คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 ม. 29

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 387 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4038-4039/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม แม้ขาดทุน แต่ทุนจดทะเบียนสูง และไม่มีเหตุผลเพียงพอ
มูลคดีที่โจทก์ทั้งสองฟ้องจำเลยคดีนี้เป็นเรื่องที่โจทก์ทั้งสองอ้างว่าการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสองนั้นเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งเป็นการใช้สิทธิตามที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 49 บัญญัติไว้ไม่ใช่เป็นการฟ้องเกี่ยวกับกรณีพิพาทซึ่งเกิดจากสัญญาจ้างพนักงานแต่อย่างใด โจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิที่จะนำคดีมาฟ้องต่อศาลแรงงานกลางได้เนื่องจากมิได้อยู่ในเงื่อนไขข้อตกลง ศาลแรงงานกลางจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ ได้บัญญัติหลักการสำคัญในการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีแรงงานไว้เป็นการเฉพาะแล้ว ไม่อาจนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87(2) และมาตรา 88มาอนุโลมใช้บังคับแก่การดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงานได้ ศาลแรงงานกลางจึงมีอำนาจเรียกพยานมาสืบได้เองหรือกำหนดให้คู่ความนำพยานมาสืบโดยจะให้ยื่นบัญชีระบุพยานหรือไม่ก็ได้ การที่ศาลแรงงานกลางอนุญาตให้โจทก์ทั้งสองอ้างเอกสารเป็นพยานและรับฟังข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในเอกสารดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย
แม้กิจการของจำเลยประสบภาวะการขาดทุนต่อเนื่องนับแต่เริ่มดำเนินกิจการในปี 2538 จนถึงปี 2542 รวมเป็นเงินถึง 40 ล้านบาท และนอกจากโจทก์ทั้งสองแล้วจำเลยยังได้เลิกจ้างพนักงานอื่น ๆ อีก 2 คน แต่จำเลยมีทุนจดทะเบียนดำเนินการถึง208,500,000 บาท ประกอบกับจำเลยทราบดีอยู่แล้วว่าปกติการดำเนินธุรกิจประกันภัยสหกรณ์อย่างเช่นกิจการของจำเลยจะขาดทุนต่อเนื่องในระยะเวลา 6 ปีแรก และไม่ปรากฏอย่างชัดแจ้งว่าภาวะการขาดทุนของจำเลย ในขณะที่เลิกจ้างโจทก์ทั้งสองกับแนวโน้มในการดำเนินกิจการของจำเลยในปีต่อ ๆ ไปนั้น จะต้องประสบภาวะวิกฤตจนถึงขั้นไม่อาจดำเนินกิจการต่อไปได้ หากไม่แก้ไขการจัดการโดยวิธีเลิกจ้างโจทก์ทั้งสอง จึงต้องถือว่าการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสองนั้นยังไม่มีเหตุอันสมควรอย่างเพียงพอ จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4038-4039/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม แม้ธุรกิจขาดทุนต่อเนื่อง จำเป็นต้องมีเหตุอันสมควรเพียงพอ
สัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ระบุว่า นายจ้างและลูกจ้างยินยอมให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งใช้สิทธิใด ๆ ที่จะพึงมีตามสัญญานี้เพื่อระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการก่อน ถ้าปรากฏว่าไม่สามารถระงับข้อพิพาทได้ให้ปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป เป็นผลให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะนำข้อพิพาทดังกล่าวไปฟ้องต่อศาลแรงงานกลางก่อนที่จะให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดไม่ได้ตามที่พระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 10 บัญญัติไว้ แต่คำฟ้องของโจทก์เป็นการอ้างว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งเป็นการใช้สิทธิตามที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 49 บัญญัติไว้ มิใช่เป็นการฟ้องเกี่ยวกับกรณีพิพาทซึ่งเกิดจากสัญญาจ้างพนักงานจึงไม่อยู่ในเงื่อนไขข้อตกลงดังกล่าว
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 44 และข้อกำหนดศาลแรงงานว่าด้วยการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงานข้อ 10 ให้อำนาจศาลแรงงานสอบถามคู่ความแต่ละฝ่ายว่าประสงค์จะอ้างและสืบพยานใดบ้าง แล้วจดรายชื่อและที่อยู่ของพยานบุคคล สภาพและสถานที่เก็บของพยานเอกสารหรือพยานวัตถุไว้หรือจะให้คู่ความทำบัญชีระบุพยานยื่นต่อศาลแรงงานในวันนั้นหรือภายในกำหนด 2 วัน ก็ได้หากศาลแรงงานเห็นว่าพยานที่คู่ความนำมาสืบยังไม่ได้ข้อเท็จจริงแห่งคดีแจ้งชัด ศาลก็มีอำนาจตามมาตรา 45 ที่จะเรียกพยานหลักฐานมาสืบได้เอง ซึ่งเป็นกรณีที่มีบทบัญญัติกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีแรงงานเป็นการเฉพาะแล้ว ไม่อาจนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87(2) และมาตรา 88 มาอนุโลมใช้บังคับแก่การดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงานตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ได้
กิจการของจำเลยประสบภาวะขาดทุนต่อเนื่องนับแต่เริ่มดำเนินกิจการในปี 2538จนถึงปี 2542 รวมเป็นเงินถึง 40 ล้านบาท และนอกจากโจทก์แล้วจำเลยยังได้เลิกจ้างพนักงานอื่น ๆ อีก 2 คน แต่จำเลยมีทุนจดทะเบียนดำเนินการถึง 208,500,000 บาทประกอบกับจำเลยทราบดีอยู่แล้วว่าปกติการดำเนินธุรกิจประกันภัยสหกรณ์อย่างเช่นกิจการของจำเลยจะขาดทุนต่อเนื่องในระยะเวลา 6 ปีแรก และไม่ปรากฏว่าภาวะขาดทุนของจำเลยในขณะที่เลิกจ้างโจทก์กับแนวโน้มในการดำเนินกิจการของจำเลยในปีต่อ ๆ ไปนั้นจะต้องประสบภาวะวิกฤตจนถึงขั้นไม่อาจดำเนินกิจการต่อไปได้หากไม่แก้ไขการจัดการโดยวิธีเลิกจ้างโจทก์ ฉะนั้นจึงต้องถือว่าการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ยังไม่มีเหตุอันสมควรเพียงพอ เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6539/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียกชอบด้วยกฎหมาย แม้จำเลยมีภูมิลำเนาหลายแห่ง และความสำคัญของกำหนดเวลาการยื่นคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ตามสัญญาค้ำประกันระบุว่า จำเลยที่ 2 มีภูมิลำเนาอยู่ที่บ้านเลขที่ ที่โจทก์ระบุในคำฟ้อง ทั้งตามแบบรับรองรายการทะเบียนราษฎร์จากฐานข้อมูลการทะเบียนสำนักทะเบียนกลางกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ซึ่งรับรองก่อนวันที่โจทก์ฟ้อง 3 วัน ก็ระบุว่าจำเลยที่ 2 มีที่อยู่บ้านเลขที่ดังกล่าว การส่งสำเนาคำฟ้องและหมายเรียกให้แก่จำเลยที่ 2 โดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับตามคำสั่งของศาลแรงงานกลางก็มีบุคคลเดียวกับบุคคลที่เคยรับหนังสือทวงถามไว้แทนจำเลยที่ 2 เป็นผู้รับไว้แทน น่าเชื่อว่าบ้านเลขที่ตามที่โจทก์ระบุในคำฟ้องเป็นถิ่นที่อยู่ของจำเลยที่ 2 จริง แม้จำเลยที่ 2 จะอ้างว่ามีภูมิลำเนาแห่งอื่นอีก หากเป็นความจริงก็ต้องถือว่า จำเลยที่ 2 มีถิ่นที่อยู่หลายแห่ง บ้านเลขที่ตามฟ้องโจทก์ย่อมเป็นภูมิลำเนาของจำเลยที่ 2 ด้วยแห่งหนึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 38 การส่งสำเนาคำฟ้องและหมายเรียกให้แก่จำเลยที่ 2 ณ ภูมิลำเนาตามฟ้อง โดยมีผู้รับแทนจำเลยที่ 2 ดังกล่าวจึงเป็นการส่งหมายโดยชอบ ย่อมถือว่าจำเลยที่ 2 ทราบวันนัดพิจารณาโดยชอบแล้ว
ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่าจำเลยที่ 2 ขาดนัดในวันที่ 9 กันยายน 2542 จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2543 เกินกำหนด 7 วันนับแต่วันที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดตาม พ.ร.บ. จัดตั้ง ศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 41 คำสั่งศาลแรงงานกลางที่ให้ยกคำร้องจำเลยที่ 2 ชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1470/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเพิกถอนคำวินิจฉัยคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน การฟ้องเป็นคณะบุคคล และอำนาจฟ้อง
การพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนกระทำในรูปคณะบุคคลอันเป็นการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งตามพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537 แม้คณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนจะมิได้มีฐานะเป็นนิติบุคคล คำวินิจฉัยของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนก็มีผลผูกพันกรรมการทุกคนไม่ว่าจะได้เข้าร่วมประชุมพิจารณาวินิจฉัยด้วยหรือไม่ ดังนั้น การฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนจึงไม่ใช่เป็นการฟ้องคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนในฐานะส่วนตัว แต่เป็นการฟ้องในทางตำแหน่งหน้าที่ตามกฎหมาย คณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนทั้งคณะจึงถูกฟ้องเป็นจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8366-8678/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งผู้แทนโจทก์ในคดีแรงงานและการไม่ต้องปิดอากรแสตมป์
ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 35 วรรคสามและวรรคสี่ และ ข้อกำหนดว่าด้วยการแต่งตั้งผู้แทนโจทก์ในการดำเนินคดี มิได้กำหนดว่าการแต่งตั้งผู้แทนโจทก์จะต้องแนบ บัตรประจำตัวประชาชนของโจทก์ผู้แต่งตั้งผู้แทนโจทก์มาด้วย การที่โจทก์ได้ใช้แบบพิมพ์ รง. 7 มีรายชื่อและลายมือชื่อโจทก์ทั้งหมดแนบเสนอต่อศาลแรงงานเป็นการแต่งตั้งผู้แทนโจทก์ที่ชอบแล้ว
บันทึกการแต่งตั้งผู้แทนโจทก์ตามแบบพิมพ์ รง. 7 เป็นแบบพิมพ์ของราชการที่โจทก์แต่งตั้งให้โจทก์คนใดคนหนึ่งหรือหลายคนเป็นผู้แทนในการดำเนินคดีแรงงานที่ศาลแรงงานแทนโจทก์ที่แต่งตั้ง มิใช่เป็นใบมอบอำนาจตามข้อ 7 แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์ แบบพิมพ์ รง. 7 จึงมิใช่ตราสารที่ต้องปิดอากรแสตมป์ตาม ป. รัษฎากร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2590/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดศาลแรงงานเรื่องการระบุพยาน ทำให้กระบวนพิจารณาไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ตามข้อกำหนดศาลแรงงานว่าด้วยการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงาน ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 29 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 ข้อ 10 วรรคหนึ่ง ระบุว่า"ในกรณีที่ศาลแรงงานสั่งให้มีการสืบพยาน ศาลจะสอบถามโจทก์และจำเลยแต่ละฝ่ายว่าประสงค์จะอ้างและสืบพยานใดบ้าง แล้วจดชื่อและที่อยู่ของพยานบุคคล สภาพและสถานที่เก็บของพยานเอกสารหรือพยานวัตถุไว้ หรือจะให้คู่ความทำบัญชีระบุพยานยื่นต่อศาลในวันนั้นหรือภายในกำหนด 2 วัน ก็ได้" ตามข้อกำหนดดังกล่าวกำหนดให้ศาลแรงงานมีหน้าที่ต้องสอบถามคู่ความเกี่ยวกับการอ้างและสืบพยานตลอดจนสอบถามในเรื่องรายชื่อและที่อยู่ของพยานบุคคล สภาพและที่เก็บของพยานเอกสารหรือพยานวัตถุหรือให้คู่ความทำบัญชีระบุพยานยื่นต่อศาลในวันที่สั่งให้มีการสืบพยานหรือภายใน 2 วันซึ่งเป็นไปตามมาตรา 44 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522
ในวันนัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์ จำเลยเพียงแถลงส่งสัญญาว่าจ้างการแสดงเอกสารหมาย ล.1 ต่อศาลเท่านั้น ไม่ปรากฏว่าศาลแรงงานได้สอบถามโจทก์และจำเลยแต่ละฝ่ายว่าจะอ้างและสืบพยานใดบ้างหรือสั่งให้คู่ความทำบัญชีระบุพยานยื่นต่อศาลในวันนั้นหรือภายในกำหนด 2 วัน ตามข้อกำหนดศาลแรงงานว่าด้วยการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงาน ถือได้ว่าศาลแรงงานมิได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดศาลแรงงานดังกล่าวกับมาตรา 29 และมาตรา 44 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายต้องเพิกถอนกระบวนพิจารณาในวันนัดพิจารณาและนัดสืบพยานโจทก์ตั้งแต่คำสั่งที่ให้จำเลยนำพยานเข้าสืบเป็นต้นไปจนกระทั่งศาลแรงงานมีคำพิพากษาและให้ศาลแรงงานสอบถามโจทก์และจำเลยเรื่องการอ้างและสืบพยานใดบ้าง หรือให้คู่ความทำบัญชีระบุพยานยื่นต่อศาล แล้วให้พิจารณาและพิพากษาใหม่ตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2590/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดศาลแรงงานเรื่องการสืบพยาน ทำให้กระบวนพิจารณาไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ตามข้อกำหนดศาลแรงงานว่าด้วยการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงาน ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 29 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 ข้อ 10 วรรคหนึ่ง ระบุว่า "ในกรณีที่ศาลแรงงานสั่งให้มีการสืบพยาน ศาลจะสอบถามโจทก์และจำเลยแต่ละฝ่ายว่าประสงค์จะอ้างและ สืบพยานใดบ้าง แล้วจดชื่อและที่อยู่ของพยานบุคคลสภาพและ สถานที่เก็บของพยานเอกสารหรือพยานวัตถุไว้ หรือจะให้คู่ความ ทำบัญชีระบุพยานยื่นต่อศาลในวันนั้นหรือภายในกำหนด 2 วัน ก็ได้" ตามข้อกำหนดดังกล่าวกำหนดให้ศาลแรงงานมีหน้าที่ต้อง สอบถามคู่ความเกี่ยวกับการอ้างและสืบพยานตลอดจนสอบถามในเรื่องรายชื่อและที่อยู่ของพยานบุคคล สภาพและที่เก็บของพยานเอกสารหรือพยานวัตถุหรือให้คู่ความทำบัญชีระบุพยานยื่นต่อศาลในวันที่สั่งให้มีการสืบพยานหรือภายใน 2 วันซึ่งเป็นไปตามมาตรา 44แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522
ในวันนัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์ จำเลยเพียงแถลงส่ง สัญญาว่าจ้างการแสดงเอกสารหมาย ล.1 ต่อศาลเท่านั้น ไม่ปรากฏว่าศาลแรงงานได้สอบถามโจทก์และจำเลยแต่ละฝ่ายว่าจะอ้างและสืบพยานใดบ้างหรือสั่งให้คู่ความทำบัญชีระบุพยานยื่นต่อศาลในวันนั้นหรือภายในกำหนด 2 วัน ตามข้อกำหนดศาลแรงงานว่าด้วยการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงาน ถือได้ว่าศาลแรงงานมิได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดศาลแรงงานดังกล่าวกับมาตรา 29 และมาตรา 44แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายต้องเพิกถอนกระบวนพิจารณาในวันนัดพิจารณาและนัดสืบพยานโจทก์ตั้งแต่คำสั่งที่ให้จำเลยนำพยานเข้าสืบเป็นต้นไปจนกระทั่งศาลแรงงานมีคำพิพากษาและให้ศาลแรงงานสอบถามโจทก์และจำเลยเรื่องการอ้างและสืบพยานใดบ้าง หรือให้คู่ความทำบัญชีระบุพยานยื่นต่อศาล แล้วให้พิจารณาและพิพากษาใหม่ตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 385-419/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแรงงานในการสืบพยานและการรับฟังเอกสารพยาน แม้บัญชีระบุพยานไม่สมบูรณ์
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 44 และข้อกำหนดศาลแรงงานว่าด้วยการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงานข้อ 10 ให้อำนาจศาลแรงงานสอบถามคู่ความว่าประสงค์จะอ้างและสืบพยานใดบ้างแล้วจดรายชื่อและที่อยู่ของพยานบุคคล สภาพและสถานที่เก็บของพยานเอกสารหรือพยานวัตถุไว้ หรือจะให้คู่ความทำบัญชีระบุพยานยื่นต่อศาลแรงงานในวันนั้นหรือภายในกำหนด 2 วันก็ได้ หากศาลแรงงานเห็นว่าพยานที่คู่ความนำมาสืบยังไม่ได้ข้อเท็จจริงแจ้งชัด ศาลมีอำนาจตามมาตรา 45 ที่จะเรียกพยานหลักฐานมาสืบได้เองตามที่เห็นสมควรและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ซึ่งเป็นกรณีที่มีบทบัญญัติกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีแรงงานเป็นการเฉพาะแล้วไม่อาจนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87(2) และมาตรา 88 มาอนุโลมใช้บังคับแก่การดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงานตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31 ได้ศาลแรงงานจึงมีอำนาจเรียกพยานมาสืบได้เองหรือกำหนดให้คู่ความนำพยานมาสืบโดยจะยื่นบัญชีระบุพยานหรือไม่ก็ได้หรือแม้บัญชีระบุพยานจะไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคหนึ่ง ก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 385-419/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานเอกสารในคดีแรงงาน: ศาลแรงงานมีอำนาจสืบพยานได้เอง แม้บัญชีพยานไม่ชัดเจน
แม้พยานเอกสารของโจทก์จะระบุพยานเพียงว่า "คำร้องของลูกจ้างให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นทนายความฯ" ซึ่งมิได้แสดงรายละเอียดให้ชัดเจนถึงสภาพของเอกสารที่อ้าง อันเป็นการระบุพยานที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคหนึ่ง ก็ตาม แต่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 44 และข้อกำหนดศาลแรงงานว่าด้วยการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงาน ข้อ 10 ซึ่งออกใช้บังคับโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 29ให้อำนาจศาลแรงงานสอบถามคู่ความแต่ละฝ่ายว่าประสงค์จะอ้างและสืบพยานใดบ้างแล้วจดรายชื่อและที่อยู่ของพยานบุคคล สภาพและสถานที่เก็บของพยานเอกสารหรือพยานวัตถุไว้ หรือจะให้คู่ความทำบัญชีระบุพยานยื่นต่อศาลแรงงานในวันนั้นหรือภายในกำหนด 2 วัน ก็ได้ หากศาลแรงงานเห็นว่าพยานที่คู่ความนำมาสืบยังไม่ได้ข้อเท็จจริงแห่งคดีแจ้งชัด ศาลก็มีกำหนดตามมาตรา 45 ที่จะเรียกพยานหลักฐานมาสืบได้เอง ตามที่เห็นสมควรและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ซึ่งเป็นกรณีที่มีบทบัญญัติกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีแรงงานเป็นการเฉพาะแล้ว จึงไม่อาจนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87(2) และมาตรา 88มาอนุโลมใช้บังคับแก่การดำเนินการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงาน ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ได้ เมื่อศาลแรงงานมีอำนาจเรียกพยานมาสืบได้เองหรือกำหนดให้คู่ความนำพยานมาสืบโดยจะให้ยื่นบัญชีระบุพยานหรือไม่ก็ได้ การที่ศาลแรงงานกลางรับฟังเอกสารซึ่งโจทก์อ้างส่งเป็นพยาน จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7116/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลแรงงานมีอำนาจเรียกพยานสืบเองได้ แม้จำเลยมิได้ระบุชื่อพยานในบัญชีระบุพยาน
ข้อกำหนดศาลแรงงานว่าด้วยการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงาน ข้อ 10 ซึ่งออกบังคับใช้โดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 29 ให้อำนาจศาลแรงงานสอบถามคู่ความแต่ละฝ่ายว่าประสงค์จะอ้างและสืบพยานใดบ้างแล้วจดรายชื่อและที่อยู่ของพยานบุคคล สภาพและสถานที่เก็บของพยานเอกสารหรือพยานวัตถุไว้หรือจะให้คู่ความทำบัญชีระบุพยานยื่นต่อศาลแรงงานภายในวันนั้นหรือภายในกำหนด 2 วัน ก็ได้ หากศาลแรงงานเห็นว่าพยานที่คู่ความมานำสืบยังไม่ได้ข้อเท็จจริงแห่งคดีแจ้งชัด ศาลแรงงานก็มีอำนาจตามมาตรา 45 ที่จะเรียกพยานมาสืบได้เองตามที่เห็นสมควรและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม จึงเป็นกรณีมีบทบัญญัติกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีแรงงานเป็นการเฉพาะแล้ว ไม่อาจนำ ป.วิ.พ. มาตรา 87 (2) , 88 มาอนุโลมใช้
แม้บัญชีระบุพยานจำเลยระบุเพียง "ฝ่ายกฎหมาย บริษัทสาธรคาร์เร้นท์ จำกัด" โดยไม่ได้ระบุชื่อ ส. เป็นพยานจำเลย ศาลแรงงานกลางก็สามารถรับฟังคำเบิกความของ ส. เป็นพยานได้ในฐานะพยานที่ศาลแรงงานกลางเห็นสมควรสืบเองตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 45 วรรคหนึ่ง
of 39