พบผลลัพธ์ทั้งหมด 487 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1740/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ชื่อและภาพถ่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต แม้ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ แต่เป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลและเรียกค่าเสียหายได้
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองนำภาพถ่ายโจทก์และนามแฝง "หนู มิเตอร์" ของโจทก์มาพิมพ์ลงในแผ่นวีซีดีคาราโอเกะและซีดีเพลงโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยทั้งสองให้การต่อสู้ว่า การเอานามแฝงและภาพถ่ายโจทก์มาพิมพ์ลงบนปกซีดีเพลงและวีซีดีคาราโอเกะไม่ได้ทำความเสียหายแก่โจทก์ โดยไม่ได้ปฏิเสธว่า โจทก์อนุญาตให้จำเลยทั้งสองเอานามแฝงและภาพถ่ายโจทก์มาพิมพ์ลงบนปกซีดีเพลงและวีซีดีคาราโอเกะ เท่ากับจำเลยทั้งสองยอมรับข้อเท็จจริงว่าโจทก์มิได้อนุญาตให้จำเลยทั้งสองเอานามแฝงและภาพถ่ายโจทก์มาพิมพ์ลงบนปกซีดีเพลงและวีซีดีคาราโอเกะแล้ว
แม้โจทก์จะเป็นนักร้องและนักดนตรีซึ่งร้องและเล่นดนตรีตามบทดนตรีกรรมอันถือเป็นนักแสดงตามความหมายที่บัญญัติไว้ในมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ก็ตาม แต่การที่จำเลยทั้งสองร่วมกันผลิตและจัดจำหน่ายแผ่นซีดีเพลงและวีซีดีคาราโอเกะโดยใช้นามแฝงของโจทก์และนำภาพถ่ายโจทก์มาพิมพ์ลงบนปกซีดีและวีซีดีโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์มิใช่การกระทำต่อการแสดงสดของโจทก์โดยการแพร่เสียงแพร่ภาพหรือเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งการแสดงสดนั้น หรือบันทึกการแสดงของโจทก์และมิใช่การทำซ้ำซึ่งสิ่งบันทึกการแสดงที่มีผู้บันทึกไว้โดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ หรือทำซ้ำซึ่งสิ่งบันทึกการแสดงที่ได้รับอนุญาตจากโจทก์เพื่อวัตถุประสงค์อื่น หรือทำซ้ำซึ่งสิ่งบันทึกการแสดงที่เข้าข้อยกเว้นการละเมิดสิทธิของนักแสดงตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 53 อันเป็นสิทธิแต่ผู้เดียวของโจทก์ผู้เป็นนักแสดงตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 44 จึงไม่ใช่การละเมิดสิทธิของโจทก์ผู้เป็นนักแสดงตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 52 ประกอบมาตรา 44 แต่การที่จำเลยทั้งสองกระทำการดังกล่าวโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายโดยประชาชนทั่วไปและแฟนเพลงของโจทก์เกิดความเข้าใจผิดว่ามีการออกซีดีเพลงและวีซีดีคาราโอเกะโดยใช้นามแฝงว่า "หนู มิเตอร์" และมีการถ่ายรูปในการออกซีดีเพลงและวีซีดีคาราโอเกะดังกล่าวจริง โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายเนื่องจากการที่จำเลยทั้งสองใช้นามแฝงของโจทก์โดยมิได้รับอำนาจให้ใช้ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 18 และ 420
แม้โจทก์จะเป็นนักร้องและนักดนตรีซึ่งร้องและเล่นดนตรีตามบทดนตรีกรรมอันถือเป็นนักแสดงตามความหมายที่บัญญัติไว้ในมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ก็ตาม แต่การที่จำเลยทั้งสองร่วมกันผลิตและจัดจำหน่ายแผ่นซีดีเพลงและวีซีดีคาราโอเกะโดยใช้นามแฝงของโจทก์และนำภาพถ่ายโจทก์มาพิมพ์ลงบนปกซีดีและวีซีดีโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์มิใช่การกระทำต่อการแสดงสดของโจทก์โดยการแพร่เสียงแพร่ภาพหรือเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งการแสดงสดนั้น หรือบันทึกการแสดงของโจทก์และมิใช่การทำซ้ำซึ่งสิ่งบันทึกการแสดงที่มีผู้บันทึกไว้โดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ หรือทำซ้ำซึ่งสิ่งบันทึกการแสดงที่ได้รับอนุญาตจากโจทก์เพื่อวัตถุประสงค์อื่น หรือทำซ้ำซึ่งสิ่งบันทึกการแสดงที่เข้าข้อยกเว้นการละเมิดสิทธิของนักแสดงตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 53 อันเป็นสิทธิแต่ผู้เดียวของโจทก์ผู้เป็นนักแสดงตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 44 จึงไม่ใช่การละเมิดสิทธิของโจทก์ผู้เป็นนักแสดงตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 52 ประกอบมาตรา 44 แต่การที่จำเลยทั้งสองกระทำการดังกล่าวโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายโดยประชาชนทั่วไปและแฟนเพลงของโจทก์เกิดความเข้าใจผิดว่ามีการออกซีดีเพลงและวีซีดีคาราโอเกะโดยใช้นามแฝงว่า "หนู มิเตอร์" และมีการถ่ายรูปในการออกซีดีเพลงและวีซีดีคาราโอเกะดังกล่าวจริง โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายเนื่องจากการที่จำเลยทั้งสองใช้นามแฝงของโจทก์โดยมิได้รับอำนาจให้ใช้ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 18 และ 420
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1385/2554 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็ค-การแก้ไขและการฟ้องร้อง-อายุความ-การโอนและการฉ้อฉล-ผู้ทรงโดยชอบธรรม
เช็คเป็นตราสารเปลี่ยนมือได้ ย่อมโอนเปลี่ยนมือกันได้ด้วยการสลักหลังและส่งมอบเช็คในกรณีเช็คระบุชื่อ หรือด้วยการส่งมอบเช็คในกรณีเช็คผู้ถือ เช็คพิพาททั้ง 5 ฉบับ เป็นเช็คสั่งจ่ายเงินสดโดยมิได้ระบุชื่อหรือยี่ห้อผู้รับเงินและมิได้ขีดฆ่าคำว่า หรือผู้ถือออก จึงเป็นเช็คผู้ถือ โจทก์เป็นผู้มีเช็คพิพาทไว้ในครอบครองโจทก์จึงเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 904 เมื่อการแก้ไขวันเดือนปีในเช็คพิพาทเป็นการแก้ไขโดยจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายและลงลายมือชื่อกำกับไว้ด้วยโดยโจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงยินยอม เช็คพิพาทจึงไม่เสียไปและใช้ได้ต่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้แก้ไขตาม ป.พ.พ. มาตรา 1007 วรรคแรก โดยถือว่าเช็คพิพาทมีกำหนดเวลาใช้เงินตามที่แก้ไขนั้น หาใช่เป็นเรื่องขยายอายุความฟ้องร้องไม่
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง ให้จำเลยแสดงโดยชัดแจ้งในคำให้การว่าจำเลยยอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วน รวมทั้งเหตุแห่งการนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 ให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ว่าคดีขาดอายุความ จำเลยต้องให้การโดยชัดแจ้งถึงเหตุแห่งการขาดอายุความนั้นด้วยว่า คดีโจทก์เริ่มนับอายุความตั้งแต่เมื่อใดและขาดอายุความเมื่อใด การที่จำเลยที่ 1 ให้การแต่เพียงว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความแล้ว กล่าวคือ เช็คแต่ละฉบับลงวันที่เท่าใด โจทก์ใช้อุบายหลอกลวงให้จำเลยที่ 1 แก้ไขวันเดือนปีในเช็คเป็นวันที่เท่าใด โดยมิได้ให้การว่าอายุความนับตั้งแต่วันที่เท่าใด เช็คขาดอายุความแล้วตั้งแต่เมื่อใดและจะครบกำหนด 1 ปี วันใด จึงเป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง
การที่จำเลยที่ 1 อ้างว่า เช็คพิพาทไม่มีมูลหนี้ระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 เป็นการอ้างข้อต่อสู้อันอาศัยความเกี่ยวพันเฉพาะบุคคลระหว่างตนกับผู้ทรงคนก่อน ๆ ต้องห้ามมิให้ยกขึ้นต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย เว้นแต่การโอนจะได้มีขึ้นด้วยคบคิดกันฉ้อฉลตาม ป.พ.พ. มาตรา 916 แต่จำเลยที่ 1 มิได้ให้การโดยชัดแจ้งว่า โจทก์ได้รับโอนเช็คพิพาทจากจำเลยที่ 2 โดยคบคิดกันฉ้อฉล และคบคิดกันฉ้อฉลอย่างไร เพียงแต่ให้การว่าโจทก์และจำเลยที่ 2 โดยทุจริตร่วมกันได้นำเช็คมาฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ซึ่งไม่ชัดแจ้งว่าคบคิดกันฉ้อฉลอย่างไร รวมทั้งไม่สุจริตหรือทุจริตร่วมกันนำเช็คมาฟ้องอย่างไร จึงไม่มีประเด็นว่าคบคิดกันฉ้อฉล รวมทั้งใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ฎีกาของจำเลยที่ 1 ข้อนี้จึงเป็นฎีกาในข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ในประเด็นข้อนี้ให้จำเลยที่ 1 จึงไม่ชอบ
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง ให้จำเลยแสดงโดยชัดแจ้งในคำให้การว่าจำเลยยอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วน รวมทั้งเหตุแห่งการนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 ให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ว่าคดีขาดอายุความ จำเลยต้องให้การโดยชัดแจ้งถึงเหตุแห่งการขาดอายุความนั้นด้วยว่า คดีโจทก์เริ่มนับอายุความตั้งแต่เมื่อใดและขาดอายุความเมื่อใด การที่จำเลยที่ 1 ให้การแต่เพียงว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความแล้ว กล่าวคือ เช็คแต่ละฉบับลงวันที่เท่าใด โจทก์ใช้อุบายหลอกลวงให้จำเลยที่ 1 แก้ไขวันเดือนปีในเช็คเป็นวันที่เท่าใด โดยมิได้ให้การว่าอายุความนับตั้งแต่วันที่เท่าใด เช็คขาดอายุความแล้วตั้งแต่เมื่อใดและจะครบกำหนด 1 ปี วันใด จึงเป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง
การที่จำเลยที่ 1 อ้างว่า เช็คพิพาทไม่มีมูลหนี้ระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 เป็นการอ้างข้อต่อสู้อันอาศัยความเกี่ยวพันเฉพาะบุคคลระหว่างตนกับผู้ทรงคนก่อน ๆ ต้องห้ามมิให้ยกขึ้นต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย เว้นแต่การโอนจะได้มีขึ้นด้วยคบคิดกันฉ้อฉลตาม ป.พ.พ. มาตรา 916 แต่จำเลยที่ 1 มิได้ให้การโดยชัดแจ้งว่า โจทก์ได้รับโอนเช็คพิพาทจากจำเลยที่ 2 โดยคบคิดกันฉ้อฉล และคบคิดกันฉ้อฉลอย่างไร เพียงแต่ให้การว่าโจทก์และจำเลยที่ 2 โดยทุจริตร่วมกันได้นำเช็คมาฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ซึ่งไม่ชัดแจ้งว่าคบคิดกันฉ้อฉลอย่างไร รวมทั้งไม่สุจริตหรือทุจริตร่วมกันนำเช็คมาฟ้องอย่างไร จึงไม่มีประเด็นว่าคบคิดกันฉ้อฉล รวมทั้งใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ฎีกาของจำเลยที่ 1 ข้อนี้จึงเป็นฎีกาในข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ในประเด็นข้อนี้ให้จำเลยที่ 1 จึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1069/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ต้องทำในที่ดินของผู้อื่น การให้การขัดแย้งกันทำให้ประเด็นกรรมสิทธิ์จากการครอบครองไม่成立
คำให้การของจำเลยที่ว่า ที่ดินส่วนที่จำเลยคัดค้านเป็นที่ดินของจำเลยเอง หากไม่ใช่ที่ดินของจำเลย จำเลยก็ได้ครอบครองโดยสงบเปิดเผยเป็นระยะเวลาติดต่อกันเกินกว่า 10 ปี จนได้กรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครอง ถือเป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้งเพราะคำให้การของจำเลยในตอนหลังขัดแย้งกันคำให้การของจำเลยในตอนแรกคำให้การในตอนหลังนี้เท่ากับจำเลยได้ให้การว่า ที่ดินพิพาทไม่ได้เป็นของจำเลยแต่จำเลยครอบครองติดต่อกันโดยสงบเปิดเผยติดต่อกันเกินกว่า 10 ปี เมื่อคำให้การของจำเลยขัดแย้งกัน จึงเป็นคำให้การที่ไม่มีประเด็นเรื่องจำเลยได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองหรือไม่ เพราะการครอบครองปรปักษ์มีได้แต่เฉพาะในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11572/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับช่วงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากการขนส่งสินค้าชำรุด และการกำหนดประเด็นข้อพิพาทเรื่องค่าเสียหายโดยศาล
ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง บัญญัติว่า ให้จำเลยแสดงโดยชัดแจ้งในคำให้การว่า จำเลยยอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วน รวมทั้งเหตุแห่งการนั้น การที่จำเลยให้การในตอนต้นว่า จำเลยไม่เคยรับขนส่งสินค้าที่พิพาท และชื่อผู้ขนส่งตามที่ระบุไว้ในใบรับขนของทางอากาศก็ไม่ใช่ชื่อของจำเลย ส่วนตอนท้ายจำเลยให้การว่า หากศาลฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยมีหน้าที่ต้องรับผิดในความเสียหายของสินค้าแล้ว จำเลยสามารถจำกัดความรับผิดได้ไม่เกิน 20 ดอลลาร์สหรัฐต่อน้ำหนักสินค้า 1 กิโลกรัม คำให้การดังกล่าวเมื่ออ่านโดยรวมแล้วสามารถเข้าใจได้ว่าจำเลยให้การปฏิเสธฟ้องของโจทก์ และยังให้การต่อสู้ว่าจำเลยไม่จำต้องรับผิดตามจำนวนค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องมา คำให้การของจำเลยดังกล่าวจึงไม่มีลักษณะเป็นการยืนยันข้อเท็จจริงหลายทางไม่ชัดแจ้งว่าข้อเท็จจริงที่ให้การนั้นเป็นไปในทางหนึ่งทางใด อันจะถือเป็นคำให้การที่ขัดกันดังที่โจทก์อุทธรณ์ คำให้การของจำเลยชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ และวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสองแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9216/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำให้การปฏิเสธฟ้องและประเด็นการนำสืบ: การรับชำระหนี้และการรับช่วงสิทธิ
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การในตอนแรกว่า จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเงินกู้ตามฟ้องกับบริษัท ม. จริง แต่ไม่ได้รับเงินกู้ บัญชีเงินกู้ตามเอกสารท้ายฟ้องเป็นเอกสารที่โจทก์หรือบุคคลอื่นทำขึ้นเอง จำเลยที่ 1 ไม่ได้เกี่ยวข้องและเป็นเอกสารที่ไม่ถูกต้อง ส่วนตามคำให้การในตอนหลังที่ว่า หากฟังว่าจำเลยที่ 1 ได้ชำระหนี้ให้แก่บริษัท ม. เรื่อยมา แต่บริษัท ม. ถูกปิดกิจการ ทำให้ไม่สามารถติดต่อชำระหนี้ได้ จำเลยที่ 1 จึงไม่ใช่ผู้ผิดนัดชำระหนี้ และหากโจทก์มีสิทธิรับช่วงสิทธิและเรียกร้องจากจำเลยที่ 1 ก็มีสิทธิเรียกร้องได้ไม่เกินจำนวนที่โจทก์รับช่วงสิทธิมานั้น มิใช่เป็นคำให้การที่จำเลยที่ 1 ยอมรับว่าได้รับเงินกู้ตามฟ้องจากบริษัท ม. จึงมิใช่คำให้การที่ขัดแย้งกันเองหรือไม่ชัดแจ้งว่ายอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างในคำฟ้องของโจทก์ ถือได้ว่าคำให้การของจำเลยที่ 1 และ ที่ 2 ได้แสดงโดยแจ้งชัดว่าปฏิเสธฟ้องของโจทก์รวมทั้งเหตุแห่งการนั้นแล้ว จึงเป็นคำให้การที่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง และมีประเด็นที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะนำสืบได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7463/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องค่าเช่าและค่าปรับ, การหักกลบลบหนี้, ลูกหนี้ร่วม
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 563 บัญญัติว่า คดีอันผู้ให้เช่าจะฟ้องผู้เช่าเกี่ยวแก่สัญญาเช่านั้น ท่านห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นกำหนดหกเดือน นับแต่วันส่งคืนทรัพย์สินที่เช่าการที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระค่าปรับตามสัญญาเช่าวันละ 200 บาท ของค่าเช่าแต่ละงวดที่ยังไม่ได้ชำระกับค่าปรับจำนวนหนึ่งในสิบของค่าเช่าที่เหลือตลอดอายุของสัญญาเช่าเป็นการฟ้องเรียกค่าปรับตามสัญญาเช่าที่กำหนดให้จำเลยผู้เช่าต้องชำระเพราะเหตุผิดสัญญาจึงอยู่ในบังคับ ป.พ.พ. มาตรา 563 ต้องใช้อายุความหกเดือน แต่การที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสี่ชำระค่าขาดประโยชน์เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายอันสืบเนื่องมาจากการผิดสัญญาเช่า มิใช่กรณีฟ้องเกี่ยวแก่สัญญาเช่าเมื่อกฎหมายลักษณะเช่าทรัพย์ไม่ได้บัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความสิบปีตามมาตรา 193/30 ฟ้องโจทก์ในส่วนค่าขาดประโยชน์จึงไม่ขาดอายุความและเมื่อค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 ต้องใช้แก่โจทก์เป็นมูลหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกชำระกันได้ระหว่างจำเลยที่ 1 ผู้เช่าและจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ผู้ค้ำประกันคำพิพากษาจึงต้องมีผลถึงจำเลยที่ 2 ซึ่งต้องรับผิดเป็นลูกหนี้ร่วมที่มิได้ฎีกาด้วยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1) ประกอบมาตรา 247
ส่วนที่จำเลยที่ 1 ฎีกาขอหักกลบลบหนี้ค่าเสียหายและค่าปรับกับโจทก์จากเงินที่จำเลยที่ 1 วางเป็นประกันตามสัญญาเช่านั้น เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้ขอหักกลบลบหนี้มาในคำให้การ คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทเกี่ยวกับการหักกลบลบหนี้ ที่จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ประเด็นข้อนี้มาและศาลอุทธรณ์เห็นว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่งนั้นชอบแล้วศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้เช่นกัน
ส่วนที่จำเลยที่ 1 ฎีกาขอหักกลบลบหนี้ค่าเสียหายและค่าปรับกับโจทก์จากเงินที่จำเลยที่ 1 วางเป็นประกันตามสัญญาเช่านั้น เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้ขอหักกลบลบหนี้มาในคำให้การ คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทเกี่ยวกับการหักกลบลบหนี้ ที่จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ประเด็นข้อนี้มาและศาลอุทธรณ์เห็นว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่งนั้นชอบแล้วศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4572/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำให้การที่ไม่ชัดเจน, ประเด็นข้อพิพาท, และข้อจำกัดการฎีกาในประเด็นใหม่
จำเลยให้การว่าโจทก์ร่วมทำผิดสัญญาทำให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงจึงบอกกล่าวเลิกสัญญานั้น คำให้การของจำเลยไม่มีรายละเอียดข้อเท็จจริงว่าโจทก์ร่วมทำผิดสัญญาอย่างไร เป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้งไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง คดีไม่มีประเด็นเรื่องนี้ และจำเลยไม่มีสิทธินำพยานเข้าสืบ ที่จำเลยอ้างรายละเอียดคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาของโจทก์คำร้องดังกล่าวของโจทก์ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของคำให้การ ไม่ทำให้การจำเลยชัดแจ้งขึ้นมาได้ทั้งสำเนาเอกสารหมายเลข 3 ท้ายคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาของโจทก์นั้นลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2542 เป็นข้อต่อสู้ซึ่งเกิดขึ้นภายหลังยื่นฟ้องคดีนี้แล้ว จำเลยจึงยกขึ้นต่อสู้โจทก์ไม่ได้ตาม ป.พ.พ. 236
ศาลชั้นต้นสั่งในคำคัดค้านการกำหนดประเด็นข้อพิพาทของโจทก์ลงวันที่ 17 พฤษภาคม 2542 ว่า รับรวม เท่ากับศาลชั้นต้นไม่เพิกถอนประเด็นข้อพิพาท ถือว่าศาลชั้นต้นได้ชี้ขาดคำคัดด้านของโจทก์ก่อนวันสืบพยานตาม ป.วิ.พ. มาตรา 183 วรรคท้าย เมื่อศาลชั้นต้นโดยองค์คณะผู้พิพากษาที่ได้รับสำนวนต่อมาเห็นว่า ประเด็นข้อพิพาทที่กำหนดไว้เดิมไม่ถูกต้องศาลมีอำนาจที่จะสั่งเพิกถอนประเด็นข้อพิพาทตามที่ศาลเห็นสมควรตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคหนึ่ง ในคำพิพากษาได้
จำเลยไม่ได้ให้การในเรื่องหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมระหว่างโจทก์กับโจทก์ร่วมเกิดขึ้นโดยการสมยอมกัน โจทก์ไม่มีอำนาจฟัอง ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ศาลชั้นต้นสั่งในคำคัดค้านการกำหนดประเด็นข้อพิพาทของโจทก์ลงวันที่ 17 พฤษภาคม 2542 ว่า รับรวม เท่ากับศาลชั้นต้นไม่เพิกถอนประเด็นข้อพิพาท ถือว่าศาลชั้นต้นได้ชี้ขาดคำคัดด้านของโจทก์ก่อนวันสืบพยานตาม ป.วิ.พ. มาตรา 183 วรรคท้าย เมื่อศาลชั้นต้นโดยองค์คณะผู้พิพากษาที่ได้รับสำนวนต่อมาเห็นว่า ประเด็นข้อพิพาทที่กำหนดไว้เดิมไม่ถูกต้องศาลมีอำนาจที่จะสั่งเพิกถอนประเด็นข้อพิพาทตามที่ศาลเห็นสมควรตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคหนึ่ง ในคำพิพากษาได้
จำเลยไม่ได้ให้การในเรื่องหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมระหว่างโจทก์กับโจทก์ร่วมเกิดขึ้นโดยการสมยอมกัน โจทก์ไม่มีอำนาจฟัอง ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3784/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระการพิสูจน์ของโจทก์ในการฟ้องหนี้, การวินิจฉัยนอกสำนวน, และขอบเขตการนำสืบพยานหลักฐาน
จำเลยสละข้อต่อสู้ตามคำให้การที่ว่าหนังสือสัญญากู้ยืมเป็นเอกสารปลอม คงเหลือข้อต่อสู้เพียงว่า จำเลยไม่เคยมีนิติสัมพันธ์ ไม่เคยกู้ยืมเงิน และรับเงินไปจากโจทก์ คำให้การของจำเลยที่เหลือหลังจากสละข้อต่อสู้บางข้อแล้ว ยังคงเป็นคำให้การที่ปฏิเสธฟ้องโจทก์รวมทั้งเหตุแห่งการปฏิเสธชัดแจ้งเป็นคำให้การที่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง โจทก์จึงมีภาระการพิสูจน์ว่าจำเลยกู้ยืมเงินและรับเงินไปจากโจทก์
โจทก์อ้างหนังสือสัญญากู้ยืมซึ่งมี ก. ลงชื่อในช่องผู้ให้กู้ โดยโจทก์ไม่ได้ลงชื่อ ศาลชั้นต้นรับฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยมิได้กู้ยืมเงินและรับเงินไปจากโจทก์ เป็นการวินิจฉัยโดยอาศัยพยานหลักฐานในสำนวนคดีที่โจทก์นำสืบนั่นเอง หาเป็นการวินิจฉัยนอกสำนวนไม่ ที่จำเลยนำสืบว่า จำเลยกู้ยืมเงินจาก ก. และศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยกู้ยืมเงินจาก ก. เป็นการนำสืบและวินิจฉัยเพื่อเป็นการให้เหตุผลหรืออธิบายว่าจำเลยไม่ได้กู้ยืมเงินและรับเงินไปจากโจทก์ จึงเป็นการนำสืบและวินิจฉัยอยู่ในกรอบของคำให้การที่ว่าจำเลยไม่ได้กู้ยืมเงินและรับเงินไปจากโจทก์
โจทก์อ้างหนังสือสัญญากู้ยืมซึ่งมี ก. ลงชื่อในช่องผู้ให้กู้ โดยโจทก์ไม่ได้ลงชื่อ ศาลชั้นต้นรับฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยมิได้กู้ยืมเงินและรับเงินไปจากโจทก์ เป็นการวินิจฉัยโดยอาศัยพยานหลักฐานในสำนวนคดีที่โจทก์นำสืบนั่นเอง หาเป็นการวินิจฉัยนอกสำนวนไม่ ที่จำเลยนำสืบว่า จำเลยกู้ยืมเงินจาก ก. และศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยกู้ยืมเงินจาก ก. เป็นการนำสืบและวินิจฉัยเพื่อเป็นการให้เหตุผลหรืออธิบายว่าจำเลยไม่ได้กู้ยืมเงินและรับเงินไปจากโจทก์ จึงเป็นการนำสืบและวินิจฉัยอยู่ในกรอบของคำให้การที่ว่าจำเลยไม่ได้กู้ยืมเงินและรับเงินไปจากโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3706-3718/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกานี้วินิจฉัยว่าการวินิจฉัยของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ที่วินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณะเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นและไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยทั้งสิบสามและบริวารที่เข้าไปบุกรุกที่ดินพิพาท ให้ออกจากที่ดินพิพาท จำเลยทั้งสิบสามให้การว่า จำเลยแต่ละคนครอบครองโดยสุจริต สงบ และเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของมานาน โจทก์ไม่เคยเกี่ยวข้องหรือครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท เอกสารสิทธิของที่ดินพิพาทออกโดยไม่ชอบ คดีมีประเด็นข้อพิพาทว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือจำเลยทั้งสิบสาม แม้จำเลยทั้งสิบสามจะให้การว่า จำเลยแต่ละคนและบริวารทั้งชาวบ้านในหมู่บ้านเดียวกันกับชาวบ้านในหมู่บ้านใกล้เคียงได้เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทซึ่งมีเนื้อที่หลายพันไร่มานานตั้งแต่สมัยปู่ย่าตายาย ก็ไม่อาจแปลได้ว่า ที่ดินพิพาทดังกล่าวเป็นที่สาธารณะ การที่จำเลยทั้งสิบสามนำสืบว่าที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณะ จึงเป็นการนำสืบนอกคำให้การและนอกประเด็นข้อพิพาทที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ ทั้งไม่ใช่ข้อเท็จจริงที่คู่ความจะต้องนำสืบหรือมีกฎหมายบังคับให้ต้องแสดง ศาลจะรับฟังมาวินิจฉัยไม่ได้เพราะเป็นข้อเท็จจริงที่ได้มาไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 ที่ศาลล่างทั้งสองนำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาวินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณะจึงเป็นการไม่ชอบ แม้คดีนี้จะขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาเฉพาะในส่วนฟ้องแย้ง และคดีตามฟ้องเดิมของโจทก์ทั้งสิบสามสำนวนจะต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ก็ตาม แต่ข้อเท็จจริงที่ปรากฏจากพยานหลักฐานนอกข้อต่อสู้ในคำให้การ และนอกประเด็นข้อพิพาทอันเป็นประเด็นสำคัญในฟ้องเดิม มีผลทำให้การวินิจฉัยคดีในส่วนฟ้องแย้งที่ขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาคลาดเคลื่อนไปจากความจริง จึงเป็นกรณีที่ศาลล่างทั้งสองมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรม และเมื่อความปรากฏแก่ศาลฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยและเห็นควรให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทที่ถูกต้องในส่วนฟ้องเดิมและฟ้องแย้งเสียทั้งหมด แล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1) ประกอบมาตรา 247 เพราะข้อเท็จจริงตามฟ้องเดิมและฟ้องแย้งเป็นเรื่องเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2219/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามตามมาตรา 249 วรรคหนึ่ง และการปฏิเสธข้อกล่าวหาที่ขัดแย้งกัน ทำให้ไม่อาจสืบพยานได้
เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาว่า โจทก์ทำสัญญาซื้อขายบ้านกับ ป. โจทก์จึงเป็นเจ้าของบ้าน และการบอกเลิกการเช่าเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งเป็นประเด็นพิพาทกัน จำเลยไม่อุทธรณ์โต้เถียงในประเด็นดังกล่าว ข้อเท็จจริงจึงรับฟังยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยยกประเด็นดังกล่าวขึ้นมาฎีกาเป็นการกล่าวอ้างข้อเท็จจริงที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในชั้นอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
โจทก์ฟ้องว่านับแต่จำเลยเช่าบ้านจากโจทก์ จำเลยชำระค่าเช่าแก่โจทก์เดือนละ 16,000 บาท ตามที่กำหนดไว้ในสัญญาเช่ามาตลอด และนับแต่เดือนมีนาคม 2540 เป็นต้นมา จำเลยก็ไม่ชำระค่าเช่าแก่โจทก์อีกจนกระทั่งถึงวันฟ้อง ซึ่งในข้อนี้จำเลยให้การและนำสืบว่า จำเลยชำระค่าเช่าแก่โจทก์มาตลอดจนกระทั่งถูกโจทก์ฟ้องจำเลยจึงไม่ชำระแก่โจทก์ ขณะเดียวกันจำเลยได้ให้การต่อสู้ด้วยว่าหากฟังว่าจำเลยไม่ชำระค่าเช่า เมื่อนับระยะเวลาตั้งแต่เดือนมีนาคม 2540 ที่จำเลยผิดนัดถึงวันฟ้อง คดีของโจทก์ก็ขาดอายุความแล้ว คำให้การดังกล่าวจึงขัดแย้งกันเท่ากับมิได้ปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง จำเลยจึงไม่มีสิทธิสืบพยานตามที่ให้การต่อสู้
โจทก์ฟ้องว่านับแต่จำเลยเช่าบ้านจากโจทก์ จำเลยชำระค่าเช่าแก่โจทก์เดือนละ 16,000 บาท ตามที่กำหนดไว้ในสัญญาเช่ามาตลอด และนับแต่เดือนมีนาคม 2540 เป็นต้นมา จำเลยก็ไม่ชำระค่าเช่าแก่โจทก์อีกจนกระทั่งถึงวันฟ้อง ซึ่งในข้อนี้จำเลยให้การและนำสืบว่า จำเลยชำระค่าเช่าแก่โจทก์มาตลอดจนกระทั่งถูกโจทก์ฟ้องจำเลยจึงไม่ชำระแก่โจทก์ ขณะเดียวกันจำเลยได้ให้การต่อสู้ด้วยว่าหากฟังว่าจำเลยไม่ชำระค่าเช่า เมื่อนับระยะเวลาตั้งแต่เดือนมีนาคม 2540 ที่จำเลยผิดนัดถึงวันฟ้อง คดีของโจทก์ก็ขาดอายุความแล้ว คำให้การดังกล่าวจึงขัดแย้งกันเท่ากับมิได้ปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง จำเลยจึงไม่มีสิทธิสืบพยานตามที่ให้การต่อสู้