พบผลลัพธ์ทั้งหมด 511 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2133/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งไม่อนุญาตให้ยื่นคำให้การ ไม่ใช่คำสั่งไม่รับคำคู่ความ ไม่อุทธรณ์ได้
การที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นรับคำให้การของจำเลยเมื่อพ้นกำหนดเวลาที่จะยื่นคำให้การได้ และศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้อง มีผลเท่ากับศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การ ซึ่งเมื่อสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การแล้ว ก็ไม่จำต้องสั่งไม่รับคำให้การจำเลยอีก คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวยังอยู่ในขั้นตอนของคำสั่งไม่อนุญาตให้ยื่นคำให้การ มิใช่คำสั่งไม่รับคำให้การของจำเลยอันจะถือเป็นคำสั่งไม่รับคำคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 จึงเป็นคำสั่งในระหว่างพิจารณาก่อนที่ศาลชั้นต้นจะได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2133/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งไม่อนุญาตยื่นคำให้การ ไม่ใช่คำสั่งไม่รับคำคู่ความ จึงไม่อุทธรณ์ได้
การที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นรับคำให้การของจำเลยเมื่อพ้นกำหนดเวลาที่จะยื่นคำให้การได้ และศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้อง มีผลเท่ากับศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การ ซึ่งเมื่อสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การแล้ว ก็ไม่จำต้องสั่งไม่รับคำให้การจำเลยอีก คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวยังอยู่ในขั้นตอนของคำสั่งไม่อนุญาตให้ยื่นคำให้การ มิใช่คำสั่งไม่รับคำให้การของจำเลยอันจะถือเป็นคำสั่งไม่รับคำคู่ความ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 18 จึงเป็นคำสั่งในระหว่างพิจารณาก่อนที่ศาลชั้นต้นจะได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดี ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 226 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2133/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งไม่อนุญาตให้ยื่นคำให้การ ไม่ใช่คำสั่งไม่รับคำคู่ความ จึงไม่อุทธรณ์ได้
จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นรับคำให้การ โดยจำเลยยื่นคำร้องเมื่อพ้นกำหนดเวลาที่จะยื่นคำให้การได้ ศาลชั้นต้นยกคำร้องจึงมีผลเท่ากับศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การ ซึ่งเมื่อสั่งไม่อนุญาตแล้ว ก็ไม่จำต้องสั่งไม่รับคำให้การอีก คำสั่งของศาลชั้นต้นยังอยู่ในขั้นตอนของคำสั่งไม่อนุญาตให้ยื่นคำให้การ มิใช่คำสั่งไม่รับคำให้การอันจะถือเป็นคำสั่งไม่รับคำคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 18 จึงเป็นคำสั่งในระหว่างพิจารณาต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวในระหว่างพิจารณาคดีตามมาตรา 226(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1982/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดการวางค่าธรรมเนียมในการอุทธรณ์คดีเยาวชนและครอบครัว ทำให้ศาลมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ได้
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวฯ มาตรา 6 ประกอบ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229 บังคับให้ผู้อุทธรณ์ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษามาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ ซึ่งรวมถึงค่าทนายความที่ศาลสั่งด้วย เมื่อโจทก์ยื่นอุทธรณ์ โดยไม่ได้นำเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ จึงเป็นการไม่ชอบศาลชอบที่จะสั่งไม่รับอุทธรณ์โจทก์ได้ทันที กรณีไม่ใช่เรื่องของการมิได้ชำระหรือวางค่าธรรมเนียมศาลโดยถูกต้องครบถ้วนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 ซึ่งศาลจะต้องสั่งให้ชำระหรือวางค่าธรรมเนียมศาลให้ถูกต้องครบถ้วนเสียก่อนจึงจะสั่งรับหรือไม่รับคำคู่ความ ดังนั้นอุทธรณ์จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายศาลอุทธรณ์ชอบที่จะพิพากษายกอุทธรณ์ของโจทก์ ซึ่งในกรณีนี้ต้องคืนค่าธรรมเนียมศาลชั้นอุทธรณ์แก่โจทก์ด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 151
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1189/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองปรปักษ์ vs. สิทธิผู้รับจำนองสุจริต: การบรรยายข้อโต้แย้งในคำร้องขอ
สิทธิของผู้ร้องเป็นการได้ที่ดินพิพาทมาโดยการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 อันเป็นการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ หรือทรัพย์สิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรม แต่สิทธิอันยังมิได้ จดทะเบียนของผู้ร้อง ห้ามมิให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ผู้รับจำนองที่ดินพิพาทซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคสอง การที่ผู้ร้องจะอ้างการได้มาของผู้ร้องขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับจำนอง ป.วิ.พ. มาตรา 288 ได้นั้น เมื่อบทบัญญัติดังกล่าวบัญญัติให้อยู่ ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งมาตรา 55 เช่นนี้ ผู้ร้องจึงต้องบรรยายมาในคำร้องขอโดยชัดแจ้งให้เห็นว่ามีข้อโต้แย้ง เกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ระหว่างผู้ร้องกับโจทก์ตามกฎหมายแพ่ง อันเป็นข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น แต่ผู้ร้องมิได้บรรยายในคำร้องขอว่าโจทก์รับจำนองโดยไม่สุจริต จึงไม่มีประเด็นที่ผู้ร้องจะนำพยานเข้ามาสืบเป็น ข้อต่อสู้โจทก์ในประเด็นดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9107/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องขอให้เรียกบุคคลภายนอกเป็นจำเลยร่วมไม่ใช่คำคู่ความ ต้องห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา 226
คำร้องขอของโจทก์ที่ให้เรียกธนาคาร ท. บุคคลภายนอกเข้ามาเป็นคู่ความในคดีเพื่อเป็นจำเลยร่วมไม่มีลักษณะเป็นคำฟ้องหรือคำคู่ความ ไม่เหมือนกรณีที่บุคคลภายนอกร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความในคดีไม่ว่าโดยความสมัครใจ หรือถูกหมายเรียกของศาลให้เข้ามา เนื่องจากคำร้องสอดของบุคคลภายนอกที่ยื่นต่อศาลเป็นการตั้งประเด็นโต้แย้งกับคู่ความในคดีจึงมีลักษณะเป็นคำฟ้องและเป็นคำคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 1(3) และ (5) เมื่อศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องของโจทก์ที่ให้เรียกธนาคาร ท. เข้ามาเป็นจำเลยร่วม จึงไม่ใช่คำสั่งไม่รับหรือคืนคำคู่ความตามมาตรา 18 แต่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาซึ่งต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 226
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8738/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำเตือนของพนักงานตรวจแรงงานมีผลเพียงชี้แนะ ไม่เป็นคำสั่ง นายจ้างมีสิทธิไม่ปฏิบัติตาม และไม่มีอำนาจฟ้องเพิกถอนคำเตือน
พนักงานตรวจแรงงานมีคำเตือนให้นายจ้างจัดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้ลูกจ้างโดยอาศัยอำนาจตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ที่ออกตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ข้อ 77 ซึ่งคำเตือน ดังกล่าวไม่ขัดแย้งกับ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 จึงมีผลเป็นคำเตือนตามประกาศดังกล่าว ข้อ 77 และใช้บังคับได้ต่อไปตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 166 ทั้งคำเตือนดังกล่าวมิใช่คำสั่งหรือคำวินิจฉัยชี้ขาดของพนักงานตรวจแรงงานตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ที่บัญญัติให้นายจ้างต้องปฏิบัติตาม แต่มีผลเพียงเป็นการชี้แนะเพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างนายจ้างและลูกจ้างเท่านั้น ถ้านายจ้างเห็นว่าไม่ถูกต้องจะไม่ปฏิบัติตามก็ได้โดยไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 146 และประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ข้อ 8 การที่พนักงานตรวจแรงงานมีคำเตือนและลูกจ้างขอหยุดพักผ่อนประจำปีตามคำเตือนของพนักงานตรวจแรงงาน ยังไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของนายจ้างตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ประกอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและ วิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ทั้งนายจ้างมิได้ฟ้องพนักงานตรวจแรงงานหรืออธิบดีกรมสวัสดิการและ คุ้มครองแรงงานเป็นจำเลย นายจ้างจึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำเตือนของพนักงานตรวจแรงงานและขอให้ สั่งว่าจำเลยไม่มีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5776/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดการวางเงินค่าธรรมเนียมพร้อมฎีกา ทำให้ศาลมีคำสั่งไม่รับฎีกาได้
ป.วิ.พ. มาตรา 247 ประกอบมาตรา 229 บัญญัติบังคับไว้ว่าผู้ฎีกาต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาหรือคำสั่งมาวางศาลพร้อมกับฎีกานั้นด้วย เมื่อปรากฏว่าโจทก์ยื่นฎีกาโดยไม่ได้นำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งเป็นค่าทนายความที่โจทก์ต้องใช้แทนจำเลยชั้นอุทธรณ์ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์มาวางศาลพร้อมกับฎีกาย่อมเป็นการไม่ชอบ ศาลชั้นต้นชอบที่จะมีคำสั่งไม่รับฎีกาของโจทก์ได้ทันที การวางเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวภายหลังที่ศาลชั้นต้นไม่รับฎีกาของโจทก์แล้ว ย่อมไม่มีผลทำให้ฎีกาของโจทก์เป็นฎีกาที่ชอบด้วยกฎหมายอันควรรับไว้พิจารณา
ป.วิ.พ. มาตรา 247 ประกอบมาตรา 229 บัญญัติไว้โดยแจ้งชัดว่าโจทก์ผู้ฎีกาจะต้องปฏิบัติให้ครบถ้วนตามข้อกำหนดอันเป็นการบังคับ โดยไม่มีบทกฎหมายบัญญัติเปิดช่องไว้เป็นอย่างอื่นเพื่อให้พิจารณาถึงการไม่มีเจตนาหรือจงใจของผู้ฎีกาเจ้าหน้าที่ศาลคงมีหน้าที่ตรวจสอบเฉพาะในเรื่องค่าขึ้นศาลว่าโจทก์ผู้ฎีกาชำระถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ หากชำระไม่ถูกต้องครบถ้วนเจ้าหน้าที่ศาลดังกล่าวมีหน้าที่เรียกให้โจทก์ผู้ฎีกาชำระให้ครบถ้วน แต่ค่าธรรมเนียมที่ต้องนำมาวางศาลเพื่อชำระแก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งนั้น ย่อมล่วงรู้และอยู่ในความรับผิดชอบของโจทก์ผู้ฎีกาจะต้องดำเนินการเองโจทก์จึงไม่อาจกล่าวอ้างถึงการกระทำของเจ้าหน้าที่ศาลมาเป็นเหตุแก้ตัวในความผิดพลาดบกพร่องของตนได้
กรณีไม่นำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมาวางศาลพร้อมกับฎีกา ไม่ใช่เรื่องการมิได้ชำระหรือวางค่าธรรมเนียมศาลโดยถูกต้องครบถ้วนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 ซึ่งศาลจะต้องสั่งให้ชำระหรือวางค่าธรรมเนียมศาลให้ถูกต้องครบถ้วนเสียก่อนที่จะสั่งรับหรือไม่รับคำคู่ความ การที่ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดระยะเวลาให้โจทก์วางค่าธรรมเนียมเสียก่อนและสั่งไม่รับฎีกาของโจทก์จึงชอบแล้ว
ป.วิ.พ. มาตรา 247 ประกอบมาตรา 229 บัญญัติไว้โดยแจ้งชัดว่าโจทก์ผู้ฎีกาจะต้องปฏิบัติให้ครบถ้วนตามข้อกำหนดอันเป็นการบังคับ โดยไม่มีบทกฎหมายบัญญัติเปิดช่องไว้เป็นอย่างอื่นเพื่อให้พิจารณาถึงการไม่มีเจตนาหรือจงใจของผู้ฎีกาเจ้าหน้าที่ศาลคงมีหน้าที่ตรวจสอบเฉพาะในเรื่องค่าขึ้นศาลว่าโจทก์ผู้ฎีกาชำระถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ หากชำระไม่ถูกต้องครบถ้วนเจ้าหน้าที่ศาลดังกล่าวมีหน้าที่เรียกให้โจทก์ผู้ฎีกาชำระให้ครบถ้วน แต่ค่าธรรมเนียมที่ต้องนำมาวางศาลเพื่อชำระแก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งนั้น ย่อมล่วงรู้และอยู่ในความรับผิดชอบของโจทก์ผู้ฎีกาจะต้องดำเนินการเองโจทก์จึงไม่อาจกล่าวอ้างถึงการกระทำของเจ้าหน้าที่ศาลมาเป็นเหตุแก้ตัวในความผิดพลาดบกพร่องของตนได้
กรณีไม่นำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมาวางศาลพร้อมกับฎีกา ไม่ใช่เรื่องการมิได้ชำระหรือวางค่าธรรมเนียมศาลโดยถูกต้องครบถ้วนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 ซึ่งศาลจะต้องสั่งให้ชำระหรือวางค่าธรรมเนียมศาลให้ถูกต้องครบถ้วนเสียก่อนที่จะสั่งรับหรือไม่รับคำคู่ความ การที่ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดระยะเวลาให้โจทก์วางค่าธรรมเนียมเสียก่อนและสั่งไม่รับฎีกาของโจทก์จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3050/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องหมิ่นประมาทไม่สมบูรณ์ เหตุขาดการใส่ความยืนยันข้อเท็จจริง และศาลไม่มีอำนาจพิจารณาคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่อง
ตามคำฟ้องโจทก์บรรยายฟ้องแยกการกระทำของจำเลยเป็น 31 ข้อ แต่ละข้อวันเวลาเกิดเหตุต่างกันกล่าวหาจำเลยทั้งหกร่วมกันใส่ความโจทก์ด้วยการโฆษณาต่อประชาชนในหนังสือพิมพ์รายวันเป็นจำนวน 31 ฉบับ รวม 31 วันข้อความแต่ละวันไม่เหมือนกัน เป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระกันจำนวน 31 กรรม
ความผิดฐานหมิ่นประมาทต้องเป็นการใส่ความยืนยันข้อเท็จจริงให้คนอ่าน คนฟัง คนเห็นเชื่อจึงจะเกิดความรู้สึกดูหมิ่นเกลียดชัง เมื่อฟ้องโจทก์แต่ละกรรมขาดสาระสำคัญดังกล่าวจึงเป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 158 (5)
โจทก์บรรยายฟ้องสรุปตอนท้ายว่า จำเลยทั้งหกใส่ความโจทก์ทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงเฉพาะเรื่องโจทก์มีพฤติกรรมเบี่ยงเบนทางเพศ ข้อที่โจทก์อุทธรณ์และฎีกาต่อมาว่า จำเลยทั้งหกใส่ความโจทก์ในเรื่องการนอกใจภริยา มีความสัมพันธ์ฉันชู้สาว เรื่องการปล่อยเงินกู้คิดดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด หรือเรื่องผลประโยชน์ในสนามม้า จึงเป็นเรื่องนอกคำฟ้องทั้งสิ้น แม้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัย
โจทก์บรรยายฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งหกในมูลละเมิดอันเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญามาด้วย เมื่อศาลชั้นต้นซึ่งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาเฉพาะคดีอาญาพิพากษายกฟ้องคดีในส่วนอาญาเสียแล้วย่อมไม่มีอำนาจรับคดีส่วนแพ่งไว้พิจารณา จึงต้องมีคำสั่งไม่รับฟ้องคดีส่วนแพ่งและคืนค่าธรรมเนียมแก่โจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 151 แต่ศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งในคดีส่วนแพ่ง ส่วนศาลอุทธรณ์ก็มีคำสั่งเฉพาะเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมในคดีส่วนแพ่งให้เป็นพับแก่โจทก์ โดยยังมิได้มีคำสั่งคำฟ้องส่วนแพ่งเช่นกัน กระบวนพิจารณาในคดีส่วนแพ่งที่ศาลล่างทั้งสองปฏิบัติจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกามีคำสั่งในคดีส่วนแพ่งไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวนให้ศาลล่างทั้งสองมีคำสั่งใหม่
ความผิดฐานหมิ่นประมาทต้องเป็นการใส่ความยืนยันข้อเท็จจริงให้คนอ่าน คนฟัง คนเห็นเชื่อจึงจะเกิดความรู้สึกดูหมิ่นเกลียดชัง เมื่อฟ้องโจทก์แต่ละกรรมขาดสาระสำคัญดังกล่าวจึงเป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 158 (5)
โจทก์บรรยายฟ้องสรุปตอนท้ายว่า จำเลยทั้งหกใส่ความโจทก์ทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงเฉพาะเรื่องโจทก์มีพฤติกรรมเบี่ยงเบนทางเพศ ข้อที่โจทก์อุทธรณ์และฎีกาต่อมาว่า จำเลยทั้งหกใส่ความโจทก์ในเรื่องการนอกใจภริยา มีความสัมพันธ์ฉันชู้สาว เรื่องการปล่อยเงินกู้คิดดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด หรือเรื่องผลประโยชน์ในสนามม้า จึงเป็นเรื่องนอกคำฟ้องทั้งสิ้น แม้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัย
โจทก์บรรยายฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งหกในมูลละเมิดอันเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญามาด้วย เมื่อศาลชั้นต้นซึ่งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาเฉพาะคดีอาญาพิพากษายกฟ้องคดีในส่วนอาญาเสียแล้วย่อมไม่มีอำนาจรับคดีส่วนแพ่งไว้พิจารณา จึงต้องมีคำสั่งไม่รับฟ้องคดีส่วนแพ่งและคืนค่าธรรมเนียมแก่โจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 151 แต่ศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งในคดีส่วนแพ่ง ส่วนศาลอุทธรณ์ก็มีคำสั่งเฉพาะเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมในคดีส่วนแพ่งให้เป็นพับแก่โจทก์ โดยยังมิได้มีคำสั่งคำฟ้องส่วนแพ่งเช่นกัน กระบวนพิจารณาในคดีส่วนแพ่งที่ศาลล่างทั้งสองปฏิบัติจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกามีคำสั่งในคดีส่วนแพ่งไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวนให้ศาลล่างทั้งสองมีคำสั่งใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2889/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่วางค่าฤชาธรรมเนียมในการอุทธรณ์ ทำให้ศาลชอบที่จะไม่รับอุทธรณ์ หรือพิพากษายกอุทธรณ์ได้
ศาลชั้นต้นพิจารณาโดยขาดนัด จำเลยจึงยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้อง จำเลยอุทธรณ์โดยมิได้วางเงินค่าฤชาธรรมเนียมที่จะต้องใช้แทนโจทก์ซึ่งเป็นความอีกฝ่ายหนึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 ในชั้นตรวจอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นชอบที่จะสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลย แต่เมื่อศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลย ศาลอุทธรณ์ก็ชอบที่จะพิพากษายกอุทธรณ์นั้นเสียโดยไม่ต้องวินิจฉัยในประเด็นแห่งอุทธรณ์