พบผลลัพธ์ทั้งหมด 285 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1748/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการฟ้องร้องค่าชดเชยก่อนเกิดข้อพิพาท: กรณีเกษียณอายุพนักงานรัฐวิสาหกิจ
พ.ร.บ. คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจพ.ศ. 2518 มาตรา 11 บัญญัติให้พนักงานรัฐวิสาหกิจเช่น พนักงานยาสูบที่มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ในปีงบประมาณ 2530 พ้นจากตำแหน่งเมื่อสิ้นปีงบประมาณ อันหมายถึงสิ้นเดือนกันยายน 2530 ซึ่งจำเลยจะต้องดำเนินการให้พนักงานยาสูบผู้นั้นออกจากงานอันเป็นการเลิกจ้างตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2530 เป็นต้นไป และทำให้พนักงานยาสูบดังกล่าวมีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานนับแต่วันเลิกจ้าง หากจำเลยไม่จ่ายค่าชดเชยให้ก็ต้องถือว่าพนักงานยาสูบผู้นั้นถูกโต้แย้งสิทธินับแต่วันดังกล่าว แต่ขณะที่สหภาพแรงงานโจทก์นำคดีมาฟ้องยังไม่มีพนักงานยาสูบซึ่งเป็นสมาชิกของโจทก์คนใดถูกโต้แย้งสิทธิในกรณีเช่นว่านี้ ดังนั้น โจทก์จึงยังไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยไว้ล่วงหน้าตามคำขอของโจทก์ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1614/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิลูกจ้างต่างชาติภายใต้กฎหมายคุ้มครองแรงงาน แม้มีข้อตกลงจ้างงานพิเศษ ก็ไม่อาจละเลยสิทธิขั้นพื้นฐาน
แม้การจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นสัญญาจ้างแรงงานตาม ป.พ.พ. ลักษณะ 6 จ้างแรงงานก็ตาม แต่ลักษณะและพฤติการณ์แห่งการจ้างดังกล่าวนั้นก็หาพ้นความหมายของคำว่า "นายจ้าง ลูกจ้างลูกจ้างประจำ" ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงานลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 2 ไม่ แม้โจทก์เป็นชาว ต่างประเทศแต่ได้ทำสัญญาจ้างแรงงานกับจำเลยที่ 1 ในประเทศไทย สถานประกอบการอยู่ในประเทศไทย มีข้อพิพาทแรงงานกันในประเทศไทยจึงชอบที่จะฟ้องร้องและบังคับกันได้ตามประมวลกฎหมายไทยทุกฉบับที่เกี่ยวข้องเมื่อประเทศไทยประกาศใช้กฎหมายคุ้มครองแรงงานเป็นการเฉพาะ อยู่แล้วการจะหวนกลับไปใช้ ป.พ.พ. อันเป็นกฎหมายทั่วไปแต่ฉบับเดียวหาชอบไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1255/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อบังคับกองทุนบำเหน็จของ อ.ส.ม.ท. สามารถใช้บังคับแทนค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงานได้
ข้อบังคับของจำเลยกำหนดว่า ในกรณีที่จำเลยจะต้องจ่ายเงินค่าชดเชยให้แก่ผู้ปฏิบัติงานผู้ใดตามกฎหมายแรงงานก็ให้จ่ายเงินค่าชดเชยจากกองทุนบำเหน็จ และผู้ปฏิบัติงานไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จตามข้อบังคับนี้อีก เว้นแต่เงินบำเหน็จที่คำนวณตามข้อบังคับนี้มากกว่าเงินค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน ก็ให้จ่ายเงินบำเหน็จส่วนที่มากกว่านั้นให้แก่ผู้ปฏิบัติงานผู้นั้น ข้อบังคับดังกล่าวไม่ขัดต่อกฎหมายและใช้บังคับได้แม้จะเป็นการจำกัดสิทธิของผู้ปฏิบัติงานอยู่บ้าง แต่ความในมาตรา 28 แห่ง พ.ร.ฎ.จัดตั้งองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2520 ก็หาได้บัญญัติห้ามจำเลยที่จะกำหนดหลักเกณฑ์ดังกล่าวไม่ แม้โจทก์เป็นพนักงานของจำเลยมาก่อนวันที่ประกาศใช้ข้อบังคับดังกล่าว แต่เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่า ก่อนวันใช้ข้อบังคับดังกล่าวจำเลยได้เคยมีข้อบังคับว่าด้วยกองทุนบำเหน็จไว้อันพึงนำมาวินิจฉัยว่าโจทก์เคยมีสิทธิอย่างไร และข้อบังคับของจำเลยฉบับนี้ตัดสิทธิของโจทก์ประการใด ดังนั้นเมื่อโจทก์ถูกเลิกจ้างหลังจากวันประกาศใช้ข้อบังคับสิทธิของโจทก์จะได้รับเงินบำเหน็จหรือไม่เพียงใด ก็ย่อมเป็นไปตามข้อบังคับของจำเลยฉบับที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเลิกจ้าง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 834/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงข้อตกลงสภาพการจ้างที่ส่งผลกระทบต่อสิทธิประโยชน์ของลูกจ้างกรณีเงินบำเหน็จและค่าชดเชย
ระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จพนักงานของบริษัทไทยโทรทัศน์ จำกัดพ.ศ. 2507 ที่จำเลยนำมาใช้บังคับแก่พนักงานและลูกจ้างของจำเลยในระหว่างที่จำเลยยังไม่ออกข้อบังคับองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 32 ว่าด้วยกองทุนบำเหน็จมาใช้บังคับนั้น ถือได้ว่าเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง เมื่อจำเลยออกข้อบังคับ ฉบับที่32 มาใช้บังคับแตก ต่างออกไป ย่อมเป็นการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ทำให้สิทธิของโจทก์ที่จะได้รับเงินบำเหน็จเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ไม่เป็นคุณแก่โจทก์ เพราะตามระเบียบเดิม กรณีของโจทก์ที่ออกจากงานเพราะเหตุเกษียณอายุโจทก์มีสิทธิได้รับทั้งเงินบำเหน็จและค่าชดเชย แต่ตามข้อบังคับของจำเลย ฉบับที่ 32 โจทก์กลับมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จเพียงเฉพาะส่วนที่เกินกว่าจำนวนค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 46 เท่านั้น จึงนำมาใช้บังคับในกรณีของโจทก์ไม่ได้เพราะต้องห้ามตาม พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์พ.ศ. 2518 มาตรา 20 แม้จำเลยจะได้จ่ายเงินบำเหน็จให้แก่โจทก์รับไปตามข้อบังคับดังกล่าว ก็ไม่ตัดสิทธิของโจทก์ที่จะฟ้องเรียกค่าชดเชยจากจำเลยอีก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 194/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างต้องพิจารณาเหตุผลความจำเป็น หากมีเหตุสมควร การเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยเป็นโมฆะ
วันที่ 8-10 พฤษภาคม 2529 โจทก์ไม่ได้ไปทำงานตามปกติเนื่องจากวันที่ 8 บุตรโจทก์ป่วยมาก โจทก์จะต้องคอยดูแล บุตรอย่างใกล้ชิดส่วนวันที่ 9 และ 10 นั้น ฝนตก มากน้ำท่วมถนนสายที่โจทก์จะต้องเดิน ทางไปทำงาน และโทรศัพท์เสียหายเป็นจำนวนมาก โจทก์อยู่ไกลจากสถานที่ทำงาน ไม่สามารถเดิน ทางไปทำงานและแจ้งให้จำเลยทราบทาง โทรศัพท์ได้ การที่โจทก์ไม่ได้ไปทำงานตามปกติ เนื่องจากมีเหตุจำเป็น มิใช่เป็นการจงใจละทิ้งหน้าที่การงาน หรือฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย เมื่อโจทก์มาทำงานทราบว่าผู้จัดการฝ่ายบุคคลสั่งให้โจทก์ไปพบ แต่โจทก์ไม่ไปพบ แม้จะฟังว่าเป็นการขัดคำสั่งนายจ้างก็ตาม แต่ก็ยังถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีร้ายแรงอันไม่จำต้องตักเตือน เมื่อจำเลยไม่เคยตักเตือนโจทก์เป็นหนังสือจำเลยจะเลิกจ้างโจทก์โดยไม่จ่ายค่าชดเชยตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยหาได้ไม่ เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยอาศัยเหตุดังกล่าว จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 251-253/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแรงงานกลางในคดีจ้างงานต่างประเทศ และการจ้างงานไม่มีกำหนดระยะเวลา
โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยทำงานให้แก่จำเลยในประเทศไทยมูลคดีที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าจ้างค้างจ้าย ค่าทำงานล่วงเวลาสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าชดเชย และค่าเสียหายในการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมเกิดขึ้นในประเทศไทยแม้จำเลยจะมิได้มีภูมิลำเนาในประเทศไทย โจทก์ก็ชอบที่จะเสนอคดีต่อศาลแรงงานกลางได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 33.
แม้อายุสัญญาขุดเจาะน้ำมันระหว่างจำเลยกับบริษัท ท. จะกำหนดเวลาไว้แน่นอน แต่โจทก์กับจำเลยมิได้ตกลงจ้างกันเพียงหมดอายุสัญญาระหว่างจำเลยกับบริษัท ท.คราวใดคาวหนึ่ง การจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงหาใช่การจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาแน่นอนไม่.
แม้อายุสัญญาขุดเจาะน้ำมันระหว่างจำเลยกับบริษัท ท. จะกำหนดเวลาไว้แน่นอน แต่โจทก์กับจำเลยมิได้ตกลงจ้างกันเพียงหมดอายุสัญญาระหว่างจำเลยกับบริษัท ท.คราวใดคาวหนึ่ง การจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงหาใช่การจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาแน่นอนไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4114/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างหลังการพิทักษ์ทรัพย์: หน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการชำระหนี้ค่าชดเชย
เมื่อจำเลยที่ 1(ลูกหนี้) ถูกพิทักษ์ทรัพย์แล้วย่อมหมดอำนาจ ที่จะดำเนินกิจการงานของตนต่อไป แต่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจตามกฎหมายที่จะจัดการหรือกระทำการ ที่จำเป็นเพื่อให้กิจการของจำเลยที่ 1 ที่ค้างอยู่เสร็จสิ้นไปแทน จำเลยที่ 1 และไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติว่าลูกจ้างของลูกหนี้ หมดสิทธิที่จะทำงานให้ลูกหนี้ต่อไปดังนั้นเมื่อจำเลยที่ 2 บอกเลิกจ้างโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 เงินค่าชดเชยซึ่งกฎหมายแรงงานบังคับให้จำเลยที่ 1 ต้องจ่าย ให้แก่โจทก์นั้นเกิดขึ้นหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว ย่อมเป็นหนี้ที่ไม่อาจขอรับชำระได้ตามมาตรา94 แห่ง พระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 แต่เมื่อจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้จัดการกิจการทรัพย์สินแทน จำเลยที่ 1 แล้วเกิดมีเงินที่กฎหมายบังคับให้จ่ายเกิดขึ้น จำเลยที่ 2 ก็มีหน้าที่ต้องเอาเงินของจำเลยที่ 1 จ่ายแทนจำเลยที่ 1 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ให้จ่ายเงินค่าชดเชยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3999/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาตัวแทนประกันชีวิต: เจตนาคู่สัญญา, สิทธิและฐานะของตัวแทน ไม่ถือเป็นลูกจ้าง
กรณีที่คู่สัญญาตกลงทำสัญญาเป็นหนังสือ เจตนาของคู่สัญญาซึ่งประสงค์จะให้สัญญามีผลผูกพันกันอย่างไร ย่อมแสดงออกโดยข้อความในสัญญาโจทก์ทำสัญญาเป็นตัวแทนประกันชีวิตของจำเลยมีหน้าที่ชักชวนบุคคลเข้าทำสัญญาประกันชีวิตกับจำเลยหรือที่เรียกว่าขายประกันชีวิต ข้อความในสัญญาระบุว่าตัวแทนประกันชีวิตไม่มีอำนาจออกกรมธรรม์หรือสัญญาประกันชีวิตแทนบริษัท และความผูกพันระหว่างบริษัทกับตัวแทนประกันชีวิตเป็นไปในฐานะตัวการกับตัวแทนรับมอบอำนาจเฉพาะการเท่านั้นไม่ใช่ในฐานะบริษัทกับพนักงานหรือลูกจ้างของบริษัท ดังนี้เห็นได้ว่าโจทก์จำเลยมีเจตนาที่จะผูกพันต่อกันในฐานะเป็นตัวการกับตัวแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ3 ลักษณะ 15 หาได้มีความประสงค์จะผูกพันกันอย่างลูกจ้างกับนายจ้างไม่ นอกจากนี้ฐานะและสิทธิของโจทก์ก็ยังแตกต่างจากลูกจ้างของจำเลยโดยโจทก์มีสิทธิได้รับค่านายหน้าจาก การขายประกันชีวิตตอบแทนเป็นรายๆไปและมีสิทธิได้รับประโยชน์ตามระเบียบสำหรับตัวแทนประกันชีวิตโดยเฉพาะโจทก์ไม่มีสิทธิ ได้รับผลประโยชน์ เช่นโบนัสค่าครองชีพ หรือเบี้ยเลี้ยงเช่นลูกจ้างทั่วไป ของจำเลยแม้จำเลยจะจัดให้โจทก์สังกัดหน่วยงานของจำเลย และโจทก์ต้องลงเวลาทำงานเมื่อขาดงานต้องลาหรือขออนุญาตผู้บังคับบัญชา ก็เป็นเรื่องปฏิบัติตามเงื่อนไขของสัญญาเพื่อให้ กิจการของจำเลยมีประสิทธิภาพและรัดกุมซึ่งโจทก์จำเลย ทำความตกลงกันได้มิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ต้องทำงานตามคำสั่ง หรือการบังคับบัญชาของจำเลย ทั้งไม่ปรากฏว่ากรณีที่โจทก์ฝ่าฝืน ต่อระเบียบดังกล่าวจำเลยมีอำนาจลงโทษโจทก์เป็นประการอื่นนอกจาก เลิกสัญญา ถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นลูกจ้างประจำของจำเลย เมื่อจำเลย เลิกจ้างโจทก์เพราะผลงานของโจทก์ต่ำกว่าข้อกำหนดโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกเงินค่าชดเชย ค่าจ้าง และสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3895/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินช่วยเหลือต่างๆ และเงินเดือนเดือนที่ 13 ไม่เป็นค่าจ้างในการคำนวณบำเหน็จ ค่าชดเชย และค่าล่วงเวลา
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยกำหนดว่าลูกจ้างซึ่งทำงานที่ท่าอากาศยานดอนเมืองจะได้รับเงินช่วยค่าอาหารเดือนละ 600 บาท เงินช่วยค่าพาหนะเดือนละ 350 บาท หากแต่งเครื่องแบบของบริษัท จำเลยจะได้รับเงินช่วยค่าซักรีดเดือนละ150 บาทดังนี้ เห็นได้ว่า ลูกจ้างซึ่งทำงานที่ท่าอากาศยานดอนเมืองต้องเสียค่าอาหารค่าพาหนะ มากกว่าลูกจ้างซึ่งทำงานที่หน่วยงานอื่นหรือต้องเสียค่าซักเครื่องแบบซึ่งเป็นเครื่องแบบของจำเลยจำเลยจึงจ่ายเงินช่วยเหลือดังกล่าวเพื่อชดเชย ค่าใช้จ่ายนั้นๆ หาใช่เป็นการจ่ายตอบแทนการทำงานไม่เงินดังกล่าว จึงไม่เป็นค่าจ้าง
จำเลยจ่ายเงินเดือนเดือนที่ 13 ในเดือนธันวาคมของแต่ละปีให้ลูกจ้างตามข้อบังคับฯ โดยไม่มีการทำงานในเดือนที่13 เงินเดือน เดือนที่ 13 จึงเป็นการจ่ายให้เพื่อแสดงน้ำใจและเพื่อให้เกิด ความสัมพันธ์อันดีระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างไม่เป็นการตอบแทน การทำงานโดยตรงจึงไม่เป็นค่าจ้าง
จำเลยจ่ายเงินเดือนเดือนที่ 13 ในเดือนธันวาคมของแต่ละปีให้ลูกจ้างตามข้อบังคับฯ โดยไม่มีการทำงานในเดือนที่13 เงินเดือน เดือนที่ 13 จึงเป็นการจ่ายให้เพื่อแสดงน้ำใจและเพื่อให้เกิด ความสัมพันธ์อันดีระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างไม่เป็นการตอบแทน การทำงานโดยตรงจึงไม่เป็นค่าจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3556-3557/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนคำสั่งลงโทษทางวินัยและการต่อเนื่องของสัญญาจ้างงาน ไม่อาจถือเป็นการเลิกจ้าง
โจทก์ทั้งสองเล่นการพนันนอกเวลาปฏิบัติงานผู้จัดการเขต 11 ของจำเลยซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาชั้นต้นพิจารณาความผิดทางวินัยแล้วมี คำสั่งไล่โจทก์ทั้งสองออกจากงานโจทก์ทั้งสองอุทธรณ์คำสั่งต่อ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ เห็นว่าควรลงโทษเพียงขั้นตัดเงินเดือนแล้วเสนอความเห็นไปยัง ผู้อำนวยการของจำเลยผู้อำนวยการซึ่งมีคำสั่งยกเลิกคำสั่งของ ผู้จัดการเขต11แล้วสั่งลงโทษโจทก์ทั้งสองใหม่เป็นตัดค่าจ้าง เดือนละ200บาทมีกำหนด 6 เดือนและให้โจทก์ทั้งสองกลับเข้า ทำงานตามเดิมดังนี้ เป็นผลให้คำสั่งของผู้จัดการเขต11ถูกเพิกถอน หรือลบล้างไปในตัวต้องถือเสมือนหนึ่งว่าจำเลยยังมิได้สั่งลงโทษ โจทก์ทั้งสองโจทก์ทั้งสองกับจำเลยจึงมีความสัมพันธ์เป็นนายจ้าง ลูกจ้างกันเช่นเดิมติดต่อกันตลอดมาโดยไม่ขาดตอนถือไม่ได้ว่า จำเลยได้เลิกจ้างโจทก์ทั้งสองแล้วและรับกลับเข้ามาเป็นลูกจ้างใหม่ โจทก์ทั้งสองไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหาย