แก่โจทก์เป็นเงิน 100,000 บาท เมื่อจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่าจำนวนเงินที่โจทก์เสนอชดใช้ให้ตามฟ้องนั้นไม่เหมาะสมหรือน้อยไปแต่ประการใด จึงถือได้ว่าจำเลยไม่ติดใจโต้เถียงในจำนวนเงินที่โจทก์เสนอชดเชยให้แก่จำเลยตามฟ้อง และจำเลยยอมรับในประเด็นดังกล่าวแล้ว การที่จำเลยฎีกาในปัญหาข้อนี้ขึ้นมานั้นจึงเป็นฎีกานอกประเด็นเกินไปกว่าหรือนอกเหนือไปจากที่ปรากฏในคำให้การ เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ทั้งมิใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2329/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์: คำให้การและฟ้องแย้งไม่เคลือบคลุม แม้จะอ้างทั้งกรรมสิทธิ์เดิมและได้มาจากการครอบครองปรปักษ์
จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่าได้ครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทมาเป็นเวลาหลายสิบปี แม้ไม่ได้บรรยายว่าครอบครองมาตั้งแต่เมื่อใด ปีไหน และครบกำหนดเวลาสิบปีเมื่อใดก็ตาม ก็เป็นรายละเอียดที่จำเลยอาจนำสืบได้ในชั้นพิจารณา คำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยจึงไม่เคลือบคลุม
แม้จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่าพื้นที่ในเส้นสีแดงตามแผนที่ท้ายฟ้องน่าเชื่อว่าอยู่ในแนวที่ดินของจำเลย หรือแม้จะอยู่ในที่ดินของโจทก์ทั้งสองก็ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยโดยการครอบครองปรปักษ์ตามกฎหมายก็ไม่เป็นคำให้การและฟ้องแย้งที่ขัดกันเอง เพราะที่จำเลยให้การและฟ้องแย้งเช่นนั้นเนื่องจากที่ดินของโจทก์และของจำเลยเป็นโฉนดรุ่นเก่าสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ไม่มีหลักเขตแน่นอน เจ้าของเดิมและจำเลยได้ครอบครองกันเป็นส่วนสัดอย่างเป็นเจ้าของมานานย่อมทำให้เข้าใจได้ว่าเป็นของจำเลย แต่หากเป็นของโจทก์ทั้งสอง จำเลยก็ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ซึ่งเป็นคำให้การและฟ้องแย้งที่บรรยายให้เข้าใจสภาพที่ดินพิพาทว่ามีอยู่อย่างไรเป็นกรรมสิทธิ์ของใครอย่างไร คำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยดังกล่าวจึงไม่เคลือบคลุม
แม้จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่าพื้นที่ในเส้นสีแดงตามแผนที่ท้ายฟ้องน่าเชื่อว่าอยู่ในแนวที่ดินของจำเลย หรือแม้จะอยู่ในที่ดินของโจทก์ทั้งสองก็ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยโดยการครอบครองปรปักษ์ตามกฎหมายก็ไม่เป็นคำให้การและฟ้องแย้งที่ขัดกันเอง เพราะที่จำเลยให้การและฟ้องแย้งเช่นนั้นเนื่องจากที่ดินของโจทก์และของจำเลยเป็นโฉนดรุ่นเก่าสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ไม่มีหลักเขตแน่นอน เจ้าของเดิมและจำเลยได้ครอบครองกันเป็นส่วนสัดอย่างเป็นเจ้าของมานานย่อมทำให้เข้าใจได้ว่าเป็นของจำเลย แต่หากเป็นของโจทก์ทั้งสอง จำเลยก็ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ซึ่งเป็นคำให้การและฟ้องแย้งที่บรรยายให้เข้าใจสภาพที่ดินพิพาทว่ามีอยู่อย่างไรเป็นกรรมสิทธิ์ของใครอย่างไร คำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยดังกล่าวจึงไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2329/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์: คำให้การและฟ้องแย้งไม่เคลือบคลุม แม้รายละเอียดไม่ชัดเจนในเบื้องต้น
จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่าได้ครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทมาเป็นเวลาหลายสิบปีแม้ไม่ได้บรรยายว่าครอบครองมาตั้งแต่เมื่อใดปีไหนและครบกำหนดเวลาสิบปีเมื่อใดก็ตามก็เป็นรายละเอียดที่จำเลยอาจนำสืบได้ในชั้นพิจารณาคำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยจึงไม่เคลือบคลุม แม้จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่าพื้นที่ในเส้นสีแดงตามแผนที่ท้ายฟ้องน่าเชื่อว่าอยู่ในแนวที่ดินของจำเลยหรือแม้จะอยู่ในที่ดินของโจทก์ทั้งสองก็ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยโดยการครอบครองปรปักษ์ตามกฎหมายก็ไม่เป็นคำให้การฟ้องแย้งที่ขัดกันเองเพราะที่จำเลยให้การและฟ้องแย้งเช่นนั้นเนื่องจากที่ดินของโจทก์และของจำเลยเป็นโฉนดรุ่นเก่าสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่มีหลักเขตแน่นอนเจ้าของเดิมและจำเลยได้ครอบครองกันเป็นส่วนสัดอย่างเป็นเจ้าของมานานย่อมทำให้เข้าใจได้ว่าเป็นของจำเลยแต่หากเป็นของโจทก์ทั้งสองจำเลยก็ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ซึ่งเป็นคำให้การและฟ้องแย้งที่บรรยายให้เข้าใจสภาพที่ดินพิพาทว่ามีอยู่อย่างไรเป็นกรรมสิทธิ์ของใครอย่างไรคำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยดังกล่าวจึงไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2281/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นการกำหนดเขตป่าสงวน, ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริง, และการไม่วินิจฉัยประเด็นอุทธรณ์ของศาลอุทธรณ์
จำเลยให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ไว้โดยชัดแจ้งแล้วว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ของโจทก์เนื่องจากที่ดินพิพาทอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติรายละเอียดจำเลยจะนำสืบและอ้างเอกสารส่งในชั้นพิจารณาคำให้การของจำเลยจึงมีประเด็นว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติหรือไม่เมื่อศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเนื่องจากที่ดินพิพาทเป็นที่ดินป่าสงวนแห่งชาติหรือไม่โดยให้จำเลยสืบก่อนแล้วโจทก์สืบแก้หากโจทก์เห็นว่าจำเลยมิได้ให้การปฏิเสธโดยชัดแจ้งในประเด็นดังกล่าวโจทก์ชอบที่จะโต้แย้งคำสั่งดังกล่าวของศาลชั้นต้นไว้เนื่องจากเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาแต่โจทก์มิได้โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา226 โจทก์ฎีกาว่าพยานหลักฐานที่จำเลยนำสืบยังฟังไม่ได้ว่าที่ดินพิพาทอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาตินั้นเป็นฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค3จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงซึ่งคดีมีราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่ง ส่วนโจทก์ฎีกาว่าจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์หรือไม่ฎีกาโจทก์ข้อนี้โจทก์ได้อุทธรณ์ประเด็นข้อนี้ต่อศาลอุทธรณ์ภาค3แต่ศาลอุทธรณ์ภาค3ไม่ได้วินิจฉัยและฎีกาของโจทก์ข้อนี้ไม่ได้คัดค้านว่าการที่ศาลอุทธรณ์ภาค3ไม่วินิจฉัยไม่ชอบแต่อย่างใดฎีกาของโจทก์ไม่ชัดแจ้งไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2281/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดประเด็นข้อพิพาท, การโต้แย้งคำสั่งศาล, และข้อจำกัดการฎีกาในคดีที่มีราคาทรัพย์สินต่ำ
จำเลยให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ไว้โดยชัดแจ้งแล้วว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ของโจทก์ เนื่องจากที่ดินพิพาทอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ รายละเอียดจำเลยจะนำสืบและอ้างเอกสารส่งในชั้นพิจารณา คำให้การจำเลยจึงมีประเด็นว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติหรือไม่ เมื่อศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เนื่องจากที่ดินพิพาทเป็นที่ดินป่าสงวนแห่งชาติหรือไม่ โดยให้จำเลยสืบก่อนแล้วโจทก์สืบแก้ หากโจทก์เห็นว่าจำเลยมิได้ให้การปฏิเสธโดยชัดแจ้งในประเด็นดังกล่าว โจทก์ชอบที่จะโต้แย้งคำสั่งดังกล่าวของศาลชั้นต้นไว้ เนื่องจากเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา แต่โจทก์มิได้โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้น จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226
โจทก์ฎีกาว่า พยานหลักฐานที่จำเลยนำสืบยังฟังไม่ได้ว่าที่ดินพิพาทอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาตินั้น เป็นฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 3 จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ซึ่งคดีมีราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
ส่วนโจทก์ฎีกาว่า จำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์หรือไม่ ฎีกาโจทก์ข้อนี้โจทก์ได้อุทธรณ์ประเด็นข้อนี้ต่อศาลอุทธรณ์ภาค 3 แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ไม่ได้วินิจฉัยและฎีกาของโจทก์ข้อนี้ไม่ได้คัดค้านว่าการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ไม่วินิจฉัยไม่ชอบแต่อย่างใด ฎีกาของโจทก์จึงไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ฎีกาว่า พยานหลักฐานที่จำเลยนำสืบยังฟังไม่ได้ว่าที่ดินพิพาทอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาตินั้น เป็นฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 3 จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ซึ่งคดีมีราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
ส่วนโจทก์ฎีกาว่า จำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์หรือไม่ ฎีกาโจทก์ข้อนี้โจทก์ได้อุทธรณ์ประเด็นข้อนี้ต่อศาลอุทธรณ์ภาค 3 แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ไม่ได้วินิจฉัยและฎีกาของโจทก์ข้อนี้ไม่ได้คัดค้านว่าการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ไม่วินิจฉัยไม่ชอบแต่อย่างใด ฎีกาของโจทก์จึงไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1975/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการเรียกร้องหนี้จากตัวแทน และอำนาจฟ้องเมื่อมีการโต้แย้งสิทธิ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ได้มอบสินค้าให้จำเลยไปขายแทนโจทก์ จำเลยก็รับว่าได้รับสินค้าของโจทก์ไว้ขายจริง ดังนี้ ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเป็นเรื่องตัวแทน โจทก์ในฐานะตัวการฟ้องเรียกเงินที่จำเลยได้รับไว้เกี่ยวด้วยการเป็นตัวแทนของจำเลย ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษจึงต้องใช้อายุความทั่วไป ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 เดิม อันเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้อง ซึ่งมีกำหนด 10 ปี บังคับ เมื่อนับตั้งแต่โจทก์มอบสินค้าให้จำเลยไปขายแทนจนถึงวันฟ้อง ยังไม่เกิน 10 ปีฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
ที่จำเลยฎีกาว่าโจทก์ยังไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องเพราะโจทก์มิได้เรียกร้องให้จำเลยคืนค่าสินค้าที่ฝากให้จำเลยขายเสียก่อน จำเลยจึงมิได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์นั้น ข้อนี้แม้จำเลยมิได้ให้การไว้ แต่เป็นปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้องอันเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะยกขึ้นอ้างซึ่งปัญหาเช่นว่านั้นในชั้นฎีกาได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคสอง และศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยให้ได้ ปัญหานี้โจทก์ได้ให้ทนายความมีหนังสือแจ้งให้จำเลยส่งมอบเงินค่าสินค้าที่ฝากให้จำเลยขายส่วนที่ยังเหลืออยู่ภายใน 3 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ ซึ่งจำเลยได้รับหนังสือดังกล่าวแล้ว เมื่อจำเลยยังมิได้ชำระหนี้ตามหนังสือนั้นให้โจทก์ภายในกำหนดเวลาดังกล่าวจึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจนำคดีนี้มาฟ้องจำเลยให้รับผิดในหนี้ดังกล่าวต่อโจทก์ได้
ที่จำเลยฎีกาว่าโจทก์ยังไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องเพราะโจทก์มิได้เรียกร้องให้จำเลยคืนค่าสินค้าที่ฝากให้จำเลยขายเสียก่อน จำเลยจึงมิได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์นั้น ข้อนี้แม้จำเลยมิได้ให้การไว้ แต่เป็นปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้องอันเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะยกขึ้นอ้างซึ่งปัญหาเช่นว่านั้นในชั้นฎีกาได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคสอง และศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยให้ได้ ปัญหานี้โจทก์ได้ให้ทนายความมีหนังสือแจ้งให้จำเลยส่งมอบเงินค่าสินค้าที่ฝากให้จำเลยขายส่วนที่ยังเหลืออยู่ภายใน 3 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ ซึ่งจำเลยได้รับหนังสือดังกล่าวแล้ว เมื่อจำเลยยังมิได้ชำระหนี้ตามหนังสือนั้นให้โจทก์ภายในกำหนดเวลาดังกล่าวจึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจนำคดีนี้มาฟ้องจำเลยให้รับผิดในหนี้ดังกล่าวต่อโจทก์ได้