พบผลลัพธ์ทั้งหมด 511 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1661/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้ถือหุ้นฟ้องกรรมการ vs. กฎหมายล้มละลาย: การตัดสิทธิควบคุมกิจการในกระบวนการฟื้นฟูกิจการ
นอกจากผู้ทำแผนและผู้บริหารแผนจะมีอำนาจในการจัดการกิจการและทรัพย์สินของบริษัทลูกหนี้แล้ว ตามบทบัญญัติมาตรา 90/25 และมาตรา 90/59 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลายฯ ยังได้บัญญัติให้บรรดาสิทธิตามกฎหมายของผู้ถือหุ้นของบริษัทลูกหนี้ ยกเว้นเฉพาะสิทธิที่จะได้เงินปันผลตกแก่ผู้ทำแผน และในที่สุดตกแก่ผู้บริหารแผนตามลำดับด้วย ที่โจทก์อ้างว่า สิทธิของผู้ถือหุ้นที่จะขอตรวจดูเอกสารบันทึกรายงานการประชุม สิทธิที่จะได้รับสำเนางบดุลบัญชีของบริษัท สิทธิในการขอรับสำเนาทะเบียนผู้ถือหุ้น สิทธิในการเข้าประชุมในที่ประชุมใหญ่ของผู้ถือหุ้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1207, 1197, 1140 และ 1176 เป็นสิทธิที่กฎหมายได้กำหนดไว้เป็นเรื่องเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับตัวของผู้ถือหุ้นคนนั้น ๆ เท่านั้น เช่นเดียวกับสิทธิในการรับเงินปันผลตามมาตรา 1201 ซึ่งต่างกับสิทธิของผู้ถือหุ้นตามบทบัญญัติในมาตรา 1169 วรรคหนึ่ง ที่ให้ผู้ถือหุ้นมีอำนาจฟ้องกรรมการแทนบริษัทได้ นั้น ป.พ.พ. ไม่ได้มีบทบัญญัติระบุไว้เลยว่า สิทธิของผู้ถือหุ้นดังกล่าวมีข้อจำกัดที่จะต้องเป็นกรณีที่เกี่ยวข้องเฉพาะเรื่องในส่วนของผู้ถือหุ้นแต่ละคนเท่านั้น จึงเป็นสิทธิที่ผู้ถือหุ้นแต่ละคนจะเข้าควบคุมกำกับดูแลเพื่อรักษาผลประโยชน์ของบริษัทได้ในลักษณะเดียวกับสิทธิที่จะฟ้องกรรมการตามมาตรา 1169 วรรคหนึ่ง ต่างกันแต่เพียงว่าสิทธิอื่น ๆ ข้างต้นนั้นเป็นการดำเนินการกันอยู่ภายในบริษัท ส่วนสิทธิตาม ป.พ.พ. มาตรา 1169 วรรคหนึ่ง ให้สิทธิผู้ถือหุ้นใช้สิทธิควบคุมดูแลโดยผ่านทางศาลได้ ดังนั้นจึงมิใช่สิทธิเป็นการเฉพาะส่วนของตัวและต้องอยู่ในบังคับแห่ง พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/25 และ 90/59 เช่นเดียวกัน
พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/67 ได้บัญญัติกระบวนการควบคุมตรวจสอบการจัดการกิจการและทรัพย์สินของบริษัทลูกหนี้ไว้แล้ว ซึ่งถ้าหากมีการจัดการไม่เป็นไปตามแผนหรือโดยทุจริต หรือทำให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าหนี้หรือลูกหนี้ ก็มีเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานของรัฐ คณะกรรมการเจ้าหนี้หรือผู้บริหารของลูกหนี้เป็นผู้ตรวจสอบ สามารถรายงานหรือมีคำขอโดยทำเป็นคำร้องโดยตรงขอให้ศาลที่กำกับการจัดการอยู่อีกชั้นหนึ่งมีคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่เห็นสมควรได้ ซึ่งเป็นการตรวจสอบควบคุมและกำกับดูแลที่กว้างขวาง รวดเร็วและรัดกุมมากยิ่งกว่าที่ ป.พ.พ. บัญญัติถึงสิทธิการตรวจสอบครอบงำการปฏิบัติงานของกรรมการบริษัทเสียอีก นอกจากนี้ผู้ทำแผนและผู้บริหารแผนเข้ามาจัดการกิจการและทรัพย์สินของบริษัทลูกหนี้โดยความยินยอมของที่ประชุมเจ้าหนี้ และด้วยความเห็นชอบของศาล โดยให้ดำเนินการไปตามแผนฟื้นฟูกิจการของบริษัทลูกหนี้ อยู่ภายใต้การตรวจสอบของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ กรรมการเจ้าหนี้และผู้บริหารของลูกหนี้ภายใต้การกำกับดูแลของศาลตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/25, 90/59 และ 90/67 ซึ่งเป็นบทกฎหมายพิเศษ แต่กรรมการบริษัทแต่งตั้งได้เฉพาะที่ประชุมใหญ่แห่งผู้ถือหุ้นและต้องจัดการกิจการและทรัพย์สินตามข้อบังคับของบริษัทและอยู่ภายใต้การครอบงำของที่ประชุมใหญ่แห่งผู้ถือหุ้นตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1144 และมาตรา 1151 ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีที่มาและขอบข่ายของอำนาจหน้าที่แตกต่างกัน ดังนั้นผู้ทำแผนและผู้บริหารแผนจึงไม่อยู่ในฐานะเช่นเดียวกับกรรมการบริษัทและในระหว่างการฟื้นฟูกิจการบริษัทลูกหนี้ โจทก์ผู้ถือหุ้นของบริษัทลูกหนี้ได้ถูกตัดสิทธิในการควบคุมกำกับดูแลการจัดการกิจการและทรัพย์สินของบริษัทลูกหนี้โดยบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.ล้มละลายฯ ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษแล้ว และอีกทั้งผู้ทำแผนและผู้บริหารแผนไม่อยู่ในฐานะเช่นเดียวกับกรรมการของบริษัทลูกหนี้ โดยเฉพาะจำเลยที่ 3 เป็นผู้ยื่นคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ และกรรมการเจ้าหนี้ไม่ได้มีอำนาจหน้าที่จัดการกิจการและทรัพย์สิน และไม่ได้อยู่ในฐานะเช่นเดียวกับกรรมการบริษัทลูกหนี้ด้วย โจทก์จึงไม่อาจใช้สิทธิของผู้ถือหุ้นบริษัทลูกหนี้ยกคดีขึ้นฟ้องจำเลยทั้งสามเป็นคดีนี้โดยอาศัยสิทธิตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1169 วรรคหนึ่งได้
ที่ศาลล่างทั้งสองไม่คืนค่าธรรมเนียมศาลในชั้นศาลชั้นให้โจทก์ เนื่องจากศาลชั้นต้นได้พิจารณาคำฟ้องของโจทก์ก้าวล่วงเข้าไปวินิจฉัยในเนื้อหาที่โจทก์บรรยายไว้ในฟ้องอันเป็นประเด็นแห่งคดีก่อนพิพากษายกฟ้องแล้ว จึงเป็นกรณีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 131 (2) ประกอบมาตรา 172 วรรคสาม มิใช่คำสั่งไม่รับคำฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 ที่จะต้องคืนค่าธรรมเนียมศาลทั้งหมดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 151 วรรคหนึ่ง ไม่
พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/67 ได้บัญญัติกระบวนการควบคุมตรวจสอบการจัดการกิจการและทรัพย์สินของบริษัทลูกหนี้ไว้แล้ว ซึ่งถ้าหากมีการจัดการไม่เป็นไปตามแผนหรือโดยทุจริต หรือทำให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าหนี้หรือลูกหนี้ ก็มีเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานของรัฐ คณะกรรมการเจ้าหนี้หรือผู้บริหารของลูกหนี้เป็นผู้ตรวจสอบ สามารถรายงานหรือมีคำขอโดยทำเป็นคำร้องโดยตรงขอให้ศาลที่กำกับการจัดการอยู่อีกชั้นหนึ่งมีคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่เห็นสมควรได้ ซึ่งเป็นการตรวจสอบควบคุมและกำกับดูแลที่กว้างขวาง รวดเร็วและรัดกุมมากยิ่งกว่าที่ ป.พ.พ. บัญญัติถึงสิทธิการตรวจสอบครอบงำการปฏิบัติงานของกรรมการบริษัทเสียอีก นอกจากนี้ผู้ทำแผนและผู้บริหารแผนเข้ามาจัดการกิจการและทรัพย์สินของบริษัทลูกหนี้โดยความยินยอมของที่ประชุมเจ้าหนี้ และด้วยความเห็นชอบของศาล โดยให้ดำเนินการไปตามแผนฟื้นฟูกิจการของบริษัทลูกหนี้ อยู่ภายใต้การตรวจสอบของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ กรรมการเจ้าหนี้และผู้บริหารของลูกหนี้ภายใต้การกำกับดูแลของศาลตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/25, 90/59 และ 90/67 ซึ่งเป็นบทกฎหมายพิเศษ แต่กรรมการบริษัทแต่งตั้งได้เฉพาะที่ประชุมใหญ่แห่งผู้ถือหุ้นและต้องจัดการกิจการและทรัพย์สินตามข้อบังคับของบริษัทและอยู่ภายใต้การครอบงำของที่ประชุมใหญ่แห่งผู้ถือหุ้นตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1144 และมาตรา 1151 ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีที่มาและขอบข่ายของอำนาจหน้าที่แตกต่างกัน ดังนั้นผู้ทำแผนและผู้บริหารแผนจึงไม่อยู่ในฐานะเช่นเดียวกับกรรมการบริษัทและในระหว่างการฟื้นฟูกิจการบริษัทลูกหนี้ โจทก์ผู้ถือหุ้นของบริษัทลูกหนี้ได้ถูกตัดสิทธิในการควบคุมกำกับดูแลการจัดการกิจการและทรัพย์สินของบริษัทลูกหนี้โดยบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.ล้มละลายฯ ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษแล้ว และอีกทั้งผู้ทำแผนและผู้บริหารแผนไม่อยู่ในฐานะเช่นเดียวกับกรรมการของบริษัทลูกหนี้ โดยเฉพาะจำเลยที่ 3 เป็นผู้ยื่นคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ และกรรมการเจ้าหนี้ไม่ได้มีอำนาจหน้าที่จัดการกิจการและทรัพย์สิน และไม่ได้อยู่ในฐานะเช่นเดียวกับกรรมการบริษัทลูกหนี้ด้วย โจทก์จึงไม่อาจใช้สิทธิของผู้ถือหุ้นบริษัทลูกหนี้ยกคดีขึ้นฟ้องจำเลยทั้งสามเป็นคดีนี้โดยอาศัยสิทธิตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1169 วรรคหนึ่งได้
ที่ศาลล่างทั้งสองไม่คืนค่าธรรมเนียมศาลในชั้นศาลชั้นให้โจทก์ เนื่องจากศาลชั้นต้นได้พิจารณาคำฟ้องของโจทก์ก้าวล่วงเข้าไปวินิจฉัยในเนื้อหาที่โจทก์บรรยายไว้ในฟ้องอันเป็นประเด็นแห่งคดีก่อนพิพากษายกฟ้องแล้ว จึงเป็นกรณีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 131 (2) ประกอบมาตรา 172 วรรคสาม มิใช่คำสั่งไม่รับคำฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 ที่จะต้องคืนค่าธรรมเนียมศาลทั้งหมดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 151 วรรคหนึ่ง ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1359/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งไม่อนุญาตยื่นคำให้การเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ไม่อุทธรณ์ได้ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์มิชอบ
จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การโดยยื่นคำร้องเมื่อพ้นกำหนดเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยทั้งสองยื่นคำให้การได้ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตเพราะเห็นว่าไม่มีเหตุอันสมควร จึงมีผลเท่ากับศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยทั้งสองยื่นคำให้การ ซึ่งเมื่อสั่งไม่อนุญาตแล้ว ก็ไม่จำต้องสั่งไม่รับคำให้การอีก คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวยังอยู่ในขั้นตอนของคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยทั้งสองยื่นคำให้การและเป็นคำสั่งเกี่ยวกับคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การ มิใช่คำสั่งไม่รับคำให้การของจำเลยทั้งสองอันจะถือเป็นคำสั่งไม่รับคำคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 กรณีจึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ก่อนที่ศาลชั้นต้นจะได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดี จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวในระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (1) ดังนั้น การที่จำเลยทั้งสองยื่นอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยทั้งสองยื่นคำให้การ ก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาชี้ขาดตัดสินคดีชอบที่ศาลชั้นต้นจะสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสอง แต่เมื่อศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยทั้งสองมา ศาลอุทธรณ์ก็ชอบที่จะพิพากษายกอุทธรณ์นั้นเสียโดยไม่จำต้องวินิจฉัยประเด็นแห่งอุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยทั้งสอง จึงมิชอบด้วยบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1359/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งไม่อนุญาตยื่นคำให้การไม่ใช่คำสั่งไม่รับคำคู่ความ อุทธรณ์ระหว่างพิจารณาต้องห้าม
จำเลยยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การโดยยื่นคำร้องเมื่อพ้นกำหนดเวลายื่นคำให้การ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตเพราะเห็นว่าไม่มีเหตุอันสมควร จึงมีผลเท่ากับศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การ ซึ่งเมื่อสั่งไม่อนุญาตแล้ว ก็ไม่จำต้องสั่งไม่รับคำให้การอีก คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวยังอยู่ในขั้นตอนของคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การและเป็นคำสั่งเกี่ยวกับคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การ มิใช่คำสั่งไม่รับคำให้การของจำเลยอันจะถือเป็นคำสั่งไม่รับคำคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 กรณีจึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวในระหว่างพิจารณาตามมาตรา 226 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 871/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟ้องคดีที่มีข้อบกพร่องด้านลายมือชื่อ และผลของการไม่ปฏิบัติตามคำสั่งแก้ไข
ย. ผู้ทำหน้าที่ทนายโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องระบุว่า ลายมือชื่อผู้รับมอบอำนาจเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 2 และลายมือชื่อผู้แต่งทนายความในใบแต่งทนายความไม่ใช่ลายมือชื่อผู้รับมอบอำนาจ และในวันนัดพร้อม ย. ก็แถลงยืนยันว่าลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจและใบแต่งทนายความไม่ใช่ลายมือชื่อของ อ. ผู้รับมอบอำนาจ กับมี ธ.พี่สาวผู้รับมอบอำนาจแถลงว่า ลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจและใบแต่งทนายความเป็นของ ธ. ไม่ใช่ของ อ. การที่ศาลชั้นต้นฟังว่าลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจและใบแต่งทนายความไม่ใช่ของ อ. โดยไม่เรียก อ. มาสอบถามจึงชอบแล้ว
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 วรรคสอง เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รับฟ้องไว้แล้ว ภายหลังเห็นว่าคำฟ้องของโจทก์ไม่มีลายมือชื่อโจทก์ ชอบที่ศาลชั้นต้นจะสั่งให้โจทก์แก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าวเสียก่อน หากโจทก์ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งจึงจะสั่งให้เพิกถอนคำสั่งที่ให้รับฟ้องและสั่งใหม่เป็นไม่รับฟ้อง เมื่อหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีและแต่งตั้งทนายความไม่ถูกต้องการแต่งตั้งทนายความก็ไม่ถูกต้องไปด้วย ทนายความซึ่งลงลายมือชื่อในคำฟ้องจึงไม่มีอำนาจทำการแทนในฐานะทนายความของโจทก์ เท่ากับคำฟ้องไม่มีลายมือชื่อโจทก์ ศาลชั้นต้นจึงต้องสั่งให้แก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าวเสียก่อน การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งรับคำฟ้องและมีคำสั่งไม่รับฟ้องจึงไม่ชอบ
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฟ้อง โจทก์มิได้อุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งดังกล่าวทั้งโจทก์ยังได้ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องไว้ก่อนแล้ว แสดงว่าโจทก์พอใจคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับฟ้องแล้ว จึงไม่มีเหตุสมควรที่ศาลฎีกาจะส่งสำนวนคืนศาลชั้นต้นเพื่อจัดการให้มีการลงลายมือชื่อโจทก์ให้ถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 วรรคสอง
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 วรรคสอง เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รับฟ้องไว้แล้ว ภายหลังเห็นว่าคำฟ้องของโจทก์ไม่มีลายมือชื่อโจทก์ ชอบที่ศาลชั้นต้นจะสั่งให้โจทก์แก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าวเสียก่อน หากโจทก์ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งจึงจะสั่งให้เพิกถอนคำสั่งที่ให้รับฟ้องและสั่งใหม่เป็นไม่รับฟ้อง เมื่อหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีและแต่งตั้งทนายความไม่ถูกต้องการแต่งตั้งทนายความก็ไม่ถูกต้องไปด้วย ทนายความซึ่งลงลายมือชื่อในคำฟ้องจึงไม่มีอำนาจทำการแทนในฐานะทนายความของโจทก์ เท่ากับคำฟ้องไม่มีลายมือชื่อโจทก์ ศาลชั้นต้นจึงต้องสั่งให้แก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าวเสียก่อน การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งรับคำฟ้องและมีคำสั่งไม่รับฟ้องจึงไม่ชอบ
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฟ้อง โจทก์มิได้อุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งดังกล่าวทั้งโจทก์ยังได้ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องไว้ก่อนแล้ว แสดงว่าโจทก์พอใจคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับฟ้องแล้ว จึงไม่มีเหตุสมควรที่ศาลฎีกาจะส่งสำนวนคืนศาลชั้นต้นเพื่อจัดการให้มีการลงลายมือชื่อโจทก์ให้ถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 871/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องไม่มีลายมือชื่อ & หนังสือมอบอำนาจไม่ถูกต้อง ศาลสั่งไม่รับฟ้อง ชอบด้วยกฎหมาย แต่โจทก์ไม่โต้แย้ง
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 วรรคสอง เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าคำฟ้องของโจทก์ไม่มีลายมือชื่อโจทก์ ชอบที่ศาลชั้นต้นจะสั่งให้โจทก์แก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าวเสียก่อน หากโจทก์ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งจึงจะสั่งให้เพิกถอนคำสั่งที่ให้รับฟ้องและสั่งใหม่เป็นไม่รับฟ้อง คดีนี้เมื่อหนังสือมอบอำนาจไม่ถูกต้อง การแต่งทนายความก็ไม่ถูกต้องไปด้วย ทนายความผู้นั้นจึงไม่มีอำนาจทำการแทนในฐานะทนายความของโจทก์ ซึ่งเท่ากับคำฟ้องไม่มีลายมือชื่อโจทก์ จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะสั่งให้แก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าวเสียก่อน การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งรับฟ้องและมีคำสั่งใหม่เป็นไม่รับฟ้องเสียทีเดียวเป็นการไม่ชอบ แต่อย่างไรก็ดีเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฟ้องแล้ว โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้น ทั้งโจทก์เองก็ไม่มีความประสงค์จะดำเนินคดีต่อไปโดยได้ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องไว้ก่อนแล้วแต่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาต แสดงว่าโจทก์พอใจในคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับฟ้องแล้ว คดีจึงไม่มีเหตุสมควรที่จะส่งสำนวนคืนศาลชั้นต้นเพื่อจัดการให้มีการลงลายมือชื่อโจทก์ให้ถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 208/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากไม่วางเงินค่าธรรมเนียม ศาลมีอำนาจเพิกถอนคำสั่งรับอุทธรณ์
จำเลยที่ 1 อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยที่ 1 โดยขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งอนุญาตให้พิจารณาใหม่ มีผลเท่ากับเป็นการอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นอยู่ในตัว จำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ได้ปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าว อุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งในชั้นตรวจคำฟ้องอุทธรณ์ศาลชั้นต้นชอบที่จะมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ได้ทันที โดยไม่ต้องกำหนดเวลาให้จำเลยที่ 1 วางเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวเสียก่อนเพราะกรณีมิใช่เรื่องของการมิได้ชำระหรือวางค่าธรรมเนียมศาลโดยไม่ถูกต้องครบถ้วนตามมาตรา 18
ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 โดยมิได้สั่งให้จำเลยที่ 1 วางเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าว ถือได้ว่าศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาโดยผิดหลงและเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคหนึ่ง เมื่อศาลชั้นต้นยังมิได้ส่งอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณา ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบโดยมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งรับอุทธรณ์และมีคำสั่งใหม่เป็นไม่รับอุทธรณ์ได้ทันที การที่ศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์หลังจากที่มีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งรับอุทธรณ์แต่มีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 นำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษามาวางศาลภายใน 15 วัน นับแต่วันทราบคำสั่งเท่ากับศาลชั้นต้นเปิดโอกาสให้แก่จำเลยที่ 1 ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายก่อนที่จะพิจารณาสั่งอุทธรณ์ว่าจะให้ส่งหรือปฏิเสธไม่ส่งอุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์อันเป็นกระบวนพิจารณาในชั้นตรวจคำฟ้องอุทธรณ์ตามมาตรา 232 ซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ของศาลชั้นต้นโดยเฉพาะ คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย
ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 โดยมิได้สั่งให้จำเลยที่ 1 วางเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าว ถือได้ว่าศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาโดยผิดหลงและเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคหนึ่ง เมื่อศาลชั้นต้นยังมิได้ส่งอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณา ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบโดยมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งรับอุทธรณ์และมีคำสั่งใหม่เป็นไม่รับอุทธรณ์ได้ทันที การที่ศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์หลังจากที่มีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งรับอุทธรณ์แต่มีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 นำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษามาวางศาลภายใน 15 วัน นับแต่วันทราบคำสั่งเท่ากับศาลชั้นต้นเปิดโอกาสให้แก่จำเลยที่ 1 ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายก่อนที่จะพิจารณาสั่งอุทธรณ์ว่าจะให้ส่งหรือปฏิเสธไม่ส่งอุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์อันเป็นกระบวนพิจารณาในชั้นตรวจคำฟ้องอุทธรณ์ตามมาตรา 232 ซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ของศาลชั้นต้นโดยเฉพาะ คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8388/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องที่ไม่ชัดเจนและฟุ่มเฟือย ทำให้ศาลไม่รับฟ้องคดีทรัพย์สินทางปัญญา
คำฟ้องโจทก์มีเนื้อหาเกินควรกว่าที่จำเป็นและมีมากตอนที่อ่านแล้วไม่เข้าใจ อาทิ ฟ้องข้อ 1 ใช้ถ้อยคำว่า ข้อหาหรือฐานความผิดระหว่างพิจารณาเนื้อหาสาระผลงาน มาตรา 17, 24, 26 และ 27 พร้อมกฎกระทรวงฉบับที่ 21 และยื่นคำขอเป็นครั้งแรกละเมิดมาตรา 24, 25 และ 26 และข้อหาหรือฐานความผิดเบื้องหลังผลงานพ้นจากมาตรา 24, 25, 26 ไปแล้ว และได้เข้าสู่มาตรา 27 หรือในข้อ 2 มีถ้อยคำว่า ข้อหาหรือฐานความผิดละเมิดผิดสัตยาบรรณ รับรองผลไม่เสียหาย ซึ่งอ่านแล้วไม่เข้าใจว่าโจทก์ถูกจำเลยทั้งสองโต้แย้งสิทธิตามกฎหมายในเรื่องใด หรือการกระทำของจำเลยทั้งสองไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไร หรือฟ้องข้อ 3 มีข้อความว่า ข้อหาหรือฐานความผิด คำสั่งยกคำขอมิชอบด้วยกฎหมายโดยโจทก์กล่าวหาผู้อำนวยการสำนักสิทธิบัตรว่าเซ็นคำสั่งยกคำขอไม่ถูกต้องเพราะจะปฎิบัติราชการแทนอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญามิได้เนื่องจากไปขัดข้ามตำแหน่งทางปกครองระดับกรมของรองอธิบดีซึ่งปกครองระดับสำนักงานและเป็นตำแหน่งโปรดเกล้าฯ เป็นต้น จึงเป็นคำฟ้องที่ไม่แสดงให้พอเข้าใจได้ถึงสภาพและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตลอดจนคำขอบังคับอีกด้วย ทั้งคำฟ้องของโจทก์ยังมีความฟุ่มเฟือย อ่านไม่เข้าใจจึงเป็นคำฟ้องไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5864/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่อนุญาตให้ยื่นคำให้การและการไม่อุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณา ทำให้ฎีกาไม่รับฟัง
จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นคำให้การ ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การในวันที่ 15 มกราคม 2546 จำเลยไม่ได้ยื่นคำให้การ ต่อมาวันที่ 29 มกราคม 2546 จำเลยยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การและยื่นคำให้การและฟ้องแย้งเข้ามาด้วย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า การขาดนัดยื่นคำให้การของจำเลยเป็นไปโดยจงใจและไม่มีเหตุอันสมควร จึงไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การ และนัดสืบพยานโจทก์ไปฝ่ายเดียว เมื่อศาลชั้นต้นสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การแล้วก็ไม่จำต้องสั่งไม่รับคำให้การและฟ้องแย้งอีก คำสั่งของศาลชั้นต้นยังอยู่ในขั้นตอนของคำสั่งไม่อนุญาตให้ยื่นคำให้การ มิใช่คำสั่งไม่รับคำให้การและฟ้องแย้ง อันจะถือเป็นคำสั่งไม่รับคำคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา เมื่อจำเลยมิได้โต้แย้งคำสั่งดังกล่าว จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามมาตรา 226 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3564/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อสิทธิเรียกร้องหลังล้มละลายและข้อยกเว้นระยะเวลาบังคับคดี ผู้ซื้อสิทธิไม่มีอำนาจบังคับคดีหากเกิน 10 ปี
ผู้ร้องประมูลซื้อสิทธิเรียกร้องของโจทก์ตามคำพิพากษาตามยอมมาจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ผู้ร้องได้สิทธิมาเท่าที่โจทก์มีอยู่ ผู้ร้องจึงตกอยู่ในบังคับที่จะต้องบังคับคดีภายในกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่โจทก์อาจบังคับตามคำพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 ด้วย เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องสอดขอเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์ในชั้นบังคับคดีเกิน 10 ปี แล้ว ผู้ร้องย่อมไม่อาจใช้สิทธิบังคับคดีเอาแก่จำเลยได้ ประกอบกับการอนุญาตให้บุคคลใดเข้ามาเป็นคู่ความในคดีตามมาตรา 57 เป็นดุลพินิจของศาล กรณีจึงไม่มีเหตุที่จะอนุญาตให้ผู้ร้องเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์
ศาลชั้นต้นได้พิจารณาเนื้อหาคำร้องขอของผู้ร้องแล้วเห็นว่า ไม่มีเหตุสมควรที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์เพราะผู้ร้องยื่นคำร้องขอเมื่อเกิน 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษาแล้ว ชอบที่จะมีคำสั่งยกคำร้องขอเสียตามมาตรา 131 (1) มิใช่ไม่รับคำร้องขอตามมาตรา 18 การที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับคำร้องขอจึงไม่ถูกต้อง
ศาลชั้นต้นได้พิจารณาเนื้อหาคำร้องขอของผู้ร้องแล้วเห็นว่า ไม่มีเหตุสมควรที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์เพราะผู้ร้องยื่นคำร้องขอเมื่อเกิน 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษาแล้ว ชอบที่จะมีคำสั่งยกคำร้องขอเสียตามมาตรา 131 (1) มิใช่ไม่รับคำร้องขอตามมาตรา 18 การที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับคำร้องขอจึงไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3564/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีเกินอายุความ ผู้ซื้อสิทธิเรียกร้องจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่อาจใช้สิทธิบังคับคดีได้
ศาลพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความ โดยจำเลยทั้งสองยอมผ่อนชำระเงินเป็นรายเดือนแก่โจทก์ เริ่มวันที่ 5 มิถุนายน 2536 แต่จำเลยทั้งสองไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา โจทก์ชอบที่จะบังคับคดีเพื่อชำระหนี้จากจำเลยทั้งสองนับแต่วันที่ 6 มิถุนายน 2536 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์อาจบังคับตามคำพิพากษาได้ ต่อมาศาลพิพากษาให้โจทก์ล้มละลาย ผู้ร้องได้ทำสัญญาซื้อขายสิทธิเรียกร้องของโจทก์กับเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ซึ่งรวมถึงสิทธิเรียกร้องตามคำพิพากษาของจำเลยทั้งสองคดีนี้ ผู้ร้องจึงได้สิทธิมาเท่าที่โจทก์มีอยู่ เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องสอดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) ขอเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์ในชั้นบังคับคดีในวันที่ 14 กันยายน 2547 เกินกำหนด 10 ปี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 ผู้ร้องย่อมไม่อาจใช้สิทธิบังคับคดีเอาแก่จำเลยทั้งสองได้ ทั้งการยื่นคำร้องขอตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 เป็นดุลพินิจของศาลที่พิจารณาตามความจำเป็นและความสะดวกในการพิจารณาคดี คดีจึงไม่มีเหตุที่จะอนุญาตให้ผู้ร้องเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์
คำร้องขอของผู้ร้องไม่มีเหตุที่จะไม่รับคำร้องขอตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 แต่ตามเนื้อหาของคำร้องขอไม่มีเหตุสมควรที่ศาลจะมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์ เพราะผู้ร้องยื่นคำร้องขอเมื่อเกิน 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษา ชอบที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งยกคำร้องขอเสียตาม ป.วิ.พ. มาตรา 131 (1) มิใช่เพียงมีคำสั่งไม่รับคำร้องขอเท่านั้น
คำร้องขอของผู้ร้องไม่มีเหตุที่จะไม่รับคำร้องขอตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 แต่ตามเนื้อหาของคำร้องขอไม่มีเหตุสมควรที่ศาลจะมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์ เพราะผู้ร้องยื่นคำร้องขอเมื่อเกิน 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษา ชอบที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งยกคำร้องขอเสียตาม ป.วิ.พ. มาตรา 131 (1) มิใช่เพียงมีคำสั่งไม่รับคำร้องขอเท่านั้น