คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 (3)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 45 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2556/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งเพิ่มวงเงินค้ำประกันนอกเหนือหน้าที่ ไม่เป็นเหตุให้เลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
คำสั่งของจำเลยที่ให้โจทก์เพิ่มวงเงินค้ำประกันจาก30,000บาทเป็น50,000บาทเป็นคำสั่งอันนอกเหนือจากการปฏิบัติงานตามหน้าที่ของโจทก์การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุที่โจทก์ไม่สามารถจัดหาผู้ค้ำประกันเพิ่มขึ้นได้ตามความประสงค์ของจำเลยไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นที่จะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ47(3).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2497/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีฝ่าฝืนระเบียบวินัยร้ายแรงจากการมึนเมาและประพฤติตนไม่เหมาะสม
โจทก์มึนเมาสุราในเวลาทำงานพูดจาก้าวร้าวท้าทายส.หัวหน้าแผนกธุรการแล้วละทิ้งหน้าที่ออกจากโรงงานไปเป็นการก่อให้เกิดสภาพไม่มีระเบียบวินัยทำลายความสงบเรียบร้อยของสถานที่ทำงานทำลายความสามัคคีก่อให้เกิดการทะเลาะวิวาทเสียหายต่อการปกครองบังคับบัญชาและเสียหายแก่การงานของจำเลยที่โจทก์ละทิ้งไปถือได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเป็นกรณีร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ47(3)จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2480/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจไม่ถูกต้อง และการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมจากเหตุทำร้ายร่างกายภรรยา
หนังสือมอบอำนาจของบริษัทจำเลยที่มอบอำนาจให้ช.ดำเนินคดีในศาลแรงงานกลางนั้นมีส.ลงชื่อผู้เดียวจำเลยอุทธรณ์ว่าหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวไม่ถูกต้องเพราะตามข้อบังคับของบริษัทจำเลยกำหนดให้ส.ลงลายมือชื่อร่วมกับช.และประทับตราของบริษัทด้วยการมอบอำนาจจึงไม่ผูกพันจำเลยนั้นข้ออุทธรณ์ดังกล่าวมิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลแรงงานกลางต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา225ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา31แม้จะเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแต่ศาลฎีกาไม่เห็นสมควรที่จะยกขึ้นวินิจฉัยก็มีอำนาจที่จะไม่วินิจฉัยให้ได้. ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยระบุไว้ว่าการทำร้ายร่างกายกันเป็นความผิดทางวินัยมิได้ระบุว่าเป็นความผิดที่ร้ายแรงดังนั้นการกระทำใดจะถือว่าเป็นความผิดร้ายแรงหรือไม่ต้องพิจารณาเป็นรายกรณีไปโจทก์ตบตีภรรยาซึ่งเป็นคนงานด้วยกันแต่ไม่ปรากฏว่าได้รับบาดเจ็บแม้จะเป็นภายในบริเวณโรงงานแต่ก็นอกเวลาทำงานและไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยผู้เป็นนายจ้างการกระทำของโจทก์จึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเป็นกรณีร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทยฯข้อ47(3).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2290/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างที่กระทำผิดวินัยร้ายแรงนอกเวลางานและสถานที่ทำงาน นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
นายจ้างกำหนดระเบียบข้อบังคับให้ลูกจ้างปฏิบัติก็เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยในการปฏิบัติงานและป้องกันมิให้ลูกจ้างกระทำการอันอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินหรือชื่อเสียงของนายจ้าง.ดังนั้นไม่ว่าลูกจ้างจะทำการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับในขณะทำงานหรือนอกเวลาทำงานกระทำภายในหรือภายนอกสถานที่ทำงานถ้าการกระทำนั้นอาจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายต่อชื่อเสียงหรือในทางอื่นใดแล้วนายจ้างย่อมมีอำนาจพิจารณาลงโทษลูกจ้างได้ตามระเบียบข้อบังคับโจทก์กระทำอนาจารโดยมีอาวุธต่อต.สาวใช้ของอ.เพื่อนร่วมงานที่บ้านของอ.ซึ่งเป็นความผิดทางอาญาและผิดต่อศีลธรรมเป็นการไม่รักษาเกียรติและประพฤติชั่วทั้งฝ่าฝืนต่อระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเป็นกรณีร้ายแรงต้องด้วยประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ47(3).จำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2289/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทุจริตสอบและการเลิกจ้าง: การกระทำผิดวินัยร้ายแรงเป็นเหตุให้เลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์รู้เห็นเป็นใจให้บุคคลอื่นเข้าสอบเลื่อนตำแหน่งแทนเป็นการทุจริตในการสอบซึ่งเป็นความผิดร้ายแรงอยู่ในตัวจึงถือได้ว่าเป็นการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงเป็นความผิดวินับอย่างร้ายแรงตามข้อบังคับของจำเลยจำเลยย่อมมีสิทธิปลดโจทก์ออกจากงานได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ47(3)และไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตลอดจนค่าเสียหาย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 954/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนเงินประกันการทำงานเมื่อถูกเลิกจ้าง มิใช่ความผิดวินัยร้ายแรง
เงินประกันที่จำเลยหักจากค่าจ้างของโจทก์ไว้เพื่อเป็นการประกันความเสียหายโดยกำหนดไว้ในระเบียบของจำเลยว่าจะคืนให้เมื่อออกจากงานเว้นแต่ถูกออกเพราะกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงนั้นหากโจทก์ถูกออกจากงานเพราะขาดงานไปเพียง1วันแม้ก่อนนี้จะเคยขาดงานมาแล้ว2วันจนถูกจำเลยตัดเงินเดือนและตักเตือนเป็นหนังสือมาแล้วก็ตามกรณีก็ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ถูกออกจากงานเพราะกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงจำเลยต้องคืนเงินประกันให้โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 863/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างที่มีหนี้สิน การพิจารณาหนังสือตักเตือน และสิทธิค่าชดเชย
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยกำหนดว่าพนักงานหรือลูกจ้างที่มีหนี้สินรุงรังเป็นผู้กระทำผิดวินัยโจทก์เป็นหนี้บุคคลอื่นจำเลยจึงมีหนังสือถึงโจทก์มีข้อความว่าโจทก์เป็นหนี้บุคคลอื่นให้รีบจัดการในเรื่องหนี้สินเสียมิฉะนั้นจะพิจารณาโทษหนังสือดังกล่าวไม่ใช่หนังสือตักเตือนตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3522/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างประจำโดยชอบด้วยกฎหมาย หากลูกจ้างฝ่าฝืนคำสั่งและได้รับการตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างละทิ้งงานไปและถูกตักเตือนเป็นหนังสือซึ่งข้อความในหนังสือเตือนมีว่า โจทก์ได้ละทิ้งหน้าที่การงานไป และได้รับการตักเตือนแล้ว โดยโจทก์จำเลยลงชื่อไว้หนังสือดังกล่าว มีข้อความอยู่ในตัวเองแล้วว่าจำเลยผู้เป็นนายจ้างได้แสดงความผิด ของโจทก์ให้ปรากฏว่าโจทก์ได้ละทิ้งหน้าที่การงานไปจึงเตือนให้โจทก์ ระมัดระวังสังวรณ์ ไว้ เป็นทำนองว่ามิให้ละทิ้งงานอีกจึงเป็นหนังสือเตือนของนายจ้างที่ได้ตักเตือนลูกจ้างที่ได้กระทำการฝ่าฝืนคำสั่ง โดยชอบด้วยกฎหมายแล้วเมื่อโจทก์ฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยผู้เป็นนายจ้างและนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้วนายจ้างก็ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์เมื่อเลิกจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2839/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้าง: ระยะเวลาคำตักเตือน, การฝ่าฝืนไม่ร้ายแรง, และผลกระทบต่อค่าชดเชย
ลูกจ้างเข้าทำงานกะบ่ายตั้งแต่เวลา 15 นาฬิกา ซึ่งจะ ต้องทำงานจนถึงเวลา23 นาฬิกาแต่เวลา22.55 นาฬิกา ลูกจ้างออกไปนอกบริษัทนายจ้างโดยไม่มีบัตรผ่าน และไม่ได้ขออนุญาตผู้บังคับบัญชาก่อนแล้วกลับเข้ามาปั๊มบัตรลงชื่อเลิกงานตามกะดังนี้ลูกจ้างไม่ทำงานให้นายจ้างเพียง 5นาที การปั๊มบัตรลงชื่อทำงานเต็มเวลา 8 ชั่วโมงนั้นเกิด โทษแก่บริษัทนายจ้างน้อยมากยังไม่พอถือว่าลูกจ้างทำการทุจริตต่อหน้าที่และยังไม่เป็นการกระทำผิดทางอาญาแก่นายจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ ข้อ 47(1) แม้ประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ ข้อ 47(3) มิได้กำหนดว่าคำตักเตือนเป็นหนังสือมีระยะเวลานานเท่าใดจึงจะหมดอายุหรือระยะเวลานานเท่าใดจึงจะเป็นระยะเวลาที่นานเกินสมควรที่ไม่สามารถนำมาเป็นเหตุในการเลิกจ้างโดยไม่ ต้องจ่ายค่าชดเชยแต่ก็ไม่หมายความว่า เมื่อนายจ้าง ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว คำตักเตือนนั้นจะมีผลอยู่ตลอดไปหากลูกจ้างรู้สำนึกตัวและปรับปรุงแก้ไขการทำงานการประพฤติ ตัวของตนแล้ว คำตักเตือนนั้นก็ควรสิ้นผลไปและการ พิจารณาว่าระยะเวลาคำตักเตือนเป็นหนังสือกับการฝ่าฝืน ข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างครั้งหลัง เป็นระยะเวลาเนิ่นนานหรือไม่เพียงใดนั้นจะต้องพิจารณาตามพฤติการณ์เป็นเรื่องๆ ไป โจทก์ออกไปนอกบริเวณโรงงานเพื่อซื้อก๋วยเตี๋ยวหน้าโรงงานเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2526 เป็นเวลา 10 นาทีและได้ รับคำเตือนเป็นหนังสือแล้วต่อมาโจทก์ฝ่าฝืนข้อบังคับฯ อีก ในวันที่ 16 เมษายน 2527 โดยออกจากบริเวณโรงงานก่อนครบ กำหนดกะทำงาน 5 นาทีดังนี้เมื่อพิจารณาถึงเหตุที่ โจทก์ฝ่าฝืนข้อบังคับฯ ความเสียหายการงานของบริษัทจำเลยซึ่ง เป็นนายจ้างและระยะเวลาของคำตักเตือนเป็นหนังสือครั้งแรกกับการกระทำผิดครั้งนี้แล้วถือว่าคำตักเตือนนั้นมีอายุ เนิ่นนานเกินสมควรที่จะนำมาพิจารณาสำหรับการเลิกจ้างในการ ฝ่าฝืนข้อบังคับฯครั้งหลัง
of 5