คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 282 (3)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3432/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกัน-สิทธิในบัญชีเงินฝาก-การอายัดทรัพย์-ข้อจำกัดในการฎีกา
การที่สัญญาค้ำประกันระหว่างผู้ร้องกับจำเลยมีความข้อ 6ระบุว่าเมื่อลูกหนี้ผู้กู้ผิดสัญญากับผู้ร้อง จำเลยผู้ค้ำประกันยินยอมให้ผู้ร้องหักเงินจากบัญชีเงินฝากประจำที่จำเลยมีอยู่กับผู้ร้องเพื่อชำระหนี้ได้ ข้อ 7 ระบุให้จำเลยถอนเงินคืนไปได้ต่อเมื่อจำนวนหนี้ที่ผู้กู้เป็นหนี้ผู้ร้องลดลงเหลือไม่เกินราคาหลักทรัพย์ที่ผู้ร้องประเมินเป็นหลักประกัน และข้อ 8 ระบุให้ผู้ร้องมีสิทธิเพียงยึดถือสมุดคู่ฝากเงินที่จำเลยฝากไว้นั้นเป็นประกันตลอดไปจนกว่าผู้ร้องจะได้รับชำระหนี้จากผู้กู้ครบถ้วน และจำเลยยินยอมให้ผู้ร้องหักเงินจากบัญชีเงินฝากดังกล่าวชดใช้ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการที่จำเลยเป็นลูกหนี้ผู้ร้องรวมตลอดถึงลูกหนี้ซึ่งจำเลยเป็นผู้ค้ำประกันได้ทันทีนั้น ถือไม่ได้ว่าจำเลยได้โอนสิทธิเรียกร้องเงินในบัญชีเงินฝากดังกล่าวให้ผู้ร้องแล้ว เพราะจำเลยยังคงมีสิทธิถอนเงินคืนไปได้เมื่อมีกรณีตามสัญญาข้อ 7 และการที่ผู้ร้องจะหักเงินจากบัญชีเงินฝากดังกล่าวได้นั้น จะต้องเป็นกรณีที่ลูกหนี้ผู้กู้ผิดสัญญากับผู้ร้องตามสัญญาข้อ 6 หรือจำเลยหรือลูกหนี้ผู้กู้ก่อความเสียหายแก่ผู้ร้องตามสัญญาข้อ 8 เท่านั้น โจทก์จึงมีสิทธิอายัดเงินในบัญชีเงินฝากดังกล่าวเพื่อบังคับชำระหนี้ตามคำพิพากษาของตนได้
ส่วนที่ผู้ร้องฎีกาว่า ศาลแพ่งได้พิพากษาให้ลูกหนี้ผู้กู้ซึ่งผิดนัดไม่ชำระหนี้รวม 3 รายกับจำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันร่วมกันชำระหนี้แก่ผู้ร้องแล้วและการขออายัดของเจ้าพนักงานบังคับคดีมีขึ้นหลังจากที่ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของลูกหนี้ผู้กู้และจำเลยแล้วนั้น ก็เป็นข้อเท็จจริงที่เพิ่งอ้างขึ้นใหม่ในชั้นฎีกา จึงต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3432/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกัน-อายัดเงินฝาก: สิทธิถอนเงินยังอยู่กับจำเลย ผู้ร้องไม่มีสิทธิหักเงินโดยอัตโนมัติ
การที่สัญญาค้ำประกันระหว่างผู้ร้องกับจำเลยมีความข้อ 6 ระบุว่าเมื่อลูกหนี้ผู้กู้ผิดสัญญากับผู้ร้อง จำเลยผู้ค้ำประกันยินยอมให้ผู้ร้องหักเงินจากบัญชีเงินฝากประจำที่จำเลยมีอยู่กับผู้ร้องเพื่อชำระหนี้ได้ ข้อ 7 ระบุให้จำเลยถอนเงินคืนไปได้ต่อเมื่อจำนวนหนี้ที่ผู้กู้เป็นหนี้ผู้ร้องลดลงเหลือไม่เกินราคาหลักทรัพย์ที่ผู้ร้อง ประเมินเป็นหลักประกัน และข้อ 8 ระบุให้ผู้ร้องมีสิทธิเพียงยึดถือสมุดคู่ฝากเงินที่จำเลยฝากไว้นั้นเป็นประกันตลอดไปจนกว่าผู้ร้องจะได้รับชำระหนี้ จากผู้กู้ครบถ้วน และจำเลยยินยอมให้ผู้ร้องหักเงินจากบัญชีเงินฝากดังกล่าวชดใช้ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการที่จำเลยเป็นลูกหนี้ผู้ร้องรวมตลอดถึงลูกหนี้ซึ่งจำเลยเป็นผู้ค้ำประกันได้ทันทีนั้น ถือไม่ได้ว่าจำเลยได้โอนสิทธิเรียกร้องเงินในบัญชีเงินฝากดังกล่าวให้ผู้ร้องแล้ว เพราะจำเลยยังคงมีสิทธิถอนเงินคืนไปได้เมื่อมีกรณีตามสัญญาข้อ 7 และการที่ผู้ร้องจะหักเงินจากบัญชีเงินฝากดังกล่าวได้นั้น จะต้องเป็นกรณีที่ลูกหนี้ผู้กู้ผิดสัญญากับผู้ร้องตามสัญญาข้อ 6 หรือจำเลยหรือลูกหนี้ผู้กู้ก่อความเสียหายแก่ผู้ร้องตามสัญญาข้อ 8 เท่านั้น โจทก์จึงมีสิทธิอายัดเงินในบัญชีเงินฝากดังกล่าวเพื่อบังคับชำระหนี้ตามคำพิพากษาของตนได้
ส่วนที่ผู้ร้องฎีกาว่า ศาลแพ่งได้พิพากษาให้ลูกหนี้ผู้กู้ซึ่งผิดนัดไม่ชำระหนี้รวม 3 รายกับจำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันร่วมกันชำระหนี้แก่ผู้ร้องแล้วและการขออายัดของเจ้าพนักงานบังคับคดีมีขึ้นหลังจากที่ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของลูกหนี้ผู้กู้และจำเลยแล้วนั้น ก็เป็นข้อเท็จจริงที่เพิ่งอ้างขึ้นใหม่ในชั้นฎีกา จึงต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4767/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องค่าจ้างตามสัญญา และผลกระทบต่อการบังคับคดี การอายัดเงินของผู้รับจ้างที่โอนสิทธิแล้ว
สัญญาจ้างระหว่างผู้คัดค้านที่1ซึ่งเป็นผู้ว่าจ้างและจำเลยที่1ซึ่งเป็นผู้รับจ้างมีข้อความระบุไว้ชัดเจนว่าค่าจ้างที่กำหนดไว้ในสัญญาเป็นค่าจ้างที่สามารถปรับราคาได้ตามสูตรสัญญาแบบปรับราคาได้ท้ายสัญญาจ้างดังนั้นเมื่อจำเลยที่1โอนสิทธิเรียกร้องการรับค่าจ้างดังกล่าวโดยระบุว่าเป็นสิทธิเรียกร้องทั้งหมดของจำเลยที่1ที่จะพึงเกิดขึ้นตามสัญญาจ้างให้เป็นของผู้คัดค้านที่2จึงต้องหมายความรวมถึงค่าจ้างที่สามารถปรับราคาได้ด้วยโจทก์ไม่มีสิทธิที่จะร้องขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดเงินดังกล่าวที่ตกเป็นของผู้คัดค้านที่2ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้และผู้คัดค้านที่1ก็มีสิทธิที่จะไม่ส่งเงินจำนวนนั้นตามที่กรมบังคับคดีขออายัดมาได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4767/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องค่าจ้างที่ปรับราคาได้ตามสัญญาจ้าง และผลกระทบต่อการบังคับคดี
สัญญาจ้างระหว่างผู้คัดค้านที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ว่าจ้างและจำเลยที่ 1ซึ่งเป็นผู้รับจ้างมีข้อความระบุไว้ชัดเจนว่าค่าจ้างที่กำหนดไว้ในสัญญาเป็นค่าจ้างที่สามารถปรับราคาได้ตามสูตรสัญญาแบบปรับราคาได้ท้ายสัญญาจ้างดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 โอนสิทธิเรียกร้องการรับค่าจ้างดังกล่าวโดยระบุว่าเป็นสิทธิเรียกร้องทั้งหมดของจำเลยที่ 1 ที่จะพึงเกิดขึ้นตามสัญญาจ้างให้เป็นของผู้คัดค้านที่ 2 จึงต้องหมายความรวมถึงค่าจ้างที่สามารถปรับราคาได้ด้วย โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะร้องขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดเงินดังกล่าวที่ตกเป็นของผู้คัดค้านที่ 2ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้ และผู้คัดค้านที่ 1 ก็มีสิทธิที่จะไม่ส่งเงินจำนวนนั้นตามที่กรมบังคับคดีขออายัดมาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4767/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องค่าจ้างตามสัญญา และผลกระทบต่อการบังคับคดี สิทธิเรียกร้องทั้งหมดรวมถึงค่าจ้างที่ปรับราคาได้ย่อมโอนไปยังผู้รับโอน
สัญญาจ้างระหว่างผู้คัดค้านที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ว่าจ้างและจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้รับจ้างมีข้อความระบุไว้ชัดเจนว่า ค่าจ้างที่กำหนดไว้ในสัญญาเป็นค่าจ้างที่สามารถปรับราคาได้ตามสูตรสัญญาแบบปรับราคาได้ท้ายสัญญาจ้าง ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 โอนสิทธิเรียกร้องการรับค่าจ้างดังกล่าวโดยระบุว่าเป็นสิทธิเรียกร้องทั้งหมดของจำเลยที่ 1 ที่จะพึงเกิดขึ้นตามสัญญาจ้างให้เป็นของผู้คัดค้านที่ 2 จึงต้องหมายความรวมถึงค่าจ้างที่สามารถปรับราคาได้ด้วย โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะร้องขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดเงินดังกล่าวที่ตกเป็นของผู้คัดค้านที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้ และผู้คัดค้านที่ 1 ก็มีสิทธิที่จะไม่ส่งเงินจำนวนนั้นตามที่กรมบังคับคดีขออายัดมาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3323/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการหักหนี้จากเงินฝากอายัด: สิทธิประเภทใดที่ได้รับการคุ้มครองตามมาตรา 287 พ.ร.บ.วิธีพิจารณาความแพ่ง
สิทธิอื่นๆ ตามที่กล่าวไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 287 จะต้องเป็นสิทธิที่บุคคลภายนอกมีอยู่เหนือทรัพย์สิน ของลูกหนี้ และจะต้องเป็นสิทธิที่เทียบเคียงได้กับบุริมสิทธิอันเป็น สิทธิประเภทแรกด้วยผู้ร้องได้ส่งเงินตามอายัดให้เจ้าพนักงานบังคับคดี แล้วต่อมาผู้ร้องขอรับเงินที่ส่งตามอายัดคืนโดยอ้างว่าเงินฝากในบัญชี ของจำเลยที่ส่งให้นั้นนอกจากค้ำประกันเงินกู้ของลูกค้าจำเลยแล้ว ยังค้ำประกันการเบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยอีกด้วย จำเลยเป็นหนี้ผู้ร้องอยู่ ผู้ร้องมีสิทธินำ เงินจำนวนที่ส่งให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีตามอายัด ไปหักหนี้เบิกเงินเกินบัญชีได้ก่อนอยู่แล้วจึงขอให้คืนเงินดังกล่าวแก่ผู้ร้อง ดังนี้ผู้ร้องมีฐานะไม่ต่างกับเจ้าหนี้ธรรมดาจึงไม่อาจถือได้ว่า สิทธิของผู้ร้องเป็นสิทธิอื่นซึ่ง เจ้าหนี้ในฐานะบุคคลภายนอก อาจร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ตามกฎหมาย ตามนัยแห่ง มาตรา 287ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิ ขอเงินที่ส่งให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีตามอายัดคืนและไม่มีผลกระทบกระทั่งถึงการบังคับคดีของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาที่จะบังคับเอาแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ของตนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3323/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการบังคับชำระหนี้จากเงินฝากประกันหนี้ ต้องเป็นสิทธิอื่นที่เทียบเคียงได้กับบุริมสิทธิ
สิทธิอื่น ๆ ตามที่กล่าวไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 จะต้องเป็นสิทธิที่บุคคลภายนอกมีอยู่เหนือทรัพย์สิน ของลูกหนี้ และจะต้องเป็นสิทธิที่เทียบเคียงได้กับบุริมสิทธิอันเป็นสิทธิประเภทแรกด้วย ผู้ร้องได้ส่งเงินตามอายัดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแล้วต่อมาผู้ร้องขอรับเงินที่ส่งตามอายัดคืนโดยอ้างว่า เงินฝากในบัญชี ของจำเลยที่ส่งให้นั้นนอกจากค้ำประกันเงินกู้ของลูกค้าจำเลยแล้ว ยังค้ำประกันการเบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยอีกด้วย จำเลยเป็นหนี้ผู้ร้องอยู่ ผู้ร้องมีสิทธินำเงินจำนวนที่ส่งให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีตามอายัดไปหักหนี้เบิกเงินเกินบัญชีได้ก่อนอยู่แล้วจึงขอให้คืนเงินดังกล่าวแก่ผู้ร้อง ดังนี้ผู้ร้องมีฐานะไม่ต่างกับเจ้าหนี้ธรรมดา จึงไม่อาจถือได้ว่าสิทธิของผู้ร้องเป็นสิทธิอื่น ซึ่งเจ้าหนี้ในฐานะบุคคลภายนอก
อาจร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ตามกฎหมาย ตามนัยแห่ง มาตรา 287 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิขอเงินที่ส่งให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีตามอายัดคืนและไม่มีผลกระทบกระทั่งถึงการบังคับคดีของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาที่จะบังคับเอาแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ของตนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2004/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ด้วยเช็คที่ถูกอายัด: สิทธิของผู้ทรงเช็คและการบังคับคดี
ศาลชั้นต้นได้พิพากษาตามยอมให้จำเลยทั้งสามชำระหนี้โดยรับผิดชำระจากทรัพย์มรดกของ ส. ระหว่างบังคับคดีศาลชั้นต้นหมายเรียกจำเลยที่ 1 และ จ. มาให้ถ้อยคำเกี่ยวกับทรัพย์สินของ ส. เจ้ามรดกได้ความว่า จ. เช่าร้านอาหารอันเป็นทรัพย์มรดกของ ส. จากจำเลยที่ 1 และได้ออกเช็คชำระค่าเช่าลงวันที่ล่วงหน้าไว้ เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงได้แจ้งอายัดเงินตามเช็คดังกล่าวแก่ จ. ก่อนที่เช็คนั้นจะถึงกำหนดใช้เงิน โดยให้นำเงินค่าเช่ามาส่งแก่เจ้าพนักงานบังคับคดีแต่ จ. ไม่ปฏิบัติตามเมื่อเช็คถึงกำหนดใช้เงินผู้ทรงได้นำเช็คไปขึ้นเงินแต่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเพราะมีคำสั่งอายัดต่อมาเจ้าพนักงานบังคับคดีมีหนังสือเตือนให้ จ. ส่งเงินค่าเช่าตามเช็คอีก จ.ตอบขัดข้องว่าเช็คที่สั่งจ่ายให้จำเลยที่ 1 นั้นได้โอนไปยังบุคคลภายนอกแล้วดังนี้ เห็นได้ว่า จ. ได้ชำระหนี้กองมรดกด้วยเช็คให้จำเลยที่ 1 ก่อนจะได้รับคำสั่งอายัดจากเจ้าพนักงานบังคับคดี และเช็คนั้นได้โอนไปยังผู้ทรงซึ่งเป็นบุคคลภายนอกแล้ว ซึ่ง จ. จะต้องรับผิดใช้เงินตามเช็คให้ผู้ทรงอยู่และหนี้ยังไม่ระงับสิ้นลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 วรรคท้าย ก็ตาม ก็เป็นเรื่องที่ผู้ทรงเช็คจะต้องไปว่ากล่าวเอาแก่ จ. เจ้าพนักงานบังคับคดีจะขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีแก่ จ. ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 312 วรรค 2 ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2004/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ด้วยเช็คหลังอายัด: สิทธิเรียกร้องของผู้ทรงเช็คและการบังคับคดี
ศาลชั้นต้นได้พิพากษาตามยอมให้จำเลยทั้งสามชำระหนี้โดยรับผิด ชำระจากทรัพย์มรดกของ ส. ระหว่างบังคับคดีศาลชั้นต้นหมายเรียกจำเลยที่ 1 และ จ. มาให้ถ้อยคำเกี่ยวกับทรัพย์สินของ ส. เจ้ามรดกได้ความว่า จ. เช่าร้านอาหารอันเป็นทรัพย์มรดกของ ส. จากจำเลยที่ 1 และได้ออกเช็คชำระค่าเช่าลงวันที่ล่วงหน้าไว้ เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงได้แจ้งอายัดเงินตามเช็คดังกล่าวแก่ จ. ก่อนที่เช็คนั้นจะถึงกำหนดใช้เงิน โดยให้นำเงินค่าเช่ามาส่งแก่เจ้าพนักงานบังคับคดีแต่จ.ไม่ปฏิบัติตามเมื่อเช็คถึงกำหนดใช้เงินผู้ทรงได้นำเช็คไปขึ้นเงินแต่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเพราะมีคำสั่งอายัดต่อมาเจ้าพนักงานบังคับคดีมีหนังสือเตือนให้ จ. ส่งเงินค่าเช่าตามเช็คอีก จ.ตอบขัดข้องว่าเช็คที่สั่งจ่ายให้จำเลยที่ 1 นั้นได้โอนไปยังบุคคลภายนอกแล้วดังนี้ เห็นได้ว่า จ. ได้ชำระหนี้กองมรดกด้วยเช็คให้จำเลยที่ 1 ก่อนจะได้รับคำสั่งอายัดจากเจ้าพนักงานบังคับคดี และเช็คนั้นได้โอนไปยังผู้ทรงซึ่งเป็นบุคคลภายนอกแล้ว ซึ่ง จ. จะต้องรับผิดใช้เงินตามเช็คให้ผู้ทรงอยู่และหนี้ยังไม่ระงับสิ้นลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 วรรคท้าย ก็ตาม ก็เป็นเรื่องที่ผู้ทรงเช็คจะต้องไปว่ากล่าวเอาแก่ จ.เจ้าพนักงานบังคับคดีจะขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีแก่จ. ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 312 วรรค 2 ไม่ได้