คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 ม. 29

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 387 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5345/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลแรงงานมีอำนาจกำหนดประเด็นข้อพิพาทและสืบพยานเองได้ ไม่อาจใช้อำนาจตาม ป.วิ.พ. มาอนุโลม
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 39 และมาตรา 29 วรรคหนึ่ง ได้บัญญัติเรื่องการจดประเด็นข้อพิพาทและการดำเนินกระบวนพิจารณาจะต้องเป็นไปโดยประหยัด สะดวก รวดเร็ว และเที่ยงธรรมไว้เป็นการเฉพาะแล้ว กรณีจึงไม่อาจนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. เรื่องการชี้สองสถานและการคัดค้านการกำหนดประเด็นข้อพิพาทมาอนุโลมใช้บังคับแก่การจดประเด็นข้อพิพาทและการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงาน ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ได้
ในคดีแรงงาน พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522 ได้บัญญัติให้ศาลแรงงานมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาทั้งปวง รวมทั้งการกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินกระบวนพิจารณาและให้มีอำนาจระบุให้คู่ความฝ่ายใดนำพยานมาสืบก่อนหลังได้ด้วย หากศาลแรงงานพิจารณาวินิจฉัยข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายตามข้อต่อสู้ของคู่ความครบถ้วนแล้ว ต้องถือว่าศาลแรงงานได้ดำเนินกระบวนพิจารณาชอบด้วยกฎหมาย คู่ความไม่มีสิทธิคัดค้านว่าศาลแรงงานกำหนดประเด็นข้อพิพาทหรือระบุให้คู่ความฝ่ายใดนำพยานมาสืบก่อนหลังไม่ถูกต้องเช่นที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 183 วรรคท้ายได้
โจทก์ฟ้องต่อศาลแรงงานว่า จำเลยในฐานะจำเลยเป็นลูกจ้างโจทก์ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบกรณีกล่าวหาว่าจำเลยฉ้อโกงเรียกเงินค่าภาษีเงินได้นิติบุคคลจากลูกค้าของโจทก์ในวันโอนบ้านและที่ดินทำให้โจทก์เสียหาย ขอให้บังคับจำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ ซึ่งเป็นการฟ้องบังคับตามสิทธิเรียกร้องในมูลหนี้จากการผิดสัญญาจ้างแรงงาน ไม่ใช่เป็นฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา การพิจารณาพิพากษาคดีแรงงานนี้จึงไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5345/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดประเด็นข้อพิพาทในคดีแรงงาน ศาลมีอำนาจตาม พ.ร.บ.แรงงาน ไม่ต้องผูกพันประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 39 และมาตรา 29 วรรคหนึ่ง ได้บัญญัติเรื่องการจดประเด็นข้อพิพาทและการดำเนินกระบวนพิจารณาจะต้องเป็นไปโดยประหยัด สะดวก รวดเร็ว และเที่ยงธรรมไว้เป็นการเฉพาะแล้ว กรณีจึงไม่อาจนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เรื่องการชี้สองสถานและการคัดค้านการกำหนดประเด็นข้อพิพาทมาอนุโลมใช้บังคับแก่การจดประเด็นข้อพิพาทและการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงาน ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ได้
ในคดีแรงงานพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 ได้บัญญัติให้ศาลแรงงานมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาทั้งปวงรวมทั้งการกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินกระบวนพิจารณาและให้มีอำนาจระบุให้คู่ความฝ่ายใดนำพยานมาสืบก่อนหลังได้ด้วย หากศาลแรงงานพิจารณาวินิจฉัยข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายตามข้อต่อสู้ของคู่ความครบถ้วนแล้วต้องถือว่าศาลแรงงานได้ดำเนินกระบวนพิจารณาชอบด้วยกฎหมาย คู่ความไม่มีสิทธิคัดค้านว่าศาลแรงงานกำหนดประเด็นข้อพิพาทหรือระบุให้คู่ความฝ่ายใดนำพยานมาสืบก่อนหลังไม่ถูกต้องเช่นที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 183 วรรคท้ายได้
โจทก์ฟ้องต่อศาลแรงงานว่า จำเลยในฐานะจำเลยเป็นลูกจ้างโจทก์ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบกรณีกล่าวหาว่าจำเลยฉ้อโกงเรียกเงินค่าภาษีเงินได้นิติบุคคลจากลูกค้าของโจทก์ในวันโอนบ้านและที่ดินทำให้โจทก์เสียหาย ขอให้บังคับจำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ ซึ่งเป็นการฟ้องบังคับตามสิทธิเรียกร้องในมูลหนี้จากการผิดสัญญาจ้างแรงงาน ไม่ใช่เป็นฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา การพิจารณาพิพากษาคดีแรงงานนี้จึงไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5569/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแรงงานในการกำหนดวันสืบพยานและไม่อนุญาตเลื่อนคดี เป็นไปตามกฎหมายและข้อกำหนด
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522 มาตรา 39 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติว่า ในกรณีมีประเด็นที่ยังไม่อาจตกลงกันหรือไม่อาจประนีประนอมยอมความกัน ให้ศาลแรงงานจดประเด็นข้อพิพาทและบันทึกคำแถลงของโจทก์กับคำให้การของจำเลยอ่านให้คู่ความฟัง และให้ลงลายมือชื่อไว้โดยจะระบุให้คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งนำพยานมาสืบก่อนหรือหลังก็ได้ แล้วให้ศาลแรงงานกำหนดวันสืบพยานไปทันที หมายถึงกรณีที่ศาลแรงงานกำหนดวันพิจารณาโดยยังไม่ได้กำหนดวันสืบพยาน เมื่อศาลแรงงานได้ดำเนินการตามบทบัญญัติดังกล่าวแล้วก็ให้กำหนดวันสืบพยานไปทันที ประกอบกับมาตรา 29 บัญญัติว่า เพื่อให้การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีแรงงานเป็นไปโดยประหยัด สะดวก รวดเร็ว และเที่ยงธรรม จึงให้อำนาจแก่อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางโดยได้รับอนุมัติจากประธานศาลฎีกาออกข้อกำหนดศาลแรงงาน ว่าด้วยการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงาน ข้อ 10 ว่า ในกรณีที่ศาลแรงงานสั่งให้มีการสืบพยาน ถ้าคู่ความได้นำพยานทั้งหมดหรือบางส่วนมาศาลและพร้อมที่จะสืบได้ในวันนั้น ให้ศาลดำเนินการสืบพยานไปทันที ดังนี้ การที่ศาลแรงงานกำหนดวันสืบพยานโจทก์ในวันเดียวกันกับวันนัดพิจารณา จึงเป็นไปตามข้อกำหนดดังกล่าว ที่ศาลแรงงานไม่อนุญาตให้โจทก์เลื่อนคดีหาเป็นการขัดต่อมาตรา 39 วรรคหนึ่งไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5569/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดวันสืบพยานในคดีแรงงาน: ศาลดำเนินการตามข้อกำหนดได้ แม้ในวันเดียวกับวันนัดพิจารณา
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา39วรรคหนึ่งที่บัญญัติว่าในกรณีมีประเด็นที่ยังไม่อาจตกลงกันหรือไม่อาจประนีประนอมยอมความกันให้ศาลแรงงานจดประเด็นข้อพิพาทและบันทึกคำแถลงของโจทก์กับคำให้การของจำเลยอ่านให้คู่ความฟังและให้ลงลายมือชื่อไว้โดยจะระบุให้คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งนำพยานมาสืบก่อนหรือหลังก็ได้แล้วให้ศาลแรงงานกำหนดวันสืบพยานไปทันทีหมายถึงกรณีที่ศาลแรงงานกำหนดวันพิจารณาโดยยังไม่ได้กำหนดวันสืบพยานเมื่อศาลแรงงานได้ดำเนินการตามบทบัญญัติดังกล่าวแล้วก็ให้กำหนดวันสืบพยานไปทันทีประกอบกับมาตรา29บัญญัติว่าเพื่อให้การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีแรงงานเป็นไปโดยประหยัดสะดวกรวดเร็วและเที่ยงธรรมจึงให้อำนาจแก่อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางโดยได้รับอนุมัติจากประธานศาลฎีกาออกข้อกำหนดศาลแรงงานว่าด้วยการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงานข้อ10ว่าในกรณีที่ศาลแรงงานสั่งให้มีการสืบพยานถ้าคู่ความได้นำพยานทั้งหมดหรือบางส่วนมาศาลและพร้อมที่จะสืบได้ในวันนั้นให้ศาลดำเนินการสืบพยานไปทันทีดังนี้การที่ศาลแรงงานกำหนดวันสืบพยานโจทก์ในวันเดียวกันกับวันนัดพิจารณาจึงเป็นไปตามข้อกำหนดดังกล่าวที่ศาลแรงงานไม่อนุญาตให้โจทก์เลื่อนคดีหาเป็นการขัดต่อมาตรา39วรรคหนึ่งไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2356-2357/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดุลพินิจศาลแรงงานในการยื่นบัญชีระบุพยาน และการรับฟังพยานหลักฐาน
การที่อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางอาศัยอำนาจตามความในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา 29ออกข้อกำหนดศาลแรงงาน ว่าด้วยการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงาน ข้อ10นั้น'เป็นกรณีที่ อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานออกข้อกำหนดให้ ศาลแรงงานกลางใช้ ดุลพินิจเลือกดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างหนึ่งอย่างใดก็ได้ตามที่เห็นสมควรเพื่อให้การดำเนินกระบวนพิจารณาบรรลุผลตามเจตนารมณ์ดังกล่าวหาใช่เป็นข้อกำหนดบังคับให้คู่ความถือ ปฏิบัติโดยที่ศาลแรงงานกลางมิได้มีคำสั่งไม่ เมื่อ ศาลแรงงานกลางมิได้มีคำสั่งตามข้อกำหนดดังกล่าว การยื่นบัญชีระบุพยานจำต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งซึ่งนำมาใช้บังคับโดยอนุโลม การที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ ยื่นบัญชีระบุพยาน หลังจากจำเลยซึ่งนำสืบ ก่อนสืบพยานไปบ้างแล้วนั้น เป็นการใช้ดุลพินิจสั่งตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 87(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2356-2357/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ดุลพินิจศาลแรงงานในการรับบัญชีระบุพยานหลังจำเลยสืบพยานไปแล้ว และการบังคับใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งโดยอนุโลม
การที่อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางอาศัยอำนาจตามความในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 29 ออกข้อกำหนดศาลแรงงาน ว่าด้วยการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงาน ข้อ 10 นั้น'เป็นกรณีที่ อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานออกข้อกำหนดให้ ศาลแรงงานกลางใช้ ดุลพินิจเลือกดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างหนึ่งอย่างใดก็ได้ตามที่เห็นสมควรเพื่อให้การดำเนินกระบวนพิจารณาบรรลุผลตามเจตนารมณ์ดังกล่าว หาใช่เป็นข้อกำหนดบังคับให้คู่ความถือ ปฏิบัติโดยที่ศาลแรงงานกลาง
มิได้มีคำสั่งไม่ เมื่อศาลแรงงานกลางมิได้มีคำสั่งตามข้อกำหนดดังกล่าว การยื่นบัญชีระบุพยานจำต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งซึ่งนำมาใช้บังคับโดยอนุโลม การที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ ยื่นบัญชีระบุพยาน หลังจากจำเลยซึ่งนำสืบก่อนสืบพยานไปบ้างแล้วนั้น เป็นการใช้ดุลพินิจสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87 (2)
of 39