คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อร่ม หุตางกูร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9216/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขโทษจากจำคุกเป็นบำบัดและอบรมในคดีเยาวชน การฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเป็นอุปสรรค
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา288,80ลดมาตราส่วนโทษแล้วลงโทษจำคุกจำเลย6ปีให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยไปควบคุมเพื่อฝึกและอบรมแทนศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา295ให้มอบตัวจำเลยแก่บิดามารดาจำเลยไปอบรมดูแลดังนี้เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เฉพาะบทลงโทษจำเลยเป็นการแก้ไขเล็กน้อยและการให้ส่งตัวจำเลยไปควบคุมเพื่อฝึกและอบรมหรือมอบตัวจำเลยแก่บิดามารดาจำเลยไปอบรมดูแลฯถือได้ว่าเบากว่าโทษจำคุกจึงเป็นการให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปีห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวพ.ศ.2534มาตรา6ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา218วรรคหนึ่งที่โจทก์ฎีกาว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหายเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงฎีกาโจทก์จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5467/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนสัญญาเช่าและการกำหนดค่าเสียหายจากการระงับสิทธิเช่าเดิม
จำเลยที่5โจทก์ทั้งสองและจำเลยที่1มาเจรจาตกลงกันตามบันทึกเอกสารหมายล.8ซึ่งจำเลยที่5ได้ไกล่เกลี่ยให้จำเลยที่1และโจทก์ทั้งสองตกลงกันในเรื่องเงินช่วยค่าก่อสร้างโดยถืออัตราค่าก่อสร้างเฉพาะตัวอาคารเป็นเกณฑ์กำหนดตามที่ กรมธนารักษ์แจ้งมาและโจทก์ทั้งสองก็ยินยอมเสียเงินช่วยค่าก่อสร้างอาคารตามจำนวนที่จำเลยที่5ไกล่เกลี่ยแม้จำเลยที่1ไม่ยินยอมและตกลงด้วยก็ถือได้ว่าโจทก์ทั้งสองแสดงเจตนาแก่จำเลยที่1และที่5แล้วดังนั้นจำเลยที่1และที่5จึงหาอาจจะเปลี่ยนแปลงหรือระงับสิทธินั้นในภายหลังได้ไม่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา375 แม้จะได้ความว่าจำเลยที่2และที่3เป็นบุตรของ ว.หุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่1ย่อมจะรู้ถึงสิทธิของโจทก์ทั้งสองที่มีต่อจำเลยที่1และจำเลยที่5อันจะถือได้ว่าจำเลยที่2และที่3เข้าทำสัญญาเช่ากับจำเลยที่5โดยไม่สุจริตก็ตามแต่เมื่อจำเลยที่2และที่3โอนสิทธิการเช่าแก่จำเลยที่4จำเลยที่4ได้ชื่อว่าเป็นบุคคลภายนอกซึ่งได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่ากระทำการโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา6โจทก์ทั้งสองจึงมีภาระการพิสูจน์ว่าจำเลยที่4รับโอนสิทธิการเช่าโดยไม่สุจริตแต่โจทก์ทั้งสองนำสืบได้แต่เพียงว่าจำเลยที่4ได้สอบถามเรื่องราวเกี่ยวกับอาคารพิพาทจากโจทก์ทั้งสองตลอดมาซึ่งยังไม่อาจชี้ชัดได้ว่าจำเลยที่4ไม่สุจริตด้วยเหตุนี้จึงไม่อาจเพิกถอนสัญญาเช่าอาคารระหว่างจำเลยที่4กับจำเลยที่5ได้ สัญญาระหว่างจำเลยที่1กับจำเลยที่5เป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกเมื่อโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นบุคคลภายนอกแสดงเจตนาแก่จำเลยที่1และที่5ว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญาระหว่างจำเลยที่1และที่5แล้วการที่จำเลยที่1และที่5ระงับสิทธิของโจทก์ทั้งสองโดยให้จำเลยที่2และที่3เข้าทำสัญญาเช่าอาคารแทนที่จำเลยที่1และที่5จึงต้องรับผิดชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสองแต่โจทก์ทั้งสองประสงค์จะเรียกร้องค่าเสียหายเอากับจำเลยที่1เท่านั้นจึงบังคับให้ได้เท่าที่โจทก์ทั้งสองเรียกร้องสำหรับจำเลยที่2และที่3นั้นมิใช่คู่สัญญาในสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกจึงไม่มีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ทั้งสองไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสองส่วนจำเลยที่4นอกจากฟังไม่ได้ว่ารับโอนสิทธิการเช่าโดยไม่สุจริตยังไม่มีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ทั้งสองจึงไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสองเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3092/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความสัญญาเช่ากรณีถูกยึดทรัพย์ ศาลตีความตามเจตนาของคู่สัญญาและปกติประเพณี
การตีความสัญญาจะต้องตีความไปตามความประสงค์ในทางสุจริตโดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา368คู่สัญญาทำสัญญาเช่าเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่มีกำหนดระยะเวลา28ปีแสดงว่าคู่สัญญาประสงค์จะให้สัญญาเช่ามีอยู่จนครบกำหนดระยะเวลาเช่าตามที่ได้จดทะเบียนการเช่าไว้และย่อมไม่ประสงค์จะให้ผู้ให้เช่ามีสิทธิเลิกสัญญาได้ก่อนครบกำหนดเมื่อทรัพย์ที่เช่าถูกยึดตามคำสั่งศาลเพราะการกระทำของผู้ให้เช่าเดิมมิใช่เกิดจากการกระทำของจำเลยสัญญาเช่ายังไม่สิ้นสุดโจทก์เป็นผู้รับโอนทรัพย์ที่เช่าย่อมรับมาทั้งสิทธิและหน้าที่ของผู้โอนซึ่งมีต่อผู้เช่าด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา569โจทก์จึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าและฟ้องขับไล่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3092/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความสัญญาเช่าตามเจตนาของคู่สัญญาและผลกระทบของการยึดทรัพย์โดยผู้ให้เช่า
การตีความสัญญาจะต้องตีความไปตามความประสงค์ในทางสุจริตโดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 368 คู่สัญญาทำสัญญาเช่าเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่มีกำหนดระยะเวลา28 ปี แสดงว่า คู่สัญญาประสงค์จะให้สัญญาเช่ามีอยู่จนครบกำหนดระยะเวลาเช่าตามที่ได้จดทะเบียนการเช่าไว้และย่อมไม่ประสงค์จะให้ผู้ให้เช่ามีสิทธิเลิกสัญญาได้ก่อนครบกำหนด เมื่อทรัพย์ที่เช่าถูกยึดตามคำสั่งศาลเพราะการกระทำของผู้ให้เช่าเดิมมิใช่เกิดจากการกระทำของจำเลย สัญญาเช่ายังไม่สิ้นสุดโจทก์เป็นผู้รับโอนทรัพย์ที่เช่าย่อมรับมาทั้งสิทธิและหน้าที่ของผู้โอนซึ่งมีต่อผู้เช่าด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 569 โจทก์จึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าและฟ้องขับไล่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 460/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากสัญญาเช่าซื้อหลังบอกเลิกสัญญา: ค่าเสียหายรวมถึงส่วนต่างค่าเช่าซื้อที่ยังค้างชำระ
สัญญาเช่าซื้อข้อ6วรรคสองมีข้อความว่า"แม้ว่าสัญญาจะเลิกไปตามการบอกเลิกแล้วก็ตามการใช้สิทธิบอกเลิกสัญญานั้นไม่กระทบกระทั่งถึงสิทธิเรียกร้องของเจ้าของ(โจทก์)ที่จะเรียกให้ผู้เช่า(จำเลยที่1)รับผิดบรรดาค่าเสียหายค่าใช้จ่ายอื่นใดตามที่กำหนดไว้ในสัญญานี้โดยผู้เช่าตกลงยินยอมรับผิดชอบทุกประการ"ข้อความดังกล่าวกำหนดถึงกรณีเมื่อจำเลยที่1ผิดสัญญาและโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้วโจทก์ยังมีสิทธิเรียกร้องบรรดาค่าเสียหายตามที่กำหนดไว้ในสัญญาเช่าซื้อทุกประการดังนี้ค่าเสียหายดังกล่าวหมายความรวมถึงค่าเสียหายที่โจทก์ฟ้องโดยใช้วิธีคำนวณจากราคาค่าเช่าซื้อส่วนที่ยังขาดอยู่ตามฟ้องข้อ4.1ด้วยโจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายส่วนนี้จึงหาใช่เป็นการฟ้องเรียกค่าเช่าซื้อส่วนที่ค้างชำระไม่