คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 18

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 511 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5764/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำให้การหลังพิจารณาคดี และการอุทธรณ์คำสั่งศาลแรงงานที่ไม่รับอุทธรณ์การเลื่อนคดี
ศาลแรงงานสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยแก้ไขคำให้การ แม้มีผลเป็นการสั่งไม่รับคำคู่ความตาม ป.วิ.พ.มาตรา 228 (3) จำเลยย่อมอุทธรณ์คำสั่งได้ทันทีตาม ป.วิ.พ.มาตรา 228 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 แต่จำเลยอุทธรณ์คำสั่งศาลแรงงานดังกล่าวในระหว่างพิจารณาของศาลแรงงานเพื่อให้ศาลฎีกาสั่งให้ศาลแรงงานมีคำสั่งรับคำร้องขอแก้ไขคำให้การดังกล่าวของจำเลยไว้พิจารณานั้น เมื่อปรากฎว่าหลังจากศาลแรงงานสั่งเพิกถอนคำสั่งเดิมที่สั่งรับอุทธรณ์ข้อนี้ของจำเลยไว้ และมีคำสั่งใหม่เป็นไม่รับอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวของจำเลย และจำเลยได้อุทธรณ์ประเด็นข้อนี้รวมมากับอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลแรงงาน ซึ่งศาลแรงงานได้สั่งรับอุทธรณ์ข้อนี้ไว้แล้วศาลฎีกาเห็นควรวินิจฉัยอุทธรณ์ข้อนี้ให้
การที่จำเลยยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การโดยอ้างว่าเพิ่งตรวจพบเอกสารและได้รับแจ้งจากการไฟฟ้านครหลวงหลังจากจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามแล้วจึงขอเพิ่มเติมคำให้การว่า โจทก์ที่ 1 และที่ 3 จงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหายและขณะที่โจทก์ทั้งสามเป็นลูกจ้างจำเลย โจทก์ที่ 1 และที่ 3 มาทำงานสายเป็นประจำอันเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ฟ้องโจทก์ทั้งสามเคลือบคลุมและโจทก์ทั้งสามได้ร้องต่อเจ้าหน้าที่แรงงานเขตบางเขนจึงไม่มีอำนาจฟ้องนั้น เมื่อปรากฏว่าคดีนี้ข้อเท็จจริงเป็นยุติตามที่ศาลแรงงานรับฟังว่า อ.พยานจำเลยเป็นผู้แจ้งการเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามว่าเหตุที่จำเลยเลิกจ้างเนื่องจากจำเลยไม่มีงานให้โจทก์ทั้งสามทำ ดังนั้น ขณะจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสาม จำเลยมิได้ติดใจหรือถือว่าโจทก์ทั้งสามกระทำความผิด จำเลยย่อมไม่อาจยกเหตุซึ่งอ้างว่าเพิ่งทราบการกระทำความผิดของโจทก์ทั้งสามหลังจากเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามแล้วขึ้นเป็นข้อต่อสู้เพื่อให้จำเลยหลุดพ้นจากความรับผิดในการจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าได้ แม้ศาลฎีกาจะอนุญาตให้จำเลยแก้ไขคำให้การก็ไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงได้ จึงไม่มีเหตุที่จะอนุญาตให้จำเลยแก้ไขคำให้การตามที่จำเลยอ้าง
ศาลแรงงานไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีและงดสืบพยานจำเลยเนื่องจากจำเลยขอเลื่อนคดีมาหลายครั้งแล้ว ทั้งจำเลยเคยแถลงต่อศาลว่าจะสืบพยานจำเลยให้เสร็จภายในกำหนด หากไม่อาจสืบพยานได้ทันภายในกำหนดให้ถือว่าไม่ติดใจสืบพยานจำเลยอีกต่อไป อุทธรณ์ของจำเลยเช่นนี้เป็นอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจของศาลแรงงานในการพิจารณาว่าสมควรจะอนุญาตให้เลื่อนคดีหรือไม่ จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5764/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่อนุญาตแก้ไขคำให้การและการเลื่อนคดีในคดีแรงงาน ศาลฎีกาพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลแรงงาน
ศาลแรงงานสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยแก้ไขคำให้การ แม้มีผลเป็นการสั่งไม่รับคำคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 228(3) จำเลยย่อมอุทธรณ์คำสั่งได้ทันทีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 228 วรรคสอง ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 แต่จำเลยอุทธรณ์คำสั่งศาลแรงงานดังกล่าวในระหว่างพิจารณาของศาลแรงงานเพื่อให้ศาลฎีกาสั่งให้ศาลแรงงานมีคำสั่งรับคำร้องขอแก้ไขคำให้การดังกล่าวของจำเลยไว้พิจารณานั้น เมื่อปรากฏว่าหลังจากศาลแรงงานสั่งเพิกถอนคำสั่งเดิมที่สั่งรับอุทธรณ์ข้อนี้ของจำเลยไว้ และมีคำสั่งใหม่เป็นไม่รับอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวของจำเลย และจำเลยได้อุทธรณ์ประเด็นข้อนี้รวมมากับอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลแรงงาน ซึ่งศาลแรงงานได้สั่งรับอุทธรณ์ข้อนี้ไว้แล้วศาลฎีกาเห็นควรวินิจฉัยอุทธรณ์ข้อนี้ให้ การที่จำเลยยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การโดยอ้างว่าเพิ่งตรวจพบเอกสารและได้รับแจ้งจากการไฟฟ้านครหลวงหลังจากจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามแล้วจึงขอเพิ่มเติมคำให้การว่าโจทก์ที่ 1 และที่ 3 จงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหายและขณะที่โจทก์ทั้งสามเป็นลูกจ้างจำเลย โจทก์ที่ 1 และที่ 3มาทำงานสายเป็นประจำอันเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ฟ้องโจทก์ทั้งสามเคลือบคลุมและโจทก์ทั้งสามได้ร้องต่อเจ้าหน้าที่แรงงานเขตบางเขน จึงไม่มีอำนาจฟ้องนั้น เมื่อปรากฏว่าคดีนี้ข้อเท็จจริงเป็นยุติตามที่ศาลแรงงานรับฟังว่า อ. พยานจำเลยเป็นผู้แจ้งการเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามว่าเหตุที่จำเลยเลิกจ้างเนื่องจากจำเลยไม่มีงานให้โจทก์ทั้งสามทำ ดังนั้น ขณะจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามจำเลยมิได้ติดใจหรือถือว่าโจทก์ทั้งสามกระทำความผิดจำเลยย่อมไม่อาจยกเหตุซึ่งอ้างว่าเพิ่งทราบการกระทำความผิดของโจทก์ทั้งสามหลังจากเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามแล้วขึ้นเป็นข้อต่อสู้เพื่อให้จำเลยหลุดพ้นจากความรับผิดในการจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าได้ แม้ศาลฎีกาจะอนุญาตให้จำเลยแก้ไขคำให้การก็ไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงได้จึงไม่มีเหตุที่จะอนุญาตให้จำเลยแก้ไขคำให้การตามที่จำเลยอ้าง ศาลแรงงานไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีและงดสืบพยานจำเลยเนื่องจากจำเลยขอเลื่อนคดีมาหลายครั้งแล้ว ทั้งจำเลยเคยแถลงต่อศาลว่าจะสืบพยานจำเลยให้เสร็จภายในกำหนด หากไม่อาจสืบพยานได้ทันภายในกำหนดให้ถือว่าไม่ติดใจสืบพยานจำเลยอีกต่อไป อุทธรณ์ของจำเลยเช่นนี้เป็นอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจของศาลแรงงานในการพิจารณาว่าสมควรจะอนุญาตให้เลื่อนคดีหรือไม่ จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5721/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลเรื่องค่าขึ้นศาล ทำให้ศาลมีคำสั่งไม่รับฎีกา การเพิกถอนคำสั่งไม่รับฎีกาเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในวันเดียวกับที่โจทก์ยื่นฎีกาให้โจทก์นำค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาส่วนที่ขาดมาวางศาลภายใน15 วัน มิฉะนั้นถือว่าโจทก์ไม่ติดใจฎีกาประกอบกับ มีข้อความท้ายฎีกาของโจทก์ปรากฏชัดว่าโจทก์รอฟังคำสั่งอยู่ถ้าไม่รอให้ถือว่าทราบแล้วโดยทนายโจทก์ลงชื่อเป็นผู้ฎีกาโดยโจทก์มอบฉันทะให้เสมียนทนายมายื่นฎีกาโดยระบุในใบมอบฉันทะว่า นอกจากโจทก์มอบฉันทะให้เสมียนทนายมายื่นฎีกา ต่อศาลชั้นต้นแล้ว โจทก์ยังมอบฉันทะในเรื่องอื่น ๆที่เกี่ยวข้องจนเสร็จการโดยโจทก์ยอมรับผิดชอบในการที่ผู้รับมอบฉันทะได้กระทำไปทุกประการ ถือว่าโจทก์ทราบคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวในวันที่โจทก์ยื่นฎีกานั้นเอง โจทก์จะอ้างว่าโจทก์ไม่ทราบคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าว เนื่องจากทนายโจทก์อยู่กรุงเทพมหานคร และแบบพิมพ์ท้ายฎีกา ที่มีข้อความว่าข้าพเจ้ารอฟังคำสั่งอยู่ ถ้าไม่รอให้ถือว่า ทราบแล้วเป็นเพียงแบบฟอร์มที่ใช้ในศาลเท่านั้น โดยตัวโจทก์มิได้ลงชื่อรับทราบหาได้ไม่ การที่โจทก์มิได้นำเงินค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ในส่วนที่ขาดมาชำระต่อศาลชั้นต้น ในกำหนดเวลาที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจนกระทั่งล่วงเลยเวลา มาเป็นเวลานานถึง 1 เดือน ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่ง ไม่รับฎีกาของโจทก์ จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 ประกอบด้วยมาตรา 246 และ 247 แล้ว เมื่อมิใช่เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับฎีกาของโจทก์โดยผิดหลงหรือเป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบตามมาตรา 27 วรรคหนึ่ง จึงไม่มีเหตุที่ศาลจะสั่งเพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นที่ส่งไปรับฎีกานั้นได้ เมื่อศาลชั้นต้นตรวจฎีกาของโจทก์และมีคำสั่งไม่รับฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 232ประกอบมาตรา 247 แล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิเพียงอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวไปยังศาลฎีกาตามมาตรา 252 เท่านั้น และเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกาของโจทก์แล้ว คดีย่อมไม่อยู่ในอำนาจของศาลชั้นต้นที่จะสั่งฎีกาอีกต่อไป ดังนี้แม้โจทก์จะนำเงินค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาส่วนที่ยังขาดมาวางศาลโดยอ้างในคำร้องว่าเพิ่งทราบคำสั่งศาลที่ไม่รับฎีกา ก็เป็นการนำเงินค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาส่วนที่ขาดมาวาง ศาลภายหลังจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกาของโจทก์แล้ว 5 วัน และหลังจากครบกำหนดที่ศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์ นำเงินมาวางศาลเป็นเวลานานถึง 21 วัน ก็โดยปราศจาก เหตุผลอันสมควร การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่ง ที่ไม่รับฎีกาและมีคำสั่งใหม่เป็นรับฎีกาของโจทก์ จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายวิธีพิจารณาความ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5721/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่นำค่าขึ้นศาลมาวางภายในกำหนดทำให้ศาลไม่รับฎีกา และคำสั่งเพิกถอนคำสั่งไม่รับฎีกาเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในวันเดียวกับที่โจทก์ยื่นฎีกาให้โจทก์นำค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาส่วนที่ขาดมาวางศาลภายใน 15 วัน มิฉะนั้นถือว่าโจทก์ไม่ติดใจฎีกาประกอบกับมีข้อความท้ายฎีกาของโจทก์ปรากฎชัดว่าโจทก์รอฟังคำสั่งอยู่ ถ้าไม่รอให้ถือว่าทราบแล้วโดยทนายโจทก์ลงชื่อเป็นผู้ฎีกา โดยโจทก์มอบฉันทะให้เสมียนทนายมายื่นฎีกาโดยระบุในใบมอบฉันทะว่า นอกจากโจทก์มอบฉันทะให้เสมียนทนายมายื่นฎีกาต่อศาลชั้นต้นแล้ว โจทก์ยังมอบฉันทะในเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องจนเสร็จการโดยโจทก์ยอมรับผิดชอบในการที่ผู้รับมอบฉันทะได้กระทำไปทุกประการ ถือว่าโจทก์ทราบคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวในวันที่โจทก์ยื่นฎีกานั้นเอง โจทก์จะอ้างว่าโจทก์ไม่ทราบคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าว เนื่องจากทนายโจทก์อยู่กรุงเทพมหานคร และแบบพิมพ์ท้ายฎีกาที่มีข้อความว่าข้าพเจ้ารอฟังคำสั่งอยู่ ถ้าไม่รอให้ถือว่าทราบแล้วเป็นเพียงแบบฟอร์มที่ใช้ในศาลเท่านั้น โดยตัวโจทก์มิได้ลงชื่อรับทราบหาได้ไม่การที่โจทก์มิได้นำเงินค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ในส่วนที่ขาดมาชำระต่อศาลชั้นต้นในกำหนดเวลาที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจนกระทั่งล่วงเลยเวลามาเป็นเวลานานถึง 1 เดือนศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งไม่รับฎีกาของโจทก์ จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 18ประกอบด้วยมาตรา 246 และ 247 แล้ว
เมื่อมิใช่เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับฎีกาของโจทก์โดยผิดหลงหรือเป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบตามมาตรา 27 วรรคหนึ่ง จึงไม่มีเหตุที่ศาลจะสั่งเพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นที่ส่งไปรับฎีกานั้นได้
เมื่อศาลชั้นต้นตรวจฎีกาของโจทก์และมีคำสั่งไม่รับฎีกาตามป.วิ.พ.มาตรา 232 ประกอบมาตรา 247 แล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิเพียงอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวไปยังศาลฎีกาตามมาตรา 252 เท่านั้น และเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกาของโจทก์แล้ว คดีย่อมไม่อยู่ในอำนาจของศาลชั้นต้นที่จะสั่งฎีกาอีกต่อไปดังนี้ แม้โจทก์จะนำเงินค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาส่วนที่ยังขาดมาวางศาลโดยอ้างในคำร้องว่าเพิ่งทราบคำสั่งศาลที่ไม่รับฎีกา ก็เป็นการนำเงินค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาส่วนที่ขาดมาวางศาลภายหลังจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกาของโจทก์แล้ว 5 วัน และหลังจากครบกำหนดที่ศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์นำเงินมาวางศาลเป็นเวลานานถึง 21 วัน ก็โดยปราศจากเหตุผลอันสมควร การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งที่ไม่รับฎีกาและมีคำสั่งใหม่เป็นรับฎีกาของโจทก์จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายวิธีพิจารณาความ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4924/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงลายมือชื่ออุทธรณ์ของกรรมการบริษัทที่ไม่ถูกต้องตามข้อบังคับบริษัท ทำให้การอุทธรณ์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด และตามข้อบังคับของบริษัทกำหนดให้กรรมการซึ่ง ลงลายมือชื่อผูกพันบริษัทได้คือ น. หรือป.ลงลายมือชื่อร่วมกับล. หรือช. รวมเป็นสองคนและประทับตราสำคัญของบริษัท แต่ตามอุทธรณ์ของจำเลย กรรมการที่ลงลายมือชื่อ ในช่องผู้อุทธรณ์คือ น.และป. และประทับสำคัญของบริษัท ซึ่งไม่ถูกต้องตามข้อบังคับของบริษัท จึงไม่มี อำนาจกระทำการผูกพันจำเลยได้ อุทธรณ์ของจำเลยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1105/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งไม่เกี่ยวเนื่องกับฟ้องเดิม + การแจ้งนัดฟังคำพิพากษาชอบ + การพิสูจน์ความเสียหายจากกล่องกระดาษไม่ชัดเจน
จำเลยฟ้องแย้ง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รับฟ้องแย้งของจำเลยและโจทก์ไม่คัดค้าน เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้ยกฟ้องแย้งของจำเลย จำเลยก็ไม่ได้อุทธรณ์โต้แย้งในเรื่องนี้ครั้นศาลอุทธรณ์พิพากษายืนโดยเห็นว่าการนำสืบของจำเลยเป็นการนำสืบข้อเท็จจริงนอกเหนือไปจากที่ฟ้องแย้ง จำเลยจึงได้ยื่นฎีกาและยกปัญหาว่าฟ้องแย้งของจำเลยไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมขึ้นเพื่อให้ศาลฎีกาวินิจฉัยและพิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นเป็นให้สั่งไม่รับฟ้องแย้งของจำเลย ไม่ว่าจะโดยเจตนาเพื่อที่จำเลยจะได้มีโอกาสดำเนินคดีแก่โจทก์ในเรื่องนี้ใหม่หรือไม่ก็ตาม การใช้สิทธิฎีกาของจำเลยส่อไปในทางไม่สุจริตในอันที่จะแสวงหาความยุติธรรมต่อศาลในทางใดทางหนึ่งให้เสร็จสิ้นกันไปในคราวเดียวกัน กรณีไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะต้องวินิจฉัยปัญหาว่าฟ้องแย้งของจำเลยเกี่ยวข้องกับฟ้องเดิมหรือไม่ จำเลยทราบวันนัดสืบพยานโจทก์ที่เหลือต่อและวันนัดดังกล่าวเป็นวันที่ศาลนัดฟังคำพิพากษาแล้ว แต่จำเลยไม่มาศาลศาลจึงประกาศแจ้งวันนัดให้จำเลยทราบที่หน้าศาล และเมื่อศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาให้คู่ความฟังแล้ว จำเลยได้ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้นรวม 4 ครั้งซึ่งทุกครั้งศาลชั้นต้นก็ได้อนุญาตให้ขยายระยะเวลาตามที่จำเลยขอทุกครั้ง และต่อมาจำเลยก็ยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดที่ศาลชั้นต้นขยายระยะเวลาให้ แสดงว่าจำเลยได้ทราบคำพิพากษาของศาลชั้นต้นแล้ว อีกทั้งในชั้นยื่นอุทธรณ์จำเลยมิได้โต้แย้งในเรื่องการแจ้งวันนัดฟังคำพิพากษาไว้ในฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยจำเลยเพิ่งยกปัญหานี้ขึ้นเป็นข้อโต้แย้งในชั้นฎีกา กรณีจึงไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะมีคำสั่งย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นมีหมายแจ้งนัดฟังคำพิพากษาให้จำเลยทราบใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1105/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้สิทธิฎีกาโดยไม่สุจริต และการไม่โต้แย้งประเด็นแจ้งนัดในชั้นอุทธรณ์ ศาลฎีกามิพักการไต่สวน
จำเลยฟ้องแย้ง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รับฟ้องแย้งของจำเลยและโจทก์ไม่คัดค้าน เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้ยกฟ้องแย้งของจำเลย จำเลยก็ไม่ได้อุทธรณ์โต้แย้งในเรื่องนี้ ครั้นศาลอุทธรณ์พิพากษายืนโดยเห็นว่าการนำสืบของจำเลยเป็นการนำสืบข้อเท็จจริงนอกเหนือไปจากที่ฟ้องแย้ง จำเลยจึงได้ยื่นฎีกาและยกปัญหาว่าฟ้องแย้งของจำเลยไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมขึ้นเพื่อให้ศาลฎีกาวินิจฉัยและพิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นเป็นให้สั่งไม่รับฟ้องแย้งของจำเลย ไม่ว่าจะโดยเจตนาเพื่อที่จำเลยจะได้มีโอกาสดำเนินคดีแก่โจทก์ในเรื่องนี้ใหม่หรือไม่ก็ตาม การใช้สิทธิฎีกาของจำเลยส่อไปในทางไม่สุจริตในอันที่จะแสวงหาความยุติธรรมต่อศาลในทางใดทางหนึ่งให้เสร็จสิ้นกันไปในคราวเดียวกัน กรณีไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะต้องวินิจฉัยปัญหาว่าฟ้องแย้งของจำเลยเกี่ยวข้องกับฟ้องเดิมหรือไม่
จำเลยทราบวันนัดสืบพยานโจทก์ที่เหลือต่อและวันนัดดังกล่าวเป็นวันที่ศาลนัดฟังคำพิพากษาแล้ว แต่จำเลยไม่มาศาล ศาลจึงประกาศแจ้งวันนัดให้จำเลยทราบที่หน้าศาล และเมื่อศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาให้คู่ความฟังแล้ว จำเลยได้ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้นรวม 4 ครั้ง ซึ่งทุกครั้งศาลชั้นต้นก็ได้อนุญาตให้ขยายระยะเวลาตามที่จำเลยขอทุกครั้ง และต่อมาจำเลยก็ยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดที่ศาลชั้นต้นขยายระยะเวลาให้ แสดงว่าจำเลยได้ทราบคำพิพากษาของศาลชั้นต้นแล้ว อีกทั้งในชั้นยื่นอุทธรณ์จำเลยมิได้โต้แย้งในเรื่องการแจ้งวันนัดฟังคำพิพากษาไว้ในฟ้องอุทธรณ์ของจำเลย จำเลยเพิ่งยกปัญหานี้ขึ้นเป็นข้อโต้แย้งในชั้นฎีกา กรณีจึงไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะมีคำสั่งย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นมีหมายแจ้งนัดฟังคำพิพากษาให้จำเลยทราบใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 334/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าธรรมเนียมศาลในการขอเพิกถอนการบังคับคดีและการพิจารณาความสมเหตุสมผลของการขายทอดตลาด
การยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้มีคำสั่งยกเลิกกระบวนวิธีการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดีนั้น ผู้ร้องจะต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลท้าย ป.วิ.พ.คือ ค่าคำร้องตามตาราง 2 (3) จำนวน 20 บาท และค่าคำสั่งตามตาราง 2 (7) อีกจำนวน 50 บาท ส่วนชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาต้องเสียค่าขึ้นศาลตามตาราง 1 (2) (ก) จำนวน 200 บาท และเสียค่าคำสั่งตามตาราง2 (7) อีกจำนวน 100 บาท
คดีนี้จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้น ขอให้ศาลมีคำสั่งยกเลิกกระบวนวิธีการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296วรรคสอง โดยจำเลยเพียงแต่เสียค่าคำร้อง แต่มิได้เสียค่าคำสั่ง เป็นการเสียค่าธรรมเนียมศาลไม่ครบ แต่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นรับคำร้องทำการไต่สวนจนมีคำสั่งชี้ขาดแล้ว เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยจะจงใจหลีกเลี่ยงไม่ยอมเสีย ศาลฎีกาเห็นสมควรให้โอกาสแก่จำเลยเสียค่าธรรมเนียมศาลให้ครบ
การขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยที่พิพาทกันนี้ในราคา46,200,000 บาท ได้มีการประกาศขายมาแล้ว 10 ครั้ง ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 11โดยขายทอดตลาดครั้งแรกเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2532 ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 15พฤษภาคม 2538 ใช้เวลาขายรวม 5 ปีเศษ ผู้เข้าประมูลทุกครั้งมีแต่โจทก์และอ.ผู้เคยเป็นภริยาของจำเลยเข้าประมูลเท่านั้น ไม่มีผู้อื่นสนใจเข้าประมูล ราคาที่ประมูลอยู่ระหว่าง 45,000,000 บาท ถึง 46,000,000 บาท บางครั้งไม่มีผู้เข้าสู้ราคา จำเลยรับว่าจะหาผู้มาสู้ราคา แต่ไม่เคยจัดหามา การที่จะให้ไปประกาศขายทอดตลาดใหม่อีกก็ไม่แน่ว่าจะขายได้ราคาดีขึ้น จึงไม่มีเหตุจะเพิกถอนการขายทอดตลาดตามคำร้องของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7400/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแทนบุคคลอื่นของนิติบุคคล: ต้องอยู่ในขอบเขตวัตถุประสงค์ของนิติบุคคล
แม้จะไม่มีกฎหมายบัญญัติห้ามมิให้นิติบุคคลเป็นผู้รับมอบอำนาจฟ้องคดีแทนบุคคลธรรมดาได้และนิติบุคคลที่จะเป็นตัวแทนฟ้องความแทนผู้อื่นตามที่ได้รับมอบหมายไม่จำต้องมีวัตถุประสงค์เป็นตัวแทนฟ้องความอีกต่างหากก็ตามแต่ก็ต้องเป็นกรณีที่เรื่องเป็นความนั้นอยู่ในขอบเขตวัตถุประสงค์ของนิติบุคคลนั้นนิติบุคคลนั้นก็ย่อมเป็นตัวแทนฟ้องความตามที่ได้รับมอบอำนาจได้
ตามคำฟ้องของโจทก์ไม่ปรากฏเลยว่า การรถไฟแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นนิติบุคคล มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างไรกับโจทก์ แม้ในสำเนาหนังสือมอบอำนาจให้เป็นโจทก์ฟ้องคดีแทนจะมีข้อความระบุว่า โจทก์มีอาชีพเป็นพนักงานรถไฟก็ตามแต่เมื่อไม่ปรากฏข้อความว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยผู้รับมอบอำนาจซึ่งเป็นนิติบุคคลมีขอบเขตแห่งวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ต่าง ๆ เกี่ยวกับการที่โจทก์ถูกจำเลยกระทำละเมิด นอกจากนี้ ตาม พ.ร.บ.การรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494ไม่มีบทบัญญัติใดที่กำหนดให้การรถไฟแห่งประเทศไทยมีอำนาจฟ้องคดีแทนบุคคลใด ๆได้เป็นส่วนตัว ดังนี้ เมื่อตามคำฟ้องเป็นเรื่องที่โจทก์ถูกจำเลยกระทำละเมิดเป็นการเฉพาะตัวของโจทก์เอง มิได้เกี่ยวเนื่องกับกิจการที่อยู่ในขอบเขตวัตถุประสงค์ของการรถไฟแห่งประเทศไทย การรถไฟแห่งประเทศไทยจึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้แทนโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7400/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแทนผู้อื่นของนิติบุคคลต้องอยู่ในขอบเขตวัตถุประสงค์ของนิติบุคคลนั้น
แม้จะไม่มีกฎหมายบัญญัติห้ามมิให้นิติบุคคลเป็นผู้รับมอบอำนาจฟ้องคดีแทนบุคคลธรรมดาได้และนิติบุคคลที่จะเป็นตัวแทนฟ้องความแทนผู้อื่นตามที่ได้รับมอบหมายไม่จำต้องมีวัตถุประสงค์เป็นตัวแทนฟ้องความอีกต่างหากก็ตาม แต่ก็ต้องเป็นกรณีที่เรื่องเป็นความนั้นอยู่ในขอบเขตวัตถุประสงค์ของนิติบุคคลนั้นนิติบุคคลนั้นก็ย่อมเป็นตัวแทนฟ้องความตามที่ได้รับมอบอำนาจได้
ตามคำฟ้องของโจทก์ไม่ปรากฏเลยว่า การรถไฟแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นนิติบุคคลมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างไรกับโจทก์ แม้ในสำเนาหนังสือมอบอำนาจให้เป็นโจทก์ฟ้องคดีแทนจะมีข้อความระบุว่า โจทก์มีอาชีพเป็นพนักงานรถไฟก็ตามแต่เมื่อไม่ปรากฏข้อความว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยผู้รับมอบอำนาจซึ่งเป็นนิติบุคคลมีขอบเขตแห่งวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ต่าง ๆ เกี่ยวกับการที่โจทก์ถูกจำเลยกระทำละเมิด นอกจากนี้ตามพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 ไม่มีบทบัญญัติใดที่กำหนดให้การรถไฟแห่งประเทศไทยมีอำนาจฟ้องคดีแทนบุคคลใด ๆ ได้เป็นส่วนตัว ดังนี้ เมื่อตามคำฟ้องเป็นเรื่องที่โจทก์ถูกจำเลยกระทำละเมิดเป็นการเฉพาะตัวของโจทก์เอง มิได้เกี่ยวเนื่องกับกิจการที่อยู่ในขอบเขตวัตถุประสงค์ของการรถไฟแห่งประเทศไทย การรถไฟแห่งประเทศไทยจึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้แทนโจทก์
of 52