พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2011/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้าง: เหตุผลความประมาทเลินเล่อกับการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
โจทก์เป็นลูกจ้างธนาคารจำเลยขณะโจทก์ทำงานเป็นสมุหบัญชีในสาขาธนาคารจำเลยได้อนุมัติให้จ่ายเงินสดแก่ลูกค้าผู้ถือบัตรเครดิตที่มาขอเบิกเงินเป็นการปฏิบัติหน้าที่บกพร่องและประมาทเลินเล่อโดยโจทก์มิได้รับประโยชน์หรือเรียกร้องเอาผลประโยชน์จากการอนุมัติย่อมเห็นได้ว่าเป็นการอนุมัติไปตามอำนาจหน้าที่ตามที่เห็นสมควรการที่โจทก์ไม่ควบคุมดูแลพนักงานผู้ใต้บังคับบัญชาของโจทก์ให้ส่งใบเบิกไปให้ส่วนบัตรเครดิตสำนักงานใหญ่ในวันรุ่งขึ้นตามระเบียบของจำเลยหาใช่เป็นการทุจริตต่อหน้าที่อย่างใดไม่จำนวนเงินที่โจทก์อนุมัติให้จ่ายแก่ลูกค้าผู้นำบัตรเครดิตมาขอเบิกตามฟ้องแม้จำเลยจะเรียกเก็บจากธนาคารที่ลูกค้าผู้ถือบัตรเครดิตมาขอเบิกไม่ได้เนื่องจากล่วงเลยเวลากว่า120วันแล้วก็ตามแต่จำเลยก็ยังมีสิทธิที่จะทวงถามหรือฟ้องบังคับเอาแก่ลูกค้าผู้มาขอเบิกได้การปฏิบัติหน้าที่บกพร่องและประมาทเลินเล่อของโจทก์ดังกล่าวจึงยังไม่พอที่จะถือว่าทำให้จำเลยได้รับความเสียหายร้ายแรงและฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเป็นกรณีที่ร้ายแรง โจทก์ทำงานตำแหน่งสมุห์บัญชีมีหน้าที่ดูแลการเงินในสาขาของจำเลยการที่โจทก์ปฏิบัติหน้าที่บกพร่องและประมาทเลินเล่อย่อมทำให้จำเลยเสียหายแม้ความเสียหายดังกล่าวจะยังไม่พอที่จะถือว่าทำให้จำเลยได้รับความเสียหายร้ายแรงก็ตามแต่ก็ถือได้ว่าการกระทำของโจทก์มีเหตุสมควรและเพียงพอที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ได้การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงมิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1806/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกจ้างรายเดือนลงเวลาเท็จไม่ถือทุจริตหากมิได้มีเจตนาแสวงหาประโยชน์ในค่าจ้าง นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์เป็นลูกจ้างรายเดือนได้รับค่าจ้างเป็นอัตราเดือนละตามจำนวนที่กำหนดไว้แน่นอนการคิดค่าจ้างเป็นรายเดือนนี้ย่อมไม่มีการนำจำนวนวันละเวลาที่มาปฏิบัติงานมาเป็นเกณฑ์ในการคำนวณค่าจ้างในการมาปฏิบัติงานของโจทก์ดังนี้หากโจทก์จะขาดงานไปบ้างก็ถือเป็นเพียงการปฏิบัติผิดระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานฐานละทิ้งหน้าที่เท่านั้นการที่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างรายเดือนลงเวลามาปฏิบัติงานกะกลางคืนตั้งแต่เวลา19.57นาฬิกาถึงเวลา4นาฬิกาของวันรุ่งขึ้นอันเป็นเท็จย่อมมีผลเป็นการขาดงานไปหนึ่งกะเท่านั้นกรณียังถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำเพื่อแสวงหาประโยชน์ในค่าจ้างโดยไม่ชอบและประสงค์ให้จำเลยได้รับความเสียหายแก่การผลิตจึงไม่เป็นการทุจริตต่อหน้าที่และจงใจทำให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างได้รับความเสียหายตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ47(1)และ(3)การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์มิได้กระทำความผิดดังกล่าวจำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 23/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำทรัพย์นายจ้างไปใช้ประโยชน์ส่วนตัวเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ ศาลรับฟังได้แม้รายละเอียดไม่ชัดเจนในคำสั่งเลิกจ้าง
การนำทรัพย์ของนายจ้างไปใช้โดยปราศจากสิทธิโดยชอบเป็นการกระทำที่มุ่งแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบเป็นการทุจริตอยู่ในตัวจึงอยู่ในประเด็นที่จำเลยให้การต่อสู้ว่าโจทก์ทุจริตต่อหน้าที่ คำให้การจำเลยได้ให้การถึงข้อเท็จจริงที่ละเอียดเพิ่มเติมจากคำสั่งเลิกจ้างว่าโจทก์ได้กระทำการใดที่เป็นการทุจริตเป็นการขยายความตามคำสั่งเลิกจ้างให้สามารถเข้าใจได้ชัดเจนมากขึ้นโดยมิได้มีส่วนใดขัดหรือแตกต่างจากคำสั่งเลิกจ้างแต่ประการใดจำเลยย่อมมีสิทธิโดยชอบที่จะสืบพยานตามข้อเท็จจริงที่ได้ให้การไว้และศาลแรงงานย่อมรับฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวได้โดยชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2695/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีทุจริตต่อหน้าที่จากการใช้ลูกจ้างปฏิบัติงานส่วนตัว ถือเป็นการเลิกจ้างที่ชอบธรรม
โจทก์ใช้สอยลูกจ้างของจำเลยซึ่งอยู่ภายใต้บังคับบัญชาของโจทก์ไปจ่ายกับข้าวให้แก่ร้านขายอาหารในเวลาทำงานช่วงเช้าคนหนึ่งและช่วงบ่ายคนหนึ่งเป็นเวลานานประมาณ10วันเป็นการแสวงหาประโยชน์จากหน้าที่การงานเพื่อประโยชน์แก่ตนหรือผู้อื่นเกินสมควรที่ผู้บังคับบัญชาจะพึงกระทำและเสียหายแก่นายจ้างถือว่าทุจริตต่อหน้าที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและเป็นการเลิกจ้างกรณีทุจริตต่อหน้าที่ตามข้อ47(1)แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานและกรณีลูกจ้างกระทำการไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา583จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2576/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม การรับฟังพยานหลักฐาน และค่าชดเชยในคดีแรงงาน
จำเลยนำส.พยานจำเลยเข้าสืบยังไม่จบปากแล้วแถลงไม่ติดใจสืบพยานปากนี้อีกต่อไปแต่ศาลแรงงานกลางก็มิได้รับฟังคำเบิกความของส.โดยตรงเพราะยังมีพยานเอกสารและพยานบุคคลอีกหลายปากที่ศาลแรงงานกลางนำมาวินิจฉัยโดยไม่ว่าจะฟังคำเบิกความของส.หรือไม่ก็ไม่ทำให้คำวินิจฉัยของศาลแรงงานกลางเปลี่ยนแปลงไปแต่อย่างใดอุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่าศาลแรงงานกลางยอมรับคำเบิกความของส.มาวินิจฉัยเป็นการไม่ชอบเพราะโจทก์ไม่มีโอกาสซักค้านจึงไม่เป็นประโยชน์แก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย. การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการฝ่ายขายคำนวณราคาต้นทุนสินค้าแล้วขาดทุนทุกครั้งเป็นเพียงความสามารถที่จะทำให้เกิดผลในการงานเท่านั้นมิใช่โจทก์ทุจริตต่อหน้าที่หรือจงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหายส่วนในเรื่องประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงนั้นศาลแรงงานกลางมิได้ฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์กระทำโดยประมาทกรณีจึงไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นที่จำเลยจะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย. กรณีที่โจทก์ไม่ปฏิบัติงานตามระเบียบที่เคยปฏิบัติโดยไม่ยอมลงชื่อนำเงินไปฝากสถาบันการเงินที่จำเลยเคยฝากเป็นประจำดำเนินการประมูลงานไม่ได้ข้อเสนอของโจทก์ไม่เป็นผลดีแก่จำเลยนั้นพฤติการณ์ดังกล่าวเป็นเรื่องความคิดเห็นในการทำงานซึ่งอาจถูกหรือผิดได้ผลหรือไม่ได้ผลมิใช่เป็นเรื่องของการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2839/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้าง: ระยะเวลาคำตักเตือน, การฝ่าฝืนไม่ร้ายแรง, และผลกระทบต่อค่าชดเชย
ลูกจ้างเข้าทำงานกะบ่ายตั้งแต่เวลา 15 นาฬิกา ซึ่งจะ ต้องทำงานจนถึงเวลา23 นาฬิกาแต่เวลา22.55 นาฬิกา ลูกจ้างออกไปนอกบริษัทนายจ้างโดยไม่มีบัตรผ่าน และไม่ได้ขออนุญาตผู้บังคับบัญชาก่อนแล้วกลับเข้ามาปั๊มบัตรลงชื่อเลิกงานตามกะดังนี้ลูกจ้างไม่ทำงานให้นายจ้างเพียง 5นาที การปั๊มบัตรลงชื่อทำงานเต็มเวลา 8 ชั่วโมงนั้นเกิด โทษแก่บริษัทนายจ้างน้อยมากยังไม่พอถือว่าลูกจ้างทำการทุจริตต่อหน้าที่และยังไม่เป็นการกระทำผิดทางอาญาแก่นายจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ ข้อ 47(1) แม้ประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ ข้อ 47(3) มิได้กำหนดว่าคำตักเตือนเป็นหนังสือมีระยะเวลานานเท่าใดจึงจะหมดอายุหรือระยะเวลานานเท่าใดจึงจะเป็นระยะเวลาที่นานเกินสมควรที่ไม่สามารถนำมาเป็นเหตุในการเลิกจ้างโดยไม่ ต้องจ่ายค่าชดเชยแต่ก็ไม่หมายความว่า เมื่อนายจ้าง ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว คำตักเตือนนั้นจะมีผลอยู่ตลอดไปหากลูกจ้างรู้สำนึกตัวและปรับปรุงแก้ไขการทำงานการประพฤติ ตัวของตนแล้ว คำตักเตือนนั้นก็ควรสิ้นผลไปและการ พิจารณาว่าระยะเวลาคำตักเตือนเป็นหนังสือกับการฝ่าฝืน ข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างครั้งหลัง เป็นระยะเวลาเนิ่นนานหรือไม่เพียงใดนั้นจะต้องพิจารณาตามพฤติการณ์เป็นเรื่องๆ ไป โจทก์ออกไปนอกบริเวณโรงงานเพื่อซื้อก๋วยเตี๋ยวหน้าโรงงานเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2526 เป็นเวลา 10 นาทีและได้ รับคำเตือนเป็นหนังสือแล้วต่อมาโจทก์ฝ่าฝืนข้อบังคับฯ อีก ในวันที่ 16 เมษายน 2527 โดยออกจากบริเวณโรงงานก่อนครบ กำหนดกะทำงาน 5 นาทีดังนี้เมื่อพิจารณาถึงเหตุที่ โจทก์ฝ่าฝืนข้อบังคับฯ ความเสียหายการงานของบริษัทจำเลยซึ่ง เป็นนายจ้างและระยะเวลาของคำตักเตือนเป็นหนังสือครั้งแรกกับการกระทำผิดครั้งนี้แล้วถือว่าคำตักเตือนนั้นมีอายุ เนิ่นนานเกินสมควรที่จะนำมาพิจารณาสำหรับการเลิกจ้างในการ ฝ่าฝืนข้อบังคับฯครั้งหลัง