พบผลลัพธ์ทั้งหมด 19 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3395/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซ้ำคดีอาญา และความผิดฐานปลอมแปลงเอกสาร การกระทำความผิดร่วมกัน
ความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 31 (1), 33 กฎหมายดังกล่าวให้ศาลมีอำนาจพิเศษในการสั่งลงโทษจำเลยได้โดยไม่ต้องมีผู้ใดร้องขอหรือเป็นโจทก์ฟ้อง ส่วนความผิดของจำเลยคดีนี้เป็นเรื่องปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอมโดยพนักงานอัยการเป็นโจทก์ จึงเป็นคนละเรื่องคนละประเด็นกับความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล ดังนั้น แม้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งลงโทษจำคุกจำเลยและคดีถึงที่สุดแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์คดีนี้ย่อมไม่ระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2047/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเยียวยาค่าปรับจากการดำเนินคดีรถยนต์ผิดกฎหมาย: การคืนเงินค่าปรับพร้อมดอกเบี้ยและรถยนต์
ตาม พ.ร.บ.การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ. 2526 มาตรา 8 วรรคสอง กำหนดให้ระบุการขอค่าทดแทนหรือขอรับสิทธิคืนไว้ในคำร้องนั้นด้วย แม้ตามคําร้องของจำเลยทั้งสองขอให้รื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ มีคําขอท้ายคําร้องเพียงว่าขอให้รื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่และพิพากษายกฟ้อง มิได้ระบุการขอค่าทดแทนหรือขอรับสิทธิคืนไว้ในคําร้องนี้ด้วย ต่อมาเมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 2 ให้รับคําร้องของจำเลยทั้งสอง ให้ศาลชั้นต้นยกคดีนี้ขึ้นพิจารณาแล้วพิพากษาใหม่ ในชั้นพิจารณาคดีที่รื้อฟื้นขึ้นพิจารณาใหม่ จำเลยทั้งสองจึงเพิ่งยื่นคําร้องขอเงินค่าปรับคืนจากศาลพร้อมดอกเบี้ยก็ตาม ก็พออนุโลมได้ว่า จำเลยทั้งสองประสงค์จะขอค่าทดแทนหรือขอรับสิทธิคืนดังกล่าวและระบุการขอค่าทดแทนหรือขอรับสิทธิคืนไว้ในคําร้องขอรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่แล้ว และตามมาตรา 14 (2) ตอนแรกที่บัญญัติว่า "ถ้าต้องรับโทษปรับและได้ชําระค่าปรับต่อศาลแล้ว ให้ได้รับเงินค่าปรับคืน..." เป็นการบังคับว่าต้องให้ได้รับเงินค่าปรับคืน จะใช้ดุลพินิจไม่ให้ได้รับเงินค่าปรับคืนไม่ได้ ส่วนตอนท้ายที่บัญญัติว่า "…โดยศาลจะคิดดอกเบี้ยให้ในอัตราร้อยละสิบห้าต่อปีของจำนวนเงินค่าปรับนับตั้งแต่วันชําระค่าปรับ จนถึงวันที่ศาลเห็นสมควรกำหนดก็ได้" เป็นการให้ศาลใช้ดุลพินิจว่าจะคิดดอกเบี้ยให้หรือไม่ก็ได้ ซึ่งศาลจะพิจารณาจากข้อเท็จจริงในสํานวนว่าสมควรจะคิดดอกเบี้ยให้หรือไม่ หาใช่ว่าศาลต้องคิดดอกเบี้ยให้โดยศาลคงใช้ดุลพินิจคิดดอกเบี้ยให้เพียงถึงวันใดเท่านั้น
คดีรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ตาม พ.ร.บ.การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ. 2526 มีเจตนารมณ์ให้บุคคลผู้ต้องรับโทษทางอาญาโดยคําพิพากษาถึงที่สุดมีสิทธิขอรื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่ในภายหลังหากปรากฏหลักฐานขึ้นใหม่ว่าบุคคลนั้นมิได้เป็นผู้กระทำความผิด และให้มีสิทธิที่จะได้รับค่าทดแทนและได้รับบรรดาสิทธิที่เสียไปเพราะผลแห่งคําพิพากษานั้นคืน หากปรากฏตามคําพิพากษาของศาลที่พิจารณาคดีที่รื้อฟื้นขึ้นพิจารณาใหม่ว่าบุคคลผู้นั้นมิได้กระทำความผิด ซึ่งการที่จะให้มีสิทธิที่จะได้รับค่าทดแทน และได้รับบรรดาสิทธิที่เสียไปเพราะผลแห่งคําพิพากษานั้นคืน ศาลที่พิจารณาคดีในชั้นรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่นี้ ไม่จำต้องถูกผูกพันว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือผู้หนึ่งผู้ใดที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกรณีที่ทำให้จำเลยทั้งสองถูกดำเนินคดีไม่ได้กระทำความผิดแล้วจะกำหนดให้จำเลยทั้งสองได้รับค่าทดแทนไม่ได้ เพราะเห็นได้ว่าส่วนหนึ่งแห่งเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัตินี้ก็เพื่อต้องการให้บุคคลที่มิได้เป็นผู้กระทำความผิดได้รับการแก้ไขเยียวยาให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ด้วย ดังนั้น ศาลที่พิจารณาคดีในชั้นรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่นี้ ซึ่งรวมทั้งศาลฎีกายังคงมีอำนาจกำหนดค่าทดแทนให้จำเลยทั้งสองได้ และเมื่อข้อเท็จจริงน่าเชื่อว่าจำเลยทั้งสองได้รับความเสียหายมาก สมควรที่จำเลยที่ 2 จะได้รับการเยียวยาด้วยการคิดดอกเบี้ยให้ในอัตราร้อยละสิบห้าต่อปีของจำนวนเงินค่าปรับนับตั้งแต่วันชําระค่าปรับจนถึงวันที่ได้รับเงินค่าปรับคืนด้วย ส่วนที่เกี่ยวกับรถยนต์ของกลาง เพื่อมิให้มีปัญหาที่อาจมีในชั้นการขอคืน ศาลฎีกาเห็นสมควรสั่งเสียด้วย
คดีรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ตาม พ.ร.บ.การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ. 2526 มีเจตนารมณ์ให้บุคคลผู้ต้องรับโทษทางอาญาโดยคําพิพากษาถึงที่สุดมีสิทธิขอรื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่ในภายหลังหากปรากฏหลักฐานขึ้นใหม่ว่าบุคคลนั้นมิได้เป็นผู้กระทำความผิด และให้มีสิทธิที่จะได้รับค่าทดแทนและได้รับบรรดาสิทธิที่เสียไปเพราะผลแห่งคําพิพากษานั้นคืน หากปรากฏตามคําพิพากษาของศาลที่พิจารณาคดีที่รื้อฟื้นขึ้นพิจารณาใหม่ว่าบุคคลผู้นั้นมิได้กระทำความผิด ซึ่งการที่จะให้มีสิทธิที่จะได้รับค่าทดแทน และได้รับบรรดาสิทธิที่เสียไปเพราะผลแห่งคําพิพากษานั้นคืน ศาลที่พิจารณาคดีในชั้นรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่นี้ ไม่จำต้องถูกผูกพันว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือผู้หนึ่งผู้ใดที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกรณีที่ทำให้จำเลยทั้งสองถูกดำเนินคดีไม่ได้กระทำความผิดแล้วจะกำหนดให้จำเลยทั้งสองได้รับค่าทดแทนไม่ได้ เพราะเห็นได้ว่าส่วนหนึ่งแห่งเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัตินี้ก็เพื่อต้องการให้บุคคลที่มิได้เป็นผู้กระทำความผิดได้รับการแก้ไขเยียวยาให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ด้วย ดังนั้น ศาลที่พิจารณาคดีในชั้นรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่นี้ ซึ่งรวมทั้งศาลฎีกายังคงมีอำนาจกำหนดค่าทดแทนให้จำเลยทั้งสองได้ และเมื่อข้อเท็จจริงน่าเชื่อว่าจำเลยทั้งสองได้รับความเสียหายมาก สมควรที่จำเลยที่ 2 จะได้รับการเยียวยาด้วยการคิดดอกเบี้ยให้ในอัตราร้อยละสิบห้าต่อปีของจำนวนเงินค่าปรับนับตั้งแต่วันชําระค่าปรับจนถึงวันที่ได้รับเงินค่าปรับคืนด้วย ส่วนที่เกี่ยวกับรถยนต์ของกลาง เพื่อมิให้มีปัญหาที่อาจมีในชั้นการขอคืน ศาลฎีกาเห็นสมควรสั่งเสียด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1081/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานค้าสัตว์ป่าคุ้มครองกับการมีสัตว์ป่าคุ้มครองไว้ในครอบครองเป็นความผิดต่างกรรมกัน
นอกจากจำเลยจำหน่ายซากเป็ดแดง 54 ซาก ให้แก่สายลับผู้ล่อซื้อแล้ว หลังจากนั้นเมื่อเจ้าพนักงานผู้จับกุมไปตรวจค้นที่บ้านของจำเลยยังพบนกอีโก้ง 2 ตัว ที่ยังมีชีวิตอยู่ในกรงขังภายในบริเวณบ้านของจำเลย การที่จำเลยมีนกอีโก้งซึ่งเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองไว้ในครอบครองของจำเลยโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยมีไว้เพื่อการค้า จึงเป็นการกระทำโดยมีจุดมุ่งหมายหรือเจตนาในการกระทำความผิดต่างกัน ประกอบกับความผิดทั้งสองฐานดังกล่าว พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 บัญญัติแยกไว้คนละมาตรา โดยความผิดฐานมีไว้ในครอบครองซึ่งสัตว์ป่าคุ้มครองและซากสัตว์ป่าคุ้มครองโดยไม่ได้รับอนุญาตอยู่ในมาตรา 17 และมาตรา 92 ส่วนความผิดฐานค้าซากสัตว์ป่าคุ้มครองอยู่ในมาตรา 29 และมาตรา 89 วรรคหนึ่ง แสดงให้เห็นถึงเจตนารมณ์ของกฎหมายที่ต้องการแยกเป็นคนละความผิดต่างกระทงกัน การกระทำความผิดของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน กรณีไม่ต้องด้วยบทนิยามของคำว่า "ค้า" ตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4479/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับเนื่องจากจำเลยที่ 1 หมดสิทธิฎีกา หลังศาลอุทธรณ์ยืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นในคดีฆ่าผู้อื่น
คดีนี้ ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 ตลอดชีวิต ตาม ป.อ. มาตรา 288 จำเลยที่ 1 ยื่นอุทธรณ์เกินกำหนด ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 และส่งสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิจารณาคดีในส่วนของจำเลยที่ 1 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 245 วรรคสอง ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายืน ข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่นตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นย่อมถึงที่สุดตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว จำเลยที่ 1 ไม่อาจฎีกาได้ ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาจำเลยที่ 1 จึงไม่ชอบ ศาลฎีกาวินิจฉัยฎีกาให้จำเลยที่ 1 ไม่ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 242 (1), 252 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3208/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายบ้านพร้อมที่ดิน, ค่าเสียหายจากการปรับปรุงซ่อมแซม, ค่านายหน้า, และดอกเบี้ยผิดนัด
เมื่อโจทก์ไม่สามารถผ่อนชำระค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง โดยยังคงค้างชำระ 1,819,355 บาท วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2558 โจทก์และจำเลยตกลงทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างฉบับใหม่ มีข้อตกลงว่า โจทก์จะชำระเงินตามจำนวนที่ค้างชำระดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยเป็นรายเดือน เป็นระยะเวลา 12 เดือน ให้แก่จำเลย หรือจนกว่าโจทก์หรือจำเลยจะขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่บุคคลอื่นได้ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างและบันทึกแนบท้ายสัญญา ส่อแสดงอย่างแจ้งชัดว่าแม้โจทก์จะเป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยก็ไม่ประสงค์จะใช้สิทธิเลิกสัญญาตาม ป.พ.พ. มาตรา 386 วรรคหนึ่ง ทั้งมีบันทึกแนบท้ายสัญญาดังกล่าวอีกว่าหากขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่บุคคลอื่นได้ จำเลยจะคืนเงินส่วนที่เหลือจากที่โจทก์ค้างชำระค่าที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง หลังจากหักค่าใช้จ่ายตามความเป็นจริงที่จำเลยเสียไปคืนให้แก่โจทก์ เมื่อโจทก์ไม่สามารถผ่อนชำระค่าที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างตามสัญญาได้ต่อไป จึงคืนกุญแจส่งมอบที่ดินและสิ่งปลูกสร้างแก่จำเลย ส่งผลให้สัญญาจะซื้อขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างระหว่างโจทก์และจำเลยไม่อาจสำเร็จวัตถุประสงค์ในการโอนกรรมสิทธิ์แก่โจทก์ได้ ถือเป็นคำเสนอของโจทก์เพื่อบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยบุคคลผู้อยู่เฉพาะหน้า เมื่อจำเลยสนองรับด้วยการแสดงเจตนาถูกต้องตรงกันโดยรับมอบกุญแจ รับมอบที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจากโจทก์โดยไม่อิดเอื้อน ทำการซ่อมแซมและนำไปขายต่อแก่บุคคลภายนอกเยี่ยงนี้ พฤติการณ์ของโจทก์จำเลยดังกล่าวเป็นการสมัครใจเลิกสัญญา ตาม ป.พ.พ. มาตรา 149 และมาตรา 356 หาจำต้องพิจารณาว่าฝ่ายใดผิดสัญญา ถึงกระนั้นผลแห่งการเลิกสัญญา แม้ ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคหนึ่ง จะบัญญัติให้คู่สัญญาแต่ละฝ่ายกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมก็ตาม แต่คู่สัญญาอาจตกลงกันเป็นอย่างอื่นโดยให้ไม่ต้องกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมได้ ฉะนั้น เมื่อโจทก์จำเลยตกลงกันตามบันทึกแนบท้ายสัญญาจะซื้อขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ว่าให้นำที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างออกขาย หากขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่บุคคลอื่นได้ จำเลยจะคืนเงินส่วนที่เหลือจากที่โจทก์ค้างชำระค่าที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง หลังจากหักค่าใช้จ่ายตามความเป็นจริงที่จำเลยเสียไปคืนให้แก่โจทก์ อันเป็นการตกลงกันไว้ล่วงหน้าว่าไม่ต้องกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมเมื่อมีการเลิกสัญญา ข้อตกลงดังกล่าวไม่ขัดต่อกฎหมายหรือฝ่าฝืนต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 ย่อมใช้บังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1879/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าไฟฟ้าปรับปรุง เหตุมิได้เกิดจากการไม่ชำระหนี้ แต่เกิดจากการดัดแปลงมิเตอร์ของผู้ใช้ไฟฟ้า
โจทก์ทำสัญญาตั้งจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนจดหน่วยพร้อมแจ้งค่าไฟฟ้าให้แก่โจทก์ แต่พนักงานของจำเลยที่ 1 ไม่ไปจดหน่วยมิเตอร์ไฟฟ้า โจทก์ตรวจสอบพบว่ามิเตอร์ไฟฟ้าของผู้ใช้ไฟฟ้าถูกดัดแปลงทำให้มิเตอร์ไฟฟ้าหมุนช้าลงและแสดงหน่วยการใช้ไฟฟ้าคลาดเคลื่อน ซึ่งเกิดการกระทำละเมิดของผู้ใช้ไฟฟ้า ค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดชดใช้ค่าไฟฟ้าปรับปรุงอันเกิดจากการที่มิเตอร์ไฟฟ้าของผู้ใช้ไฟฟ้าหมุนช้าลงและแสดงหน่วยการใช้ไฟฟ้าคลาดเคลื่อน จึงมิใช่ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นแต่การไม่ชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ตามสัญญาตั้งตัวแทนจดหน่วยพร้อมแจ้งค่าไฟฟ้า ทั้งไม่อาจถือได้ว่าเป็นความเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษ ซึ่งจำเลยที่ 1 ได้คาดเห็นหรือควรจะคาดเห็นพฤติกรรมเช่นนั้นล่วงหน้าก่อนแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 222 ย่อมไม่มีค่าเสียหายซึ่งจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันจะต้องชำระหนี้เป็นอย่างเดียวกับจำเลยที่ 1 ถือเป็นการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 2 ซึ่งมิได้ขออนุญาตฎีกาได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1) ประกอบมาตรา 252
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1523/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพราง: การกู้ยืมเงินเพื่อหลีกเลี่ยงข้อจำกัดการถือครองที่ดินของคนต่างด้าว และกรรมสิทธิ์รวม
แม้โจทก์จะประกาศด้วยวาจาในวันแต่งงานกันตามประเพณีว่าจะซื้อที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่จำเลยแต่ตามพฤติการณ์หลังจากโจทก์จำเลยสมรสกันตามประเพณีแล้ว จำเลยไปอยู่กินฉันสามีภรรยากับโจทก์ที่ประเทศสวีเดน และร่วมกันทำธุรกิจร้านอาหารโดยใช้ชื่อของจำเลยว่า บริษัท อ. ต่อมาได้จดทะเบียนสมรสกันที่ประเทศสวีเดนโดยมีข้อตกลงเป็นสัญญาก่อนสมรสว่า บริษัทดังกล่าวเป็นสินส่วนตัวของโจทก์ ประกอบกับโจทก์โอนเงิน 2,300,000 บาท จากประเทศสวีเดนเข้าบัญชีธนาคารของบริษัท บ. ที่ประเทศไทย เพื่อนำไปชำระค่าซื้อที่ดินและบ้านพิพาท แล้วบริษัท บ. ถอนเงินนำเงินไปจ่ายให้แก่ผู้ขายที่ดินและบ้านพิพาทโดยตรงไม่ผ่านจำเลย เมื่อจำต้องให้จำเลยเป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินแต่เพียงผู้เดียว โจทก์จึงให้จำเลยทำสัญญากู้ยืมเงินจากโจทก์ 2,400,000 บาท โดยโจทก์ยึดถือโฉนดที่ดินไว้ และจดทะเบียนให้โจทก์มีสิทธิเหนือพื้นดินไม่มีค่าตอบแทนตลอดชีวิต จึงไม่น่าเชื่อว่าโจทก์จะซื้อที่ดินและบ้านพิพาทเพื่อเป็นสินสอดแก่จำเลยหรือการให้โดยเสน่หา ที่ดินและบ้านพิพาทจึงมิใช่สินสอดหรือเป็นการให้โดยเสน่หาตาม ป.พ.พ. มาตรา 521 และมาตรา 1437 แต่การที่โจทก์นำเงินที่จำเลยมีส่วนในการทำมาหาได้ร่วมกันจากการประกอบธุรกิจร้านอาหารดังกล่าวระหว่างเป็นสามีภรรยากับโจทก์ไปซื้อที่ดินและบ้านพิพาทก่อนจดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมายแห่งประเทศสวีเดน จำเลยจึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินและบ้านพิพาทกึ่งหนึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1356 และมาตรา 1357
การที่โจทก์ยอมให้จำเลยเป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินและบ้านพิพาทแต่เพียงผู้เดียวเนื่องเพราะโจทก์เป็นบุคคลต่างด้าวไม่สามารถมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินได้ตาม ป.ที่ดิน จึงจำต้องหลีกเลี่ยงกฎหมายโดยใช้วิธีให้จำเลยทำสัญญากู้ยืมเงินจากโจทก์ กับจดทะเบียนให้โจทก์มีสิทธิเหนือพื้นดินไม่มีค่าตอบแทนตลอดชีวิต ทั้งโจทก์ยังยึดถือโฉนดที่ดินไว้ เพื่อเป็นการบังคับควบคุมมิให้จำเลยบ่ายเบี่ยงบิดพลิ้วจำหน่ายจ่ายโอนที่ดินและบ้านพิพาทแก่บุคคลอื่น นิติกรรมการกู้ยืมเงินจึงเป็นการแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้และโจทก์จำเลยไม่สมัครใจให้ผูกพันกันอันเป็นนิติกรรมอำพราง นิติกรรมอันแท้จริงคือ โจทก์แต่งตั้งจำเลยเป็นตัวแทนซื้อและถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินและบ้านพิพาทแทนโจทก์กึ่งหนึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 797 สัญญากู้ยืมเงินซึ่งเป็นนิติกรรมอำพรางย่อมตกเป็นโมฆะ ไม่อาจฟ้องร้องให้บังคับกันได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคหนึ่ง จึงต้องบังคับกันตามนิติกรรมที่แท้จริงตาม ป.พ.พ. ว่าด้วยเรื่องตัวแทน ซื้อขาย กรรมสิทธิ์รวม และ ป.ที่ดิน มาตรา 86 และมาตรา 94 เรื่องการได้มาซึ่งที่ดินของคนต่างด้าวและการจำหน่ายที่ดินที่คนต่างด้าวได้มาโดยมิได้รับอนุญาต ซึ่งโจทก์มิได้กล่าวในฟ้อง จำจะต้องไปว่ากล่าวเอาความแก่กันต่างหากจากคดีนี้
การที่โจทก์ยอมให้จำเลยเป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินและบ้านพิพาทแต่เพียงผู้เดียวเนื่องเพราะโจทก์เป็นบุคคลต่างด้าวไม่สามารถมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินได้ตาม ป.ที่ดิน จึงจำต้องหลีกเลี่ยงกฎหมายโดยใช้วิธีให้จำเลยทำสัญญากู้ยืมเงินจากโจทก์ กับจดทะเบียนให้โจทก์มีสิทธิเหนือพื้นดินไม่มีค่าตอบแทนตลอดชีวิต ทั้งโจทก์ยังยึดถือโฉนดที่ดินไว้ เพื่อเป็นการบังคับควบคุมมิให้จำเลยบ่ายเบี่ยงบิดพลิ้วจำหน่ายจ่ายโอนที่ดินและบ้านพิพาทแก่บุคคลอื่น นิติกรรมการกู้ยืมเงินจึงเป็นการแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้และโจทก์จำเลยไม่สมัครใจให้ผูกพันกันอันเป็นนิติกรรมอำพราง นิติกรรมอันแท้จริงคือ โจทก์แต่งตั้งจำเลยเป็นตัวแทนซื้อและถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินและบ้านพิพาทแทนโจทก์กึ่งหนึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 797 สัญญากู้ยืมเงินซึ่งเป็นนิติกรรมอำพรางย่อมตกเป็นโมฆะ ไม่อาจฟ้องร้องให้บังคับกันได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคหนึ่ง จึงต้องบังคับกันตามนิติกรรมที่แท้จริงตาม ป.พ.พ. ว่าด้วยเรื่องตัวแทน ซื้อขาย กรรมสิทธิ์รวม และ ป.ที่ดิน มาตรา 86 และมาตรา 94 เรื่องการได้มาซึ่งที่ดินของคนต่างด้าวและการจำหน่ายที่ดินที่คนต่างด้าวได้มาโดยมิได้รับอนุญาต ซึ่งโจทก์มิได้กล่าวในฟ้อง จำจะต้องไปว่ากล่าวเอาความแก่กันต่างหากจากคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 404/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กลุ่มสัจจะออมทรัพย์ผิดกฎหมาย: สมาชิกไม่ใช่ผู้เสียหาย, ไม่มีอำนาจฟ้องฐานยักยอก
กลุ่มสัจจะออมทรัพย์ ว. มีวัตถุประสงค์ให้สมาชิกออมเงินแล้วนำเงินฝากของสมาชิกไปให้สมาชิกกู้ยืม โดยคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 2 บาท ต่อเดือน แล้วนำดอกเบี้ยมาจ่ายเป็นสวัสดิการให้แก่สมาชิก ดอกเบี้ยดังกล่าวคิดเป็นร้อยละ 24 บาท ต่อปี เกินกว่าร้อยละ 15 บาท ต่อปี ต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 654 และ พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 มาตรา 3 ในขณะนั้น และ พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2560 ที่ใช้บังคับภายหลัง ดังนี้ วัตถุประสงค์ในการดำเนินการกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ ว. จึงต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย และขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 สมาชิกทุกรายที่เข้าร่วมฝากเงินและกู้ยืมรวมทั้งชำระดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าว หรือเมื่อผิดนัด ยินยอมให้ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ด้วยการนำต้นเงินและดอกเบี้ยค้างชำระที่ฝ่าฝืนกฎหมายรวมเข้ากันแล้วคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน ต่อไปซึ่งเกินกว่าระเบียบข้อบังคับกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ ว. (ฉบับปรับปรุง 2549) ข้อ 23 รวมถึงการส่งมอบเงินฝาก รับเงินกู้ยืม เงินกำไรหรือปันผล ดอกเบี้ยของสมาชิกในทุกขั้นตอนตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว เป็นการร่วมกันกระทำการอันต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ทั้งขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนซ้ำซ้อน โจทก์ร่วมและผู้เสียหายซึ่งเป็นสมาชิกจึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) ไม่มีสิทธิร้องทุกข์ในความผิดฐานร่วมกันยักยอกทรัพย์ดังกล่าว ซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัวอันยอมความกันได้ตาม ป.อ. มาตรา 356 พนักงานสอบสวนจึงไม่มีอำนาจสอบสวนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 121 วรรคสอง และพนักงานอัยการโจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และมาตรา 225 ซึ่งศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง