คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 285 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1976/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งตำหนิและให้ทบทวนตนเอง ไม่ถือเป็นคำสั่งเลิกจ้าง
คำสั่งของจำเลยที่ 2 มีข้อความกล่าวถึงเรื่องราวต่าง ๆที่เกิดขึ้นและให้โจทก์ทบทวนการกระทำของโจทก์และวินิจฉัยว่าโจทก์กระทำผิดถูกอย่างไร แล้วรายงานให้จำเลยที่ 2 ทราบภายในกำหนดมิฉะนั้นจะรายงานผู้บังคับบัญชาชั้นสูงต่อไป ไม่มีข้อความที่สั่งให้โจทก์ออกจากงาน ปลดโจทก์ออกจากงาน หรือไล่โจทก์ออกจากงานอันเป็นการเลิกจ้างโจทก์ แม้ในคำสั่งจะมีข้อความตำหนิการกระทำของโจทก์ก็จะถือว่าเมื่ออ่านประกอบข้อความที่ให้โจทก์วินิจฉัยตนเองแล้วเป็นการไล่โจทก์ออกจากงานโดยใช้ถ้อยคำสุภาพไม่ได้ คำสั่งดังกล่าวจึงไม่เป็นคำสั่งเลิกจ้างโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1663/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ-คุณสมบัติสัญชาติ-การคำนวณอายุงานและสิทธิประโยชน์
การโอนโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างกระทรวงกลาโหมสังกัดกรมการพลังงานทหาร ไปเป็นพนักงานของจำเลยตามพระราชบัญญัติการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2521 มาตรา 60 ถือเป็นการให้ออกจากงานเดิมเพราะเหตุยุบตำแหน่งหรือเลิกจ้างโดยไม่มีความผิด และไม่นับอายุการทำงานติดต่อกัน จำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจ การบรรจุหรือแต่งตั้งบุคคลใดเป็นพนักงานของจำเลย ต้องอยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518มาตรา 9(1) ที่กำหนดว่าพนักงานรัฐวิสาหกิจต้องมีคุณสมบัติเป็นผู้มีสัญชาติไทย โจทก์ไม่มีสัญชาติไทยจึงขาดคุณสมบัติที่จะเป็นพนักงานของจำเลย และกรณีไม่เข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 9 วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ที่จำเลยจะต้องจ้างโจทก์เพราะความจำเป็นตามลักษณะงานของจำเลย โจทก์จึงต้องพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา11(3) แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุขาดคุณสมบัติดังกล่าวจึงไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ทั้งไม่ใช่กรณีเลิกจ้างที่จะต้องบอกกล่าวล่วงหน้า และจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์ โจทก์คงมีสิทธิได้รับค่าชดเชยและเงินบำเหน็จจากจำเลยโดยคำนวณจากอายุการทำงานในช่วงที่เป็นพนักงานของจำเลยเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1663/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คุณสมบัติสัญชาติไทยของพนักงานรัฐวิสาหกิจและการเลิกจ้าง
การโอนโจทก์ซึ่ง เป็นลูกจ้างกระทรวงกลาโหมสังกัดกรมการพลังงานทหาร ไปเป็นพนักงานของจำเลยตามพระราชบัญญัติการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2521 มาตรา 60ถือเป็นการให้ออกจากงานเดิม เพราะเหตุยุบตำแหน่ง หรือเลิกจ้างโดยไม่มีความผิด และไม่นับอายุการทำงานติดต่อ กัน จำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจ การบรรจุหรือแต่งตั้ง บุคคลใด เป็นพนักงานของจำเลย ต้อง อยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจพ.ศ. 2518 มาตรา 9(1) ที่กำหนดว่าพนักงานรัฐวิสาหกิจต้อง มีคุณสมบัติเป็นผู้มีสัญชาติไทย โจทก์ไม่มีสัญชาติไทยจึงขาดคุณสมบัติที่จะเป็นพนักงานของจำเลย และกรณีไม่เข้าข้อยกเว้นตาม มาตรา 9วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวที่จำเลยจะต้อง จ้าง โจทก์เพราะความจำเป็นตาม ลักษณะงานของจำเลย โจทก์จึงต้อง พ้นจากตำแหน่ง ตาม มาตรา 11(3) แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุขาดคุณสมบัติดังกล่าวจึงไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ทั้งไม่ใช่กรณีเลิกจ้างที่จะต้อง บอกกล่าวล่วงหน้า และจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์ โจทก์คงมีสิทธิได้รับค่าชดเชยและเงินบำเหน็จจากจำเลยโดย คำนวณจากอายุการทำงานในช่วงที่เป็นพนักงานของจำเลยเท่านั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1391-1442/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายเงินบำเหน็จและค่าชดเชยของรัฐวิสาหกิจ: ข้อบังคับใหม่แทนที่ระเบียบเดิม และการคำนวณเงินบำเหน็จรวมค่าครองชีพ
เดิมจำเลยไม่มีระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จและเงินทำขวัญลูกจ้างเป็นของตนเอง จึงนำเอาระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จและเงินทำขวัญลูกจ้าง พ.ศ. 2502 ของกระทรวงการคลังมาใช้บังคับโดยอนุโลมตลอดมา จนถึง พ.ศ. 2521 จำเลยจึงได้ออกข้อบังคับเกี่ยวกับเงินบำเหน็จประกาศใช้บังคับ แต่ระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จและเงินทำขวัญลูกจ้าง พ.ศ. 2502 กำหนดขึ้นโดยคณะรัฐมนตรี เพื่อให้ใช้แก่ราชการและรัฐวิสาหกิจทั้งหลายเป็นการทั่วไป จำเลยซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่งจึงหามีอำนาจที่จะยกเลิกเพิกถอนระเบียบดังกล่าวไม่ แต่มีอำนาจตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การจำเลย มาตรา 15(3)และมาตรา 18 ที่จะวางข้อบังคับเกี่ยวกับเงินบำเหน็จและเงินรางวัลของจำเลยเอง ซึ่งเมื่อได้ประกาศใช้ข้อบังคับของจำเลยว่าด้วยกองทุนบำเหน็จ พ.ศ. 2521 แล้วย่อมมีผลเท่ากับไม่นำเอาระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จและเงินทำขวัญลูกจ้าง พ.ศ. 2502 มาใช้บังคับโดยอนุโลมต่อไป ดังนั้น จะนำความในข้อ 5 วรรคท้าย และข้อ 6 ของระเบียบปี พ.ศ. 2502 ของกระทรวงการคลังมาใช้กับโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างไม่ได้ การจ่ายเงินบำเหน็จและค่าชดเชยคดีนี้ต้องบังคับตามข้อบังคับของจำเลยว่าด้วยกองทุนบำเหน็จ พ.ศ. 2521

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1391-1442/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงระเบียบเงินบำเหน็จของรัฐวิสาหกิจ และการบังคับใช้ข้อบังคับใหม่แทนระเบียบเดิม
เดิมจำเลยไม่มีระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จและเงินทำขวัญลูกจ้างเป็นของตนเอง จึงนำเอาระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จและเงินทำขวัญลูกจ้าง พ.ศ. 2502 ของกระทรวงการคลังมาใช้บังคับโดยอนุโลมตลอดมา จนถึง พ.ศ. 2521 จำเลยจึงได้ออกข้อบังคับเกี่ยวกับเงินบำเหน็จประกาศใช้บังคับ แต่ระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จและเงินทำขวัญลูกจ้าง พ.ศ. 2502กำหนดขึ้นโดยคณะรัฐมนตรี เพื่อให้ใช้แก่ราชการและรัฐวิสาหกิจทั้งหลายเป็นการทั่วไป จำเลยซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่งจึงหามีอำนาจที่จะยกเลิกเพิกถอนระเบียบดังกล่าวไม่ แต่มีอำนาจตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การจำเลยมาตรา 15(3) และมาตรา 18 ที่จะวางข้อบังคับเกี่ยวกับเงินบำเหน็จและเงินรางวัลของจำเลยเอง ซึ่งเมื่อได้ประกาศใช้ข้อบังคับของจำเลยว่าด้วยกองทุนบำเหน็จ พ.ศ. 2521 แล้วย่อมมีผลเท่ากับไม่นำเอาระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จและเงินทำขวัญลูกจ้างพ.ศ. 2502 มาใช้บังคับโดยอนุโลมต่อไป ดังนั้น จะนำความในข้อ 5 วรรคท้าย และข้อ 6 ของระเบียบดังกล่าวมาใช้กับโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างไม่ได้ การจ่ายเงินบำเหน็จและค่าชดเชยคดีนี้ต้องบังคับตามข้อบังคับของจำเลยว่าด้วยกองทุนบำเหน็จ พ.ศ. 2521.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างป่วยอัมพาต นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย แม้มีระเบียบภายใน
ลูกจ้างป่วยเป็นอัมพาตเนื่องจากเส้นเลือดในสมองตีบ ไม่สามารถปฏิบัติงานได้เป็นเหตุที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ แม้ตามระเบียบธนาคารออมสิน จะให้อำนาจนายจ้างปลดลูกจ้างออกจากงานได้เมื่อลูกจ้างลาครบกำหนดระยะเวลาแล้วก็ตาม ก็เป็นเพียงให้สิทธิที่นายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างเท่านั้น จะถือว่าลูกจ้างกระทำผิดฝ่าฝืนระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างอย่างร้ายแรง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 หาได้ไม่ เมื่อเลิกจ้างนายจ้างจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้ลูกจ้าง เงินทุนเลี้ยงชีพประเภทสอง (บำเหน็จ) เป็นเงินที่นายจ้างผูกพันต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างตามระเบียบของนายจ้าง ส่วนค่าชดเชยเป็นเงินซึ่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46บังคับให้นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างสิทธิของลูกจ้างที่จะได้เงินบำเหน็จและค่าชดเชยจึงกำหนดให้โดยอาศัยกฎหมายและระเบียบต่างกัน ทั้งตามระเบียบกำหนดให้ลูกจ้างซึ่งมีเวลาทำงานต่ำกว่า 5 ปี ไม่มีสิทธิรับเงินบำเหน็จ จึงเห็นได้ว่า ระเบียบของนายจ้างกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการจ่ายบำเหน็จแตกต่างกับประกาศกระทรวงมหาดไทย ซึ่งกำหนดให้ลูกจ้างประจำซึ่งทำงานติดต่อกันเพียงครบ 120 วัน ก็มีสิทธิได้รับค่าชดเชยแล้ว เงินทุนเลี้ยงชีพและค่าชดเชยจึงเป็นเงินคนละประเภท การที่นายจ้างจ่ายเงินทุนเลี้ยงชีพให้ลูกจ้างแล้ว ไม่ทำให้นายจ้างพ้นความรับผิดที่จะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างป่วยอัมพาต นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย แม้ระเบียบธนาคารจะให้อำนาจเลิกจ้างได้
ลูกจ้างป่วยเป็นอัมพาตเนื่องจากเส้นเลือดในสมองตีบ ไม่สามารถปฏิบัติงานได้เป็นเหตุที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ แม้ตามระเบียบธนาคารออมสินจะให้อำนาจนายจ้างปลดลูกจ้างออกจากงานได้เมื่อลูกจ้างลาครบกำหนดระยะเวลาแล้วก็ตาม ก็เป็นเพียงให้สิทธิที่นายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างเท่านั้น จะถือว่าลูกจ้างกระทำผิดฝ่าฝืนระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างอย่างร้ายแรง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 47 หาได้ไม่ เมื่อเลิกจ้าง นายจ้างจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้ลูกจ้าง
เงินทุนเลี้ยงชีพประเภทสอง (บำเหน็จ) เป็นเงินที่นายจ้างผูกพันต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างตามระเบียบของนายจ้าง ส่วนค่าชดเชยเป็นเงินซึ่งประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ46 บังคับให้นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างสิทธิของลูกจ้างที่จะได้เงินบำเหน็จและค่าชดเชยจึงกำหนดให้โดยอาศัยกฎหมายและระเบียบต่างกัน ทั้งตามระเบียบดังกล่าวกำหนดให้ลูกจ้างซึ่งมีเวลาทำงานต่ำกว่า 5 ปี ไม่มีสิทธิรับเงินบำเหน็จ จึงเห็นได้ว่า ระเบียบของนายจ้างกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการจ่ายบำเหน็จแตกต่างกับประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว ซึ่งกำหนดให้ลูกจ้างประจำซึ่งทำงานติดต่อกันเพียงครบ 120 วัน ก็มีสิทธิได้รับค่าชดเชยแล้วดังนี้เงินทุนเลี้ยงชีพและค่าชดเชยเป็นเงินคนละประเภท การที่นายจ้างจ่ายเงินทุนเลี้ยงชีพให้ลูกจ้างแล้ว ไม่ทำให้นายจ้างพ้นความรับผิดที่จะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยอีก.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3594/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่ไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้างโดยไม่ได้รับความยินยอม ถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
ลูกจ้างทำหน้าที่เลขานุการกรรมการผู้จัดการของนายจ้างทำงานวันจันทร์ถึงวันเสาร์ระหว่างเวลา 8.30 นาฬิกาถึง 17 นาฬิกาเป็นประจำและได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือน นายจ้างมีคำสั่งให้ลูกจ้างไปทำงานเป็นพนักงานต้อนรับผู้โดยสารบนรถยนต์โดยสารและมีฐานะเป็นลูกจ้างรายวันค่าจ้างวันละ 73 บาท ต้องออกไปทำงานนอกสถานที่ในวันจันทร์ อังคาร และพุธ ตั้งแต่เวลาประมาณ 9 นาฬิกาถึง18 นาฬิกาหรือกว่านั้น จึงเป็นคำสั่งเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างอันไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้างโดยลูกจ้างมิได้ตกลงยินยอมด้วย คำสั่งจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ลูกจ้างไม่ปฏิบัติตามจะถือว่าลูกจ้างกระทำผิดต่อระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2706/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างและการมีอำนาจสั่งเลิกจ้าง: การสั่งให้ทำงานเป็นเหตุเลิกจ้างหรือไม่ และผู้มีอำนาจสั่งเลิกจ้างคือใคร
จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างของโจทก์ได้สั่งให้โจทก์ทำความสะอาดทางระบายน้ำเสีย โจทก์ไม่ยอมทำอ้างว่าสกปรกเกินไป ป.ภรรยาพ. ผู้จัดการห้างจำเลยจึงบอกแก่โจทก์ว่า "ถ้าทำไม่ได้ก็ต้องออกจากงาน" มิได้กล่าวให้เป็นกิจจะลักษณะว่าจำเลยจะเลิกจ้างโจทก์และ ป. มิได้เป็นผู้มีอำนาจทำการแทนนิติบุคคลจำเลย ทั้งไม่ปรากฏว่าได้รับมอบหมายจาก พ. ป. จึงไม่อยู่ในฐานะเป็นนายจ้างของโจทก์ ไม่มีอำนาจเลิกจ้างโจทก์ได้ การที่โจทก์ออกจากงานไปยังถือไม่ได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2631/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างย้อนหลังและการสิ้นสุดสภาพการจ้าง สิทธิค่าจ้างระหว่างพักงาน
จำเลยมีคำสั่งพักงานโจทก์เพื่อทำการสอบสวนโจทก์เรื่องกระทำผิดอาญาต่อจำเลย แม้จำเลยมิได้จ่ายค่าจ้างในระหว่างพักงานแก่โจทก์ สภาพการจ้างระหว่างโจทก์จำเลยก็ยังมีอยู่จนกว่าจำเลยจะมีคำสั่งเลิกจ้าง ต่อมาเมื่อจำเลยมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ โดยให้การเลิกจ้างมีผลย้อนหลังตั้งแต่วันที่จำเลยมีคำสั่งพักงานโจทก์เป็นต้นไป ดังนี้ สภาพการจ้างระหว่างโจทก์จำเลยย่อมเป็นอันสิ้นสุดลง โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างนับแต่วันที่การเลิกจ้างมีผล.
of 29