พบผลลัพธ์ทั้งหมด 285 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 136/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งเลิกจ้างย้อนหลังไม่ชอบ การจ่ายค่าจ้างช่วงพักงานยังคงมีผลบังคับใช้
จำเลยมีคำสั่งพักงานโจทก์เพื่อรอฟังผลที่โจทก์ถูกดำเนินคดีอาญาเมื่อผลคดีอาญาศาลพิพากษาว่าโจทก์ไม่มีความผิด จำเลยกลับมาอ้างว่าพฤติการณ์ของโจทก์ส่อไปในทางทุจริตแล้วบอกเลิกจ้างโจทก์ให้มีผลย้อนหลังไปถึงวันที่จำเลยสั่งพักงานโจทก์ เป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ ในระหว่างช่วงเวลาที่จำเลยสั่งให้โจทก์พักงานนั้น โจทก์ยังเป็นลูกจ้างจำเลยอยู่ สภาพการเป็นลูกจ้างและนายจ้างยังคงมีอยู่ต่อไป การที่โจทก์ไม่ได้ทำงานให้แก่จำเลยก็เนื่องจากคำสั่งของจำเลยเอง และไม่มีระเบียบว่าจำเลยไม่ต้องจ่ายเงินค่าจ้างจึงไม่มีเหตุที่จำเลยจะไม่ต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์ เงินเดือนของโจทก์เป็นค่าจ้างที่คนงานเรียกเอาจากนายจ้าง จึงมีอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 165(9)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4116/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
งานต่อเนื่องในสายงานหลักของนายจ้าง แม้มีสัญญาจ้างสิ้นสุด ก็ต้องจ่ายค่าชดเชย
งานหลักของนายจ้างคืองานผลิตต้นคริสต์มาสประดิษฐ์ นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานในฝ่ายผลิตต้นคริสต์มาสในสายงานหลักของนายจ้างและลักษณะงานที่ลูกจ้างทำไม่แตกต่างไปจากงานของลูกจ้างที่จ้างไว้ทำตลอดปี กระบวนการผลิตของนายจ้างมีต่อเนื่องกันไปตลอดปีไม่มีลักษณะเป็นครั้งคราว เป็นการจรเป็นไปตามฤดูกาล หรือเป็นงานตามโครงการ แต่เป็นงานที่มีลักษณะต่อเนื่องกันไปโดยตลอด ดังนั้นแม้นายจ้างจะให้ลูกจ้างหยุดงานเมื่อครบกำหนดตามสัญญาจ้าง ก็ไม่เป็นเหตุให้ลูกจ้างหมดสิทธิได้รับค่าชดเชย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4116/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าชดเชยกรณีสัญญาจ้างหมดอายุ: งานต่อเนื่องไม่เข้าข้อยกเว้น
กรณีที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเพราะสัญญาจ้างสิ้นสุดระยะเวลาการจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 วรรคท้าย นั้นจะต้องเป็นการจ้างเพื่อทำงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราว เป็นการจร เป็นไปตามฤดูกาลหรือเป็นงานตามโครงการ งานหลักของจำเลยคืองานผลิตต้นคริสต์มาสประดิษฐ์ จำเลยให้โจทก์ทำงานในฝ่ายผลิตต้นคริสต์มาส ในสายงานหลักของจำเลยและลักษณะงานที่โจทก์ทำไม่แตกต่างไปจากงานของลูกจ้างที่จำเลยจ้างไว้ทำตลอดปี กระบวนการผลิตของจำเลยมีต่อเนื่องกันไปตลอดปี ลักษณะของงานที่จำเลยจ้างโจทก์ทำนั้นเป็นงานที่มีลักษณะต่อเนื่องกันไปโดยตลอด ดังนั้นแม้จำเลยจะให้โจทก์ทั้งสามหยุดงานเมื่อครบกำหนดตามสัญญาจ้างก็หาเป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสามหมดสิทธิได้รับค่าชดเชยไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2866/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นายจ้างมีหน้าที่จ่ายค่าชดเชยทันทีเมื่อเลิกจ้าง หากไม่จ่ายถือผิดนัด และต้องเสียดอกเบี้ย
นายจ้างมีหน้าที่จะต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างทันทีเมื่อเลิกจ้าง เมื่อไม่จ่ายย่อมถือว่าผิดนัด กฎหมายมิได้กำหนดให้จ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตั้งแต่วันเลิกจ้าง แต่ก็เป็นหนี้เงินอย่างหนึ่ง เมื่อไม่ปรากฏว่ามีการทวงถาม ย่อมต้องเสียดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง ขณะที่เลิกจ้างยังมีข้อโต้แย้งอยู่ว่า นายจ้างเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม แม้นายจ้างจะปิดประกาศให้ลูกจ้างทุกคนไปรับค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า แต่ลูกจ้างทุกคนไม่ยอมไปรับก็ตาม นายจ้างก็ไม่พ้นจากความรับผิดที่จะต้องชำระดอกเบี้ยของเงินดังกล่าวให้แก่ลูกจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2866/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม: ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ข้อเท็จจริง และยืนตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลางเรื่องดอกเบี้ย
อุทธรณ์ที่ว่าเลิกจ้างโจทก์ทั้งหกเนื่องจากจำเลยประสบปัญหาวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตราคาสูงและขาดแคลน ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงจำเป็นต้องยุบแผนกที่โจทก์ทั้งหกทำงานอยู่ โดยยินยอมจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์ทุกคน จำเลยไม่ได้เลิกจ้างโดยกลั่นแกล้งโจทก์ทั้งหก การเลิกจ้างของจำเลยจึงมีเหตุอันควร ไม่ใช่เลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมนั้นเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่จะนำไปสู่ข้อกฎหมายว่าการกระทำของจำเลยเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมหรือไม่ จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง อุทธรณ์ที่ว่าการที่ศาลแรงงานกลางรับฟังพยานโจทก์แล้ววินิจฉัยว่าพยานโจทก์เบิกความตรงกันว่าจำเลยไม่ได้ยุบแผนกแปรรูปโลหะ 2 อย่างจริงจังและการที่ศาลแรงงานกลางแปลความหมายคำให้การพยานจำเลยผิดไปจากข้อเท็จจริง เป็นการรับฟังพยานหลักฐานโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้นเป็นการโต้แย้งดุลพินิจของศาลแรงงานกลางในการชั่งน้ำหนักคำพยาน จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ค่าชดเชยนั้น ต้องจ่ายทันทีเมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์เมื่อไม่จ่ายต้องถือว่าผิดนัด ส่วนสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้านั้นแม้กฎหมายไม่ได้กำหนดให้จ่ายตั้งแต่วันเลิกจ้าง แต่สินจ้างส่วนดังกล่าวก็เป็นหนี้เงินอย่างหนึ่ง เมื่อไม่ปรากฏว่ามีการทวงถามจำเลยจึงต้องเสียดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง ขณะเลิกจ้างโจทก์ยังมีข้อโต้แย้งอยู่ว่าจำเลยเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม แม้จำเลยจะอ้างว่าได้ปิดประกาศให้โจทก์ทุกคนไปรับก็ตาม จำเลยก็ไม่พ้นจากความรับผิดที่จะต้องชำระดอกเบี้ยของค่าชดเชย และสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2826/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าชดเชยเกษียณอายุ: คำสั่งภายในองค์กรต่างจากประกาศกระทรวงฯ ถือเป็นเงินประเภทอื่น ต้องจ่ายตามกฎหมายแรงงาน
หลักเกณฑ์การจ่ายค่าชดเชยตามคำสั่งของนายจ้างที่ให้จ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้างรวมถึงกรณีลาออก ทุพพลภาพ และถึงแก่กรรมด้วยนั้น แตกต่างจากค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน จึงเป็นเงินประเภทอื่นมิใช่ค่าชดเชย ดังนั้นเมื่อลูกจ้างเกษียณอายุนายจ้างจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างเท่ากับอัตราค่าจ้างสุดท้ายหนึ่งร้อยแปดสิบวัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2826/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าชดเชยกรณีเกษียณอายุ: คำสั่งธนาคารกำหนดนิยามค่าชดเชยต่างจากประกาศกระทรวงฯ จึงเป็นสิทธิที่ลูกจ้างได้รับ
หลักเกณฑ์การจ่ายค่าชดเชยตามคำสั่งของจำเลย เรื่อง กำหนดระยะเวลาจ้างตลอดจนกำหนดการจ่ายค่าชดเชยและเงินทดแทนให้แก่พนักงานนั้น รวมถึงกรณีลาออก ทุพพลภาพ และถึงแก่กรรมด้วย ซึ่งแตกต่างจากค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน เงินดังกล่าวจึงเป็นเงินประเภทอื่นมิใช่ค่าชดเชย ดังนั้นเมื่อโจทก์เกษียณอายุโดยมิได้กระทำความผิดจำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2638/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุเลิกจ้างต้องตรงกับที่ระบุในคำสั่ง และค่าน้ำมันรถเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง
จำเลยระบุในคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ว่า จำเลยอยู่ในระหว่างปรับปรุงกิจการ มีงานน้อย จึงมีความจำเป็นเพื่อลดค่าใช้จ่ายและให้พนักงานอื่นมีงานทำ ขอปลดโจทก์ออกจากการเป็นพนักงานเท่ากับจำเลยประสงค์จะถือเอาเฉพาะเหตุที่ระบุในคำสั่งเลิกจ้างเป็นเหตุเลิกจ้างเพียงประการเดียว ไม่ได้ถือเอาเหตุอื่นเป็นเหตุเลิกจ้างด้วย เมื่อจำเลยถูกฟ้องก็ชอบที่จะยกเหตุตามที่ระบุในคำสั่งเลิกจ้างนั้นเป็นข้อต่อสู้ จะยกเหตุอื่นนอกเหนือจากที่ระบุในคำสั่งเลิกจ้างเป็นข้อต่อสู้ไม่ได้ ค่าน้ำมันรถที่ลูกจ้างได้รับจากนายจ้างเดือนละ 5,000 บาทเป็นประจำทุกเดือนมีจำนวนแน่นอน มีลักษณะเช่นเดียวกับเงินเดือนถือว่าเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายแก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติ จึงเป็น "ค่าจ้าง" ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2 ต้องนำไปรวมคำนวณค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2431/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ้างงานต่อเนื่องหลังสัญญาหมดอายุ และสิทธิค่าชดเชยกรณีเลิกจ้าง
สัญญาจ้างแรงงานระหว่างนายจ้างและลูกจ้างสิ้นสุดลงแล้วลูกจ้างยังทำงานให้แก่นายจ้างเรื่อยมา โดย นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แต่มิได้ทำสัญญาจ้างกันเป็นหนังสือ การจ้างลูกจ้างต่อมาจึงเป็นการจ้างที่มิได้กำหนดระยะเวลากันไว้ว่าจะจ้างกันนานเท่าใด ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะเลิกสัญญาด้วยการบอกกล่าวล่วงหน้าก็อาจทำได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 เมื่อนายจ้างได้แจ้งให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้าตามบทบัญญัติดังกล่าวว่าการจ้างสิ้นสุดลงจึงเป็นการให้ลูกจ้างออกจากงานโดย ที่ลูกจ้างไม่ได้กระทำความผิดตามข้อ 47 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานอันเป็นการเลิกจ้างโจทก์ตามข้อ 46 วรรคสอง ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย ข้อ 7 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน(ฉบับที่ 11) กรณีมิใช่เป็นการจ้างลูกจ้างเพื่อทำงานอันมีลักษณะเป็นงานตามโครงการซึ่งนายจ้างและลูกจ้างตกลงทำสัญญาจ้างเป็นหนังสือโดย มีกำหนดวันเริ่มต้นและวันสิ้นสุดของการจ้างไว้และเมื่อสัญญาจ้างสิ้นสุดแล้วแต่งานยังไม่แล้วเสร็จนายจ้างและลูกจ้างตกลงต่อสัญญาจ้างกันอีกโดย ระยะเวลาการจ้างทั้งสิ้นรวมแล้วไม่เกินระยะเวลาการจ้างตามที่ระบุไว้ในสัญญาจ้างฉบับแรกตามข้อ 46 วรรคสามลูกจ้างจึงมีสิทธิได้รับค่าชดเชย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2177/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้าง: การเรียกรับเงินเดือนนอกวันจ่ายปกติถือเป็นการเลิกจ้าง และคำให้การที่ขัดแย้งกันย่อมไร้ผล
กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำเลยสั่งพนักงานการเงินของจำเลยคิดเงินเดือนที่ผ่านมาให้แก่โจทก์และเรียกโจทก์มารับเงินโจทก์เข้ามาในบริษัทแต่ไม่ยอมรับเงิน การที่กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทเรียกโจทก์มารับเงินค่าจ้างสำหรับระยะเวลาทำงานของโจทก์ที่ผ่านมา ทั้ง ๆ ที่วันนั้นมิใช่วันจ่ายเงินเดือนตามปกติของจำเลยถือได้ว่าจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์แล้ว โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ จำเลยให้การต่อสู้ว่า จำเลยไม่ได้เลิกจ้างโจทก์ แต่โจทก์ได้ออกจากงานไปเอง และโจทก์ได้กล่าวต่อลูกค้าของจำเลยว่า บริษัทเฮงซวยไปซื้อสินค้ามันทำไมอันเป็นการกระทำความผิดต่อนายจ้าง ทำให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง จำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์เป็นคำให้การที่ขัดแย้งกันเอง กล่าวคือจำเลยต่อสู้ว่าจำเลยไม่ได้เลิกจ้างโจทก์ แต่โจทก์ออกจากงานไปเองแล้วกลับอ้างว่าจำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ ดังนั้นประเด็นข้อพิพาทจึงมีเพียงว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์หรือไม่ คดีไม่มีประเด็นว่าจำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์หรือไม่ เพราะการที่จะเกิดประเด็นว่าจำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์หรือไม่ จะต้องเป็นกรณีที่จำเลยยอมรับว่าจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์เสียก่อน