พบผลลัพธ์ทั้งหมด 169 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7188/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายสินค้าทางธุรกิจ: อายุความ 5 ปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33(5) และการรับรองการชำระหนี้จากการส่งมอบสินค้า
จำเลยสั่งซื้อสินค้าและได้รับสินค้าจากโจทก์แล้ว ถือได้ว่า การซื้อขายสินค้ารายนี้โจทก์ผู้ขายได้ชำระหนี้ให้แก่จำเลยผู้ซื้อแล้ว โจทก์ไม่จำต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือและมีลายมือชื่อของจำเลยมาแสดง การซื้อขายชอบด้วย ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคสองและวรรคสาม จำเลยต้องชำระค่าสินค้าพร้อมดอกเบี้ยให้โจทก์ตามฟ้อง
จำเลยสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์เพื่อนำไปจำหน่ายให้แก่ลูกค้าอันเป็นการประกอบธุรกิจของจำเลย การที่โจทก์ฟ้องขอบังคับให้จำเลยชำระหนี้ค่าสินค้า จึงเป็นกรณีที่โจทก์ผู้ประกอบการค้าหรืออุตสาหกรรมใช้สิทธิเรียกร้องเอาค่าสินค้าจากจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ที่สั่งซื้อมาเพื่อนำมาใช้ในการประกอบธุรกิจของจำเลยอีกต่อหนึ่ง เป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของฝ่ายลูกหนี้นั้นเอง จึงอยู่ในบังคับ ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (5) ประกอบมาตรา 193/34 (1) สิทธิเรียกร้องตามฟ้องโจทก์จึงมีอายุความ 5 ปี มิใช่อายุความ 2 ปี ตามมาตรา 193/34 (1) เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้ยังไม่เกินกำหนด 5 ปี นับแต่วันที่โจทก์อาจใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ได้ คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
จำเลยสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์เพื่อนำไปจำหน่ายให้แก่ลูกค้าอันเป็นการประกอบธุรกิจของจำเลย การที่โจทก์ฟ้องขอบังคับให้จำเลยชำระหนี้ค่าสินค้า จึงเป็นกรณีที่โจทก์ผู้ประกอบการค้าหรืออุตสาหกรรมใช้สิทธิเรียกร้องเอาค่าสินค้าจากจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ที่สั่งซื้อมาเพื่อนำมาใช้ในการประกอบธุรกิจของจำเลยอีกต่อหนึ่ง เป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของฝ่ายลูกหนี้นั้นเอง จึงอยู่ในบังคับ ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (5) ประกอบมาตรา 193/34 (1) สิทธิเรียกร้องตามฟ้องโจทก์จึงมีอายุความ 5 ปี มิใช่อายุความ 2 ปี ตามมาตรา 193/34 (1) เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้ยังไม่เกินกำหนด 5 ปี นับแต่วันที่โจทก์อาจใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ได้ คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6395/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินมือเปล่า สิทธิครอบครอง และผลของการส่งมอบการครอบครอง
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้เพิกถอนการโอนที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 จำเลยทั้งสองมิได้อุทธรณ์ ประเด็นดังกล่าวจึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว จำเลยทั้งสองจึงไม่อาจยกปัญหานี้ขึ้นฎีกาได้ เพราะมิใช่ข้อเท็จจริงที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในชั้นศาลอุทธรณ์ซึ่งต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง แม้ศาลชั้นต้นรับรองให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ก็ไม่มีผลที่จะเป็นข้อยกเว้นหลักเกณฑ์ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว ทั้งมิใช่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่จำเลยทั้งสองมีสิทธิที่จะยกขึ้นอ้างได้
ในประเด็นที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษาให้จำเลยที่ 1 แต่ผู้เดียวจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของตนให้แก่โจทก์นอกจากจะยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นเพราะจำเลยที่ 2 มิได้อุทธรณ์จึงเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในชั้นศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่งแล้ว ยังเป็นข้อเท็จจริงที่คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 มิได้มีผลเกี่ยวข้องไปถึงจำเลยที่ 2 อีกด้วย จำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธิที่จะฎีกาในประเด็นข้อนี้
การซื้อขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินมือเปล่าระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ย่อมสมบูรณ์ด้วยการส่งมอบการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1378 แม้ขณะซื้อที่ดินพิพาทจะมีข้อตกลงกันไว้ว่าจำเลยที่ 1 ยินยอมโอนให้แก่โจทก์เพื่อให้ถูกต้องตามกฎหมายต่อไปได้ทุกเมื่อก็ตาม ก็คงมีความหมายเพียงว่าหากโจทก์ประสงค์จะให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนที่ดินที่พิพาทให้แล้ว จำเลยที่ 1 ก็จะไปดำเนินการให้เท่านั้น หาใช่ว่าเป็นการบังคับจำเลยที่ 1 ที่จะต้องดำเนินการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์โดยไม่ต้องคำนึงว่าโจทก์จะมีความประสงค์เช่นนั้นหรือไม่ ข้อตกลงดังกล่าวจึงมิใช่เงื่อนไขในสัญญาซื้อขายอันจะมีผลทำให้สัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดกลายเป็นสัญญาจะซื้อจะขายไปไม่ โจทก์ก็ย่อมไม่มีสิทธิบังคับให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนสิทธิครอบครองในที่ดินเฉพาะส่วนของตนให้แก่โจทก์ได้
ในประเด็นที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษาให้จำเลยที่ 1 แต่ผู้เดียวจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของตนให้แก่โจทก์นอกจากจะยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นเพราะจำเลยที่ 2 มิได้อุทธรณ์จึงเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในชั้นศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่งแล้ว ยังเป็นข้อเท็จจริงที่คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 มิได้มีผลเกี่ยวข้องไปถึงจำเลยที่ 2 อีกด้วย จำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธิที่จะฎีกาในประเด็นข้อนี้
การซื้อขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินมือเปล่าระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ย่อมสมบูรณ์ด้วยการส่งมอบการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1378 แม้ขณะซื้อที่ดินพิพาทจะมีข้อตกลงกันไว้ว่าจำเลยที่ 1 ยินยอมโอนให้แก่โจทก์เพื่อให้ถูกต้องตามกฎหมายต่อไปได้ทุกเมื่อก็ตาม ก็คงมีความหมายเพียงว่าหากโจทก์ประสงค์จะให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนที่ดินที่พิพาทให้แล้ว จำเลยที่ 1 ก็จะไปดำเนินการให้เท่านั้น หาใช่ว่าเป็นการบังคับจำเลยที่ 1 ที่จะต้องดำเนินการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์โดยไม่ต้องคำนึงว่าโจทก์จะมีความประสงค์เช่นนั้นหรือไม่ ข้อตกลงดังกล่าวจึงมิใช่เงื่อนไขในสัญญาซื้อขายอันจะมีผลทำให้สัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดกลายเป็นสัญญาจะซื้อจะขายไปไม่ โจทก์ก็ย่อมไม่มีสิทธิบังคับให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนสิทธิครอบครองในที่ดินเฉพาะส่วนของตนให้แก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2551/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิซื้อคืนที่ดินตามสัญญาซื้อขาย และการฟ้องแย้งที่ไม่เกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม
จำเลยที่ 1 ซื้อที่ดินพิพาทจากโจทก์ โดยสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาท ข้อ 2 ระบุว่า "ผู้ซื้อสัญญาว่า ถ้าเลิกกิจการเลื่อยไม้ หรือโอนกิจการให้แก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือผู้ซื้อไม่ทำประโยชน์กับที่ดินผืนนี้แล้ว ผู้ซื้อยินยอมขายคืนให้แก่ผู้ขายในราคาตามข้อ 1 นอกจากผู้ขายตกลงไม่ซื้อเป็นลายลักษณ์อักษร" จึงเป็นคำมั่นของจำเลยที่ 1 ให้โจทก์มีสิทธิซื้อที่ดินพิพาทคืนจากจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 1 เลิกกิจการโรงเลื่อยหรือโอนกิจการให้แก่ผู้อื่น หรือไม่ทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท คำมั่นดังกล่าวเป็นคำมั่นในการซื้อขายทรัพย์สินซึ่งกฎหมายบังคับว่า ถ้าไม่มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญ หรือได้วางประจำไว้หรือได้ชำระหนี้บางส่วน จะฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคสอง กฎหมายหาได้บังคับว่าคำมั่นเช่นว่านี้ต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงจะฟ้องร้องให้บังคับคดีได้แต่อย่างใดไม่ เมื่อคำมั่นดังกล่าวทำเป็นหนังสือและจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 กับประทับตราจำเลยที่ 1 โจทก์จึงฟ้องร้องให้บังคับคดีได้
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองขายที่ดินพิพาทคืนและรับชำระราคาจากโจทก์โดยอ้างสิทธิตามคำมั่นในสัญญาซื้อขายที่ดินเป็นการฟ้องปฏิบัติตามสัญญา จำเลยทั้งสองฟ้องแย้งอ้างว่าจำเลยทั้งสองเสียค่าใช้จ่ายทำถนนในที่ดินพิพาทและโจทก์ปิดกั้นที่ดินพิพาททำให้จำเลยทั้งสองเสียหาย ขอให้บังคับโจทก์ชดใช้ค่าใช้จ่ายและค่าเสียหายเป็นการฟ้องในมูลละเมิด ข้ออ้างและคำขอบังคับตามฟ้องแย้งจึงไม่เกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม ชอบที่ศาลชั้นต้นจะสั่งไม่รับฟ้องแย้ง แม้ศาลชั้นต้นรับฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองไว้ ก็เป็นฟ้องแย้งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้มิได้กล่าวกันมาศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองขายที่ดินพิพาทคืนและรับชำระราคาจากโจทก์โดยอ้างสิทธิตามคำมั่นในสัญญาซื้อขายที่ดินเป็นการฟ้องปฏิบัติตามสัญญา จำเลยทั้งสองฟ้องแย้งอ้างว่าจำเลยทั้งสองเสียค่าใช้จ่ายทำถนนในที่ดินพิพาทและโจทก์ปิดกั้นที่ดินพิพาททำให้จำเลยทั้งสองเสียหาย ขอให้บังคับโจทก์ชดใช้ค่าใช้จ่ายและค่าเสียหายเป็นการฟ้องในมูลละเมิด ข้ออ้างและคำขอบังคับตามฟ้องแย้งจึงไม่เกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม ชอบที่ศาลชั้นต้นจะสั่งไม่รับฟ้องแย้ง แม้ศาลชั้นต้นรับฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองไว้ ก็เป็นฟ้องแย้งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้มิได้กล่าวกันมาศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 699/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายบ้านสร้างเสร็จ: หน้าที่ของผู้ขายและการบอกเลิกสัญญาเมื่อผิดนัด
แม้สัญญาจะซื้อจะขายจะไม่มีข้อตกลงว่าจำเลยจะสร้างบ้านให้แล้วเสร็จเมื่อใดก็ตาม แต่เมื่อสัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าวเป็นสัญญาต่างตอบแทน และโจทก์ได้ชำระเงินค่างวดให้แก่จำเลยแล้ว จำเลยย่อมมีหน้าที่ปลูกสร้างบ้านและส่งมอบให้โจทก์ตามสัญญา ทั้งไม่ใช่ว่าจำเลยจะสร้างบ้านให้เสร็จเมื่อใดก็ได้แล้วแต่ความพอใจของจำเลย คดีนี้โจทก์ชำระเงินเฉพาะค่างวดให้จำเลยไปแล้ว 630,000 บาท โดยงวดหลังสุดชำระเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2539 แต่นับจากวันทำสัญญาคือวันที่ 15 มิถุนายน 2539 เป็นต้นมา กระทั่งโจทก์บอกเลิกสัญญา และจนถึงปัจจุบันจำเลยก็ยังไม่ได้ลงมือก่อสร้างบ้านให้โจทก์ โดยจำเลยไม่ได้ชี้แจงหรือโต้แย้งใดๆ พฤติการณ์ของจำเลยดังกล่าวถือว่าจำเลยผิดสัญญาและจำเลยไม่มีเจตนาชำระหนี้ให้โจทก์ จึงไม่มีเหตุผลที่จะต้องให้โจทก์บอกกล่าวกำหนดเวลาให้จำเลยดำเนินการอีก ดังนั้น โจทก์จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้โดยชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2927/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องสัญญาจะซื้อจะขาย แม้ไม่มีหนังสือมอบอำนาจ หากมีการวางมัดจำ
จำเลยทั้งสองให้การรับว่าได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายกับโจทก์จริง แต่อ้างว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา จึงไม่มีประเด็นเรื่องโจทก์ไม่ใช่คู่สัญญากับจำเลยทั้งสองและไม่มีอำนาจฟ้อง แม้เรื่องอำนาจฟ้องจะเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ก็ตาม แต่คดีนี้จำเลยทั้งสองรับว่าได้วางมัดจำไว้ตามสัญญาจะซื้อจะขายจำนวน 100,000 บาท ซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคสอง ระบุว่าสัญญาจะซื้อจะขายหากมีการวางมัดจำไว้แล้ว แม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือก็ฟ้องร้องให้บังคับคดีกันได้ ดังนั้น การตั้งตัวแทนหรือมอบอำนาจของโจทก์ในการทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ที่ได้วางมัดจำไว้แล้วแม้โจทก์จะไม่ได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้บริษัท ส. ทำสัญญาจะซื้อจะขายกับจำเลยทั้งสอง โจทก์ก็มีอำนาจฟ้อง กรณีไม่ต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 798
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2041/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โมฆะกรรมซื้อขายที่ดินจากการสมคบกันจดทะเบียนโอนโดยไม่สุจริต และอายุความการฟ้องเพิกถอน
จำเลยที่ 1 ตกลงขายที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งสองโดยได้มีการส่งมอบที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งสองเข้าซ่อมแซมครอบครองตลอดมา อันเป็นการชำระหนี้บางส่วน ข้อตกลงจะซื้อจะขายที่ดินและบ้านพิพาทจึงมีผลผูกพันบังคับต่อกันได้แล้ว
จำเลยทั้งสองสมคบกันจดทะเบียนโอนซื้อขายที่ดินพิพาทโดยไม่สุจริตและไม่มีการชำระเงินกันจริง จำเลยที่ 2 ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทที่แท้จริง การแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสองในทางทะเบียนเกี่ยวกับที่ดินพิพาท จึงเป็นการแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กันเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคหนึ่ง และผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใดจะยกความเสียเปล่าแห่งโมฆะกรรมขึ้นกล่าวอ้างตาม ป.พ.พ. มาตรา 172 ก็ได้ โจทก์ทั้งสองชอบที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนเมื่อใดก็ได้ ฟ้องโจทก์ทั้งสองมิใช่การฟ้องขอเพิกถอนการฉ้อฉลตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 ไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องฟ้องภายใน 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 240
จำเลยทั้งสองสมคบกันจดทะเบียนโอนซื้อขายที่ดินพิพาทโดยไม่สุจริตและไม่มีการชำระเงินกันจริง จำเลยที่ 2 ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทที่แท้จริง การแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสองในทางทะเบียนเกี่ยวกับที่ดินพิพาท จึงเป็นการแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กันเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคหนึ่ง และผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใดจะยกความเสียเปล่าแห่งโมฆะกรรมขึ้นกล่าวอ้างตาม ป.พ.พ. มาตรา 172 ก็ได้ โจทก์ทั้งสองชอบที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนเมื่อใดก็ได้ ฟ้องโจทก์ทั้งสองมิใช่การฟ้องขอเพิกถอนการฉ้อฉลตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 ไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องฟ้องภายใน 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 240
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 437/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินและบ้านสร้างเสร็จ การปรับราคา และการผิดสัญญา
แม้แผ่นพับโฆษณาของบริษัทจำเลยจะมีข้อความและเงื่อนไขโครงการระบุว่าขายบ้านพร้อมที่ดิน แต่โจทก์จองซื้อที่ดินกับจำเลยก่อนยังไม่มีการปลูกสร้างบ้าน โดยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน มีการชำระเงินในวันทำสัญญาและแบ่งชำระเงินมัดจำอีก20 งวด ซึ่งเงินส่วนที่เหลือโจทก์จะชำระในวันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ ซึ่งในสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินระบุว่า รูปแบบ แปลน วัสดุ อุปกรณ์และรายละเอียดของบ้านพักอาศัยที่ผู้จะซื้อจะปลูกสร้างบนที่ดินก็ดี ตำแหน่งของบ้านก็ดี จะต้องให้ผู้จะขายให้ความยินยอมและเห็นชอบด้วย เพื่อทัศนียภาพที่สวยงามและความเป็นระเบียบเรียบร้อย และผู้จะซื้อเฉพาะที่ดินให้คำมั่นว่าจะทำสัญญาปลูกสร้างบ้านให้เรียบร้อยภายใน 12 เดือน หากผู้จะซื้อผิดเงื่อนไขผู้จะขายมีสิทธิเลิกสัญญาและคืนเงินให้ผู้จะซื้อครึ่งหนึ่งของเงินที่ชำระมาทั้งหมดซึ่งข้อสัญญาดังกล่าวมิได้ห้ามโจทก์ผู้จะซื้อในการว่าจ้างผู้อื่นให้ปลูกบ้านแต่กลับให้สิทธิโจทก์ที่จะว่าจ้างผู้อื่นปลูกสร้างบ้านภายใน 12 เดือน ตามแบบบ้านที่จำเลยกำหนด ส่วนข้อสัญญาที่ระบุว่าสัญญาจ้างก่อสร้างบ้านพักอาศัยเกี่ยวพันกับสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินซึ่งจะแยกจากกันไม่ได้นั้น ก็ใช้บังคับในกรณีที่โจทก์ทำสัญญาว่าจ้างจำเลยให้ปลูกบ้านบนที่ดินที่ซื้อขายเท่านั้นจึงจะถือว่าแยกจากกันไม่ได้ ดังนั้น เมื่อโจทก์ยังไม่ได้ทำสัญญาจ้างจำเลยปลูกสร้างบ้าน สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกับสัญญาว่าจ้างปลูกสร้างบ้านจึงแยกจากกันทำคนละฉบับก็ได้ส่วนที่ต่อมาโจทก์จ้างจำเลยให้ปลูกสร้างบ้านบนที่ดินที่จะซื้อตามตารางราคาและการชำระเงินที่จำเลยมอบให้แก่โจทก์ในวันจองนั้น เอกสารดังกล่าวระบุหมายเหตุว่าราคานี้อาจเปลี่ยนแปลงได้โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ดังนั้นราคาในเอกสารดังกล่าวจึงเป็นราคาที่กำหนดโดยมีเงื่อนไข เพราะราคาบ้านย่อมขึ้นอยู่กับราคาวัสดุอุปกรณ์ตลอดจนค่าแรงงานและสถานการณ์ขณะนั้น ซึ่งโจทก์จะได้ราคาค่าปลูกบ้านตามเอกสารดังกล่าว โจทก์จะต้องตกลงทำสัญญากับจำเลยก่อนที่จะมีการปรับราคาค่าปลูกสร้างเพิ่มขึ้น ด้วยเหตุนี้ โจทก์จึงไม่อาจยกเอาการที่จำเลยปรับราคาค่าปลูกบ้านเพิ่มขึ้นมาเป็นเหตุไม่ปฏิบัติตามสัญญาหาได้ไม่ เมื่อโจทก์ไม่ชำระราคาที่ดินตามที่ตกลงกันไว้ โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา การที่จำเลยใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและริบเงินที่ชำระมาแล้วนั้น จึงเป็นการปฏิบัติตามสิทธิและข้อตกลงในสัญญาโดยชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7160/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะ 'บริวาร' ในการบังคับคดี: ผู้จะซื้อที่ดินก่อนโอนกรรมสิทธิ์ยังไม่มีสิทธิพิเศษขัดขวาง
ผู้ร้องเป็นผู้จะซื้อที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างในที่ดินและกิจการสถานีบริการน้ำมันจากจำเลย ได้ชำระราคาบางส่วนและได้เข้าครอบครองทรัพย์สินตามสัญญาจะซื้อขายแล้ว ผู้ร้องจึงเป็นผู้จะซื้อมีสิทธิเพียงเรียกให้จำเลยซึ่งเป็นผู้จะขายโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตามสัญญาจะซื้อขายให้แก่ผู้ร้องโดยผู้ร้องต้องชำระราคาที่เหลือ การเข้าครอบครองก่อนการโอนกรรมสิทธิ์เป็นการเข้าครอบครองโดยอาศัยสิทธิของจำเลย ถือไม่ได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้มีอำนาจพิเศษตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 จัตวา (3) ผู้ร้องจึงเป็นบริวารของจำเลยซึ่งถูกศาลพิพากษาให้ขับไล่เจ้าพนักงานบังคับคดีย่อมมีอำนาจดำเนินการเพื่อให้ปฏิบัติตามคำบังคับซึ่งออกตามคำพิพากษาได้ หาใช่เป็นการบังคับคดีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6813-6814/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดิน, สาธารณูปโภค, และการปฏิบัติตามสัญญา: ศาลพิจารณาถึงระยะเวลาการได้รับอนุญาตประกอบธุรกิจและเจตนาของผู้ขายในการจัดหาสาธารณูปโภค
โจทก์ทั้งสองทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกับบริษัทจำเลยตั้งแต่เดือนพฤษภาคม2537 แต่จากหลักฐานหนังสืออนุญาตทำการค้าที่ดินระบุว่าจำเลยเพิ่งได้รับอนุญาตจากกระทรวงมหาดไทยให้ค้าที่ดินได้เมื่อเดือนเมษายน 2539 ซึ่งก่อนหน้านี้จำเลยได้แจ้งไว้ในแผ่นพับใบโฆษณาว่าใบอนุญาตค้าที่ดินของจำเลยอยู่ระหว่างดำเนินการ แสดงว่าในช่วงที่จำเลยยังไม่ได้รับใบอนุญาตให้ค้าที่ดินในโครงการดังกล่าวจำเลยไม่อาจยื่นขออนุญาตใช้น้ำบาดาลและไฟฟ้าต่อหน่วยงานรับผิดชอบได้การที่จำเลยยื่นคำร้องขอใช้ไฟฟ้าต่อการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเมื่อเดือนเมษายน 2539 และขอเจาะน้ำบาดาลโดยได้รับใบอนุญาตให้เจาะได้เมื่อเดือนมิถุนายน 2539 และได้รับใบอนุญาตให้ใช้น้ำบาดาลได้เมื่อเดือนกรกฎาคม 2540 ซึ่งล้วนแต่บ่งให้เห็นเจตนาของจำเลยว่า จำเลยได้รีบขวนขวายจัดทำสาธารณูปโภคทันทีที่ได้รับใบอนุญาตให้ค้าที่ดินจากทางราชการ โดยมิได้เพิกเฉยไม่ดำเนินการใด จำเลยจึงมิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาและไม่จำต้องคืนเงินที่รับไว้ให้แก่โจทก์ทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6503/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด vs. สัญญาจะซื้อจะขาย: การพิจารณาจากเจตนาและข้อความในสัญญา
การวินิจฉัยว่าสัญญาที่โจทก์และจำเลยกระทำต่อกันเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดหรือเป็นสัญญาจะซื้อจะขาย ต้องพิจารณาถึงข้อความในสัญญาประกอบกับเจตนาของโจทก์และจำเลยในขณะทำสัญญายิ่งกว่าชื่อของสัญญาที่ทำต่อกัน แต่สัญญาจะซื้อจะขายในคดีนี้เป็นแบบพิมพ์ที่ให้คู่ความกรอกข้อความตามที่ต้องการเอาเองซึ่งไม่ปรากฏข้อความไว้ว่าทั้งสองฝ่ายตกลงจะไปจดทะเบียนโอนกันเมื่อใด แม้จะมีการกำหนดราคาที่ดินว่าไร่ละ 19,687.50 บาท ซึ่งคำนวณตามเนื้อที่ดินแล้วเป็นเงิน68,906.25 บาทเศษ ก็ตาม แต่เมื่อเงินมัดจำที่โจทก์วางแก่จำเลยระบุจำนวน 63,000บาทแล้ว และในช่องจำนวนเงินส่วนที่ต้องชำระอีกกลับมีการขีดไว้ แสดงว่าไม่มีราคาที่ดินที่จะต้องชำระกันอีก ทั้งการที่จำเลยมอบการครอบครองที่ดินให้โจทก์ตั้งแต่วันทำสัญญาก็ไม่มีพฤติการณ์ใดที่แสดงว่าโจทก์กับจำเลยมีข้อตกลงจะไปจดทะเบียนโอนที่ดินในภายหน้าอีก ส่วนราคาที่ดินที่ค้างชำระอีก 5,906.25 บาท ก็แสดงว่าจำเลยไม่ติดใจที่จะรับจากโจทก์แล้ว ดังนั้น การที่โจทก์นำสืบพยานบุคคลว่ามีการตกลงกันด้วยวาจาว่าจะไปจดทะเบียนโอนที่ดินในภายหน้านั้น จึงเป็นการสืบพยานบุคคลประกอบข้ออ้างอย่างใดอย่างหนึ่งว่ายังมีข้อความเพิ่มเติมข้อความในเอกสารนั้นอยู่อีก อันเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข) ไม่อาจรับฟังพยานบุคคลเช่นนี้ได้ หนังสือสัญญาจะซื้อจะขายกรรมสิทธิ์ที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด เมื่อมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 456 วรรคหนึ่ง แต่ยังคงสมบูรณ์ในฐานะที่เป็นสัญญาซื้อขายโดยโอนการครอบครองในที่ดินให้แก่กัน ซึ่งทำให้โจทก์ได้ไปซึ่งสิทธิครอบครองในที่ดิน และเมื่อสัญญาดังกล่าวไม่มีลักษณะเป็นสัญญาจะซื้อจะขายแล้ว โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิบังคับให้จำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินแก่โจทก์ได้