คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 18

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 511 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3267/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องจำกัดเฉพาะการโต้แย้งสิทธิโดยตรง การแจ้งเท็จเจ้าพนักงานที่ดินไม่ทำให้สิทธิผู้เสียหายเปลี่ยนแปลง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ที่ดินของจำเลยด้านทิศตะวันตกติดที่ดินของโจทก์ แต่จำเลยได้ขอออกโฉนดที่ดินโดยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงานที่ดินว่าที่ดินของจำเลยด้านทิศตะวันตกติดทางสาธารณประโยชน์ เป็นเหตุให้เจ้าพนักงานที่ดินออกโฉนดที่ดินให้แก่จำเลยและระบุว่าทางด้านทิศตะวันตกติดทางสาธารณประโยชน์ทำให้โจทก์เสียหายไม่สามารถขอออกโฉนดที่ดินได้ แต่โจทก์มิได้บรรยายให้ปรากฏว่าเพราะเหตุใดการกระทำของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นเหตุให้โจทก์ไม่สามารถขอออกโฉนดที่ดินได้ อีกทั้งการกระทำของจำเลยดังกล่าวก็เป็นเรื่องการขอออกโฉนดที่ดินในส่วนที่ดินของจำเลยโดยเฉพาะ แม้การแจ้งข้อความของจำเลยต่อเจ้าพนักงานที่ดินจะเป็นการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับอาณาเขตที่ดินแต่ก็ไม่มีผลโดยตรงต่อเนื้อที่ดินของโจทก์ กล่าวคือ มิได้ขอออกโฉนดที่ดินรุกล้ำทับที่ดินของโจทก์หรือกระทำการอันมีลักษณะเป็นการรบกวนการครอบครองหรือแย่งสิทธิครอบครองที่ดินของโจทก์ สิทธิครอบครองที่ดินของโจทก์มีอยู่อย่างไรก็ยังคงมีอยู่เช่นเดิมไม่เปลี่ยนแปลง และเป็นเรื่องที่โจทก์จะต้องไปพิสูจน์สิทธิครอบครองต่อเจ้าพนักงานที่ดินในการขอออกโฉนดที่ดินของโจทก์ หากโจทก์ไม่สามารถขอออกโฉนดที่ดินได้ก็เป็นเรื่องที่จะต้องไปว่ากล่าวกับเจ้าพนักงานที่ดินไม่เกี่ยวกับจำเลย การกระทำของจำเลยตามที่โจทก์บรรยายมาในคำฟ้องถือไม่ได้ว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องของโจทก์ เพราะเห็นว่าการที่โจทก์จะออกโฉนดที่ดินได้หรือไม่ เป็นเรื่องที่ต้องดำเนินการทางเจ้าพนักงานที่ดินคืนค่าขึ้นศาลทั้งหมดให้โจทก์นั้น เป็นคำสั่งที่ไม่ถูกต้อง เพราะคำสั่งของศาลดังกล่าวเท่ากับเป็นการวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย มีผลเป็นการวินิจฉัยเนื้อหาแห่งคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 131 (2) กรณีมิใช่เรื่องสั่งรับหรือไม่รับคำคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 จึงไม่มีเหตุที่จะคืนค่าธรรมเนียมศาลแก่โจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 151 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2477/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาคำสั่งศาลอุทธรณ์ยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ และการพิจารณาค่าขึ้นศาลที่ถูกต้อง
ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีคำสั่งยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยโดยเห็นว่าจำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งโดยไม่ได้นำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลชั้นต้น เป็นการไม่ปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 จำเลยจึงชอบที่จะฎีกาโต้แย้งคัดค้านคำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 3 ที่ยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยเท่านั้น ส่วนปัญหาที่ว่าคำพิพากษาตามยอมของศาลชั้นต้นชอบหรือไม่ ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ยังมิได้วินิจฉัย จำเลยไม่อาจฎีกาโต้แย้งคัดค้านได้ แม้จำเลยฎีกาในปัญหานี้มาก็ถือว่าเป็นฎีกาที่เกินเลยมา ศาลฎีกาไม่อาจวินิจฉัยให้ได้
ฎีกาจำเลยที่ว่าคำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 3 ที่ยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยเนื่องจากไม่ปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 ชอบหรือไม่ เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามบัญชีท้าย ป.วิ.พ. ตาราง 1 ข้อ 2 (ก) ดังนั้นแม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งให้จำเลยเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาอย่างคดีมีทุนทรัพย์ แต่จำเลยไม่เสียภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด ที่ศาลชั้นต้นถือว่าจำเลยทิ้งฟ้องฎีกาและส่งสำนวนมาให้ศาลฎีกาพิจารณาสั่งจึงไม่ถูกต้อง
การตรวจสั่งรับหรือไม่รับฎีกาเป็นอำนาจหน้าที่ของศาลชั้นต้นสั่งแทนศาลฎีกา แต่เมื่อคดีขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาโดยที่ศาลชั้นต้นยังไม่มีคำสั่งรับฎีกาของจำเลย ศาลฎีกาเห็นสมควรมีคำสั่งรับและวินิจฉัยฎีกาของจำเลยไปเสียทีเดียวโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งใหม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2477/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับเนื่องจากจำเลยไม่ปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 และศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยแทนศาลชั้นต้น
ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีคำสั่งยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยโดยเห็นว่าจำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งโดยไม่ได้นำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลชั้นต้น เป็นการไม่ปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 จำเลยจึงชอบที่จะฎีกาโต้แย้งคัดค้านคำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 3 ที่ยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยเท่านั้น ส่วนปัญหาที่ว่าคำพิพากษาตามยอมของศาลชั้นต้นชอบหรือไม่ ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ยังมิได้วินิจฉัย จำเลยไม่อาจฎีกาโต้แย้งคัดค้านได้ แม้จำเลยฎีกาในปัญหานี้มาก็ถือว่าเป็นฎีกาที่เกินเลยมา ศาลฎีกาไม่อาจวินิจฉัยให้ได้
ฎีกาจำเลยที่ว่าคำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 3 ที่ยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยเนื่องจากไม่ปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 ชอบหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมาย ซึ่งถือเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามบัญชีท้าย ป.วิ.พ. ตาราง 1 ข้อ 2 (ก) แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งให้จำเลยเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาอย่างคดีมีทุนทรัพย์ แต่จำเลยไม่เสียภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด อันเป็นการทิ้งฟ้องฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2), 247
การตรวจสั่งรับหรือไม่รับฎีกาเป็นอำนาจหน้าที่ของศาลชั้นต้นสั่งแทนศาลฎีกา แต่เมื่อคดีขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาโดยที่ศาลชั้นต้นยังไม่มีคำสั่งรับฎีกาของจำเลย ศาลฎีกาเห็นสมควรมีคำสั่งรับและวินิจฉัยฎีกาของจำเลยไปเสียทีเดียวโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งใหม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 918/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์คำสั่งศาลที่อาจกระทบคำพิพากษา ต้องวางค่าธรรมเนียมตามคำพิพากษานั้นด้วย
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลย การที่จำเลยอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้น โดยขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งอนุญาตให้พิจารณาใหม่ซึ่งจะทำให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่บังคับให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์เป็นอันเพิกถอนไปได้ ผลเท่ากับเป็นการอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นอยู่ในตัว จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 เมื่อจำเลยมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว อุทธรณ์ของจำเลยจึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งในชั้นตรวจคำฟ้องอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นชอบที่จะมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ได้ทันที กรณีมิใช่เรื่องการมิได้ชำระหรือว่างเงินค่าธรรมเนียมศาลโดยไม่ถูกต้องครบถ้วนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 ที่ศาลจะต้องสั่งให้ชำระหรือวางค่าธรรมเนียมศาลให้ถูกต้องครบถ้วนเสียก่อนที่จะมีคำสั่งรับหรือไม่รับคำคู่ความ ดังนั้น แม้ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์มา ก็ไม่มีผลทำให้อุทธรณ์ของจำเลยที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายกลับเป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วยกฎหมายไปได้ ศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์ชอบแล้ว และศาลฎีกาก็ไม่อาจกำหนดเวลาให้จำเลยนำเงินค่าธรรมเนียมมาวางศาลได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 551/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายเวลาวางเงินค่าธรรมเนียม: ศาลพิจารณาความสมเหตุสมผลและผลของการยอมรับเงื่อนไข
จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษา และลงชื่อยอมรับที่จะมาฟังคำสั่งศาลวันที่ 3 พฤษภาคม 2544 ซึ่งพ้นกำหนดที่ศาลอนุญาตให้ขยายระยะเวลาวางเงินครั้งสุดท้าย เท่ากับจำเลยยอมรับผลในกรณีที่ศาลชั้นต้นจะไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลา ดังนั้น แม้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2544 โดยมิได้สั่งในวันที่ 3 พฤษภาคม 2544 ก็ย่อมมีผลเช่นเดียวกัน และไม่จำต้องกำหนดให้จำเลยนำเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวมาวางอีก เพราะมิใช่เป็นกรณีชำระหรือวางค่าธรรมเนียมศาลไม่ถูกต้องครบถ้วนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งศาลและการวางค่าฤชาธรรมเนียมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 จำเลยต้องวางค่าฤชาธรรมเนียมก่อนอุทธรณ์
จำเลยอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับคำสั่งศาลชั้นต้นและให้ดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ เท่ากับขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยต้องนำเงินค่าฤชาธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์มาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 กรณีมิใช่เรื่องของการมิได้ชำระหรือวางค่าธรรมเนียมศาลโดยถูกต้องครบถ้วนตามมาตรา 18 ที่ศาลจะต้องสั่งให้ชำระหรือวางค่าธรรมเนียมศาลให้ถูกต้องครบถ้วนเสียก่อนจึงจะสั่งรับหรือไม่รับคำคู่ความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9219/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิอุทธรณ์คำสั่งคืนคำคู่ความ: การบังคับใช้มาตรา 18 และ 228 วรรคสอง ป.วิ.พ.
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้คืนคำฟ้องอุทธรณ์ให้ผู้อุทธรณ์ทำมาใหม่ เป็นคำสั่งชั้นตรวจคำคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามภายในเวลาที่กำหนด ศาลชั้นต้นชอบที่จะมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ได้ตามวรรคสองของมาตรา 18 แต่วรรคท้ายของมาตรา 18 บัญญัติให้อุทธรณ์และฎีกาคำสั่งของศาลที่ไม่รับหรือให้คืนคำคู่ความตามมาตรานี้ได้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 227, 228 และ 247 กรณีมิได้ตกอยู่ในบังคับของมาตรา 234 แห่ง ป.วิ.พ. ที่จำเลยจะต้องอุทธรณ์คำสั่งนั้นภายใน 15 วันนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์แต่อย่างใด เพราะกรณีนี้อยู่ในชั้นตรวจคำคู่ความ การที่จำเลยไม่ทำอุทธรณ์มายื่นใหม่ภายในเวลา 3 วันตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดจนศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ตามมาตรา 18 วรรคสอง หาทำให้จำเลยหมดสิทธิที่จะอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้คืนคำฟ้องอุทธรณ์ให้ทำมาใหม่ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 18 วรรคท้าย ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9219/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิอุทธรณ์คำสั่งคืนคำคู่ความ: การพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 และผลกระทบต่อการหมดสิทธิอุทธรณ์
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้คืนคำฟ้องอุทธรณ์ให้ผู้อุทธรณ์ทำมาใหม่เป็นคำสั่งชั้นตรวจคำคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามภายในเวลาที่กำหนด ศาลชั้นต้นชอบที่จะมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ได้ตามวรรคสองของ มาตรา 18 แต่วรรคท้ายของมาตรา 18 บัญญัติให้อุทธรณ์และฎีกาคำสั่งของศาลที่ไม่รับหรือให้คืนคำคู่ความตามมาตรานี้ได้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 227, 228 และ 247 กรณีมิได้ตกอยู่ในบังคับของมาตรา 234 แห่ง ป.วิ.พ. ที่จำเลยจะต้องอุทธรณ์คำสั่งนั้นภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์แต่อย่างใด เพราะกรณีนี้อยู่ในชั้นตรวจคำคู่ความ การที่จำเลยไม่ทำอุทธรณ์มายื่นใหม่ภายในเวลา 3 วันตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดจนศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ตามมาตรา 18 วรรคสอง หาทำให้จำเลยหมดสิทธิที่จะอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้คืนคำฟ้องอุทธรณ์ให้ทำมาใหม่ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 18 วรรคท้าย ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8947/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาล: สถานที่ทำสัญญาเป็นสถานที่มูลคดีเกิด แม้ที่ดินจะอยู่อีกจังหวัด
โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินที่ได้ชำระไปแล้วคืนเพราะจำเลยผิดสัญญาและโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้ว เมื่อสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินอันเป็นที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ทำที่สำนักงานของจำเลยในกรุงเทพมหานคร กรุงเทพมหานครจึงเป็นสถานที่มูลคดีเกิด ส่วนจังหวัดนนทบุรีซึ่งเป็นที่ตั้งของที่ดินที่โจทก์ตกลงจะซื้อจะขายกันถือไม่ได้ว่าเป็นสถานที่ที่มูลคดีเกิดด้วย เมื่อมูลคดีมิได้เกิดในเขตอำนาจของศาลชั้นต้นซึ่งเป็นที่ตั้งของที่ดินดังกล่าวโจทก์ก็ย่อมไม่มีอำนาจเสนอคำฟ้องต่อศาลชั้นต้น
การที่โจทก์เสนอคำฟ้องโดยอ้างว่ามูลคดีเกิดในเขตอำนาจของศาลชั้นต้น ย่อมเป็นเหตุให้ศาลชั้นต้นเข้าใจว่าโจทก์มีอำนาจเสนอคำฟ้องต่อศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นจึงรับคำฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาในเบื้องต้น เมื่อจำเลยยื่นคำให้การและยกเรื่องเขตอำนาจศาลขึ้นต่อสู้ไว้ด้วย คดีจึงมีประเด็นเรื่องเขตอำนาจศาลที่ศาลชั้นต้นจะต้องวินิจฉัยโดยรับฟังข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานในสำนวนที่โจทก์จำเลยนำสืบ เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่ามูลคดีเกิดในเขตอำนาจของศาลชั้นต้นตามที่โจทก์กล่าวอ้าง ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจพิพากษายกฟ้องโจทก์เสียได้ แม้ศาลชั้นต้นมิได้สั่งไม่รับหรือคืนคำคู่ความในชั้นตรวจคำฟ้อง หรือสั่งแก้ไขคำสั่งรับฟ้องเป็นไม่รับฟ้องเพื่อให้โจทก์นำคำฟ้องไปยื่นต่อศาลที่มีเขตอำนาจก็ตาม การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงหาเป็นการไม่ชอบไม่
ศาลชั้นต้นได้รับคำฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาและพิพากษาชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีแล้วก็ย่อมไม่มีอำนาจสั่งคืนค่าขึ้นศาลให้โจทก์ เนื่องจาก ป.วิ.พ. มาตรา 151 วรรคหนึ่ง กำหนดให้ศาลคืนค่าธรรมเนียมทั้งหมดเฉพาะกรณีที่ศาลมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องโดยยังไม่ได้วินิจฉัยประเด็นแห่งคดีเท่านั้น ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นสั่งให้ค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8684/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่นำเงินค่าธรรมเนียมตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ ทำให้ศาลมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ได้
ป.วิ.พ. มาตรา 229 เป็นบทบังคับทั้งคดีมีทุนทรัพย์และไม่มีทุนทรัพย์ ซึ่งกำหนดให้ผู้อุทธรณ์ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ หากผู้อุทธรณ์มิได้นำเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวมาวางศาลแล้วศาลก็ชอบที่จะมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ได้ทันที เพราะมิใช่เรื่องของการมิได้ชำระหรือวางค่าธรรมเนียมศาลโดยถูกต้องครบถ้วนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 ซึ่งศาลจะต้องสั่งให้ชำระหรือวางค่าธรรมเนียมศาลให้ถูกต้องครบถ้วนเสียก่อนที่จะสั่งรับหรือไม่รับคำคู่ความ การที่ศาลอุทธรร์ภาค 4 พิพากษายกอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 จึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 229
of 52