พบผลลัพธ์ทั้งหมด 285 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2631/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างและการสิ้นสุดสภาพการจ้าง: สิทธิในค่าจ้างหลังคำสั่งพักงานและผลของการเลิกจ้างย้อนหลัง
จำเลยมีคำสั่งพักงานโจทก์เพื่อทำการสอบสวนโจทก์เรื่องกระทำผิดอาญาต่อจำเลย แม้จำเลยมิได้จ่ายค่าจ้างในระหว่างพักงานแก่โจทก์สภาพการจ้างระหว่างโจทก์จำเลยก็ยังมีอยู่จนกว่าจำเลยจะมีคำสั่งเลิกจ้างต่อมาเมื่อจำเลยมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์โดยให้การเลิกจ้างมีผลย้อนหลังตั้งแต่วันที่จำเลยมีคำสั่งพักงานโจทก์เป็นต้นไป ดังนี้ สภาพการจ้างระหว่างโจทก์จำเลยย่อมเป็นอันสิ้นสุดลง โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างนับแต่วันที่การเลิกจ้างมีผล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2579/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกจ้างประจำ vs. สัญญาจ้างระยะเวลาแน่นอน: การจ่ายค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้าง
สัญญาจ้างที่จะถือว่าเป็นการจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนนั้นหมายถึงการจ้างซึ่งกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้ว่าจะจ้างกันกี่วัน กี่เดือน หรือกี่ปี เมื่อถึงกำหนดระยะเวลานั้นแล้วการจ้างเป็นอันระงับสิ้นสุดกันทันที และฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดหามีสิทธิบอกเลิกสัญญาก่อนกำหนดนั้นไม่ การเป็นลูกจ้างประจำหรือไม่อยู่ที่การงานของนายจ้างเป็นสำคัญ โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยซึ่งประกอบกิจการเดินเรือรับจ้างขนส่งสินค้าและคนโดยสารระหว่างประเทศ สภาพงานของจำเลยมิใช่มีลักษณะเป็นครั้งคราวเป็นการจรหรือเป็นเป็นไปตามฤดูกาลจึงต้องถือว่าโจทก์เป็นลูกจ้างประจำของจำเลย และเป็นกรณีที่จำเลยจ้างโจทก์โดยไม่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนดังนี้ เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์ไม่ได้กระทำความผิดและไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้า จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2355/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักเงินชดเชยออกจากเงินบำเหน็จ และการคิดดอกเบี้ยจากวันฟ้องในคดีแรงงาน
เงินบำเหน็จเป็นผลประโยชน์นอกเหนือไปจากค่าชดเชย ซึ่งกฎหมายกำหนดให้นายจ้างจ่ายเมื่อเลิกจ้าง นายจ้างจึงย่อมมีสิทธิที่จะกำหนดวิธีการจ่ายเงินบำเหน็จได้ตามที่เห็นสมควร ดังนั้น ข้อบังคับของนายจ้างที่ให้หักค่าชดเชยออกจากเงินบำเหน็จ จึงหาขัดต่อกฎหมายคุ้มครองแรงงานไม่ แต่เมื่อข้อบังคับของนายจ้างมิได้กำหนดให้นายจ้างมีสิทธิหักดอกเบี้ยของค่าชดเชยไว้ด้วย นายจ้างจึงไม่มีสิทธิหักดอกเบี้ยของค่าชดเชยออกจากเงินบำเหน็จ เมื่อไม่ปรากฏว่าลูกจ้างได้ทวงถามให้นายจ้างชำระสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและเงินบำเหน็จแก่ลูกจ้างเมื่อใดจะถือว่านายจ้างผิดนัดแล้วหาได้ไม่ ลูกจ้างมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากต้นเงินทั้งสองจำนวนดังกล่าวตั้งแต่วันฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2188/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างต่อเนื่อง/ขาดช่วง, การเลิกจ้าง, สิทธิค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
เมื่อระยะเวลาตามสัญญาจ้างสิ้นสุดลงแต่จำเลยมิได้เลิกจ้างโจทก์คงจ้าง ต่อมาอีก กรณีต้องถือว่าจำเลยจ้างโจทก์ต่อไปใหม่ โดยความอย่างเดียวกันกับสัญญาเดิมคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจจะบอกเลิกสัญญาเสียได้ด้วยการบอกกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 581 จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะจำเลยมีปัญหาด้านการเงินดังนี้เป็นการเลิกจ้างโจทก์โดยไม่มีความผิด และไม่บอกกล่าวล่วงหน้า จำเลยจึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยแก่โจทก์ สัญญาจ้างที่มีระยะเวลาการจ้างขาดช่วงไม่ต่อเนื่องกันต้องถือว่าจำเลยจ้างโจทก์ตามกำหนดระยะเวลาการจ้างของสัญญาแต่ละฉบับ ปัญหาว่าสัญญาจ้างเป็นการจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนหรือไม่เป็นปัญหาข้อกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 671/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม, การชำระหนี้, และข้อจำกัดในการอุทธรณ์คดีแรงงาน
หนังสือเลิกจ้างระบุเหตุเลิกจ้างโจทก์ว่า จำเลยไม่มีความจำเป็นที่จะจ้างโจทก์ต่อไป การที่ศาลแรงงานกลางฟังว่าจำเลยมีความจำเป็นต้องยุบเลิกตำแหน่งของโจทก์เพื่อปรับภาวะทางเศรษฐกิจของจำเลยจึงเป็นสาเหตุเดียวกัน แม้ศาลแรงงานกลางจะวินิจฉัยสาเหตุอื่นมาด้วยก็ไม่เป็นการนอกเหนือเหตุในหนังสือเลิกจ้าง และการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการเลิกจ้างโดยมีเหตุผลอันสมควรไม่เป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม จำเลยเสนอที่จะจ่ายเงินจำนวน 78,000 บาท ให้แก่โจทก์เมื่อเลิกจ้างโดยไม่มีความผูกพันจะต้องจ่าย แต่โจทก์ไม่สนองรับโดยมีหนังสือถึงธนาคารที่รับฝากเงินเดือนของโจทก์ห้ามมิให้รับเงินที่จำเลยจะจ่ายเข้าบัญชีของโจทก์ คำเสนอของจำเลยจึงสิ้นความผูกพันนับแต่วันที่โจทก์ปฏิเสธ จำเลยไม่ต้องจ่ายเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์อีก จำเลยเสนอจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์เท่ากับจำนวนตามฟ้องโดยจะนำเข้าบัญชีเงินฝากของโจทก์ แต่โจทก์กลับมีหนังสือถึงธนาคารมิให้ยอมรับเงินดังกล่าวเข้าบัญชีของโจทก์ ดังนี้ เป็นกรณีที่จำเลยได้ขอปฏิบัติการชำระหนี้โดยชอบแล้ว เมื่อโจทก์ปฏิเสธไม่รับชำระโดยปราศจากมูลเหตุอันจะอ้างกฎหมายได้ โจทก์จึงตกเป็นฝ่ายผิดนัด ไม่มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในเงินค่าชดเชยนับแต่วันที่จำเลยขอปฏิบัติการชำระหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 221
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 71/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม การคืนสิทธิประโยชน์ และการนับอายุงานต่อเนื่องหลังกลับเข้าทำงาน
จำเลยสั่งพักงานโจทก์ระหว่างสอบสวน เมื่อสอบสวนเสร็จแล้วได้มีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ โจทก์อุทธรณ์คำสั่ง จำเลยพิจารณาแล้วเห็นว่ายังไม่ปรากฎหลักฐานแน่ชัดว่าโจทก์ทำผิด จึงมีคำสั่งให้รับโจทก์กลับเข้าทำงาน ดังนี้ การที่โจทก์ไม่มีผลงานให้แก่จำเลยในชั่วระยะเวลานั้นมิใช่เป็นความผิดของโจทก์ การยกเลิกคำสั่งเลิกจ้างย่อมต้องถือเสมือนว่าคำสั่งเลิกจ้างไม่เคยมีมาก่อนความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์จำเลยที่สะดุดหยุดลงจึงต้องคืนเข้าสู่ภาวะเดิมโดยไม่ถือว่าขาดช่วงจำเลยตัดระยะเวลาการทำงานของโจทก์ในช่วงที่ถูกเลิกจ้างออกไม่ชอบด้วยความเป็นธรรมและหามีกฎหมายหรือข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยสนับสนุนหรือให้อำนาจไม่ ประกาศเรื่องเงินโบนัสของจำเลยมีว่า พนักงานที่ถูกพักงานโดยไม่ได้รับเงินเดือน... ฯลฯ ให้ได้รับเงินรางวัลประจำปีตามส่วนเฉลี่ยแห่งระยะเวลาการทำงานในปีงบประมาณ เดิมโจทก์ไม่ได้รับเงินเดือนในระหว่างถูกสั่งพักงาน ต่อมาจำเลยได้ยอมรับโจทก์กลับเข้าทำงานโดยจ่ายเงินเดือนให้ร้อยละสิบห้า เมื่อศาลแรงงานกลางได้วินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีมลทินมัวหมอง โจทก์มีสิทธิได้รับเงินเดือนเต็มจำนวนในช่วงถูกพักงาน ดังนี้ กรณีของโจทก์จึงไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ตามประกาศดังกล่าว จะให้โจทก์ได้รับเงินโบนัสแต่เพียงตามส่วนเฉลี่ยแห่งระยะเวลาการทำงานไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4754/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างไม่จำเป็นต้องใช้คำสั่งตรงตามกฎหมาย การกระทำแสดงเจตนาให้ผู้อื่นออกจากงานถือเป็นการเลิกจ้าง
การเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 46 วรรคสอง นั้น ไม่จำเป็นที่นายจ้างจะต้องมีคำสั่งโดยใช้ถ้อยคำเช่นนั้นตรง ๆ การใช้ถ้อยคำอย่างอื่นหรือกระทำการอย่างใดที่มีความหมายว่าให้ออก ปลดออก หรือไล่ออก ก็ถือว่าเป็นการเลิกจ้างได้การที่จำเลยได้ปฏิบัติต่อโจทก์เยี่ยงบุคคลภายนอก และได้ให้ผู้อื่นหาคนงานใหม่แทนโจทก์ พฤติการณ์ถือได้ว่าเป็นการเลิกจ้าง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3181/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกจ้างทดลองปฏิบัติงาน: สิทธิในการเลิกจ้างและการคุ้มครองทางกฎหมาย
ลูกจ้างที่ทดลองปฏิบัติงานอาจเป็นลูกจ้างประจำได้ แต่ยังหาใช่เป็นลูกจ้างประจำสมบูรณ์อันจะพึงมีสิทธิตามกฎหมายเยี่ยงลูกจ้างประจำโดยทั่วไปไม่ ดังนั้น นายจ้างอาจมีสิทธิเลิกจ้างได้ในระหว่างทดลองปฏิบัติงานโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า ไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2875/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างรัฐวิสาหกิจที่ขาดคุณสมบัติสัญชาติไทย: ค่าชดเชย, ดอกเบี้ย, และเงินบำเหน็จ
การที่นายจ้างซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจให้ลูกจ้างออกจากงานเพราะเหตุขาดคุณสมบัติเนื่องจากไม่มีสัญชาติไทยนั้นถือว่าเป็นการเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 อันนายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยแต่นายจ้างไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้า และไม่จำต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าในกรณีดังกล่าว เพราะเป็นการเลิกจ้างตามกฎหมายว่าด้วยคุณสมบัติ มิได้เกี่ยวกับระยะเวลาการจ้างจะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582มาใช้บังคับไม่ได้ ค่าชดเชยเป็นเงินที่กฎหมายบังคับให้นายจ้างจ่ายแก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง จึงเป็นหนี้เงินที่กฎหมายกำหนดเวลาชำระไว้แน่นอนแล้ว นายจ้างจึงต้องชำระดอกเบี้ยแก่ลูกจ้างในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันเลิกจ้างโดยลูกจ้าง มิพักต้องทวงถาม ส่วนเงินบำเหน็จกฎหมายมิได้บังคับให้นายจ้างต้องจ่ายแก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง และไม่ปรากฏว่าลูกจ้างได้ทวงถามให้นายจ้างชำระแต่เมื่อใดนายจ้างจึงต้องชำระดอกเบี้ยในอัตราเดียวกันนับแต่วันฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2875/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างรัฐวิสาหกิจเนื่องจากขาดคุณสมบัติสัญชาติไทย: ค่าชดเชย, ดอกเบี้ย, และเงินบำเหน็จ
การที่นายจ้างซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจให้ลูกจ้างออกจากงานเพราะเหตุขาดคุณสมบัติเนื่องจากไม่มีสัญชาติไทยนั้นถือว่าเป็นการเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 อันนายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยแต่นายจ้างไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้า และไม่จำต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าในกรณีดังกล่าว เพราะเป็นการเลิกจ้างตามกฎหมายว่าด้วยคุณสมบัติ มิได้เกี่ยวกับระยะเวลาการจ้างจะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582มาใช้บังคับไม่ได้ ค่าชดเชยเป็นเงินที่กฎหมายบังคับให้นายจ้างจ่ายแก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง จึงเป็นหนี้เงินที่กฎหมายกำหนดเวลาชำระไว้แน่นอนแล้ว นายจ้างจึงต้องชำระดอกเบี้ยแก่ลูกจ้างในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันเลิกจ้างโดยลูกจ้าง มิพักต้องทวงถาม ส่วนเงินบำเหน็จกฎหมายมิได้บังคับให้นายจ้างต้องจ่ายแก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง และไม่ปรากฏว่าลูกจ้างได้ทวงถามให้นายจ้างชำระแต่เมื่อใดนายจ้างจึงต้องชำระดอกเบี้ยในอัตราเดียวกันนับแต่วันฟ้อง