พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความผูกพันลูกจ้าง แม้หลังพ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง สิทธิเรียกร้องสินจ้างต่างๆ ย่อมเป็นไปตามสัญญา
โจทก์และจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความว่า โจทก์ตกลงยินยอมและสัญญาว่าจะไม่ดำเนินการฟ้องร้องทั้งทางแพ่งและอาญาแก่จำเลย และไม่ติดใจเรียกร้องเงินใด ๆ จากจำเลยอีกต่อไป กับจำเลยไม่มีหนี้สินใด ๆ ที่จะต้องชำระให้โจทก์อีก เมื่อสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี แม้จะเป็นเงินที่โจทก์มีสิทธิได้รับตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 45 แต่ก็อยู่ในความหมายของคำว่าเงินใด ๆ ตามสัญญาประนีประนอมยอมความเช่นเดียวกัน ซึ่งสัญญาดังกล่าวทำขึ้นหลังจากที่โจทก์พ้นสภาพการเป็นลูกจ้างของจำเลยไปแล้ว โจทก์ย่อมมีอิสระพ้นพันธะและอำนาจบังคับบัญชาของจำเลยโดยสิ้นเชิง การทำสัญญาเป็นไปโดยความสมัครใจของคู่สัญญาโดยแท้จริง จึงไม่ขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานและไม่เป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 150 มีผลผูกพันโจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1969/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าบริการโรงแรมที่จ่ายให้ลูกจ้างถือเป็นค่าจ้างตามกฎหมายแรงงาน
เดิมจำเลยจ่ายค่าครองชีพให้แก่ลูกจ้างต่อมาจำเลยยกเลิกเงินค่าครองชีพเปลี่ยนมาจ่ายเป็นเงินค่าบริการให้แก่ลูกจ้าง แทนโดยตกลงว่าค่าบริการที่ลูกจ้างจะได้รับจากจำเลย จะไม่น้อยกว่าเงินค่าครองชีพที่ลูกจ้างได้รับอยู่แต่เดิมเมื่อเงินค่าบริการนั้นคือเงินที่จำเลยได้มาโดยวิธีเรียกเก็บจากลูกค้าที่มาใช้บริการโรงแรมของจำเลย แล้วนำเงินดังกล่าวมาเก็บรวบรวมไว้ เมื่อถึงวันสิ้นเดือนจำเลยจะนำมาเฉลี่ยจ่ายให้แก่ลูกจ้างพร้อมกับค่าจ้างเป็นประจำ ทุกเดือน เงินค่าบริการดังกล่าวจึงเป็นเงินของจำเลยซึ่งจ่ายตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานตามปกติของวันทำงานถือได้ว่าเป็นค่าจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1921/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณค่าชดเชยสำหรับลูกจ้างประจำ: ค่าจ้างรายวัน/รายเดือน vs. ค่าจ้างตามผลงาน
โจทก์มิใช่ลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วยแต่โจทก์เป็นลูกจ้างประจำของจำเลย ได้รับค่าจ้างอัตราสุดท้ายวันละ 75 บาทค่าครองชีพเดือนละ 400 บาทการคิดค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ 46(3) จึงต้องนำค่าจ้างรายวันมาคูณด้วยหนึ่งร้อยแปดสิบวันและค่าจ้างรายเดือนมาคูณด้วยหก จะเป็นค่าชดเชยที่โจทก์จะพึงได้รับส่วนการที่โจทก์จะไม่ได้รับค่าจ้างในวันลากิจและในวันหยุดประจำสัปดาห์ เป็นเพียงการคำนวณจ่ายค่าจ้างของจำเลยไม่มีผลมาถึงการคำนวณจ่ายค่าชดเชยซึ่งกฎหมายได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ