พบผลลัพธ์ทั้งหมด 285 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5711-5723/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างและค่าชดเชย: เงินบำเหน็จไม่ใช่ค่าชดเชย, การนับอายุการทำงาน, ผู้ผิดนัดและดอกเบี้ย
พ.ร.บ. คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจพ.ศ. 2518 เป็นบทบัญญัติที่กำหนดคุณสมบัติและเหตุที่พนักงานรัฐวิสาหกิจจะต้องพ้นจากตำแหน่ง มิได้หมายความว่าเมื่อพนักงานผู้ใดขาดคุณสมบัติ หรือมีเหตุต้องพ้นจากตำแหน่ง การจ้างเป็นอันระงับไปทันที แต่รัฐวิสาหกิจจะต้องดำเนินการให้พนักงานผู้นั้นพ้นจากตำแหน่งไปด้วยเท่านั้น โจทก์ที่ 1 ถึง 12 บกพร่องต่อหน้าที่หรือมีผลงานต่ำกว่ามาตรฐานอันถือว่าเป็นผู้ไม่สามารถทำงานให้แก่จำเลยได้เต็มเวลา และเป็นการขาดคุณสมบัติ แต่ก็มิใช่การฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงาน ที่จำเลยให้โจทก์ที่ 1 ถึง 12 ออกจากงานจึงเป็นการเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 วรรคสอง ค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานหมายความว่าเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้าง เมื่อเลิกจ้าง นอกเหนือจากเงินประเภทอื่นการจ่ายเงินบำเหน็จให้แก่พนักงานเมื่อออกจากงานของจำเลยตามข้อบังคับว่าด้วยกองทุนบำเหน็จ มีหลักเกณฑ์การจ่ายแตกต่างจากการจ่ายค่าชดเชย ถือมิได้ว่าเงินที่จ่ายตามข้อบังคับดังกล่าวเป็นการจ่ายค่าชดเชย แม้จะมีข้อบังคับระบุว่าพนักงานมีสิทธิรับเงินบำเหน็จเพียงอย่างเดียว และถือเป็นค่าชดเชยตามกฎหมายก็ไม่มีผลบังคับ อุทธรณ์ที่มิได้โต้แย้ง คำวินิจฉัยของศาลแรงงานกลางโดยยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายขึ้นอ้างอิงโดยชัดแจ้ง เป็นอุทธรณ์ที่มิชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 225 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานฯ พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง เมื่อไม่จ่ายก็ตกเป็นผู้ผิดนัดนับแต่วันเลิกจ้าง ข้ออ้างว่าไม่เจตนาหาเป็นเหตุให้พ้นความรับผิดไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5450/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับ หากไม่ใช่กรณีร้ายแรง นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย แม้ฝ่าฝืนข้อบังคับ
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยกำหนดว่าการประทับ บัตรบันทึกเวลาแทนผู้อื่นหรือให้ผู้อื่นประทับบัตรบันทึกเวลาแทน เป็นความผิดร้ายแรง จะถูกลงโทษโดยการไล่ออก เป็นระเบียบเกี่ยวกับ การทำงานที่นายจ้างกำหนดเพื่อใช้บังคับแก่ลูกจ้างจึงเป็นข้อตกลง เกี่ยวกับสภาพการจ้างที่จำเลยได้กระทำขึ้น และมีผลใช้บังคับได้ ตามกฎหมาย แต่จำเลยจะจ่ายค่าชดเชยกรณีนี้หรือไม่ต้องเป็นไปตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(3) โดยหากการฝ่าฝืนข้อบังคับเป็นกรณีร้ายแรง ก็ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย แต่หากเป็นกรณีไม่ร้ายแรง ซึ่งจำเลยเคยเตือนลูกจ้างแล้ว และลูกจ้าง ยังกระทำซ้ำคำเตือนอีกจำเลยก็ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเช่นกัน แม้ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานจะกำหนดให้การฝ่าฝืนเป็นความผิดอย่างร้ายแรงก็ตาม แต่ได้ความว่าโจทก์ให้บุคคลอื่นประทับ บัตรบันทึกเวลาแทน เพื่อความสะดวกและมักง่ายของตน หาใช่โดยทุจริต เพื่อโกงค่าแรงงาน ของจำเลยไม่จึงเป็นเพียงการฝ่าฝืนข้อบังคับ กรณีไม่ร้ายแรงเมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยเคยตักเตือนโจทก์เป็นหนังสือ มาก่อน และจำเลยได้ไล่โจทก์ออก จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5436/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างเนื่องจากเกษียณอายุเข้าข่ายเป็นการเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย แม้กฎหมายเฉพาะจะกำหนดคุณสมบัติพนักงานไว้
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 11)ลงวันที่ 11 ตุลาคม 2532 ข้อ 7 บัญญัติว่านายจ้าง ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง กรณีสัญญาจ้างมี กำหนดระยะเวลาการจ้าง แน่นอนและมีลักษณะเป็นครั้งคราวเป็นการจร เป็นไปตามฤดูกาลหรือเป็นงานตามโครงการด้วย แต่จำเลยมิได้ให้การ ต่อสู้ถึงลักษณะงานว่าเป็นการจ้างตามที่กำหนดไว้ดังกล่าว แม้จำเลย จะฎีกาว่าเป็นการจ้างมีกำหนดระยะเวลาไว้แน่นอนก็เป็นฎีกาที่ ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย การที่พนักงานพ้นจากตำแหน่งเพราะมีอายุครบ 60 ปี ตามพ.ร.บ. คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจฯ เป็นการกำหนดคุณสมบัติโดยทั่ว ๆ ไปของพนักงาน และให้รัฐวิสาหกิจ ถือปฏิบัติเป็นแนวเดียวกันเท่านั้น แต่การพ้นจากตำแหน่งด้วยเหตุ ดังกล่าวจะเป็นการเลิกจ้างหรือไม่ ต้องพิจารณาตาม ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 วรรคสอง ซึ่งตามบทบัญญัติดังกล่าว ถือ ว่าการเกษียณอายุเป็นการเลิกจ้างแล้ว เพราะโจทก์ต้องออกจากงาน โดยไม่ได้กระทำผิดตามข้อ 47.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4800/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องระงับจากสัญญาประนีประนอมยอมความ: ค่าล่วงเวลา/ทำงานในวันหยุดที่เกิดขึ้นก่อนทำสัญญา
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความฉบับลงวันที่ 7 มีนาคม2534 มีความว่า ทั้งสองฝ่ายตกลงระงับข้อพิพาททั้งปวงดังต่อไปนี้(1) ลูกจ้างตกลงยินยอมรับค่าชดเชยตามกฎหมายเนื่องจากบริษัทได้เลิกจ้างโจทก์ตั้งแต่วันที่ 10 มีนาคม 2534 ไว้ตามจำนวนที่ตกลงกันถูกต้องแล้วในขณะทำสัญญานี้ (2) บริษัทตกลงยอมจ่ายค่าชดเชยดังกล่าว (3) ลูกจ้างยอมรับว่าการที่บริษัทได้เลิกจ้างครั้งนี้เป็นไปโดยถูกต้องตามกฎหมายและเป็นธรรมแล้ว (4) ลูกจ้างสัญญาว่าจะไม่เรียกร้องหรือฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายหรือเงินใด ๆ จากบริษัทอีก หมายความว่า ข้อพิพาทที่เกิดขึ้นก่อนวันทำสัญญาระหว่างคู่กรณีที่มีอยู่นั้น ให้ถือตามความที่ตกลงกันไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความฉบับนี้ สิทธิเรียกร้องของโจทก์เกี่ยวกับเงินใด ๆ รวมทั้งค่าล่วงเวลาและค่าทำงานในวันหยุดที่มีข้อพิพาทกันอยู่ก่อนวันทำสัญญานี้เป็นอันระงับไปโดยผลของสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยรับผิดในเงินดังกล่าวอีกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4780/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างพนักงานที่ล้มละลาย: จำเลยต้องจ่ายค่าชดเชย แม้เป็นการสิ้นสุดสภาพการจ้างโดยผลของกฎหมาย
ตามพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 มาตรา 9 และ มาตรา 11 เมื่อศาลพิพากษาให้โจทก์เป็นบุคคลล้มละลายแล้ว โจทก์จะเป็นพนักงานของจำเลยไม่ได้ เพราะขาดคุณสมบัติก็ตาม ตามบทกฎหมายดังกล่าว โจทก์จะถูกศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายแต่จำเลยจะต้องดำเนินการเพื่อให้โจทก์พ้นจากตำแหน่งไปด้วย ดังนั้น การที่โจทก์ออกจากงานเพราะถูกศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย จึงถือว่าเป็นการเลิกจ้างหาใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ออกจากงานโดยผลของกฎหมายไม่ เมื่อโจทก์ไม่ได้กระทำความผิดตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 47 จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4780/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างเนื่องจากล้มละลาย: ลูกจ้างมีสิทธิรับค่าชดเชยแม้ขาดคุณสมบัติ
ตาม พ.ร.บ. คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจฯ มาตรา 9 และมาตรา 11 เมื่อศาลพิพากษาให้โจทก์เป็นบุคคลล้มละลายแล้ว โจทก์จะเป็นพนักงานของจำเลยไม่ได้เพราะขาดคุณสมบัติ แต่จำเลยจะต้องดำเนินการเพื่อให้โจทก์พ้นจากตำแหน่ง ไปด้วย การที่โจทก์ออกจากงานเพราะถูกศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย จึงต้องถือว่าเป็นการเลิกจ้าง หาใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ออกจากงาน โดยผลของกฎหมายไม่ เมื่อโจทก์ไม่ได้กระทำความผิดตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 47 จำเลยจึงต้อง จ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ ตามข้อบังคับของจำเลย เงินสงเคราะห์เป็นเงินที่จ่ายเพื่อ ช่วยเหลือผู้ปฏิบัติงานที่ออกจากงาน มีหลักเกณฑ์และเงื่อนไข การจ่ายแตกต่างไปจากการจ่ายค่าชดเชย จึงเป็นเงินประเภทอื่น ไม่อาจถือได้ว่าเป็นค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน ค่าชดเชยเป็นหนี้เงิน เมื่อจำเลยให้โจทก์ออกจากงาน โจทก์ มีสิทธิได้รับค่าชดเชยนับแต่วันออกจากงานทันที เมื่อจำเลยไม่ชำระ ให้แก่โจทก์ก็ได้ชื่อว่าตกเป็นผู้ผิดนัดนับแต่นั้น จึงต้องเสีย ดอกเบี้ยให้แก่โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1511/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าชดเชยเลิกจ้าง: การจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาและลักษณะงานชั่วคราวตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน(ฉบับที่ 11) ข้อ 7 กรณีสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนนั้น นายจ้างจะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างต่อเมื่อได้ความด้วยว่าเป็นการจ้างเพื่อทำงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราวเป็นการจร เป็นไปตามฤดูกาล หรือเป็นงานตามโครงการ แต่เมื่อจำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ถึงลักษณะงานดังกล่าวไว้ ปัญหาว่าการจ้างระหว่างโจทก์จำเลยมีกำหนดระยะเวลาแน่นอนหรือไม่ จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1257/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างเนื่องจากเกษียณอายุเข้าข่ายเป็นการเลิกจ้างตามกฎหมายแรงงานงาน แม้เป็นการพ้นจากตำแหน่งโดยผลของกฎหมาย
พระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 มาตรา 9,11 ที่แก้ไขแล้วบัญญัติว่าพนักงานรัฐวิสาหกิจที่มีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ถือว่าขาดคุณสมบัติและเป็นอันพ้นจากตำแหน่งนั้น เป็น การ กำหนดคุณสมบัติโดยทั่ว ๆ ไปของพนักงานและเป็น บทบัญญัติให้รัฐวิสาหกิจผู้เป็นนายจ้างถือปฏิบัติเป็นแนวเดียวกันเท่านั้นส่วนจะเป็นการเลิกจ้างหรือ ไม่ต้องพิจารณาตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 ซึ่งได้ให้ความหมายของคำว่าการเลิกจ้างไว้ว่า การที่นายจ้างให้ลูกจ้างออกจากงานปลดออกจากงาน หรือไล่ออกจากงานโดยที่ลูกจ้างไม่ได้กระทำความผิดตามข้อ 47 อันหมายถึงการที่ให้นายจ้าง ให้ลูกจ้างออกจากงานไม่ว่ากรณีใด ๆ โดยลูกจ้างไม่ได้กระทำความผิดที่ระบุไว้ ดังนั้น การที่จำเลยให้โจทก์ทุกคนพ้นจากตำแหน่งตามพระราชบัญญัติดังกล่าวเพราะเกษียณอายุ จึงเป็นการเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 816/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าชดเชยการเลิกจ้าง: เงินทุนเลี้ยงชีพไม่ถือเป็นค่าชดเชย นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมาย
เงินทุนเลี้ยงชีพประเภทสาม (บำนาญ) ที่จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์ทั้งสามนั้น เป็นไปตามระเบียบการธนาคารออมสิน ฉบับที่ 67ว่าด้วยเงินทุนเลี้ยงชีพของพนักงานธนาคารออมสิน ข้อ 3(3)ซึ่งกำหนดหลักเกณฑ์การคิดคำนวณไว้ตามข้อ 12 ของระเบียบฉบับเดียวกันว่า ผู้มีเวลาทำงานไม่น้อยกว่ายี่สิบห้าปี ให้ตั้งเงินเดือนสุดท้ายคูณด้วยเวลาทำงาน หารด้วยห้าสิบ หากมีเวลาทำงานไม่ถึงยี่สิบห้าปี ให้ตั้งเงินเดือนสุดท้ายคูณด้วยเวลาทำงาน หารด้วยห้าสิบ หลักเกณฑ์และการคิดคำนวณดังกล่าวแตกต่างไปจากค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46จึงถือไม่ได้ว่าเป็นค่าชดเชย จำเลยต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ทั้งสาม ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46กำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง เมื่อไม่จ่ายจำเลยย่อมผิดนัดนับแต่วันเลิกจ้างโดยไม่ต้องทวงถาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 816/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าชดเชย vs. เงินทุนเลี้ยงชีพ: การจ่ายเงินทุนเลี้ยงชีพตามระเบียบธนาคารออมสินไม่ถือเป็นค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน
เงินทุนเลี้ยงชีพประเภทสาม (บำนาญ) ที่จำเลยจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อออกจากงานนั้นเป็นไปตามระเบียบการธนาคารออมสินฉบับที่ 67 ว่าด้วยเงินทุนเลี้ยงชีพของพนักงานธนาคารออมสินข้อ 3(3)ซึ่งมีหลักเกณฑ์ และการคิดคำนวณแตกต่างไปจากค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 ถือไม่ได้ว่าเป็นค่าชดเชย ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 46กำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง เมื่อไม่จ่าย จำเลยย่อมผิดนัดนับแต่วันเลิกจ้างโดยไม่ต้องทวงถาม.