คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 285 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 46/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนย้ายลูกจ้างถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม หากลูกจ้างไม่ยินยอมและนายจ้างจ้างบุคคลอื่นแทน
การที่จำเลยได้สั่งโอนโจทก์ไปทำงานกับบริษัท ซ. ที่เมืองฮ่องกง เป็นการเปลี่ยนตัวนายจ้างจากจำเลยไปเป็นบริษัท ซ.ซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างหากจากจำเลยโดยให้โจทก์ไปทำสัญญากับบริษัทซ. ใหม่ และให้ตำแหน่งของโจทก์ในบริษัทจำเลยสิ้นสุดลงกับจ้างบุคคลอื่นทำงานแทนเช่นนี้ เป็นการโอนสิทธิของนายจ้างไปยังบุคคลภายนอก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 577 จะต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างด้วยจึงจะกระทำได้ เมื่อโจทก์ไม่ยินยอมโดยไม่ยอมทำสัญญาจ้างฉบับใหม่กับบริษัท ซ. แต่จำเลยก็ยังให้โจทก์พ้นจากตำแหน่งและจ้างบุคคลอื่นดำรงตำแหน่งแทน กรณีจึงเป็นเรื่องจำเลยเลิกจ้างโจทก์ คำให้การจำเลยไม่ได้ระบุว่าโอนย้ายโจทก์เพราะโจทก์กระทำผิดใด ๆ และตามหนังสือจำเลยที่มีถึงโจทก์ก็ระบุชัดว่าจำเลยยินยอมให้โอนโจทก์ไปทำงานในบริษัท ซ. ที่เมืองฮ่องกง ให้ตำแหน่งของโจทก์ในบริษัทจำเลยสิ้นสุดลง เมื่อฟังได้ว่าการสั่งโอนโจทก์ไปทำงานที่เมืองฮ่องกงเป็นการเลิกจ้าง การเลิกจ้างโจทก์ครั้งนี้จึงเป็นการเลิกจ้างโดยโจทก์ไม่ได้กระทำผิด เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4101/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าชดเชยและบำเหน็จสำหรับลูกจ้างเกษียณอายุ การคำนวณตามข้อบังคับบริษัทที่สอดคล้องกับกฎหมาย
ตามระเบียบข้อบังคับของจำเลย ข้อ 29.2 ระบุว่า ลูกจ้างที่ทำงานครบ 101/2 ปีขึ้นไป ให้คิดบำเหน็จและค่าชดเชยตามข้อบังคับเรื่องเงินบำเหน็จค่าชดเชยและเงินทดแทนข้อ 1(2)ลงวันที่ 1 พฤศจิกายน 2526 โจทก์ทั้งหกทำงานมานานเกินกว่า101/2 ปีขึ้นไป จึงอยู่ในเกณฑ์ที่ต้องนำมาคำนวณได้แม้ข้อบังคับดังกล่าวมีข้อความระบุว่า ลูกจ้างที่ทำงาน1 ปีขึ้นไป แต่ไม่ครบ 3 ปี จำเลยจ่ายค่าชดเชยต่ำกว่าประกาศของกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46ก็ตาม ข้อบังคับในส่วนนี้ก็ไม่มีผลบังคับตามกฎหมาย และไม่ได้กระทบกระเทือนถึงสิทธิของโจทก์ทั้งหก เพราะโจทก์ทั้งหกทำงานมานานเกินกว่า 24 ปี สามารถคำนวณตามเกณฑ์ข้อบังคับการจ่ายเงินข้อ 29.2 ได้ เมื่อจำเลยจ่ายค่าชดเชยและเงินบำเหน็จให้แก่โจทก์ทั้งหกตามข้อบังคับข้อ 29.2 ไปครบถ้วนแล้ว โจทก์ทั้งหกจึงเรียกเอาค่าชดเชยซ้ำอีกไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3080/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินบำเหน็จตามระเบียบข้อบังคับนายจ้าง ไม่ถือเป็นค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
ระเบียบข้อบังคับของนายจ้างมีข้อความว่า "อัตราการจ่ายเงินจำนวนเท่ากับอัตราเงินเดือนหรือค่าจ้างปกติในขณะนั้น หนึ่งเดือนทุกเวลาหนึ่งปีเต็มที่ผู้นั้นได้ทำงานกับบริษัทโดยติดต่อกัน หักด้วยเงินชดเชยการบอกเลิกจ้างล่วงหน้าหรือเงินทดแทนอื่นใดในการสูญเสียงาน ซึ่งพนักงานผู้นั้นมีสิทธิได้รับตามข้อความในสัญญาจ้างหรือกฎหมาย" คำว่า "เงินชดเชยการบอกกล่าวเลิกจ้างล่วงหน้า" นั้นมีความหมายชัดเจนว่าหมายถึงเงินที่ให้แทนการบอกเลิกจ้างล่วงหน้า ไม่อาจแปลว่าเป็นเงิน"ค่าชดเชย" ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3019/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อบังคับนายจ้างกำหนดอัตราค่าชดเชยสูงกว่ากฎหมาย ถือเป็นการจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมาย
เมื่อข้อบังคับเรื่องเงินบำเหน็จ ค่าชดเชย และเงินทดแทนของนายจ้างกำหนดให้จ่ายเงินบำเหน็จและค่าชดเชยแก่ลูกจ้างตามจำนวนปีทำงานของลูกจ้าง ประกอบกับจำนวนค่าชดเชยที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างตามข้อบังคับดังกล่าวก็เป็นไปตามอัตราค่าชดเชยในข้อ 46 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ทั้งนายจ้างได้จ่ายค่าชดเชยและเงินบำเหน็จให้แก่ลูกจ้างสูงกว่าอัตราค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงานด้วย ข้อบังคับของนายจ้างดังกล่าวจึงมีผลใช้บังคับได้ ถือว่าเป็นการจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2434/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการรับเงินชดเชยและเงินบำเหน็จของลูกจ้างตามกฎหมายและระเบียบของนายจ้าง
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน กำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างเท่านั้น มิได้กำหนดเรื่องการจ่ายเงินบำเหน็จแต่อย่างใด ลูกจ้างจะมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จจากนายจ้างหรือไม่เพียงใด ย่อมต้องแล้วแต่ระเบียบข้อบังคับของนายจ้างหรือข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ได้กำหนดไว้คดีนี้ระเบียบข้อบังคับของจำเลยหรือข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างไม่ได้กำหนดให้จำเลยจ่ายเงินบำเหน็จให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างแต่ได้กำหนดให้จำเลยจ่ายเพียงเงินชดเชยเท่านั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกเงินบำเหน็จจากจำเลย แม้ระเบียบข้อบังคับของจำเลยจะได้กำหนดหลักเกณฑ์ให้ลูกจ้างได้รับเงินชดเชยในกรณีลาออกไว้ด้วยก็เป็นการกำหนดเพิ่มเติมนอกเหนือจากหลักเกณฑ์ตามที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 ซึ่งกำหนดให้จ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้างเฉพาะกรณีเลิกจ้างเท่านั้นก็ตาม แต่การกำหนดหลักเกณฑ์เช่นนี้เป็นคุณแก่ลูกจ้างมากกว่า จึงไม่เป็นการขัดหรือแย้งกับหลักเกณฑ์ตามที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงานแต่อย่างใด เมื่อจำเลยจ่ายเงินชดเชยตามระเบียบข้อบังคับของจำเลยให้แก่โจทก์ไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายหนึ่งร้อยแปดสิบวันตามที่ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46(3) กำหนดไว้ เงินชดเชยดังกล่าวจึงเป็นค่าชดเชยไม่อาจจะแปลว่าเป็นเงินบำเหน็จ ดังที่โจทก์อ้างได้โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าชดเชยจากจำเลยซ้ำอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 654/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งและสิทธิประโยชน์
การคำนวณค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ให้ถือเอาอัตราค่าจ้างสุดท้ายเป็นฐานในการคำนวณ ส่วนสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 582 ต้องถือเอาตามจำนวนสินจ้างที่ลูกจ้างควรได้รับการเลิกจ้าง เมื่อโจทก์มิได้ดำรงตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายขายตั้งแต่วันที่23 กันยายน 2533 ต่อมาวันที่ 9 เมษายน 2534 จึงถูกเลิกจ้างโจทก์จึงไม่มีสิทธินำเงินส่วนแบ่งการขายจำนวนเดือนละ 300,000 บาท มาเป็นฐานคำนวณค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า เมื่อศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยไม่ได้ค้างชำระค่าส่วนแบ่งการขายเพราะโจทก์ไปดำรงตำแหน่งอื่น โจทก์ก็ไม่มีสิทธิได้การที่โจทก์อุทธรณ์ว่าโจทก์ยังมีสิทธิได้เป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงไม่ชอบด้วย พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 54 จำเลยไม่เคยยกเหตุที่โจทก์ยักยอกเงิน 40,000 บาท ของจำเลยในคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ จึงไม่มีเหตุดังกล่าวที่จำเลยจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้คดีของโจทก์ว่าจำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 654/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าต้องพิจารณาจากค่าจ้างสุดท้าย และการยกเหตุเลิกจ้างนอกเหนือจากที่ระบุในคำสั่งเลิกจ้างทำไม่ได้
การคำนวณค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 นั้น ให้ถือค่าจ้างอัตราสุดท้ายของลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างเป็นฐานในการคำนวณ ส่วนการคำนวณสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 ก็ต้องถือตามจำนวนสินจ้างที่ลูกจ้างควรจะได้รับในระยะเวลาที่นายจ้างเลิกสัญญาจ้างนั้น เมื่อจำเลยมิได้ยกเอาเหตุที่โจทก์ยักยอกเงินของจำเลยขึ้นอ้างในคำสั่งเลิกจ้าง ข้อต่อสู้ของจำเลยที่ว่าโจทก์ยักยอกเงินของจำเลยไป จึงเป็นเหตุหรือข้ออ้างที่อยู่นอกเหนือจากที่ระบุไว้ในคำสั่งเลิกจ้างของจำเลย จำเลยจึงไม่อาจยกเหตุดังกล่าวขึ้นต่อสู้โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 585/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างที่มีกำหนดวันสิ้นสุด หากนายจ้างไม่ต่อสัญญา ถือเป็นการเลิกจ้าง ต้องจ่ายค่าชดเชย
แม้สัญญาจ้างระหว่างโจทก์และจำเลยจะเป็นสัญญาจ้างที่มีกำหนดวันเริ่มต้นและวันสิ้นสุดของการจ้าง ผลของสัญญาทำให้ลูกจ้างต้องออกจากงานเมื่อสัญญาจ้างสิ้นสุดลงก็ตาม ก็อยู่ในความหมายของการเลิกจ้างตามนัยข้อ 46 วรรคสอง แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษ มีวัตถุประสงค์ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้นที่เลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามข้อ 46 วรรคสาม จึงต้องตีความเพื่อให้เป็นผลใช้บังคับได้ มิฉะนั้นความในข้อ 46 วรรคสามจะไร้ผล การที่จำเลยแสดงเจตนาต่อโจทก์ว่าไม่ต่อสัญญาจ้างให้อันมีผลทำให้จำเลยต้องออกจากงาน จึงต้องถือว่าเป็นการที่จำเลยให้โจทก์ออกจากงานอันเป็นการเลิกจ้างตามความหมายในข้อ46 วรรคสอง ดังกล่าว จำเลยให้การเพียงว่า โจทก์ปฏิบัติผิดระเบียบของจำเลยตลอดมากล่าวคือ มาปฏิบัติงานไม่ตรงเวลา ละทิ้งหน้าที่โดยไม่บอกกล่าวเป็นเหตุให้การผลิตยาต้องหยุดชะงัก ซึ่งทำให้ได้ปริมาณและคุณภาพด้อยลง จำเลยได้ว่ากล่าวตักเตือนหลายครั้ง แต่โจทก์เพิกเฉยไม่ปรับปรุงตัว ทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย โดยจำเลยหาได้ให้การโดยชัดแจ้งว่า โจทก์ได้กระทำการใดเข้าลักษณะความผิดดังระบุไว้ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47กรณีหนึ่งกรณีใดอันจะเข้าหลักเกณฑ์ในกรณีเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแต่อย่างใดไม่ จึงไม่มีประเด็นในคดีที่จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยที่ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้กระทำความผิดตามข้อ 47 และไม่เข้าข้อยกเว้นที่ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามข้อ 46 วรรคสาม จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 585/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แม้สัญญาจ้างมีกำหนดสิ้นสุด แต่การแจ้งไม่ต่อสัญญาถือเป็นการเลิกจ้าง ต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
แม้สัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยจะมีกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดการจ้างไว้และจำเลยจะได้มีหนังสือแจ้งแก่โจทก์ว่าไม่ประสงค์จะต่อสัญญาจ้างให้ก่อนวันสิ้นสุดสัญญา อันเป็นผลให้สัญญาจ้างสิ้นสุดลงโดยผลแห่งสัญญาก็ตาม แต่การแสดงเจตนาของจำเลยเช่นว่านี้ก็เป็นผลให้โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างต้องออกจากงาน จึงต้องถือว่าเป็นการเลิกจ้าง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ 46 วรรคสอง เมื่อลักษณะงานที่โจทก์ทำไม่เข้าข้อยกเว้นตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 วรรคสามจำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 541/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างแรงงาน: การตอกบัตรแทนไม่ใช่ความผิดร้ายแรง แต่จงใจขัดคำสั่งนายจ้างเป็นเหตุเลิกจ้างได้
การที่โจทก์ได้ใช้ผู้อื่นตอกบัตรลงเวลาทำงานแทนให้แก่โจทก์แต่โจทก์ก็ได้เข้าทำงานก่อนเวลาทำงานปกตินั้น มิใช่เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานเป็นกรณีร้ายแรงตามที่กำหนดไว้ ในข้อ 47(3) ของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ 46 แต่เมื่อศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์จงใจขัดคำสั่งดังกล่าวจำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้โดยมิ พักต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่จำต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์ตามป.พ.พ. มาตรา 583.
of 29