คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 18

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 511 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5640/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินจากการขายทอดตลาด ไม่ถือเป็นการขายนาตาม พ.ร.บ.เช่าที่ดินฯ ผู้ซื้อไม่จำต้องคืนที่ดินให้ผู้เช่า
พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา 57วรรคแรก ที่บัญญัติให้คู่กรณีหรือผู้มีส่วนได้เสียในการเช่านาที่ไม่พอใจคำวินิจฉัยของคชก.จังหวัด มีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาลได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบคำวินิจฉัยของคชก.จังหวัด แต่จะต้องไม่เกินหกสิบวันนับแต่วันที่ คชก.จังหวัด มีคำวินิจฉัยนั้นแม้การอุทธรณ์ต่อศาลจะไม่ระบุว่าให้ทำเป็นคำฟ้องหรือคำร้องขอ แต่การอุทธรณ์ก็บ่งบอกว่าผู้อุทธรณ์ไม่พอใจคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดอย่างใดอย่างหนึ่ง หรืออีกนัยหนึ่งคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดนั้นได้โต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของผู้อุทธรณ์อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดเป็นคดีมีข้อพิพาทระหว่างผู้อุทธรณ์และ คชก.จังหวัดแล้วผู้อุทธรณ์จึงจำต้องอุทธรณ์ต่อศาลโดยทำเป็นคำฟ้องอย่างคดีมีข้อพิพาท หาใช่เป็นกรณีที่ผู้อุทธรณ์จะต้องใช้สิทธิทางศาลโดยทำเป็นคำร้องขอฝ่ายเดียวอย่างคดีไม่มีข้อพิพาทไม่
ตามคำร้องของผู้ร้องได้บรรยายว่า คชก.จังหวัดโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของผู้ร้องอย่างไร ตลอดทั้งได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อกล่าวหาคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาทุกประการเสมือนเป็นคำฟ้องคดีมีข้อพิพาท และศาลชั้นต้นได้สั่งรับคำร้องและให้มีการนำส่งสำเนาคำร้องให้คชก.จังหวัด ส.ผู้คัดค้านที่ 2 และ ป.ผู้คัดค้านที่ 3 ผู้เช่าที่ดินพิพาททำนามีโอกาสคัดค้านโต้แย้งแล้ว และต่อมา คชก.จังหวัด ส.และ ป.ทำคำคัดค้านเสมือนเป็นคำให้การเข้ามาในคดี จนศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างคดีมีข้อพิพาททั้งได้สืบพยานทั้งสองฝ่ายเสร็จสิ้น ดังนี้ย่อมล่วงเลยเวลาที่จะสั่งยกคำร้องของผู้ร้องทั้งสามแล้ว การที่ศาลอุทธรณ์ไม่ยกคำร้องของผู้ร้องทั้งสามนั้นชอบแล้ว
บทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524มาตรา 53 วรรคแรก และวรรคท้าย เป็นเรื่องบังคับผู้ให้เช่านาที่ประสงค์จะขายนาจะขายฝากนา จะแลกเปลี่ยนนา หรือจะโอนนาชำระหนี้จำนองให้แก่บุคคลอื่นได้จะต้องแจ้งให้ผู้เช่านาทราบโดยทำเป็นหนังสือแสดงความจำนงจะขายนาหรือจะขายฝากนาหรือจะแลกเปลี่ยนนาหรือจะโอนนาชำระหนี้จำนอง พร้อมทั้งระบุราคาที่จะขาย ราคาที่จะขายฝากราคานาที่จะแลกเปลี่ยน หรือจำนวนหนี้จำนองที่ค้างชำระอยู่ตลอดทั้งวิธีการชำระเงินยื่นต่อประธาน คชก.ตำบล เพื่อแจ้งให้ผู้เช่านาทราบ เพื่อให้โอกาสผู้เช่านาได้ซื้อนา รับซื้อฝากนา รับแลกเปลี่ยนนาหรือรับที่จะชำระหนี้จำนองแทนผู้เช่านาแล้วรับโอนที่นามาเป็นของผู้เช่านาอันเป็นการคุ้มครองผลประโยชน์ของผู้เช่านาตามเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524
การที่ ส.เจ้าของที่ดินพิพาทผู้ให้เช่านาถูกธนาคารเจ้าหนี้ฟ้องร้องบังคับจำนองและนำยึดที่ดินพิพาทที่จำนองออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ หาใช่เป็นการที่ ส.ประสงค์ที่จะขายนา หรือจะโอนนาชำระหนี้จำนองตามจำนวนหนี้จำนองที่ค้างชำระอยู่ไม่ แต่เป็นเรื่องที่ ส.หรือที่ดินของ ส. ถูกบังคับหรือถูกยึดทรัพย์สินไปขายทอดตลาดแก่ประชาชนทั่วไปเพื่อนำเงินมาชำระหนี้จำนองแก่เจ้าหนี้ผู้รับจำนองตามอำนาจแห่งบทกฎหมายว่าด้วยเรื่องหนี้ การจำนองและการบังคับจำนองซึ่งบัญญัติวิธีการไว้เป็นพิเศษต่างหาก การซื้อขายนาจากการขายทอดตลาดของศาลในกรณีเช่นนี้ ถือไม่ได้ว่าเป็นการที่ผู้ให้เช่านาขายนาตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา 53 วรรคแรก
ผู้ร้องทั้งสามได้ร่วมกับ ฉ.ซื้อที่ดินพิพาทจากการขายทอดตลาดจริง การใส่ชื่อผู้ร้องทั้งสามในภายหลังเป็นเพราะเจ้าพนักงานที่ดินต้องปฏิบัติตามคำสั่งศาลที่สั่งตามรายงานการขายทอดตลาดที่ระบุว่า ฉ.เพียงคนเดียวเป็นผู้ซื้อได้ จึงไม่อาจจะใส่ชื่อผู้ร้องทั้งสามว่าเป็นผู้ซื้อที่ดินพิพาทร่วมกับ ฉ.ตั้งแต่ต้นได้อยู่ดี การที่ผู้ร้องทั้งสามและ ฉ.ไปดำเนินการให้เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนใส่ชื่อผู้ร้องทั้งสามเข้าถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับ ฉ.ตามความเป็นจริง จึงหาได้เป็นการซื้อขายที่ดินพิพาทกันใหม่ระหว่าง ฉ.กับผู้ร้องทั้งสามไม่ ดังนั้นผู้ร้องทั้งสามในฐานะผู้ร่วมซื้อที่ดินพิพาทของ ส.เจ้าของที่ดินผู้ให้เช่าจากการขายทอดตลาดของศาล จึงไม่จำต้องขายที่ดินพิพาทคืนให้แก่ผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้เช่าตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา 54

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4280/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปฏิบัติตามคำสั่งศาลระหว่างพิจารณาและการทิ้งฟ้อง
ศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีของโจทก์เนื่องจากโจทก์ไม่เสียค่าขึ้นศาลเพิ่มเติมตามที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา แม้โจทก์จะเห็นว่าเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบหรือไม่ถูกต้อง โจทก์ก็ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของศาลชั้นต้นนั้นไปก่อนโดยโจทก์จะต้องเสียค่าขึ้นศาลเพิ่มไปตามคำสั่งของศาลชั้นต้น เหตุที่ห้ามอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งในระหว่างพิจารณาเพราะจะทำให้คดีล่าช้าและเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาแล้วจึงอุทธรณ์ฎีกาได้ และหากข้อโต้แย้งฟังขึ้น ศาลก็จะสั่งคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินแก่โจทก์ฉะนั้น การที่โจทก์มีข้อโต้แย้งหรือเห็นว่าคำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นไม่ถูกต้องย่อมไม่ก่อให้เกิดสิทธิที่จะไม่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของศาลชั้นต้นแต่อย่างใด การที่โจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นเห็นสมควรกำหนด จึงเป็นการทิ้งฟ้องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 174 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3243/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแทน และสิทธิในการฟ้องบังคับชำระหนี้ของทายาท
หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีไม่เป็นเอกสารที่โจทก์ต้องแนบมาพร้อมกับคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18
ม. ยอมรับสภาพหนี้และตกลงจะชำระหนี้แก่โจทก์โดยกำหนดเวลาชำระหนี้ไว้แน่นอนแล้ว เมื่อ ม. ถึงแก่กรรมลง มรดกของ ม. ซึ่งรวมทั้งสิทธิและหน้าที่ในอันที่ต้องชำระหนี้ต่อโจทก์ย่อมตกทอดแก่จำเลยในฐานะทายาทที่จะต้องชำระหนี้ของ ม. ตามกำหนดเวลาดังกล่าวด้วย เมื่อไม่ชำระโจทก์ก็มีสิทธิฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวทวงถามก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 291/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอขยายเวลาอุทธรณ์หลังจำเลยมรณะ: ศาลต้องพิจารณาการเป็นคู่ความแทนก่อน
ในวันครบกำหนดอุทธรณ์ ว.บุตรของจำเลยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นว่าจำเลยมรณะแล้ว และ ว.ยื่นคำร้องขอให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์อีก 20 วัน นับแต่วันดังกล่าว เมื่อขณะที่ ว.ยื่นคำร้องขอเพื่อเข้าเป็นคู่ความแทนที่จำเลยในขณะที่คดียังไม่พ้นเวลาที่จำเลยจะยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้น ประกอบกับเป็นคดีที่ยังสามารถอุทธรณ์ต่อไปได้ คดีจึงไม่เป็นที่สุด และยังค้างพิจารณาอยู่ในศาลระหว่างอุทธรณ์ว.จึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่จำเลยผู้มรณะได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 42วรรคหนึ่ง กรณีเช่นว่านี้เมื่อศาลชั้นต้นรับคำร้องดังกล่าว ศาลชั้นต้นจะต้องไต่สวนคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทน และมีคำสั่งเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวตาม ป.วิ.พ.มาตรา 42และ 43 เสียก่อนมีคำสั่งเกี่ยวกับเรื่องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ของ ว. การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ไปก่อนมีคำสั่งอนุญาตให้ ว.เข้าเป็นคู่ความแทนที่จำเลยจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 291/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเข้าเป็นคู่ความแทนจำเลยที่มรณะหลังครบกำหนดอุทธรณ์ และการขยายเวลาอุทธรณ์ต้องทำหลังศาลมีคำสั่งอนุญาตให้เป็นคู่ความ
ในวันครบกำหนดอุทธรณ์ ว. บุตรของจำเลยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นว่าจำเลยมรณะแล้ว และ ว. ยื่นคำร้องขอให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์อีก 20 วัน นับแต่วันดังกล่าวเมื่อขณะที่ ว. ยื่นคำร้องขอเพื่อเข้าเป็นคู่ความแทนที่จำเลยในขณะที่คดียังไม่พ้นเวลาที่จำเลยจะยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้น ประกอบกับเป็นคดีที่ยังสามารถอุทธรณ์ต่อไปได้ คดีจึงไม่เป็นที่สุด และยังค้างพิจารณาอยู่ในระหว่างอุทธรณ์ ว. จึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความ แทนที่จำเลยผู้มรณะได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความแพ่ง มาตรา 42 วรรคหนึ่ง กรณีเช่นว่านี้เมื่อศาลชั้นต้น รับคำร้องดังกล่าว ศาลชั้นต้นจะต้องไต่สวนคำร้องขอเข้าเป็น คู่ความแทน และมีคำสั่งเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 42 และ 43 เสียก่อน มีคำสั่งเกี่ยวกับเรื่องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ของ ว. การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ไปก่อน มีคำสั่งอนุญาตให้ ว. เข้าเป็นคู่ความแทนที่จำเลยจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9148/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันภัยค้ำจุน: ฟ้องแย้งขาดสาระสำคัญหากไม่แสดงความรับผิดของผู้เอาประกันภัยต่อจำเลย
สัญญาประกันภัยค้ำจุนเป็นสัญญาประกันภัยซึ่งผู้รับประกันภัยตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทนสำหรับความวินาศภัยที่เกิดขึ้นแก่บุคคลภายนอก และวินาศภัยนั้น ผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบ คดีนี้แม้จำเลยจะฎีกาว่าสัญญาประกันภัยตามฟ้องของโจทก์เป็นสัญญาประกันภัยค้ำจุนก็ตาม แต่ตามฟ้องแย้งของจำเลยมิได้กล่าวอ้างหรือแสดงว่าผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบต่อจำเลยในวินาศภัยที่เกิดขึ้นแต่อย่างใดเลย ฟ้องแย้งของจำเลยจึงขาดสาระสำคัญอันเป็นมูลที่จะให้โจทก์ต้องรับผิดตามสัญญาประกันภัยดังกล่าว จำเลยจึงไม่อาจฟ้องแย้งเรียกค่าสินไหมทดแทนจากโจทก์ผู้รับประกันภัย ชอบที่ศาลจะสั่งไม่รับฟ้องแย้งของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9148/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งประกันภัยค้ำจุน: จำเลยต้องแสดงความรับผิดต่อบุคคลภายนอกจึงจะฟ้องได้
สัญญาประกันภัยค้ำจุนเป็นสัญญาประกันภัยซึ่งผู้รับประกันภัยตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทนสำหรับความวินาศภัยที่เกิดขึ้นแก่บุคคลภายนอก และวินาศภัยนั้นผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบ คดีนี้แม้จำเลยจะฎีกาว่าสัญญาประกันภัยตามฟ้องของโจทก์เป็นสัญญาประกันภัยค้ำจุนก็ตาม แต่ตามฟ้องแย้งของจำเลยมิได้กล่าวอ้างหรือแสดงว่าผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบต่อจำเลยในวินาศภัยที่เกิดขึ้นแต่อย่างใดเลย ฟ้องแย้งของจำเลยจึงขาดสาระสำคัญอันเป็นมูลที่จะให้โจทก์ต้องรับผิดตามสัญญาประกันภัยดังกล่าว จำเลยจึงไม่อาจฟ้องแย้งเรียกค่าสินไหมทดแทนจากโจทก์ผู้รับประกันภัย ชอบที่ศาลจะสั่งไม่รับฟ้องแย้งของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5966/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการขยายเวลาชำระค่าขึ้นศาลและการจำหน่ายคดีเมื่อไม่ชำระตามกำหนด
คำร้องขอขยายเวลาชำระค่าขึ้นศาลเป็นอำนาจของศาลชั้นต้นที่จะสั่งตามที่เห็นสมควรและคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวเป็นเพียงเรื่องอนุญาตให้ขยายเวลาการวางเงินหรือไม่เท่านั้นหาได้เป็นการสั่งเกี่ยวกับการรับหรือไม่รับคำฟ้องของโจทก์ไม่คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาซึ่งต้องห้ามอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5966/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจขยายเวลาค่าขึ้นศาลและการสั่งรับหรือไม่รับคำฟ้อง
คำร้องขอขยายเวลาชำระค่าขึ้นศาล เป็นอำนาจของศาลชั้นต้นที่จะสั่งตามที่เห็นสมควร และคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวเป็นเพียงเรื่องอนุญาตให้ขยายเวลาการวางเงินหรือไม่เท่านั้น หาได้เป็นการสั่งเกี่ยวกับการรับหรือไม่รับคำฟ้องของโจทก์ไม่ คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาซึ่งต้องห้ามอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4734/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายในคดีอาญา, สิทธิเรียกร้องทางแพ่ง, การไม่เป็นการดำเนินกระบวนการซ้ำ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43 บัญญัติให้อำนาจพนักงานอัยการที่จะเรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนผู้เสียหายเท่านั้น ค่าเสียหายอันเป็นค่าขาดประโยชน์จากสัญญาเช่าซื้อที่โจทก์ฟ้องเรียกร้องมาในคดีนี้ไม่ใช่ทรัพย์สินหรือราคาที่ผู้เสียหายสูญเสียไปเนื่องจากการกระทำผิด พนักงานอัยการจึงฟ้องเรียกค่าเสียหายดังกล่าวในคดีเดิมแทนผู้เสียหายไม่ได้ โจทก์ในคดีนี้ซึ่งคือผู้เสียหายในคดีก่อนมิได้เข้าเป็นโจทก์ร่วมในคดีอาญาเรื่องก่อนนั้นด้วย และการกระทำของจำเลยผู้เช่าซื้อซึ่งทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ผู้ให้เช่าซื้ออาจเป็นบ่อเกิดแห่งหนี้ที่จะใช้สิทธิเรียกร้องได้ทั้งสองทางคือในมูลละเมิดและในมูลหนี้แห่งสัญญาเช่าซื้อเมื่อในคดีอาญาเรื่องก่อนศาลมิได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นค่าเสียหายอันเป็นค่าขาดประโยชน์ของโจทก์ กรณีจึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144
การที่ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องแล้วเห็นว่าโจทก์ไม่สามารถนำประเด็นที่ศาลได้วินิจฉัยไว้แล้วในคดีอาญาเรื่องก่อนมาฟ้องร้องบังคับจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 50, 249 มีคำสั่งให้ยกฟ้องค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ ดังนี้เป็นการวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีตามประมวล-กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 131 (2) มีผลเป็นการพิพากษาแล้ว มิใช่เป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นไม่รับคำคู่ความตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 จึงไม่มีเหตุที่จะคืนค่าธรรมเนียมศาลในศาลชั้นต้นให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 151
of 52