คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 (3)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 45 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2011/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้าง: เหตุผลความประมาทเลินเล่อกับการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
โจทก์เป็นลูกจ้างธนาคารจำเลยขณะโจทก์ทำงานเป็นสมุหบัญชีในสาขาธนาคารจำเลยได้อนุมัติให้จ่ายเงินสดแก่ลูกค้าผู้ถือบัตรเครดิตที่มาขอเบิกเงินเป็นการปฏิบัติหน้าที่บกพร่องและประมาทเลินเล่อโดยโจทก์มิได้รับประโยชน์หรือเรียกร้องเอาผลประโยชน์จากการอนุมัติย่อมเห็นได้ว่าเป็นการอนุมัติไปตามอำนาจหน้าที่ตามที่เห็นสมควรการที่โจทก์ไม่ควบคุมดูแลพนักงานผู้ใต้บังคับบัญชาของโจทก์ให้ส่งใบเบิกไปให้ส่วนบัตรเครดิตสำนักงานใหญ่ในวันรุ่งขึ้นตามระเบียบของจำเลยหาใช่เป็นการทุจริตต่อหน้าที่อย่างใดไม่จำนวนเงินที่โจทก์อนุมัติให้จ่ายแก่ลูกค้าผู้นำบัตรเครดิตมาขอเบิกตามฟ้องแม้จำเลยจะเรียกเก็บจากธนาคารที่ลูกค้าผู้ถือบัตรเครดิตมาขอเบิกไม่ได้เนื่องจากล่วงเลยเวลากว่า120วันแล้วก็ตามแต่จำเลยก็ยังมีสิทธิที่จะทวงถามหรือฟ้องบังคับเอาแก่ลูกค้าผู้มาขอเบิกได้การปฏิบัติหน้าที่บกพร่องและประมาทเลินเล่อของโจทก์ดังกล่าวจึงยังไม่พอที่จะถือว่าทำให้จำเลยได้รับความเสียหายร้ายแรงและฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเป็นกรณีที่ร้ายแรง โจทก์ทำงานตำแหน่งสมุห์บัญชีมีหน้าที่ดูแลการเงินในสาขาของจำเลยการที่โจทก์ปฏิบัติหน้าที่บกพร่องและประมาทเลินเล่อย่อมทำให้จำเลยเสียหายแม้ความเสียหายดังกล่าวจะยังไม่พอที่จะถือว่าทำให้จำเลยได้รับความเสียหายร้ายแรงก็ตามแต่ก็ถือได้ว่าการกระทำของโจทก์มีเหตุสมควรและเพียงพอที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ได้การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงมิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1806/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกจ้างรายเดือนลงเวลาเท็จไม่ถือทุจริตหากมิได้มีเจตนาแสวงหาประโยชน์ในค่าจ้าง นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์เป็นลูกจ้างรายเดือนได้รับค่าจ้างเป็นอัตราเดือนละตามจำนวนที่กำหนดไว้แน่นอนการคิดค่าจ้างเป็นรายเดือนนี้ย่อมไม่มีการนำจำนวนวันละเวลาที่มาปฏิบัติงานมาเป็นเกณฑ์ในการคำนวณค่าจ้างในการมาปฏิบัติงานของโจทก์ดังนี้หากโจทก์จะขาดงานไปบ้างก็ถือเป็นเพียงการปฏิบัติผิดระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานฐานละทิ้งหน้าที่เท่านั้นการที่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างรายเดือนลงเวลามาปฏิบัติงานกะกลางคืนตั้งแต่เวลา19.57นาฬิกาถึงเวลา4นาฬิกาของวันรุ่งขึ้นอันเป็นเท็จย่อมมีผลเป็นการขาดงานไปหนึ่งกะเท่านั้นกรณียังถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำเพื่อแสวงหาประโยชน์ในค่าจ้างโดยไม่ชอบและประสงค์ให้จำเลยได้รับความเสียหายแก่การผลิตจึงไม่เป็นการทุจริตต่อหน้าที่และจงใจทำให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างได้รับความเสียหายตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ47(1)และ(3)การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์มิได้กระทำความผิดดังกล่าวจำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9610-9623/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนัดหยุดงานโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและการเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า
โจทก์ทั้งสิบสี่และคนงานอื่นรวม190คนผละงานประท้วงเมื่อวันที่21กรกฎาคม2538เวลาประมาณ8นาฬิกาซึ่งเป็นวันทำงานโดยไม่แจ้งข้อเรียกร้องให้เปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเป็นหนังสือและไม่มีรายชื่อและลายมือชื่อของลูกจ้างที่เกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องจึงไม่เป็นการแจ้งข้อเรียกร้องเป็นหนังสือตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518มาตรา13พฤติการณ์เป็นการร่วมกันนัดหยุดงานโดยไม่ชอบแม้ต่อมาตัวแทนลูกจ้างและนายจ้างจะตกลงกันได้โดยนายจ้างไม่ถือว่าการผละงานประท้วงของลูกจ้างเป็นความผิดก็ตามแต่ตามบันทึกที่ทำขึ้นมีข้อความชัดเจนว่านายจ้างไม่ถือว่าการผละงานประท้วงเป็นความผิดเฉพาะลูกจ้างที่ลงชื่อขอโทษและรับว่าจะไม่ผละงานอีกเท่านั้นข้อตกลงดังกล่าวจะเห็นได้ว่าจำเลยยอมยกเว้นไม่ถือว่าการหยุดงานเป็นความผิดต่อเมื่อลูกจ้างลงชื่อขอโทษและยอมรับว่าจะไม่ผละงานประท้วงอีกเสียก่อนจึงเป็นข้อตกลงที่มีเงื่อนไขว่าลูกจ้างต้องลงชื่อขอโทษและยอมรับว่าจะไม่ผละงานประท้วงอีกเสียก่อนจึงจะถือว่าการผละงานประท้วงของลูกจ้างไม่เป็นความผิดหาใช่เป็นเรื่องบังคับให้ลูกจ้างต้องลงลายมือชื่อขอโทษแต่ประการใดไม่ดังนั้นเมื่อโจทก์ทั้งสิบสี่ได้ร่วมกันนัดหยุดงานโดยไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่ได้ลงลายมือชื่อยอมรับผิดและรับว่าจะไม่กระทำเช่นนั้นอีกจึงไม่เป็นการปฏิบัติตามเงื่อนไขในบันทึกข้อตกลงและการหยุดงานของโจทก์ทั้งสิบสี่เป็นการละเมิดต่อจำเลยจงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหายและเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยข้อ10.4เมื่อโจทก์ทั้งสิบสี่นัดหยุดงานโดยไม่ชอบและจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างมีคำสั่งให้โจทก์ทั้งสิบสี่กลับเข้าทำงานแต่โจทก์ทั้งสิบสี่ไม่กลับเข้าทำงานตามคำสั่งจำเลยย่อมเลิกจ้างโจทก์ทั้งสิบสี่ได้ทันทีโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา583และโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ47(3)(4)โจทก์ทั้งสิบสี่จึงไม่มีสิทธิได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชย โจทก์ทั้งสิบสี่อุทธรณ์ว่าการเลิกจ้างโจทก์ทั้งสิบสี่ในวันที่21กรกฎาคม2538เวลา18นาฬิกาเป็นการเลิกจ้างเมื่อโจทก์ทั้งสิบสี่กลับบ้านไปแล้วจึงเป็นการประกาศเลิกจ้างนอกเวลาทำงานเป็นอุทธรณ์โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา54วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5860/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างและการจ่ายค่าชดเชย กรณีลูกจ้างละทิ้งหน้าที่ดื่มสุรานอกเวลางาน แม้ไม่ใช่ความผิดร้ายแรง
แม้การที่ลูกจ้างออกไปดื่มสุรานอกบริเวณโรงงานตั้งแต่เวลา22 ถึง 24 นาฬิกา จะเป็นการละทิ้งหน้าที่อันเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายแต่เมื่อข้อบังคับของนายจ้างมิได้กำหนดว่าเป็นความผิดอันมีโทษถึงปลดออก ไล่ออกแสดงว่านายจ้าง มิได้ถือ ว่าเป็นความผิดกรณีที่ร้ายแรง การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างเพราะเหตุนี้จึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้าง อย่างไรก็ดีการกระทำดังกล่าว เป็นการ "ละทิ้งการงานไปเสีย" ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 นายจ้างจึงไม่ต้องจ่าย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4251/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีปลุกระดมและฝ่าฝืนระเบียบ หากนายจ้างไม่เสียหาย ไม่ถือเป็นเหตุร้ายแรง ต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์เป็นผู้นำเรียกร้องให้จำเลยชี้แจง กรณีด.ลูกจ้างคนหนึ่งของจำเลยถูกตำรวจจับกุมในข้อหาลักทรัพย์ของจำเลยกับนัดแนะให้ลูกจ้างรวมตัวกันเพื่อกระทำการอย่างหนึ่งเมื่อจำเลยให้ตำรวจชี้แจงในเรื่องดังกล่าวแล้วโจทก์ยังไม่พอใจได้นัดแนะให้ลูกจ้างคอยฟังรายละเอียดในตอนเย็นวันนั้นเมื่อการกระทำของโจทก์ดังกล่าวศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยยังไม่ได้รับความเสียหายกรณีจึงยังไม่เข้าเหตุตามระเบียบข้อบังคับของจำเลยที่ว่าลูกจ้างได้ทำให้ทรัพย์สินของบริษัทเสียหายซึ่งจำเลยถือเป็นเหตุที่ร้ายแรงถือไม่ได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยกรณีร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ47และยังไม่เป็นความผิดอย่างร้ายแรงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา583จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุดังกล่าวจึงต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4251/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างที่เกี่ยวข้องกับการเรียกร้องกรณีลักทรัพย์และการรวมตัวของลูกจ้าง นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยหากไม่มีความเสียหาย
โจทก์เป็นผู้นำเรียกร้องให้จำเลยชี้แจงกรณีด.ลูกจ้างคนหนึ่งของจำเลยถูกตำรวจจับกุมในข้อหาลักทรัพย์ของจำเลย กับนัดแนะให้ลูกจ้างรวมตัวกันเพื่อกระทำการอย่างหนึ่ง เมื่อจำเลยให้ตำรวจชี้แจงในเรื่องดังกล่าวแล้ว โจทก์ยังไม่พอใจได้นัดแนะให้ลูกจ้างคอยฟังรายละเอียดในตอนเย็นวันนั้น เมื่อการกระทำของโจทก์ดังกล่าวศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยยังไม่ได้รับความเสียหาย กรณีจึงยังไม่เข้าเหตุตามระเบียบข้อบังคับของจำเลยที่ว่าลูกจ้างได้ทำให้ทรัพย์สินของบริษัทเสียหายซึ่งจำเลยถือเป็นเหตุที่ร้ายแรง ถือไม่ได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยกรณีร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 และยังไม่เป็นความผิดอย่างร้ายแรงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุดังกล่าว จึงต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3631/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างที่ฝ่าฝืนระเบียบซ้ำหลังได้รับคำเตือนแล้ว ไม่ถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
การที่นายจ้างลงโทษลูกจ้างให้พักงาน3วันและขณะเดียวกันในคำสั่งลงโทษนั้นยังมีคำเตือนอีกด้วยหาทำให้คำเตือนนั้นสิ้นผลไปด้วยโทษที่ได้รับไปแล้วไม่(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่1916/2527) ส.ลูกจ้างของโจทก์ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับด้วยการนอนหลับและได้รับคำเตือนเป็นหนังสือมาแล้วส.กลับมากระทำผิดฐานเดียวกันซ้ำอีกในระหว่างข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลบังคับโจทก์จึงเลิกจ้างส.ซึ่งเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานได้ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518มาตรา123(3)หาเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมไม่ โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ซึ่งวินิจฉัยชี้ขาดตามอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518ศาลชอบที่จะปรับด้วยพระราชบัญญัติดังกล่าวมาตรา123อันเป็นบทมาตราโดยเฉพาะสำหรับกรณีที่นี้หาใช่ปรับด้วยประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ47(3)ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3631/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างที่ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับซ้ำ โดยศาลยืนตามการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
การที่นายจ้างลงโทษลูกจ้างให้พักงาน 3 วัน และขณะเดียวกันในคำสั่งลงโทษนั้นยังมีคำเตือนอีกด้วย หาทำให้คำเตือนนั้นสิ้นผลไปด้วยโทษที่ได้รับไปแล้วไม่ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1916/2527)
ส.ลูกจ้างของโจทก์ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับด้วยการนอนหลับและได้รับคำเตือนเป็นหนังสือมาแล้ว ส. กลับมากระทำผิดฐานเดียวกันซ้ำอีกในระหว่างข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลบังคับ โจทก์จึงเลิกจ้าง ส. ซึ่งเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานได้ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 123(3) หาเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมไม่
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ซึ่งวินิจฉัยชี้ขาดตามอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ศาลชอบที่จะปรับด้วยพระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 123 อันเป็นบทมาตราโดยเฉพาะสำหรับกรณีที่นี้หาใช่ปรับด้วยประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 47(3) ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3589/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างที่ถูกจับกุมและควบคุมตัว นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า หากลูกจ้างละเลยไม่แจ้งเหตุ
โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างประจำของจำเลยได้ถูกจับกุมและควบคุมตัวอยู่ที่เรือนจำจังหวัดสมุทรปราการตั้งแต่วันที่14มกราคม2529จนถึงวันที่12มีนาคม2529อันเป็นวันที่จำเลยมีคำสั่งไล่โจทก์ออกจากงานเป็นเวลานานเกือบ2เดือนโดยละเลยไม่นำพาที่จะแจ้งให้จำเลยผู้เป็นนายจ้างทราบเพื่อที่จำเลยจะได้ดำเนินการหาคนมาปฏิบัติหน้าที่แทนทั้งที่โจทก์มีโอกาสที่จะแจ้งให้จำเลยทราบถึงเหตุที่ไม่สามารถมาปฏิบัติงานได้พฤติการณ์ของโจทก์ถือได้ว่ากระทำการอันไม่สมควรแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตตามความหมายของมาตรา583แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แล้วจำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3301/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตอกบัตรแทนกันถือเป็นทุจริต ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับร้ายแรง เป็นเหตุเลิกจ้างได้
ระเบียบการทำงานของจำเลยกำหนดว่าการตอกบัตรบันทึกเวลาทำงานแทนผู้อื่นเป็นการกระทำผิดวินัยการตอกบัตรบันทึกเวลาทำงานมีความสำคัญในการปกครองพนักงานของบริษัทจำเลยให้เป็นไปโดยเรียบร้อยเป็นหลักฐานในการจ่ายค่าจ้างป้องกันการทุจริตแสวงหาประโยชน์ได้ค่าจ้างโดยมิได้มาทำงานตามบัตรตอกบันทึกเวลาทำงานนั้นโจทก์ได้กระทำผิดตอกบัตรแทนกันกับผู้อื่นจึงเป็นพฤติการณ์ส่อไปในทางทุจริตถือได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเป็นกรณีร้ายแรง(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่1497/2524).
of 5