คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 285 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2295/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ค่าชดเชย และดอกเบี้ยผิดนัด การพิจารณาเหตุผลการเลิกจ้างและการคำนวณค่าชดเชย
ค่าชดเชยเป็นหนี้ที่กฎหมายกำหนดให้นายจ้างจะต้องชำระให้แก่ลูกจ้างในวันเลิกจ้าง ดังนั้นการที่จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างไม่ชำระค่าชดเชยให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างในวันเลิกจ้าง จำเลยจึงตกเป็นลูกหนี้ผู้ผิดนัด โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้ในระหว่างผิดนัดในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 224.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2216/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: การลงโทษซ้ำซ้อนทางวินัย การพักงานโดยจ่ายค่าจ้างไม่ถือเป็นการลงโทษ
ระเบียบข้อบังคับของจำเลยที่ระบุการลงโทษทางวินัยแก่พนักงานที่กระทำความผิดฯ ว่า..."(3) ให้พักงานชั่วคราว โดยไม่จ่ายค่าจ้างในระหว่างนั้น" การให้พักงานที่จะเป็นการลงโทษทางวินัยตามระเบียบข้อบังคับดังกล่าว จะต้องเป็นการให้พักงานชั่วคราวโดยไม่จ่ายค่าจ้างในระหว่างนั้น จำเลยให้โจทก์พักงานชั่วคราวเพื่อสอบสวน โดยจ่ายค่าจ้างให้โจทก์ตามปกติ จึงไม่ถือเป็นการลงโทษในความผิดที่โจทก์ได้กระทำไปแล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2038/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างเนื่องจากหย่อนสมรรถภาพและลาป่วย ถือเป็นการเลิกจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย
ตาม ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46ที่แก้ไขใหม่ระบุว่า การเลิกจ้างที่ นายจ้าง จะต้อง จ่ายค่าชดเชยให้แก่ ลูกจ้างซึ่ง เลิกจ้าง หมายถึง การที่ นายจ้าง ให้ลูกจ้างออกจากงานปลดออก หรือไล่ออกจากงาน โดย ที่ลูกจ้างไม่ได้กระทำความผิดตามข้อ 47 แห่งประกาศดังกล่าว โดย มิได้มีข้อยกเว้นว่าการให้ออกจากงานเนื่องจากหย่อนสมรรถภาพในการทำงาน มีผลงานต่ำ กว่ามาตรฐาน มีวันลามาก ไม่ใช่เป็นการเลิกจ้าง ดังนั้น การที่จำเลยซึ่ง เป็นนายจ้างเลิกจ้างสามีโจทก์เพราะเหตุหย่อนสมรรถภาพในการทำงาน มีผลงานต่ำ กว่ามาตรฐาน และลาหยุดงานมากนั้น จึงเป็นการเลิกจ้างตาม ประกาศข้างต้นแล้ว จำเลยต้อง จ่ายค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้าง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2036/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: เหตุผลความน่าไว้วางใจ vs. การกระทำทุจริตโดยตรง และสิทธิค่าชดเชย/บำเหน็จ
จำเลยมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์มีพฤติการณ์ไม่น่าไว้วางใจส่อไปในทางทุจริตโดย หวัง ผลประโยชน์อันได้ ชื่อ ว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วร้ายแรง มิใช่เลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์กระทำการทุจริตโดยตรง ดังนี้จำเลยจึงไม่ต้องนำสืบถึง การกระทำทุจริตโดยตรงของโจทก์ จำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์หาเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ไม่ ส่วนข้อกล่าวหาของจำเลยที่ว่าโจทก์ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงจะเป็นเหตุให้โจทก์ไม่มีสิทธิได้ รับค่าชดเชยตาม ข้อบังคับหรือไม่นั้นย่อมอยู่ในดุลพินิจ ของศาลที่จะวินิจฉัยให้ตาม รูปคดี ดังนี้เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะพฤติการณ์ไม่น่าไว้วางใจ แต่ ข้อเท็จจริงยังไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ กระทำผิดประการใด จำเลยจึงต้อง จ่ายค่าชดเชยให้โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2036/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม พิจารณาจากเหตุผลที่จำเลยให้การต่อสู้คดี และสิทธิการรับเงินบำเหน็จ
การที่จำเลยให้การต่อสู้คดีว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะมีพฤติการณ์ส่อไปในทางไม่สุจริตโดย หวังผลประโยชน์อันได้ชื่อ ว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง แสดงว่าจำเลยได้ เลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุไม่ไว้วางใจโดย มีพฤติการณ์ส่อไปในทางไม่สุจริต มิใช่เลิกจ้างเพราะโจทก์กระทำทุจริตโดยตรง จำเลยจึงไม่ต้องนำสืบพยานถึง การกระทำทุจริตโดยตรงของโจทก์ เมื่อฟังได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุไม่ไว้วางใจจึงมิใช่การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ข้อบังคับของจำเลยกำหนดว่าพนักงานที่ถูก ปลดออกจากงานจะไม่มีสิทธิได้ รับเงินบำเหน็จเพราะมีความผิด เมื่อจำเลยมีคำสั่งปลดโจทก์ออกจากงานเพราะมีพฤติการณ์ส่อไปในทางไม่สุจริต ไม่ได้ปลดออกเพราะกระทำผิด โจทก์จึงมีสิทธิได้ รับเงินบำเหน็จ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1827/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้าง: สัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลา ต้องพิจารณาลักษณะงานตามประกาศกระทรวงแรงงาน
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 46 ที่แก้ไขใหม่โดยประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน(ฉบับที่ 11) ลงวันที่ 11 ตุลาคม 2532 ข้อ 7 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 13 ตุลาคม 2532 กรณีที่ นายจ้าง ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง นอกจากสัญญาจ้างระหว่างนายจ้างและลูกจ้างจะเป็นสัญญาที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนแล้ว ต้องเป็นการจ้างเพื่อทำงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราวเป็นการจร เป็นไปตามฤดูกาล หรือเป็นงานตามโครงการด้วย จำเลยทำสัญญาจ้างโจทก์โดยมีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนก่อนประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน(ฉบับที่ 11) ลงวันที่ 11 ตุลาคม 2532 มีผลใช้บังคับแต่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เมื่อสัญญาจ้างดังกล่าวสิ้นสุดลงในขณะที่ประกาศดังกล่าวมีผลใช้บังคับแล้ว ผลการเลิกจ้างจึงต้องบังคับตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 46 ที่แก้ไขใหม่โดยประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 11)ลงวันที่ 11 ตุลาคม 2532 ข้อ 7 เมื่อจำเลยไม่ได้จ้าง โจทก์เพื่อทำงานอันมีลักษณะเป็นการครั้งคราวเป็นการจร เป็นไปตามฤดูกาลหรือเป็นงานตามโครงการ จำเลยต้องจ่ายค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้าง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1827/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้าง: แม้สัญญาจ้างมีกำหนดระยะเวลา แต่ลักษณะงานไม่ใช่ครั้งคราวตามฤดูกาล จำเลยต้องจ่ายค่าชดเชย
ตาม ประกาศ กระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46ซึ่ง แก้ไขใหม่โดย ฉบับที่ 11 ลงวันที่ 11 ตุลาคม 2532 ข้อ 7เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยจ้าง โจทก์เพื่อทำงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราวเป็นการถาวร พ้นไปตาม ฤดูกาลหรือเป็นงานตาม โครงการจำเลยต้อง จ่ายค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้าง โจทก์ทำงานกับจำเลยตามสัญญาฉบับ สุดท้ายมีอายุการทำงาน 120 วัน จำเลยต้อง จ่ายค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามสิบวัน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1400/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าครองชีพเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างฐานคำนวณบำเหน็จและค่าชดเชย การเลิกจ้างเนื่องจากขาดความอุตสาหะถือเป็นการเลิกจ้าง
ค่าครองชีพที่ นายจ้าง จ่ายให้ลูกจ้างเป็นประจำรายเดือน มีกำหนดแน่นอนเช่นเดียว กับเงินเดือนหรือค่าจ้าง ถือ ว่าเป็นเงินที่จ่ายให้แก่ลูกจ้างเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงานดังนี้เป็นค่าจ้างตาม ความหมายของประกาศ กระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 2 ซึ่ง ต้อง นำมาเป็นฐาน ในการคำนวณค่าชดเชยด้วย ประกาศ กระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46ระบุว่าการเลิกจ้างหมายถึง การที่ นายจ้าง ให้ลูกจ้างออกจากงานปลดออกจากงาน หรือไล่ออกจากงาน โดย ลูกจ้างมิได้กระทำผิดตาม ข้อ 47มิได้มีข้อความระบุยกเว้นไว้ว่าการออกจากงานเนื่องจากขาดความอุตสาหะ หย่อนความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ไม่ใช่เป็นการเลิกจ้าง ดังนี้ การที่ นายจ้าง เลิกจ้างโดย เหตุที่ลูกจ้างขาดความอุตสาหะ หย่อนความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ จึงมิใช่การเลิกจ้างเนื่องจากลูกจ้างกระทำความผิดตาม ข้อ 47.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 602/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้าง ค่าชดเชย กรณีฝ่าฝืนระเบียบการทำงานเล็กน้อย นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยหากไม่ตักเตือนเป็นหนังสือ
การที่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างฝ่าฝืนระเบียบการทำงานของจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างโดยนำเงินค่าธรรมเนียมรถ และค่าตั๋วรถโดยสารซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของโจทก์จำนวน 2,512 บาท เข้าฝากธนาคารล่าช้าไปหนึ่งวัน โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์กระทำโดยส่อเจตนาทุจริตย่อมถือว่าเป็นการทำงานล่าช้า หรือผิดพลาดเล็กน้อย แม้จำเลยจะได้รับความเสียหายบ้างก็เพียงขาดผลประโยชน์จากดอกเบี้ยของธนาคารเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนระเบียบเกี่ยวกับการทำงานกรณีร้ายแรง ดังนี้ เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ตักเตือนเป็นหนังสือก่อนจำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 521/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เกษียณอายุและการเลิกจ้าง: การจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
ตาม พ.ร.บ.คุณสมบัติสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจฯมาตรา 911 ที่บัญญัติว่าพนักงานรัฐวิสาหกิจที่มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ ถือว่าขาดคุณสมบัติและเป็นอันพ้นจากตำแหน่งนั้น เป็นการกำหนดคุณสมบัติโดยทั่ว ๆ ไปของพนักงานและเป็นบทบัญญัติให้รัฐวิสาหกิจผู้เป็นนายจ้างถือเป็นแนวเดียวกัน ส่วนจะเป็นการเลิกจ้างหรือไม่ต้องพิจารณาตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานฯข้อ 46 วรรคสอง ดังนั้นการที่โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างต้องพ้นจากตำแหน่งเพราะอายุ 60 ปี จึงเป็นการเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ ดังกล่าว จำเลยผู้เป็นนายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์.
of 29