พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 101/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การติดต่อจัดหางานต่างประเทศ ไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจจัดหางาน หากไม่ได้เป็นผู้ส่งคนงานโดยตรง สัญญากู้ยืมจึงไม่เป็นโมฆะ
โจทก์เป็นผู้ติดต่อกับบริษัทที่จัดส่งคนงานไปทำงานในต่างประเทศให้บริษัทดังกล่าวจัดการให้จำเลยได้เดินทางไปทำงานต่างประเทศการส่งคนไปทำงานต่างประเทศเป็นเรื่องของบริษัท โจทก์ไม่ได้เป็นผู้จัดส่งเป็นเพียงการบริการให้ความสะดวกแก่จำเลยเท่านั้น แม้โจทก์จะเรียกและรับค่าบริการจากจำเลยก็ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้ประกอบธุรกิจหางานให้แก่คนหางาน หรือหาลูกจ้างให้แก่นายจ้างอันเป็นการจัดหางานตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานพ.ศ. 2511 มาตรา 4 จำเลยตกลงให้โจทก์ติดต่อกับบริษัทจัดหางานส่งจำเลยไปทำงานต่างประเทศได้ โดยโจทก์คิดค่าบริการ 35,000 บาท จำเลยไม่มีเงินโจทก์จึงให้จำเลยทำสัญญากู้ยืมเงินโจทก์ไว้ เมื่อการกระทำของโจทก์ไม่เป็นการต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2511 แล้ว สัญญากู้ยืมระหว่างโจทก์จำเลยจึงไม่เป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 โจทก์ย่อมนำสัญญากู้ยืมมาฟ้องให้จำเลยชำระเงินที่ยังค้างอยู่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 101/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันไม่เป็นโมฆะ แม้ผู้ค้ำประกันจะไม่ได้เป็นผู้รับประโยชน์โดยตรงจากสัญญาหลัก
โจทก์เป็นผู้ติดต่อกับบริษัทส่งคนงานไปทำงานในต่างประเทศบริษัทดังกล่าวจัดการให้จำเลยเดินทางไปทำงานต่างประเทศการส่งคนไปทำงานต่างประเทศเป็นเรื่องของบริษัท โจทก์เป็นเพียงผู้บริการให้ความสะดวกแก่จำเลยเท่านั้น แม้โจทก์จะเรียกและรับค่าบริการจากจำเลย ก็ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้ประกอบธุรกิจหางานให้แก่คนหางานหรือหาลูกจ้างให้แก่นายจ้าง อันเป็นการจัดหางานตาม พระราชบัญญัติ จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2511 มาตรา 4
จำเลยตกลงให้โจทก์ติดต่อกับบริษัทจัดหางานส่งจำเลยไปทำงานต่างประเทศโดยโจทก์คิดค่าบริการ 35,000 บาท และให้จำเลยทำสัญญากู้ยืมเงินโจทก์ไว้ เมื่อการกระทำของโจทก์ไม่เป็นการต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานพ.ศ. 2511 แล้ว สัญญากู้ยืมระหว่างโจทก์จำเลยจึงไม่เป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 โจทก์ย่อมนำสัญญากู้ยืมมาฟ้องให้จำเลยชำระเงินที่ยังค้างอยู่ได้.(ที่มา-ส่งเสริม)
จำเลยตกลงให้โจทก์ติดต่อกับบริษัทจัดหางานส่งจำเลยไปทำงานต่างประเทศโดยโจทก์คิดค่าบริการ 35,000 บาท และให้จำเลยทำสัญญากู้ยืมเงินโจทก์ไว้ เมื่อการกระทำของโจทก์ไม่เป็นการต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานพ.ศ. 2511 แล้ว สัญญากู้ยืมระหว่างโจทก์จำเลยจึงไม่เป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 โจทก์ย่อมนำสัญญากู้ยืมมาฟ้องให้จำเลยชำระเงินที่ยังค้างอยู่ได้.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2071/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาต: จำเลยไม่ผิดฐานเรียกเก็บค่าบริการโดยตรงจากผู้สมัครงาน
การกระทำของผู้จัดหางานที่จะเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2511 มาตรา 7 ผู้จัดหางานจะต้องเรียกหรือรับค่าบริการจากผู้สมัครงาน เมื่อจำเลยไม่เคยเรียกร้องหรือรับค่าบริการจากผู้สมัครงานแต่บริษัท ก.ซึ่งอ้างว่าเป็นผู้ประกอบธุรกิจจัดหางานเป็นผู้เรียกหรือรับค่าบริการเอง และจำเลยไม่ได้อยู่ในฐานะผู้จัดหางานตามความหมายของมาตรา 4 เพราะจำเลยไม่ได้ประกอบธุรกิจหางานให้แก่คนงานหรือหาลูกจ้างให้แก่นายจ้างจำเลยเป็นเพียงนายหน้าผู้หวังจะได้รับประโยชน์ตอบแทนจากบริษัท ก. ในการหาผู้เสียหายไปสมัครงานเท่านั้น การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานเป็นผู้จัดหางานหรือร่วมจัดหางานโดยไม่รับอนุญาต.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2071/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาต: จำเลยมีฐานะเป็นนายหน้า ไม่ใช่ผู้จัดหางานโดยตรง
การกระทำของผู้จัดหางานที่จะเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2511 มาตรา 7 ผู้จัดหางานจะต้องเรียกหรือรับค่าบริการจากผู้สมัครงาน เมื่อจำเลยไม่เคยเรียกร้องหรือรับค่าบริการจากผู้สมัครงาน แต่บริษัท ก. ซึ่งอ้างว่าเป็นผู้ประกอบธุรกิจจัดหางานเป็นผู้เรียกหรือรับค่าบริการเอง และจำเลยไม่ได้อยู่ในฐานะผู้จัดหางานตามความหมายของมาตรา 4 เพราะจำเลยไม่ได้ประกอบธุรกิจหางานให้แก่คนงานหรือหาลูกจ้างให้แก่นายจ้างจำเลยเป็นเพียงนายหน้าผู้หวังจะได้รับประโยชน์ตอบแทนจากบริษัท ก. ในการหาผู้เสียหายไปสมัครงานเท่านั้น การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานเป็นผู้จัดหางานหรือร่วมจัดหางานโดยไม่รับอนุญาต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1647/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดหางานในต่างประเทศต้องได้รับอนุญาต การมอบอำนาจจัดหางานโดยไม่จดทะเบียนเป็นความผิดตามกฎหมาย
คำว่า 'จัดหางาน' ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2511 หมายความว่า 'การประกอบธุรกิจหางานให้แก่คนหางานหรือหาลูกจ้างให้แก่นายจ้าง'เมื่อปรากฏว่ากฎกระทรวงฉบับที่ 1(พ.ศ.2511)ออกตามความในพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2511ข้อ 3 กำหนดเงื่อนไขให้ผู้รับอนุญาตจัดหางานติดต่อรับสมัครคนหางานและจัดส่งคนหางานให้แก่นายจ้างได้ภายในเขตท้องที่จังหวัดที่สำนักงานจัดหางานนั้นตั้งอยู่เท่านั้นก็ตามแต่ก็มีข้อยกเว้นว่า การจัดส่งคนหางานให้แก่นายจ้างในต่างประเทศต้องได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนจัดหางานกลางอีกชั้นหนึ่งแสดงให้เห็นว่าพระราชบัญญัติดังกล่าวมีขอบข่ายบังคับรวมทั้งการจัดหางานในประเทศและต่างประเทศดังนั้นการที่จำเลยตั้ง ถ. เป็นตัวแทนจัดหางานในต่างประเทศจึงถือได้ว่าเป็นการมอบอำนาจให้ตัวแทนทำหน้าที่เกี่ยวกับการจัดหางานของตนเมื่อจำเลยมิได้จดทะเบียนตัวแทน ย่อมเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2511 มาตรา 13
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1647/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดหางานในต่างประเทศต้องได้รับอนุญาต การมอบอำนาจตัวแทนจัดหางานโดยไม่จดทะเบียนเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. จัดหางาน
คำว่า 'จัดหางาน' ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2511 หมายความว่า 'การประกอบธุรกิจหางานให้แก่คนหางานหรือหาลูกจ้างให้แก่นายจ้าง'เมื่อปรากฏว่ากฎกระทรวงฉบับที่ 1 (พ.ศ.2511)ออกตามความในพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2511 ข้อ 3 กำหนดเงื่อนไขให้ผู้รับอนุญาตจัดหางาน ติดต่อรับสมัครคนหางานและจัดส่งคนหางานให้แก่นายจ้างได้ภายในเขตท้องที่จังหวัดที่สำนักงานจัดหางานนั้นตั้งอยู่เท่านั้นก็ตามแต่ก็มีข้อยกเว้นว่า การจัดส่งคนหางานให้แก่นายจ้างในต่างประเทศต้องได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนจัดหางานกลางอีกชั้นหนึ่ง แสดงให้เห็นว่าพระราชบัญญัติดังกล่าวมีขอบข่ายบังคับรวมทั้งการจัดหางานในประเทศและต่างประเทศ ดังนั้นการที่จำเลยตั้ง ถ. เป็นตัวแทนจัดหางานในต่างประเทศจึงถือได้ว่าเป็นการมอบอำนาจให้ตัวแทนทำหน้าที่เกี่ยวกับการจัดหางานของตน เมื่อจำเลยมิได้จดทะเบียนตัวแทน ย่อมเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2511 มาตรา 13