คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 456 วรรคสอง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 169 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2505/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขายต้องมีเจตนาผูกพัน สัญญาที่ไม่ชัดเจนไม่ถือเป็นสัญญาจะซื้อจะขายที่สมบูรณ์
ก่อนวันทำบันทึกเอกสารหมาย ล.3 แม้ฝ่ายโจทก์จะต้องการให้ จำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทให้โจทก์ แต่จำเลยก็มิได้สมัครใจที่จะทำสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทขึ้นให้เป็นการผูกพันระหว่างโจทก์จำเลย ส่วนบันทึกหมายล.3 รวม 7 แผ่น ศ. ปลัดอำเภอทำขึ้นระหว่างจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของนากับล.และพวกซึ่งเป็นผู้เช่านาและผู้ปลูกบ้านอาศัยอยู่ในที่พิพาท ในแผ่นที่ 1 และที่ 2 ระบุข้อความว่าเป็น เรื่องแจ้งการขายที่ดินโดยจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของที่นาจะทำการขายให้โจทก์หรือนิติบุคคลอื่นใดที่โจทก์เป็นกรรมการหรือผู้ถือหุ้น แต่ที่ดินแปลงนี้จำเลยได้ให้ผู้มีชื่อรวม 11 รายเช่าและปลูกบ้านอยู่อาศัย จำเลยมีความประสงค์จะขายที่นาแปลงดังกล่าวในราคา 2,688,000 บาทโดยชำระเงินงวดเดียวในวันโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดิน จึงขอเสนอขาย ให้ผู้เช่ามาก่อน จำเลยกับผู้เช่านารวม 8 รายได้ลงชื่อไว้ในบันทึกแผ่นที่ 2 นี้ ส่วนโจทก์มิได้ลงชื่อไว้ แผ่นที่ 3 ถึงที่ 5 เป็นบันทึกเกี่ยวกับ ความยินยอมของผู้เช่านาที่ยินยอมให้จำเลยขายที่พิพาทให้โจทก์ และผู้เช่านาทั้งหมดขอเลิกการเช่านาโดยมีเงื่อนไขว่าผู้เช่าขอที่นาจากโจทก์ผู้ซื้อคนละ 1 ไร่ ผู้เช่าและผู้ปลูกบ้านขอค่ารื้อถอน และผู้เช่านาทั้งหมดไม่มีความต้องการจะซื้อที่นาแปลงดังกล่าว โดยมีผู้เช่านาทั้งหมดลงชื่อไว้ฝ่ายเดียวในแผ่นที่ 4 และแผ่นที่ 5 ส่วนโจทก์และจำเลยมิได้ลงชื่อไว้ สำหรับแผ่นที่ 6 เป็นบันทึกเปรียบเทียบของนายอำเภอว่าผู้เช่านาและผู้อาศัยยินดีเลิกการเช่าและรื้อถอนบ้านออกไปจากที่ดินยอมให้เจ้าของนาขายที่นาให้โจทก์ และโจทก์ยินดียกที่นาให้ผู้เช่านารายละ 1 ไร่ และยินยอมให้ค่ารื้อบ้านแก่ผู้เช่านาและผู้อาศัยปลูกบ้าน โดยผู้เช่านาและผู้อาศัยรวม 11 ราย จำเลยในฐานะผู้ให้เช่านา โจทก์ในฐานะผู้จะซื้อกับนายอำเภอผู้เปรียบเทียบลงชื่อไว้ในแผ่นที่ 7 ดังนี้ บันทึกหมาย ล.3ที่จำเลยเข้าไปเกี่ยวข้องลงชื่อไว้เป็นเพียงการกระทำของจำเลยในฐานะผู้ให้เช่านาเสนอขายที่นาให้แก่ผู้เช่านาก่อน ตามที่กฎหมายบังคับไว้ มิได้มีใจสมัครที่จะมุ่งหมายให้ข้อความในบันทึกดังกล่าวเป็นสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทระหว่างโจทก์จำเลย บันทึกหมาย ล.3 จึงมิใช่สัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1750/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบพยานหลักฐานหักล้างเอกสารสัญญาจะซื้อจะขาย และการเลิกสัญญาเนื่องจากผิดสัญญา
สัญญาจะซื้อจะขายมีใจความว่า จำเลยผู้จะซื้อที่ดินและบ้านจากโจทก์ผู้จะขายในราคา 430,000 บาท โดยกำหนดเวลาชำระเงินเป็น 3 งวด งวดที่ 1 ชำระในวันที่ 31 มกราคม 2522 เป็นเงิน120,000 บาท งวดที่ 2 ชำระในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2522 เป็นเงิน110,000 บาท งวดที่ 3 ชำระในวันโอนเป็นเงิน 200,000 บาท และในข้อ 2 แห่ง สัญญานี้ได้ระบุว่า ในการจะซื้อจะขายนี้ผู้จะซื้อได้วาง มัดจำให้ผู้จะขายไว้แล้วเป็นเงิน 120,000 บาท ผู้จะขายได้รับเงินมัดจำไว้ถูกต้องแล้ว เช่นนี้ การที่โจทก์นำสืบว่าเงิน120,000 บาท ที่ระบุในสัญญานี้ความจริงไม่ได้จ่ายเป็นเงินสดแต่ได้จ่ายเป็นเช็คและเช็คดังกล่าวภายหลังโจทก์ก็ได้คืนให้จำเลยไปแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธินำสืบได้ เพราะเป็นการนำสืบอธิบายข้อความในเอกสาร ไม่ใช่เป็นการนำสืบแก้ไขเอกสาร
จำเลยอ้างเอกสารใบรับเงินและเช็คที่โจทก์ทำให้จำเลยยึดถือไว้ระบุว่าได้รับเช็คเงินสดจำนวน 110,000 บาท และเงินสด จำนวน200,000 บาทฉบับหนึ่ง และเอกสารใบรับเช็คเงินสดจำนวน20,000 บาท อีกฉบับหนึ่ง การที่โจทก์นำสืบว่า ใบรับเงินและใบรับเช็คดังกล่าวเป็นเอกสารไม่ถูกต้อง เพราะมีการเพิ่มเติมว่ารับจำนวนเงินสด 200,000 บาท ลงไปและเช็คดังกล่าวก็ขึ้นเงินไม่ได้ การนำสืบดังกล่าวเป็น การนำสืบหักล้างเอกสาร โจทก์ย่อมมีสิทธินำสืบพยานได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94
จำเลยฎีกาว่า หนังสือยินยอมให้ฟ้องคดีของสามีโจทก์นั้นโจทก์ทำขึ้นเองที่บ้านของโจทก์ด้วยเจตนาของโจทก์เอง ศาลอุทธรณ์ฟังเอกสารฉบับนี้คลาดเคลื่อนในข้อกฎหมายและข้อเท็จจริง ดังนี้ ฎีกาของจำเลยมิได้ยกอ้างเหตุว่าศาลอุทธรณ์วินิจฉัยคลาดเคลื่อนในข้อกฎหมายหรือข้อเท็จจริงอย่างไร จึงมิใช่เป็นฎีกาที่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1750/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบพยานเพื่ออธิบาย/หักล้างเอกสารสัญญาจะซื้อจะขาย และสิทธิในการเลิกสัญญา
สัญญาจะซื้อจะขายมีใจความว่า จำเลยผู้จะซื้อที่ดินและบ้านจากโจทก์ผู้จะขายในราคา 430,000 บาท โดยกำหนดเวลาชำระเงินเป็น 3 งวด งวดที่ 1 ชำระในวันที่ 31 มกราคม 2522 เป็นเงิน 120,000 บาท งวดที่ 2 ชำระในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2522 เป็นเงิน 110,000 บาท งวดที่ 3 ชำระในวันโอนเป็นเงิน 200,000 บาท และในข้อ 2 แห่ง สัญญานี้ได้ระบุว่า ในการจะซื้อจะขายนี้ผู้จะซื้อได้วาง มัดจำให้ผู้จะขายไว้แล้วเป็นเงิน 120,000 บาท ผู้จะขายได้รับเงินมัดจำไว้ถูกต้องแล้ว เช่นนี้ การที่โจทก์นำสืบว่าเงิน 120,000 บาท ที่ระบุในสัญญานี้ความจริงไม่ได้ จ่ายเป็นเงินสดแต่ได้จ่ายเป็นเช็ค และเช็คดังกล่าวภายหลังโจทก์ก็ได้คืนให้จำเลยไปแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธินำสืบ ได้เพราะเป็นการนำสืบอธิบายข้อความในเอกสาร ไม่ใช่เป็นการนำสืบแก้ไขเอกสาร
จำเลยอ้างเอกสารใบรับเงินและเช็คที่โจทก์ทำให้จำเลยยึดถือไว้ระบุว่าได้รับเช็คเงินสดจำนวน 110,000 บาท และเงินสดจำนวน 200,000 บาทฉบับหนึ่ง และเอกสารใบรับเช็คเงินสดจำนวน 20,000 บาท อีกฉบับหนึ่ง การที่โจทก์นำสืบว่า ใบรับเงินและใบรับเช็คดังกล่าวเป็นเอกสารไม่ถูกต้อง เพราะมีการเพิ่มเติมว่ารับจำนวนเงินสด 200,000 บาท ลงไปและเช็คดังกล่าวก็ขึ้นเงินไม่ได้ การนำสืบดังกล่าวเป็นการนำสืบหักล้างเอกสาร โจทก์ย่อมมีสิทธินำสืบพยานได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 จำเลยฎีกาว่า หนังสือยินยอมให้ฟ้องคดีของสามีโจทก์นั้นโจทก์ทำขึ้นเองที่บ้านของโจทก์ด้วยเจตนาของโจทก์เองศาลอุทธรณ์ฟังเอกสารฉบับนี้คลาดเคลื่อนในข้อกฎหมายและข้อเท็จจริง ดังนี้ ฎีกาของจำเลยมิได้ยกอ้างเหตุว่า ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยคลาดเคลื่อนในข้อกฎหมายหรือข้อเท็จจริง อย่างไร จึงมิใช่เป็นฎีกาที่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3823/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขายภารจำยอมเป็นอสังหาริมทรัพย์ ผูกพันตามเอกสาร, ห้ามเปลี่ยนแปลงข้อตกลงด้วยพยานบุคคล
บันทึกเรื่องทางภารจำยอมและแผนผังสภาพถนนซึ่งต่อท้ายข้อตกลงเรื่องกรรมสิทธิ์รวมนั้น เป็นส่วนหนึ่งของสัญญาซื้อขายที่ดินและตึกแถวซึ่งได้แบ่งแยกจดทะเบียนไปแล้วส่วนหนึ่ง ส่วนทางภารจำยอมนี้จะได้มีการจดทะเบียนกันในภายหลังเมื่อรังวัดออกโฉนดเรียบร้อยแล้ว ภารจำยอมเป็นทรัพย์สิทธิอันเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดินจึงเป็นอสังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 100 บันทึกดังกล่าวจึงเป็นสัญญาจะซื้อจะขายอสังหาริมทรัพย์อยู่ภายใต้บังคับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรค 2 เมื่อได้มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญแล้ว แสดงว่าคู่กรณีเจตนาจะผูกพันกันตามบันทึกนี้ ฉะนั้นจำเลยจะนำสืบพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารว่า ความจริงโจทก์จำเลยตกลงเรื่องทางภารจำยอมไว้เพียงด้านเดียวหาได้ไม่ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข) ต้องฟังว่าตกลงจดทะเบียนภารจำยอมถนนทั้งสี่ด้านตามแผนผังดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3632/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หลักฐานสัญญาซื้อขาย, สัญญาประนีประนอมยอมความ, การชำระหนี้ และสิทธิในการฟ้องร้องตามสัญญา
เมื่อจำเลยได้ตกลงขายข้าวโพดให้แก่โจทก์ซึ่งอยู่ต่างประเทศแล้ว จำเลยได้มีหนังสือถึงกรมการค้าต่างประเทศขออนุมัติการขายข้าวโพดรายนี้ ซึ่งหนังสือของจำเลยดังกล่าวมีลายมือชื่อของผู้จัดการบริษัทจำเลยและมีข้อความเกี่ยวกับการตกลงซื้อขายข้าวโพดรายพิพาทระหว่างโจทก์จำเลยถือได้ว่าหนังสือของจำเลยดังกล่าว เป็นหลักฐานแห่งการซื้อขายข้าวโพดรายนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา456 วรรค 2 แล้ว
ข้อตกลงระหว่างตัวแทนของโจทก์กับจำเลยเกี่ยวกับจำนวน ค่าเสียหายที่จำเลยจะต้องชดใช้ให้แก่โจทก์ในกรณีที่จำเลยผิดสัญญาไม่ส่งข้าวโพดให้โจทก์นั้นมีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดหรือลายมือชื่อของตัวแทนของฝ่ายนั้น จึงจะยกขึ้นต่อสู้คดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1313/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายและสิทธิยึดหน่วงการครอบครอง: โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยไม่ได้
โจทก์ตกลงขายบ้านให้จำเลยโดยรับเงินค่าบ้านมาเรียบร้อยแล้ว ยังไม่ไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ โดยขอผัดผ่อนจะจดทะเบียนโอนกันวันหลัง แต่ได้มอบการครอบครองบ้านให้จำเลยนั้น ย่อมเข้าลักษณะเป็นสัญญาจะซื้อขายสัญญาจะซื้อขายดังกล่าวนี้ย่อมผูกพันโจทก์อยู่ จำเลยเป็นผู้ครอบครองบ้านพิพาทของโจทก์ในฐานะผู้ซื้อ และมีหนี้อันเป็นคุณประโยชน์แก่ตนเกี่ยวด้วยบ้านซึ่งครอบครองนั้นจำเลยย่อมมีสิทธิยึดหน่วงบ้านหลังนั้นไว้ได้ โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2041/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตกลงซื้อขายเพื่อชำระหนี้เงินกู้ โดยถือว่าเงินกู้เป็นค่าที่ดินล่วงหน้า ถือเป็นสัญญาจะซื้อจะขายที่มีการชำระหนี้บางส่วนแล้ว
จำเลยกู้เงินโจทก์แล้วต่อมาจำเลยตกลงจะขายที่พิพาทให้โจทก์หักหนี้เงินกู้กับราคาที่พิพาท และให้ถือว่าเงินที่จำเลยกู้ไปเป็นเงินที่โจทก์จ่ายให้จำเลยเป็นค่าที่ดินล่วงหน้าบางส่วน และโจทก์จะจ่ายเงินค่าที่พิพาทให้จำเลยในวันที่ไปทำหนังสือสัญญาซื้อขายกันที่อำเภออีก 500 บาทด้วย ดังนี้ เป็นสัญญาจะซื้อจะขายและมีการชำระค่าที่ดินบางส่วนแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1282/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายที่ดิน: การเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเรื่องค่าใช้จ่ายไถ่จำนอง และผลกระทบต่อการบังคับคดี
โจทก์อ้างว่า จำเลยทำสัญญาจะขายที่ดินให้โจทก์ในราคาไร่ละ 600 บาท ตามเอกสาร จ.1 จำเลยต่อสู้ว่าก่อนที่จะทำเอกสาร จ.1โจทก์จำเลยได้ทำสัญญาจะซื้อขายกันไว้ฉบับหนึ่งมีความว่าจะซื้อขายกันในราคาไร่ละ 600 บาท โดยผู้ซื้อจะต้องออกเงินไถ่จำนองที่ดินรายนี้ด้วยโจทก์เป็นผู้รักษาสัญญาฉบับนั้นไว้และบอกว่าหายไปเสียแล้วเมื่อฟังได้ดังที่จำเลยต่อสู้และฟังว่าเอกสาร จ.1 เป็นเพียงใบรับเงินมัดจำแล้วข้อนำสืบของจำเลยถึงข้อความในสัญญาเดิมย่อมไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 เพราะใบรับเงินมัดจำมิได้เป็นเอกสารที่กฎหมายบังคับให้ต้องทำเป็นหนังสือ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1009/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะแลกเปลี่ยนอสังหาริมทรัพย์มีผลผูกพันบังคับได้ หากทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อ
คำว่า 'ทรัพย์สินอย่างใด ๆ ดังว่ามานี้ก็ดี' และคำว่า 'ทรัพย์สินเช่นว่านั้นก็ดี' ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรคสองนั้น หมายถึงทรัพย์ต่าง ๆ ตามที่ระบุไว้ในวรรคต้น ซึ่งรวมทั้งอสังหาริมทรัพย์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1070/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งมอบนาถือเป็นการชำระหนี้บางส่วนตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 456 วรรค 2 โจทก์มีสิทธิฟ้องบังคับคดีได้
ข้ออ้างของโจทก์ที่ว่าจำเลยได้ส่งมอบนาให้โจทก์ครอบครองตั้งแต่วันตกลงซื้อขายนากันนั้นเป็นข้ออ้างว่าได้ชำระหนี้บางส่วนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรค 2 ซึ่งเป็นมูลให้โจทก์บังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาต่อไปคือ ให้โอนที่พิพาทแก่โจทก์ตามข้อสัญญาได้ กฎหมายมิได้มีข้อจำกัดว่าฝ่ายที่ชำระหนี้เท่านั้นจึงจะฟ้องร้องขอให้ศาลบังคับคดีได้
of 17