คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน พ.ศ.2515 ข้อ 45

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 36 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1033/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิลูกจ้างได้รับค่าจ้างวันหยุดพักผ่อนประจำปี แม้ไม่ได้ใช้สิทธิลาพักผ่อน นายจ้างต้องจ่ายตามส่วน
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 45 กำหนดเพียงว่า ถ้านายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างประจำโดยลูกจ้างมิได้มีความผิดตามข้อ 47 ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างแก่ลูกจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามส่วนที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับ โดยมิได้กำหนดเงื่อนไขไว้ว่าถ้าลูกจ้างไม่ใช้สิทธิขอลาหยุดแล้วจะไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างดังกล่าว จำเลยจึงต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่โจทก์มิได้ใช้สิทธิลาพักให้แก่โจทก์จำเลยจะอ้างว่าโจทก์ไม่ใช้สิทธิของโจทก์เองไม่ได้ เพราะจำเลยมิได้กำหนดไว้ล่วงหน้าให้โจทก์หยุดพักผ่อนประจำปีในช่วงใด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3025/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิวันหยุดพักผ่อนประจำปีตัดขาดเมื่อไม่ขอใช้สิทธิและนายจ้างไม่ได้กำหนดให้หยุด
ข้อบังคับของจำเลยมีว่า วันหยุดพักผ่อนประจำปีไม่อนุญาตให้มีวันหยุดสะสม หากพนักงานไม่ใช้วันหยุดพักผ่อนประจำปีนั้นก็จะตัดสิทธิในการพักผ่อนประจำปีนั้นไปโดยไม่คิดทบเป็นปีให้... ฯลฯ ดังนี้เมื่อโจทก์มิได้ใช้สิทธิขอหยุดพักผ่อนประจำปีและจำเลยก็มิได้กำหนดให้โจทก์หยุด โจทก์จึงไม่มีสิทธิสะสมวันหยุดพักผ่อนประจำปีเพื่อใช้สิทธิหยุดรวมกันในปีต่อไปอีกได้ สิทธิในการหยุดพักผ่อนประจำปีของโจทก์ที่ผ่านมาแล้วจึงเป็นอันสิ้นสุดลง โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีในปีก่อนที่เลิกจ้างได้ คงมีสิทธิเรียกร้องได้เฉพาะค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีในปีที่เลิกจ้าง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2771/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละทิ้งหน้าที่ – การเลิกจ้าง – ค่าชดเชย – ค่าจ้างวันหยุดพักผ่อน – การลาที่ถูกต้องตามระเบียบ
ลูกจ้างไม่มาทำงานตั้งแต่วันที่ 8 ถึงวันที่ 15 ในชั้นแรกหยุดงานไปโดยไม่ได้ลาในวันที่ 8 และวันที่ 10(วันที่ 9 เป็นวันหยุด) ต่อมาได้โทรศัพท์ขอลากิจในวันที่ 11 ถึงวันที่ 13 และโทรศัพท์ลาป่วยในวันที่ 14 และวันที่ 15 ต่อเนื่องมาอีก ครั้นมาทำงานก็มิได้ส่งใบลาตามระเบียบ ถือได้ว่าลูกจ้างได้ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรนายจ้างจึงเลิกจ้างได้โดยมิต้องจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี
นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างประจำเมื่อวันที่ 17 จึงไม่ต้องจ่ายค่าจ้างในวันเลิกจ้าง ส่วนวันที่ 16 แม้เป็นวันหยุด ลูกจ้างก็ยังคงเป็นลูกจ้างอยู่จึงมีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันดังกล่าว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2431/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแรงงาน และการคำนวณดอกเบี้ยค่าจ้าง
คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีคำสั่งบังคับให้จำเลยจ่ายค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากการกระทำอันไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ เมื่อโจทก์ได้รับเงินดังกล่าวก็ได้ทำบันทึกว่า ไม่ติดใจเรื่องใด ๆ จากจำเลยหรือนำความขึ้นร้องเรียนจำเลยอีก บันทึกนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์เท่านั้นหาเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความที่โจทก์ไม่ติดใจเรียกร้องเงินประเภทอื่น ๆจากจำเลยตามกฎหมายไม่
ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี กฎหมายบังคับให้นายจ้างจ่ายแก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง นายจ้างจึงต้องจ่ายดอกเบี้ยเมื่อเลิกจ้าง ส่วนดอกเบี้ยในเงินค่าจ้างค้างจ่ายนั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าลูกจ้างได้ทวงถามเมื่อใด จึงต้องจ่ายนับแต่วันฟ้อง
โจทก์ฟ้องเรียกค่าชดเชยกับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจำเลยให้การต่อสู้ไว้ เมื่อศาลแรงงานกลางพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยยังมิได้วินิจฉัยปัญหานี้ ศาลฎีกามิอาจวินิจฉัยเองได้ ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาดังกล่าว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 898-912/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจผู้รับมอบอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ และสิทธิเรียกร้องค่าจ้างวันหยุดพักผ่อนที่สิ้นไป
ผู้รับมอบอำนาจให้ฟ้องคดีอยู่ในฐานะคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(11) หาใช่ 'บุคคลอื่น'ตามพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 มาตรา 33 ไม่ จึงชอบที่จะแต่งฟ้องลงชื่อเป็นโจทก์ในคำฟ้องแทนโจทก์และยื่นฟ้องได้ และการที่ผู้รับมอบอำนาจแถลงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคดีหรือเกี่ยวกับอำนาจของตนต่อศาล ก็มิใช่เป็นการกระทำที่ถือว่า 'ทำการเป็นทนายความ' หรือ 'ว่าความ' ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 33ดังกล่าว
ระเบียบการลาหยุดพักผ่อนประจำปีของจำเลยทุกฉบับอนุญาตให้ลูกจ้างสะสมวันหยุดพักผ่อนประจำปีได้เพียง 2 ปีเท่านั้น จะสะสมเกินกว่านั้นมิได้ การที่โจทก์ซึ่งถูกเลิกจ้างเมื่อวันที่1 ตุลาคม 2529 ฟ้องเรียกค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีย้อนหลังไปตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 ถึง พ.ศ. 2526 จึงเป็นการฟ้องโดยอาศัยสิทธิที่สิ้นไปหามีไม่แล้ว จำเลยไม่ต้องรับผิดจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีดังกล่าวแก่โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3390/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเรียกร้องค่าจ้างวันหยุดพักผ่อนประจำปีเมื่อถูกเลิกจ้าง และการจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน
ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีนั้น ตราบใดที่ลูกจ้างยังมิได้ ถูกเลิกจ้าง ลูกจ้างหามีสิทธิจะเรียกร้องไม่ลูกจ้างจะมีสิทธิเรียกร้องได้ ก็ต่อเมื่อถูกเลิกจ้างแล้วกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือลูกจ้างอาจบังคับสิทธิเรียกร้องค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีได้นับแต่วันถูกเลิกจ้างโจทก์ถูกเลิกจ้าง วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2528 โจทก์ฟ้อง เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2528 อายุความแห่งสิทธิเรียกร้อง ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี พ.ศ.2526 จึงไม่ขาด อายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(9) สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีย่อมเกิดขึ้นทันทีที่ลูกจ้างทำงานครบตามที่ กำหนดในข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง โดยหาจำต้อง ทำงานในปีต่อไป จนครบ1 ปีไม่ ระเบียบการของจำเลย ซึ่งเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง กำหนดว่า พนักงาน ที่มีเวลาทำงานตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไปลาหยุดพักผ่อนประจำปีได้ 15 วันทำงานเมื่อโจทก์ทำงานครบ 5 ปีในปีใดในปีต่อไปย่อมเกิดสิทธิ แก่โจทก์ที่จะหยุดพักผ่อนได้15วันทำงานได้ทันทีจำเลยเลิกจ้างโจทก์วันที่ 22 กุมภาพันธ์2528 โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อน ประจำปี 2528 ได้ 15 วัน(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 2206/2528). ระเบียบการของธนาคารจำเลยมีว่า กรณีที่ลูกจ้างเจ็บป่วยไม่อาจปฏิบัติหน้าที่การงานของตนได้โดยสม่ำเสมอแต่ไม่ ถึงทุพพลภาพ ถ้าผู้บังคับบัญชาเห็นสมควรให้ออกจากธนาคาร แล้วให้สั่งลูกจ้าง ออกจากงานได้จำเลยจึงมีอำนาจ เลิกจ้างโจทก์ได้ตามระเบียบการนี้ แต่เมื่อเลิกจ้างแล้ว จำเลยจะต้องจ่ายค่าชดเชยหรือไม่ จะต้อง พิจารณาตาม ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 ซึ่งมีข้อยกเว้นไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามข้อ46 วรรคสามและข้อ47(1) ถึง(6) การเจ็บป่วยไม่มีประสิทธิภาพไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นดังกล่าวประการใด ประการหนึ่งทั้งสิ้นจำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์ คำให้การของจำเลยตอนแรกมีความหมายเป็นนัยว่า เมื่อโจทก์ ออกจากงานได้รับเงินบำเหน็จเป็นจำนวนมากกว่าค่าชดเชย อยู่แล้ว เหตุใดจึงมาเรียกค่าชดเชยซึ่งเป็นจำนวนน้อยกว่าอยู่อีกส่วนความใน ตอนหลังปฏิเสธที่จะไม่จ่าย ค่าชดเชยเพราะเกี่ยวด้วยด้านตัวโจทก์เอง ที่ฝ่าฝืนระเบียบของจำเลยอันต้องด้วยข้อยกเว้นที่จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามที่ประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ กำหนดไว้ส่วนข้อที่เงินบำเหน็จซึ่งจำเลยจ่ายให้โจทก์รับไปแล้วเป็นเงินประเภท เดียวกับ ค่าชดเชยหรือไม่โจทก์ฟ้องเรียกเงินประเภท เดียวซ้ำกันมาอีกหรือไม่ หามีในคำให้การไม่การที่ ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าเงินบำเหน็จที่ โจทก์ได้รับไปแล้ว เป็นเงินต่างประเภทกับค่าชดเชยจึง เป็นการ วินิจฉัยนอกประเด็นตามคำให้การไม่เป็นเหตุที่ จำเลยจะอุทธรณ์นอกประเด็น ตามคำคู่ความได้ และไม่เป็นการ ผูกพันศาลฎีกาจะต้องรับวินิจฉัย ตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง ข้อที่ว่าโจทก์ได้ทวงถามแล้วหรือไม่จำเลยมิได้ ปฏิเสธให้เป็น ประเด็นในคำให้การศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2191-2206/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิลูกจ้างเมื่อถูกเลิกจ้าง: ค่าชดเชยและค่าจ้างวันหยุดพักผ่อน แม้มิได้แจ้งความจำนง
ระเบียบกำหนดว่าการลาพักผ่อนประจำปีลูกจ้างผู้มีสิทธิจะขอลาหยุดพักผ่อนเมื่อใดก็ได้และจะหยุดพักผ่อนต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชาแล้วเมื่อนายจ้างมิได้กำหนดวันหยุดพักผ่อนไว้ว่าลูกจ้างจะต้องหยุดพักผ่อนเมื่อใดให้เป็นที่แน่นอนระเบียบที่ให้ลูกจ้างมีสิทธิหยุดพักผ่อนได้แต่ละปีนั้นถือไม่ได้ว่าเป็นการที่นายจ้างกำหนดวันหยุดพักผ่อนให้แล้วทั้งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 45 กำหนดว่าถ้านายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างประจำโดย ลูกจ้างมิได้มีความผิดตามข้อ 47 ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างแก่ ลูกจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามส่วนที่ลูกจ้างมีสิทธิ ได้รับตามข้อ 10 และข้อ 32 ด้วยมิได้มีเงื่อนไขกำหนดให้ลูกจ้างต้องแจ้งความจำนงขอหยุดพักผ่อนประจำปีแต่ อย่างใดเมื่อลูกจ้างไม่ได้ขอใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีพ.ศ.2525,2526 และ 2527 เงินเดือนที่นายจ้างจ่ายให้แก่ ลูกจ้างประจำปีจึงหาได้รวมถึงค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี ไม่เมื่อนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดย ลูกจ้างมิได้มีความผิดและยังมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีที่ยังมิได้ใช้ นายจ้างจึงต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่ลูกจ้าง
ระเบียบเกี่ยวกับการลาพักผ่อนประจำปี ข้อ 14 กำหนดไว้ว่า1. พนักงานที่มีเวลาทำงานยังไม่ถึง 5 ปี ลาได้ปีละ10 วันทำงาน 2. พนักงานที่มีเวลาทำงานตั้งแต่ 5 ปี ขึ้นไปลาได้ 15 วันทำงาน และผู้ที่เข้าเป็นพนักงานนับถึงวันสิ้นปีไม่ถึง 6 เดือน ไม่มีสิทธิลาพักผ่อนประจำปี ดังนั้น หากพนักงานคนใดผ่านพ้นข้อห้ามดังกล่าวในปีต่อไป พนักงานผู้นั้นย่อมเกิดสิทธิที่จะหยุดพักผ่อนได้ทันทีโดยหาจำต้องทำงานในปีต่อไปจนครบอีก1 ปีไม่หรือเป็นการกำหนดว่า หลังจากพนักงานที่เข้า ทำงานนับถึงวันสิ้นปีไม่ถึง 6 เดือน ก็ย่อมไม่มีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีนั้นแต่ในปีต่อไปก็มีสิทธิหยุดพักผ่อนได้ทันทีโดยไม่มีข้อห้ามหรือข้อจำกัดไว้ในที่ใดว่าหาก ได้มีการเลิกจ้างหรือพนักงานคนใดลาออก หรือถึงแก่กรรม ภายหลังที่ได้ใช้สิทธิหยุดพักผ่อนจนครบกำหนดตามระเบียบแล้วนายจ้างจะได้ใช้สิทธิต่อพนักงานผู้นั้นอย่างไรบ้างสำหรับปี พ.ศ.2527 จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างเลิกจ้างโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2527 โจทก์มีเวลา ทำงานคนละ 9 เดือนโดยยังมิได้หยุดพักผ่อนเมื่อถูก จำเลยเลิกจ้างเพราะเหตุเกษียณอายุย่อมมีสิทธิหยุดพักผ่อนได้ คนละ 15 วันตามระเบียบของจำเลยข้อ 2 เมื่อโจทก์มิ ได้ใช้สิทธิดังกล่าว จำเลยก็ต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่โจทก์ คนละ 15 วันมิใช่ เฉลี่ยค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนให้โจทก์ในปี พ.ศ.2527 เพียงคนละ 10 วัน
ค่าชดเชยและค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีเป็นหนี้เงินซึ่งนายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ ข้อ 45 เมื่อจำเลยไม่จ่ายให้ โจทก์ จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดนับแต่วันที่จำเลยเลิกจ้าง โจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิได้ดอกเบี้ยนับแต่วันผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224
of 4