คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 285 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1989/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเลิกจ้างพนักงานต้องมาจากกรรมการผู้จัดการ หรือผู้ได้รับมอบหมายจากกรรมการฯ การกระทำของภรรยาผู้บริหารจึงไม่ถือเป็นการเลิกจ้าง
ภรรยาของกรรมการผู้จัดการของจำเลยมิใช่กรรมการผู้จัดการของจำเลยที่จะมีอำนาจเลิกจ้างพนักงานหรือลูกจ้างของจำเลยได้และภรรยาของกรรมการผู้จัดการของจำเลยมิได้รับมอบหมายจากกรรมการผู้จัดการของจำเลยให้มีอำนาจเลิกจ้างพนักงานหรือลูกจ้างของจำเลย ภรรยาของกรรมการผู้จัดการของจำเลยจึงไม่มีอำนาจเลิกจ้างโจทก์ซึ่งเป็นพนักงาน การที่ภรรยากรรมการผู้จัดการของจำเลยบอกโจทก์ไม่ให้มาทำงานต่อไป ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1989/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างต้องมีอำนาจจากนายจ้าง การมอบหมายอำนาจให้ผู้อื่นเลิกจ้างต้องชัดเจน
การเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 46 วรรคสอง หมายความถึงการเลิกจ้างโดยนายจ้างหรือผู้มีอำนาจกระทำการแทนนายจ้าง ร. เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลย เมื่อไม่ปรากฏว่าภรรยาของ ร. ได้รับมอบหมายจากร.ให้มีอำนาจเลิกจ้างโจทก์การที่ภรรยาของร.ให้ส.ไปบอกโจทก์ว่าไม่ให้มาทำงานกับจำเลย ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1980/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะลูกจ้าง vs. นายจ้าง: การพิจารณาความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนและสิทธิเรียกร้องค่าชดเชย
โจทก์เป็นผู้อำนวยการธนาคารจำเลยมีฐานะเป็นนายจ้างตามคำนิยาม"นายจ้าง" ในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2แต่ก็เป็นนายจ้างของพนักงานของจำเลยมิใช่เป็นนายจ้างของจำเลยฐานะระหว่างโจทก์และจำเลยนั้น โจทก์ก็เป็นผู้ซึ่งตกลงทำงานให้แก่จำเลยเพื่อรับค่าจ้างของจำเลย โจทก์จึงเป็นลูกจ้างของจำเลยตามคำนิยาม "ลูกจ้าง" ในประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับดังกล่าว โจทก์มีสิทธิได้รับค่าชดเชยย่อมมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยของจำนวนเงินค่าชดเชยนั้นในอัตราร้อยละ 7 ครึ่งต่อปี นับแต่วันที่1 ตุลาคม 2528 ซึ่งเป็นวันเลิกจ้างเป็นต้นไปจนกว่าจำเลยจะจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ โจทก์ยื่นฟ้องเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2535สิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยเฉพาะส่วนที่นับจากวันที่ฟ้องย้อนหลังไปเกินกว่า 5 ปี จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 166

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1750/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าชดเชยและเงินบำเหน็จกรณีเกษียณอายุ: การตีความระเบียบและข้อบังคับของรัฐวิสาหกิจ
จำเลยมีคำสั่งที่ 240/2528 เรื่อง หลักเกณฑ์การคำนวณค่าชดเชยการอนุมัติและการจ่ายค่าชดเชย ซึ่งในคำสั่งดังกล่าวได้กำหนดไว้ในข้อ 1.3 ว่า พนักงานประจำซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 3 ปีขึ้นไป ให้ได้รับค่าชดเชยไม่น้อยกว่าอัตราค่าจ้างสุดท้ายหนึ่งร้อยแปดสิบวันนอกจากนี้จำเลยยังได้มีข้อบังคับฉบับที่ 47 ว่าด้วยเงินบำเหน็จพ.ศ. 2524 ซึ่งกำหนดไว้ในข้อ 6(1) ว่าพนักงานที่ออกจากงานในวันสิ้นปีงบประมาณที่มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ จะได้รับเงินบำเหน็จตามข้อบังคับนี้ และกำหนดไว้ในข้อ 8 ว่าพนักงานที่ออกจากงานโดยมีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามกฎหมายเกี่ยวกับแรงงานแล้วไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จตามข้อบังคับนี้ แต่ถ้าค่าชดเชยที่มีสิทธิได้รับนั้นต่ำกว่าเงินบำเหน็จที่จะได้รับตามข้อบังคับนี้ก็ให้จ่ายเพิ่มให้เท่าจำนวนที่ต่ำกว่านั้น จากคำสั่งที่ 240/2528ประกอบกับข้อบังคับฉบับที่ 47 เห็นได้ว่าจำนวนเงินที่จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์ทั้งสี่สิบหกมีเงินค่าชดเชยรวมอยู่ด้วยแล้ว ข้อบังคับฉบับที่ 47 ข้อ 8 เป็นข้อยกเว้นของข้อ 6 เมื่อเข้าตามเงื่อนไขในข้อ 8 แล้วก็จะไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จตาม ข้อ 6 อีก ดังนั้น จึงหาได้หมายความว่าถ้ามีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จตามข้อ 6 แล้วจะนำข้อ 8 มาใช้บังคับอีกไม่ได้ คำสั่งของจำเลยที่ 240/2528 เป็นระเบียบที่ใช้รวมถึงการจ่ายค่าชดเชย กรณีพนักงานพ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุเกษียณอายุด้วย ค่าชดเชยที่จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์ทั้งสี่สิบหกตามคำสั่งดังกล่าวจึงต้องถือว่าเป็นเงินทั้งหมดที่จ่ายให้เพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เรื่องมาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534ข้อ 47 วรรคสองแล้ว จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายเงินเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานตามข้อ 47 วรรคหนึ่งอีก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1406/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองแรงงานในสถานประกอบการที่ไม่แสวงหากำไรและการรับข้อเท็จจริงของคู่ความ
ในวันนัดพิจารณาคู่ความแถลงรับข้อเท็จจริงว่า กิจการจำเลยเป็นการจ้างแรงงานที่มิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงกำไรทางเศรษฐกิจ ศาลแรงงานกลางจึงรับฟังข้อเท็จจริงตามที่คู่ความแถลงรับกัน การที่โจทก์อุทธรณ์ว่า กิจการจำเลยเป็นการจ้างงานที่มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงกำไรทางเศรษฐกิจ จึงเป็นอุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลแรงงานกลางในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 54 กิจการจำเลยเป็นการจ้างงานที่มิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงกำไรทางเศรษฐกิจ การจ้างงานระหว่างโจทก์และจำเลยจึงไม่อยู่ภายใต้บังคับของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานโจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเมื่อออกจากงานตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 จากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 644/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างเนื่องจากเกษียณอายุ: หนังสือแจ้งความประสงค์เกษียณถือเป็นการเลิกจ้าง แม้ไม่ต่ออายุสัญญา
โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้องว่า จำเลยได้เลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่1 มกราคม 2531 แต่โจทก์ก็ยังกล่าวอ้างต่อไปว่าจำเลยเลิกจ้าง โจทก์เพราะเกษียณอายุ เช่นนี้ คดีมีปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยว่า จำเลยได้เลิกจ้างโจทก์เพราะเกษียณอายุหรือไม่ จำเลยมีหนังสือแจ้งต่อโจทก์ว่า โจทก์จะต้องเกษียณอายุในเดือนพฤศจิกายน 2529 และยังมีหนังสือแจ้งต่อโจทก์เกี่ยวกับการเกษียณอายุว่า "ตามนโยบายของบริษัทท่านได้บรรลุถึงการเกษียณอายุในวันที่ 2พฤศจิกายน 2529..." เช่นนี้ ตามหนังสือดังกล่าวย่อมแปลความ ได้ว่า จำเลยได้เลิกจ้างโจทก์เพราะเกษียณอายุแล้วตั้งแต่วันที่ 2 พฤศจิกายน 2529 เมื่อปรากฏว่าจำเลยยังไม่จ่ายค่าชดเชย จำเลย จึงต้องจ่ายค่าชดเชย ให้ แก่โจทก์ เมื่อจำเลยมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์เมื่อเลิกจ้างโจทก์เพราะเกษียณอายุอยู่แล้ว อุทธรณ์ของจำเลยที่โต้แย้งคำวินิจฉัย ของศาลแรงงานกลางว่า การที่จำเลยไม่ต่ออายุสัญญาจ้าง ให้โจทก์หลังจากครบกำหนดระยะเวลาการจ้างแน่นอน เป็นการเลิกจ้าง ตามกำหนดระยะเวลาการจ้างแน่นอน โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยนั้น จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่เป็นสาระแก่คดี ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 209/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างแรงงานสิ้นสุดตามกำหนด สิ้นสุดโดยผลของสัญญา ไม่ถือเป็นการเลิกจ้าง จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชย
การเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ 46 วรรคสอง หมายถึงการที่นายจ้างให้ลูกจ้างออกจากงานปลดออกจากงาน หรือไล่ออกจากงานอันเป็นลักษณะที่นายจ้างกระทำต่อลูกจ้างในขณะยังมีความสัมพันธ์ต่อกันตามสัญญาจ้างแรงงานแต่สัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาแน่นอนนั้นเมื่อครบกำหนดสัญญาจ้างย่อมสิ้นสุดลงโดยผลของสัญญา มิใช่นายจ้างให้ลูกจ้างออกจากงานปลดออกจากงาน หรือไล่ออกจากงาน จึงไม่ใช่เป็นการเลิกจ้างลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6410/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินบำเหน็จกับค่าชดเชยเป็นคนละประเภทกัน นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยให้ลูกจ้างแม้ลูกจ้างได้รับเงินบำเหน็จแล้ว
ข้อบังคับของจำเลยว่าด้วยกองทุนบำเหน็จ พ.ศ.2521 กำหนดว่าพนักงานที่ต้องออกจากงานเพราะตาย หรือลาออก ก็ให้มีสิทธิรับเงินบำเหน็จด้วย ข้อบังคับดังกล่าวจึงมีหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการจ่ายเงินบำเหน็จแตกต่างไปจากการจ่ายเงินค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ถือได้ว่าเป็นเงินต่างประเภทกัน จำเลยเลิกจ้างโจทก์ จำเลยจะต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์อีกต่างหากจากเงินบำเหน็จ การที่จำเลยออกข้อบังคับว่าด้วยกองทุนบำเหน็จข้อ 9กำหนดว่าพนักงานที่ออกจากงานตาม ข้อ 8 มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จแต่เพียงอย่างเดียว และถือว่าเป็นเงินค่าชดเชย ตามกฎหมายแรงงานด้วยนั้น จึงขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ย่อมไม่มีผลบังคับโจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6251/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตักเตือนลูกจ้างและการเลิกจ้างซ้ำซ้อน นายจ้างไม่สามารถเลิกจ้างโดยอ้างเหตุเดิมหลังตักเตือนแล้วได้
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน มิได้กำหนดว่าเมื่อนายจ้างออกหนังสือตักเตือนลูกจ้างแล้ว นายจ้างต้องแจ้งหนังสือตักเตือนให้ลูกจ้างทราบโดยต้องให้ลูกจ้างลงชื่อรับทราบในหนังสือตักเตือน หรือต้องแจ้งให้ลูกจ้างทราบโดยวิธีการอย่างใดการที่จำเลยออกหนังสือตักเตือน และแจ้งให้โจทก์ทราบ แม้โจทก์จะไม่ได้ลงชื่อรับทราบในหนังสือตักเตือน ก็ถือได้ว่าโจทก์ได้ทราบหนังสือตักเตือน ซึ่งทำให้หนังสือตักเตือนมีผลใช้บังคับแล้วและเมื่อจำเลยได้สั่งลงโทษการกระทำความผิดของโจทก์ โดยการตักเตือนมีหนังสือแล้ว จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์โดยอ้างเหตุแห่งการกระทำผิดของโจทก์ดังกล่าวอีกไม่ได้ เพราะเป็นการซ้ำซ้อนกับการกระทำผิดของโจทก์ในคราวเดียวกัน จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5962/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิค่าชดเชยลูกจ้างรัฐวิสาหกิจที่ถูกเลิกจ้างเนื่องจากเกษียณอายุ แม้มีกฎหมายเฉพาะ
พนักงานรัฐวิสาหกิจฟ้องเรียกค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน หลังจาก พ.ร.บ. พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฯ มีผลใช้บังคับ เป็นคดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงาน เลิกจ้างเพราะลูกจ้างมีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ หาใช่ลูกจ้างออกจากงานไปเองไม่ เมื่อจำเลยเลิกจ้างโดยโจทก์ไม่ได้กระทำความผิดตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าชดเชย.
of 29