คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ถวิล อินทรรักษา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4126/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา การใช้อายุความทางอาญาบังคับเมื่อมูลเหตุเกิดจากความผิดอาญา
จำเลยถูกพนักงานอัยการฟ้องเป็นคดีอาญาในข้อหาร่วมกับพวกบุกรุกตึกแถวพิพาท และทำให้เสียทรัพย์โดยทุบทำลายส่วนต่าง ๆ ของตึกแถวพิพาทได้รับความเสียหายซึ่งโจทก์ในฐานะผู้เสียหายได้เข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการด้วย ส่วนคดีแพ่งโจทก์ฟ้องอ้างว่า จำเลยกระทำละเมิดโดยเข้าไปครอบครองและทุบทำลายตึกแถวพิพาทได้รับความเสียหาย จึงเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาดังกล่าว เมื่อคดีอาญามีคำพิพากษาถึงที่สุดโดยวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้อง คดีแพ่งจึงต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 46 จึงฟังได้ว่าจำเลยเป็นผู้กระทำละเมิดต่อโจทก์
เมื่อคดีแพ่งเป็นการฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายในมูลอันเป็นความผิดมีโทษตามประมวลกฎหมายอาญาจึงต้องใช้อายุความทางอาญาซึ่งยาวกว่ามาบังคับ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคสอง ซึ่งตามบทมาตราที่จำเลยถูกฟ้องว่ากระทำผิดฐานบุกรุกโดยมีเหตุฉกรรจ์และทำให้เสียทรัพย์มีโทษสูงสุดจำคุกไม่เกินห้าปี จึงมีอายุความสิบปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95(3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1847/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชดใช้ทุนการศึกษาหลังถูกปลดออกจากราชการ และการกลับเข้ารับราชการเพื่อชดใช้ทุน
ตามสัญญาข้าราชการไปศึกษาต่อภายในประเทศเงื่อนไขข้อ9ระบุว่า"ในระหว่างที่ข้าพเจ้าได้รับอนุญาตให้ศึกษาต่อหรือในระหว่างเวลาที่ข้าพเจ้ากลับเข้าปฏิบัติราชการต่อไปตามที่กล่าวในข้อ5ถ้าข้าพเจ้าประพฤติผิดทางวินัยจนถึงถูกไล่ออกปลดออกหรือให้ออกจากราชการข้าพเจ้ายินยอมชดใช้เงินและเบี้ยปรับให้แก่สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ(โจทก์)เป็นจำนวนเงินทั้งหมดหรือลดลงตามส่วนเช่นเดียวกับสัญญาข้อ7"เมื่อโจทก์มีคำสั่งปลดจำเลยซึ่งได้รับอนุญาตให้ศึกษาต่อให้ออกจากราชการฐานกระทำผิดวินัยระหว่างที่จำเลยปฏิบัติราชการชดใช้ทุนตามสัญญาข้อ9จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ทุนและเบี้ยปรับให้แก่โจทก์ตามเงื่อนไขในสัญญาข้อ9ดังกล่าวแต่เมื่อจำเลยขอกลับเข้ารับราชการหลังจากพระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงมีพระชนม์พรรษา60พรรษาพ.ศ.2530ประกาศใช้บังคับโดยจำเลยแสดงความจำนงต่อโจทก์ว่าประสงค์จะขอกลับเข้ารับราชการเพื่อชดใช้ทุนต่อเนื่องจากยังชดใช้ทุนไม่ครบตามสัญญาและโจทก์ก็มีคำสั่งรับบรรจุจำเลยที่1กลับเข้ารับราชการดังนี้ถือได้ว่าโจทก์ประสงค์จะให้จำเลยกลับเข้ารับราชการเพื่อชดใช้ทุนตามสัญญาต่อไปนั่นเองจำเลยจึงยังไม่ต้องรับผิดชำระเงินทุนและเบี้ยปรับแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1847/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชดใช้ทุนค่าเล่าเรียนหลังถูกปลดออกจากราชการ และผลของการกลับเข้ารับราชการเพื่อชดใช้ทุน
ตามสัญญาข้าราชการไปศึกษาต่อภายในประเทศเงื่อนไขข้อ 9ระบุว่า "ในระหว่างที่ข้าพเจ้าได้รับอนุญาตให้ศึกษาต่อหรือในระหว่างเวลาที่ข้าพเจ้ากลับเข้าปฏิบัติราชการต่อไปตามที่กล่าวในข้อ 5 ถ้าข้าพเจ้าประพฤติผิดทางวินัยจนถึงถูกไล่ออก ปลดออกหรือให้ออกจากราชการ ข้าพเจ้ายินยอมชดใช้เงินและเบี้ยปรับให้แก่สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (โจทก์) เป็นจำนวนเงินทั้งหมดหรือลดลงตามส่วนเช่นเดียวกับสัญญาข้อ 7" เมื่อโจทก์มีคำสั่งปลดจำเลยซึ่งได้รับอนุญาตให้ศึกษาต่อให้ออกจากราชการฐานกระทำผิดวินัยระหว่างที่จำเลยปฏิบัติราชการชดใช้ทุนตามสัญญาข้อ 9จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ทุนและเบี้ยปรับให้แก่โจทก์ตามเงื่อนไขในสัญญาข้อ 9 ดังกล่าว แต่เมื่อจำเลยขอกลับเข้ารับราชการหลังจากพระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระชนม์พรรษา60 พรรษา พ.ศ. 2530 ประกาศใช้บังคับโดยจำเลยแสดงความจำนงต่อโจทก์ว่าประสงค์จะขอกลับเข้ารับราชการเพื่อชดใช้ทุนต่อเนื่องจากยังชดใช้ทุนไม่ครบตามสัญญา และโจทก์ก็มีคำสั่งรับบรรจุจำเลยที่ 1 กลับเข้ารับราชการ ดังนี้ถือได้ว่าโจทก์ประสงค์จะให้จำเลยกลับเข้ารับราชการเพื่อชดใช้ทุนตามสัญญาต่อไปนั่นเอง จำเลยจึงยังไม่ต้องรับผิดชำระเงินทุนและเบี้ยปรับแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9347/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาการให้ที่ดินตามบันทึกข้อตกลงมีผลผูกพัน แม้ไม่มีวันเดือนปี และลายมือชื่อผู้ให้ที่ดิน
ช. ได้จดทะเบียนให้โจทก์ซึ่งเป็นหลานและจำเลยซึ่งเป็นบุตรเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทซึ่งมีเนื้อที่19ไร่26ตารางวาแต่ได้ทำบันทึกแบ่งที่ดินพิพาทให้โจทก์เพียง4ไร่ด้านหน้าติดคลองภาษีเจริญกว้างประมาณ10วาโดยวัดเป็นเส้นตรงขึ้นไปโดยโจทก์จำเลยลงลายมือชื่อเป็นเส้นตรงขึ้นไปโดยโจทก์จำเลยลงลายมือชื่อเป็นผู้รับให้ไว้โดยชอบแม้ช. จะไม่ได้พิมพ์ลายนิ้วมือไว้เป็นผู้ให้ในบันทึกเช่นที่พิมพ์ไว้ในหนังสือสัญญาให้ที่ดินด้วยก็ตามแต่ช. ก็ลงลายมือชื่อไว้ในบันทึกนั้นหรือแม้จะไม่ได้ลงวันเดือนปีที่ทำบันทึกไว้ในบันทึกแต่ก็ทำในวันเดียวกับที่ช. จดทะเบียนการให้ทั้งก็ระบุถึงวันเดือนปีที่จดทะเบียนการให้ลงในบันทึกด้วยแล้วทั้งสองประการนี้จึงไม่เป็นเหตุที่จะทำให้การรับฟังบันทึกดังกล่าวเสียไปบันทึกดังกล่าวก็หาใช่คำมั่นจะให้ของช. แต่อย่างใดไม่แม้จะเป็นการทำขึ้นภายหลังที่มีการจดทะเบียนการให้แต่ก็เป็นเพียงเอกสารอันเป็นหลักฐานยืนยันถึงเจตนาของการจดทะเบียนการให้ที่ดินพิพาทแก่โจทก์จำเลยนั้นช.แบ่งส่วนให้โจทก์มีกรรมสิทธิ์ที่ดินเพียง4ไร่ตามที่ระบุในบันทึกเท่านั้นที่ดินส่วนที่เหลือนอกนั้นเป็นของจำเลยซึ่งโจทก์จำเลยก็ลงลายมือชื่อรับรู้แล้วย่อมรับฟังประกอบการจดทะเบียนได้โจทก์คงมีส่วนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทเพียง4ไร่ด้านหน้าติดคอลงภาษีเจริญกว้างประมาณ10วาโดยวัดเป็นเส้นตรงขึ้นไปโจทก์จึงมีสิทธิขอแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ที่ดินตามส่วนดังกล่าวเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2437/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 304: เพียงแจ้งการยึดและส่งสำเนาหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ก็ถือเป็นการยึดตามกฎหมาย
เจ้าพนักงานบังคับคดีได้รับสำเนาหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของจำเลยที่3แล้วจึงได้แจ้งการยึดที่ดินดังกล่าวพร้อมสิ่งปลูกสร้างต่อจำเลยที่3ทั้งเจ้าพนักงานบังคับคดียังได้แจ้งการยึดให้นายอำเภอในฐานะเจ้าพนักงานที่ดินทราบแล้วด้วยจึงเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการยึดอสังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา304วรรคหนึ่งการกระทำของเจ้าพนักงานบังคับคดีจึงชอบด้วยกฎหมายแล้วโดยไม่จำต้องวินิจฉัยว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ไปยึดยังที่ดินและปิดประกาศการยึดไว้หรือไม่เพราะไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลง