พบผลลัพธ์ทั้งหมด 32 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2636/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามในปัญหาข้อเท็จจริง กรณีศาลอุทธรณ์แก้เฉพาะโทษ และการพิจารณาโทษฐานมียาเสพติด
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ลงโทษจำคุกจำเลย 10 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ เป็นจำคุก 5 ปี ดังนี้ เพียงแก้ เฉพาะ การกำหนดโทษ มิได้แก้บทความผิด เป็นการแก้ไขเล็กน้อย ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 เจ้าพนักงานตำรวจจับเฮโรอีนของกลางได้จากจำเลย จำนวน 62หลอด มีปริมาณ 58.625 กรัม นับว่ามีจำนวนมาก และพฤติการณ์เห็นได้ว่าทำไว้เพื่อความสะดวกแก่การจำหน่าย ศาลชั้นต้นวางโทษจำคุกมีกำหนด20 ปี ลดโทษให้กึ่งหนึ่งคงจำคุก 10 ปี และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนดังนี้ เหมาะสมแก่รูปคดีแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2342/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองกัญชา: ผู้ปลูกไม่ใช่ผู้ครอบครอง จำเลยไม่มีความผิด
ห. คนทำสวนของจำเลยปลูกต้น กัญชาในที่ดินของจำเลย โดยไม่ได้รับอนุญาตจากจำเลย ต้น กัญชาเป็นของ ห. ผู้ปลูก ไม่ใช่ของจำเลย จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานมีกัญชาไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2105/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความบทบัญญัติมาตรา 69 พ.ร.บ.ยาเสพติดฯ: การมีไว้ในครอบครอง vs. จำหน่าย/มีไว้เพื่อจำหน่าย
ความผิดฐานมียาเสพติดให้โทษประเภท 2 ไว้ในครอบครองโดยไม่รับอนุญาต กับฐานมีไว้เพื่อจำหน่ายหรือจำหน่าย กฎหมายมีเจตนารมณ์ในการวางโทษหนักเบาต่างกัน โดยแยกบัญญัติไว้ในมาตรา 69 วรรคหนึ่งและวรรคสอง แห่ง พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ดังนั้นมาตรา 69 วรรค 3 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2528 จึงมีวัตถุประสงค์ให้ขยายความเฉพาะ ความผิดฐานจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งมอร์ฟีน คาเฟอีน รวมทั้งฝิ่นที่มีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ไม่เกินหนึ่งร้อยกรัม ตามมาตรา69 วรรคสองเท่านั้น การที่จำเลยมีฝิ่นดิบและมูลฝิ่นไว้ในครอบครองโดยไม่รับอนุญาต จึงต้องวางอัตราโทษตามมาตรา 69 วรรคหนึ่ง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 711/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อสันนิษฐานทางกฎหมายเรื่องยาเสพติด: ครอบครองยาเสพติดปริมาณมาก ถือว่ามีไว้เพื่อจำหน่าย
จำเลยมีเฮโรอีนซึ่งคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์หนัก44.356 กรัม ไว้ในครอบครอง ถือได้ว่าจำเลยมีเฮโรอีนดังกล่าวไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษพ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคสอง ซึ่งเป็นข้อสันนิษฐานโดยเด็ด ขาดจำเลยจะนำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าวหาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 437/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำรับสารภาพและพยานหลักฐาน: การบรรเทาโทษในคดียาเสพติด
คดีมีข้อหาจำหน่ายเฮโรอีนซึ่งกฎหมายกำหนดโทษตลอดชีวิต หรือประหารชีวิต นั้น แม้จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลก็ยังต้องฟังพยานโจทก์จนกว่าจะพอใจว่าจำเลยได้กระทำผิดจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176ดังนั้นเมื่อจำเลยให้การปฏิเสธจึงเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่ต้องหาพยานหลักฐานมาแสดงต่อศาลจนเป็นที่เชื่อ ว่าจำเลยได้กระทำผิดจริงการที่ศาลพิเคราะห์พยานหลักฐานของโจทก์ประกอบคำรับสารภาพชั้นสอบสวนจนแน่ใจว่าจำเลยกระทำผิดจริงเช่นนี้ คำรับสารภาพของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาของศาล เป็นเหตุบรรเทาโทษ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1933-1949/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณบำเหน็จลูกจ้างต่อเนื่องจากนายจ้างเดิมหลังการเช่าโรงงาน และการคิดดอกเบี้ยกรณีผิดนัดชำระ
สัญญาเช่าโรงงานสุราบางยี่ขันระหว่างกรมโรงงานอุตสาหกรรมผู้ให้เช่ากับจำเลยผู้เช่ากำหนดว่าระยะเวลาทำงานอันเป็นเกณฑ์ทำงานเงินบำเหน็จทดแทนของพนักงานและคนงานเดิมของโรงงานสุรากรมโรงงานอุตสาหกรรมที่ผู้เช่ารับโอนมาทำงานกับผู้เช่าต่อไปมีอยู่แล้วเพียงใด ผู้เช่ายอมให้นำมานับต่อเนื่องกับระยะเวลาทำงานของพนักงานและคนงานนั้นเพื่อประโยชน์ในการคำนวณจ่ายเงินบำเหน็จดังนั้นจะนำเฉพาะระยะเวลาที่ลูกจ้างจะทำงานกับจำเลยมาคำนวณบำเหน็จหาได้ไม่ข้อความอื่นในสัญญาเช่าที่กำหนดว่าจำเลยต้องนำเงินจำนวนเท่ากับค่าจ้างเดือนสุดท้ายของลูกจ้างทุก ๆ ปี ฝากประจำไว้กับธนาคารพาณิชย์เป็นเพียงหลักประกันว่าจำเลยว่าจำเลยจะมีเงินจ่ายเป็นบำเหน็จให้แก่ลูกจ้าเท่านั้นหาอาจแปลว่าจำเลยคงต้องจ่ายบำเหน็จเท่าค่าจ้างปีละเดือนเฉพาะระยะเวลาที่ลูกจ้างทำงานกับจำเลยไม่ ส่วนที่ลูกจ้างเคยรับบำเหน็จตัดตอนไปจากรมโรงงานอุตสาหกรรมและบริษัทสุรามหาคุณ จำกัด นั้น เมื่อจำเลยเข้าดำเนินการในโรงงานสุรา จำเลยได้ตกลงทำสัญญาเช่าให้นำระยะเวลาทำงานของลูกจ้างตั้งแต่เข้าทำงานในโรงงานสุรามารวมเป็นฐานคำนวณบำเหน็จ จำเลยก็ต้องปฏิบัติตามสัญญาเช่า ดังนั้นการคำนวณบำเหน็จของลูกจ้างจึงต้องคำนวณโดยเอาค่าจ้างเดือนสุดท้ายของลูกจ้าง คูณด้วยระยะเวลาทำงานตั้งแต่เริ่มทำงานกับโรงงานสุราบางยี่ขันตลอดมาจนออกจากงานหรือตาย ได้จำนวนเงินเท่าใดลบด้วยจำนวนเงินบำเหน็จโดยเอาค่าจ้างเดือนสุดท้ายของลูกจ้างที่ได้รับจากบริษัทสุรามหาคุณ จำกัดคูณด้วยระยะเวลาทำงานตั้งแต่เริ่มทำงานในโรงงานสุราบางยี่ขันตลอดมาจนถึงวันที่ 13 ธันวาคม 2522 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายที่บริษัทสุรามหาคุณ จำกัดเช่าโรงงานสุรา ผลลัพธ์เป็นจำนวนเงินบำเหน็จที่จำเลยต้องจ่ายแก่ลูกจ้าง
คำสั่งของกระทรวงอุตสาหกรรมให้นับระยะเวลาเพื่อคำนวณเงินบำเหน็จเป็นอย่างเดียวกับบทบัญญัติว่าด้วยการนับเวลาราชการทวีคูณของข้าราชการตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญ พ.ศ. 2494มีความมุ่งหมายว่าพนักงานและคนงานโรงงานสุนามีฐานะใกล้เคียงกับข้าราชการ สมควรได้นับเวลางานทวีคูณอย่างเดียวกับข้าราชการแต่ไม่มีเหตุที่พนักงานและคนงานดังกล่าวจะได้นับเวลาทำงานทวีคูณนอกเหนือไปกว่าข้าราชการพึงได้รับ ดังนั้นหากมีเหตุตามกฎหมายที่ข้าราชการไม่อาจนับเวลาราชการทวีคูณ เหตุนั้นย่อมทำให้พนักงานและคนงานไม่อาจนับเวลาทำงานเป็นทวีคูณด้วย
เมื่อลูกจ้างออกจากงานหรือตาย จำเลยต้องชำระบำเหน็จแก่ลูกจ้างหรือทายาทตามสัญญาเช่า หนี้เงินบำเหน็จจึงถึงกำหนดชำระ หลังจากลูกจ้างหรือโจทก์ทวงถามแล้วจำเลยไม่ชำระ ย่อมได้ชื่อว่าผิดนัดเพราะเขาเตือนแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 204 วรรคหนึ่งหนี้บำเหน็จเป็นหนี้เงินจึงต้องเสียดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี เมื่อวันทวงถามและผิดนัดสำหรับลูกจ้างไม่ปรากฏแน่ชัดว่าเป็นวันใด โจทก์จึงชอบที่จะได้รับดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้อง
คำสั่งของกระทรวงอุตสาหกรรมให้นับระยะเวลาเพื่อคำนวณเงินบำเหน็จเป็นอย่างเดียวกับบทบัญญัติว่าด้วยการนับเวลาราชการทวีคูณของข้าราชการตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญ พ.ศ. 2494มีความมุ่งหมายว่าพนักงานและคนงานโรงงานสุนามีฐานะใกล้เคียงกับข้าราชการ สมควรได้นับเวลางานทวีคูณอย่างเดียวกับข้าราชการแต่ไม่มีเหตุที่พนักงานและคนงานดังกล่าวจะได้นับเวลาทำงานทวีคูณนอกเหนือไปกว่าข้าราชการพึงได้รับ ดังนั้นหากมีเหตุตามกฎหมายที่ข้าราชการไม่อาจนับเวลาราชการทวีคูณ เหตุนั้นย่อมทำให้พนักงานและคนงานไม่อาจนับเวลาทำงานเป็นทวีคูณด้วย
เมื่อลูกจ้างออกจากงานหรือตาย จำเลยต้องชำระบำเหน็จแก่ลูกจ้างหรือทายาทตามสัญญาเช่า หนี้เงินบำเหน็จจึงถึงกำหนดชำระ หลังจากลูกจ้างหรือโจทก์ทวงถามแล้วจำเลยไม่ชำระ ย่อมได้ชื่อว่าผิดนัดเพราะเขาเตือนแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 204 วรรคหนึ่งหนี้บำเหน็จเป็นหนี้เงินจึงต้องเสียดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี เมื่อวันทวงถามและผิดนัดสำหรับลูกจ้างไม่ปรากฏแน่ชัดว่าเป็นวันใด โจทก์จึงชอบที่จะได้รับดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้อง