พบผลลัพธ์ทั้งหมด 67 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3646/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบุกรุกพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ การชดใช้ค่าเสียหาย และการปรับบทกฎหมายให้ถูกต้อง
จำเลยยื่นคำร้องขอให้ส่งความเห็นเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยกรณีบทบัญญัติแห่งกฎหมายขัดต่อรัฐธรรมนูญโดยมีข้ออ้างและคำขออย่างเดียวกันมาพร้อมกับฎีกา ซึ่งศาลฎีกาได้มีคำสั่งไปแล้ว การที่จำเลยยังคงฎีกาในประเด็นดังกล่าวโดยขอให้ศาลฎีกาส่งความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยและรอการพิพากษาคดีไว้ จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 66/2557 เรื่อง เพิ่มเติมหน่วยงานสำหรับการปราบปราม หยุดยั้งการบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้และนโยบายการปฏิบัติงานเป็นการชั่วคราวในสภาวการณ์ปัจจุบัน มีผลบังคับใช้วันที่ 17 มิถุนายน 2557 ในคำสั่งข้อ 6 เมื่อพิจารณาเนื้อหาของคำสั่งดังกล่าวเห็นว่าเป็นเพียงคำสั่งทางบริหารที่กำหนดแนวนโยบายการปฏิบัติงานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องถือปฏิบัติเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อประชาชนผู้ยากไร้ ผู้ที่มีรายได้น้อย และผู้ไร้ที่ดินทำกินเท่านั้น คำสั่งดังกล่าวไม่มีข้อความตอนใดที่ระบุให้ประชาชนผู้ยากไร้ ผู้ที่มีรายได้น้อย และผู้ไร้ที่ดินทำกินซึ่งได้อาศัยอยู่ในพื้นที่เดิมนั้น ๆ ก่อนคำสั่งนี้มีผลบังคับใช้ไม่มีความผิด หรือมีความผิดแต่ไม่ต้องรับโทษ หรือให้งดเว้นการดำเนินคดีตามกฎหมายแต่อย่างใด จึงต้องถือว่าบุคคลดังกล่าวยังมีความผิดตามกฎหมายอยู่ไม่ว่าบุคคลนั้นจะบุกรุกเข้าทำประโยชน์ก่อนหรือหลังวันที่ 17 มิถุนายน 2557 ซึ่งเป็นวันที่คำสั่งดังกล่าวมีผลบังคับใช้ จำเลยไม่อาจที่จะอ้างคำสั่งดังกล่าวว่าตนได้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินที่เกิดเหตุมาก่อนวันที่ 17 มิถุนายน 2557 เพื่อลบล้างความผิดของจำเลยได้
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินที่เกิดเหตุซึ่งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติเมื่อระหว่างวันที่ 18 มิถุนายน 2557 ถึงวันที่ 5 พฤศจิกายน 2561 เวลากลางวันและกลางคืนต่อเนื่องกัน การกระทำความผิดของจำเลยจึงยังคงเป็นความผิดอยู่ต่อเนื่องตลอดเวลาที่จำเลยยังยึดถือครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินที่เกิดเหตุซึ่งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ เมื่อ พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2559 มีผลใช้บังคับในวันที่ 25 พฤษภาคม 2559 ซึ่งขณะนั้นจำเลยก็ยังคงยึดถือครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินที่เกิดเหตุซี่งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติต่อเนื่องเรื่อยมาจนถึงวันที่ 5 พฤศจิกายน 2561 จึงเป็นกรณีที่จำเลยกระทำความผิดขณะที่กฎหมายเดิมยังมีผลใช้บังคับและขณะที่กฎหมายใหม่ใช้บังคับแล้ว การกระทำความผิดตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม 2559 ถึงวันที่ 5 พฤศจิกายน 2561 จึงชอบที่จะต้องนำ พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2559 มาปรับใช้บังคับลงโทษแก่จำเลย ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาในส่วนนี้ว่าจำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 14, 31 วรรคหนึ่ง (เดิม) นั้น จึงเป็นการไม่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความมิได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและปรับบทให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 66/2557 เรื่อง เพิ่มเติมหน่วยงานสำหรับการปราบปราม หยุดยั้งการบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้และนโยบายการปฏิบัติงานเป็นการชั่วคราวในสภาวการณ์ปัจจุบัน มีผลบังคับใช้วันที่ 17 มิถุนายน 2557 ในคำสั่งข้อ 6 เมื่อพิจารณาเนื้อหาของคำสั่งดังกล่าวเห็นว่าเป็นเพียงคำสั่งทางบริหารที่กำหนดแนวนโยบายการปฏิบัติงานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องถือปฏิบัติเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อประชาชนผู้ยากไร้ ผู้ที่มีรายได้น้อย และผู้ไร้ที่ดินทำกินเท่านั้น คำสั่งดังกล่าวไม่มีข้อความตอนใดที่ระบุให้ประชาชนผู้ยากไร้ ผู้ที่มีรายได้น้อย และผู้ไร้ที่ดินทำกินซึ่งได้อาศัยอยู่ในพื้นที่เดิมนั้น ๆ ก่อนคำสั่งนี้มีผลบังคับใช้ไม่มีความผิด หรือมีความผิดแต่ไม่ต้องรับโทษ หรือให้งดเว้นการดำเนินคดีตามกฎหมายแต่อย่างใด จึงต้องถือว่าบุคคลดังกล่าวยังมีความผิดตามกฎหมายอยู่ไม่ว่าบุคคลนั้นจะบุกรุกเข้าทำประโยชน์ก่อนหรือหลังวันที่ 17 มิถุนายน 2557 ซึ่งเป็นวันที่คำสั่งดังกล่าวมีผลบังคับใช้ จำเลยไม่อาจที่จะอ้างคำสั่งดังกล่าวว่าตนได้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินที่เกิดเหตุมาก่อนวันที่ 17 มิถุนายน 2557 เพื่อลบล้างความผิดของจำเลยได้
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินที่เกิดเหตุซึ่งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติเมื่อระหว่างวันที่ 18 มิถุนายน 2557 ถึงวันที่ 5 พฤศจิกายน 2561 เวลากลางวันและกลางคืนต่อเนื่องกัน การกระทำความผิดของจำเลยจึงยังคงเป็นความผิดอยู่ต่อเนื่องตลอดเวลาที่จำเลยยังยึดถือครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินที่เกิดเหตุซึ่งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ เมื่อ พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2559 มีผลใช้บังคับในวันที่ 25 พฤษภาคม 2559 ซึ่งขณะนั้นจำเลยก็ยังคงยึดถือครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินที่เกิดเหตุซี่งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติต่อเนื่องเรื่อยมาจนถึงวันที่ 5 พฤศจิกายน 2561 จึงเป็นกรณีที่จำเลยกระทำความผิดขณะที่กฎหมายเดิมยังมีผลใช้บังคับและขณะที่กฎหมายใหม่ใช้บังคับแล้ว การกระทำความผิดตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม 2559 ถึงวันที่ 5 พฤศจิกายน 2561 จึงชอบที่จะต้องนำ พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2559 มาปรับใช้บังคับลงโทษแก่จำเลย ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาในส่วนนี้ว่าจำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 14, 31 วรรคหนึ่ง (เดิม) นั้น จึงเป็นการไม่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความมิได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและปรับบทให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2311/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของฟ้องอาญา: การบรรยายฟ้องที่ชัดเจนเพียงพอต่อการเข้าใจข้อหา
ฟ้องใดจะเป็นฟ้องที่เคลือบคลุมหรือไม่ต้องพิจารณาจากฟ้องที่โจทก์ยื่นต่อศาล คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องเป็นใจความสำคัญว่า เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2561 เวลากลางวัน จำเลยกับ ช. จำเลยที่ 1 และ ส. จำเลยที่ 2 ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ อ 1990/2562 ของศาลชั้นต้น ซึ่งให้การรับสารภาพและศาลพิพากษาลงโทษแล้ว ร่วมกันบุกรุกเข้าไปก่นสร้าง แผ้วถาง หรือกระทำด้วยประการใด ๆ บริเวณป่าบ้านผักกาด โดยการใช้รถไถ 1 คัน ทำการโค่นล้มทำลายต้นไม้ขนาดต่าง ๆ และต้นไม้อื่น ๆ ปรับไถพื้นที่ป่าและทำการแผ้วถางต้นไม้ออก เพื่อปรับพื้นที่ซึ่งเป็นป่าในบริเวณดังกล่าว เป็นเนื้อที่ 2 ไร่ 54 ตารางวา คิดเป็นค่าเสียหายของรัฐ 145,722.73 บาท อันเป็นการร่วมกันทำลายป่าและร่วมกันเข้าไปยึดถือครองครองป่าเพื่อตนเองหรือผู้อื่นโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ฟ้องโจทก์ได้ระบุชัดแล้วว่าจำเลยกับ ช. จำเลยที่ 1 และ ส. จำเลยที่ 2 ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ อ 1990/2562 ของศาลชั้นต้น ซึ่งให้การรับสารภาพและศาลพิพากษาลงโทษแล้ว ร่วมกันเข้าไปก่นสร้าง แผ้วถาง หรือกระทำด้วยประการใด ๆ บริเวณป่าบ้านผักกาดซึ่งเพียงพอที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี ส่วนข้อเท็จจริงอื่นและพยานหลักฐานเป็นเรื่องที่โจทก์สามารถทำสืบได้ในชั้นพิจารณาไม่จำต้องกล่าวมาในฟ้อง การบรรยายฟ้องของโจทก์จึงสมบูรณ์ ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) ไม่ใช่เป็นฟ้องที่เคลือบคลุมตามที่จำเลยอ้างในฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2753/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา การกำหนดค่าเสียหายต้องมีการสืบพยานและสอบคำให้การอย่างถูกต้อง
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองเป็นคดีอาญาตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 และ พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 และขอให้ชดใช้ค่าเสียหายแก่รัฐ จึงเป็นการฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา การพิจารณาคดีส่วนแพ่งต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 40 ตอนท้าย และคำพิพากษาคดีส่วนแพ่งจะต้องกล่าวหรือแสดงเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยทั้งปวง กับต้องวินิจฉัยไปตามประเด็นแห่งคดี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 141 (4) (5) ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีส่วนแพ่งโดยมิได้สอบคำให้การส่วนแพ่งของจำเลยทั้งสองและโจทก์มิได้นำสืบพยานหลักฐานอันจะเป็นฐานในการกำหนดค่าเสียหายตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 26/4 กระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาคดีส่วนแพ่งไปโดยมิชอบ เห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลล่างทั้งสองดำเนินการส่วนนี้ให้ถูกต้อง กรณีดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 859/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ: สิทธิในการยื่นคำร้องขอแสดงอำนาจพิเศษต้องมีฐานะผู้ได้รับอนุญาตหรือมีสิทธิโดยกฎหมาย
เมื่อข้อเท็จจริงฟังว่า ที่ดินพิพาทอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ซึ่งตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 31 วรรคท้าย เป็นมาตรการที่กฎหมายกำหนดขึ้นเพื่อบังคับให้ผู้กระทำความผิดฐานบุกรุกยึดถือครอบครอง ก่อสร้าง แผ้วถาง เผาป่า หรือกระทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นการเสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติ ต้องออกไปจากเขตป่าสงวนแห่งชาติ เมื่อจำเลยทั้งสองต้องคำพิพากษาว่ากระทำความผิด อันทำให้รัฐได้รับคืนพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ การที่ผู้ร้องจะมีอำนาจยื่นคำร้องเพื่อแสดงอำนาจพิเศษได้นั้น ต้องปรากฏข้อเท็จจริงว่า ผู้ร้องได้รับอนุญาตเข้าทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยในเขตป่าสงวนแห่งชาติได้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่อธิบดีกรมป่าไม้กำหนด ตามบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 หรือมีบทบัญญัติแห่งกฎหมายอื่นบัญญัติให้สิทธิแก่ผู้ร้องในการเข้าทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติได้ เมื่อได้ความตามคำร้องของผู้ร้องว่า ผู้ร้องปลูกสร้างสิ่งปลูกสร้างในเขตป่าสงวนแห่งชาติ เพียงแต่ไม่เคยถูกจับกุมดำเนินคดีหรือเคยต้องคำพิพากษาให้ลงโทษและให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากเขตป่าสงวนแห่งชาติ โดยผู้ร้องไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยในเขตป่าสงวนแห่งชาติจากอธิบดี ผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอแสดงอำนาจพิเศษได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14391/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบรถยนต์ที่ใช้ในการกระทำผิดป่าไม้ และความผิดฐานมีเลื่อยโซ่ยนต์ที่ไม่เข้าข่ายต้องมีใบอนุญาต
พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 74 ทวิ บัญญัติว่า "บรรดาเครื่องมือ เครื่องใช้ สัตว์พาหนะ ยานพาหนะ หรือเครื่องจักรกลใด ๆ ซึ่งบุคคลได้ใช้ในการกระทำความผิด หรือได้ใช้เป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลในการกระทำความผิดตามมาตรา 11 มาตรา 48 มาตรา 54 หรือมาตรา 69 ให้ริบเสียทั้งสิ้นไม่ว่าจะมีผู้ถูกลงโทษตามคำพิพากษาหรือไม่" โจทก์บรรยายฟ้องว่า เจ้าพนักงานจับกุมจำเลยทั้งสองพร้อมกับยึดของกลางต่าง ๆ รวมทั้งรถยนต์กระบะ อันเป็นเครื่องมือ อุปกรณ์ เครื่องใช้ เครื่องจักรกล และยานพาหนะที่จำเลยทั้งสองใช้และมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดฐานทำไม้และแปรรูปไม้ บรรทุกไม้และอุปกรณ์เครื่องมือดังกล่าวเป็นของกลาง เมื่อจำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพตามฟ้อง และไม่ได้ขอนำพยานเข้าสืบในส่วนรถยนต์กระบะของกลางให้เชื่อได้ว่า รถยนต์กระบะของกลางเป็นเพียงยานพาหนะที่จำเลยทั้งสองใช้เดินทางไปรับจ้างแปรรูปไม้และจอดอยู่บริเวณที่เกิดเหตุ กรณีจึงต้องฟังว่ารถยนต์กระบะของกลางเป็นยานพาหนะซึ่งจำเลยทั้งสองใช้บรรทุกไม้ด้วย และเมื่อการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 11, มาตรา 48 รถยนต์กระบะของกลางจึงเป็นยานพาหนะซึ่งได้ใช้เป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลในการกระทำความผิดตามมาตรา 48 แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 อันเป็นทรัพย์สินที่ต้องริบตามมาตรา 74 ทวิ แห่งกฎหมายดังกล่าว
ความผิดฐานร่วมกันมีเลื่อยโซ่ยนต์ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตาม พ.ร.บ.เลื่อยโซ่ยนต์ พ.ศ.2545 นั้น นอกจากโจทก์ไม่ได้อ้างกฎกระทรวงที่กำหนดลักษณะเลื่อยโซ่ยนต์และส่วนประกอบของเลื่อยโซ่ยนต์ พ.ศ.2551 อันเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดนั้นมาในคำขอท้ายฟ้องแล้ว ยังปรากฏอีกด้วยว่ากฎกระทรวงดังกล่าวกำหนดให้ "เลื่อยโซ่ยนต์" หมายความว่า (1) เครื่องมือสำหรับใช้ตัดไม้หรือแปรรูปไม้ที่มีฟันเลื่อยติดกับโซ่ซึ่งขับเคลื่อนด้วยกำลังเครื่องจักรกลที่ผลิตและประกอบสำเร็จรูปเพื่อการใช้งานที่มีต้นกำลังเกินกว่า 2 แรงม้า โดยมีแผ่นบังคับโซ่ที่มีขนาดความยาวเกินกว่า 12 นิ้ว อันเป็นการกำหนดไว้ว่าเฉพาะการมีเลื่อยโซ่ยนต์ที่มีลักษณะเช่นนี้เท่านั้นที่ต้องมีใบอนุญาตจากนายทะเบียนเลื่อยโซ่ยนต์ ถ้าไม่มีใบอนุญาตจึงจะมีความผิดฐานดังกล่าว แต่ฟ้องโจทก์ไม่ปรากฏว่าเลื่อยโซ่ยนต์ที่จำเลยทั้งสองมีไว้ในครอบครองมีลักษณะต้องห้ามตามที่กฎกระทรวงดังกล่าวกำหนดไว้ ฟ้องโจทก์ในความผิดฐานร่วมกันมีเลื่อยโซ่ยนต์ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) และ (6) การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นความผิดฐานร่วมกันมีเลื่อยโซ่ยนต์ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตาม พ.ร.บ.เลื่อยโซ่ยนต์ พ.ศ.2545 มาตรา 4 วรรคหนึ่ง, 17 วรรคหนึ่ง ต้องพิพากษายกฟ้องความผิดฐานนี้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 215, 225 ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ความผิดฐานร่วมกันมีเลื่อยโซ่ยนต์ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตาม พ.ร.บ.เลื่อยโซ่ยนต์ พ.ศ.2545 นั้น นอกจากโจทก์ไม่ได้อ้างกฎกระทรวงที่กำหนดลักษณะเลื่อยโซ่ยนต์และส่วนประกอบของเลื่อยโซ่ยนต์ พ.ศ.2551 อันเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดนั้นมาในคำขอท้ายฟ้องแล้ว ยังปรากฏอีกด้วยว่ากฎกระทรวงดังกล่าวกำหนดให้ "เลื่อยโซ่ยนต์" หมายความว่า (1) เครื่องมือสำหรับใช้ตัดไม้หรือแปรรูปไม้ที่มีฟันเลื่อยติดกับโซ่ซึ่งขับเคลื่อนด้วยกำลังเครื่องจักรกลที่ผลิตและประกอบสำเร็จรูปเพื่อการใช้งานที่มีต้นกำลังเกินกว่า 2 แรงม้า โดยมีแผ่นบังคับโซ่ที่มีขนาดความยาวเกินกว่า 12 นิ้ว อันเป็นการกำหนดไว้ว่าเฉพาะการมีเลื่อยโซ่ยนต์ที่มีลักษณะเช่นนี้เท่านั้นที่ต้องมีใบอนุญาตจากนายทะเบียนเลื่อยโซ่ยนต์ ถ้าไม่มีใบอนุญาตจึงจะมีความผิดฐานดังกล่าว แต่ฟ้องโจทก์ไม่ปรากฏว่าเลื่อยโซ่ยนต์ที่จำเลยทั้งสองมีไว้ในครอบครองมีลักษณะต้องห้ามตามที่กฎกระทรวงดังกล่าวกำหนดไว้ ฟ้องโจทก์ในความผิดฐานร่วมกันมีเลื่อยโซ่ยนต์ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) และ (6) การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นความผิดฐานร่วมกันมีเลื่อยโซ่ยนต์ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตาม พ.ร.บ.เลื่อยโซ่ยนต์ พ.ศ.2545 มาตรา 4 วรรคหนึ่ง, 17 วรรคหนึ่ง ต้องพิพากษายกฟ้องความผิดฐานนี้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 215, 225 ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3139/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดบุกรุกป่าสงวนฯ และการครอบครองอาวุธปืนผิดกฎหมาย ศาลยืนตามบทลงโทษเดิม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งหกร่วมกันบุกรุกเข้าไปยึดถือ ครอบครอง ก่นสร้าง แผ้วถาง ตัดโค่นทำลายต้นไม้บริเวณป่า ซึ่งเป็นป่าต้นน้ำลำธารในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าพะโต๊ะ ป่าปังหวาน และป่าปากทรงและเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า กับมีคำขอท้ายฟ้องขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 54, 72 ตรี พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 14, 31 วรรคสอง (3) และ พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 มาตรา 38, 54 เมื่อจำเลยทั้งหกให้การรับสารภาพตามฟ้อง การกระทำของจำเลยทั้งหกย่อมเป็นความผิดต่อกฎหมายทั้งสามฉบับดังกล่าว อีกทั้งความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 31 วรรคสอง ก็มีโทษหนักกว่าความผิดตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 มาตรา 54 วรรคหนึ่งด้วย ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 ปรับบทว่า จำเลยทั้งหกมีความผิดฐานร่วมกันบุกรุกป่าสงวนแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติฯ ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 นั้น จึงถูกต้องแล้ว
การที่จำเลยทั้งหกบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินเขตป่าสงวนแห่งชาติ อันเป็นต้นน้ำลำธารและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เป็นเนื้อที่ 3 ไร่เศษ ผลของการกระทำของจำเลยทั้งหกนอกจากจะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมากต่อสภาพพื้นที่ป่าต้นน้ำลำธารแล้ว ยังเป็นการทำลายทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญของชาติ เป็นต้นเหตุให้ป่าไม้เสื่อมสภาพและมีจำนวนลดน้อยลง ย่อมส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสภาพสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศทางธรรมชาติโดยไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ และอาจก่อให้เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติขึ้น ซึ่งจะเป็นผลเสียหายต่อสภาพความเป็นอยู่ของประชาชนทั่วไปและเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ อีกทั้งเจ้าพนักงานจับกุมจำเลยทั้งหกพร้อมอาวุธปืนยาวขนาด .22 ไม่มีเครื่องหมายทะเบียน 2 กระบอก อาวุธปืนพกขนาด 9 มม. 1 กระบอก และมีกระสุนปืนทั้งสองขนาดจำนวนมาก ซึ่งจำเลยทั้งหกร่วมกันมีและพาไปขณะบุกรุกที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดังกล่าว ส่อแสดงให้เห็นว่าจำเลยทั้งหกมีเจตนาจะใช้อาวุธปืนดังกล่าว เพื่อประโยชน์ในการล่าสัตว์ป่ารวมทั้งต่อสู้กับเจ้าพนักงานหากถูกจับกุม พฤติการณ์แห่งคดีจึงถือว่าเป็นเรื่องร้ายแรง แม้จำเลยทั้งหกไม่เคยกระทำความผิดมาก่อนและมีภาระจะต้องเลี้ยงดูครอบครัวและที่จำเลยที่ 3 อ้างว่ามีสุขภาพไม่แข็งแรง เคยประสบอุบัติเหตุไม้ยางพาราล้มทับกระเพาะปัสสาวะแตกเคยเข้ารับการผ่าตัด และต้องสวมแผ่นรองซับปัสสาวะตลอดก็ไม่ปรากฏหลักฐานทางการแพทย์ที่ชัดเจน จึงยังไม่มีเหตุเพียงพอที่จะรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยทั้งหก
การที่จำเลยทั้งหกบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินเขตป่าสงวนแห่งชาติ อันเป็นต้นน้ำลำธารและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เป็นเนื้อที่ 3 ไร่เศษ ผลของการกระทำของจำเลยทั้งหกนอกจากจะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมากต่อสภาพพื้นที่ป่าต้นน้ำลำธารแล้ว ยังเป็นการทำลายทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญของชาติ เป็นต้นเหตุให้ป่าไม้เสื่อมสภาพและมีจำนวนลดน้อยลง ย่อมส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสภาพสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศทางธรรมชาติโดยไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ และอาจก่อให้เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติขึ้น ซึ่งจะเป็นผลเสียหายต่อสภาพความเป็นอยู่ของประชาชนทั่วไปและเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ อีกทั้งเจ้าพนักงานจับกุมจำเลยทั้งหกพร้อมอาวุธปืนยาวขนาด .22 ไม่มีเครื่องหมายทะเบียน 2 กระบอก อาวุธปืนพกขนาด 9 มม. 1 กระบอก และมีกระสุนปืนทั้งสองขนาดจำนวนมาก ซึ่งจำเลยทั้งหกร่วมกันมีและพาไปขณะบุกรุกที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดังกล่าว ส่อแสดงให้เห็นว่าจำเลยทั้งหกมีเจตนาจะใช้อาวุธปืนดังกล่าว เพื่อประโยชน์ในการล่าสัตว์ป่ารวมทั้งต่อสู้กับเจ้าพนักงานหากถูกจับกุม พฤติการณ์แห่งคดีจึงถือว่าเป็นเรื่องร้ายแรง แม้จำเลยทั้งหกไม่เคยกระทำความผิดมาก่อนและมีภาระจะต้องเลี้ยงดูครอบครัวและที่จำเลยที่ 3 อ้างว่ามีสุขภาพไม่แข็งแรง เคยประสบอุบัติเหตุไม้ยางพาราล้มทับกระเพาะปัสสาวะแตกเคยเข้ารับการผ่าตัด และต้องสวมแผ่นรองซับปัสสาวะตลอดก็ไม่ปรากฏหลักฐานทางการแพทย์ที่ชัดเจน จึงยังไม่มีเหตุเพียงพอที่จะรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยทั้งหก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8403/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขุดหินในเขตประทานบัตร: ไม่ใช่ลักทรัพย์ แต่เป็นการละเมิดสิทธิและบุกรุก
หิน 2,000 ลูกบาศก์เมตร ตามบัญชีทรัพย์ถูกประทุษร้ายเป็นหินที่ประเมินจากความเสียหายจากหินที่ถูกคนร้ายขุดขึ้นมา มิใช่หินที่โจทก์ร่วมขุดขึ้นมากองไว้แต่อย่างใด หินจำนวนดังกล่าวจึงเป็นหินแกรนิตที่มีอยู่ตามธรรมชาติและเป็นทรัพย์ที่ไม่มีเจ้าของแต่บุคคลอาจได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์โดยการเข้ายึดถือเอา การที่บริษัท ก โจทก์ร่วมได้รับประทานบัตรในการทำเหมืองแร่เป็นการผูกขาดจากรัฐ โจทก์ร่วมจึงมีสิทธิเพียงว่า ถ้าจะขุดหินแกรนิตจากพื้นดินที่ได้รับประทานบัตรก็ย่อมมีสิทธิที่จะเข้าถือเอาได้โดยไม่มีการหวงห้ามเสมือนบุคคลที่ไม่ได้รับประทานบัตร แต่จะมีกรรมสิทธิ์ในหินแกรนิตได้จะต้องมีการเข้ายึดถือเอาอีกชั้นหนึ่งก่อน เมื่อโจทก์ร่วมยังมิได้เข้ายึดถือ ถือเอาหินแกรนิตในเขตประทานบัตรตาม ป.พ.พ. มาตรา 1318 โจทก์ร่วมจึงมิได้เป็นเจ้าของหินแกรนิต การที่จำเลยที่ 1 และที่ 3 เข้าขุดหินแกรนิตซึ่งฝังอยู่ในดินโดยจำเลยที่ 4 ซึ่งมีที่ดินอยู่ใกล้กับเขตประทานบัตรของโจทก์ร่วมเป็นผู้ขายหินแกรนิตให้กับจำเลยที่ 1 จึงเป็นเพียงการละเมิดสิทธิของโจทก์ร่วมตามประทานบัตรที่จะเข้ายึดถือเอาหินแกรนิตในเขตประทานบัตรเท่านั้น มิใช่เป็นการลักเอาทรัพย์ซึ่งเป็นหินแกรนิตของโจทก์ร่วมแต่อย่างใด
พื้นที่เกิดเหตุเป็นเขตประทานบัตร ผู้มีสิทธิขุดหินคือผู้ขอประทานบัตรและผู้รับช่วงประทานบัตร แม้ขณะเกิดเหตุจะอยู่ในช่วงขออนุญาตหยุดทำเหมืองแร่ก็ตาม แต่บุคคลที่เข้าไปในเขตประทานบัตรได้ก็คือบุคคลที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น ซึ่งแสดงว่าโจทก์ร่วมยังมีเจตนาที่จะยึดถือครอบครองที่ดินในเขตประทานบัตรอยู่ตลอดเวลาที่มีการอนุญาตให้หยุดทำการเหมืองแร่ การที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 เข้าไปขุดตักหินแกรนิตในเขตประทานบัตร ของโจทก์ร่วมโดยไม่ได้รับอนุญาตจนเป็นเหตุให้บริเวณดังกล่าวได้รับความเสียหายมีลักษณะเป็นหลุมบ่อกระจายอยู่โดยรอบเนื้อที่ประมาณ 8 ไร่ 2 งาน ย่อมเป็นความผิดฐานร่วมกันบุกรุกเข้าไปกระทำการใดๆ อันเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของเขาโดยปกติสุขตาม ป.อ. มาตรา 362 และฐานร่วมกันบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐ กระทำด้วยประการใดๆ อันเป็นการทำลายป่า ทั้งยังมีความผิดฐานเข้าไปทำลายหรือทำให้เสื่อมสภาพพื้นที่ในเขตประทานบัตรตาม พ.ร.บ.แร่ พ.ศ.2510 มาตรา 12, 133 ด้วย
พื้นที่เกิดเหตุเป็นเขตประทานบัตร ผู้มีสิทธิขุดหินคือผู้ขอประทานบัตรและผู้รับช่วงประทานบัตร แม้ขณะเกิดเหตุจะอยู่ในช่วงขออนุญาตหยุดทำเหมืองแร่ก็ตาม แต่บุคคลที่เข้าไปในเขตประทานบัตรได้ก็คือบุคคลที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น ซึ่งแสดงว่าโจทก์ร่วมยังมีเจตนาที่จะยึดถือครอบครองที่ดินในเขตประทานบัตรอยู่ตลอดเวลาที่มีการอนุญาตให้หยุดทำการเหมืองแร่ การที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 เข้าไปขุดตักหินแกรนิตในเขตประทานบัตร ของโจทก์ร่วมโดยไม่ได้รับอนุญาตจนเป็นเหตุให้บริเวณดังกล่าวได้รับความเสียหายมีลักษณะเป็นหลุมบ่อกระจายอยู่โดยรอบเนื้อที่ประมาณ 8 ไร่ 2 งาน ย่อมเป็นความผิดฐานร่วมกันบุกรุกเข้าไปกระทำการใดๆ อันเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของเขาโดยปกติสุขตาม ป.อ. มาตรา 362 และฐานร่วมกันบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐ กระทำด้วยประการใดๆ อันเป็นการทำลายป่า ทั้งยังมีความผิดฐานเข้าไปทำลายหรือทำให้เสื่อมสภาพพื้นที่ในเขตประทานบัตรตาม พ.ร.บ.แร่ พ.ศ.2510 มาตรา 12, 133 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7713/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบของกลางในคดีอาญา: ศาลอุทธรณ์มีอำนาจวินิจฉัยแม้โจทก์มิอุทธรณ์ หากศาลชั้นต้นละเลยการวินิจฉัย
ป.วิ.อ. มาตรา 158 บัญญัติว่า ฟ้องต้องทำเป็นหนังสือและมีรายการต่าง ๆ ที่จะต้องมีในคำฟ้องอีกรวม 7 อนุมาตรา แต่มิได้มีเงื่อนไขเกี่ยวกับทรัพย์ที่จะขอให้ศาลสั่งริบว่าจะต้องมีรายละเอียดอย่างไรบ้าง เมื่อโจทก์ได้บรรยายมาในคำฟ้องว่าเจ้าพนักงานจับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้พร้อมกับยึดเครื่องสูบน้ำเป็นของกลางและมีคำขอให้ริบเครื่องสูบน้ำดังกล่าวจึงเป็นการเพียงพอแล้ว ไม่จำต้องบรรยายมาในฟ้องว่าเป็นของผู้ใดและใช้ในการกระทำความผิดอย่างไร
เมื่อโจทก์มีคำขอให้ริบเครื่องสูบน้ำของกลางแล้ว แต่ศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยว่าจะริบเครื่องสูบน้ำของกลางหรือไม่ คำพิพากษาของศาลชั้นต้นจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 186 (9) แม้โจทก์มิได้อุทธรณ์แต่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง และการริบทรัพย์สินแม้ ป.อ. มาตรา 18 จะบัญญัติว่าเป็นโทษสถานหนึ่ง แต่เป็นโทษที่มุ่งถึงตัวทรัพย์เป็นสำคัญต่างกับโทษสถานอื่นซึ่งแม้จำเลยจะไม่ได้กระทำความผิดหรือกระทำความผิดแต่ไม่ต้องรับโทษ ศาลก็มีอำนาจสั่งริบทรัพย์สินของกลางได้ จึงมิใช่เป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยที่ 1 และที่ 2 ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ย่อมมีอำนาจสั่งริบของกลางได้
เมื่อโจทก์มีคำขอให้ริบเครื่องสูบน้ำของกลางแล้ว แต่ศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยว่าจะริบเครื่องสูบน้ำของกลางหรือไม่ คำพิพากษาของศาลชั้นต้นจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 186 (9) แม้โจทก์มิได้อุทธรณ์แต่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง และการริบทรัพย์สินแม้ ป.อ. มาตรา 18 จะบัญญัติว่าเป็นโทษสถานหนึ่ง แต่เป็นโทษที่มุ่งถึงตัวทรัพย์เป็นสำคัญต่างกับโทษสถานอื่นซึ่งแม้จำเลยจะไม่ได้กระทำความผิดหรือกระทำความผิดแต่ไม่ต้องรับโทษ ศาลก็มีอำนาจสั่งริบทรัพย์สินของกลางได้ จึงมิใช่เป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยที่ 1 และที่ 2 ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ย่อมมีอำนาจสั่งริบของกลางได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6213/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บุกรุกป่า ตัดไม้ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ ศาลฎีกายืนโทษฐานบุกรุกป่าและทำให้เสียทรัพย์
คำว่า ป่า ตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 4 (1) หมายความว่า ที่ดินที่ยังมิได้มีบุคคลได้มาตามกฎหมายที่ดิน การเป็นป่าตามความหมายดังกล่าวไม่ใช่กรณีเป็นป่าตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติฯ หากที่ใดแปลงใดเป็นที่ดินที่ยังไม่มีบุคคลใดได้มาตามกฎหมายที่ดิน ที่ดินแปลงนั้นย่อมเป็นป่าตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ ที่ดินแปลงใดแม้จะอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติตามกฎกระทรวงฉบับที่ 616 (พ.ศ.2516) หรือไม่ หากไม่มีผู้ใดเป็นเจ้าของหรือได้สิทธิครอบครองทำกินตาม ป.ที่ดิน ที่ดินแปลงนั้นย่อมเป็นป่าตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ
จำเลยเข้าไปครอบครองตัดฟันต้นยูคาลิปตัสของสำนักงานป่าไม้เขตจังหวัดเพชรบุรีและก่นสร้าง แผ้วถาง หรือกระทำด้วยประการใดๆ อันเป็นการทำลายป่าเพื่อยึดถือครอบครองป่าเป็นของตนหรือผู้อื่นจึงมีความผิดฐานร่วมกันทำให้เสียทรัพย์ และฐานร่วมกันยึดถือครอบครอง ก่นสร้าง แผ้วถางหรือเผาป่าโดยไม่ได้รับอนุญาต
จำเลยบุกรุกเข้าไปยึดถือ ครอบครอง ก่นสร้างแผ้วถางป่าโดยตัดฟันต้นยูคาลิปตัสของสำนักงานป่าไม้เขตจังหวัดเพชรบุรี อันเป็นการทำให้เสียหาย ทำลาย หรือทำให้ไร้ประโยชน์ซึ่งทรัพย์ของผู้อื่น แม้โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ และ ป.อ. แยกการกระทำเป็นสองกรรมต่างหากจากกัน แต่เมื่อเป็นการกระทำความผิดต่อต้นยูคาลิปตัสจำนวนเดียวกันและได้กระทำคราวเดียวพร้อมกันต่อเนื่องกันไป จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทต้องลงโทษตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 54, 72 ตรี วรรคสอง ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90
จำเลยเข้าไปครอบครองตัดฟันต้นยูคาลิปตัสของสำนักงานป่าไม้เขตจังหวัดเพชรบุรีและก่นสร้าง แผ้วถาง หรือกระทำด้วยประการใดๆ อันเป็นการทำลายป่าเพื่อยึดถือครอบครองป่าเป็นของตนหรือผู้อื่นจึงมีความผิดฐานร่วมกันทำให้เสียทรัพย์ และฐานร่วมกันยึดถือครอบครอง ก่นสร้าง แผ้วถางหรือเผาป่าโดยไม่ได้รับอนุญาต
จำเลยบุกรุกเข้าไปยึดถือ ครอบครอง ก่นสร้างแผ้วถางป่าโดยตัดฟันต้นยูคาลิปตัสของสำนักงานป่าไม้เขตจังหวัดเพชรบุรี อันเป็นการทำให้เสียหาย ทำลาย หรือทำให้ไร้ประโยชน์ซึ่งทรัพย์ของผู้อื่น แม้โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ และ ป.อ. แยกการกระทำเป็นสองกรรมต่างหากจากกัน แต่เมื่อเป็นการกระทำความผิดต่อต้นยูคาลิปตัสจำนวนเดียวกันและได้กระทำคราวเดียวพร้อมกันต่อเนื่องกันไป จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทต้องลงโทษตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 54, 72 ตรี วรรคสอง ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6163/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องความผิดฐานทำลายป่าในเขตนิคมฯ ศาลพิพากษาลงโทษตาม พ.ร.บ.จัดที่ดินฯ ได้ แม้ไม่ได้ระบุบทกฎหมาย ป่าไม้
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน และบรรยายฟ้องข้อ 1 จ. ว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันแผ้วถางป่าตัดต้นกาลอในป่านิคมสร้างตนเองพัฒนาภาคใต้ จังหวัดยะลา อันเป็นการทำลายป่า ทำให้เสื่อมสภาพที่ดินเป็นอันตรายแก่ทรัพยากรธรรมชาติในที่ดินภายในเขตของนิคมโดยไม่ได้รับอุนญาต? และมีคำขอท้ายฟ้องขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ. จัดที่ดินเพื่อการครองชีพฯ มาตรา 4, 14, 15, 41 ซึ่งคำบรรยายฟ้องดังกล่าวครบองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 15 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ. จัดที่ดินเพื่อการครองชีพฯ แล้ว เมื่อจำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพและโจทก์ระบุมาตรา 41 ซึ่งเป็นบทกำหนดโทษสำหรับความผิดดังกล่าวมาในคำขอท้ายฟ้อง ศาลจึงพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองสำหรับความผิดฐานนี้ได้ การที่โจทก์ไม่ได้ระบุบทกฎหมายที่เป็นบทความผิดและบทกำหนดโทษตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ฯ มีผลทำให้จำเลยทั้งสองไม่มีความผิดและไม่ต้องรับผิดสำหรับความผิดฐานนี้ตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ฯ เท่านั้น หาทำให้จำเลยทั้งสองไม่มีความผิดและไม่ต้องรับโทษตาม พ.ร.บ. จัดที่ดินเพื่อการครองชีพฯ ไปด้วยไม่